Geek Monday EP10 : เทคโนโลยีกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเกษตร

ปัญหาใหญ่ของวงการเกษตรไทยที่เป็นวังวน ซ้ำซาก ไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจังเสียที ก็คือ ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ โดยเฉพาะสินค้าหลัก ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ปาล์ม ยางพารา ฯลฯ

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เราจะได้เห็นการแก้ไขปัญหาแบบเดิม ๆ ทุกครั้งไม่ว่าจะเป็น ประกันราคา จำนำข้าว ฯลฯ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุแทบจะทั้งสิ้น ไม่ได้ทำให้ชีวิตเกษตรกรไทยที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศได้ลืมตาอ้าปากเสียที

เป็นการใช้นโยบายทางการเมืองเพื่อหาเสียง และแก้แบบขอไปทีเพียงเท่านั้น และเราก็ต้องมาสูญสิ้นเงินงบประมาณส่วนนี้ ซ้ำไปซ้ำมาในทุก  ๆปี โดยที่ปัญหาไม่ได้ถูกแก้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ซึ่งการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตร นั้นเรื่องเทคโนโลยีต้องมามีบทบาทในอนาคตอย่างแน่นอน แม้การลงทุนเหล่านี้จะดูเหมือนสูง แต่ด้วยเทคโนโลยีเช่น Machine Learning,AI , Autonomous Driving นั้นสามารถช่วยยกระดับผลผลิต ลดต้นทุน

รวมถึงการทำงานแบบไม่เหน็ดเหนื่อยของเครื่องจักรก็น่าจะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้กับวงการเกษตรได้อย่างแน่นอนครับ และมันอาจจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุด ที่คาราคาซังมาเป็นระยะเวลายาวนานของปัญหาเกษตรกรรมไทยก็อาจเป็นได้

ฟังผ่าน Podbean : 
https://tharadhol.podbean.com/e/geekmonday-ep3-technology-agriculture/

ฟังผ่าน Spotify :
https://open.spotify.com/episode/6FkWrUZN2R1LMnHtc4KrZl

หากเงินเดือนเป็นเรื่องเปิดเผย

เรื่องของเงินเดือนนั้นมักจะเป็นเรื่องลึกลับในองค์กร ที่ถูกบอกกล่าวกันมาว่า หากเรามีการทราบเงินเดือนซึ่งกันและกันในบริษัทนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาในทีมขึ้นมาได้ทันที แต่นี่กลับกลายเป็นความเสียเปรียบอย่างนึงของมนุษย์เงินเดือน ที่องค์กรกำลังเอาเปรียบอยู่ผ่านวิธีการบอกไม่ให้เราไปรับรู้เงินเดือนของคนอื่น ๆ 

ลองกลับกัน ถ้าทุกคนรู้รายได้ของเพื่อนร่วมงานทุกคน มันก็จะเหมือนวงการฟุตบอลที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือ พอเพื่อนร่วมทีมเราได้เยอะ ก็จะมีการขอปรับเยอะขึ้นไปเรื่อย ๆ ทำให้เงินเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างสถานการณ์ค่าตัวรวมถึงค่าเหนื่อยนักฟุตบอลในยุคปัจจุบัน ซึ่งใครจะคิดว่านักเตะอย่าง Theo Walcott จะมีรายได้ถึง 100,000 กว่าปอนด์ได้

เพราะความที่นักบอลเค้ารับรู้รายได้กันหมด ที่สำคัญยังมีการประกาศผ่านสื่อเรียกได้ว่าเรื่องรายได้ไม่ได้เป็นเรื่องลึกลับเลยสำหรับนักฟุตบอลหรือนักกีฬาต่าง ๆ  เพราะฉะนั้นเหล่าพนักงาน (นักกีฬา) ก็จะไม่มีใครยอมใคร ก็ต้องมีการเรียกค่าเหนื่อยให้เต็มที่เหมือนกัน โดยมีการเอาเพื่อนมาเปรียบเทียบด้วย ซึ่งถามว่าดีมั๊ยสำหรับลูกจ้าง (นักบอล) ต้องบอกว่าโครตดีเลยแหละ ที่ทำให้ค่าเหนื่อยแพงขึ้นมหาศาลมาก ๆ 

