Failed Startup Stories : Napster The digital music revolution

ต้องบอกว่าเป็น startup รุ่นปู่เลยทีเกียวสำหรับ Napster ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า ipod เป็นจุดเริ่มต้นของ digital music แต่ถ้าถามถึงต้นตอจริง ๆ ของการปฏวัติอุตสาหกรรมดนตรี จาก analog ไปสู่ digital นั้น ต้องบอกว่า Napster ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งที่สำคัญต่อการปฏิวัติวงการดนตรีเลยก็ว่าได้

ประวัติ Napster

Napster นั้นถูกสร้างโดย Shawn Fanning , John Fanning  และ Sean Parker  ผู้โด่งดัง โดยใช้รูปแบบการ share แบบ peer-to-peer file sharing ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากและคนค่อนข้างตื่นตะลึงกับการเกิดขึ้นของระบบ peer-to-peer อย่างสูง 

โดย Napster นั้นเปิดให้บริการในช่วงปี 1999 ถึง ปี 2001  โดยรูปแบบการบริการคือให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถ share เพลงในรูปแบบ mp3 ของตัวเองกับคนอื่นได้ผ่าน internet ซึ่งถ้ามองในยุคนี้ต้องบอกว่าเป็นเรื่องปรกติไปเสียแล้ว แต่ในยุคปี 1999 นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มาก

ย้อนกลับไปในยุคนั้น IRC ถือว่าดังมาก ๆ
ย้อนกลับไปในยุคนั้น IRC ถือว่าดังมาก ๆ

ถึงแม้ว่าในยุคนั้นจะเริ่มรูปแบบการ share file ผ่าน internet เช่น IRC , Hotline หรือ Usenet แล้วนั้น แต่ความพิเศษของ Napster คือ พวกเค้า focus ที่ไฟล์ mp3 และทำให้ user interface ใช้งานง่ายมาก ๆ คนทั่วไปสามารถค้นหา หรือ download file มาใช้งานได้อย่างง่ายดาย ทำให้ Napster ดังเป็นพลุแตกในยุคนั้น  โดยในช่วงที่ขึ้นสู่จุดสูงสุดนั้น มีผู้ใช้งานที่เป็น registered user ถึง 80 ล้านคน ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น

ความดังของ Napster ถึงกับทำให้เหล่าบรรดา network ในมหาลัยต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา นั้นกว่า 60% ของ traffic มาจากการ share file mp3 ทำให้หลาย ๆ มหาลัยทำการ block service ของ Napster เพราะกังวลเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่จะเกิดขึ้น  ซึ่งทำให้กล่าวได้ว่าศิลปินในขณะนั้นได้เริ่มเลิกการออกอัลบั้มเต็ม เปลี่ยนมาเป็นออก single แทนเลยทีเดียว

Macintosh Version

เริ่มต้นนั้น Napster สร้างโดยใช้งานได้เพียงระบบปฏิบัติการ windows เป็นหลัก อย่างไรก็ดีในปี 2000 ได้มีการสร้างบริการเลียนแบบ ชื่อ Macster บนระบบปฏิบัติการ Macintosh ด้วยความดังทำให้ Napster ตัดสินใจเข้า takeover  Macster และรวมเป็นบริการ “Napster for Mac”  และในภายหลังได้มีการปล่อย source ของ Macster เพื่อให้บริการที่เป็น 3rd-party นั้นสามารถเรียกใช้ได้จากทุกระบบปฏิบัติการ โดยใช้รูปแบบของการโฆษณาเพื่อหารายได้แทน

ความท้าทายทางด้านกฏหมาย

อย่างที่รู้กันว่าบริการลักษณะนี้เริ่มเกิดขึ้นมากมายในช่วงนั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการ share file ที่ผิดกฏหมายทั้งสิ้น  ซึ่งในตอนนั้นวง Metallica ได้ออก demo single ในเพลง “I Disappear”  แต่ก็ถูกทำการนำไปปล่อย share อย่างผิดกฏหมาย ก่อนที่จะทำการออก Release อย่างเป็นทางการ

ทำให้หลาย ๆ คลื่นวิทยุ สามารถนำเพลงมาออกอากาศก่อนที่วงจะปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการ ทำให้ในปี 2000 ทางวงเริ่มมีการตั้งทนายเพื่อทำการฟ้องร้อง Napster และหลังจากนั้นไม่นาน rapper ชื่อดังอย่าง Dr.Dre ก็เข้าร่วมในการฟ้องร้องครั้งนี้ด้วย หลังจาก Napster ปฏิเสธที่จะนำงานเพลงของพวกเขาออกจากบริการ Napster

