ต้องบอกว่ามาด้วย concept ง่าย ๆ เลยสำหรับ social network น้องใหม่ในขณะนั้นอย่าง Yik Yak โดยใช้ concept ง่าย ๆ คือ “a location-based social network that helps you connect with the people around you” ซึ่งในกระแสที่ social network เจ้าใหญ่ได้ยึดครองตลาดไปแทบจะหมดแล้ว ก็ได้เกิดบริการที่ simple คือ ช่วยคุณติดต่อคนรอบกายคุณ ซึ่งเหมือนจะ idea ที่ดีนะ เพราะ facebook ก็เน้นไปในแนว social ขนาดใหญ่ ทั้งครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นสังคมใหญ่รอบตัวเรามากกว่า แต่ Yik Yak focus ที่ community ขนาดเล็ก ๆ แต่อยู่ใกล้ตัวเราจริง ๆ ผ่าน location based
ประวัติ Yik Yak
Yik Yak นั้นเริ่มต้นด้วย co-founders สองคนคือ Tyler Droll และ Brooks Buffington ทั้งสองนั้นจบการศึกษาจาก Furman University ใน South Carolina ทั้งคู่เริ่มรู้จักกันตอนเรียน class ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมบนระบบ IOS
หลังจากได้จบการศึกษา ทั้งคู่ได้ตัดสินใจที่จะเริ่ม project Yik Yak แบบ full time โดยที่ Droll นั้นได้ลาออกจาก medical school ก่อนที่โปรเจคนี้จะเริ่มต้นขึ้น ส่วน Buffington นั้นก็หยุดเส้นทางอาชีพด้านการเงินของเค้าไว้ก่อนเพื่อมา focus project นี้ และได้เพื่อนร่วมทีมเพิ่มอีก 1 คนคือ Will Jamieson โดยพวกเค้าได้ทำ app เสร็จและทำการ Release ใน เดือนพฤษจิกายน ปี 2013
หลังจากนั้นเพียง 12 เดือน Yik Yak ก็ขึ้นสู่อันดับ 9 ของหมวด social media app ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลตอบรับในช่วงแรกนั้นเป็นไปอย่างน่าพอใจ และได้ทำการพัฒนา features มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีกระแสของการทำให้เกิด “cyberbullying” ขึ้นใน apps ก็ได้พัฒนาปรับปรุง features เพื่อลดทอนคำวิจารณ์ของ app เหล่านี้
Funding
Yik Yak นั้นได้รับการลงทุนครั้งแรกโดย Atlanta Ventures ซึ่งมี office อยู่ใน Atlanta Tech Village ในเดือนเมษายนปี 2014 นั้นทางบริษัทได้ประกาศว่าได้รับทุนมูลค่ากว่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐจาก หลายบริษัทด้านการลงทุน เช่น Vaizra Investments , DCM , Kevin Colleran และ Azure Capital Partners ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 เดือนหลังการ Release ของ Yik Yak ซึ่งในขณะนั้นมีความตั้งใจที่จะขายตลาดไปทั่วทั้งสหรัฐ และ ทั่วโลก เนื่องจาก apps เริ่มมีกระแสปากต่อปาก ทำให้ยอดดาวน์โหลดสูงมาก
ซึ่งหลังจากนั้นเพียง 2 เดือนหลังจากได้รับเงินทุนรอบก่อน Yik Yak ก็ได้รับเงินทุนเพิ่มเพื่อไปขยายธุรกิจ รวมถึงพัฒนา features จำนวนกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จากนักลงทุนกลุ่มเดิม และเพิ่มด้วยนักลงทุนกลุ่มใหม่คือ Renren Lianhe Holdings และ Tim Draper ที่เริ่มมั่นใจว่าจะสามารถแจ้งเกิดกับบริการ social media น้องใหม่นี้ได้อย่างแน่นอน
ด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในปี 2014 ก็ได้รับความสนใจจาก บริษัทด้านการลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Sequoia Capital ที่ให้เงินลงทุนจำนวนถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มูลค่ารวมของ Yik Yak พุ่งสูงขึ้นถึง 350 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากเพิ่ง launch product มาได้แค่ปีเดียวเท่านั้น
Features เด่น ๆ ของ Yik Yak
- Yakarma : Yakarma นั้นเป็น score เพื่อใช้วัด ความสำเร็จของ user โดยรูปแบบของ score โดยจะมีการขึ้นลงขึ้นอยู่กับการตอบรับจาก users คนอื่น ๆ ซึ่งการเปลี่ยนค่าของ Yakarma นั้นขึ้นกับ จำนวน upvotes , downvotes จำนวนของ replies รวมถึง comments ที่เกิดขึ้นจาก post ของ user
