Smartphone War ตอนที่ 1 : Phone & Microsoft

Nokia ถือเป็นผู้บุกเบิกตัวจริงของแนวความคิดเกี่ยวกับ Smartphone ซึ่งคือการสร้างโทรศัพท์มือถือ ที่ทำได้มากกว่าแค่การโทรศัพท์ ซึ่ง แน่นอนว่าต้องทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์แบบมือถือ ที่สามารถทำงานด้วยโปรแกรมของตัวเองได้ และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เนื่องจากต้องมีการพกพาอยู่ตลอดเวลา

Nokia ได้เริ่มสร้าง ระบบปฏิบัติการของตัวเอง และ สามารถทำให้ มือถือสามารถท่องเว๊บ และจัดการ Email สำหรับเหล่านักธุรกิจได้ ซึ่ง Nokia ได้ผลิตรุ่นแรกที่เป็น Smartphone ออกมาจริง  ๆ ก็คือรุ่น Nokia Communicator ที่ปล่อยออกมาในช่วงปี 1996 และเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีใครเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ ถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่ใน ปี 1997 Nokia สามารถขาย Smartphone ไปได้กว่า 80 ล้านเครื่องทั่วโลก เพียงแค่ปีแรกที่ได้ผลิต Smartphone ออกมาเท่านั้น

Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก
Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก

และเพียงไม่นาน Nokia ก็เจอคู่แข่งรายแรก ซึ่งก็คือ Palm ซึ่งเริ่มต้นจากการผลิตคอมพิวเตอร์มือถือก่อน แล้วค่อยทำการใส่ฟังก์ชั่นของการโทรศัพท์เข้าไป ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นคนละแบบกับ Nokia อย่างสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้

แต่ปัญหาใหญ่ของ Plam ก็คือ การมีระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างล้าสมัยมาก ส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีกับ PDA ที่ไม่มีฟังก์ชั่นการโทรศัพท์มากกว่า เพราะ Palm ถนัดในเรื่องนี้มากกว่านั่นเอง ซึ่งทำให้ ปี 2004 ผู้บริหารของ Palm เริ่มคิดถึงอนาคตว่า Palm คงก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้ ต้องมีการหา Partner โดยด่วน

ซึ่ง Palm นั้นได้สร้างแนวคิดแรกของเครื่อง PDA ที่เปรียบเสมือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กมากกว่า และด้วยการที่ตลาดของ PDA ที่เริ่มหดตัวลงเรื่อย ๆ โทรศัพท์มือถือต่างเริ่มใส่ Features ต่าง ๆ เช่น ปฏิทิน และ แม้แต่การเช็ค Email เข้าไป มันทำให้อนาคตของ PDA นั้นเริ่มมืดมนลงไปทุกทีด้วยนั่นเอง

Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี
Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี

และนี่เองก็เป็นที่มาของการเข้ามาร่วมมือกันระหว่าง Palm และ Microsoft ในปี 2005 ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นการได้ Palm เข้ามาร่วมมือ ถือเป็นหลักชัยครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท ในการที่จะเป็นผู้กำชัยในตลาดมือถือนั่นเอง

ซึ่ง Microsoft ได้มีการออกระบบปฏิบัติการ Windows Mobile มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ถือว่ายังไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจาก Microsoft นั้นไม่ถนัดได้ตลาดมือถือ หรือ อุปกรณ์พกพา เพราะตัว Windows หลักเองก็ใช้งานกับ PC ที่มีประสิทธิภาพสูงซะเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

ซึ่งการร่วมมือกันครั้งนี้ Palm ได้รับการอนุญาติให้มีการปรับแต่ง Interface กับ Features บางอย่างของ Windows Mobile ได้ เช่น การไม่ต้องรับสายที่เข้ามาแทนการส่งข้อความไปหาคนที่โทรเข้า หรือ ฟังก์ชั่นในการจัดการ Voicemail ให้ง่ายขึ้นเป็นต้น

ซึ่งเหล่าผู้บริหารของ Palm นั้นหันมา Focus ใหม่กับ Windows Mobile ของ Microsoft แทนการพัฒนาระบบปฏิบัติการด้วยตัวเองเหมือนเดิม รวมถึง ไม่สนใจที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian ที่เป็น Open Source แต่มี Nokia เป็นพี่ใหญ่ในการหนุนหลังอยู่