วงชื่อดังอย่าง Metallica ใช้การฟ้องศาลเพื่อหยุดการเผยแพร่
วงชื่อดังอย่าง Metallica ใช้การฟ้องศาลเพื่อหยุดการเผยแพร่

ซึ่งหลายๆ  ศิลปินก็โดนผลกระทบในรูปแบบเดียวกัน single “Music” ของ Madonna ก็ถูกปล่อยออกมาผ่านทาง Napster ก่อนวันที่จะ Release อย่างเป็นทางการ ซึ่งส่งผลเสียหายต่อรายได้ ของศิลปินในขณะนั้นอยู่มาก

การต่อสู้บนชั้นศาลก็เริ่มขึ้น โดยในปี 2000 ค่ายเพลงต่าง  ๆ ได้รวมตัวกันเพื่อทำการฟ้องร้อง Napster ในข้อหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่ง Napster ก็ได้ต่อสู้ แม้จะแพ้ในศาลชั้นตั้น ก็ทำการอุทรณ์เพื่อสู้ต่อไปให้ถึงที่สุด

พลังแห่งการโปรโมต

รูปแบบ peer to peer ทำให้ traffic โตขึ้นอย่างรวดเร็ว
รูปแบบ peer to peer ทำให้ traffic โตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ถึงแม้ว่าพลังของ Napster ที่ให้บริการ free นั้นจะได้ทำลายอุตสาหกรรมดนตรี รวมถึงทำให้ยอดขาย album นั้นตกลงไปเป็นอย่างมาก แต่ก็เกิดปรากฏการณ์บางอย่างในทางตรงกันข้ามขึ้นกับวง Rock Radiohead’s จากอังกฤษ  ในปี 2000 พวกเขาได้ออกอัลบั้ม Kid A ซึ่งก็เหมือนเคย อัลบั้มถูกปล่อยออกไปทาง Napster ก่อนที่จะ Release อย่างเป็นทางการถึง 3 เดือน 

แต่ผลของ Radiohead’s นั้นแตกต่างจาก Madonna  , Dr. Dre หรือ Metallica วง Radiohead นั้นไม่เคยแม้จะติด top 20 ของ chart ในสหรัฐอเมริกา พวกเค้าถูกเผยแพร่ผ่าน Napster รวมถึงคลื่นวิทยุเล็ก ๆ อย่าง radio airplay

Radiohead ใช้ Napster เป็นสื่อโปรโมตให้เค้าดังอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน
Radiohead ใช้ Napster เป็นสื่อโปรโมตให้เค้าดังอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

ในช่วงที่ออก Release อัลบั้มอย่างเป็นทางการนั้น เพลงของพวกเค้า ได้ถูก download ผ่านบริการ share ไฟล์ ไปกว่า 1 ล้านครั้ง ทั่วโลก  ทำให้ในเดือนตุลาคม ปี 2000 นั้น อัลบั้ม Kid A ของพวกเค้าเข้าไปติดใน Billboard200 sales chart ได้เป็นครั้งแรก

ซึ่งมาจาก effect ของการโปรโมตผ่านบริการอย่าง Napster ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายจากวงที่ตอนนั้นไม่ดังมาก และไม่ถูกคาดหวัง แต่สามารถประสบความสำเร็จได้ ผ่านการ promote จากบริการของ Napster นั่นเอง

ซึ่งตั้งแต่ปี 2000 ศิลปินหลาย ๆ คนก็เริ่มที่จะไม่เซ็นสัญญากับค่ายเพลงใหญ่ ๆ และไม่จำเป็นต้องทำการ promote ผ่าน mass media อย่างรายการทีวีหรือวิทยุชื่อดัง แต่หันมาใช้ Napster ในการ promote แทน ด้วยกระแสปากต่อปาก

ทำให้สุดท้ายแล้วนั้นสามารถเพิ่มยอดขายอัลบั้มในระยะยาวได้ ซึ่งหนึ่งในศิลปินที่ช่วยปกป้อง Napster ในยุคนั้นคือ Dj xealot รวมถึง Chuck D และ Public Enemy ก็ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเค้า support Napster

สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ

แต่ด้วยปัญหากับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2001 ต้องให้หยุดให้บริการของพวกเค้าชั่วคราว และต้องจ่ายค่าปรับจากการฟ้องร้องของค่ายเพลงกว่า 26 ล้านเหรียญรวมถึงต้องจ่ายค่า licensing ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกกว่า 10 ล้านเหรียญหากดื้อด้านที่จะเปิดให้บริการต่อไป ทางทีมงานจึงพยายามปรับตัวเองจากบริการใช้ฟรี เป็นแบบ subscription model เพื่อหารายได้ เพื่อมาจ่ายค่า license เหล่านี้