- Upvote/Downvote : Upvote และ Downvote นั้นจะมีผลกระทบต่อ rating ของ user ที่มีการให้ Yak ซึ่ง post ของ user จะได้ความนิยมก็ต่อเมื่อได้รับ upvote มากกว่า downvote ซึ่งจะมี score ขึ้นด้านข้างของ vote และหาก score มีค่าถึง -5 คือ downvote มากกว่า upvote เยอะเกิน 5 post นั้นๆ ก็จะถูกลบอย่างถาวร
- Peek : function “peek” นั้นจะอนุญาติให้ user สามารถมองเห็น commutiny feed ของ Yik Yak อื่นได้ โดยในค่าตั้งต้นนั้น user สามารถ peek ได้เพียงใน สหรัฐ และ International Colleges เท่านั้น แต่หลังจากได้มีการ update version ในเดือนตุลาคม ปี 2014 user ก็สามารถที่จะ peek ไปยังทุก colleges หรือ ทุก ๆ เมืองในโลกได้ เป็นการปลดล็อกในที่สุด แต่จะไม่สามารถ vote หรือ post ใน community นั้นๆ ได้ user จะสามารถ post ใน local community ได้เท่านั้น
- Photos : สำหรับ Features นี้นั้น จะให้ user ได้ใส่รูปภาพลงใน Yaks Community ของตนเองได้ ซึ่งได้จำกัดรูปโดยรูปต้องไม่ผิดกฏหมาย หรือ มีเนื้อหาของรูปที่ไม่เหมาะสม และ รูปที่แสดงใบหน้านั้นจะแสดงใน local feed เท่านั้น และมีในส่วนของ photo collections ซึ่งจะโชว์ รูปยอดนิยม ที่อัพโหลดจากผู้ใช้ใน location นั้น ๆ
- Hidden Features : Yik Yak จะมี features ของการกรองคำที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และจะมีการเตือนไปยัง user ก่อน แต่หาก user ยังยืนยันที่จะทำการ post ข้อความที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้น ก็จะถูกลบออกโดย moderators ของระบบ และ post ที่มีเบอร์ มือถือ นั้นจะไม่สามารถ post ได้
สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ
ปัญหาใหญ่ที่สุดของหลาย social network คือ ปัญหา “cyberbullying” ซึ่ง Yik Yak เป็น social media ที่ based on location ทำให้ปัญหานี้ยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก หลาย ๆ โรงเรียนทำการ แบน app Yik Yak
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2015 Father Michael Engh ประธานของ Santa Clara University ได้ทำการออกแถลงการณ์ หลังจากพบปัญหาการเหยียดผิวมากมายบน app Yik Yak ซึ่งเขาได้กล่าวในแถลงการณ์ไว้ว่า “คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง หรือ Hate Speech นั้น ไม่ควรที่จะสับสนกับ Free Speech ใน santa clara university เพราะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีในชุมชมของชาว santa clara ซึ่งความเห็นที่เป็นอันตรายต่อบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลใดนั้น จะก่อให้เกิดความแตกแยก ความหวาดระแวง และความสงสัยกัน” ซึ่งข้อสรุปนี้เป็นการโต้เถียงเรื่องปัญหา “cyberbullying” รวมถึงปัญหาการเหยียดผิวภายใน app social media ดังกล่าว
และในเดือนตุลาคุม ปี 204 สำนักพิมพ์ online ชื่อดังอย่าง The Huffington Post นั้นได้ทำการเสนอบทความโดย Ryan Chapin ว่าด้วยเรื่องของ “ทำไมมหาลัยของคุณถึงต้องทำการ Ban app Yik Yak” ซึ่งในบทความได้อ้างการส่งข้อความที่ไม่ระบุตัวตนของ Yik Yak นั้น เป็นแหล่งที่มาของบทสนทนา ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจเป็นอันตรายต่อชุมชม และเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจถึงที่สุด
ซึ่งทาง Yik Yak ก็ไม่ได้เฉยเมยต่อปัญหาดังกล่าว ที่เริ่มเกิดขึ้นทั่วประเทศ โดย Droll และ Buffington ได้พัฒนาส่วนของ Geofence โดยทำงานใน backgroud เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท Maponics ในการกำหนดขอบเขตในการเล่น ซึ่ง บริษัท Maponics นั้นมีฐานข้อมูลของแผนที่กว่า 85% ของโรงเรียนมัธยมของประเทศ ซึ่งทำให้สามารถป้องกันการเข้าถึง app Yik Yak ในพื้นที่เหล่านั้นได้
