Geek China EP39 : Qihoo360

• นาย Zhou Hong Yi 周鸿祎ก่อตั้งตั้งบริษัท Qihoo 360 พัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ antivirus และ antimalware ในปี 2005 ด้วยเหตุผลที่ตลาดนี้ยังเป็น blue market หรือ Blue Ocean ตลาดน่านน้ำสีครามอย่างแท้จริง เพราะเป็นธุรกิจที่ประเทศจีนต้องการมากๆๆ ในยุคนั้นแต่ไม่มีผู้ตอบสนองหรือให้บริการหรือน้อยมากๆเลยก็ว่าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอินเตอร์เน็ตที่บุกเบิกเยอะกว่าในด้าน social media, eCommerce หรือ search engine เป็นต้น

• ในต้นปี 2011 มีผู้ใช้งานเคลื่อนไหวถึง 339 ล้านบัญชี คิดเป็น 85.8% ของ Internet Users ในประเทศจีน (จากข้อมูลของ iResearch) ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ 360 Safeguard หรือ security อื่นๆที่พัฒนาโดย Qihoo การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในแง่จำนวนผู้ใช้นี้บ่งชี้ถึงความสำคัญและจำเป็นของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อีกทั้งQihooได้เปรียบเพราะเป็นเจ้าแรกๆ ที่ลุยตลาดนี้ เพราะค้นพบ pain point และมองไปไกลถึง internet security มีความสำคัญยิ่งยวดต่อผลประโยชน์ของประเทศ

• เพราะการที่เห็นความสำคัญของความปลอดภัยในโลกออนไลน์อันเป็นพื้นฐานของการใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบรอบด้านอีกทั้ง ใช้งานฟรีค่ะ ไม่มีค่าใช้จ่าย ให้ผู้ใช้งานเล่นอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยหายห่วง จึงส่งผลให้มี userbase ที่ใหญ่และยึดถือใช้แบรนด์นี้มาตลอด ซึ่งหลังจากนั้นก็ monetise หรือทำรายได้ผ่านวิธีการอื่นๆ เช่น online advertising และบริการเสริม (Internet value-added services) แทน

• จนถึงเดือนสิงหาคม 2012, Qihoo 360 ที่มีชื่อเสียงในด้านการเป็น antivirus software เจ้าใหญ่ในจีนก็กระโดดเข้ามาในวงการ Search Engine จนกระทั่งจากรายงานส่วนแบ่งการตลาดของ China Internet Watch ในเดือนสิงหาคมปี 2014 พบว่า Qihoo เริ่มสั่นสะเทือนบัลลังก์ของ Baidu มีส่วนแบ่งการตลาดเมื่อนับจากยอด Unique Visitors เป็นอันดับสองในจีน อยู่ที่ 28.24%

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/ym374msz

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/h6vd97nv

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/28vtpdmn

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/mrzzjksz

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/szCPvZZ2n2Q

References Image : https://min.news/en/economy/dd9fcf3ae4e2b870d2389e6092a3731c.html

Geek China EP38 : The Arranged Marriage of Meituan and Dianping

• จากสถิติพบว่าในช่วง 3ปี ระหว่างปี 2013 ถึง 2015 Meituan มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจหลายแขนง มากกว่าสิบประเภท ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ การรับประทานอาหารนอกบ้าน การจัดเลี้ยง โรงแรม ตั๋วสถานที่ท่องเที่ยว ครอบครัว งานแต่งงาน และอีคอมเมิร์ซ และช่วงที่ธุรกิจ O2O เติบโตอย่างคาดไม่ถึง แม้แต่การให้บริการแบบ door-to-door เช่น ทำเล็บ ทำความสะอาด บริการช่างเปิดประตู ล้างและดูแลรถยนต์ ก็ถูกจัดหมวดหมู่ไว้ในนี้

• คู่แข่งก็ขยายตัวเช่นกัน Alibaba ก็วางแผนที่จะชุบชีวิต Koubei.com ด้วยเงิน 6 พันล้านหยวน และไป่ตู้ประกาศว่าจะใช้เงิน 2 หมื่นล้านหยวน ในอีก 3 ปีข้างหน้าเพื่อท้าทายตำแหน่งทางการตลาดของ Meituan

• ภายในกลางปี 2015 Meituan ก็ประกาศอีกครั้งว่า ปริมาณธุรกรรม ในครึ่งปีแรกของ 2015 อยู่ที่ 47,000 ล้านหยวน ซึ่งเกินยอดปริมาณธุรกรรมทั้งหมดของปี 2014 (ทั้งปี 2014 อยู่ที่ 45,000 ล้านหยวน)

• Meituan ต้นปี 2015 ได้ระดมทุนไป 700 mill USD Valuation บริษัทตอนนั้นอยู่ที่ 7,000 ล้าน USD ส่วน Dianping เองก็ระดมทุนไป 850 ล้าน USD มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 4,050 ล้าน USD ซึ่งตอนนั้น Dianping มี MAU อยู่ที่ 190 ล้านบัญชี Meituan ก็มีประมาณ 200 ล้านบัญชี สองบริษัทก็ยังคงเป็นผู้เล่นหลักในตลาดนี้ แต่สำคัญคือ จำนวนเงินทุนที่ถูกเผาไปมากเหลือเกิน อีกทั้งมีผลประโยชน์ทับซ้อนของนักลงทุนหลักอีกด้วย

