Face Filters เมื่อฟิลเตอร์ความงามกำลังเปลี่ยนวิธีที่สาว ๆ มองเห็นตัวเอง

ทุกวันนี้ มีหนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น ที่ติด ฟิลเตอร์ความงาม ที่ทำให้รูปลักษณ์ของพวกเขาสวยงามมากยิ่งขึ้น ทั้งการย่อขนาด เสริมแต่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงแม้กระทั่งการเปลี่ยนสีผิวในเฉดสีที่ตัวเองต้องการ

ต้องบอกว่าฟิลเตอร์เหล่านี้ กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วบนเครือข่ายโซเชียลมีเดีย และแน่นอนว่า เหล่าเด็กวัยรุ่นกำลังกลายเป็นกลุ่มเสี่ยง พวกเขาได้กลายเป็นหนูทดลองที่จะแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราสร้างตัวตนของเราได้อย่างไร ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ มันกำลังกลายเป็นเรื่องปรกติจนแทบจะไม่มีการกำกับดูแลจากหน่วยงานใด ๆ มากนัก

วัฒนธรรมการเซลฟี่ที่บ้าคลั่ง

ต้องบอกว่าฟิลเตอร์ความงามต่าง ๆ เป็นเครื่องมือแก้ไขภาพลักษณ์แบบอัตโนมัติ โดยพื้นฐานแล้วม้นถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ Computer Vision เพื่อตรวจจับลักษณะใบหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลง

เบื้องหลังการใช้ Computer Vision เพื่อตีความสิ่งที่กล้องมันมองเห็น และปรับแต่งตามกฏที่ผู้สร้างฟิลเตอร์เหล่านี้เป็นคนกำหนดขึ้นมา

โดยคอมพิวเตอร์ตรวจจับใบหน้าและทำการซ้อนเทมเพลตใบหน้าที่มองไม่เห็น ซึ่งประกอบด้วยจุดหลายสิบจุด ทำให้เกิดเป็นตาราง และใช้พลังของกราฟฟิก ในการแต่งแต้มสิ่งต่าง ๆ ไล่ตั้งแต่การเปลี่ยนสีตา ไปจนถึงการสร้างสิ่งแปลก ๆ ขึ้นบนหัวของเรา

แต่มันไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นมาบนโลกของเรา เพราะฟิลเตอร์วีดีโอแบบเรียลไทม์เหล่านี้ มันเป็นการพัฒนามาจากปรากฏการณ์เซลฟี่ ที่มีมาหลายสิบปีแล้ว

มันมาจากรากฐานของวัฒนธรรม “คาวาอิ” ของญี่ปุ่น ที่หมกมุ่นอยู่กับความน่ารัก และเมื่อมีการพัฒนา purikura (บูธถ่ายภาพที่อนุญาตให้ลูกค้าตกแต่งภาพเหมือนของตนเองได้)

ซึ่งภาพถ่ายที่ได้รับการปรุงแต่งเหล่านี้ มันได้กลายเป็นวัตถุดิบหลักในวีดีโออาร์เคดของญี่ปุ่นในช่วงกลางทศวรรษ 1990

หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคมปี 1999 ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติญี่ปุ่นอย่าง Kyocera ก็ได้ทำการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกที่มีกล้องหน้า และภาพเซลฟี่ก็ได้เริ่มแพร่หลายสู่กระแสหลัก

หลังจากนั้นการถือกำเนิดของเครือข่ายโซเชียลมีเดียอย่าง MySpace และ Facebook ก็ทำให้เซลฟี่ได้กลายเป็นวัฒนธรรมสากลในช่วงปี 2000 ซึ่งรวมถึงการเปิดตัว Snapchat ในปี 2011

Snapchat ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่เสนอความรวดเร็วผ่านรูปภาพและเซลฟี่ในอุดมคติสำหรับการสื่อสารด้วยสายตา ความรู้สึก และ อารมณ์

ในปี 2013 Oxford Dictionaries ได้เลือกคำว่า “เซลฟี่” เป็นคำศัพท์แห่งปี และภายในปี 2015 Snapchat ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท Lookery ของยูเครน และเปิดตัวฟีเจอร์ “Lenses” ทำให้เกิดความคลั่งไคล้ในกลุ่มวัยรุ่นเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะบูมสุดขีดกับแอปวีดีโอยอดนิยมอย่าง TikTok

หนูทดลองของเทคโนโลยีการสร้างตัวตนแบบใหม่

การเติบโตของ Snapchat ได้กลายเป็นตัวเลขที่น่าทึ่ง มีผู้ใช้งานทุกวัน 200 ล้านคนเล่นหรือดู Lenses ทุกวันเพื่อเปลี่ยนรูปลักษณ์ของพวกเขา ซึ่ง 90% ของคนหนุ่มสาวใน อเมริกา ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรใช้ผลิตภัณฑ์ AR ของบริษัท