ซึ่งแน่นอน ถือว่าเป็นการเดินเกมที่ถูกต้องอย่างยิ่งสำหรับทั้ง Palm และ Microsoft ในการร่วมมือกันครั้งนี้ เพราะเป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความถนัดของทั้งสอง เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการ รวมถึง Features ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน Windows Mobile นั่นเอง

ซึ่งในขณะนั้น ถือเป็นยุครุ่งเรืองสุดขีดของความร่วมมือระหว่างทั้งสอง เพราะ ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และ เหล่านักธุรกิจต่าง ๆ นั้นก็เลือกใช้ Windows Mobile เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไปที่จะใช้ มือถือของ Nokia 

และที่สำคัญที่สุดก็คือ Ecosystem ของ Windows Mobile นั้นกำลังแจ้งเกิดอย่างสวยงาม เพราะมีเหล่านักพัฒนา Software บนมือถือ มากกว่า 10,000 รายที่กำลังร่วมกันเขียน Application ที่จะใช้กับ Windows Mobile ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับระบบปฏิบัติการมือถือที่จะแจ้งเกิดได้ เหมือนกับที่เราเห็นกับ iOS หรือ Android ในปัจจุบัน ที่เมื่อสามารถจูงใจนักพัฒนาได้นั้น ก็สามารถทำให้ ผู้คนหันมาใช้งาน เพราะคนส่วนใหญ่เลือกใช้งานตาม Application ที่มีในระบบปฏิบัติการเป็นหลักนั่นเอง

ซึ่ง ณ ปี 2006 Microsoft Windows Mobile นั้นถือได้ว่าอยู่จุดสูงสุดของ Ecosystem ของ ระบบปฏิบัติการมือถือ กำลังที่จะกลายเป็นระบบปฏิบัติการมือถือ ที่คนใช้งานทั่วโลกได้ เหมือนที่ Microsoft สามารถทำได้กับ Windows on PC ซึ่งตอนนั้น ถือได้ว่าได้นำหน้าทั้ง Symbian ของ Nokia หรือน้องใหม่อย่าง RIM ผู้ผลิต Blackberry จากแคนาดา

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น Microsoft ที่ควรจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในระบบปฏบัติการของ Smartphone ทั่วโลก และในตอนนั้นมี Partner ที่สำคัญอย่าง Palm เข้ามาเสริมทัพ กลับกลายเป็น ต้อง สูญหายไปจากระบบปฏิบัติการมือถือโลกอย่างที่เราได้เห็นในทุกวันนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Android & Google

Blog Series : Smartphone War Apple vs Google vs Microsoft

สงคราม Smartphone ถือได้ว่าเป็นสงครามธุรกิจ Case ที่ Classic Case นึงทีเดียวในวงการธุรกิจโลก การล่มสลายของ Nokia ผู้ครองตลาดมาอย่างยาวนาน รวมถึง Microsoft ที่มีที่ยืนอยู่ใน Windows Mobile ในช่วงเริ่มต้นของ Smartphone นั้น ถือว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

การเกิดขึ้นของ iPhone จาก Apple ในปี 2007 ได้เปลี่ยนแปลง รูปแบบธุรกิจมือถือ ที่มีเจ้าตลาดอย่าง Nokia เคยครองมาก่อนอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง เหล่ายักษ์ใหญ่ที่เป็นอดีตเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ประมาท การแจ้งเกิดของ iPhone เป็นอย่างมาก ไม่คิดว่า Apple จะสามารถมาล้มล้าง การครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จของ Nokia ลงได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น

รวมถึง Android ระบบปฏิบัติการของ Google ที่ถือว่าสามารถแจ้งเกิดได้อย่างทันท่วงที ซึ่งคงกล่าวไม่เกิดเลยว่า พวกเขานั้นได้รับแรงบันดาลใจที่สำคัญจากระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple นั่นเอง

แล้วมันเกิดอะไรขึ้นระหว่างศึกครั้งนี้ ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี แต่ได้ปฏิวัติวงการมือถือ รวมถึงได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกไปตลอดกาลผ่านระบบ SmartPhone ที่ได้แจ้งเกิดขึ้นใหม่นี้ อย่าพลาดติดตามได้จาก Series ชุดนี้ครับผม

–> อ่านตอนที่ 1 : Phone & Microsoft

Geek Monday EP13 : Trend ใหม่สุดล้ำกับเทคโนโลยีเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์

การเชื่อมต่อสมองของมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์จะกลายเป็นเรื่องปรกติภายในหนึ่งทศวรรษหรือประมาณนั้น โดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อสมอง หลายสิบล้านเครื่องถูกจำหน่ายในทุกๆ ปี ในอนาคตอันใกล้นี้