ซึ่งหากมีการเปิดใช้งาน app Yik Yak ในพื้นที่เหล่านั้น จะมีข้อความเตือนขึ้นมาว่า “คุณกำลังพยายามใช้ Yik Yak ในโรงเรียนมัธยม หรือ บริเวรณโรงเรียนมัธยม” โดย Yik Yak นั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่เรียนมหาลัยขึ้นไป ซึ่งการเปิดเผยจากสื่อนั้น ทำให้กระทบต่อจำนวนผู้ใช้งานของ app จำนวนมาก ทำให้เริ่มมีคนใช้ลดลง และพ่อแม่ผู้ปกครองก็เริ่มกันห้ามลูกเล่น app Yik Yak
ถึงจะมีภาพลบเป็นส่วนมาก แต่ก็มีส่วนดี ๆ ของ Yik Yak เช่นกัน มีงานวิจัยที่ระบุว่า Yik Yak นั้นสามารถใช้ในทางที่ดีได้คือ ไว้ค้นหาความแตกต่าง ทางชาติพันธ์ หรือ อัตลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมในชุมชน หรือ ในมหาลัยวิทยาลัยให้เกิดขึ้นได้ Yik Yak นั้นให้สิทธิ์ ให้เสียงกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ให้บทบาทในมหาลัยหรือชุมชนมากยิ่งขึ้น
และในปี 2015 นั้น Yik Yak ยังได้รับความสนใจในการช่วยป้องกันเหตุฆ่าตัวตายที่มหาวิทยาลัย William and Mary ซึ่ง Yik Yak ได้รับการยกย่องเกี่ยวกับการช่วยป้องกันเหตุฆ่าตัวตาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การช่วยผู้คนในชุมชนนั้นได้ share ความช่วยเหลือ รวมถึงในหลาย ๆ case ก็ได้รับความสนับสนุนในการขอความช่วยเหลือผ่านทาง app Yik Yak เพื่อไม่ให้ฆ่าตัวตาย
จากปัญหาที่รุมเร้าเข้ามามากมาย ในช่วงปี 2016 จำนวนผู้ใช้ของ Yik Yak นั้นลดลงถึง 76% จากผู้ใช้งานในปี 2015 และในเดือนธันวาคม ของปี 2016 นั้น Yik Yak ได้ปลดพนักงานออกไปกว่า 60% ทีมงานด้าน community , การตลาด , designer รวมถึง ทีมงานที่เป็น engineer ที่ทำตัว production ของ app นั้น ได้รับผลกระทบจากการ lay-off พนักงานแทบจะทั้งหมด ซึ่งปัญหาหลักที่สื่อหลาย ๆ แห่งรายงานตรงกันคือ social network ใด ๆ ที่ไม่มีการเปิดเผยผู้ใช้งานจริง เช่นเดียวกับ Yik Yak นั้นจะมีศักยภาพในการทำให้เกิดปัญหา “cyberbullying” ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ ชุมชนในปัจจุบัน
ซึ่งสุดท้ายแล้วในเดือนเมษายน ปี 2017 นั้น Yik Yak ก็ต้องประกาศปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากมีการออกข่าวไป ก็ทำให้มีผู้ใช้งานอย่างลดลง และ แอป ก็ได้หยุดทำงานจริง ๆ ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2017 ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของ Yik Yak ในตลาด social network
สรุป
จะเห็นได้ว่าตัวอย่างของ Yik Yak นั้นเป็น app ที่มี idea ที่เจ๋งมาก ๆ และสามารถพัฒนาจนคนใช้ติดได้สำเร็จ และเริ่มมีการเติบโตของผู้ใช้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 1 ปี หลังจากทำการ Release ซึ่งปัญหาที่ตามมานั้นเหล่า co-founder ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ คอยแก้ไขปัญหา เพื่อให้ user กลับมาใช้งานได้สะดวกใจอีกครั้ง แต่ปัญหาอย่าง Cyberbullying หรือ การเหยียดผิวนั้น เป็นปัญหาที่ร้ายแรง ซึ่งหาก app นั้นถูกมองในแง่ลบแล้วนั้นก็ยากที่จะกู้ชื่อเสียงคืนมา ซึ่งการที่จะทำ app ให้คนใช้ติดนั้นไม่ยากอย่างที่ Yik Yak ทำได้ แต่การที่ไม่คิดถึงปัญหาที่ครอบคลุมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับ Features ที่มีใน app ก็ทำให้ Yik Yak ก็ต้องจบเส้นทางของธุรกิจไปอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน
References : en.wikipedia.org,startuphook.com,hyunjinp.wordpress.com,www.wyff4.com,www.slideshare.net