หรือใน Facebook ฟิลเตอร์ส่วนใหญ่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Facebook นั้นสร้างขึ้นโดยบุคคลที่สาม มีผู้สร้างกว่า 400,000 รายปล่อยเอฟเฟกต์รวมกว่า 1.2 ล้านเอฟเฟกต์ ภายในเดือนกันยายน 2020

แม้ฟิลเตอร์ใบหน้าบนโซเชียลนั้น ดูเหมือนอาจจะไม่น่าประทับใจในเชิงเทคโนโลยี เมื่อเทียบกับการใช้ AR ในด้านอื่น ๆ

Jeremy Bailenson ผู้อำนวยการ Virtual Human Interaction Lab ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์มกล่าวว่า ฟิลเตอร์ลูกสุนัขแบบเรียลไทม์นั้นค่อนข้างเป็นความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่มีความน่าสนใจ

“มันเป็นเรื่องยากในทางเทคนิค” เขากล่าว แต่ด้วยเทคโนโลยี Neural Network ทำให้ตอนนี้ AI สามารถช่วยให้บรรลุถึงประเภทของการประมวลผลข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขวีดีโอแบบเรียลไทม์ และทำให้นักวิจัยอย่างเขาค่อนข้างประหลาดใจกับความสามารถของมันในตอนนี้

สิ่งสำคัญก็คือ เหล่าผู้คนบนเครือข่ายโซเชียลมีเดียเหล่านี้ เปรียบเสมือนหนูทดลองให้กับเหล่าผู้สร้างเทคโนโลยีฟิลเตอร์ได้เห็นว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีที่เราสร้างตัวตนของเราอย่างไร และเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอย่างไร

ตอนนี้มันไม่เพียงแค่เป็นฟิลเตอร์ที่ใช้ในการกรองและปรับแต่งภาพจริงของกลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น แต่มันยังกรองเรื่องราวในชีวิตของพวกเขาด้วยเช่นกัน

Claire Pescott นักวิจัยจาก University of South Wales ซึ่งศึกษาพฤติกรรมของเด็กก่อนวัยรุ่นในโซเชียลมีเดีย เธอสังเกตเห็นความแตกต่างทางเพศเมื่อพูดถึงฟิลเตอร์เหล่านี้

กลุ่มเด็กสาวมองว่าฟิลเตอร์ AR เป็นเครื่องมือในการเสริมความงามเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างผิวที่ไร้ที่ติ การเอารอยแผลเป็นและจุดต่าง ๆ บนใบหน้าที่ไม่ต้องการออกไป และเด็กเหล่านี้อายุ 10-11 ขวบเพียงเท่านั้น

มันเป็นคำถามที่น่าสนใจว่า เด็ก ๆ เหล่านี้มีความเข้าใจว่าฟิลเตอร์ส่งผลต่อความรู้สึกของตนเองอย่างไร พวกเขากำลังมีปัญหาในการแยกความแตกต่างระหว่างรูปภาพที่กรองแล้วกับรูปภาพแบบธรรมดา

ภาพหน้าจอจากแกลเลอรี Instagram Effects นี่คือบางส่วนของฟิลเตอร์ชั้นนำในหมวดหมู่
ภาพหน้าจอจากแกลเลอรี Instagram Effects นี่คือบางส่วนของฟิลเตอร์ชั้นนำในหมวดหมู่ “เซลฟี่”

การวิจัยของ Pescott ยังเปิดเผยว่าในขณะที่เด็ก ๆ มักได้รับการสอนเกี่ยวกับพฤติกรรมออนไลน์ แต่พวกเขาได้รับการศึกษาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องของฟิลเตอร์ 

เมื่อพิจารณาถึงพลังและความแพร่หลายของฟิลเตอร์แล้วนั้น มีการวิจัยเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับผลกระทบของฟิลเตอร์เหล่านี้ และยังมีเกราะป้องกันในการใช้งานเพียงเล็กน้อยอีกด้วย

กฏระเบียบและข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับการใช้ฟิลเตอร์ขึ้นอยู่กับบริษัทต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ฟิลเตอร์ของ Facebook หรือ Instagram จะต้องผ่านกระบวนการอนุมัติ โดยระบบจะผสมผสานระหว่างมนุษย์กับ AI เพื่อตรวจสอบผลกระทบในขณะที่มีการเผยแพร่ออกไป

พวกมันจะได้รับการตรวจสอบสำหรับปัญหาบางอย่าง เช่น การสร้างความเกลียดชัง หรือ ภาพเปลือย และผู้ใช้ยังสามารถรายงานฟิลเตอร์ที่มีปัญหาได้

ผลกระทบระยะยาวที่ยังไม่มีใครเข้าใจมันจริง ๆ

จากการศึกษาของ Wall Street Journal ที่ได้เข้ามาทำการศึกษาอย่างจริงจังว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมา โดยโฟกัสที่ Instagram ซึ่งคำถามก็คือฟิลเตอร์ต่าง ๆ มันมีผลกระทบต่อเหล่าวัยรุ่นหรือฐานผู้ใช้งานอายุน้อย ๆ อย่างไรบ้าง

