Economic Singularity เมื่อ AI จะมาแย่งงานมนุษย์ไปตลอดกาล

หากหุ่นยนต์ทำให้งานทั้งหมดของมนุษย์เรากลายเป็นอัตโนมัติ สินค้าและบริการที่พวกมันผลิตจะสามารถทำงานได้ โดยแทบจะไม่ต้องใช้แรงงานที่เป็นมนุษย์อีกต่อไป

นี่เป็นคำถามใหญ่ที่ถกเถียงขึ้นโดย เควิน มอร์ริส หัวหน้าบรรณาธิการ eejournal.com ซึ่งได้ทำการกำหนดถึงช่วงเวลาที่หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์กำลังจะมีความสามารถเกินขีดความสามารถของมนุษยในด้านแรงงาน ว่าเป็นยุคของ “Economic Singularity”  และได้แนะนำว่ามันอาจนำไปสู่ผลกระทบร้ายแรงสำหรับมนุษย์เราทุกคน

ในบทความใหม่ใน  EE Journal มอร์ริส ได้วาดภาพของโลกที่สังคมมนุษย์เราผ่านภาวะดังกล่าว: ซึ่งหุ่นยนต์และ AI ได้แย่งงานของมนุษย์ไปทั้งหมดและตอนนี้พวกมันกำลังผลิตสินค้าที่ เหล่ามนุษย์ผู้ว่างงานไม่สามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อได้

มอร์ริสชี้ให้เห็นว่าภาวะดังกล่าวเป็นจุดสิ้นสุดตามธรรมชาติของทุนนิยมแบบไฮเปอร์เทคทีฟซึ่ง บริษัท ขนาดใหญ่ได้รับแรงจูงใจเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อเพิ่มผลกำไรสูงสุด กล่าว อีกนัยหนึ่งเหล่าบริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้จะรู้ว่าอัลกอริธึมด้าน AI รวมถึงการลงทุนในหุ่นยนต์นั้นจะมีราคาถูกกว่าพนักงานที่เป็นมนุษย์

ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติหุ่นยนต์ครั้งใหญ่ที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องจักรเหล่านี้จะไม่บอกให้เราได้รู้ถึงความทะเยอทะยานที่จะมีอำนาจเหนือโลกของมนุษย์นั่นเอง 

ในขณะที่ธุรกิจจำนวนมากเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติต่าง ๆ เหล่านี้ มอร์ริส คาดการณ์ว่าเราจะเห็นแนวโน้มการแข่งขันรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้น : สินค้าในราคาที่ถูกลง แต่คุณภาพสูงขึ้นที่ผลิตโดยหุ่นยนต์อัตโนมัติเหล่านี้ ซึ่งแน่นอนว่ามันมีประสิทธิภาพมากกว่ามนุษย์

เพื่อป้องกันไม่ให้เหล่าแรงงานถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ตอนนี้เราได้เห็นผู้คนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงภัยดังกล่าวและได้ออกมาเตือนรัฐบาลว่า ควรเข้ามาช่วยจัดการและเตรียมการสำหรับคนที่ถูกปลดออกจากงานด้วยหุ่นยนต์หรืออัลกอริธึมด้าน AI เหล่านี้

มิฉะนั้น มอร์ริส ได้วาดภาพโลกที่ บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ คิดว่าการยังมีพนักงานที่เป็นมนุษย์อยู่ มันจะไม่ดีต่อผลกำไรของบริษัทอย่างแน่นอน

“ มีบางสิ่งที่มนุษย์เราจะต้องสูญเสียไป เพราะถ้าบริษัทต่าง ๆ เริ่มทำตามเทรนด์ใหม่ ๆ เหล่านี้ทั้งหมด งานของมนุษย์จะแทบไม่เหลือคุณค่าอีกต่อไปนั่นเอง ” มอร์ริส เขียน 

References : 
https://www.eejournal.com

ประวัติ Blackberry อดีตราชันผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการมือถือโลก

ปี 1984 สองหนุ่มคู่หูวิศวกรต่างมหาวิทยาลัยอย่าง Mike Lazaridis นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลู และ Douglas Fregin นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งวินเซอร์  ร่วมกันเปิดบริษัทชื่อ Research In Motion (RIM)

