Smartphone War ตอนที่ 3 : iTunes Phone

แม้จะสร้าง iPod ให้กลายเป็นสินค้ายอดฮิต ยอดขายถล่มทลาย กลายเป็นปรากฏการณ์ไปทั่วโลก แต่ในปี 2004 หากพูดถึง Apple กับมือถือนั้น คงไม่มีใครคาดคิดว่า Apple บริษัทที่เริ่มต้นด้วยการขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น จะพลิกธุรกิจมาลุยในตลาดมือถือได้อย่างแน่นอน

สิ่งแรกคือเรื่องของ Knowhow ต่าง ๆ ในเรื่องมือถือ นั้น ต้องเรียกได้ว่า Apple แทบจะไม่เคยย่างกายเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้เลยด้วยซ้ำ และการครองตลาดอย่างเบ็ดเสร็จของ Nokia ที่มีทีมงานที่พร้อมทุกอย่างทั้งเรื่อง Hardware , Software รวมถึง Knowledge ด้านโทรคมนาคม คงเป็นเรื่องยากที่ใครจะสามารถล้ม Nokia ลงได้ในขณะนั้น

แนวคิดแรกของ Apple กับมือถือนั้น เป็นเพียงการร่วมเป็น Partner กับ โมโตโรลล่า เพื่อผลิตมือถือ เพื่อนำ iTunes เข้าไปลงเป็นส่วนของ Software จัดการเพลงเพียงเท่านั้น

ตลาดโทรศัพท์มือถือนั้น เป็นตลาดที่ใหญ่โตมหาศาล เมื่อเทียบกับตลาดเครื่องเล่นเพลงแบบดิจิตอลที่ iPod สามารถเอาชนะได้สำเร็จนั้น เรียกได้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของตลาด Consumer Product เพียงเท่านั้น

ทั้ง Apple และ Motorola จึงได้ร่วมกันพัฒนา ROKR มือถือรุ่นใหม่ของ Motorola และยังได้ร่วมมือกับ  Cingular ซึ่ง ณ ขณะนั้นเป็นค่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของอเมริกา และหวังจะลองชิมลาง เขาสู่ตลาดที่ใหญ่โตมหาศาลอย่างตลาดโทรศัพท์มือถือ

Apple ลองชิมลางในตลาดมือถือด้วย ROKR phone
Apple ลองชิมลางในตลาดมือถือด้วย ROKR phone

แต่กระบวนการสร้าง มือถือ ROKR นั้น เต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ด้วยการที่ต้องมีการร่วมมือกันของหลาย ๆ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ระบบบริหารที่ล้าหลังของ Motorola ก็เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่สำคัญในการกีดขวางกระบวนการออกแบบ

ซึ่งแน่นอนว่าวัฒนธรรมองค์กร มันไม่เหมือนกับ Apple ที่เน้นที่ประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก สุดท้าย ROKR มันได้กลายเป็นมือถือที่ห่วยแตก เหมือนสินค้าด้อยคุณภาพ ไม่ต่างจาก iPod ห่วย ๆ ที่มีฟังก์ชั่นในการโทรศัพท์ได้นั่นเอง

รวมถึงรูปแบบการโอนเพลงเข้าโทรศัพท์ที่ใช้สาย USB กับคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับ iTunes ซึ่งแน่นอนว่าจ๊อบส์ อยากให้ Ecosystem ของ Apple นั้นคงไว้เหมือนกับที่ทำสำเร็จกับ iPod

แต่มันเป็นที่ถูกใจของบริษัทเครือข่ายมือถืออย่าง Cingular ที่ต้องการขายเพลงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของพวกเขาเท่านั้น และมันได้ทำให้เรื่อง Promotion ที่ปรกติต้องทำกับเครือข่ายนั้นถูกตัดออกทันที ทำให้ผู้ซื้อที่ต้องการใช้ ROKR นั้นต้องจ่ายราคาเต็มของมือถือที่ 250 ดอลลาร์ แถมยังต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนอีกด้วย

ซึ่งแน่นอนว่า ROKR นั้นมันคือหายนะอย่างสิ้นเชิง สำหรับ Apple ในการที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ ทำให้ จ๊อบส์นั้นหงุดหงิดหัวเสียกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ ต้องการจะตัดคนกลางทั้งหลายออกจากวงจรนี้

Apple นั้นต้องการควบคุมทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จ แบบที่พวกเขาทำได้กับ iPod ทั้ง Hardware , Software หรือแม้กระทั่งเครือข่ายโทรศัพท์ก็ตาม และสามารถที่จะนำผลิตภัณฑ์ของ Apple ส่งไปถึงมือของลูกค้าได้โดยตรงนั่นเอง