• สุดท้ายข่าวที่ทุกคนรอคอยคือการ Merge กันระหว่าง Meituan กับ Dianping เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2015 Meituan-Dianping ประกาศการควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการ กลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับบริการด้านไลฟ์สไตล์ที่ใหญ่ที่สุดในจีน

• หลังจากการควบรวมกิจการ โครงสร้างบุคลากรของทั้งสองฝ่ายจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และแบรนด์และธุรกิจของทั้งสองฝ่ายจะได้รับการดำเนินการอย่างอิสระ ช่วงแรกของการตั้งบริษัทใหม่จะใช้ระบบเป็น CO-CEO การตัดสินใจที่สำคัญจะทำในระดับ CO-CEO แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอดในการคงระบบ CO-CEO เพราะเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ แล้วยิ่งเป็นคู่แข่งกันมาก่อน

• ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรต่อ รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 38

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/fhjcx47t

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/4fanpuyp

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/2atzuhw5

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/5dyrrdpa

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/ZVW8UAWSfvk

References Image : https://www.chinatravelnews.com/article/96729

Geek China EP37 : Meituan’s Expansion Strategy

• Wang Xing เชื่อว่าในปีแรกของอีคอมเมิร์ซแบบดั้งเดิม (Traditional eCommerce) คือปี 1998 แต่สำหรับปี 2010 ถือเป็นปีแรกของการให้บริการอีคอมเมิร์ซของจีน (Service eCommerce) และปี 2012 จะเป็นจุดผกผันใหม่ของ Services ECommerce สำหรับ Meituan

• 95% ของธุรกิจแพลตฟอร์มคือบริการ และเป้าหมาย Meituan คือการเป็นองค์กรอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมบริการ

• ดังนั้น Wang Xing จึงวางกลยุทธ์รูปตัว T ( T-shaped strategy) สำหรับแผนงานในอนาคตโดยมี Group-buying อุตสาหกรรมในแนวนอน (horizontal) และแนวดิ่ง (vertical) เช่น ภาพยนตร์และโรงแรม เป็นต้น

• Maoyan Film (猫眼电影) จึงบังเกิดในปี 2012 และถือเป็นก้าวแรกของกลยุทธ์ T-shape

• ในปี 2013 ก็ได้เปิดตัว 美团酒店 (Meituan Hotel) อย่างเป็นทางการ เพราะในขณะเดียวกัน ธุรกิจ Group-buying ของโรงแรมระดับล่างและระดับกลางก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่ Meituan พบว่าตลาดส่วนนี้เป็นตลาดที่ถูกละเลยโดยแพลตฟอร์ม OTA หลัก (Ctrip/Qunar)

• Wang Xing รู้สึกว่าในปี 2013 Group buying (团购) จะไม่ได้รับความสนใจมากนัก ไม่ใช่เพราะมันไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะมันเป็นเรื่องธรรมดามาก และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคตามปกติมากขึ้นเรื่อยๆ

• นอกจากนี้ การเข้าใจ local needs ของ user ถึงความสะดวกสบายของการมี application แบบครบวงจร (综合应用) มากกว่าการมี application แยก (独立应用) เป็นจุดสำคัญมากในการกำเนิดเป็น SuperAppในประเทศจีน

• ในเวลานั้นนายทุนใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง Meituan ส่วนใหญ่เป็น Alibaba, Tencent, Sequoia, Boyu Capital เป็นต้น และนักลงทุนของ Dianping ได้แก่ Alibaba, Tencent, Sequoia, TRUST และ Capital Today

• เมื่อมองในระดับผู้ถือหุ้นด้วยกันนั้น ทั้งสองบริษัทมีนักลงทุนผู้ถือหุ้นทับซ้อนกัน และประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันของการเผาเงินอย่างมหาศาลของ Meituan

• ดังนั้นเหตุการณ์ต่อมาจึงเกิดขึ้น นั่นคือ การคลุมถุงชน (ควบรวมกิจการ) ระหว่าง Meituan – Dianping จนกลายมาเป็น Meituan Dianping ในปี 2015

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/40GZM4r

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
http://bit.ly/3XiTjK6

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/3RO58Xp

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
http://bit.ly/3Ie2ffi

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/zb33GoOyrcA

References Image : https://www.caixinglobal.com/2021-06-04/meituan-chief-wang-xing-joins-chinas-growing-ranks-of-philanthropists-101723078.html

Geek China EP36 : Group-buying War of Meituan (1)

• ประวัติการพัฒนาของ Meituan (HKG: 3690) ของนาย Wang Xing (王兴)ในช่วงก่อตั้งคือการลอกเลียนแบบธุรกิจมาจาก Groupon ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ รูปแบบการทำกำไร การวางดีไซน์ ไปจนถึงฟังก์ชั่นภายในเว็บไซต์