ซึ่งผลออกมาเรียกได้ว่าน่าตกใจมาก ๆ มีรายงานเกี่ยวกับความคิดการฆ่าตัวตายถึง 13% ของผู้ใช้งานชาวอังกฤษ และ 6% ของผู้ใช้ชาวอเมริกันก็ประสบพบเจอกับปัญหาเดียวกัน

“32% ของเด็กสาววัยรุ่นกล่าวว่า พวกเขารู้สึกแย่เกี่ยวกับร่างกายของพวกเขา Instagram ทำให้พวกเขารู้สึกแย่ลง”

มีรายงานเพิ่มเติมอีกว่า 14% ของเด็กชายในสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า Instagram ทำให้พวกเขารู้สึกแย่กับตัวเองมากยิ่งขึ้น

Karina Newton หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะของ Instagram ได้กล่าวถึงรายงานดังกล่าวว่า บริษัทกำลังค้นคว้าวิธีที่จะดึงผู้ใช้ออกจากการหมกมุ่นอยู่กับโพสต์ Instagram บางประเภทที่เกี่ยวข้องกับฟิลเตอร์

Lori Trahan หนึ่งในสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงข้อกังวลด้านสุขภาพจิตของเด็กที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลมีเดีย และเรียกร้องให้ Facebook ละทิ้งแผนการสร้าง Instagram สำหรับเด็ก และมุ่งโฟกัสไปที่การปกป้องผู้ใช้งานที่อายุน้อยแทน

“เอกสารภายในของ Facebook แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของบริษัทในการปกป้องเด็กบน Instagram โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง มันเป็นการละเลยโดยสิ้นเชิง และมันก็เกิดขึ้นหลายปีแล้ว” Trahan กล่าว

References : https://www.technologyreview.com/2021/04/02/1021635/beauty-filters-young-girls-augmented-reality-social-media
https://www.cnbc.com/2021/09/14/facebook-documents-show-how-toxic-instagram-is-for-teens-wsj.html
https://orge.medium.com/instagram-beware-of-the-toxic-culture-behind-it-7ecff96108b4
https://about.instagram.com/blog/announcements/using-research-to-improve-your-experience
https://www.wsj.com/articles/facebook-knows-instagram-is-toxic-for-teen-girls-company-documents-show-11631620739

DeFilm x DAO กับการกลับมาล้างแค้น Netflix ด้วยการ disrupt ครั้งใหม่ของ Blockbuster

ต้องบอกว่ากระแสถือกำเนิดขึ้นของ Decentralized Autonomous Organisation (DAO) ควบคู่ไปกับ non-fungible token (NFTs) และเกม blockchain ได้กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ร้อนแรงที่สุดในอุตสาหกรรม crypto ซึ่งองค์กรเหล่านี้ได้รับความสนใจจากกระแสหลักในปี 2021 และบางคนเชื่อว่ามันสามารถปฏิวัติวิธีการดำเนินงานของบริษัทได้

ในปีนี้เราได้เห็นการเกิดขึ้นของ DAO ที่มีชื่อเสียง เช่น ConstitutionDAO ซึ่งเป็นวิธีการใหม่สำหรับชุมชนในการจัดระเบียบตามวัตถุประสงค์ โดยโครงการริเริ่มของชุมชนที่ก่อตั้งโดย Tasafila (tasafila.eth) มีแผนที่จะระดมทุน 5 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อ Blockbuster

ผู้ให้บริการภาพยนตร์ที่บ้านในอดีตถูก disrupt โดย Netflix และบริการสตรีม ปัจจุบัน Blockbuster เป็นของ Dish Network ซึ่งทางกลุ่ม Tasafila กำลังวางแผนที่จะระดมทุน 5 ล้านดอลลาร์โดยการสร้าง NFT ซึ่งจะขายในราคา 0.13 ETH ต่อรายการ

Blockbuster ที่โดน disrupt โดย Netflix (CR:CoinLive)

DAO พยายามที่จะ “ปลดปล่อย Blockbuster” และจัดการบริษัทผ่านรูปแบบการกำกับดูแลแบบ on-chain กับชุมชน นี่จะเป็นก้าวแรกในการทำให้ Blockbuster เป็น “แพลตฟอร์มการสตรีม DeFi ที่ไม่เคยมีมาก่อน” ตามคำกล่าวของ Tasafila:

“แบรนด์ Blockbuster ไม่เพียงแค่ทำให้เราคิดถึงเท่านั้น แต่ยังเป็นองค์กรสำคัญทางประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์อีกด้วย แม้จะเคยรุ่งเรืองสุดขีด แต่บริษัทก็ถูกทำลายโดยความเป็นผู้นำองค์กรที่ย่ำแย่ โดยไม่สามารถปรับเปลี่ยนและตัดสินใจทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพได้”

DAO มองเห็นศักยภาพในแบรนด์ Blockbuster ซึ่งตามข้อมูลใน Twitter พบว่าแบรนด์ blockbuster มีความสัมพันธ์กับ “บริการสตรีมมิ่งยอดนิยม” โดยที่ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมกลายเป็นบวกตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งเมื่อ Blockbuster ปิดร้านสุดท้ายทาง DAO ได้นำเสนอ:

“ถึงเวลาปลดปล่อยแบรนด์จากนรกและมอบชีวิตใหม่ให้กับแบรนด์ แบรนด์ของประชาชนควรเป็นเจ้าของโดยประชาชนและปกครองโดยประชาชน แม้แต่ชื่อ Blockbuster ก็ทำให้ตัวเองกลายเป็นผลิตภัณฑ์ Web3 ได้”

เหตุใด Blockbuster จะ disrupt Netflix ได้หากกลายเป็น DAO?