โดยที่ในช่วง 4 ปีแรกของการก่อตั้งบริษัทนั้น ทั้งสองได้สร้างบริการสำหรับรับส่งข้อมูลขนาดสั้นผ่านเครือข่ายไร้สาย เลียนแบบ Walkie – Talkie ซึ่งบริษัท RIM ที่ทั้งสองเป็นผู้ก่อตั้งนั้น ยังกลายเป็นบริษัทแรกนอกเขตสแกนดิเนเวียที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับการเชื่อมต่อให้กับระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่งไร้สาย ซึ่งลูกค้ากลุ่มแรก ๆ ของพวกเขานั้นเป็นองค์กรของรัฐบาล เช่น ทหาร ตำรวจ ตำรวจดับเพลิง และโรงพยาบาล

เมื่อผ่านมาถึงปี 1996 RIM ได้ออกเพจเจอร์ของตัวเอง ชื่อ RIM Inter@ctive 900 เป็นเพจเจอร์แบบที่มีจอที่สามารถพับได้เครื่องแรกที่มีแผงปุ่มกดติดมาด้วย ทำให้คู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่ายนั้นสามารถที่จะส่งข้อความหากันเองได้โดยที่ไม่ต้องโทรเข้าไปฝากข้อความกับโอเปอร์เรเตอร์เหมือนในอดีต

RIM Inter@ctive 900 นวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนั้น
RIM Inter@ctive 900 นวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนั้น

ซึ่งนี่เองที่ได้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรปและอเมริกา ทำให้ RIM ได้ออกเพจเจอร์ตามมาอีกหลายๆ รุ่น ทำให้ปีต่อมา (1997)  RIM ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของโตรอนโตในประเทศแคนาดา และสามารถที่จะระดมเงินทุนได้กว่า 3,680 ล้านบาท

แบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry) เป็นสมาร์ตโฟนและโทรศัพท์มือถือที่ถูกสร้างขึ้นโดย บริษัทแบล็คเบอร์รี่จำกัด (BlackBerry Limited) ซึ่งเดิมก็คือ บริษัทรีเสิร์ชอินโมชั่น (Reserch in Motion Limited – RIM) นั่นเอง โดย Blackberry เครื่องแรกนั้นได้การเริ่มผลิตขึ้นในปี 1999 โดยมีลักษณะเป็นเพจเจอร์แบบสองทาง


ส่วนของมือถือ BlackBerry เครื่องแรกที่มาพร้อมกับแผงปุ่มกด QWERTY เหมือนบนคีย์บอร์ดบนคอมพิวเตอร์ ถูกเปิดตัวขึ้นในปี 2002 ในชื่อรุ่น Blackberry 6710 และตลอดเวลาที่มีการผลิตมือถือ โดยส่วน User Interface ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมที่สุดของ BlackBerry คือแป้นพิมพ์แบบ QWERTY ขณะที่ BlackBerry รุ่นใหม่ ๆ จะใช้ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์เสมือนดังเช่น iPhone

BlackBerry สามารถ่ายรูปและวิดีโอ รวมถึงเล่นเพลงได้ นอกจากนั้นยังตอบสนองการใช้งานด้านอีเมล์ เว็บเบราว์เซอร์ เมสเซนเจอร์ โดยเฉพาะ BlackBerry Messenger ซึ่งบริษัท BlackBerry เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และเคยเป็นที่นิยมของผู้ใช้ทั่วโลก

ฉีกกรอบมือถือเดิม ๆ ด้วยนวัตกรรมคีย์บอร์ด QWERTY
ฉีกกรอบมือถือเดิม ๆ ด้วยนวัตกรรมคีย์บอร์ด QWERTY

ในปี 2011 BlackBerry กินส่วนแบ่งตลาด โทรศัพท์มือถือ ทั่วโลกได้ถึง 3% กลายเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับ 6 ของโลก ระบบอินเทอร์เน็ตของBlackBerry เปิดให้บริการใน 91 ประเทศ ทั่วโลก ภายใต้ผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 500 ราย ในเดือนกันยายน ปี 2012 มีผู้ใช้ BlackBerry ถึง 80 ล้านเครื่องทั่วโลก

โดยผู้คนกลุ่มประเทศแคริบเบียนและละตินอเมริกาใช้แบล็คเบอร์รี่มากที่สุด คิดเป็น 45% ของจำนวนเครื่อง BlackBerry ที่มีจำหน่ายทั้งหมดทั่วโลก แม้กระทั่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่าง บารัก โอบามา ก็ใช้งาน BlackBerry เป็นมือถือเครื่องหลักของเขา

