เมื่อคู่แค้นต้องร่วมมือสร้างระบบติดตาม Covid-19 ใน iOS และ Android

Apple และ Google ได้ประกาศสร้างระบบสำหรับติดตามการแพร่กระจายของ coronavirus ใหม่ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถแบ่งปันข้อมูลผ่านการส่งสัญญาณ Bluetooth Low Energy (BLE)

ระบบใหม่นี้ซึ่งจะใช้การสื่อสารผ่านเทคโนโลยี Bluetooth Low Energy เพื่อสร้างเครือข่ายการติดต่อ ตามความสมัครใจของการเก็บรักษาข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือที่ได้รับในบริเวณใกล้เคียงกับแต่ละอื่น ๆ 

โดยแอปอย่างเป็นทางการจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้และผู้ใช้ที่ดาวน์โหลดแอปไป พวกเขาสามารถรายงานผ่านแอปได้ หากพวกเขาได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งระบบจะทำการแจ้งเตือนผู้ที่ดาวน์โหลดแอปดังกล่าว ว่าพวกเขาอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือไม่

Apple และ Google จะปล่อยแอปทั้งใน iOS และ Android โดยจะทำการเปิด API ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าแอปของหน่วยงานด้านสุขภาพเหล่านี้สามารถใช้งานได้จริงและไม่มีข้อบกพร่อง โดยในช่วงแรกนี้ผู้ใช้จะยังคงต้องดาวน์โหลดแอปเพื่อเข้าร่วมในการติดตาม ซึ่งอาจจำกัดการนำไปใช้ อยู่ในวงจำกัด

แต่ในอีกไม่กี่เดือนหลังจาก API เสร็จสมบูรณ์ บริษัท จะสร้างฟังก์ชั่นการติดตามในระบบปฏิบัติการที่รองรับ ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ทุกคนสามารถใช้งานได้ทันที ด้วยโทรศัพท์ iOS หรือ Android โดยจะเป็นการฝังอยู่ในระบบปฏิบัติการ

การติดตามการแพร่เชื้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหาว่าใครเป็นผู้ติดเชื้อ และพยายามป้องกันไม่ให้ผู้อื่นติดไวรัส ถือเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่มีแนวโน้มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19

ประสิทธิภาพสูงสุดเพราะแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้ผ่านแพลตฟอร์มมือถือได้เลย
ประสิทธิภาพสูงสุดเพราะแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้ผ่านแพลตฟอร์มมือถือได้เลย

แต่การใช้เทคโนโลยีการเฝ้าระวัง ก็มีคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของมัน เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน ( American Civil Liberties Union )ได้ตั้งข้อกังวลเกี่ยวกับการติดตามผู้ใช้ด้วยข้อมูลโทรศัพท์โดยยืนยันว่าระบบใด ๆ จะต้องถูกจำกัด ในขอบเขต และหลีกเลี่ยงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ให้มากที่สุด

ต้องบอกว่าเทคโนโลนี้จะไม่เหมือนกับวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้ข้อมูล GPS โดยการใช้ Bluetooth นี้จะไม่มีการติดตามตำแหน่งทางกายภาพของผู้คน โดยทั่วไปจะรับสัญญาณของโทรศัพท์ที่อยู่ใกล้เคียงในช่วงเวลา 5 นาทีและเก็บการเชื่อมต่อระหว่างพวกเขาในฐานข้อมูล 

หากมีคนที่มีผล Positive กับ coronavirus พวกเขาสามารถแจ้งให้คนอื่น ๆ ทราบว่าโทรศัพท์ของคุณเข้าไปใกล้วเคียงกับผู้ที่ติดเชื้อเหล่านี้หรือไม่ในช่วงก่อนหน้านี้

ระบบยังใช้ขั้นตอนหลายขั้นตอนในการป้องกันไม่ให้รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มากเกินไป แม้ว่าพวกเขาจะแบ่งปันข้อมูลของพวกเขาออกไปก็ตามที

