Geek Talk EP22 : Dopesick ความจริงที่เลวร้ายเบื้องหลังเกี่ยวกับยาแก้ปวดปาฏิหาริย์ OxyContin ของอเมริกา

Dopesick ซีรีส์สร้างจากเหตุการณ์จริงในอเมริกา ช่วงปี 1996-2002 ที่ว่าด้วย เพอร์ดู ฟาร์มา บริษัทยายักษ์ใหญ่ของอเมริกา ที่ได้ทำการผลิตยาแก้ปวดที่มีชื่อว่า อ็อกซิคอนติน ที่ถูกโปรโมทว่า มันคือยาที่เมื่อทานแล้วอาการเจ็บปวดของร่างกายจะหายเป็นปลิดทิ้ง โดยทางผู้ผลิต

ได้ส่งตัวแทนจำหน่ายไปเสนอยาตัวนี้กับหมอในคลินิก และโรงพยาบาลทั่วประเทศ และเมื่อหมอได้ให้ยาตัวนี้ทานมันก็ได้ช่วยให้ผู้คนเจ็บป่วยร่างกายน้อยลง แต่ทว่าพวกเขาหารู้ไม่ว่ายาตัวนี้เมื่อทานแล้วมันจะทำให้คนเหล่านั้นเสพติดยาโดยไม่รู้ตัว จนนำมาสู่การใช้ยาชนิดนี้ในการเสพ และแอบจำหน่ายแบบผิดกฎหมายเหตุการณ์การสืบสวน และเอาผิดผู้ผลิตในท้ายที่สุด

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/38UiIXx

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3x0I5A6

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3O38cMz

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3lXuDGX

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/NDkpA4gBpc4

Boom Boom and Crash เมื่อยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของ Silicon Valley กำลังประสบปัญหาร้ายแรงที่เกินจะเยียวยา

เมื่อเหล่าอัจฉริยะทางด้านเทคโนโลยีที่ถูกยกยอ กำลังเฝ้าดูอาณาจักรแสนล้านของพวกเขาดำดิ่งลงสู่งเหว เมื่อต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป อัตราดอกเบี้ยที่กำลังเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัทเทคโนโลยี ที่โด่งดังที่สุดไปจนถึงที่เพ้อฝันที่สุด มีบางแห่งต้องล่มสลาย

เป็นบทความที่น่าสนใจมาก ๆ นะครับจาก Business Insider ที่วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว ซึ่งเราได้เคยเห็นฟองสบู่เทคโนโลยีที่แตกสลายมาแล้วในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 แต่มาถึงวันนี้ระดับในการทำลายล้างจะแตกต่างจากยุค 90 เป็นอย่างมาก

Jim Chanos ผู้ก่อตั้ง Kynikos Associates ที่สร้างชื่อให้กับบริษัทของเขาด้วยการพูดถึงความเฟื่องฟูของเทคโนโลยีล่าสุด ซึ่งเขามองว่าบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจพังทลายครั้งยิ่งใหญ่ และจะส่งผลกระทบในวงกว้าง

Chanos ที่ถนัดในเรื่องการชอร์ตบริษัท ได้กล่าวว่า “การชอร์ตโดยทั่วไปของเราในช่วงต้นปี 2000 เป็นบริษัทที่มีมูลค่า 2-3 พันล้านดอลลาร์ที่กำลังจะเลิกกิจการ แต่ในรอบนี้จะเกิดขึ้นกับบริษัทมูลค่า 20-30 พันล้านดอลลาร์ และบริษัทหลายแห่งกำลังจะมีมูลค่ากลายเป็นศูนย์”

ช่วงเวลา Honeymoon ได้จบลงแล้ว

ไล่มาตั้งแต่ปี 2012 มันเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมสำหรับบริษัทเทคโนโลยีส่วนใหญ่ Facebook (ปัจจุบันคือ Meta) เผยแพร่สู่สาธารณะและมีผู้ใช้งานถึง 1 พันล้านคนทั่วโลก