แต่สุดท้ายแล้ว BlackBerry ก็ตัดสินใจไปมุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์บนสมาร์ทโฟนมากกว่าการพัฒนาตัวอุปกรณ์ และจะส่งต่อส่วนธุรกิจการผลิตสมาร์ทโฟนให้กับแบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายอื่นรับช่วงไปแทน

สุดท้ายเดิมพันดังกล่าวก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง รายได้ของทางบริษัทมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2010 ซึ่ง ณ เวลานั้นถือเป็นจุดสูงสุดของความนิยมในมือถือ BlackBerry รวมถีง แอพพลิเคชั่นแชท BlackBerry Messenger และระบบอีเมลเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้เกิดกระแสฮิตในหมู่กลุ่มผู้ใช้งานหนุ่มสาวและผู้ใช้งานเชิงธุรกิจ แม้กระทั่งในประเทศไทยเอง Blackberry ก็กลายเป็นมือถือยอดนิยมอยู่ชั่วขณะหนึ่งเลยด้วยซ้ำ

จนกระทั่งการเกิดขึ้นของ iOS ของ Apple และ Android ของ Google ที่มาพร้อมแอพพลิเคชั่นนับล้านและระบบทัชสกรีนเต็มรูปแบบก็ทำให้ผู้ใช้งานทั่วโลก มอง BlackBerry ว่าอุปกรณ์ของพวกเขา เป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว และ Blackberry Messenger อาวุธหลักของพวกเขาก็ไม่สามารถดึงดูดใจได้อีกต่อไปเมื่อมีการเกิดขึ้นของ Chat Platform ใหม่ที่ใช้งานทุกอย่างได้ฟรี อย่าง Whatsapp

แม้ว่าในปี 2012  Blackberry จะพยายามกอบกู้สถานการณ์ด้วยการเข็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดทั้ง BlackBerry Q10, Z10และล่าสุด Z30 แต่ยอดขายโดยรวมยังลดลงอย่างต่อเนื่อง สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆของ Blackberry นั้นถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการปรับเปลี่ยนเฉพาะการออกแบบรูปลักษณ์และเพิ่มลักษณะพิเศษในการใช้งาน

แม้จะพยายามออกรุ่นใหม่เป็นมือถือแบบทัชสกรีน แต่มันก็สายไปเสียแล้วสำหรับ Blackberry
แม้จะพยายามออกรุ่นใหม่เป็นมือถือแบบทัชสกรีน แต่มันก็สายไปเสียแล้วสำหรับ Blackberry

แต่มันได้ขาด “นวัตกรรม” ใหม่ๆ และผู้บริหารของบริษัทก็ถูกมองว่ายึดติดกับความสำเร็จในช่วงต้นศตวรรณที่ 21 ที่ Blackberry เคยเขย่าวงการสมาร์ทโฟนในฐานะเครื่องมือสำหรับนักธุรกิจอย่างไร้คู่แข่งมากจนเกินไป

ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วนั้น สมาร์ทโฟนภายใต้แบรนด์ BlackBerry ก็เหลือแค่เพียง “ตำนาน” หน้าหนึ่งที่เคยบันทึกไว้ในวงการธุรกิจมือถือว่าเคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง แต่ตอนนี้แทบจะไม่เหลือพื้นที่ยืนบนตลาดมือถือโลก เหมือนดั่งที่เราได้เห็นในปัจจุบันนั่นเองครับ

References : 
https://www.wikipedia.org
https://www.pocket-lint.com/phones/news/137319-farewell-blackberry-os-here-are-the-23-best-blackberry-phones-that-changed-the-world
https://www.silicon.co.uk/e-innovation/science/tales-tech-history-blackberry-223557

Spaceline กับแนวคิดลิฟต์อวกาศ จากโลกไปดวงจันทร์

มันเป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะหลบหลีกจากแรงโน้มถ่วงของโลก ถ้าคุณสามารถสร้างจรวดที่ใช้พลังงานสูงมาก และ นั่นคือแนวคิดเบื้องหลังของ Spaceline ลิฟต์อวกาศที่เป็นแนวคิดใหม่ซึ่งจะเชื่อมโยงโลกและดวงจันทร์เพื่อลดต้นทุนการเดินทางในอวกาศได้อย่างมาก

