Geek Story EP348 : สงครามแบตเตอรี่รถไฟฟ้า จีน vs อเมริกา ใครจะชนะ?

ในปี 2023 มีรายงานว่า Ford กำลังมองหาพื้นที่ในรัฐ Virginia หรือ Michigan เพื่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่แห่งใหม่ที่จะช่วยลดต้นทุนได้ แต่มีข้อแม้ เทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่จะใช้มาจากบริษัทที่ตั้งอยู่ในมณฑลฟูเจี้ยน ประเทศจีน บริษัทนั้นคือ CATL ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ที่สุดในโลก

ผู้ว่าการรัฐ Virginia ตัดสินใจยกเลิกข้อเสนอโรงงานแบตเตอรี่ในรัฐของเขาเนื่องจากความเชื่อมโยงกับจีน โดยระบุว่า “พวกเขาได้รับอิทธิพล หากไม่ถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน” ทำให้ CEO ของ Ford ต้องออกมาปกป้องว่า “ดูสิ โรงงานนี้เป็นบริษัทในเครือที่ Ford เป็นเจ้าของทั้งหมด” และทำให้พวกเขาต้องมองหาที่ตั้งแห่งใหม่ โรงงานแบตเตอรี่นี้ได้เข้าไปพัวพันกับสงครามการค้าที่กว้างขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน อันเป็นปฏิกิริยาต่อการเติบโตอย่างพิเศษของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของจีน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify :
https://tinyurl.com/2x5s4eeh

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/2ywbxthf

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/43whrx5j

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/qk1MgSpVq-A

Geek Story EP321 : ทำไมสหรัฐฯ ถึงกลัวโรงงานแบตเตอรี่จีน? เมื่อจีนควบคุมห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่โลก สหรัฐฯจะรับมืออย่างไร

จีนมั่นใจว่า “ถ้าเราควบคุมการผลิต เราก็จะควบคุมราคาได้” ผลที่ตามมาคือบริษัทจีนควบคุมสัดส่วนที่สำคัญของอุปทานแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับแบตเตอรี่ทั่วโลก แต่จุดที่จีนควบคุมห่วงโซ่อุปทานอย่างแท้จริงคือขั้นตอนหลังการทำเหมือง ไม่ว่าใครจะทำเหมืองแร่ธาตุเหล่านี้

จีนทำการกลั่นแร่ส่วนใหญ่ของโลก นี่คือขั้นตอนที่โรงงานบดย่อยวัตถุดิบที่ขุดได้และสกัดแร่ธาตุที่ต้องการออกมา ซึ่งสร้างมลพิษค่อนข้างมาก นั่นคือเหตุผลที่เรามักไม่เห็นการกลั่นแร่มากนักในประเทศที่พัฒนาแล้ว จากนั้นโรงงานจีนยังผลิตส่วนประกอบทั้งสี่อย่างของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ด้วย: แคโทด แอโนด อิเล็กโทรไลต์ แล้วนำมาประกอบเป็นเซลล์แบตเตอรี่ เพราะมีการผลิตแบตเตอรี่ที่พัฒนามาอย่างดีแล้ว

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify :
https://tinyurl.com/3zmvrm6k 

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/4r93kf2t

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/4hedjkxx

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/v-gnXnQGk_w

เปิดกล่องดำ Tesla กลยุทธ์เด็ดพลิกเกมอุตสาหกรรม กับการแจกสิทธิบัตรฟรีของ Elon Musk

เคยสงสัยไหมว่าทำไมบริษัทใหญ่ระดับ Tesla ถึงกล้าแจกสิทธิบัตรฟรี? และนี่คือเรื่องราวที่จะทำให้คุณทึ่งกับความกล้าของ Elon Musk ที่พลิกโฉมวงการยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

ย้อนกลับไปในปี 2014 Elon Musk สร้างความฮือฮาให้วงการยานยนต์ด้วยการประกาศว่า “สิทธิบัตรทั้งหมดของเราเป็นของคุณ” ประโยคสั้นๆ นี้ทำให้วงการรถยนต์สั่นคลอนไปทั้งอุตสาหกรรม