Facebook และ Twitter ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยประชาชนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในช่วงอาหรับสปริง คำสัญญาของ Mark Zuckerberg ที่จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกันดูเป็นสิ่งที่สวยงาม

Elon Musk เองก็ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจำนวนมากเพื่อเริ่มต้นการปฏิวัติรถยนต์ไฟฟ้า Uber และ Lyft คือสิ่งใหม่ที่ทำให้ sharing economy เกิดขึ้น ส่วน crypto ดูเหมือนของเล่นที่สนุกสำหรับมือสมัครเล่น

แต่สิบปีต่อมา โลกเราแตกต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง ทุกคนต่างสัยสัยกันว่าเราเชื่อมต่อกันมากเกินไปหรือเปล่า มีการใช้โซเชียลมีเดียในทางที่ผิด ทั้งในเรื่องการเลือกตั้ง การจราจล ประท้วง

ในสงครามเรียกรถ เกิดคำถามขึ้นมากมายว่าธุรกิจนี้มันจะอยู่รอดได้จริง ๆ หรือ ไม่มีวี่แววของการที่บริษัทจะทำกำไรในอนาคตได้เลย หรือ ในวงการ crypto ที่กลายเป็นเหมือนความคลั่งในลัทธิสุดโต่ง

สิ่งที่ตรงกันข้ามก็คือ ผลตอบแทนทางด้านการเงินที่ดิ่งลงเหว อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินทำให้บริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทเทคโนโลยีที่มีการเติบโตสูงน่าดึงดูดนั้นหมดไป

บริษัทร่วมทุนใหญ่ที่สุดอย่าง Softbank ก็พบกับความเจ็บปวดในการลงทุนในธุรกิจเพ้อฝัน เช่น WeWork สตาร์ทอัพที่ดู Cool ตอนนี้แทบไม่เหลือความ Cool อีกต่อไป ธุรกิจอย่าง Roku,Pinterest,Uber ดูไม่มีอนาคตที่ยั่งยืนเลย และรอเพียงวันที่จะล่มสลาย

ความน่าสนใจก็คือ โมเดลธุรกิจของ Silicon Valley ไม่ได้ขับเคลื่อนโดยอัจฉริยะทางด้านเทคโนโลยี แต่มาจากการโฆษณาชวนเชื่อเสียมากกว่า Chanos ได้กล่าวว่า มันเป็นสถานการณ์เดียวกันกับตอนฟองสบู่ดอทคอมแตกในยุค 90 เป็นอย่างมาก

ในตอนนี้ คำบางคำ มันได้กลายเป็นเวทย์มนตร์สำหรับดึงดูดนักลงทุน คุณสามารถขายอะไรก็ได้ตราบที่มีความเกี่ยวข้องกับคำไม่กี่คำ เช่น “Blockchain” , “Machine Learning” , “AI” หรือ “Algorithm”

เมื่อ Silicon Valley สิ้นมนต์ขลัง

ยิ่งตลาดร่วงลงนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งยากขึ้นที่จะยอมรับเรื่องเล่าที่ว่าการระดมเงินอย่างต่อเนื่องใน Silicon Valley ต่อไปจะส่งผลให้เกิดการแก้ปัญหาในที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Buy Now Pay Later มันไม่ใช่การปฏิวัติใหม่แต่อย่างใด บริษัทอย่าง Klarna และ Affirm มีความเพ้อฝันว่าอัลกอริธึมอันแสนวิเศษของพวกเขาสามารถทำนายได้ว่าใครสามารถจ่ายหนี้ได้อย่างน่าเชื่อถือและจะจ่ายเมื่อใด

มันฟังดูวิเศษมาก แต่ความเป็นจริงกลับกลายเป็นสิ่งตรงกันข้าม บริษัทเหล่านี้มีปัญหากับการตามหนี้ แต่พวกเขากลับกลายเป็น Unicorn ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ

แต่มาถึงตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยน บริษัทเหล่านี้กำลังเลิกจ้างพนักงานและมูลค่าบริษัทของพวกเขาก็ลดลง 3 เท่า เนื่องจากพบว่าเวทมนตร์ที่เขาคิดว่าเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ ไม่ได้สร้างผลกำไรอะไรเลย

ยิ่งในธุรกิจ Crypto ยิ่งหนักกว่า มีบริษัทร่วมทุนจำนวนมากใน Silicon Valley กระโดดเข้าไปลงทุนด้วยความคิดที่ว่ามันจะกลายเป็นอนาคตทางการเงินของโลก

Project บาง Project ของ fork code กันไปมาแต่งเติมอีกนิดหน่อย สามารถระดมทุนได้หลายสิบล้านเหรียญ หรือ บริษัทที่ใช้แนวคิดเดิมของบริการบนอินเทอร์เน็ตแต่ไม่มีอะไรใหม่ แค่คุณบอกว่า นี่คือ x ของโลก crypto หรือ blockchain ก็สามารถระดมทุนได้หลายล้านเหรียญ

บริษัทอย่าง Coinbase ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ที่กำลังเสี่ยงต่อการล้มละลาย ลูกค้าของบริษัทอาจจะต้องสูญเสียทรัพย์สินทั้้งหมดของพวกเขา

Amazon ของ Jeff Bezos ที่เป็น Ecommerce ยักษ์ใหญ่เบอร์หนึ่งของโลก ที่ไม่ได้ทำกำไรมาหลายทศวรรษ disrupted ธุรกิจต่าง ๆ มามากมาย ผู้คนสูญเสียงานไปหลายล้านตำแหน่ง แต่ตอนนี้ Amazon เองยังต้องไปพึ่งพาจากบริการอื่นที่สร้างกำไรได้มากกว่าอย่าง AWS

ทุกคนมักพูดถึง Elon Musk เพราะเขารวยที่สุด (บนกระดาษ) และขี้บ่นที่สุด (บน Twitter) ที่สร้าง Tesla มาเป็น 20 ปีแล้ว แต่ก็เพิ่งเริ่มสร้างรายได้จริง ๆ จัง ๆ ในปี 2020 นี่เอง แถมตอนนี้ยังเจอการแข่งขันใหม่จากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจีน

หรือ Mark Zuckerberg ที่ตั้ง Facebook ขึ้นในหอพักฮาร์วาร์ด มันเป็นแนวคิดที่ดีในช่วงแรกของการก่อตั้งเพื่อเชื่อมต่อคนทั้งโลกเข้าหากัน

แต่ตอนนี้ Facebook ได้กลายเป็นแหล่งของการเหยียดเชื้อชาติ การ Bully ทฤษฎีสมคบคิด บริษัทได้ใช้วิธีการซื้อกิจการและลอกเลียนคู่แข่งแบบแทนการสร้างนวัตกรรมออกมาสู้

และตอนนี้ Mark Zuckerberg เรียกได้ว่าทุ่มเทหมดหน้าตักให้กับโลก Metaverse และดูเหมือนมันจะเป็นโลกที่น้อยคนคิดว่ามันจะประสบความสำเร็จจริง ๆ และ Mark ยังต้องทุ่มเงินจำนวนมหาศาล เพื่อเทคโนโลยีที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาอะไรได้จริง ๆ ให้กับโลกใบนี้

บทสรุป

ในอนาคตเราจะมีบริการอย่าง รถยนต์บินได้ หรือ การเดินทางสู่อวกาศสำหรับเหล่ามหาเศรษฐี แต่คำถามคือแม้มันจะเป็นแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ แต่มันก็ไม่ได้มีสิ่งใดที่เป็นการปฏิวัติเพื่อแก้ปัญหาที่แท้จริงให้กับโลกของเรา

ในทุกวันนี้เราเชื่อมต่อกันมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็แตกแยกกันมากขึ้นกว่าเดิมเช่นเดียวกัน มีความโดดเดี่ยวมากยิ่งขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันยังคงเพิ่มขึ้น วิกฤติที่อยู่อาศัยก็เลวร้ายลง วิกฤตสภาพภูมิอากาศก็ยังคงโหมกระหน่ำ