องค์กรที่กระจายอำนาจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ Blockbuster เป็น “โครงการ DeFilm” แต่ในท้ายที่สุดการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับโครงการนี้จะได้รับการโหวตจากชุมชน อย่างไรก็ตาม Tasafila ได้ให้ข้อมูลกับผู้ใช้ที่สนใจด้วยแผนงานที่เป็นไปได้ ผ่านช่องทาง Discord ที่เพิ่งเปิดตัวของ DAO

อันดับแรก พวกเขาจะเริ่มสร้างรางวัล ผ่านรูปแบบ NFT ที่เรียกว่า Blockbuster Reward Token (BRT) ด้วยฐานที่มีศักยภาพนี้ โปรเจ็กต์จะสร้างระบบการให้รางวัล สำหรับสมาชิกในชุมชนและโทเค็นของโครงการ

นอกจากนี้ BlockbusterDAO จะพยายาม “ขับเคลื่อนรายได้ผ่านคอลเลกชัน NFT, ข้อตกลงกับแบรนด์, สินค้า” และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รายได้จากผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาในอนาคตและการซื้อทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ

องค์กรที่กระจายอำนาจพิจารณาถึงการสร้างเทศกาลภาพยนตร์ ความเป็นไปได้ที่จะเริ่มซื้อภาพยนตร์ ซึ่งการเปิดใช้งานแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง blockbuster จะดึงดูดผู้มีความสามารถเข้าสู่โครงการ และอื่นๆ อีกมากมาย ผู้ก่อตั้ง DAO กล่าวว่า:

“เมื่อเราพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการเผยแพร่เนื้อหาแล้ว เราก็เริ่มลงทุนในเนื้อหาต้นฉบับที่เป็น original content ได้ นี่ไม่ใช่ขั้นตอนที่เราอยากจะรีบเร่ง เนื่องจากต้องใช้เวลาและเงิน ซึ่งต้องมีการการลงทุนครั้งใหญ่ เราต้องการการยืนยันจาก DAO เกี่ยวกับโครงการที่จะลงทุนในอนาคต”

จนถึงตอนนี้ ดูเหมือนว่าโปรเจ็กต์ดังกล่าว จะได้รับความสนใจจากชุมชนผู้ใช้ 500 คนบน Discord ซึ่งสุดท้ายเวลาจะเป็นตัวบอกได้ว่าพวกเขามีความสามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ พวกเขาจะสามารถทำให้ blockbuster กลับมา disrupt บริการอย่าง Netflix ที่เคย disrupt พวกเขามาก่อนหน้า หรือในแง่ร้ายพวกเขาก็อาจจะล่มสลายตาม DAO อื่นๆ ไปก็เป็นได้ครับผม

–> อ่านเรื่องราวการถือกำเนิดขึ้นของ DAO ได้ที่ : Blog Series : How an Army of Crypto-Hackers Is Building the Next Internet with Ethereum

References : https://bitcoinist.com/how-dao-wants-bring-blockbuster-back-from-ashes
https://cryptobriefing.com/a-dao-wants-to-buy-blockbuster-for-5-million/
https://markets.businessinsider.com/news/currencies/blockbuster-dao-decentralized-movie-streaming-service-nft-dish-network-2021-12

Elon Musk กล่าวว่า Web3,Metaverse เป็นแค่เรื่องการตลาด ของจริงต้อง Neuralink เท่านั้น

ในการให้สัมภาษณ์ครั้งใหม่กับเว็บไซต์แนวเสียดสีอย่าง The Babylon Bee นั้น Elon Musk ซีอีโอของ Tesla และ SpaceX ได้กล่าวถึงแนวคิดของ Metaverse โลกเสมือนจริงที่เล่นโวหารใน Facebook ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Meta จะเข้ามาแทนที่หน้าจอสองมิติที่น่าเบื่อของเรา

Musk ยอมรับว่าเขาอาจจะ “แก่เกินไป” ที่จะเข้าใจเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ “ผมเหมือนคนๆ หนึ่งที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตในปี 95 เพราะมองว่ามันเป็นเพียงแค่แฟชั่น” เขากล่าว

ซึ่งในปี 1995 เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่เข้าใจศักยภาพของอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก และนั่นทำให้เขาประสบความสำเร็จกับธุรกิจแรกของเขาอย่าง Zip2

คำวิจารณ์ของ Musk เกี่ยวกับ metaverse มุ่งเน้นไปที่การขาดกรณีการใช้งานที่น่าสนใจและประสบการณ์ที่น่าผิดหวังสำหรับผู้บริโภค 

