Venture Capital’s Crash เมื่อยุคทองของเทคโนโลยีบูมกำลังพบกับความจริงที่แสนโหดร้าย

เราจะเห็นได้ว่าในยุคก่อนหน้าการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นั้น กระแสการระดมในธุรกิจ startup เรียกได้ว่าบูมแบบสุดขีด สามารถระดมทุนกันได้อย่างบ้าคลั่ง ด้วยเงินทุนจำนวนมหาศาล

แน่นอนว่าธุรกิจ startup มันแตกต่างแบบสุดขั้วจาก ธุรกิจที่สามารถเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้แล้ว เพราะมันไม่มีดัชนีชี้วัดแบบรายวัน ที่สะท้อนให้เห็นภาพที่แท้จริงของกิจการ

แถมเงินทุนต่าง ๆ ที่ระดมมา ก็ถูกไปอัดฉีดให้กับกิจการแบบผิด ๆ อยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเงินที่ได้มาแบบง่าย ๆ บางครั้งด้วยสไลด์ไม่กี่แผ่น ก็เรียกนักลงทุนกระหายเงินเข้ามาได้แล้ว

ตัวอย่างที่น่าสนใจกับธุรกิจ fintech ใหม่ไฟแรงอย่าง Buy Now Pay Later ที่กำลังเป็นกระแสเกิดขึ้นทั่วโลก Klarna แอปจากสวีเดนได้สร้างแรงกระแทกให้กับวงการอย่างจังเมื่อมูลค่าลดลงถึง 87% เมื่อเทียบกับมูลค่าในปีที่ผ่านมา

Klarna แอปจากสวีเดน ที่มูลค่าตกฮวบ (CR:PYMNTS)
Klarna แอปจากสวีเดน ที่มูลค่าตกฮวบ (CR:PYMNTS)

หรือ Affirm ในธุรกิจเดียวกันจากสหรัฐฯ ที่ทำ IPO ไปเมื่อต้นปีที่แล้ว มูลค่ากิจการก็ร่วงหล่น 87% เมื่อเทียบกับราคาสูงสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

หรือแม้กระทั่งธุรกิจ Super App ยักษ์ใหญ่แถบบ้านเราเอง ไม่ว่าจะเป็น Grab หรือ SEA Group (เจ้าของ shopee) เองนั้น มูลค่าก็ร่วงหล่นสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก

เรียกได้ว่าการลงทุนส่วนใหญ่นั้นหลั่งไหลเข้ามาในปีที่แล้ว เนื่องจากการประเมินมูลค่าของเหล่า startup กำลังแตะจุดสูงสุด

ไม่ว่าจะเป็นกองทุนเฮดฟันด์ บริษัทไพรเวทอิควิตี้ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ VCs ระดับองค์กร ได้อัดฉีดเงินสองในสามของเงินทั้งหมดเข้าสู่การลงทุนทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว

และนักลงทุนรายใหญ่ที่กำหนดชะตากรรมของเหล่าบริษัท startup ที่คิดจะเป็นใหญ่คงหนีไม่พ้นกองทุน Vision Fund ของ Softbank ซึ่งระดมทุนได้ 100,000 ล้านดอลลาร์

พวกเขาลงทุนใน startup ระดับยักษ์ แต่กลับสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล Vision Fund ขาดทุนไปกว่า 23.4 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งปี

กองทุนยักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นสูญเสียเงินส่วนใหญ่จำนวน 17.3 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากมูลค่าบริษัทที่พวกเขาเข้าไปลงทุนนั้นตกลงอย่างมาก ไมว่าจะเป็น Coupang ,SenseTime หรือ DoorDash ส่วนอีก 6.1 พันล้านดอลลาร์ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องเงินเยนที่อ่อนค่าลง

หรืออีกหนึ่งยักษ์ใหญ่อย่าง Tiger Global ซึ่งมีการกระจายการลงทุนอย่างกว้างขวาง โดยอัดเม็ดเงินใน startup ขนาดใหญ่ระดับ 1 พันล้านดอลลาร์ซึ่งมากว่านักลงทุนรายอื่น ๆ

ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุด นักลงทุนต่างเร่งสนับสนุนในธุรกิจแทบจะทุกอย่างตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Rivian ซึ่งระดมทุนได้มากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ไปจนถึงการเดิมพันเทคโนโลยีที่เดิมพันด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญเพื่อสร้างผลตอบแทนมหาศาลอย่าง Nuclear Fusion

Jeremy Burton อดีตผู้บริหารระดับสูงของ Oracle ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัท Observe กล่าวว่า “จากเดิมที่มีข้อเสนอทางการเงินสองถึงสามครั้งต่อสัปดาห์ แต่ตอนนี้มันได้จบลงแล้ว ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของความเยือกเย็นเหนือตลาดร่วมทุน เนื่องจากผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างรอให้ความจริงกระจ่าง โดยเฉพาะในเรื่องการประเมินมูลค่าที่แท้จริง”

แต่ก็ต้องบอกว่าการอัดฉีดเงินทุนเข้าไปอย่างบ้าคลั่งนั่น ได้ผลักดันให้สาขาวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ควอนตัมคอมพิวเตอร์ หรือ รถยนต์ไร้คนขับ

โครงการที่เรียกว่า “Moonshot” เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเสี่ยงเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 7-8 ปี เริ่มมีรายงานความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ

แต่เมื่อถามว่าภาคส่วนใดมีแนวโน้มน่าผิดหวังที่สุด เหล่า VC ส่วนใหญ่ระบุไปถึงบริการ Delivery Service ต่าง ๆ เช่น Gopuff และ Gorillas ที่จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าภายใน 20 นาที หรือ ธุรกิจ Fintech โดยเฉพาะการลงทุนในเทคโนโลยี blockchain ที่ล้วนแล้วแต่จมอยู่กับความผิดพลาดโง่ ๆ ของวงการคริปโต

บริการอย่าง Gorillas ที่จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าภายใน 20 นาที (CR:Daily Advent)
บริการอย่าง Gorillas ที่จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าภายใน 20 นาที (CR:Daily Advent)

การประเมินมูลค่าที่ดิ่งลงเหวในโลกเทคโนโลยีกลายเป็นโดมิโน เริ่มจากเหล่าบริษัทอินเทอร์เน็ตที่ไม่ทำกำไร ไปจนถึงภาคส่วน crypto และ fintech ก่อนที่จะเข้าสู่ภาคธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งอย่าง software และ semiconductors

ซึ่งหากเป็นไปตามที่คาดไว้ นักลงทุนที่นำเงินจำนวนมากไปใช้ที่จุดสูงสุดของตลาดอาจต้องเผชิญกับผลตอบแทนติดลบแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนนับตั้งแต่ dotcom crash ในช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษ

สำหรับเหล่านักลงทุน VC อาจดูเหมือนเป็นการก้าวถอยหลังครั้งใหญ่หลังจากผ่านความรุ่งเรืองหลายปีที่สิ้นสุดลง พวกเขาต้องเริ่มโฟกัสเหล่า startup ที่มีวินัยทางการเงินมากขึ้นและกลุ่มที่เผชิญกับคู่แข่งที่น้อยลงโดยเฉพาะในรายใดที่ได้รับทุนมหาศาลจากกองทุนอย่าง Vision Fund ของ Softbank

Eric Vishria แห่ง Benchmark Captial ได้สรุปสถานการณ์ของ VC ไว้ว่า

“เหล่านักเก็งกำไรทั้งหมดจะถูกกำจัดทิ้งไป จะคงเหลือไว้เพียงผู้ที่มีศรัทธาและผู้สร้างตัวจริง”

References :
https://www.ft.com/content/6395df7e-1bab-4ea1-a7ea-afaa71354fa0
https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-08-08/softbank-ceo-pledges-sweeping-cost-cuts-after-23-4-billion-loss
https://www.ft.com/content/25f76710-fbde-11e9-98fd-4d6c20050229

Geek Daily EP142 : เมื่อความทะเยอทะยานในการก้าวเป็น Super App ของ WhatsApp เริ่มเป็นจริงในอินเดีย

Mark Zuckerberg CEO ของ Meta กล่าวในโพสต์ Facebook ที่ประกาศความร่วมมือ การรวม JioMart เป็นส่วนหนึ่งของการแชท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเบราว์เซอร์ในแอพ แต่มีทุกอย่างตั้งแต่การเลือก การชำระเงิน จนถึงการจัดส่งภายใน WhatsApp