• จนกระทั่ง 4 มีนาคม 2010 Groupon เวอร์ชั่นแดนมังกรได้กำเนิดขึ้น นี่คือการ Copy-to-China อีกครั้ง หลังจากเคยทำการ Copy-paste ไปกับธุรกิจ Duoduoyou (多多友) Youzitu (游子图) Xiaonei (小内) และ Fanfou (饭否) และล้วนล้มเหลวทั้งสิ้น

• ผลิตภัณฑ์แรกของ Meituan ที่เปิดให้บริการในวันที่ 4 มีนาคม 2010 คือ Fanya Wine Testing Package เพคเกจนี้ดึงดูดลูกค้าได้ถึง 79 คน ปิดยอดขายไปได้ถึง 4,000 หยวน เพราะเพียงแค่คนละ 50 หยวนก็สามารถมาลิ้มลองรสชาติไวน์สุดหรูได้แล้ว

• ช่วงปีของการก่อตั้ง Meituan มีบริษัทคู่แข่งในตลาด Group-buying (团购) ในจีนกว่า 5,000 รายในตลาดจีน เพราะการลอกเลียนแบบ business model ของ Group-buying website ไม่ได้ยากเลย แต่สิ่งที่ต้องมีคือ การดำเนินธุรกิจที่แข็งแรง (Execution) ต่างหาก

• ในห้วงเวลานี้คู่แข่งของ Meituan มีกลยุทธ์โต้ตอบอย่างมากมาย หนึ่งในนั้นคือการขู่คู่แข่งให้กลัว ในข้อมูลสาธารณะแสดงให้เห็นว่า ในเดือนเมษายน 2011 นี้เอง Dianping (ครั้งยังเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Meituan) ได้ระดมทุนสำเร็จไปถึง $100 ล้าน ส่วน Lashou.com ก็ยังได้รับเงินรวมไปทั้งสิ้น $160 millionในการ raise fund ถึงสามครั้ง แต่ Wang Xing ก็ไม่ได้เล่นไปตามเกม ไม่ได้ลงแข่งในสงครามโฆษณาออฟไลน์ แต่มุ่งไปโฟกัสการทำการตลาดออนไลน์แทน แต่บริหารงานค่อนไปทาง conservative ดูแลกระแสเงินสดและควบคุมความเสี่ยงอย่างดี

• สุดท้าย Meituan จะเอาชนะคู่แข่งกว่า 5000 รายในตอนนั้นได้หรือไม่ อย่างไร

• รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 36

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3UOoJIe

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3SK1cWZ

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3SFWute

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3BVQUMU

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/4l3SIWVG0sA

Geek China EP35 : Meituan Founder – from the Failing Cloner to the Tech Billionaire

Meituan (HKG: 3690) ก่อตั้งโดยนาย Wang Xing ถือเป็น Fu’er dai (富二代) The 2nd Generation Rich) ที่เกิดมาครอบครัวนักธุรกิจที่ร่ำรวย เกิดมารวยสบาย แต่ก็ไม่หยุดที่จะดิ้นรนเพื่อความสำเร็จของตัวเอง แต่แน่นอนคงไม่ใช่เพราะอยากทำเพื่อความร่ำรวยเพียงอย่างเดียว เพราะพื้นเพของเขาก็มีฐานะอยู่แล้ว

• แต่การดิ้นรนของเค้า ทำให้หลายคนเรียกนาย Wang Xing ว่าเป็นนักลอกเลียนแบบ (The Cloner เพราะ startups หลายที่ที่เค้าก่อตั้งในจีนคือการ copy – paste จากผู้บุกเบิกหลายเจ้าในอเมริกาทั้งสิ้น

• แต่การเลียนแบบรุ่นพี่ก็ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพราะสุดท้ายจุดที่ทำให้ชนะและยืนหนึ่งคือเรื่อง business model เสียมากกว่าเพราะหากจำกันได้ Alibaba group สร้าง Taobao มาหลังจาก eBay แต่ก็ปราบ eBay ในจีนได้ราบคาบ Tencent ก็ลอกไอเดียจาก ICQ แต่สุดท้ายก็ปรับเปลี่ยนมาเป็น QQ และทำได้ดีกว่าและยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน

• Wang Xing ใช้เวลากว่า 13 ปี นับตั้งแต่เริ่ม drop out ล้มเหลวหลายครั้งต่อหลายครั้ง การโดนครหาว่าเป็น copycat เป็นเรื่องไส้ติ่งสำหรับตัวเขาเพราะเขาใช้เวลายาวนาน ผ่านร้อนผ่านหนาว กว่าจะมายืนอยู่บนจุดสูงสุดของอาชีพ และกลายเป็นเจ้าของ Meituan – บริษัทให้บริการในพื้นที่ on demand services ที่ใหญ่ที่สุดในจีน

• รายละเอียดทั้งหมดติดตามได้ใน EP 35

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3bsBDK9

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3d62Xyp

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3OUUtaA

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3vCEcQx

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/D4wR-FvsIOA