แต่สุดท้ายมันก็ต้องมี Limit ที่องค์กรสามารถจ่ายได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่องค์กรเสียเปรียบมากในขณะนี้  แต่อย่างไรก็ตามนั้นมันก็ต้องมีเหตุมีผลอย่างน้อยก็ต้องผันตรงกับรายได้ของบริษัทอยู่แล้วเช่นกัน ซึ่งยังไงค่าใช้จ่ายเหล่านี้มันก็ไม่มีทางเฟ้อไปกว่าความสามารถของเจ้าของทีมที่จะจ่ายจริง ๆ อยู่ดี (ขอไม่นับรวมเหล่าเศรษฐีที่มา take over นะครับ เอาเฉพาะทีมที่ทำธุรกิจฟุตบอลจริง ๆ ตัวอย่างเช่น ลิเวอร์พูล , แมนยู ในตอนนี้) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจนั่นเองว่าทำรายได้มากน้อยเพียงใด

คราวนี้ลองหันกลับมามองที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนล่ะ เช่นกัน ถ้าทุกอย่างมีการเปิดเผยค่าแรงพนักงาน มันก็จะคล้ายกับวงการฟุตบอล และค่าเหนื่อยพวกเราต้องเฟ้ออย่างแน่นอน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แบบเดียวกับนักบอล (จนกว่าบริษัทจะจ่ายไหวจริง ๆ ) ซึ่งนั่น เราจะได้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของเราที่เป็นพนักงานจริง ๆ ว่าเราควรจะมีเงินเดือนหรือค่าเหนื่อยในระดับไหนกันแน่ และบริษัทสามารถจ่ายให้เราจริง ๆ เท่าไหร่นั่นเอง

ซึ่งโดยปรกติส่วนใหญ่แล้วเราจะรู้มูลค่าตัวเราจริง ๆ ก็ต่อเมื่อตอนที่เรายื่นใบลาออกแล้วได้งานใหม่เท่านั้น มูลค่าที่แท้จริง ๆ ของเราถึงจะปรากฏ เพราะสุดท้ายถ้าคุณเก่งจริง บริษัทก็ต้องสู้เท่าที่เค้าจะสู้ได้จริง ๆ เพื่อไม่ให้เสียคุณไปนั่นเอง

แล้วถึงวันที่เรื่องของเงินเดือน ค่าเหนื่อย ควรเป็นเรื่องเปิดเผยได้หรือยัง เป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ แล้วเพื่อน ๆ มีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไรกันบ้างเอ่ย?

References Image : https://gagadget.com/media/post_big/apple_EWycVrJ.jpg

Search War ตอนที่ 8 : Let the war begin!

ในขณะที่ทีม Underdog กำลังรุดหน้าเพื่อแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่างทางเทคนิคของ Search Engine ได้สำเร็จ มันถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ แต่กลับกลายเป็นว่าเหล่าผู้บริหารของ Microsoft นั้นก็ไม่ได้ไว้วางใจทีมของพวกเขาที่กำลังสู้ศึกใหญ่อย่างเต็มที่นัก

เมื่อถึงเดือน ตุลาคม ปี 2003 google ได้เริ่มพูดคุยที่เกียวกับประเด็นในการที่นำเสนอหุ้นออกสู่สาธารณะชน หรือ IPO และตอนนี้เหล่าผู้บริหารของ Microsoft ได้เริ่มหาแผนสำรองโดยเป็นการเริ่มติดต่อกับ google เพื่อเสนอให้เป็นหุ้นส่วนแทน หรือแม้กระทั่งการเข้าซื้อกิจการเลยด้วยซ้ำ

เพราะถ้าเทียบกับสถานะของ Microsoft ในขณะนั้น ที่เป็นยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยี มีเงินทุนอยู่มหาศาล ซึ่งเป็นเม็ดเงินเพียงน้อยนิดหากต้องการเข้า ซื้อกิจการของ google จริง และนี่ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และเร็วที่สุดแล้วในการพา Microsoft เข้าสู่ตลาดการค้นหาที่กำลังกลายเป็นขุมทรัพย์ออนไลน์ใหม่ในขณะนั้น

แต่ข้อเสนอของ Microsoft นั้นทั้งเพจและบริน ดูจะไม่สนใจใยดีเลยด้วยซ้ำ เพราะพวกเขารู้ว่าศักยภาพของ google นั้นมีมากมายมหาศาลแค่ไหน พวกเขาจึงโฟกัสไปที่การเสนอขายหุ้นแก่สาธารณะชนเพียงเท่านั้น