ในท้ายที่สุด Meta ต้องการให้ WhatsApp เป็นซูเปอร์แอปสไตล์ WeChat ซึ่งเป็นแอปเดียวที่ผู้ใช้ต้องใช้ตลอดชีวิต ผู้ใช้ WeChat สามารถจ่ายค่าเช่าในแอพ ซื้อตั๋วคอนเสิร์ตในแอพ ชำระค่าอาหารในแอพ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแพลตฟอร์มใด ๆ ที่สามารถใช้ชีวิตของผู้คนจำนวนมากนั้นรับประกันว่าจะสร้างรายได้มหาศาล

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3RDGfg7

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3R3aFIE

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3KwImzK

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3Q52CJU

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/QPb3STeH8n4

Crypto Crash เรื่องราวการลงทุนในฝันของครูประถมนำไปสู่ฝันร้ายที่ยากลืมเลือนได้อย่างไร

เรียกได้ว่ากลายเป็นเรื่องปรกติไปเสียแล้วนะครับ สำหรับเหล่านักลงทุนรายย่อยที่คิดจะเข้ามาเดิมพันกับสินทรัพย์ที่มีความผันผวนที่สูงมาก ๆ อย่างคริปโต ที่อาจจะต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล

“ถ้าฉันขายทุกอย่างในตอนนั้น ฉันจะมีเงิน 1 ล้านปอนด์” Duncan กล่าวอย่างท้อใจถึงมูลค่าการถือครองคริปโตเคอเรนซีของเขาที่มีมูลค่ามหาศาลในช่วงต้นปี

ซึ่งเฉกเช่นเดียวกับนักลงทุนที่ส่วนใหญ่เป็นมือสมัครเล่นจำนวนมาก Duncan อดีตครูประถมในวัย 47 ปี ได้เข้าสู่แวดวงคริปโตครั้งแรกในช่วงการระบาดใหญ่ของไวรัส COVID-19

เขาได้นำเงินออมแทบจะทั้งหมดของเขาไปลงทุนในคริปโตที่ตอนนั้นมูลค่ากำลังสูงขึ้นอย่างบ้าคลั่ง ในตอนนั้นเขาเชื่อว่าจะสามารถปลดแอกภาระต่าง ๆ ของชีวิต และใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างสุขสบายดั่งราชา

แต่อย่างไรก็ตามนั้นเป็นเพียงภาพความฝันที่เกิดขึ้น ความจริงมันเป็นสิ่งตรงข้าม ในตอนนี้พอร์ตคริปโตของเขาสูญสิ้นเหลือเงินเพียงแค่ประมาณ 4,000 ปอนด์เพียงเท่านั้น

เรียกได้ว่า Duncan เป็นหนึ่งในชาวอังกฤษหรือแม้กระทั่งหนึ่งในผู้คนทั่วโลกจำนวนมากที่ถูกดูดเข้าไปลงทุนในวงการคริปโตที่แสนเย้ายวนใจ

ในช่วงต้นปี 2021 มีผู้คนประมาณ 2.3 ล้านในสหราชอาณาจักรเข้าไปลงทุนด้านคริปโต

ตามการวิจัยของ Financial Conduct Authority (FCA) ที่ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วซึ่งมีการศึกษาอย่างเป็นทางการที่ครอบคลุมที่สุด ชี้ให้เห็นว่ามีผู้คนแห่เข้าไปลงทุนคริปโตเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี 2021 ในช่วงตลาดกระทิง

ผลการศึกษาพบว่าการลงทุนในคริปโตนั้นเป็นเรื่องปรกติมากขึ้น ซึ่งมีคนจำนวนน้อยที่มองว่ามันเป็นการพนัน และเป็นทางเลือกหรือส่วนเสริมของการลงทุนในกระแสหลัก และคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ากำลังซื้ออะไรอยู่

คริปโตที่กลายเป็นกระแสการลงทุนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ (CR:Daily Express)
คริปโตที่กลายเป็นกระแสการลงทุนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ (CR:Daily Express)