แต่รู้ไหมว่าทำไม Elon ถึงกล้าทำแบบนี้? เขามองว่าคู่แข่งที่แท้จริงของ Tesla ไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้ออื่นที่มีอยู่น้อยนิด แต่เป็นรถยนต์น้ำมันที่ผลิตออกมามากโขจากโรงงานทั่วโลกต่างหาก

ความเทพของ Elon อยู่ตรงที่เขาคิดนอกกรอบ การเปิดเผยสิทธิบัตรของ Tesla ไม่ได้หมายความว่าใครจะมาก็อปปี้เทคโนโลยีได้ตามใจชอบ ต้องทำตามกติกา ไม่ล้ำเส้น ไม่แทงข้างหลัง และต้องใช้เทคโนโลยีอย่างสุจริต

น่าสนใจว่า Elon ไม่ได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ของระบบสิทธิบัตรมาตั้งแต่แรก ตอนเริ่มต้นอาชีพเขาก็เคยหมายปองสิทธิบัตรเหมือนคนอื่น แต่ประสบการณ์ทำให้เขาเห็นว่ามันเหมือนการซื้อสลากกินแบ่งเพื่อการฟ้องร้องมากกว่า

Elon มองว่าวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาคือการสร้างนวัตกรรมใหม่ เขาบอกว่าถ้าคุณสร้างของใหม่ๆ เร็วพอ คุณไม่ต้องกลัวใครมาก็อปปี้ เพราะตอนที่เขาก็อปปี้เสร็จ คุณก็ไปไกลกว่านั้นแล้ว

แต่เบื้องหลังการตัดสินใจนี้มีเรื่องลึกลับซับซ้อนมากกว่านั้น Toyota ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรกับ Tesla ได้หันไปสนใจการผลิตรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนแทน การเปิดสิทธิบัตรของ Elon จึงเป็นการตอบโต้แบบถึงพริกถึงขิง

Toyota ก็ไม่ยอมแพ้ ตอบโต้ด้วยการเปิดเผยสิทธิบัตรเซลล์เชื้อเพลิง 5,600 รายการเช่นกัน เหมือนกับการต่อสู้แบบมวยวัดระหว่างเทคโนโลยีสองค่าย ที่ต่างฝ่ายต่างต้องการที่จะเอาชนะ

แต่กลยุทธ์แบบนี้ก็มีความเสี่ยง ดูอย่าง IBM PC ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบเปิดแล้วจบเห่ ส่วนแบ่งตลาดดิ่งลงเหวเหลือแค่ 5% จนต้องขายธุรกิจให้ Lenovo ในปี 2005 นี่คือตัวอย่างของการที่การเปิดเผยเทคโนโลยีอาจย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง

แต่ Elon ดูเหมือนจะไม่กังวลกับความเสี่ยงนี้ เขามีความมั่นใจในทีมงานระดับเทพของเขา และเชื่อว่า Tesla จะยังคงเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าต่อไป นี่แหละคือความมั่นใจที่มาจากการเป็นของแท้

การตัดสินใจของ Elon ในการเปิดเผยสิทธิบัตรของ Tesla เป็นการเดิมพันที่เข้าท่า มันแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลที่มองเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมมากกว่าผลประโยชน์ระยะสั้น

ถึงแม้ว่าบริษัทอื่นๆ อาจจะยังตะหงิดใจที่จะทำตามแนวทางนี้ เพราะระบบสิทธิบัตรยังมีข้อดีหลายอย่าง แต่การกระทำของ Elon ก็ได้จุดประกายการพูดคุยเกี่ยวกับบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญาในโลกที่เทคโนโลยีพัฒนาแบบฉุดไม่อยู่

และดูเหมือนว่าการตัดสินใจของเขาจะเป็นความคิดที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าก้าวล้ำหน้ารถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนไปมากแล้ว การแบ่งปันความรู้และการร่วมมือกันอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนนวัตกรรม

ในที่สุด การตัดสินใจของ Elon Musk ในการเปิดเผยสิทธิบัตรของ Tesla ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการยานยนต์ไฟฟ้า แสดงให้เห็นว่าบางครั้งการกล้าที่จะแบ่งปันอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าที่คิด

Tesla Model S จากฝันบ้าๆ สู่การปฏิวัติวงการยานยนต์โลก การสร้างแบรนด์ที่มากกว่าแค่ผลิตภัณฑ์

ถ้าบอกว่า Tesla Roadster รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของ Tesla เปรียบเสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ Apple II ที่เปลี่ยนโลกคอมพิวเตอร์ไปตลอดกาล และสำหรับ Model S นี่คือสิ่งที่ Elon Musk ถวิลหา เขาต้องการสร้างมันให้เป็นเหมือน Macintosh แห่งวงการยานยนต์

ปัญหาใหญ่ของ Roadster คือเรื่องการดีไซน์ Musk ไม่อยากเริ่มต้นจากศูนย์ เพราะมันช่วยประหยัดเงินทุนได้มากกว่า แต่คันที่สองต้องไม่เหมือนคันแรก มันต้องเป็นการรังสรรค์ขึ้นมาใหม่แบบหมดจดจาก Tesla เท่านั้น

Musk ต้องการให้ทุกคนเห็นแล้วตาลุกวาวว่านี่คือรถ Tesla เหมือนที่เราเห็น Benz, BMW, Ferrari หรือ Audi แล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ไหน เขาจึงสร้าง Design Studio ขึ้นที่โรงงาน SpaceX ในลอสแอนเจลิส

และแล้วโชคชะตาก็เข้าข้าง เมื่อ Tesla ได้ von Holzhausen ดีไซเนอร์โครตเทพที่เคยผ่านงานมาทั้ง Volkswagen, Audi, GM และ Mazda มาร่วมทีม ด้วยข้อเสนอที่ใครๆ ก็ปฏิเสธไม่ลง

von Holzhausen บอกว่าการออกแบบรถไฟฟ้าเจ๋งกว่าออกแบบรถน้ำมันเยอะ เพราะมีพื้นที่ให้ใส่ไอเดียได้มากกว่า แถมยังต้องคิดเรื่องการลดเสียงรบกวนด้วย เพราะไม่มีเสียงเครื่องยนต์มาช่วยกลบ

Model S ใช้วัสดุจัดเต็ม! อลูมิเนียมพิเศษแบบเดียวกับที่ใช้ในจรวด SpaceX เกือบทั้งคัน แถมมีหน้าจอทัชสกรีน 17 นิ้วสุดล้ำที่ทำให้ลูกค้าอ้าปากค้างและหลงรักทันทีที่เห็น

แต่ก็มีเรื่องตลกอยู่บ้าง ทีมดีไซน์คิดว่าคนสมัยนี้อ่าน e-book กันหมดแล้ว เลยไม่ติดไฟอ่านหนังสือที่เบาะหลัง จนลูกชาย Musk ถึงกับบ่นว่า “เป็นรถที่งี่เง่าที่สุดในโลก” ตอนนั่งอ่านหนังสือแล้วมองไม่เห็น

ตอน prototype ของ Model S ออกมาให้เห็นครั้งแรกในปี 2009 หลายคนยี้มาก บางคนถึงขั้นเปรียบเทียบกับรถโบราณอย่าง Ford Probe จากยุค 80 ด้วยซ้ำ แถมตอนนั้นทั้ง SpaceX และ Tesla สถานการณ์ก็กำลังดิ่งลงเหว

แต่แล้วในกลางปี 2012 Tesla ก็ทำให้บริษัทรถยนต์รุ่นใหญ่ต้องอ้าปากค้าง เมื่อส่งมอบ Model S รถหรูไฟฟ้าที่วิ่งได้ 300 ไมล์ต่อการชาร์จ ทำความเร็ว 0-60 ไมล์ต่อชั่วโมงใน 4.2 วินาที รองรับผู้โดยสารได้ 7 คน

Model S เหนือชั้นกว่ารถไฮเอนด์ทั้งหลายแบบไม่เห็นฝุ่น ทั้งความเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย ความรู้สึกในการขับขี่ แม้แต่พื้นที่เก็บของก็ยังจัดเต็มกว่าเขา