ซึ่งจะทำให้ google ได้รับเงินมากมายมหาศาล เพื่อมาพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงจ้างพนักงานหัวกะทิเพิ่มขึ้น เพื่อพา google ก้าวข้ามไปอีกระดับ ผ่านวัฒนธรรม และ รูปแบบการดำเนินการธุรกิจของพวกเขา ซึ่งหากเลือกทางไปอยู่กับ Microsoft นั้นคงจะไม่ดีต่อ google อย่างแน่นอน

แม้จะปฏิเสธข้อเสนอของ Microsoft แบบไม่ใยดีเลยก็ตาม แต่ Microsoft ก็ยังมั่นใจอยู่ว่า ความอหังการจะทำให้ google นั้นเดินซ้ำรอย NetScape ที่ถูก Microsoft ทำลายอย่างย่อยยับได้อย่างแน่นอน

แต่ก็ต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่า NetScape กับ Google นั้นเป็นผลิตภัณฑ์และบริษัทที่แตกต่างกันอย่างมาก และที่สำคัญสิ่งที่ชี้ขาดธุรกิจของ NetScape คือการที่ตัว Browser ของ NetScape นั้นไม่มีการติดตั้งมาตั้งแต่โรงงาน ซึ่งเมื่อ Microsoft ได้ทำการออก Internet Exproler ให้ใช้ฟรี ก็ทำให้ NetScape นั้นเข้าสู่ทางตันทันที

NetScape ที่ถูก Microsoft ปล่อย IE มาตัดราคา จนกลายเป็นอดีต
NetScape ที่ถูก Microsoft ปล่อย IE มาตัดราคา จนล่มสลายเลยทีเดียว

Microsoft นั้นชนะ NetScape ทุกทาง เพราะมีการเขียน software มาอย่างดี และติดตั้งเป็นค่าเริ่มต้นมาพร้อมกับ Windows ได้ ส่วน google นั้นให้บริการฟรีอยู่แล้ว จึงไม่มีทางที่ Microsoft จะมาตัดราคาเหมือน NetScape ได้

ซึ่งมันมีเพียงทางเลือกเดียวที่จะสามารถล้ม google ได้คือ การสร้าง Search Engine ที่ดีกว่า ซึ่งมันเป็นวิธีในการยึดช่องทางหลักในการเข้าเว๊บของผู้ใช้งาน Internet ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นความเคยชิน ก็จะทำให้ google กลายเป็นอำนาจที่ทรงพลังที่สุดในอินเตอร์เน็ตได้ทันที

google นั้นพร้อมที่จะรับผู้ใช้งานจาก MSN เว๊บ Portal ของ Microsoft ในขณะนั้น ซึ่ง google นั้นมีเวลาหลายปีในการทำให้บริการมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยจำนวน Server นับหมื่น ๆ เครื่อง

ในปี 2003 นั้น google ได้เริ่มพัฒนา Bigtable ซึ่งเป็นระบบคลังข้อมูลแบบกระจายสำหรับการจัดการข้อมูลที่จัดโครงสร้างแล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นกลายเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ ที่ทำให้ google สามารถขยายขนาดได้อย่างมหาศาล ซึ่งแม้จะเป็นผู้นำในบริษัทเทคโนโลยีในขณะนั้น แต่ดูเหมือนว่าในสงคราม Search Engine นั้น Microsoft ยังตามหลัง google อยู่ไกลพอสมควรเลยทีเดียว

และในปึเดียวกันนี่เองที่ google กำลังเติบโตกลายเป็น Brand ยอดนิยมของคนทั่วโลก โดยแต่ละวันจะมีค้นหาข้อมูลด้วยภาษาของตนเองนับสิบ ๆ ล้านครั้งต่อวัน โดย Google สามารถรองรับการใช้งานได้กว่า 100 ภาษา เหล่าผู้คนทั่วโลกต่างใช้ Google ในชีวิตประจำวัน ใช้งานค้นหาทุกอย่างใน Google ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน อย่างการทำอาหาร เรื่องที่อยู่อาศัย ไปจนถึง การค้นหาค้นคว้าเรื่องการศึกษา ความบันเทิง รวมถึงเรื่องเพศ ก็ตาม

นักธุรกิจ นักลงทุนทั่วโลก รวมถึงเหล่าทนายความของพวกเขา ต่างใช้ Google ในการหาข้อมูลของคู่ค้าก่อนเจรจาการค้าครั้งสำคัญอยู่เสมอ เหล่านักเขียนหนังสือ ต่างค้นหาข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงข้อเท็จจริงโดยใช้ Google

แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐบาล ก็ยังใช้ Google ในการค้นหาเอกสารต่าง ๆ ด้วยตัวเองแทนใช้ผู้ช่วยเหมือนในอดีต วัยรุ่นผู้อยากรู้เนื้อเพลงยอดนิยม ก็แค่ค้นหา จากเนื้อเพลงบางส่วนได้จาก Google แม้กระทั่งสายลับ CIA ยังถึงกับใช้ Google ในการแกะรอยผู้ก่อการร้าย

ดังถึงขนาดที่ว่า เหล่าองค์กรอย่าง NSA , CIA ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามการก่อการร้าย
ดังถึงขนาดที่ว่า เหล่าองค์กรอย่าง NSA , CIA ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามการก่อการร้าย

การพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว วิศวกรไม่ต้องไปนั่งหาข้อมูลในห้องสมุดเหมือนในอดีตอีกต่อไป ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง Bug ต่าง ๆ สามารถค้นหาต้นตอได้ผ่าน Google 

คนป่วยใช้ Google ค้นหาโรคจากอาการของตน เหล่านักกีฬาค้นหาอุปกรณ์กีฬา หรือแม้กระทั่งตารางการแข่งขันก็สามารถหาได้จาก Google 

การท่องเที่ยวก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เดิมที่ต้องใช้หนังสือท่องเที่ยวเล่มหนาเต๊อะ แต่ตอนนี้สามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ผ่านการค้นหาข้อมูลสถานที่ต่างๆ  ผ่าน Google การท่องไปในโลกกว้างนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป แม้จะเข้าถึงยากเพียงใด ก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วย Google

เรียกได้ว่าเมื่อถึงตอนนี้นั้น google ได้กลายเป็น Brand หน้าใหม่ที่คนรู้จักกันทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคำว่า google ได้กลายเป็นเป็นคำสามัญในการค้นหาข้อมูลทาง internet เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ฝาก Microsoft ที่ทีมเฉพาะกิจอย่าง Underdog เพิ่งแก้ปัญหาทางเทคนิคต่าง ๆ ได้เสร็จสิ้นเพียงเท่านั้น ดูเหมือนจะตามหลัง google อยู่ค่อนข้างห่าง แล้ว Microsoft จะแก้สถานะการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นกับบริษัทพวกเขามาก่อนในครั้งนี้ได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 9 : Bing (But It’s Not Google)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Thailand E-commerce War

ต้องบอกว่า ศึก E-Commerce Platform ของไทยระหว่างยักษ์ใหญ่ทั้งสามเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Lazada ยักษ์ใหญ่ที่มี Alibaba หนุนหลัง , Shopee น้องใหม่ไฟแรงที่อัดงบการตลาดอย่างบ้าคลั่ง รวมถึง JD.com ที่เพิ่งเข้ามาทำตลาดในปีแรก หลังจากการร่วมมือกับ Central ของประเทศไทย เรามาลองส่องงบการเงิน ธุรกิจยักษ์ใหญ่ E-Commerce ไทยทั้ง 3 เจ้า กันดูครับว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

JD Central (เริ่มปีแรก)

  • รายได้ 458 ล้านบาท
  • ขาดทุน 944 ล้านบาท

Lazada

  • รายได้ 8.16 พันล้านบาท
  • ขาดทุน 2.64 พันล้านบาท

Shopee (หนักสุด)

  • รายได้ 165 ล้านบาท
  • ขาดทุน 4.11 พันล้านบาท

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจ E-Commerce ที่หวังจะใช้สูตร Winner take all มันดูจะไม่ง่ายซะแล้ว เพราะต่างฝ่ายต่างสู้กันอย่างเต็มที่เหมือนกัน ไม่ยอมลดราวาศอก กันเลยทีเดียวเรียกได้ว่าอัดงบกันเต็มที่ ทั้ง 3 Platform

ศึกนี้ดูแล้ว รอแค่จะเหลือใครเป็นรายสุดท้ายที่จะรอดจากมหาสงครามครั้งนี้ ต้องบอกว่า คงพูดไม่เกินเลยนักว่า Platform เหล่านี้เอาเงินมาแจกคนไทยเล่น เลยก็ว่าได้ ผ่านโปรโมชั่น ส่วนลดต่าง ๆ แลกกับ Data ที่พวกเขาได้รับไป ก็ต้องดูกันยาว ๆ ว่าจะคุ้มค่ากับที่ลงทุนไปหรือไม่ 