อย่างไรก็ดีหลังจากนั้น traffic ของ Napster ก็ตกลงอย่างมหาศาล ซึ่ง Prototype ของบริการแบบใหม่ subscription model นั้นได้ถูกนำมาทดสอบเริ่มใช้ในปี 2002 ในชื่อ “Napster 3.0 Alpha” ซึ่งจะเปลี่ยน file ไปเป็น .nap  ซึ่งเป็นการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

แต่เมื่อจะเปิดใช้บริการจริง ก็ต้องพบกับปัญหาในเรื่องค่า license สำหรับศิลปินชื่อดังต่าง ๆ ทำให้ในเดือน พฤษภาคมปี 2002 นั้น Napster ได้ประกาศขายกิจการให้กับ Bertelsmann บริษัททางด้าน media จากประเทศเยอรมัน ในมูลค่ากว่า 85 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีเป้าหมายในการปรับรูปแบบของ Napster ให้เป้น online music subscription service

แต่อย่างไรก็ดี สุดท้ายการซื้อขายก็ไม่ได้เกิดขึ้น เมื่อ Napster ถูกศาลล้มละลายกลางสหรัฐ blocked ไม่ให้ขายให้กับ Bertelsmann และทำการบังคับเพื่อยึดทรัพย์สินทั้งหมดของ Napster และเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเป็นอันสิ้นสุดยุคของ Napster อย่างเป็นทางการ

สรุป

สำหรับ Napster นั้นได้ทำการแจ้งเกิดได้ถูกที่ ถูกเวลา ในช่วงที่ internet กำลังพัฒนาเรื่อง speed จนสามารถเกิดบริการในรูปแบบ file sharing ขึ้นมาได้ idea ของ Napster นั้นต้องบอกว่าเจ๋งมากในขณะนั้น

ผู้ใช้งานต่างยกย่องบริการอย่าง Napster เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องการฟังดนตรี ที่สามารถเข้าถึง single หรือ album ดัง ๆ ได้อย่างง่ายดายขึ้น ผู้คนไม่ต้องไปซื้อ CD ตามร้านอีกต่อไป แต่ ปัญหาหลักใหญ่ของ ระบบแบบนี้คือ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

ซึ่งกลุ่มที่เสียหายคือ ค่ายเพลงรายใหญ่จำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นคู่ต่อสู้ที่ไม่น่าไปสู้ด้วยแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าบริการนี้จะถูกใจผู้ใช้งานเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วมันก็เป็นสิ่งกฏหมาย

ซึ่งการที่เราสร้าง startup ที่เสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องในภายหลังนั้น ก็ไม่น่าจะควรทำมาตั้งแต่แรกดังตัวอย่างของ Napster ที่ถึงกับล้มละลาย เพราะไม่มีเงินไปเสียค่าปรับต่างๆ  จากการฟ้องร้องแม้จะพยายามที่จะปรับตัว แต่ user นั้นชินกับการบริการแบบฟรีไปแล้วหากมาเปลี่ยนรูปแบบก็ทำให้ user หนีไปยังบริการชนิดอื่นได้อย่างง่ายดายเช่นกันซึ่งสุดท้ายธุรกิจก็ไปไม่รอดอยู่ดี

Reference : en.wikipedia.org,godisageek.com

Failed Startup Stories : Beepi Secondary Online Marketplace for cars

Beepi เป็นบริษัที่ให้บริการสำหรับซื้อขายรถมือสองผ่านระบบ online โดยมีที่ตั้งอยู่ใน Mountain View , California ซึ่งสามารถทำ Transaction ในการซื้อขายได้ผ่านทาง smart phone หรือ desktop pc โดยเริ่มให้บริการในเดือนเมษายน ในปี 2014

โดยรูปแบบบริการของ Beepi ผ่าน model การหารายได้แบบง่าย ๆ โดยคิดค่า commission สูงสุดที่ 9%  และหากรถขายไม่ได้ภายใน 30 วันนั้น ทาง Beepi จะเป็นคนซื้อไว้เอง โดยที่ผู้ซื้อนั้นไม่ต้องทำการทดสอบรถใด ๆ ก่อนซื้อ ซึ่ง Beepi ให้เวลา 10 วันในการรับประกันสามารถคืนได้ โดย Beepi เปิดทางเลือกให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้ผ่านบริการใหม่ ๆ เช่น bitcoin รวมถึง credit card โดยในปี 2016 นั้นบริษัทก็ได้ประกาศให้บริการด้านสินเชื่อรถยนต์ของตัวเองเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถซื้อได้ง่ายที่สุดผ่านระบบ Beepi