และไม่ใช่ว่าในช่วงนั้นจะไม่มีคู่แข่งเลยเสียทีเดียวสำหรับ บริษัทมือถือที่ต้องการเข้ามาลุยในตลาดเพลง แน่นอนว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Nokia ก็ได้ออก Nokia N91 ที่สามารถเก็บเพลงได้กว่า 1,000 เพลง คล้าย ๆ iPod Mini แต่สุดท้าย Nokia ก็ไม่สามารถที่จะผลักดันตัวเองให้เข้าไปสู่ธุรกิจเพลงอย่างที่คาดหวังได้เช่นกัน เพราะ เหล่าค่ายโทรศัพท์มือถือในสหรัฐอเมริการไม่ยอมนั่นเอง

N91 ที่  Nokia หวังมาเจาะตลาดธุรกิจเพลงเหมือนกัน
N91 ที่ Nokia หวังมาเจาะตลาดธุรกิจเพลงเหมือนกัน

ซึ่งในตอนนี้เราจะเห็นได้ถึีงบทสรุปของการลุยเข้าไปสู่ตลาดมือถือของ Apple ครั้งแรกนั้น ต้องจบลงด้วยความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะ ROKR ไม่ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีเหมือนที่ลูกค้าคาดหวังจาก Apple และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความตกต่ำของ Motorola ในคราเดียวกัน

แต่อย่างน้อย ROKR ได้กลายเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าของทีมงาน Apple ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะตัวจ๊อบส์เอง และมันได้ทำให้จ๊อบส์นั้นค้นพบว่า Apple ควรทำอะไรที่แท้จริงในตลาดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแน่นอนว่าจ๊อบส์ จะไม่ยอมให้ใครมาครอบงำการสร้างผลิตภัณฑ์ของ Apple อีกต่อไปมันได้เป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ว่าหาก Apple ไม่สามารถ Control ทุกอย่างได้เหมือนที่พวกเขาเคยทำ หายนะก็มาเยือนอย่างที่ประสบพบเจอกับมือถือ ROKR นั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 4 : Turning Point

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

SpaceX เตรียมเปิดบริการ ‘RideShare’ สำหรับกระสวยอวกาศ

SpaceX กำลังสร้างข้อเสนอด้วยตัวเลือกใหม่ในราคาที่ไม่แพง และสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ มากขึ้น สำหรับผู้ให้บริการดาวเทียมขนาดเล็กที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกขนาดเบาลงสู่วงโคจรโลก

ข้อเสนอบริการใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานให้กับลูกค้าที่สามารถใช้ประโยชน์จากการเปิดตัว “rideshare” โดยแบ่งปันพื้นที่บน Falcon 9 เมื่อต้องการส่งดาวเทียมขนาดเล็กอื่น ๆ ออกไปสู่วงโคจร

ตัวเลือก rideshare จะให้บริการในกำหนดเวลาปกติ และ SpaceX บอกว่ามันถูกออกแบบมาเพื่อความยืดหยุ่น และนำเสนอความสามารถในการจองล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า และมั่นใจได้ว่าหากพวกเขาพร้อมที่จะเปิดตัว rideshare พร้อมจรวดที่จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน 

หนึ่งในปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของบริการ rideshare ในวันนี้ คือเรื่องของเวลาและความพร้อมของ Falcon 9 ที่จะรองรับน้ำหนักของลูกค้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วของที่บรรทุกขนาดใหญ่เพียงหนึ่งหรือสองใบจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่สำหรับการเดินทางแล้ว

บริการใหม่ของ SpaceX ได้รับการออกแบบคล้ายกับโปรแกรม rideshare ที่มีอยู่ทั่วไปในตอนนี้ ลูกค้าที่พร้อมจะใช้บริการและบริษัท ต้องการเติมที่เดิมสูญเสียไปเปล่า ๆ ด้วยการจองล่วงหน้า (1 ปีขึ้นไป) และตอนนี้ใกล้ถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในอีกประมาณ 1 ปี

โดยการเปิดตัวจะมีราคาเริ่มต้นเพียง 2.25 ล้านดอลลาร์สำหรับการรับน้ำหนักสูงสุด 150 กิโลกรัม (330 ปอนด์) หรือ 4.5 ล้านดอลลาร์สำหรับน้ำหนัก 300 กิโลกรัม (660 ปอนด์) ฟังดูเหมือนว่าบริการใหม่นี้เหมือนจะราคาสูงมาก แต่ลองจินตนาการว่าราคาต่ำสุดสำหรับการใช้งานบริการของ SpaceX ปัจจุบันนั้นอยู่ที่ประมาณ 57 ล้านดอลลาร์

ซึ่งแน่นอนว่านี่เป็นวิธีที่ชาญฉลาดในการขยายธุรกิจให้กับ SpaceX ซึ่งแน่นอนว่าแต่เดิมการขนส่งไปยังอวกาศนั้นต้องใช้เงินลงทุนด้วยสูง ทำให้มีแต่ลูกค้าขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ แต่การเปิดบริการใหม่นี้ เป็นการเติมเต็มบริการของ SpaceX ให้กับลูกค้ารายเล็กให้สามารถใช้บริการได้ด้วยราคาที่ถูกลงนั่นเอง

References : 
https://techcrunch.com