“มันรู้สึกอึดอัดที่จะผูกสิ่งนี้ไว้กับหัวของเราตลอดเวลา” เขากล่าวเสริม “ผมคิดว่าเรายังห่างไกลจากการหายตัวไปใช้เวลามากมายใน metaverse”

ตอนนี้ “metaverse” ส่วนใหญ่เป็นการสร้างแบรนด์ที่เกินจริงสำหรับโลกเสมือนจริง ซึ่งบางส่วนต้องอาศัยชุดหูฟัง VR เพื่อเข้าถึง 

เหล่านักวิจารณ์ชี้ให้เห็นว่าเราเคยลองใช้เทคโนโลยีทั้งหมดนี้มาก่อนแล้ว โดยพื้นฐานแล้ว VR ที่ล้มเหลวในยุค 90 และการเกิดขึ้นของการจำลองชีวิตเสมือนจริงอย่าง Second Life ในช่วงต้นทศวรรษ 2000  ซึ่งสุดท้ายก็ล้มเหลว

สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่คือฮาร์ดแวร์ที่ได้รับการปรับปรุง ชื่อใหม่ที่ดูฉูดฉาด และการสนับสนุนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์จากยักษ์ใหญ่อย่าง Meta ที่ Facebook เป็นเจ้าของ ซึ่งกระตือรือร้นที่จะควบคุมสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่ตัวต่อไป

แต่ Musk ยังเสนอสิ่งที่เขามองว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่ามาก: ชิปที่ฝังในสมองของเราโดยการผ่าตัด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจาก Neuralink บริษัท อินเตอร์เฟสสมองกับคอมพิวเตอร์ที่เขาร่วมก่อตั้ง

“ในระยะยาว Neuralink ที่มีความซับซ้อนสามารถทำให้คุณอยู่ในโลกเสมือนจริงได้อย่างเต็มที่” เขากล่าว

Meta ซึ่งเดิมคือ Facebook ได้ทำการผลักดัน VR ครั้งใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา โดยนำเสนอ Metaverse ของพวกเขาให้มีความหมายมากขึ้นในการเชื่อมต่อกับผู้อื่นผ่านชุดหูฟัง VR 

แต่ก็ต้องบอกว่าแม้กระทั่งรองประธานฝ่ายกิจการและการสื่อสารระดับโลก Nick Clegg ที่ได้ทดลองใช้ก็เพิ่งยอมรับว่าประสบการณ์ยังขาด ๆ เกิน ๆ อยู่

“ถ้าผมเงยหน้า ในขณะที่ผมกำลังดื่มกาแฟ ชุดหูฟังที่แย่มากนี้มีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับผมที่จะดื่มกาแฟโดยไม่ต้องขยับชุดหูฟัง” Clegg กล่าวกับ Financial Times ในการสัมภาษณ์เมื่อเร็ว ๆนี้

Musk ยังมุ่งเป้าไปที่ Web3 ซึ่งเป็นแนวคิดของการทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นประชาธิปไตยโดยใช้เทคโนโลยี blockchain เขาอธิบายเรื่อง Web3 ในการสัมภาษณ์ Babylon Bee ว่าเป็น “มันเป็นการตลาดมากกว่าความเป็นจริง”

Musk มองว่าแม้ว่าเทคโนโลยี VR จะมีมานานแสนนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังห่างไกลจากกระแสหลัก และไม่ต้องกังวลว่าเทคโนโลยีเพ้อฝันเหล่านี้จะเข้าถึงผู้คนจำนวนมากเหมือนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของ Facebook สามารถทำได้

References : https://www.theverge.com/2021/12/22/22849717/elon-musk-metaverse-web3-more-marketing-than-reality
https://www.youtube.com/watch?v=BaRKd4U6Ixg
https://nypost.com/2021/12/22/elon-musk-says-idea-of-metaverse-is-not-compelling/

Geek Daily EP99 : DTC eCommerce ทำไมการส่งตรงถึงผู้บริโภคคืออนาคตของการช้อปปิ้ง

ช่องทางดิจิทัลที่รู้จักกันในชื่อ ‘direct-to-consumer’ (หรือ DTC) ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและโดยตรงมากขึ้นระหว่างแต่ละแบรนด์และผู้บริโภค ส่งผลต่อประสบการณ์ของลูกค้าที่ทำให้เกิดความสะดวก และตรงใจกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

ประโยชน์ของการนำกลยุทธ์ DTC ไปใช้นั้นมีหลายประการ ด้วยการผสมผสานแนวทาง DTC เข้ากับกลยุทธ์การตลาดและการขาย แบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างความแตกต่างให้กับตนเองและผลิตภัณฑ์ของตนภายในตลาดได้ดียิ่งขึ้น DTC ยังช่วยให้แบรนด์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและตรงขึ้นกับลูกค้า ซึ่งส่งผลให้เกิดความภักดีในแบรนด์มากยิ่งขึ้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/32BP4Cw