เหล่าบริษัทเทคโนโลยีระดับเทพ ได้รับเงินทุนมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ให้กับพวกเรา แต่ตอนนี้มันดูเหมือนยังไม่เข้าใกล้จุดนั้นเลย

โลกเราหวังให้บริษัทเหล่านี้ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตของพวกเราได้อย่างแท้จริง มากกว่าเพียงแค่การเป็นบริษัทที่ตามเทรนด์ เพื่อสูบเงินจากนักลงทุน สร้างความร่ำรวยของกลุ่มผู้ก่อตั้งให้ไปใช้ชีวิตอย่างเสพสุข เหมือนที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับผม

References : https://bit.ly/3t4Gxmj

Geek Monday EP133 : เทคโนโลยีบล็อกเชน x สกุลเงินดิจิทัล สามารถช่วยธุรกิจขนาดเล็กได้อย่างไร

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การพัฒนาเทคโนโลยีบล็อคเชนได้นำสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใหม่มาสู่เรา เช่น เหรียญที่มีเสถียรภาพ (Stablecoin) และสกุลเงินดิจิทัล นวัตกรรมเหล่านี้เป็นรากฐานสำหรับการสร้างระบบการชำระเงินแบบใหม่ที่สามารถเคลื่อนย้ายมูลค่าไปทั่วโลก ไม่เพียงแต่ในแบบเรียลไทม์เท่านั้นแต่ยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่ามากอีกด้วย

หากวิวัฒนาการของการชำระเงินประสบความสำเร็จ ธุรกิจขนาดเล็กจะไม่เพียงประสบกับต้นทุนที่ต่ำลงเท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าถึงเงินทุนได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย สิ่งนี้จะปรับปรุงสภาพคล่องได้อย่างมาก และช่วยให้พวกเขาอยู่รอดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเติบโตได้ดีในอนาคต

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3GsDFVy

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3LYknZi

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3GsEfTs

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3t3ybuY

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/HJR_0QmBCW8

อัตราเงินเฟ้อ กับภัยคุกคามที่สำคัญของบริการ Delivery Service ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรียกได้ว่าเป็นตลาดแดงเดือดที่แข่งกันอย่างบ้าคลั่งเลยทีเดียวนะครับสำหรับบริการ Delivery Service ที่มีการแข่งขันกันมากมาย ในประเทศไทยเอง ก็มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Grab , Foodpanda , Shopee food , Lineman หรือบริการของไทยแท้ ๆ อย่าง Robinhood

โปรโมชั่นที่ถาโถมแข่งกันอย่างดุเดือด แบบไม่มีใครยอมใคร และดูเหมือนว่า ลูกค้าในตอนนี้ก็ไร้ซึ่ง Royalty ใครให้โปรดีกว่า ก็พร้อมย้ายไปค่ายนั้น ๆ แบบทันที เพราะแค่เปิดแอป แล้วเปรียบเทียบราคา ซึ่งทำได้ง่ายมาก ๆ ในตอนนี้ ก็ได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภคแล้ว

ราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทุกบริการเหล่านี้มีต้นทุนที่สำคัญมาก ๆ นั้นก็คือพลังงานเชื้อเพลิงอย่างน้ำมัน มีรายงานข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องนี้จากสื่อชื่อดังอย่าง techinasia

Marlon ซึ่งเป็น Rider ส่งอาหารของ Grab ในประเทศฟิลิปปินส์ได้กล่าวว่า เขาสามารถหารายได้ประมาณ 1,000 เปโซ ( 650 บาท) ต่อวัน หากเขาสามารถทำได้ 15 เที่ยว แต่ตอนนี้ต้นทุนค่าน้ำมันที่สูงขึ้นกำลังกัดกินรายได้ของเขา