วิธีการยังคงมีจุดอ่อนที่อาจเกิดขึ้น ในพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น ที่สามารถตั้งค่าสถานะผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียงกันซึ่งไม่ได้มีการแชร์พื้นที่กับผู้ใช้จริงทำให้ผู้คนใกล้ชิดเหล่านี้เกิดความกังวลโดยไม่จำเป็นได้ 

นอกจากนี้ระบบดังกล่าวยังอาจไม่ครอบคลุมถึงความแตกต่างของระยะเวลาที่มีคนสัมผัสใกล้ชิดกัน การทำงานใกล้ชิดผู้ติดเชื้อตลอดทั้งวันจะทำให้คุณมีปริมาณไวรัสมากขึ้นกว่าการเดินไปตามถนนแล้วติดไวรัสผ่านผู้อื่นนั่นเอง

แน่นอนว่ามันเป็นโปรแกรมที่ค่อนข้างใหม่โดย Apple และ Google ยังคงคุยกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เกี่ยวกับวิธีการใช้งาน ระบบนี้อาจไม่สามารถแทนที่วิธีการติดตามผ่านผู้ติดต่อที่ล้าสมัยแบบเดิม ๆ เช่น การสัมภาษณ์ผู้ติดเชื้อว่าพวกเขาอยู่ที่ไหนและใช้เวลาไปกับใครบ้าง แต่มันสามารถช่วยเหลือวิธีการเดิม ๆ แบบนี้ได้ด้วยวิธีการที่ไฮเทค โดยใช้อุปกรณ์พื้นฐานที่มีคนใช้งานเป็นพันล้านอย่างมือถือนั่นเองครับ

ต้องบอกว่า เป็นการพัฒนาที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับการร่วมมือกันครั้งนี้ระหว่าง Apple และ Google ซึ่งนำเทคโนโลยี Bluetooth มาใช้ และ คอย tracking ว่าผู้ใช้งานใกล้ชิดกับใครมาบ้าง ผ่านระบบรักษาความปลอดภัยที่ค่อนข้างซับซ้อน

ซึ่งเทคโนโลยี นี้ ต่อไปนั้นอาจจะช่วยเหลือคนทั้งโลกได้เลยด้วย ซ้ำ เพราะมันเป็นการ Notification มาจาก Platform แบบทันทีทันใด หากมีผู้ป่วยที่มีการยืนยันการติด COVID-19 ซึ่งจะทำให้ ผู้ที่เข้าไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้ ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่าน Bluetooh แล้วนั้น

สามารถได้รับการแจ้งเตือนได้แบบทันที ว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ และให้สามารถไปกักกันตัวได้ทันที แทนที่การคาดเดา หรือการคอยสัมภาษณ์แบบเดิม ๆ ที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะตามตัวทุกคนที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่่ติดเชื้อมาได้นั่นเองครับ ถือเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ๆ ครับสำหรับเทคโนโลยีนี้

References : https://www.theverge.com/2020/4/10/21216484/google-apple-coronavirus-contract-tracing-bluetooth-location-tracking-data-app

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 11 : Glorious Failure

แม้สถานการณ์ในช่วงที่การแข่งขันด้านมือถือ smartphone กำลังขับเคี่ยวกันอย่างสนุก และ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว Steve Ballmer ได้ขึ้นมากุมบังเหียนใหญ่เป็น CEO ของ Microsoft อยู่ในขณะนั้น แต่ต้องบอกว่า Bill Gates ในฐานะประธานบริษัท ก็ยังคงมีบทบาทที่สำคัญในการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์แทบจะทั้งหมดของ Microsoft อยู่

ฟากฝั่ง Android จาก Google นั้นเริ่มต้นใหม่ด้วยแนวคิดแบบจอสัมผัส ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ Apple ประสบความสำเร็จกับ iPhone ซึ่ง Android ได้ทำการเปิดตัวมือถือรุ่นแรกคือ HTC G1 โดยเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2008 

