หลาย ๆ คนคงจะได้เห็นการปรับ news feed ใหม่ของ facebook ในปี 2018 กันไปเป็นที่เรียบร้อย ก่อนหน้านี้ที่ทาง Mark Zuckerberg ประกาศโครม ๆ จะปรับปรุง news feed ขนานใหญ่ ให้เห็นเพื่อน และครอบครัวมาเป็นอันดับแรก ผ่านการอ้างงานวิจัยต่างๆ นา ๆ ว่าจะทำให้สังคม social network ดีขึ้น ก็ว่ากันไป อันนี้หลาย ๆ คนก็น่าจะเห็นด้วยว่าสังคม facebook เริ่มไม่น่าอยู่แล้ว
แต่
มันเกิดอะไรขึ้น หลังจากปรับ feed จริง ๆ ที่หลาย ๆ คนน่าจะเพิ่งได้เห็นกันไปแล้ว ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนโดยเฉพาะในมือถือนั้น เราจะเห็น feed จาก page ที่เราไปกด like น้อยลงจริง ๆ อย่างที่ พี่ mark ได้ว่าไว้ แต่ ทำไมกลายเป็นว่าโฆษณาต่างๆ นา ๆ ถาโถมเข้ามาอย่างไม่หยุด เกินกว่า 20% ของ feed สรุปว่า Mark Zuckerberg ต้องการให้สังคมดีขึ้น หรือต้องการหาเงินเพิ่มกันแน่ ก็ต้องรอดู feedback กันต่อไป แต่จากที่สอบถามหลาย ๆ คน ก็จะพบว่าการปรับครั้งนี้ กลายเป็นว่า ปรับปรุง algorithm ใหม่ให้กลายเป็น โฆษณา first -> เพื่อน ครอบครัว 2nd -> และ business page ตามหลังมาเป็นอันดับสุดท้าย ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกคนที่อยากเห็น feed มีแต่เรื่องเพื่อน หรือ ครอบครัว แต่ business page ต่าง ๆ ที่เราได้ไปกด like นั้นเราก็อยากเห็นข้อมูลเหมือนกัน การปรับอะไร ก็ควรถามความเห็น user บ้างไม่ใช่คิดเองเออเองทั้งหมด
คราวนี้มาพูดถึงเรื่องเนื้อหาของ Blog นี้กันบ้าง หลาย ๆ คน ที่มีการลงโฆษณาบน facebook น่าจะรู้จัก Targeting Options ซึ่งไว้คอยระบุเป้าหมายของการโฆษณาว่าต้องการกลุ่มลูกค้าแบบไหน เพศ อายุ สถานที่ ความชอบต่างๆ นา ๆ มีให้เลือกหมด แต่มันจะหาไงล่ะ ในเมื่อมันมีให้เลือกเยอะมาก และบางครั้งเราจะเห็นว่าหลาย ๆ ท่านที่ได้จ่ายเงินให้กับ Mark เพื่อทำการโฆษนานั้น ลง target ที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง โดยส่วนตัวที่เจอบ่อย ๆ คือ พวกสินค้าผู้หญิง ครีมต่างๆ ขาวใส สวย ผอม อะไรต่างๆ นา ๆ ซึ่งน่าจะ target ของกลุ่มผู้หญิงมากกว่า แต่เด้งเข้ามาใน feed เราบางทีเราก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมเค้าไม่เลือกให้ตรง target การยิง broadcast แบบกว้าง ๆ ไปแบบนี้ ไม่ต่างจากการโยนเงินทิ้งไปเปล่า ๆ หลาย ๆ โฆษณา ผู้ชาย อย่างเรา ๆ ไม่สนใจสินค้าพวกนั้นแน่ ๆ อยู่แล้ว แต่ก็เห็นเข้ามาใน feed บ่อย ๆ ก็เลยจะมาเขียน blog ถึง targeting options ทั้งหมด ของ facebook ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
*** หมายเหตุ ในตัวอย่าง blog นี้ใช้ user language default ที่เป็นภาษาอังกฤษ หาก set default language ที่เป็นภาษาไทย ข้อมูลใน targeting options ก็จะเป็นภาษาไทย ***
1.DEMOGRAPHICS
ส่วนแรกจะเป็นการระบุ target ที่เป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนใหญ่จะอ้างอิงตามข้อมูลใน facebook profile เช่น location , Gender , Home , Education , Work ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราจะเลือก target เหล่านี้ได้ไม่ยากมากนักเพราะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มาจาก facebook profile ซะเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว
- LOCATION อันนี้ชัดเจนคือสถานที่ โดยเลือกได้หมดทั้งประเทศ จังหวัด เมือง ฯลฯ โดยมี 3 options หลักให้เลือกคือ Everyone in location , People recently in this location และ People traveling in this location
- LANGUAGES อันนี้ก็เลือกส่วนของภาษาใส่ blank ไว้หากให้ตาม location ที่เลือก
- AGE เลือกช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมาย
- GENDER เพศ ระบุไปได้เลยต้องการเพศ ชาย หญิง หรือทั้งหมด
- EDUCATION ส่วนวุฒิการศึกษา เลือกได้ระดับไหน ปริญาตรี โท เอก ฯลฯ และสามารถระบุ field ที่ทำการศึกษา ได้เช่น วิศวกร แพทย์ ครู ฯลฯ
- RELATIONSHIP ระบุเรื่องสถานะของความสัมพันธ์ เลือกทั้งความสนใจ และ สถานะปัจจุบันที่ทำการ set ไว้ใน relationship status ของ facebook
- WORK ระบุการการทำงาน ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งงานเข้าไปได้เช่น programmer , accountant , marketing , ฝ่ายขาย , พนักงานบัญชี ฯลฯ และยังสามารถที่จะระบุไปยังอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ เช่น Computer , Military , Legal ฯลฯ และยัง สามารถเลือกรูปแบบ Office Type ได้ เช่น Home Office , Small Business หรือ Small Office
- FINANCIAL ส่วนของสถานะทางการเงิน ซึ่งส่วนนี้ไม่น่าจะมีประโยชน์ซักเท่าไหร่ น้อยคนที่จะใส่ข้อมูลเหล่านี้ลงไปใน facebook profile แต่หากต้องการเจาะจง ก็สามารถที่จะเลือกได้
- GENERATION ส่วนนี้หลาย ๆ คนน่าจะยังไม่ทราบ ต้องการ Target กลุ่มไหน ก็เลือกได้เลย Baby Boomers , Generation X , Generation Y หรือ กลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างกลุ่ม Millennials ซึ่งแต่ละกลุ่มน่าจะใช้การทำตลาดที่ต่างกันพอสมควร
- PARENTS ส่วนนี้จะเกี่ยวกับเรื่องของผู้ปกครอง ซึ่งสามารถที่จะแยกย่อยลงไปได้ ว่าเป็นพ่อแม่ ของเด็กกลุ่มไหน เช่น เด็กเล็ก , เด็กโต , พ่อแม่ที่ทำงานในองค์กรใหญ่ , พ่อแม่ที่อยู่ในเมืองใหญ่ , พ่อแม่ มือใหม่ , พ่อแม่ที่มีลูกเป็นวัยรุ่น ส่วนนี้เป็น Target ที่สำคัญสำหรับการทำตลาดหลาย ๆ สินค้า เพราะพฤติกรรมของเหล่าพ่อแม่ผู้ปกครอบเด็กเหล่านี้ จะแตกต่างกันตาม คุณลักษณะแต่ละประเภท ซึ่งหลายคน ก็ตกม้าตายไม่ได้เลือก Target ในส่วนนี้
- LIFE EVENTS ส่วนนี้เป็น Target แบบ Specific ลงไปในเรื่องของ LIFE EVENTS ของแต่ละคน เช่น การได้งานใหม่ , ใกล้จะถึงวันเกิด , การห่างจากบ้านเกิด , การห่างจากครอบครัว ซึ่ง เหล่า EVENTS เหล่านี้นำมาถึงความต้องการของ Product ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ใกล้จะถึงวันเกิด ก็ต้องหาของขวัญวันเกิด ซึ่งเราก็สามารถที่จะปิดการขายสินค้าให้กับกลุ่ม Target เหล่านี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
2.INTERESTS
ส่วน interests นั้นจะเริ่มเข้าถึงข้อมูลพฤติกรรมของ user มากยิ่งขึ้น โดยผ่านการเรียนรู้จาก algorithm ของ facebook ว่า user นั้น ๆ สนใจในเรื่องใดบ้างผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราทำบนระบบ facebook เช่น like , comments , join events , check in ต่างๆ facebok ก็จะนำข้อมูลของเราเหล่านี้มาวิเคราะห์ผ่าน computer algorithm อีกทีเพื่อวิเคราะห์ถึงความน่าจะเป็นที่ user จะสนใจในเรื่องใด ๆ บ้าง ซึ่งค่อนข้างเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง
- BUSINESS & INDUSTRY เป็นความสนใจที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ รวมถึง อุตสาหกรรมต่าง ๆ แบ่งแยกไปตามประเภทของธุรกิจ เช่น การโฆษณา , การเงิน , การตลาด , การแพทย์ ซึ่ง การ target ไปยังความสนใจของ user แยกตาม ธุรกิจนั้น เราจะได้ลูกค้าที่มีความสนใจกับธุรกิจนั้น ๆ จริง ๆ
- ENTERTAINMENT เป็นความสนใจที่เกี่ยวข้องการกิจกรรมด้านบันเทิงของ user ซึ่งแต่ละคนก็มีความสนใจแตกต่าง กัน เช่น ความสนใจเรื่อง Games , ความสนใจเกี่ยวกับหนัง , ความสนใจเกี่ยวกับเพลง ซึ่ง product ที่นำเสนอให้ลูกค้าโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงเหล่านี้นั้น ก็ควรแยกความสนใจให้ชัดเจนว่า user มีความสนใจใน product ที่เราต้องการทำการตลาดหรือไม่
- FAMILY & RELATIONSHIPS ตรงส่วนนี้จะแตกต่างจากข้อมูลพื้นฐาน DEMOGRAPHICS ที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนของ DEMOGRAPHICS นั้นจะวิเคราะห์จาก profile ของเราเป็นหลัก แต่ส่วนของ INTERESTS นั้นจะเรียนรู้ถึงความสนใจของเราผ่าน page ที่เราไป like หรือไป comment หรือ activity ต่าง ๆ ของเราใน facebook ซึ่ง FAMILY & RELATIONSHIPS นั้น คือ ความสนใจของเราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องครอบครัว หรือ ความสัมพันธ์ เช่น การที่เรา like page ที่เกี่ยวกับ dating เยอะ ๆ ก็มีแนวโน้มว่าเรานั้นกำลังต้องการหาคู่นั่นเอง หรือ หากเรามี activity ที่เกี่ยวข้องกับ page ที่เกี่ยวกับ wedding planners ก็มีแนวโน้มว่าเรากำลังจะแต่งงาน ซึ่ง สามารถที่จะตอบโจทย์ product ที่คนกำลังจะแต่งงานต้องใช้ เช่น PRE-WEDDING , แหวนหมั้น , ช่างภาพ , ORGANIZE งานแต่งงาน เป็นต้น
- FITNESS & WELLNESS ส่วนนี้จะเป็นความสนใจที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย และ เรื่องการดูแลสุขภาพ ต้องบอกว่าตลาดส่วนนี้กำลังเป็นที่นิยม เพราะคนหันมาดูแลสุขภาพและออกกำลังกายกันมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ความสนใจต่างๆ เหล่านี้เช่น การเข้ายิม , การลดน้ำหนัก , การวิ่ง , การเล่นโยคะ เหล่านี้ล้วนมี product มากมายที่สามารถมาตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจในเรื่องเหล่านี้ ทั้งอาหารเพื่อสุขภาพ , อุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า รวมถึงบริการเช่น Trainer ส่วนตัว หรือ แม้แต่อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิค อย่างเช่น นาฬิกา smartwatch ที่สามารถให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพกับลูกค้าเหล่านี้ก็เป็น product ที่สามารถที่จะตอบโจทย์ Target กลุ่มนี้ได้อย่างดี
- FOOD & DRINK เป็นความสนใจที่เกี่ยวข้องกับการกิน การดื่ม โดยเฉพาะ สามารถเลือกได้ตามตัวอย่างดังรูป
- HOBBIES & ACTIVITIES เป็นงานอดิเรก หรือ กิจกรรมต่าง ๆ ยามว่าง ที่ user สนใจ เช่น ความสนใจเรื่อง ศิลปะ , การร้องเพลง การดูแลสวน การเลี้ยงสัตว์ การท่องเที่ยวเป็นต้น ซึ่ง เหล่างานอดิเรก หรือ กิจกรรมเหล่านี้นั้น สามารถนำเสนอ product ที่คนสนใจในเรื่องดังกล่าวได้ตรงเป้าหมายได้อย่างดีเยี่ยม