ในทุกวันนี้ Marlon ต้องจ่ายค่าน้ำมัน 300 เปโซ (195 บาท) สำหรับรถจักรยานยนต์ของเขา ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 180 เปโซ (เพิ่มขึ้น 67%) เทียบกับช่วงก่อนที่ราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ซึ่งก็ต้องบอกว่า เรื่องราวของ Marlon นั้นเป็นเรื่องธรรมดาในปีนี้ ราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ขับขี่ที่ต้องจ่ายค่าน้ำมันเอง รวมถึงค่าอาหารก็เช่นกัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

สิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบโดยตรงกับแพลตฟอร์มทางด้านเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภค เช่น Grab , Foodpanda , Robinhood , Lineman หรือ Shopee food ฯลฯ

ด้วยการแข่งขันที่สูง ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางการตลาดที่สูงอยู่แล้ว แต่ตอนนี้พวกเขากำลังจะถูกโจมตีจากอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะต้นทุนด้านเชื้อเพลง ซึ่งมันส่งผลกระทบในวงกว้างเป็นอย่างมาก

ต้นทุนที่สูงขึ้นของธุรกิจขนาดเล็ก

ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นมันส่งผลอย่างชัดเจนต่อร้านอาหารที่ใช้แอปส่งอาหาร และยังต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นจำนวนมหาศาลให้กับแพลตฟอร์มเหล่านี้

Good Sh*t Coffee ในเมืองมากาตี ประเทศฟิลิปปินส์ จ่ายเงินซื้อเมล็ดกาแฟเพิ่มขึ้น 20% ถึง 40% หลังจากพายุไต้ฝุ่นเมื่อปลายปีที่แล้ว ทำลายฟาร์มหลายแห่งทางตอนใต้ของประเทศ ทำให้เกิดการขาดแคลนกาแฟ ตอนนี้บริษัทกำลังจ่ายเงินเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้านำเข้า เช่น นมและครีมชีสด้วย

และที่สำคัญพวกเขาต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นสูงถึง 24-27% ให้กับแพลตฟอร์มการจัดส่งของ Grab อีกด้วย

“แน่นอนว่ามันเป็นสิ่งกวนใจเรา แต่นั่นคือราคาที่คุณต้องจ่ายสำหรับการใช้แพลตฟอร์มของพวกเขา แต่มันสูงเกินไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็กอย่างเรา” Paolo Flores เจ้าของร้าน Good Sh*t Coffee กล่าว

นั่นทำให้พวกเขาต้องหาทางเลือกอื่น เช่น การมองหาแพลตฟอร์มอื่น ๆ หรือสร้างบริการของร้านตัวเองขึ้นมาเพื่อเสนอส่วนลดให้กับลูกค้า แทนที่จะไปจ่ายให้กับแพลตฟอร์มเหล่านี้

ในสหรัฐอเมริกาที่ราคาสินค้าต่าง ๆสูงขึ้น ร้านอาหารก็ทำการขึ้นราคา ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ลูกค้าจะเข้ามาทานอาหารในร้านน้อยลง โดยลูกค้าอาจจะเลือกทำอาหารที่บ้านแทน

ราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น 3.8% ในเดือนเมษายน ผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 4.9%

อัตราเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อความต้องการบริการดิจิทัลอย่างไร

ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ ที่ไม่ใช่บริษัทที่ใช้เทคโนโลยี 100% เหมือนอย่าง google , facebook ,tiktok … แต่ต้องพึ่งพาแรงงานที่เป็นมนุษย์ในการสร้างรายได้ให้กับพวกเขา

มันทำให้ส่งผลกระทบมากกว่าบริษัทเทคโนโลยีจริง ๆ เพราะมี กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบที่อยู่ใน ecosystem ของแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น พ่อค้า คนส่งของ พนักงานขับรถ และลูกค้า

โฆษกของ Foodpanda ซึ่งเป็นแบรนด์เอเชียของ Delivery Hero ในเบอร์ลินกล่าวว่า อุปสงค์และอุปทานเป็นเรื่องปรกติสำหรับธุรกิจประเภทนี้ โดยยกตัวอย่างอุปสงค์ที่เปลี่ยนไปในช่วงวันหยุดต่าง ๆ