BMIs (Brain Machine Interfaces) เป็นงานที่น่าสนใจในการวิจัยที่มีศักยภาพสูงโดยเสนอความสามารถในการเชื่อมต่อสมองมนุษย์กับคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อแชร์ข้อมูลหรือควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ 

งานบางส่วนของ BMI นั้นไม่เกินเลยจากนิยายวิทยาศาสตร์ที่เคยนึกว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน ซึ่ง
รูปแบบพื้นฐานของเทคโนโลยี BMI ได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์มานานหลายปีแล้วเช่นประสาทหูเทียมซึ่งให้ความรู้สึกถึงเสียงแก่คนที่หูหนวกหรือได้ยินยาก ซึ่งยังรวมถึงอีกกรณีที่ใช้ทางการแพทย์ในการเป็นขาเทียม

ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนสำคัญในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์กับสมองแบบใหม่ ๆ  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สักวันหนึ่งอาจกลายเป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายซึ่งจะช่วยเหลือทุกคนได้ในอนาคตอย่างแน่นอนครับ

ฟังผ่าน Podbean : 
https://tharadhol.podbean.com/e/geek-monday-ep13-trend-brain-machine-interfaces/

ฟังผ่าน Spotify : https://open.spotify.com/episode/640CmtDmWTn9d2FaqWBRfz

ฟังผ่าน Youtube :
https://youtu.be/PMU42BW-xSY

AI ใหม่ของ IBM กับการเรียนรู้ผ่านความทรงจำ

เมื่ออัลกอริทึม AI เริ่มมีการเรียนรู้ทักษะใหม่ ตัวอย่างการเล่น วิดีโอเกมเช่น StarCraft II  ซึ่งแน่นอนว่ามันดีพอที่จะโค่นล้มผู้เชี่ยวชาญเกมส์ StarCraft II ที่ดีที่สุดที่เป็นมนุษย์ได้ไม่ยากนัก

แต่นั่นเป็นเรื่องจริงถ้าทุกคนเล่นตามกฎเกณฑ์เดียวกัน แต่หากเราเปลี่ยนพารามิเตอร์ของเกม จะทำให้ AI พบว่าตัวเองไม่สามารถปรับตัวได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น AI ที่เก่งในเกม Pong ไม่สามารถรับมือแม้แต่การเปลี่ยนระยะทางไปเพียงเล็กน้อยระหว่างไม้ตีทั้งสองนั่นเอง

ตอนนี้การวิจัยใหม่ของ IBM ที่จะนำเสนอในการประชุม AI ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  บริษัท ด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ กล่าวว่าความสามารถใหม่ของ AI ตอนนี้ ทำให้มันสร้างอัลกอริทึมที่สามารถเรียนรู้ได้ทันที โดยใช้ประโยชน์จากสิ่งที่คล้ายกับหน่วยความจำเสมือนเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนตั้งแต่เริ่มต้นใหม่เหมือน AI รูปแบบเดิม ๆ ที่เคยมีมา

ตัวอย่างเช่นเมื่อเล่นเกม Flappy Bird อัลกอริทึมสามารถเล่นต่อไปได้แม้ว่าระยะทางระหว่างท่อและสิ่งกีดขวางยังคงเปลี่ยนไป ตามรายงานการวิจัยล่าสุดโดยห้องปฏิบัติการ IBM-Watson AI ซึ่งตัวอย่างที่น่าทึ่งของ ของการปรับตัวเรียนรู้ได้ตามสถานการณ์ของ AI จาก IBM

เป้าหมายสุดท้ายของโครงการนี้ คือ การสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่คล้ายมนุษย์มากที่สุด หรือ ทำให้มันเหมือน AI จากนิยายวิทยาศาสตร์นั่นเอง งานวิจัยใหม่นี้ยังไม่ได้เพียงแต่จะทำให้ AI เรียนรู้ในแบบมนุษย์มากขึ้นโดยเลียนแบบความยืดหยุ่นของสมอง และความสามารถในการปรับปรุงฐานความรู้เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไป หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

Matt Riemer นักวิทยาศาสตร์ของ IBM อธิบายว่าการวิจัยของทีมของเขาจัดการกับปัญหาของ AI ซึ่งโดยทั่วไปอัลกอริทึม AI จะตกเป็นเหยื่อของสิ่งที่เรียกว่า “catastrophic forgetting”  ซึ่งความหมายคือ AI ลืมการฝึกอบรมก่อนหน้าทั้งหมดทันทีที่พวกเขาได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับงานใหม่ที่เกิดขึ้น