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3yVswcl

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3FsSuGx

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3mz3lXX

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/kDTHT8f5IjY

References Image : https://adage.com/article/digital-marketing-ad-tech-news/tiktok-facebook-all-social-commerce-capabilities-introduced-2021/2380266

Jack Dorsey vs Web 3 กับความบาดหมางระหว่าง CEO ผู้รัก Bitcoin กับนักลงทุน VCs ที่แสนหิวโหย

นับตั้งแต่ออกจาก Twitter อย่างเป็นทางการ ตอนนี้ Jack Dorsey ซีอีโอของ Block (เดิมชื่อ Square) ได้กลายเป็นแกนนำและมีการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างมากเกี่ยวกับ blockchain และสกุลเงินดิจิทัล 

Dorsey กล่าวด้วยท่าทีรุนแรงต่อเทคโนโลยี Web 3 ว่า มันไม่มีอะไรมากไปกว่าโครงการที่สร้างความร่ำรวยให้กับเหล่า VC (Venture Captial) ที่กลายเป็นดราม่าในโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้

แล้วเรื่องราวของ crypto ในช่วงสองปีที่ผ่านมากับ Web 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ blockchain ได้อย่างไร? ในเมื่อ Bitcoin นั้นก็มีเทคโนโลยี blockchain อยู่เบื้องหลัง แล้วทำไมพวกเขาถึงต้องทะเลาะกัน?

Web 3 คืออะไร?

Web 1.0 คืออินเทอร์เน็ตของศตวรรษ 1990 ไม่ว่าจะเป็น Search Engine หรือ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แต่จะอยู่เฉพาะในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเดสก์ท็อป ส่วน Web 2.0 คืออินเทอร์เน็ตที่เรารู้จักในปัจจุบัน โดยมีเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น การสตรีมวีดีโอและเพลง ซึ่งมันเติบโตบนอุปกรณ์พกพา

Web 3.0 ได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี 2006 จาก The New York Times ที่เขียนเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในยุคที่ 3 ซึ่งจะเป็นยุคที่เว็บของข้อมูลสามารถประมวลผลได้ด้วยเทคโนโลยี AI , Machine Learning , Data Mining ตัวอย่างเช่น อัลกอริธึมจะช่วยตัดสินใจและแนะนำว่าใครควรซื้ออะไรใน Amazon นั่นคือภาพรวมของ Web 3.0

นอกจากฟีเจอร์เหล่านี้แล้วก็มีแนวคิดที่ว่าควรจะรวมเอาเครือข่ายแบบ Peer-to-peer ที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์และไม่มีตัวกลางในการจัดการของการไหลของข้อมูล ซึ่ง Ethereum จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับวิสัยทัศน์ของ Web 3.0

Bitcoin vs Web 3

เป็นคำถามที่น่าสนใจว่าทำไม Dorsey ถึงคิดว่าเหล่า VCs กำลังควบคุม Web 3 ซึ่งการประกาศกร้าวของ Dorsey ใน twitter ถือเป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงที่ออกมาโจมตี Web 3 ซึ่งต้องบอกว่าการต่อสู้มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2013 โดยประเด็นนี้เริ่มร้อนแรงขึ้นจริงๆ นับตั้งแต่เปิดตัว Ethereum ในปี 2014

หลังการถือกำเนิดขึ้นของ Ethereum หรือระบบเลียนแบบต่าง ๆ  ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังการบูมขึ้นของนวัตกรรมที่หลาย ๆ คนน่าจะรู้จักกันดี เช่น การกระจายอำนาจทางการเงิน ( DeFi ) โทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ (NFTs) การเล่นเกมเพื่อหารายได้ (GameFi) องค์กรอิสระที่มีกระจายอำนาจ (DAO) – และที่โดดเด่นมากคือเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่มีการกระจายอำนาจ

แอปพลิเคชันเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัย “Smart Contract” ของโค้ดที่ทำงานบน blockchain และกำหนดเงื่อนไขสำหรับธุรกรรมที่โปร่งใส ไม่สามารถย้อนกลับได้ และเข้าถึงได้แบบเปิด ส่วนหนึ่งของโครงสร้างเหล่านี้ เป็นโปรเจ็กต์ที่อิงตาม Smart Contract และมักใช้โทเค็นเฉพาะของตนเอง

Web 3 จึงได้กลายเป็นแนวคิดคร่าวๆ ว่าเว็บควรรวมแอปพลิเคชั่น smart contract และโทเค็นต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งรวมถึง metaverse ที่เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังกลายเป็นกระแสในขณะนี้

Web 3 และ metaverse มีความหมายเหมือนกันในเชิงโครงสร้าง ซึ่งแกนหลักของทั้งสองเทคโนโลยีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างอินเทอร์เฟซและระบบที่ใช้สินทรัพย์ blockchain  ซึ่งรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น การมีเนื้อหาในเกมแบบ NFT ที่ใช้งานได้ในเกมต่างๆ หรือโทเค็นที่ปลดล็อกบริการต่าง ๆ

และนี่คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ Facebook รีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta และกำลังสร้างโลกของ Metaverse เช่นเดียวกัน

Facebook รีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta และกำลังสร้างโลกของ Metaverse (CR:UploadVR.com)
Facebook รีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta และกำลังสร้างโลกของ Metaverse (CR:UploadVR.com)

Bitcoin Fight Back!