Tesla ฉีกกฎการซื้อขายรถแบบเดิมๆ ไม่ต้องไปต่อรองกับเซลล์ที่กระเหี้ยนกระหือรือที่จะขาย ๆ ๆ เพียงอย่างเดียง เพราะลูกค้าเพียงแค่คลิกสั่งผ่านเว็บ แล้วรถจะมาส่งถึงบ้าน ถ้ามีปัญหาอะไร วิศวกรก็แค่เชื่อมต่อผ่านเน็ตแล้วอัปเดตซอฟต์แวร์ให้ ราวกับถูกเสกด้วยเวทมนตร์

หลังวางขายไม่กี่เดือน Model S ก็คว้ารางวัลรถยนต์แห่งปีจาก MotorTrend ด้วยคะแนนเอกฉันท์ ผลักดันให้หุ้น Tesla พุ่งกระฉูดจาก 30 เหรียญเป็น 130 เหรียญ

สิ่งที่ทำให้ Tesla แตกต่างคือการสร้างแบรนด์ให้เป็นมากกว่ารถ พวกเขาไม่ได้แค่ขายยานพาหนะ แต่กำลังขายไลฟ์สไตล์แห่งอนาคต สร้างความผูกพันกับลูกค้าแบบเดียวกับที่ Apple ทำ

แม้ตอนแรกหลายคนจะมองว่าธุรกิจรถไฟฟ้าเป็นความฝันลมๆ แล้งๆ แต่ด้วยความมุ่งมั่นของ Musk และทีมงาน Tesla ได้พิสูจน์ให้โลกเห็นว่าฝันให้ไกลไปให้ถึงนั้นไม่ใช่เรื่องไร้สาระ

วันนี้ Tesla ไม่ใช่แค่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เทพที่สุดในโลก แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้คนกล้าคิดต่าง กล้าท้าทายสิ่งเดิมๆ และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ถือเป็นการขีดเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการยานยนต์โลกเลยทีเดียว

Geek Daily EP253 : ปฏิรูปก่อนล้มละลาย เบื้องหลังที่มา DOGE หน่วยงานใหม่ Elon Musk ที่จะเปลี่ยนอเมริกา

Elon Musk ได้ให้สัมภาษณ์กับ Joe Rogan เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในหัวข้อที่ค่อนข้างน่าสนใจมาก ๆ :

“แนวคิดเรื่องหน่วยงานประสิทธิภาพรัฐบาลนี้ค่อนข้างเรียบง่าย เรามีระบบราชการรัฐบาลกลางที่ใหญ่โตจนอึดอัด การใช้จ่ายของรัฐบาลกำลังทำให้ประเทศล้มละลาย การจ่ายดอกเบี้ยหนี้รัฐบาลตอนนี้เกินงบประมาณกระทรวงกลาโหม ซึ่งงบกลาโหมก็ราวๆ หนึ่งล้านล้านดอลลาร์ต่อปี 23% ของภาษีเงินได้ทั้งหมด ภาษีศุลกากร และทุกอย่าง กำลังถูกใช้ไปกับการจ่ายดอกเบี้ยในตอนนี้ และตัวเลขนั้นก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่าง งบประมาณรัฐบาลทั้งหมดจะถูกใช้ไปกับการจ่ายดอกเบี้ย จะไม่มีเงินเหลือสำหรับอะไรเลย จะไม่มีเงินสำหรับประกันสังคม จะไม่มีเงินสำหรับ Medicare ไม่มีอะไรเลย นั่นคือทิศทางที่เรากำลังมุ่งไป ตื่นเถอะ! ตื่นได้แล้ว! ดังนั้นเราต้องลดการใช้จ่ายของรัฐบาล หรือไม่ก็จะล้มละลายเหมือนกับที่คนทั่วไปจะล้มละลายถ้าใช้จ่ายเกินตัว”

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/2azpbdaa

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/mvbj466y

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/fpauywsd

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Iqy8uCYcUxI