ซึ่งต่อให้เค้าหว่านเงินจนเราใช้กันจนติดหนึบก็จริง แต่คนไทยก็พร้อมจะเปลี่ยนเสมอเหมือนกัน หากได้โปรโมชั่นที่ดีกว่า คนไทยไม่ได้ Royalty ขนาดนั้นกับธุรกิจ E-Commerce มันไม่ง่ายเหมือนตลาดอื่น ๆ เลยสำหรับ E-Commerce ในไทย เหมือนยิ่งโต ก็ยิ่งขาดทุน และคนไทยพร้อมจะ Switch ไปที่อื่นทันทีหากเจอ Promotion ที่ดีกว่า

แต่สิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของ E-Commerce ทั้ง 3 Platform คือ มันช่วยให้ธุรกิจใน Ecosystem ของ E-Commerce ทำกำไรเสียมากกว่า อย่าง Kerry, ไปรษณีย์ บริการคลังสินค้า ระบบบริหารงานสินค้า Chatbot รวมถึง Order Fullfillment Service ต่างๆ ที่โตเอา ๆ

แต่ก็มีส่วนที่คนไทยเราเสียให้กับแพตฟอร์มเหล่านี้คือ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าชาวจีนที่หลั่งไหลกันเข้ามาเปิดร้านในแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ จนพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยเราขยาด เนื่องจากการทำราคาที่ต่ำมาก เพราะส่งมาจากจีนโดยตรง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่คิดจะขายสินค้าจากจีนนั้นแทบจะล้มหายตายจากไปเลยก็ว่าได้

แต่ถ้าให้ ด.ดล ฟันธง รายที่น่าจะไปก่อนเพื่อนในศึกนี้น่าจะเป็น Shopee ที่ดูแล้วขาดทุนหนักสุด และหนักมาหลายปีแล้ว ยิ่งทุ่มยิ่งเสีย ซึ่งต่างจาก Lazada กับ JD ที่มีพี่ใหญ่จากจีนคอยหนุนหลัง ซึ่งเศษเงินแค่นี้ คงไม่ซีเรียสกันเท่าไหร่

สุดท้ายไทยน่าจะเหลือแค่ 2 เจ้า คือ Lazada กับ JD ที่น่าจะสู้กันต่อเหมือนในจีน ที่ไม่ยอมแพ้กันเลย ในหลาย ๆ ธุรกิจ

และยังไม่พูดถึง ยักษ์ใหญ่จากอเมริกาอย่าง Amazon ที่เหมือนจะซุ่มดูตลาดบ้านเราอยู่เหมือนกัน และพร้อมที่จะลงมาเล่นทุกเมื่อเหมือนกัน ขนาดตลาดญี่ปุ่นที่ว่าแน่ ๆ Amazon ยังตีได้สำเร็จมาแล้ว

และแน่นอนเหมือนทุก ๆ ครั้งหาก Amazon เข้ามาจริง ๆ ในบ้านเรา ก็ต้องมาพร้อมอัดโปรโมชั่นสู้อย่างแน่นอน ซึ่งคนไทยก็พร้อมที่จะ Switch ไปอยู่เสมออยู่แล้ว หากโปรโมชั่นมันโดนจริง ซึ่งดูแล้ว ตลาด E-Commerce น่าจะเป็นตลาดที่หลาย ๆ แพลตฟอร์มเหนื่ยแน่นอนกว่าจะทำกำไรได้จริง ๆ จากคนไทย

Image References : https://www.prachachat.net/wp-content/uploads/2018/11/collage.jpg
https://www.facebook.com/pawoot

Search War ตอนที่ 7 : The Underdog Project

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2003 ผู้บริหารอาวุโสของบริษัท Microsoft รวมทั้งสิ้น 25 คน ซึ่งรวมรวมถึงผู้บริหารระดับสูงอย่าง Bill Gates และ Steve Ballmer ได้มารวมตัวกันที่อาคาร 36 ฝั่งตะวันออกของสำนักงาน Microsoft HQ ที่เรดมอนต์ เพื่อร่วมฟัง คริสโตเฟอร์ เพย์น ซึ่งตอนนั้นอายุเพียง 37 ปี และเป็นรองประธานบริษัท และดูแลรับผิดชอบ MSN โดยตรง เล่าถึงภัยคุกคามครั้งสำคัญต่อ Microsoft ที่เหล่าผู้บริหารต่างมองข้าม