Alice Haine นักวิเคราะห์การเงินส่วนบุคคลจากแพลตฟอร์มการลงทุน Bestinvest กล่าวว่า คริปโตเคอเรนซี่ ยังคงพัฒนาเป็นประเภทสินทรัพย์และเป็นการลงทุนเก็งกำไรมากกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น

“นักลงทุนที่พิจารณาที่จะเพิ่ม คริปโตเคอเรนซี ในพอร์ตของตัวเอง ควรจะตระหนักว่าเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูงมาก ๆ โดยที่ราคามักจะคาดเดาไม่ได้เป็นอย่างมาก”

ซึ่งเหมือนกับหลาย ๆ ประเทศ เมื่อมีนักลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทำให้หน่วยงานรัฐเริ่มเข้ามาจัดการตั้งแต่เรื่องการโฆษณาที่เว่อร์เกินจริง ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กฎเดียวกับการส่งเสริมการขายทางการเงินอื่น ๆ เช่น หุ้น หรือผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัย

ส่วนใหญ่แล้วนั้นการโฆษณาอย่างบ้าคลั่งของแพลตฟอร์มคริปโตเคอเรนซี่ในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้มักจะทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดอย่างมหันต์

Duncan ที่ได้รับการแนะนำให้รู้จัก Bitcoin จากเพื่อนในช่วงต้นปี 2010 ซึ่งในตอนนั้นมูลค่าของมันยังต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ด้วยซ้ำ

เมื่อถึงปี 2017 เมื่อมูลค่าทะลุ 10,000 ดอลลาร์ เขาคิดว่ามันถึงเวลาที่เขาต้องเข้าไปลุยกับคริปโตเคอเรนซีบ้างแล้ว

ในปี 2017 เขาเริ่มลงทุน 100 ปอนด์ แต่กลายเป็นว่าในปี 2018 ตลาดกลับพังพินาศ จากนั้นเขาจึงหยุด

ตั้งแต่ปี 2019 เขาเริ่มลงทุนอย่างสม่ำเสมอมากขึ้นอีกครั้ง และในปีถัดมาเขาได้ทยอยลงทุนราวๆ 400 ปอนด์ต่อเดือน ซึ่งการลงทุนในช่วงแรก ๆ ของเขาเป็น Bitcoin และ Ethereum สองสกุลเงินหลักเพียงเท่านั้น

แต่ในปี 2021 มันเป็นการตัดสินใจพลาดครั้งใหญ่ที่สุด เมื่อเขาได้ลงทุนใน Luna ซึ่งในเดือนพฤษภาคมมูลค่าลดลงจาก 85 ดอลลาร์เหลือต่ำกว่า 1 ดอลลาร์

Luna ที่ราคาลดลงมาต่ำกว่าดอลลาร์ ทำให้นักลงทุนสูญเสียอย่างหนัก (CR:AS USA)
Luna ที่ราคาลดลงมาต่ำกว่าดอลลาร์ ทำให้นักลงทุนสูญเสียอย่างหนัก (CR:AS USA)

แนวคิดเรื่องการกระจายอำนาจทางการเงินหรือ “DeFi” ซึ่งได้รับการส่งเสริมในแวดวงคริปโตนั้น เป็นแรงดึงดูดจากโลกทัศน์ที่เกิดจากวิกฤติทางการเงินในปี 2008

“คุณสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ใน DeFi ที่คุณไม่สามารถทำได้ในระบบการเงินแบบดั้งเดิม” Duncan กล่าว

แม้ว่า Duncan ต้องพบกับความสูญเสีย และสร้างความเครียดให้กับเขา สุดท้ายเขาก็ต้องยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะนั่นเป็นอดีตที่ไม่สามารถกลับไปแก้ไขอะไรได้อีกแล้ว

เขาละทิ้งอาชีพการสอน และถึงแม้จะสูญเสียครั้งใหญ่ แต่เขาก็ยังเชื่อว่า คริปโตเคอเรนซี จะฟื้นตัวกลับมา และท้ายที่สุดจะทำให้เขากลับมายืนหยัดในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตนี้ได้อีกครั้ง