อธิบายไว้ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ไปยัง preprintโดยนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, Spaceline จะถูกผูกไว้กับพื้นผิวของดวงจันทร์และห้อยลงสู่วงโคจร รอบโลกเหมือนลูกดิ่งที่พุ่งเข้าไปในจักรวาล 

ซึ่งจากเอกสารงานวิจัยดังกล่าวพบว่า Spaceline สามารถสร้างขึ้นจากวัสดุที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้ของการเดินทางในอวกาศที่ง่ายขึ้นและบางทีอาจเป็นการตั้งถิ่นฐานใหม่ของมนุษย์ในอนาคตก็เป็นได้

แทนที่จะปล่อยจรวดออกไปจากวงโคจรนักบินอวกาศจะเดินทางด้วย Spaceline ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่าย และสร้างความท้าทายใหม่ของการปล่อยจรวด เพราะเมื่อถึงสุญญากาศของอวกาศซึ่งปราศจากแรงโน้มถ่วง ตัวยานอวกาศจะถูกยึดเข้ากับสายเคเบิลและกระสวยที่สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์และขับเคลื่อนไปตามระยะทางตามความยาวของ Cable นั่นเอง

Zephyr Penoyre หนึ่งในนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่อยู่เบื้องหลัง Spaceline กล่าวกับ Futurism ว่า“ สายเคเบิลจะกลายเป็นชิ้นส่วนของโครงสร้างพื้นฐานคล้ายกับทางรถไฟสายแรก การเคลื่อนที่ของผู้คนและสิ่งของต่าง ๆ นั้นง่ายกว่า และจะง่ายกว่าการเดินทางในห้วงอวกาศเป็นอย่างมาก”

โดยแรงโน้มถ่วงและความเร็วในการหมุนที่สูงขึ้นของโลก จะทำให้สายเคเบิลถูกเร่งความเร็วขึ้น ซึ่งความเสี่ยงของการเสียหายของสายเคเบิลนั้นจะลดลง เมื่อสายเคเบิลถูกผูกติดกับดวงจันทร์เท่านั้น 

Emily Sandford นักศึกษาปริญญาโทด้านดาราศาสตร์ของ Penoyre และ Cambridge กล่าวว่าท่อนาโนคาร์บอนเป็นวัสดุที่ดีที่สุดในการใช้งาน แต่ยังไม่สามารถนำมาสร้างได้ในขณะนี้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย

ในส่วนของสายเคเบิลนั้นนักวิจัยได้ทำการทดลองในรูปร่างต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งในที่สุดก็สรุปว่าจะต้องใช้สายเคเบิลที่แคบที่สุดที่ปลายทั้งสองข้าง ดังนั้นมันจึงจะไม่ยุบภายใต้แรงโน้มถ่วง

แต่ต้องมีความหนาตรงกลางเพื่อป้องกันการหักงอของสาย ซึ่งในขั้นตอนนี้นักดาราศาสตร์ไม่ได้คำนึงถึงการถูกชนของเศษวัตถุต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่ววงโคจรใกล้โลก

หากผลงานทั้งหมดออกมาและวันหนึ่ง Spaceline สามารถนำมาใช้ได้จริงนั้น นักวิจัยได้จินตนาการถึงอนาคตที่มนุษยชาติใช้มันเพื่อเชื่อมโยงกับกล้องโทรทรรศน์ได้ และทำการสร้างศูนย์การวิจัยที่สามารถบินไปถึงจุด Lagrange ซึ่งเป็นระดับความสูงที่ดวงจันทร์ และโลกออกแรงแรงโน้มถ่วงเท่า ๆ กัน แต่ในทิศทางตรงกันข้ามกันได้

“ ลองนึกถึงในทวีปแอนตาร์คติค ซึ่งช่วงแรก ๆ อาจมีวิศวกร 2-3 คนอยู่ที่นั่นในแต่ละครั้ง แต่ไม่เหมือนกับในวงโคจรของโลกในระดับต่ำกว่าจุด Lagrange ซึ่งจุดนั้นเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับการสร้างศูนย์วิจัยเพื่อวิจัยเรื่องดาราศาสตร์ซึ่งเราอาจจะค้นพบอะไรใหม่ ๆ อีกมากมายหากสามารถสร้างมันได้สำเร็จ ” Penoyre กล่าว 