ประวัติของ Beepi

Beepi นั้นก่อตั้งโดย Ale Resnik โดยรับตำแหน่ง CEO และ Owen Savir ที่รับตำแหน่ง COO ของบริษัท โดยก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายนในปี 2014  ในตอนแรกนั้นจะให้บริการเฉพาะพื้นที่ในบริเวณ Sanfrancisco เท่านั้น ซึ่งแรงบรรดาลใจในการสร้าง Beepi นั้นเกิดมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของ Resnik ที่ได้รับประสบการณ์ที่แย่มากในการซื้อรถมือสองในขณะเรียนที่ MIT

Beepi นั้นสามารถระดมทุนในรอบ Series A ในเดือนเมษายนปี 2014 ได้ถึง ห้าล้านเหรียญสหรัฐ โดย Jeff Brody จาก Redpoint Ventures รวมถึง angle investors ของอุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยี และการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทได้รับเงินลงทุนใน Series B ถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนตุลาคม ปี 2014 ทำให้มูลค่าของบริษัทพุ่งขึ้นไปสูงถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐภายในเวลาเพียง 6 เดือนหลังจากเริ่มปล่อย product version แรกออกสู่ตลาด ซึ่งในตอนนั้นคาดการณ์ว่าจะมีรายได้ถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้เริ่มทำการขยายบริการไปยังเมือง Los Angeles รวมถึง San Diego

ในเดือนเมษายน ปี 2015 หลังจากบริษัทดำเนินการมาได้ 1 ปีก็ได้ไปเปิด office ที่เมือง Phoenix เป็นเมืองแรกนอกรัฐ California ที่มี office เป็นของตัวเอง ซึ่งในขณะนั้นผู้คนกว่า 200 เมืองสามารถใช้งาน Beepi ได้แล้ว แต่บริการ free delivery นั้นจะให้บริการเฉพาะใน California และ Arizona เท่านั้น

ในเดือน พฤษภาคมปี 2015 นั้น Resnik ได้บอกกับ the wall street journal ว่าเขาคาดหวังจะได้รับการลงทุนมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้มูลค่าของบริษัทพุ่งสูงไปถึง สองพันล้านเหรียญ หลังจากการดำเนินงานบริษัทมาได้แค่ปีเศษ  และ ในเดือน ตุลาคม ปี 201ุ6 นั้น Beepi ได้รับเงินลงทุนอีกรอบจาก SAIC Motor บริษัทยักษใหญ่ทางด้าน automobile market ของประเทศจีน

แต่บริษัทก็เริ่มมีผลงานต่ำลงโดยในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2016 นั้น ยอดขายของ Beepi เหลือเพียง 153 คันต่อเดือน สำหรับเมืองหลักที่เป็นจุดเริ่มต้นอย่าง California ในขณะที่คู่แข่งที่ให้บริการลักษณะเดียวกันนั้นขายได้กว่า 8,500 คันต่อเดือน

หลังจากนั้น Beepi ก็ต้องเร่งปรับเกมสู้ในตลาดรถมือสอง โดยการปิดจุดอ่อนของตัวเองคือไม่มีบริการด้านสินเชื่อเป็นของตัวเอง  โดยการจับมือกับ Ally Financial เพื่อให้บริการด้านสินเชื่อแก่ลูกค้าของ Beepi

สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ

หลังจากมีปัญหาเรื่องเงินลงทุนจากจีนในเดือนธันวาคมปี 2016 Beepi ก็เริ่มเข้าสู่ความยากลำบาก จากบริการของตัวเอง ที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้ เนื่องจากปัญหาหลาย ๆ อย่าง ทั้งเกิดจากความไม่เต็มใจของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่จะมาทำการขายผ่าน E-commerce โดยที่ไม่ได้เห็นหน้ากัน รวมถึงภาระในการที่ต้องเก็บรถไว้เองหากขายไม่ได้ภายใน 30 วันนั้น ก็เป็นปัจจัยหลัก เพราะรถเป็นสินทรัพย์ที่มีแต่มูลค่าจะลดลงไม่เหมือนบ้านหรือที่ดิน การเก็บ stock ไว้เองนั้น แม้จะเรียกลูกค้าได้ในตอนแรกเพราะสามารถการันตีว่าถ้าขายไม่ได้ Beepi จะซื้อไว้เอง แต่ไม่สามารถยืนได้ในระยะยาว เนื่องมาจากปัจจัยเรื่องมูลค่าของรถที่มีแต่จะลดลงนั่นเอง การคิด idea แบบ Beepi นั้นไม่ได้คิดถึงผลที่จะตามมาภายหลังอย่างรอบคอบ คิดแค่จะสร้างฐานลูกค้าเพื่อไปรับเงินลงทุนเพิ่มเติม แต่มันไม่สามารถที่จะทำให้กลายเป็นธุรกิจจริง ๆ ได้ เมื่อพ้นช่วงของการระดมทุน ก็เกิดปัญหา เพราะภาระค่าใช้จ่ายที่สูง สุดท้ายก็ได้เริ่มปิดกิจการนอกเขต California และเริ่มหาทางขายกิจการให้กับคู่แข่งอย่าง Shift และทำการปลดพนักงานกว่า 180 คน และเริ่มต้นกระบวนการในการควบรวมกับ Fair.com  แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 การควบรวมกับ Fair.com ก็ต้องล้มลง  และบริษัทก็ต้องเริ่มขายสินทรัพย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการปิดกิจการอย่างถาวร