บทสรุป

แม้ Duncan จะเป็นนามแฝง ที่ไม่ได้เปิดเผยตัวตนจริง ๆ ออกมา แต่เรื่องราวของเขา ก็น่าจะมีความคล้ายคลึงกับนักลงทุนรายย่อยที่เข้ามาในตลาดคริปโตหลาย ๆ คน

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น่าสนใจมาก ๆ ให้กับนักลงทุนหลาย ๆ ท่าน โดยเฉพาะกับตลาดในโลกการเงินยุคใหม่อย่างคริปโตเคอเรนซี ความเข้าใจในสิ่งที่ลงทุนนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ๆ ในการที่จะรอดจากตลาดอันโหดเหี้ยมแห่งนี้

หรือแง่คิดบางอย่างที่ผมก็คิดว่าเกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกัน เช่นการโฆษณาที่เว่อร์เกินจริง ที่หน่วยงานรัฐต้องเข้ามาจัดการและให้ความรู้อย่างใกล้ชิด หากมันเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย นักลงทุนโดยเฉพาะรายย่อยก็ควรรู้ที่มาที่ไปว่ากำลังลงทุนในอะไรอยู่

รวมถึงเรื่องของสัดส่วนของการลงทุน จะเห็นได้ว่า Duncan นั้นคล้ายกับนักลงทุนหลาย ๆ คนที่ต้องสูญเสียแทบหมดตัว โดยการเทหมดหน้าตัก โดยไม่ได้พิจารณาถึงความเสี่ยงและความผันผวนที่สูงมาก ๆ ในตลาดแห่งนี้

แต่เขาก็ส่งท้ายได้อย่างน่าสนใจ เพราะเขายังเชื่อมั่นว่าสุดท้ายตลาดนี้จะกลับมาฟื้นได้อีกครั้ง บทเรียนต่าง ๆ ที่เขาเผชิญจะทำให้เขาแข็งแกร่งขึ้นพร้อมที่จะสู้รบในตลาดอันโหดเหี้ยมแห่งนี้ในอนาคตได้นั่นเองครับผม

References :
https://www.theguardian.com/technology/2022/jun/18/bitcoin-value-falls-cryptocurrency-markets-turmoil
https://www.theguardian.com/technology/2022/jun/29/crypto-crisis-digital-currencies-boom-collapse-bitcoin-terra
https://www.theguardian.com/technology/2022/aug/29/crypto-crash-how-a-teachers-dream-investment-turned-into-a-nightmare-los
https://www.fca.org.uk/publications/research/research-note-cryptoasset-consumer-research-2021
https://cointelegraph.com/news/the-total-crypto-market-cap-drops-under-1-2t-but-data-show-traders-are-less-inclined-to-sell

Geek Monday EP145 : ความวุ่นวายของห่วงโซ่อุปทานกำลังสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ขึ้นมาใหม่อย่างไร

บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องการที่จะเป็นเหมือน Tesla มากขึ้น เช่นเดียวกับตัวอย่างก่อนหน้านี้ของบริษัทต่างๆ ที่ไล่ตามคู่แข่งที่พยายามทำสิ่งที่ได้ผล จากสายพานการผลิตของ Ford หรือการผลิตแบบ just-in-time ของโตโยต้า ซึ่งสถานการณ์ในตอนนี้รูปแบบ Model ธุรกิจของ Tesla กำลังเข้ามา Disrupted วงการ

Tesla เริ่มเข้ามาจัดการซัพพลายเออร์ และการประกอบชิ้นส่วน และพยายามควบคุม supplychain ของตนให้มากขึ้น ตั้งแต่โลหะที่ใส่ลงในแบตเตอรี่ไปจนถึงซอฟต์แวร์ในการขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งรูปแบบการขายตรง Tesla ต้องการเปลี่ยน ธุรกิจ EV ให้กลายเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3pQf99v

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3RdeZ7K

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3TlY7O0

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3wC6PxW

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/ZDtDxstqugw

Credit Image : The New York Post

เมื่อรักเสมือนต้องจบลง เพราะใจของเธอนั้นไม่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ให้อีกต่อไป