HTC G1 มือถือ Android รุ่นแรกของ Google ที่ดูไม่มีแววว่าจะรุ่ง
HTC G1 มือถือ Android รุ่นแรกของ Google ที่ดูไม่มีแววว่าจะรุ่ง

มันแทบจะไม่มีอะไรพิเศษในแง่ของ Hardware แุถมยังมีแป้นพิมพ์แบบเลื่อนได้คล้าย ๆ มือถือของ Nokia ด้วยซ้ำ และความสามารถในการใช้จอแบบสัมผัสก็ดูต่างจาก iPhone ราวฟ้ากับเหว มันเหมือนรุ่น เบต้า ของ iPhone เสียมากกว่าที่จะมาเป็นคู่แข่งกับ iPhone

แม้จ๊อบส์ จะโมโหมากที่ Google มาทำ Android ออกมาเพื่อแข่งกับ iPhone เพราะตอนแรกทั้งสองเหมือนจะเป็น พาร์ทเนอร์กันมากกว่า แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองได้ขาดสะบั้นลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว Google ก็ต้องการที่ยืนในตลาด smartphone เช่นเดียวกัน ดีกว่าการไปผูกชะตาชีวิตไว้กับ iPhone ของ Apple ที่จะนำบริการของพวกเขาออกไปเมื่อไหร่ก็ได้

แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Android ที่ทำให้พวกเขาสามารถแจ้งเกิดได้สำเร็จในวงการมือถือโลก น่าจะมาจาก Samsung ที่ได้ลองเปลี่ยนจาก Symbian มาใช้ Android โดยรุ่นแรกที่ได้ใช้ชื่อตระกูล Samsung Galaxy คือรุ่น “Samsung I7500 Galaxy” ที่ได้ถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี 2009

โดยกลายเป็น smartphone รุ่นแรกของค่ายที่รันบนระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่น 1.5 (Cupcake) ซึ่งต่อมาทาง Samsung ยังคงพัฒนา smartphone ของตัวเองอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวสมาร์ทโฟนในตระกูล Galaxy รุ่นใหม่อย่าง Samsung Galaxy S

และช่วยให้ผู้คนเริ่มหันมามอง Android เพราะเริ่มมี Features ที่ดูคล้าย iPhone เข้าไปทุกที ในสนนราคาที่ต่ำกว่า และ Galaxy S ก็กลายเป็นมือถือที่ทำให้เห็นศักยภาพของ Android อย่างแท้จริงนั่นเอง

และความชัดเจนมันได้เริ่มเกิดขึ้นในไตรมาส 4 ของปี 2009 Android เริ่มเติบโตขึ้นทั่วโลก มีการขายโทรศัพท์ Android ไปได้กว่า 4 ล้านเครื่อง ซึ่งในขณะนั้นได้ขึ้นมาทาบรัศมีของ Windows Mobile ที่ยอดขายใกล้เคียงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดที่น่ากลัวมาก ๆ ของ Android ในช่วงนั้น

ในขณะที่ Android กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ฝั่ง Microsoft ก็ได้เริ่มตระหนักแล้วว่าสถานการณ์ของ Windows Mobile เริ่มจะมีปัญหาครั้งใหญ่ เหล่าผู้บริหารของ Microsoft เริ่มรู้ตัวว่า Windows Mobile นั้นไม่สามารถแข่งขันกับ smartphone รุ่นใหม่ ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone จอสัมผัส หรือ ระบบปฏิบัติการน้องใหม่อย่าง Android

จึงได้เริ่มมีความคิดที่จะสร้าง แพลตฟอร์ม มือถือใหม่ ที่เป็นจอสัมผัสบ้าง โดยจะใช้ code name ว่า “Windows Phone” ซึ่งจะมีการ Design Interface ของหน้าจอรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Metro” และหันมาใช้เทคโนโลยีของตัวเองในการสร้างระบบปฏิบัติการใหม่นี้ขึ้นมาแทน