References : 
https://futurism.com

ประวัติ Yelp ต้นแบบแอปชื่อดังของไทยอย่าง Wongnai

สำหรับ Jeremy Stoppelman ผู้ก่อตั้ง Yelp นั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งกับ paypal บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการชำระเงิน Online มาก่อน โดย Stoppelman นั้น เรียนด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ โดยจบการศึกษาในช่วงปี 1999 ซึ่งเป็นช่วงก่อนฟองสบู่ดอทคอมแตกพอดี

Stoppelman นั้น เริ่มชีวิตการทำงานที่ @Home Network โดยใช้ระยะเวลาเพียงช่วงสั้น ๆ ในบริษัทดังกล่าว ก่อนจะมาร่วมงานกับ Elon Musk ใน X.com ซึ่งเขาค่อนข้างมีบทบาทสำคัญใน X.com ก่อนจะควบรวมกับ Paypal โดยตำแหน่งสุดท้ายนั้นเขาดูแล Engineer ทั้งหมดในตำแหน่ง VP of Engineering 

ซึ่งหลังจากอยู่กับ Paypal เพียงไม่นาน เขาก็ได้ลาออกไปไปเรียนต่อด้านธุรกิจที่ Harvard Business School ที่มหาวิทยาลัย Harvard 

Stoppelman นั้นเป็นชาวยิว เหมือน ๆ กับหลาย ๆ นักธุรกิจชื่อดังที่ประสบความสำเร็จทางด้านเทคโนโลยี โดยเขาเกิดที่ Arlington รัฐ Verginia โดยมีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เด็ก

เขาได้เริ่มลงทุนในหุ้นตั้งแต่อายุเพียง 14 ปี เท่านั้น ความฝันอย่างนึงในวัยเด็กของเขาก็เหมือนเด็ก ๆ ทั่วไป คือการสร้างเกมส์ขึ้นมา และได้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง โดยเริ่มเรียนด้านโปรแกรมมิ่งภาษาแรกคือ Turbo Pascal 

สำหรับชีวิตการทำงานของเขาใน X.com ของ อีลอน มัสก์ นั้นทำให้ได้เจอะเจอผู้คนมากหน้าหลายตา รวมถึงนักลงทุนชื่อดังอย่าง Max Levchin ซึ่งต่อมาก็เป็น Levchin นี่เองที่กลายมาเป็นนักลงทุนหลักของ Yelp  บริการที่เขาได้ก่อตั้งขึ้นมาหลังจากได้มีโอกาสเข้าไปอบรมในโปรแกรม Business Incubator ของ MRL Ventures

ในช่วงฤดูร้อนของปี 2004 เกิดจุดหักเหสำคัญขึ้นกับ Stoppelman ตอนนั้นเขาป่วยเป็นไข้หวัดอย่างหนัก และไม่สามารถที่จะออกไปไหนได้ และมันทำให้เขาได้คิดถึงไอเดียของ Yelp ที่ต้องการสร้าง Online Community ที่จะช่วยแชร์บริการต่าง ๆ ในท้องถิ่นใกล้เคียง ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของ Yelp ในช่วงแรก ๆ ของการก่อตั้ง

Jeremy Stoppelman CEO ผู้ก่อตั้ง Yelp
Jeremy Stoppelman CEO ผู้ก่อตั้ง Yelp

ซึ่งเขาก็ได้ชักชวนอดีตเพื่อนร่วมงานที่ paypal อย่าง Russel Simmons ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่ MRL Ventures และได้ทำการเสนอไอเดียของ Yelp ให้กับ Levchin ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ให้เงินลงทุนให้กับทั้งสองหนุ่มในการตั้งต้นธุรกิจจำนวน 1 ล้านเหรียญ

ด้วยความสามารถทั้งทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจของ Stoppelman ทำให้เขาสามารถพา Yelp กลายเป็นบริการที่คนแห่มาใช้กันอย่างรวดเร็ว กลายเป็นกระแสปากต่อปาก ด้วยบริการง่าย ๆ ที่ตอนนั้นยังไม่มีใครคิดทำมาก่อน

ซึ่งในเวลาเพียงไม่นาน Yelp ก็มีการเข้ามา Review ของ User ในระบบกว่า 138 ล้าน Reviews และมันได้ทำให้มูลค่าของ Yelp พุ่งสูงขึ้นไปถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ ด้วยความที่เป็นบริการที่ใช้ผลการค้นหาของ Google เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง traffic ให้ Yelp นั้น