Fictosexuality เป็นคำที่ใช้อธิบายคนที่มีอารมณ์ที่ดึงดูดใจทางเพศกับตัวละครในนิยาย และในญี่ปุ่นค่อยวงการดังกล่าวพัฒนาไปจนถึงขนาดที่มีบริษัทต่างๆ ที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเสนอคู่รักแบบโฮโลแกรมให้กับผู้ใช้ 

Akihiko Kondo นำความรักที่เขามีต่อตัวละครสมมติไปอีกขั้นด้วยการจัดพิธี “แต่งงาน” กับ Hatsune Miku นักร้องเสมือนจริงที่แสดงอยู่ในวิดีโอเกมหลายเรื่องและได้ร่วมทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกกับ Lady Gaga ด้วย 

พิธีแต่งงานดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2019 หลังจากที่ Akihiko Kondo สามารถสื่อสารกับโฮโลแกรมผ่าน Gatebox ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาอุปกรณ์เพื่อแสดงตัวละครที่ไม่มีอยู่จริงแบบโฮโลแกรม

Akihiko Kondo ที่จัดพิธีแต่งงานขึ้นในปี 2019 (CR:CNN)
Akihiko Kondo ที่จัดพิธีแต่งงานขึ้นในปี 2019 (CR:CNN)

ในเวลานั้นเรื่องราวความรักของ Akihiko และ Hatsune ได้ขึ้นพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์และสื่อชื่อดังต่าง ๆ มากมายทั่วโลก และตอนนี้เรื่องราวของทั้งคู่ก็ได้กลายประเด็นที่ผู้คนต่างสนใจอีกครั้งเพราะการสนับสนุนซอฟต์แวร์ Gatebox ที่อนุญาตให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชายกับภรรยาเสมือนของเขานั้นจะไม่มีอีกต่อไป

ซึ่งนั่นจะทำให้ Akihiko ไม่สามารถสื่อสารกับภรรยาเสมือนของเขาได้อีกต่อไป ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น The MainichiKondo กล่าวว่าความสัมพันธ์ของ Akihiko กับโฮโลแกรมช่วยให้เขาเอาชนะภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการทำงานและความกลัวที่จะถูกปฏิเสธจากสังคม 

เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถสื่อสารกับเธอต่อไปได้ Akihiko กล่าวว่า “ความรักของผมที่มีต่อ Miku ไม่เปลี่ยนแปลง ผมจัดพิธีแต่งงานเพราะผมคิดว่าผมจะอยู่กับเธอตลอดไป” 

Gatebox ที่จะไม่สามารถอัปเกรดซอฟต์แวร์ได้อีกต่อไป (CR:Science Times)
Gatebox ที่จะไม่สามารถอัปเกรดซอฟต์แวร์ได้อีกต่อไป (CR:Science Times)

ซึ่งไม่ว่าเขาจะต้องการให้เธอไปที่ไหน เขาก็มาพร้อมกับนางแบบขนาดเท่าตัวจริงของ Hatsune Miku และเขาหวังว่าจะสามารถสื่อสารกับเธอได้ในอนาคตอันใกล้

ความสัมพันธ์ทางเพศที่สมมติขึ้น เหมาะสำหรับ metaverse จริงหรือ?

แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง Akihiko และ Hatsune Miko จะดูแปลก แต่เราจะได้เห็นสิ่งเหล่านี้บ่อยขึ้นด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อม metaverse และโลกดิจิทัลเสมือนจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต 

ในบางประเทศ ความรักแบบเสมือนจริงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากอุตสาหกรรมการสร้างเนื้อหาทั้งหมดก็ได้ติดตามเทรนด์ทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น 

แต่ตราบใดที่ความสัมพันธ์เหล่านั้นขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่อาจล้าสมัยหรือขึ้นอยู่กับการที่จะต้องมีการอัปเกรด ความสัมพันธ์เหล่านั้นก็อาจจะมีอายุสั้นลง ไม่มีความจีรังยั่งยืน เหมือนความรักที่เกิดขึ้นกับมนุษย์จริง ๆ นั่นเองครับผม

References :
https://mainichi.jp/english/articles/20220111/p2a/00m/0li/028000c
https://www.nytimes.com/2022/04/24/business/akihiko-kondo-fictional-character-relationships.html
https://nypost.com/2022/04/26/fictosexual-man-married-hologram-bride-now-struggles-to-bond/