- SHOPPING & FASHION สำหรับความสนใจในเรื่องการ shopping หรือ เรื่อง fashion นั้น กลุ่ม target กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ควรที่จะเลือกไว้เป็นอันดับต้น ๆ เพราะมีแนวโน้มความสนใจในเรื่องการ shopping หรือ เรื่อง fashion เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีแนวโน้มว่าจะซื้อ product สูงมากกว่าความสนใจในด้านอื่น ๆ หากมี product ที่ตรงกับ target กลุ่มนี้ก็ควรที่จะเลือกไว้ทันที
- SPORTS & OUTDOORS ความสนใจในกีฬา หรือ กิจกรรมกลางแจ้งนั้น จะคล้าย ๆ กันกับ Fitness & Wellness แต่ส่วนนี้สามารถที่จะระบุไปถึงชนิดของกีฬาได้เจาะจงมากกว่า หรือ กิจกรรมที่เป็นกิจกรรม outdoor
- TECHNOLOGY ถือว่าเป็นความสนใจที่มูลค่าตลาดใหญ่มาก เพราะ computer และ comsumer electronics มี product ที่เกี่ยวข้องมากมาย แค่เฉพาะมือถืออย่างเดียวก็มี สินค้าที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น เคส ฟิล์ม , แบตเตอรี่ หรือบริการอย่าง ซ่อมคอมพิวเตอร์ ซ่อมมือถือ ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่มากพอสมควร
3.BEHAVIORS
ส่วนของ BEHAVIORS นั้นจะแตกต่างจาก INTERESTS โดย จะวิเคราะห์จาก พฤติกรรมการซื้อ ประวัติการซื้อ รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ โดยผ่านการวิเคราะห์จาก computer algorithm ของ facebook โดยจะใช้หลายปัจจัยในการวิเคราะห์พฤติกรรมของ user ตัวอย่างเช่น สามารถที่จะกำหนดเป้าหมายสำหรับผู้ที่กำลังจะเดินทาง หรือ วางแผนเดินทางท่องเที่ยว ได้
- AUTOMOTIVE ส่วนของพฤติกรรมของผู้ใช้ที่เกี่ยวกับยานยนต์ต่างๆ ทั้ง เรื่องการซื้อขายรถยนต์ จักรยานยนต์ อะไหล่ต่าง ๆ สามารถระบุรายละเอียดของพฤติกรรมของผู้ใช้ได้ เช่น และพฤติกรรมการซื้อ การเป็นเจ้าของรถ การใช้รถ สามารถที่นำ product ที่เกี่ยวกับยานยนต์มาตอบโจทย์ให้กลุ่ม Target นี้ได้
- BUSINESS TO BUSINESS เป็นกลุ่มพฤติกรรมที่มี Target ที่เป็น B2B
- CHARITABLE DONATIONS เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเกี่ยวกับงานด้านการกุศล ตัวอย่างเช่น ผู้บริจาคให้โรงพยาบาล ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่ผู้ใช้งานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังทรัพย์สูง
- DIGITAL ACTIVITIES เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านดิจิตอล เช่น กลุ่ม Technology Adopters ซึ่งกลุ่มนี้การนำเสนอ product gadget ใหม่ ๆ ให้คนกลุ่มเหล่านี้จะสามารถที่จะเข้าถึงได้ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ เพราะมีพื้นฐานในการใช้งานด้านเทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ ๆ อยู่แล้ว
- EXPATS เป็นการเข้าถึงกลุ่มคนต่างชาติที่ไม่ได้อาศัย อยู่ในประเทศตัวเอง ซึ่งสามารถระบุประเทศได้
- FINANCIAL เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน การลงทุน หรือรูปแบบการชำระเงินต่าง ๆ