สรุป

ปัญหาของ Beepi เราสามารถวิเคราะห์ได้มาจากปัจจัยหลัก ๆ คือ idea ที่มันคิดได้ง่ายมาก ในการเก็บรถไว้เองหากขายไม่ได้ใน 30 วัน ซึ่งมันเป็นแรงจูงใจง่าย ๆ ให้คนเข้ามาใช้บริการ เพราะคนก็อยากการันตีว่าขายรถได้อย่างแน่นอน ซึ่ง idea นี้นั้นสุดท้ายก็มาทำร้ายบริษัทเอง เพราะต้องแบกรับต้นทุนในการจัดการทั้ง stock รวมถึงมูลค่าของรถ ที่มีแต่จะลดลง ในตอนแรกอาจจะหานักลงทุนมาลงเงินได้ง่าย เพราะ กิจการ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแง่ของ ยอดผู้ใช้งาน หรือ ยอดการซื้อขายในระบบ แต่สุดท้ายเมื่อไม่สามารถหาเงินมาต่อยอดได้อีกก็ต้องพบสัจธรรมที่แท้จริงว่า idea ลักษณะนี้ไม่สามารถมาทำให้เป็นกิจการที่สร้างรายได้ รวมถึงกำไรให้กับบริษัทแบบถาวรได้ จึงใช้เวลาเพียงแค่ไม่ถึง 3 ปีก็ต้องปิจกิจการลงไปในที่สุด

References :  en.wikipedia.orgblog.caranddriver.com

Failed Startup Stories : Yik Yak Connect with the people around you

ต้องบอกว่ามาด้วย concept ง่าย ๆ เลยสำหรับ social network น้องใหม่ในขณะนั้นอย่าง Yik Yak โดยใช้ concept ง่าย ๆ คือ “a location-based social network that helps you connect with the people around you” ซึ่งในกระแสที่ social network เจ้าใหญ่ได้ยึดครองตลาดไปแทบจะหมดแล้ว ก็ได้เกิดบริการที่ simple คือ ช่วยคุณติดต่อคนรอบกายคุณ ซึ่งเหมือนจะ idea ที่ดีนะ เพราะ facebook ก็เน้นไปในแนว social ขนาดใหญ่ ทั้งครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นสังคมใหญ่รอบตัวเรามากกว่า แต่ Yik Yak focus ที่ community ขนาดเล็ก ๆ แต่อยู่ใกล้ตัวเราจริง  ๆ ผ่าน location based

ประวัติ Yik Yak

Yik Yak นั้นเริ่มต้นด้วย co-founders สองคนคือ Tyler Droll และ Brooks Buffington ทั้งสองนั้นจบการศึกษาจาก Furman University ใน South Carolina ทั้งคู่เริ่มรู้จักกันตอนเรียน class ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมบนระบบ IOS

หลังจากได้จบการศึกษา ทั้งคู่ได้ตัดสินใจที่จะเริ่ม project Yik Yak แบบ full time โดยที่ Droll นั้นได้ลาออกจาก medical school ก่อนที่โปรเจคนี้จะเริ่มต้นขึ้น ส่วน Buffington นั้นก็หยุดเส้นทางอาชีพด้านการเงินของเค้าไว้ก่อนเพื่อมา focus project นี้ และได้เพื่อนร่วมทีมเพิ่มอีก 1 คนคือ Will Jamieson  โดยพวกเค้าได้ทำ app เสร็จและทำการ Release ใน เดือนพฤษจิกายน ปี 2013