Metro UI ของ Windows Phone ที่เหล่านักพัฒนาร้องยี้
Metro UI ของ Windows Phone ที่เหล่านักพัฒนาร้องยี้

และสถานการณ์ของ Nokia ที่แม้จะยังคงเป็นผู้ผลิตมือถือรายใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ แต่กราฟการเติบโตของพวกเขาเริ่มดิ่งลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในตลาด smartphone ที่ Symbian โดนแย่งชิงตลาดจากทั้ง Android และ iOS ของ Apple อย่างหนัก จนต้องมีการปลด CEO คนเก่าออกแล้วตั้ง Stephen Elop ที่เป็นอดีตลูกหม้อของ Microsoft ขึ้นมากุมบังเหียนแทน

ซึ่งสุดท้าย Elop ที่ด้วยความเป็นลูกหม้อเก่าของ Microsoft ก็ได้ตัดสินใจว่าจะร่วมวงกับ Microsoft ในการผลักดัน Windows Phone และรอให้ Windows Phone นั้นสมบูรณ์พร้อมซึ่งคาดว่าน่าจะภายในปี 2012

โดยทั้ง 2 บริษัทจะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone เป็นแพลทฟอร์มหลักของ smartphone ของ Nokia โดย Nokia จะอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการปรับแต่งฮาร์ดแวร์ การเลือกสรรซอฟต์แวร์ ภาษาที่รองรับและขีดความสามารถในการผลิตและการเข้าถึงตลาด

นอกจากนี้จะร่วมกันให้บริการเพื่อขับเคลื่อนสินค้าใหม่ ๆ เช่น Nokia Maps ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของบริการเด่นของ Microsoft อย่าง Bing และ AdCenter แอพพลิเคชั่นและคอนเทนท์ของ Nokia จะรวมเข้ากับ Microsoft Marketplace ด้วยเช่นกัน

แต่ดูเหมือนกลยุทธ์ดังกล่าว ก็ไม่ได้ทำให้ Nokia สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด จนสุดท้าย Microsoft ก็ได้เดินเกมเดิมพันครั้งสุดท้ายในตลาดมือถือ smartphone ด้วยการเข้า Take Over เอา Nokia มาครอบครองได้สำเร็จในช่วงปลายปี 2013 

แต่เนื่องด้วยความล่าช้า และการพัฒนาอย่างรวดเร็วของทั้ง android และ iOS ของ iPhone รวมถึงการที่ตัว Windows Phone ไม่ได้รับความสนใจจากเหล่านักพัฒนา App ให้มาสนใจ Windows Phone เลยด้วยซ้ำ และที่สำคัญด้วย UI ใหม่แบบ Metro นั้นทำให้เหล่านักพัฒนาแขยงที่จะร่วมวงด้วยเพราะมันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับ iOS และ Android ที่พวกเขาแทบจะต้องพัฒนาแอปต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่หมด

ทำให้ App ดี ๆ ที่คนใช้งานทั่วไปในทั้ง Android และ iOS ไม่มีการมาพัฒนาบนแพลตฟอร์มของ Windows Phone และมันก็ได้ทำให้ผู้ใช้งานแทบจะไม่สนใจ Windows Phone เลย จนท้ายที่สุด Windows Mobile ก็ต้องปิดฉากตัวเองไปจากวงการมือถือโลก อย่างที่เราได้เห็นจวบจนถึงปัจจุบันนั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 12 : Hit Refresh (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Smartphone War ตอนที่ 15 : The Winner Is

และในที่สุดการปฏิวัติวงการมือถือโลก ก็สามารถทำได้สำเร็จ ด้วยพลังของ iPhone ที่ได้มาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมนุษย์เราไปตลอดกาล โลกของเรายุคหลังการเกิดขึ้นของ iPhone นั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะข้อมูล ความรู้ ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ สามารถเข้าถึงได้ด้วยเพียงปลายนิ้วของเราเท่านั้น