ซึ่งพวกเขาคิดแบบองค์รวม มีแผนงานระยะยาวที่นำไปปรับใช้ ซึ่งรวมถึงการเสนอส่วนลดสำหรับลูกค้าและเครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับผู้ค้า และไม่จำเป็นต้องตอบสนองโดยตรงต่อเหตุการณ์เฉพาะเช่นอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

แต่ในสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสงครามยูเครนและราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น นั่นอาจทำให้ผู้บริโภคประเมินการใช้จ่ายอีกครั้ง โดยเลือกสั่งแบบ Delivery น้อยลง

แต่แน่นอนว่าการระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 ทำให้บริการเหล่านี้บูมขึ้นมาได้เพราะผู้คนไม่สามารถออกจากบ้านได้เหมือนเคย แต่ตอนนี้การระบาดกำลังจะสิ้นสุดลง ผู้คนกำลังกับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิมอีกครั้ง

มันอาจจะเป็นการเติบโตแบบหลอก ๆ เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ได้รับผลประโยชน์จากการแพร่ระบาด ที่เกิดอุปสงค์แบบเว่อร์ ๆ ขึ้นมาในช่วงสองปีที่ผ่านมา

แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าเหล่าแพลตฟอร์มกำลังเจอมรสุมลูกใหญ่อีกลูกหนึ่งนั่นก็คือ อัตราเงินเฟ้อ และ ที่สำคัญมันถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญของโรคระบาดเพราะมาตรการล็อกดาวน์ต่าง ๆ ที่เริ่มคลี่คลายลงไป นั่นก็อาจทำให้ผู้คนไม่จำเป็นต้องโหยหากับบริการ Delivery Service เหล่านี้อีกต่อไปนั่นเองครับผม

References :
https://bit.ly/3LQ3S1y
https://wapo.st/3t4Bx0N
https://n.pr/3PNDUiw

Geek Daily EP123 : เมื่อโรคระบาดสร้างมหาเศรษฐีใหม่ทุก ๆ 30 ชั่วโมงแต่คนนับล้านต้องยากจนแบบสุดขีด

Oxfam International มีรายงานฉบับใหม่ซึ่งเน้นให้เห็นถึงช่องว่างที่กว้างขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างมหาเศรษฐีเพียงไม่กี่คนกับคนจนที่สุดทั่วโลก รายงานเรื่อง “การทำกำไรจากความเจ็บปวด” พบว่าในช่วงสองปีแรกของการระบาดใหญ่ มหาเศรษฐีใหม่ถูกสร้างขึ้นทุก ๆ 30 ชั่วโมง รวม 573 คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลกที่กลายเป็นมหาเศรษฐีในช่วงเวลานั้น

ในทางกลับกัน ในปี 2022 Oxfam คาดว่าผู้คนนับล้านจะตกอยู่ในความยากจนขั้นสุดขีดทุกๆ 33 ชั่วโมง ซึ่งเกือบจะเท่ากับอัตราที่เกิดขึ้นของมหาเศรษฐีใหม่ อัตราที่น่าประหลาดใจที่ผู้คนทั่วโลกกำลังจะตกอยู่ในความยากจนขั้นรุนแรง

มีผู้คน 263 ล้านคนในปี 2022 เพียงปีเดียว ที่ต้องพบเจอกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงทุกอย่างตั้งแต่ค่าพลังงานไปจนถึงค่าอาหาร แม้ว่ามหาเศรษฐีที่ควบคุมทรัพย์สินเหล่านี้จะทำกำไรได้มากกว่า แต่มีหลายร้อยล้านคนอาจต้องเสียค่ารักษาไว้ซึ่งชีวิต Oxfam เตือน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3Gu05FZ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3PMMPQZ

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3wW80Yb

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/38Uab6O

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/UQmF4kCp16I

Credit Image : https://mariewillermark.wordpress.com/2018/01/29/the-rich-and-the-poor/

Full Report : https://bit.ly/38XerCp