ในที่สุด Google ก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอซื้อ Yelp จาก Stoppelman เป็นมูลค่ามหาศาลที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ Stoppelman ก็ได้ทำสิ่งที่เป็นเรื่องเซอร์ไพรซ์วงการด้วยการปฏิเสธข้อการเข้าซื้อของ Google อย่างไร้เยื่อใย

และในที่สุดในปี 2012 Stoppelman ก็พา Yelp เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ได้สำเร็จ ต้องเรียกได้ว่าเขาสามารถที่จะนำ Startup จากบริษัทเล็ก  ๆ ที่มีพนักงานไม่กี่คน ฝ่าฟันจนสามารถเข้าไปอยู่ตลาดหุ้นได้สำเร็จ

สามารถทำการ Exit ด้วยการพาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ
สามารถทำการ Exit ด้วยการพาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ

กล่าวกันว่า สไตล์การบริหารงานของ Stoppelman ในการสร้าง Yelp นั้น เขามักจะเป็นผู้บริหารที่มารับฟังปัญหาลูกน้องอยู่สม่ำเสมอ และพยายามแก้ไขแบบ 1 ต่อ 1 อย่างมืออาชีพ ภายใน Yelp เองเขาก็ไม่ได้มีห้องผู้บริหารส่วนตัว แม้จะเป็น CEO ก็จริงแต่ก็มาคลุกคลีทำงานกับลูกน้องของเขาอยู่เสมอ ซึ่งทำให้เหล่าพนักงาน Yelp รักเขามาก

ซึ่งที่ Yelp เขาได้พาน้องชายเข้าร่วมงานด้วยในตำแหน่ง Senior Vice President of Engineering เขามักจะคอยสอดส่องบริการของตัวเองอยู่สม่ำเสมอ เพื่อหาจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข ซึ่งใน Yelp Platform เองนั้นก็มี Review ของเขาอยู่กว่า 1,000 reviews ซึ่งสุดท้ายหลังจากพาบริษัทเข้าตลาดหุ้นได้สำเร็จ หุ้นของเขาที่มีอยู่กว่า 11% นั้นก็ทำให้เขามีมูลค่าทรัพย์สินราว ๆ 111 ล้านเหรียญ – 222 ล้านเหรียญ ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนของ Silicon Valley จวบจนถึงปัจจุบัน

References :
wikipedia.org
https://www.linkedin.com/in/jeremystoppelman
https://www.bloomberg.com/profile/person/16358662

ประวัติ Reader’s Digest หนังสือขวัญใจนักอ่านทั่วโลก

ในปี 1922, วิลเลียม รอย เดอวิตต์ วอลเลซ (William Roy Dewitt Wallace) ได้ก่อตั้งนิตยสารฉบับหนึ่งตามความใฝ่ฝันของเขา ในขณะที่เขากำลังฟื้นตัวจากบาดแผลจากกระสุนที่ได้รับในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

โดยวอลเลซ มีความคิดที่จะรวบรวมตัวอย่างของบทความที่ชื่นชอบในหลาย ๆ เรื่องจากนิตยสารรายเดือนต่าง ๆ และในบางครั้งก็ทำการกลั่นกรองและนำมาเขียนใหม่และทำการรวมเรื่องน่าสนใจเหล่านี้ให้กลายเป็นนิตยสาร

โดย วอลเลซ นั้นได้ตกผลึกแนวคิดธุรกิจของตัวเองขึ้นมา โดยเขาคิดจะทำนิตยสารที่พร้อมสรรพทุกด้านทุกมุม มีความหลากหลายและเป็นบทความที่อ่านได้ง่าย เข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก

และเขากับภรรยา ไลลา เบลล์ แอชีสัน (Lila Bell Acheson)  ได้ร่วมกันปั่นต้นฉบับ และทำการตั้งสำนักงานใหญ่ของ Reader’s Digest กันที่โรงรถบนถนน Eastview Avenue ในพลีแซนต์วิลล์

และได้ทำการออกฉบับแรกสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1922 โดยปกแรกสุดนั้นได้ทำการตีพิมพ์ออกมาจำนวน 5,000 เล่ม ขายในราคาเล่มละเพียง 25 เซ็นต์ และเพียงฉบับแรกก็ได้รับผลตอบรับอย่างล้นหลามจากเหล่าหนอนหนังสือทั่วประเทศอเมริกา