Smartphone ได้นำพาชีวิตของมนุษย์เราก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้น เพื่อรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต รายละเอียดต่าง ๆ ในชีวิตของเรา เช่น เบอร์โทรศัพท์ของเพื่อน รูปภาพ ข้อความ หรือข้อความต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้ จะต้องอยู่ในโทรศัพท์เพียงเท่านั้นโดยบันทึกไว้ในหน่วยความจำของเครื่องโทรศัพท์ แต่ตอนนี้ข้อมูลทุกอย่างของเราถูกบันทึกไปอยู่บนระบบ Cloud แทบจะทั้งหมด

Smartphone ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของทุก ๆ อาชีพ ไม่ว่าจะเป็นเหล่าพนักงานขาย ที่สามารถโชว์สินค้าให้ลูกค้าได้เห็นทันทีผ่านมือถือ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าต่าง ๆ ก็สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อีกจำนวนมหาศาลผ่าน Ecommerce บนมือถือ เราสามารถเรียก Taxi มารับได้ถึงที่ด้วยเพียงปลายนิ้ว หรือ อาชีพอื่น ๆ อีกมากมายที่ smartphone ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเค้าเหล่านี้

และเมื่อประชาการในประเทศกำลังพัฒนาเริ่มสามารถเข้าถึง smartphone ก็ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น App ให้คำแนะนำทางการแพทย์ ข้อมูลการเงิน การธนาคาร การศึกษา ทุกอย่างสามารถเข้าถึงได้ผ่าน smartphone เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น

หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์ระดับโลกอย่าง Arab Spring ในช่วงปี 2011 มือถือ smartphone ก็ได้เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดผลกระทบต่อการเมือง สังคม ผ่านบริการเครือข่าย Social Network ต่าง ๆ ที่อยู่บนมือถือ smartphone เหล่านี้

และการเติบโตของ iPhone มากขึ้นในทุก ๆ ปีนั้น ส่งผลบวกต่อ Google ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะบริการต่าง ๆ ของ Google ที่อยู่บนมือถือนั้น ลูกค้ามักเลือกบริการของ Google ก่อนเสมอ ไมว่าจะเป็น Maps , Youtube หรือแม้กระทั่ง Google Docs

แต่มันเป็นข่าวร้ายสำหรับ Microsoft ซึ่งมีกำไรกว่าครึ่งมาจากการขาย PC ส่วนที่เหลือมาจากบริการ Software หลัก ๆ ของพวกเขาไม่ว่าจะเป็นชุด Microsoft Office หรือ Software Enterprise สำหรับองค์กร

และตลาดของ PC มันได้เริ่มถึงทางตันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะตอนนี้เป็นยุคของมือถือ และ smartphone จะกลายมาแทนที่ PC ในพื้นที่ห่างไกลกันดาร เพราะสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า รวมถึงการเกิดขึ้นของ มือถือ Android ราคาถูกจากจีน จะทำให้แย่งตลาดนี้ไปจาก Microsoft เป็นจำนวนมาก

และในด้านตลาดมือถือนั้น แม้สุดท้าย Microsoft จะ Take Over Nokia มาสำเร็จในช่วงปลายปี 2013  แต่ด้วยความล่าช้า รวมถึงไม่ได้รับความสนใจจากเหล่านักพัฒนา App ให้มาสนใจ Windows Phone ทำให้ App ดี ๆ ที่คนใช้งานทั่วไปในทั้ง Android และ iOS ไม่มาสร้างบน Windows Phone

Microsoft ที่ take over Nokia มาได้สำเร็จแต่ก็ไม่สามารถผลักดัน Windows Phone ได้สำเร็จอยู่ดี
Microsoft ที่ take over Nokia มาได้สำเร็จแต่ก็ไม่สามารถผลักดัน Windows Phone ได้สำเร็จอยู่ดี