ในอีกด้านหนึ่งของการทะเลาะวิวาทคือเหล่า Bitcoiners เช่น Dorsey ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความหลงใหลที่เชื่อว่าสกุลเงินดิจิทัลดั้งเดิมเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ดีที่สุดหรืออาจเป็นสกุลเงินเดียวที่ถูกต้องตามหลักการกระจายอำนาจที่แท้จริง

โดย Bitcoiners ที่หัวรุนแรงที่สุดถูกเรียกว่า “Bitcoin Maximalists” และพวกเขาเชื่อว่าความแข็งแกร่งและความเป็นสากลของ Bitcoin จะทำให้เป็นสกุลเงินที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก ด้วยการเข้าถึงที่เป็นประชาธิปไตยเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติโดยรวม

Maximalists (ซึ่งไม่ใช่ Bitcoiners ทั้งหมด) ยังเชื่อว่า cryptos อื่น ๆ เป็นภัยคุกคามต่อวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของ Bitcoin ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะการประนีประนอมและยอมก้มหัวให้คนกลางซึ่งมันไม่ใช่การกระจายอำนาจที่แท้จริง 

Bitcoin Maximalists บางคนรู้สึกว่าการต่อต้าน cryptos อื่น ๆ นั้นสมเหตุสมผล ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ความคิดเห็นของ Dorsey ได้กลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมา

เหล่า Bitcoiners นั้นมองว่า cryptocurrencies ต้องมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง: ความปลอดภัยของข้อมูลขั้นสูง (ไม่สามารถแฮ็คเครือข่าย Bitcoin ได้) การต่อต้านการเซ็นเซอร์ (ใคร ๆ ก็สามารถใช้ Bitcoin ได้ และไม่มีใครสามารถหยุดธุรกรรมใดๆ ด้วยวิธีการทางเทคนิคได้)

ข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับทุกสิ่งที่ดีเหล่านั้นคือคุณสมบัติหลักที่ Bitcoiners โต้แย้งในเรื่อง blockchain ของจริง : การกระจายอำนาจที่แท้จริงและเต็มรูปแบบ นี่คือความแตกต่างที่สำคัญ: การกระจายอำนาจไม่ใช่คุณธรรมหรือเป้าหมายในตัวของมันเอง เป็นสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของ Bitcoin

แน่นอนว่าการทดสอบในเรื่องความสำคัญของการกระจายอำนาจนั้นค่อนข้างง่าย: หากรัฐบาลที่มีอำนาจมากต้องการปิดหรือเข้ามาแทรกแซง blockchain ก็จะต้องมีการประนีประนอมกับอำนาจเหล่านี้

ชาว Bitcoin มอง “crypto” แบบ Ethereum และ Smart Contract เป็นการกระจายอำนาจแบบปาหี่ ซึ่งแม้แต่ Ethereum เองในเรื่อง Proof of Work (PoW) ปัจจุบันก็ยังถูกโจมตีในประเด็นนี้อยู่

แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Smart Contract โดยตรง แต่ข้อโต้แย้งเดียวกันนี้ก็เป็นหัวใจของ “Block Size War” ในปี 2015-2017 การต่อสู้ครั้งนั้นทำให้เกิดข้อโต้แย้งที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ Bitcoiner: ความหลากหลายของ cryptocurrencies แม้กระทั่งที่คล้ายกับเทคโนโลยี Bitcoin เอง คุกคามการเติบโตของระบบนิเวศของ crypto เพราะมันได้แยกความสนใจออกเป็นหลายฝ่าย 

Bitcoiners บางคนปฏิเสธคำวิจารณ์นี้ แม้ว่าการโต้แย้งเหล่า “altcoins” อาจเป็นบททดสอบที่มีประโยชน์สำหรับคุณสมบัติของ Bitcoin ในอนาคตก็ตาม

แต่โดยพื้นฐานแล้ว Bitcoiners ทั้งหมดสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมขององค์กรที่แสวงหาผลกำไรตัวอย่างเช่นเหล่า VC ในการสร้างโทเค็นใหม่ โดยอ้างว่าบทบาทดังกล่าวส่งผลต่อการกระจายอำนาจของระบบ

เนื่องจากมีหน่วยงานส่วนกลางที่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงระบบได้เอง หรือ มีแรงกดดันของรัฐบาลในการเซ็นเซอร์ระบบ ดูตัวอย่าง USDT และ USDC ที่มีเสถียรภาพ ซึ่งผู้ดูแลระบบ Tether และ Circle มีอำนาจในการบล็อกผู้ใช้ที่ติดบัญชีดำหรือยึดเงินของพวกเขา 

การวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของ VCs ของ Dorsey ใน Web 3 นั้นมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบทางการเงินของ blockchain ที่ได้รับการสนับสนุนจาก VC โดยอ้างว่าพวกเขาดูดเงินออกจากผู้ใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจบลงด้วยการเป็นเจ้าของตัวจริงในระบบของตนเอง

นั่นทำให้ Marc Andreessen ตัดสินใจที่จะบล็อก @jack และ Dorsey ตอบกลับโดยบอกว่าเขาถูก “แบนจาก Web 3”  เนื่องจากอดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Netscape และ Andreessen Horowitz (a16z) เป็นนักลงทุนรายใหญ่ใน Startup ด้าน Web 3 และทุ่มเงินให้กับโครงการ DeFi metaverse โทเค็น และสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมหาศาล

Marc Andreessen ตัดสินใจที่จะบล็อก @jack ใน Twitter (CR:Twitter)
Marc Andreessen ตัดสินใจที่จะบล็อก @jack ใน Twitter (CR:Twitter)

แล้วใครบ้างที่ต้องการเทคโนโลยี Web 3?

ด้านหนึ่ง ตอนนี้เรามีระบบนิเวศของ Ethereum ที่มีความซับซ้อน และเปราะบาง ซึ่งมีคุณสมบัติใหม่ที่น่าตื่นเต้น ซึ่งผู้สนับสนุนต้องการทำให้เป็นประชาธิปไตยผ่าน Web 3

ในอีกด้านหนึ่ง Dorsey และ Bitcoiners ที่บอกว่าแอปพลิเคชั่นเจ๋งๆ เหล่านี้พึ่งพาระบบที่มีการกระจายอำนาจไม่เพียงพอเพื่อให้ได้ประโยชน์พื้นฐานของ blockchain ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการประนีประนอมยอมให้คนกลางเข้ามามีบทบาท ช่วยให้ผู้สนับสนุนระบบเหล่านี้ร่ำรวย

แต่เทคโนโลยี Web 3 นั้นเป็นไปไม่ได้หรือยากมากที่จะทำกับ Bitcoin เพราะการกระจายอำนาจและการรักษาความปลอดภัยที่สุดเข้มของ Bitcoin นั้นทำให้เสียพื้นที่จัดเก็บ และที่สำคัญที่สุดคือความเร็วในการทำธุรกรรม ซึ่งหากเรากำลังเล่นเกม metaverse หรือ Web 3 เราไม่ต้องการที่จะรอสิบนาทีหรือมากกว่านั้นเพื่อยืนยันว่าดาบใหม่ของเรามาถึงแล้วอย่างแน่นอน

ดังนั้น Dorsey ที่ออกมาโจมตีบทบาทของ VCs ใน Web 3 ดูเหมือนจะทำให้เขาต้องตระหนักคิดเหมือนกัน เพราะมันไม่ชัดเจนว่ามีทางเลือกอื่นในการระดมทุนและสร้างวิสัยทัศน์ของ Web 3 ให้เป็นจริงได้อย่างไร

แต่ VCs ที่เข้ามาลงทุนในโทเค็นเหล่านี้ ก็มีปัญหาร้ายแรงบางอย่าง ทั้งเรื่องส่วนลดก่อนการขายและระยะเวลาการล็อคระยะสั้นสำหรับการเปิดตัวโทเค็น ซึ่งมักจะทำให้ VCs เทเงินของพวกเขาให้กับนักลงทุนรายย่อยโดยไม่สนใจว่าความคิดหรือเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังโทเค็นนั้นดีจริง ๆ หรือไม่ 

ปัญหาเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง แม้ว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเจาะจงกับ crypto เท่านั้น มันเป็นเวลานานมากแล้วที่เหล่า VCs ได้รับเงื่อนไขพิเศษในการลงทุนมานานหลายทศวรรษ

แต่หลายคนก็เปิดใจรับแนวคิดที่ว่าระบบที่แข็งแกร่งน้อยกว่าอาจมีการใช้งานได้จริงและมีประโยชน์ที่แท้จริงเช่นกัน มันเป็นคำถามที่สำคัญว่าเราต้องการ blockchain ที่ทนต่อการเซ็นเซอร์ทั้งหมด ความปลอดภัยสูงสุด แต่ช้าเป็นเต่า เพื่อจัดการรูปโปรไฟล์ NFT หรือเสื้อคลุมและหมวกวิเศษในเกมของเราหรือไม่นั่นเองครับผม 

References : https://www.cnbc.com/2021/12/23/jack-dorsey-blocked-by-marc-andreessen-on-twitter-after-web3-comments.html
https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-12-21/jack-dorsey-stirs-uproar-by-dismissing-web3-as-a-vc-plaything
https://www.coindesk.com/layer2/2021/12/23/what-jack-dorseys-beef-with-web-3-is-really-about/
https://www.theverge.com/2021/12/22/22850558/jack-pmarca-a16z-web3-block-twitter
https://www.youtube.com/watch?v=wtOSyMaSfGM

–> หากสนใจเรื่อง Ethereum เพิ่มเติม อ่าน Blog Series : How an Army of Crypto-Hackers Is Building the Next Internet with Ethereum