- MOBILE DEVICE USER พฤติกรรมการใช้งานมือถือนั้นสามารถแบ่งแยกย่อยได้ตาม brand , os ฯลฯ ซึ่งเหมาะกับหลาย product ทั้ง application ที่ต้องการ promote ไปยังกลุ่ม mobile user ที่สามารถแยกตาม OS ได้ หรือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับมือถือทั้งหมด ก็สามารถระบุแยกย่อยตาม brand ได้ เช่น หากเราขาย case iphone เราก็ไม่อยากลง ads ไปยังผู้ใช้ กลุ่ม android ซึ่ง พฤติกรรมการใช้มือถือก็อาจจะช่วยท่านได้ไม่ให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
- PURCHASE BEHAVIOR ต้องบอกว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายนั้น facebook ได้รับข้อมูลมาจากคู่ค้าของ facebook อีกทีหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ใช่แค่ข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายเฉพาะใน facebook เท่านั้นอย่างที่หลาย ๆ คนคิด แต่มีทั้งข้อมูลทั้ง online และ offline transaction จากข้อมูลหลายแหล่งที่ facebook ได้ข้อมูลมา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถกำหนด target ของลูกค้าเข้าไปในรายละเอียดปลีกย่อย ผ่านพฤติกรรมการซื้อของ user ใน facebook ได้
- TRAVEL เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง รวมถึงการท่องเที่ยว เหมาะสำหรับ target ของ product หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางหรือ ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง รวมถึง อาจจะรวมถึงกลุ่ม application การจองทัวร์ การจองโรงแรมที่พัก หรือ การจองตั๋วเครื่องบิน ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการเดินทางทั้งสิ้น
5.CONNECTIONS
เป็นการเข้าถึงแบบเฉพาะเจาะจงที่มีต่อ page , app หรือ events ของคุณ
- FACEBOOK Page เจาะจงไปยังกลุ่มคนที่่ like page เรา หรือ เพื่อน ของคนที่ like page เรา หรือ ไม่นับรวมคนที่ like page เราได้
- APP เจาะจงไปยังกลุ่มที่ใช้ app ของเรา หรือ เพื่อนของคนที่ใช้ app ของเรา หรือ ไม่นับรวมคนที่ใช้ app ของเราได้
- EVENT เจาะจงไปยังกลุ่มที่ไปร่วม Event เราได้ หรือ เพื่อนของคนที่ไปร่วม Event เรา หรือ ไม่นับรวมคนที่เข้าร่วม Event ของเราได้
จากข้อมูลทั้งหมดเราจะเห็นได้ว่า facebook นั้นได้ทำการแบ่งแยก target ของ user ไว้เพื่อให้เราลงโฆษณา โดยมีข้อมูลปลีกย่อย เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงได้มาก เพื่อไม่ให้ผู้จ่ายเงินโฆษณานั้นจ่ายเงินไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่ Target ของผลิตภัณฑ์หรือบริการของตัวเองได้ และไม่เป็นการเสียเงินไปแบบไร้ประโยชน์ หากโฆษณาไปยังกลุ่มคนที่ไม่ใช่เป้าหมายของเรา เหมือนที่ผู้ใช้งานหลาย ๆ ท่านได้เห็นโฆษณาบางอันผ่าน feed แล้วคิดว่าจะมาโฆษณาที่เราทำไม ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วยเลยกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีการโฆษณามา ซึ่งเป็นการรบกวนผู้ใช้งานมากกว่า และอาจจะมองผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในแง่ลบได้ ซึ่งหวังว่าข้อมูลใน Bolg นี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ลงโฆณา facebook ทุก ๆ ท่านครับ
Reference Image : www.wordstream.com , marketingland.com