หลังจากนั้นเพียง 12 เดือน Yik Yak ก็ขึ้นสู่อันดับ 9 ของหมวด social media app ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลตอบรับในช่วงแรกนั้นเป็นไปอย่างน่าพอใจ และได้ทำการพัฒนา features มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีกระแสของการทำให้เกิด “cyberbullying” ขึ้นใน apps ก็ได้พัฒนาปรับปรุง features เพื่อลดทอนคำวิจารณ์ของ app เหล่านี้

Funding

Yik Yak นั้นได้รับการลงทุนครั้งแรกโดย Atlanta Ventures ซึ่งมี office อยู่ใน Atlanta Tech Village ในเดือนเมษายนปี 2014 นั้นทางบริษัทได้ประกาศว่าได้รับทุนมูลค่ากว่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐจาก หลายบริษัทด้านการลงทุน เช่น Vaizra Investments , DCM , Kevin Colleran และ Azure Capital Partners ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 เดือนหลังการ Release ของ Yik Yak  ซึ่งในขณะนั้นมีความตั้งใจที่จะขายตลาดไปทั่วทั้งสหรัฐ และ ทั่วโลก เนื่องจาก apps เริ่มมีกระแสปากต่อปาก ทำให้ยอดดาวน์โหลดสูงมาก

ซึ่งหลังจากนั้นเพียง 2 เดือนหลังจากได้รับเงินทุนรอบก่อน Yik Yak ก็ได้รับเงินทุนเพิ่มเพื่อไปขยายธุรกิจ รวมถึงพัฒนา features จำนวนกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จากนักลงทุนกลุ่มเดิม และเพิ่มด้วยนักลงทุนกลุ่มใหม่คือ Renren Lianhe Holdings และ Tim Draper ที่เริ่มมั่นใจว่าจะสามารถแจ้งเกิดกับบริการ social media น้องใหม่นี้ได้อย่างแน่นอน

ด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในปี 2014 ก็ได้รับความสนใจจาก บริษัทด้านการลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Sequoia Capital ที่ให้เงินลงทุนจำนวนถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มูลค่ารวมของ Yik Yak พุ่งสูงขึ้นถึง 350 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากเพิ่ง launch product มาได้แค่ปีเดียวเท่านั้น

Features เด่น ๆ ของ Yik Yak

  • Yakarma : Yakarma นั้นเป็น score เพื่อใช้วัด ความสำเร็จของ user โดยรูปแบบของ score โดยจะมีการขึ้นลงขึ้นอยู่กับการตอบรับจาก users คนอื่น ๆ ซึ่งการเปลี่ยนค่าของ Yakarma นั้นขึ้นกับ จำนวน upvotes , downvotes จำนวนของ replies รวมถึง comments ที่เกิดขึ้นจาก post ของ user
  • Upvote/Downvote :  Upvote และ Downvote นั้นจะมีผลกระทบต่อ rating ของ user ที่มีการให้ Yak ซึ่ง post ของ user จะได้ความนิยมก็ต่อเมื่อได้รับ upvote มากกว่า downvote ซึ่งจะมี score ขึ้นด้านข้างของ vote และหาก score มีค่าถึง -5 คือ downvote มากกว่า upvote เยอะเกิน 5 post นั้นๆ  ก็จะถูกลบอย่างถาวร
  • Peek :  function “peek” นั้นจะอนุญาติให้ user สามารถมองเห็น commutiny feed ของ Yik Yak อื่นได้  โดยในค่าตั้งต้นนั้น user สามารถ peek ได้เพียงใน สหรัฐ และ International Colleges เท่านั้น  แต่หลังจากได้มีการ update version ในเดือนตุลาคม ปี 2014 user ก็สามารถที่จะ peek ไปยังทุก colleges  หรือ ทุก ๆ เมืองในโลกได้ เป็นการปลดล็อกในที่สุด  แต่จะไม่สามารถ vote หรือ post ใน community นั้นๆ  ได้ user จะสามารถ post ใน local community ได้เท่านั้น
  • Photos : สำหรับ Features นี้นั้น จะให้ user ได้ใส่รูปภาพลงใน Yaks Community ของตนเองได้ ซึ่งได้จำกัดรูปโดยรูปต้องไม่ผิดกฏหมาย หรือ มีเนื้อหาของรูปที่ไม่เหมาะสม และ รูปที่แสดงใบหน้านั้นจะแสดงใน local feed เท่านั้น  และมีในส่วนของ  photo collections ซึ่งจะโชว์ รูปยอดนิยม ที่อัพโหลดจากผู้ใช้ใน location นั้น ๆ 
  • Hidden Features : Yik Yak จะมี features ของการกรองคำที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และจะมีการเตือนไปยัง user ก่อน แต่หาก user ยังยืนยันที่จะทำการ post ข้อความที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้น ก็จะถูกลบออกโดย moderators ของระบบ  และ post ที่มีเบอร์ มือถือ นั้นจะไม่สามารถ post ได้

สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ

ปัญหาใหญ่ที่สุดของหลาย social network คือ ปัญหา “cyberbullying” ซึ่ง Yik Yak เป็น social media ที่ based on location ทำให้ปัญหานี้ยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก หลาย  ๆ โรงเรียนทำการ แบน app Yik Yak

ในเดือนพฤษภาคม ปี 2015 Father Michael Engh ประธานของ Santa Clara University ได้ทำการออกแถลงการณ์ หลังจากพบปัญหาการเหยียดผิวมากมายบน app Yik Yak ซึ่งเขาได้กล่าวในแถลงการณ์ไว้ว่า “คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง หรือ Hate Speech นั้น ไม่ควรที่จะสับสนกับ Free Speech ใน santa clara university เพราะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีในชุมชมของชาว santa clara ซึ่งความเห็นที่เป็นอันตรายต่อบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลใดนั้น จะก่อให้เกิดความแตกแยก ความหวาดระแวง และความสงสัยกัน”  ซึ่งข้อสรุปนี้เป็นการโต้เถียงเรื่องปัญหา “cyberbullying” รวมถึงปัญหาการเหยียดผิวภายใน app social media ดังกล่าว

และในเดือนตุลาคุม ปี 204 สำนักพิมพ์ online ชื่อดังอย่าง The Huffington Post นั้นได้ทำการเสนอบทความโดย Ryan Chapin ว่าด้วยเรื่องของ “ทำไมมหาลัยของคุณถึงต้องทำการ Ban app Yik Yak”  ซึ่งในบทความได้อ้างการส่งข้อความที่ไม่ระบุตัวตนของ Yik Yak นั้น เป็นแหล่งที่มาของบทสนทนา ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจเป็นอันตรายต่อชุมชม และเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจถึงที่สุด

ซึ่งทาง Yik Yak ก็ไม่ได้เฉยเมยต่อปัญหาดังกล่าว ที่เริ่มเกิดขึ้นทั่วประเทศ โดย Droll และ Buffington ได้พัฒนาส่วนของ Geofence โดยทำงานใน backgroud เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท Maponics ในการกำหนดขอบเขตในการเล่น ซึ่ง บริษัท Maponics นั้นมีฐานข้อมูลของแผนที่กว่า 85% ของโรงเรียนมัธยมของประเทศ ซึ่งทำให้สามารถป้องกันการเข้าถึง app Yik Yak ในพื้นที่เหล่านั้นได้

ซึ่งหากมีการเปิดใช้งาน app Yik Yak ในพื้นที่เหล่านั้น จะมีข้อความเตือนขึ้นมาว่า “คุณกำลังพยายามใช้ Yik Yak ในโรงเรียนมัธยม หรือ บริเวรณโรงเรียนมัธยม”  โดย Yik Yak นั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่เรียนมหาลัยขึ้นไป ซึ่งการเปิดเผยจากสื่อนั้น ทำให้กระทบต่อจำนวนผู้ใช้งานของ app จำนวนมาก ทำให้เริ่มมีคนใช้ลดลง และพ่อแม่ผู้ปกครองก็เริ่มกันห้ามลูกเล่น app Yik Yak

ถึงจะมีภาพลบเป็นส่วนมาก แต่ก็มีส่วนดี ๆ ของ Yik Yak เช่นกัน มีงานวิจัยที่ระบุว่า Yik Yak นั้นสามารถใช้ในทางที่ดีได้คือ ไว้ค้นหาความแตกต่าง ทางชาติพันธ์ หรือ อัตลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมในชุมชน หรือ ในมหาลัยวิทยาลัยให้เกิดขึ้นได้ Yik Yak นั้นให้สิทธิ์ ให้เสียงกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ให้บทบาทในมหาลัยหรือชุมชนมากยิ่งขึ้น

และในปี 2015 นั้น Yik Yak ยังได้รับความสนใจในการช่วยป้องกันเหตุฆ่าตัวตายที่มหาวิทยาลัย William and Mary ซึ่ง Yik Yak ได้รับการยกย่องเกี่ยวกับการช่วยป้องกันเหตุฆ่าตัวตาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การช่วยผู้คนในชุมชนนั้นได้ share ความช่วยเหลือ รวมถึงในหลาย ๆ case ก็ได้รับความสนับสนุนในการขอความช่วยเหลือผ่านทาง app Yik Yak เพื่อไม่ให้ฆ่าตัวตาย