นักวิทยาศาสตร์คนอื่นได้จัดการกับกับเรื่องดังกล่าวเฉกเช่นเดียวกับที่ IBM ทำ โดยทีมหนึ่งจาก DeepMind ของ Google ได้สร้างอัลกอริธึมด้วยวิธีการที่อนุญาตให้ AI เก็บ“ ความทรงจำ” ได้ดีขึ้น ซึ่งงานวิจัยใหม่นี้จัดการปัญหาที่คล้ายกันกับการวิจัย DeepMind แต่จากมุมมองที่ต่างออกไปนั่นเอง

แต่ Riemer เขียนว่าการป้องกันอัลกอริทึมจากการลืมสิ่งที่เคยเรียนรู้มานั้นไม่ดีเท่ากับการสร้าง AI ที่สามารถปรับและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้แบบเดียวกับทักษะของมนุษย์นั่นเอง

ความแตกต่างที่สำคัญคือทีมงานของ IBM พบวิธีการฝึกอบรม AI เพื่อให้ เมื่อพบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นระยะห่างระหว่างท่อในเกม Flappy Bird หรือสิ่งอื่นใด ความรู้ที่มีอยู่และการฝึกอบรมที่มีอยู่ถูกถ่ายโอนไปยังงานใหม่ได้อย่างมาประสิทธิภาพมากที่สุด

ในท้ายที่สุด Riemer เขียนเป้าหมายสูงสุดของ IBM คือการสร้าง AI ที่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เรียนรู้ และปรับตัวโดยไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์คอยดูแลและคอยช่วยเหลือไปตลอดทางนั่นเอง

References : 
https://futurism.com

AI Teacher กับการปฏิวัติการศึกษาของจีน

ประเทศจีนกำลังวางเดิมพันครั้งใหญ่เกี่ยวกับศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ในการปฏิวัติการศึกษาของประเทศ

จากข้อมูลของ MIT Technology Review ที่มีการตีพิมพ์ล่าสุด มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการที่ประเทศจีนกำลังเริ่มยอมรับ AI ในฐานะที่เป็นตัวแทนบรรดาอาจารย์ที่เป็นมนุษย์และผลของการทดลองที่เกิดขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่ออนาคตของวงการการศึกษาในระดับโลกได้

จากอัลกอริทึมที่สอนบทเรียนการสอนทั่วไป  จนถึงระบบเฝ้าระวังที่ติดตามความคืบหน้าของห้องเรียน ปัจจุบันนักเรียนจีนหลายสิบล้านคนพึ่งพา AI เพื่อช่วยให้พวกเขาเรียนรู้จากการเรียนได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามรายงานของ MIT Tech 

สำหรับอย่างแรกที่จีนทำคือการสร้างแรงจูงใจในการโน้มน้าวเหล่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ผ่านนโยบายการลดหย่อนภาษี ซึ่งในประเทศจีนมีข้อเท็จจริงอย่างนึงที่ว่าการศึกษาเปรียบเสมือนกีฬาที่แข่งขันกันระหว่างนักเรียนในประเทศจีน รวมถึงเหล่าผู้ปกครองของพวกเขาด้วย ซึ่งพวกเขายินดีที่จะลองสิ่งที่อาจเพิ่มคะแนนการสอบของพวกเขาแม้เพียงเล็กน้อยก็ตามที

ในที่สุดผู้พัฒนา AI เหล่านี้ ก็มีข้อมูลมากมายเพื่อการทำการ Training ให้เพิ่มความอัจฉริยะของ AI ให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากจีนให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ

ซึ่งเป็นการทดลองในนักเรียนจำนวนหลายสิบล้านคน แต่หากมองในภาพรวมแล้วนั้น มันเป็นเพียงเศษเสี้ยวของนักเรียนประถมและมัธยมปลายกว่า 200 ล้านคนของจีน

แต่ถ้าการทดลองเหล่านี้เกิดได้ผลอย่างยอดเยี่ยมเมื่อเทีบกับก่อนที่มีการศึกษากับ AI  และสร้างผลประโยชน์ในระยะยาวกับการศึกษาในจีน ซึ่งสุดท้ายแล้วพวกเขาก็หวังว่าการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการศึกษา อาจจะกลายเป็นวิธีมาตรฐานในการเรียนการสอนในประเทศจีนหรือแม้กระทั่งในทั่วทุกมุมโลกในที่สุดนั่นเอง

References : 
https://www.technologyreview.com/