เพย์น นั้นมีประสบการณ์อยู่เบื้องหลัง MSN Search ซึ่งเมื่อ เพย์น ได้มารับผิดชอบในส่วนของ บริการออนไลน์ของ Microsoft ซึ่งในขณะนั้นมีรายได้เพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทอย่าง Windows และชุด Office เมื่อ เพย์น โฟกัสมาที่ธุรกิจค้นหา เขาได้เริ่มตระหนักว่า บริษัทกำลังเผชิญปัญหาใหญ่หลวงที่กำลังรุกคลานเข้ามา

ซึ่งแน่นอนว่า เพย์น ที่ได้รับผิดชอบแผน online ของ Microsoft ทำให้รู้ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ traffic ที่เข้ามายัง MSN ที่เป็นเว๊บ portal หลักของ Microsoft และ เพย์น ก็เริ่มพบความผิดปรกติบางอย่างเกิดขึ้น เมื่อพบว่า เหล่าผู้ใช้ MSN นั้นมาที่มาจาก google มากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

ซึ่งต้องบอกว่าตอนนั้น Inktomi ได้รับผิดชอบผลการค้นหาของ MSN และส่วนของการโฆษณานั้นจะมาจาก Overture ซึ่ง Microsoft นั้นไม่ได้ทำอะไรเลยกับส่วนของการค้นหา เพียงแค่พึ่งบริการของที่อื่นแทบจะทั้งสิ้น

Microsoft ใช้บริการจากบริษัทอื่น ๆ ในโปรแกรมการค้นหา
Microsoft ใช้บริการจากบริษัทอื่น ๆ ในโปรแกรมการค้นหา

ทั้ง ๆ ที่มันกำลังจะกลายเป็นกระแสความนิยมใหม่ในโปรแกรม การค้นหา แต่ Microsoft ยังเริ่มต้นจากศูนย์ ซึ่งเพยน์ต้องการโน้มน้าวให้ผู้บริหารระดับสูงที่มาเข้าร่วมประชุม ให้เริ่มระแวดระวังภัยที่อาจจะมาจาก google และยังโน้มน้าวให้ลงทุนในการค้นหาแบบเต็มตัวเสียทีหลังจากพึ่งบริการอื่น ๆ มานาน

ซึ่งเหล่าผู้เข้าฟัง ก็คล้อยตาม เพย์น โดยที่ทั้ง Gates และ Ballmer นั้นค่อนข้างเห็นด้วย และพร้อมที่จะผลักดันโครงการโปรแกรมค้นหา Microsoft อย่างเต็มที่ และมันเป็นความท้าทายทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ครั้งสำคัญที่สุดอีกครั้งนึงของ Gates ซึ่งตอนนั้นอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกสถาปนิกซอฟต์แวร์เสียด้วย

หลังจากได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร เพย์น ก็ได้เลือก เคน มอสส์ โปรแกรมเมอร์มือฉกาจ ที่ได้รับการยอมรับนับถือและมีประสบการณ์สูง โดยทำงานร่วมกับ Microsoft มาถึง 16 ปี และเป็นหนึ่งในทีมงานที่ช่วยกันสร้าง Microsoft Excel ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของ Microsoft นั่นเอง

และมอสส์ ก็ได้รวบรวมทีมงานเล็ก ๆ เพื่อที่จะมาสร้างโปรแกรมค้นหาตัวใหม่นี้ของ Microsoft และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า “Underdog” ซึ่งความหมายแบบไทย ๆ ก็คือไก่รองบ่อนนั่นเอง ซึ่งต้องบอกว่า เป็นชื่อโครงการที่ดูไม่เข้ากับ Microsoft ยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีในขณะนั้นเลยก็ว่าได้

เกตส์ นั้น เข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ในโครงการนี้ มันเป็นความท้าทายครั้งสำคัญอีกครั้งของ เกตส์ และรับปากกับทีมงานว่า เขามั่นใจว่าจะตามเจ้าตลาดอย่าง google ให้ทันภายใน 6 เดือน