จากปัญหาที่รุมเร้าเข้ามามากมาย  ในช่วงปี 2016 จำนวนผู้ใช้ของ Yik Yak นั้นลดลงถึง 76% จากผู้ใช้งานในปี 2015  และในเดือนธันวาคม ของปี 2016 นั้น Yik Yak ได้ปลดพนักงานออกไปกว่า 60% ทีมงานด้าน community , การตลาด , designer รวมถึง ทีมงานที่เป็น engineer ที่ทำตัว production ของ app นั้น ได้รับผลกระทบจากการ lay-off พนักงานแทบจะทั้งหมด ซึ่งปัญหาหลักที่สื่อหลาย ๆ แห่งรายงานตรงกันคือ social network ใด ๆ ที่ไม่มีการเปิดเผยผู้ใช้งานจริง เช่นเดียวกับ Yik Yak นั้นจะมีศักยภาพในการทำให้เกิดปัญหา “cyberbullying” ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ  ชุมชนในปัจจุบัน

ซึ่งสุดท้ายแล้วในเดือนเมษายน ปี 2017 นั้น Yik Yak ก็ต้องประกาศปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากมีการออกข่าวไป ก็ทำให้มีผู้ใช้งานอย่างลดลง และ แอป ก็ได้หยุดทำงานจริง ๆ ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2017 ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของ Yik Yak ในตลาด social network

สรุป

จะเห็นได้ว่าตัวอย่างของ Yik Yak นั้นเป็น app ที่มี idea ที่เจ๋งมาก ๆ และสามารถพัฒนาจนคนใช้ติดได้สำเร็จ และเริ่มมีการเติบโตของผู้ใช้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 1 ปี หลังจากทำการ Release ซึ่งปัญหาที่ตามมานั้นเหล่า co-founder ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ คอยแก้ไขปัญหา เพื่อให้ user กลับมาใช้งานได้สะดวกใจอีกครั้ง แต่ปัญหาอย่าง Cyberbullying หรือ การเหยียดผิวนั้น เป็นปัญหาที่ร้ายแรง ซึ่งหาก app นั้นถูกมองในแง่ลบแล้วนั้นก็ยากที่จะกู้ชื่อเสียงคืนมา ซึ่งการที่จะทำ app ให้คนใช้ติดนั้นไม่ยากอย่างที่ Yik Yak ทำได้ แต่การที่ไม่คิดถึงปัญหาที่ครอบคลุมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับ Features ที่มีใน app  ก็ทำให้ Yik Yak ก็ต้องจบเส้นทางของธุรกิจไปอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

References : en.wikipedia.org,startuphook.com,hyunjinp.wordpress.com,www.wyff4.com,www.slideshare.net

Blog Series : Failed Startup Stories

จากกระแสของ Startup ในช่วงที่ผ่านมานั้น ถือว่าทำให้คนรุ่นใหม่เริ่มสนใจจะมาทำ startup กันมากขึ้น หลาย ๆ คนเพิ่งเรียนจบมาใหม่ มาพร้อม idea ที่เจ๋ง ๆ  แต่ยังไม่เคยผ่านประสบการณ์ทำงานจริงใด ๆ แต่ก็สามารถระดมทุนเพื่อไปสร้างธุรกิจได้

ซึ่งส่วนนึงก็ทำได้สำเร็จจริง ๆ แต่ส่วนใหญ่นั้นล้มเหลวไม่เป็นท่า  ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้ว่า มี startup เพียง 10% ที่จะสามารถอยู่รอดในตลาด และสามารถที่จะทำให้มันกลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรจริง ๆ ได้

ยิ่งในตลาดเล็ก ๆ อย่างประเทศไทย หากเป็น startup ที่คิดเพียงแค่ scale ในประเทศไทยนั้น โอกาสยิ่งเหลือน้อยที่จะอยู่รอดในตลาด ซึ่งในตอนนี้นั้นคนส่วนใหญ่พูดถึงแค่ 10% เหล่านี้ ที่เป็น idol หรือ ความหวังของคนหลาย ๆ คน พูดแต่ด้านที่ดีของ startup แต่น้อยคนนักที่จะพูดถึงเหล่า startup อีก 90% ที่ต้องปิดกิจการหรือเจ๊งไป

Blog Series ชุดนี้จะมาตามรอย เหล่า startup ดัง  ๆ ทั้งหลาย ที่แม้จะเคยพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุด ได้รับเงินจากนักลงทุนมามากมาย แต่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการ เรามาดูกันซิว่าเกิดอะไรขึ้น กับพวกเขาเหล่านั้น

ตอนที่ 1 : Napster the digital music revolution

Credit Image : alleywatch.com