Reader's Digest ฉบับแรกในปี 1922
Reader’s Digest ฉบับแรกในปี 1922

นับตั้งแต่ก่อตั้ง บริษัท Reader’s Digest  มีจุดยืนอย่างแข็งแกร่งในเรื่องของความเป็นอนุรักษ์นิยม และต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยมุมมองเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและสังคมผ่านการสะท้อนตัวตนของผู้ก่อตั้งอย่างวอลเลซได้เป็นอย่างดี

ขึ้นสู่จุดสูงสุด

พวกเขาใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี Reader’s Digest ก็สามารถคืนทุนทั้งหมดได้สำเร็จ และชดใช้หนี้สินที่พวกเขาทั้งคู่ได้กู้มาทำหนังสือได้จนหมดสิ้น และในปี 1926 มีผู้สมัครสมาชิกถึง 30,000 ราย ก่อนที่ตัวเลขจะพุ่งขึ้นไปสูงถึง 290,000 รายในปี 1929

โดยหนังสือในฉบับนานาชาติครั้งแรกถูกตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรในปี 1938 เมื่อครบรอบ 40 ปี Reader’s Digest มีฉบับต่างประเทศถึง 40 ฉบับใน 13 ภาษาและยังมีเวอร์ชั่นอักษรเบรลล์ และ ณ จุดหนึ่งมันได้กลายเป็นนิตยสารที่มียอดขายสูงที่สุดในหลาย ๆ ประเทศ เช่น แคนาดา, เม็กซิโก , สเปน , สวีเดน , เปรู และประเทศอื่น ๆ ด้วยยอดขายรวมระหว่างประเทศ กว่า 23 ล้านเล่ม 

เข้าสู่ประเทศไทย

สำหรับคนไทยรู้จักหนังสือ Reader’s Digest ที่แปลเป็นภาษาไทย ในนาม “Reader’s Digest สรรสาระ” ที่เข้ามาบุกตลาดคนไทยเมื่อปี 1995 และเล่มแรกที่ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือนเมษายน 19969 ขนถึงปัจจุบันมียอดจำหน่ายต่อเดือนสูงถึง 116,314 ฉบับ 

จุดเริ่มต้นของ Reader’s Digest ในไทย เกิดจากความมั่นใจของบริษัทแม่ที่อเมริกาคาดว่าในอนาคต ตลาดนักอ่านในไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่นมาแล้ว 

ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการบุกตลาดไทย
ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการบุกตลาดไทย

และจากตัวเลขยอดขายที่ทำได้ระดับแสนเล่มภายในระยะไม่ถึง 2 ปี นับว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียววในประเทศไทย ซึ่งเป็นการทำตลาดโดยใช้การส่งจดหมายไปตามที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งในจดหมายนั้นจะมีทั้งใบตอบรับสมาชิก ใบชิงโชครางวัลต่างๆ โดยผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกก็สามารถมีสิทธิ์ชิงรางวัลได้ ด้วยวิธีการทำตลาดดังกล่าวในไทยนี้ถือว่ายังใหม่อยู่มากและก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศไทย

แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อกระแส Digital Disruption

กลุ่มนักลงทุนเอกชน บริษัท โฮลดิงส์ แอลแอลซี ที่ซื้อรีดเดอร์ส ไดเจสท์ มาในปี ค.ศ. 2007 ด้วยมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) ก่อให้เกิดหนี้สินราว 800 ล้านดอลลาร์สหัรฐ (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) 

ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากที่ทุกสื่อเจอกัน ก็คือผลมาจากชาวอเมริกาเหนือนั้นได้หันไปบริโภคข่าวสารทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งสุดท้าย เป็นผลให้บริษัทถูกฟ้องล้มละลายในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 เนื่องจากขาดทุนในการใช้จ่ายด้านการโฆษณาและมีภาระหนี้สินที่มากขึ้นจากการซื้อกิจการครั้งนั้น

แต่ท้ายที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี  2014 Mike Luckwell นักลงทุนจากอังกฤษก็เข้ามาซื้อกิจการ Reader’s Digest ในสหราชอาณาจักรไปและได้ทำการลงทุนเพิ่มเติม โดยตอนนี้ Reader’s Digest กำลังพยายามปรับตัวให้เข้าสู่โลกออนไลน์ ( https://www.rd.com)อย่างที่เราได้เห็นจนถึงทุกวันนี้นั่นเองครับ

References : 
https://en.wikipedia.org
http://info.gotomanager.com
https://www.mikeluckwell.com
https://stanglibrary.files.wordpress.com/2014/09/rd000.jpg