แต่มันมีปัญาหาอยู่ 3 อย่างที่จะไล่ google ที่ถูกออกแบบโดย บริน และ เพจ ที่ทำงานวิจัยเรื่อง PageRank มาก่อนที่สแตนฟอร์ด ซึ่ง หนึ่ง ทำอย่างไรจะส่งผลที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาให้ถึงผู้ใช้งานให้เร็วที่สุด สอง จะทำรายได้อย่างไรกับโปรแกรมการค้นหา และ สาม ปัญหาทางเทคนิค ในเรื่องการกระจาย Index เนื้อหา ที่มี Server อยู่กระจายทั่วโลกได้

โดยโครงการ Underdog ของ Microsoft ได้คัดเลือกเหล่าวิศวกรหัวกระทิจากแผนก R&D ของ Microsoft เพื่อสร้างระบบในการจัดลำดับผลการค้นหา ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด กับคำที่ผู้ใช้งานค้นหา

แต่ทีมงานใน Project Underdog นั้นก็ต้องเจออุปสรรคมากมาย และเริ่มรู้ความจริงที่ว่า การสร้างโปรแกรมการค้นหาที่ดีนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายกว่าที่คิด  ปัญหาใหญ่ที่สำคัญอย่างนึงคือ โปรแกรม Crawler ที่ใช้ในการคลานเข้าไปตาม www เพื่อ index ข้อมูลนั้น ได้เข้าไปติดกับดักของเหล่าเครือข่าวเว๊บลามก อนาจร ที่มีอยู่ทั่วอินเตอร์เน็ต

และมันจะอยู่เป็นเครือข่าย ที่เหล่า Crawler นั้นหลุดเข้าไปแล้วจะออกไปสู่เว๊บไซต์ปรกติอื่น ๆ ได้ยากมาก ทีมจึงต้องมีการปรับแต่งตัว Web Crawler หลายครั้งเพื่อไม่ให้ไปเก็บข้อมูลขยะที่โปรแกรมการค้นหาไม่ต้องการ

ปัญหาเรื่อง Web Crawler ที่ Google นั้นได้พัฒนาไปไกลมากแล้ว
ปัญหาเรื่อง Web Crawler ที่ Google นั้นได้พัฒนาไปไกลมากแล้ว

ส่วนเรื่องความเร็วในการส่งผลการค้นหาไปยังผู้ใช้งานนั้น เป็นเรื่องที่ยากกว่า เพราะต้องได้ผลการค้นหารที่่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานด้วย ซึ่งการใช้ความเร็วในระดับ Millisecond แถมยังต้องจัดการกับคำร้องขออีกเป็นล้าน ๆ เครื่องจาก User นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ 

และสำหรับเหล่าผู้ใช้งานนั้น ดูเหมือนว่า ผู้คนไม่ได้ตัดสินคุณภาพของ Search Engine จากผลการค้นหาแบบธรรมดา แต่เป็นล้วนตัดสินใจจากการค้นหาแบบไม่ธรรมดาเสียมากกว่า เช่นการหาข้อมูลส่วนตัวของคู่เดทลงไป เพื่อใช้ในการเตรียมตัวออกเดท ซึ่ง หากพวกเขาเหล่านี้ไม่พบผลการค้นหา ก็มักจะย้ายไปยัง Search Engine ตัวอื่นทันที โดยเฉพาะ google 

ซึ่งแน่นอนว่า หาก Microsoft สร้างผลลัพธ์ที่พวกเขาต้องการไม่ได้ พวกเขาจะมุ่งหน้าไปยัง google แทนอย่างแน่นอน เพราะในขณะที่ Microsoft เพิ่งตั้งไข่โปรเจค Underdog ของตัวเองนั้น google ได้กลายเป็นคำติดปากคนทั่วไปที่ใช้ในการค้นหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เรียกได้ว่า เป็นงานที่หนักหน่วงมาก ๆ สำหรับ ยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ที่ต้องการเข้ามาในตลาดการค้นหา ซึ่ง google ได้นำหน้าไปไกลแล้ว เพราะไม่ใช่แค่เรื่องทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของความเข้าใจต่อผู้ใช้งาน ว่าพวกเขาต้องการอะไร และ Search Engine ต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดให้กับพวกเขาได้ ดูแล้วงานนี้น่าจะเป็นการประลองศึกทางด้านเทคโนโลยีที่สนุกที่สุดครั้งนึงเลยก็ว่าได้ระหว่าง Microsoft และ google จะเกิดอะไรขึ้นกับ Project Underdog จะไล่ตาม google ทันภายใน 6 เดือนอย่างที่ bill gates ว่าไว้หรือไม่? โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : Let the war begin!

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***