แม้กระทั่ง App Facebook เองที่เป็น Social Network ยักษ์ใหญ่ และ Microsoft มีหุ้นอยู่ด้วยนั้น ก็ไม่ได้มาทำ Official App บน Windows Phone ทำให้ขาดแรงดึงดูดต่อลูกค้าผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ซึ่งสุดท้าย Windows Phone ก็ไม่สามารถสอดแทรกมาเป็นระบบปฏิบัติทางเลือกที่สามได้ และล่มสลายไปในที่สุดอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

ซึ่งเราอาจจะมองได้ว่า Android ของ Google กลายเป็นผู้ชนะในศึกสงคราม smartphone ครั้งนี้ เมื่อ Android ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มหลักบนอุปกรณ์มือถือถ้าเทียบในเรื่องปริมาณผู้ใช้งานในแพลตฟอร์ม

และที่สำคัญมันยังทำให้ Google ได้ครอบครองธุรกิจค้นหาบนมือถือ ซึ่งแม้ Google เองนั้นก็ไม่ได้สนใจว่าแพลตฟอร์มตัวไหนจะเป็นหลัก ตราบใดเท่าที่มีคนใช้ Search Engine ของ Google 

แต่เมื่อ Android กำลังรุดหน้าไปครองตลาดใหม่ ๆ ในทุก ๆ แห่งผ่านเหล่าผู้ผลิตมือถือยักษ์ใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะแบรนด์จีนที่ทำให้ smartphone ราคาถูกลงเป็นอย่างมาก แต่ Apple ก็จะไปแย่งชิงเอาลูกค้าที่ดีที่สุดไปเหมือนเคยในทุก ๆ ครั้ง

และด้วยการพัฒนาของมือถือ ที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สุดท้ายเราได้เห็น Features ต่าง ๆ ที่เมื่อก่อนยุค iPhone จะเกิดนั้นใครจะไปคาดคิดว่าเราจะใช้งานมือถืออย่างที่เราเห็นได้ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Maps , Voice Assistant อย่าง SIRI หรือ การ Streaming ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลง หนัง หรือแม้กระทั่งการใช้งานบน Cloud ที่ง่ายแสนง่ายอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน 

เราได้ใช้ Features ล้ำ ๆ ที่แทบจะเคยคาดคิดมาก่อนว่าจะใช้งานได้บนมือถือ
เราได้ใช้ Features ล้ำ ๆ ที่แทบจะเคยคาดคิดมาก่อนว่าจะใช้งานได้บนมือถือ

จะได้เห็นว่าหลังจากการเกิดขึ้นของ iPhone นั้นมันได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์บนโลกเราไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง คงไม่เกินเลยที่จะกล่าวได้ว่า iPhone ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีของโลกมนุษย์เรา นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 นั่นเองครับ

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ สงคราม Smartphone War จาก Blog Series ชุดนี้

สำหรับเรื่องราวการต่อสู้ในศึก Smartphone War จาก Series ชุดนี้เราได้เห็นถึงการต่อสู้ของ เหล่าผู้ที่ต้องการปฏิวัติวงการมือถือที่ย่ำอยู่กับที่มานานแสนนาน ทั้ง Apple หรือ Google เองนั้นต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจมือถือที่มันผิดที่ผิดทาง ให้อุตสาหกรรมมันสามารถเดินหน้าไปเหมือนอุตสาหกรรมอื่นๆ  ได้ด้วยนวัตกรรม

สิ่งแรกที่เราเห็นได้ชัดที่เป็นอุปสรรคขัดขวางของนวัตกรรมในธุรกิจมือถือ ก็คือเหล่าเครือข่ายมือถือที่มีอำนาจคอยควบคุมเส้นทางข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก และคิดหาเงินจากการเป็นทางผ่านข้อมูลของพวกเขา ทำให้เหล่าบริษัทมือถือยักษ์ใหญ่ในอดีตอย่าง Nokia แทบที่จะสยบอยู่แทบเท้าพวกเค้าเหล่านี้

ซึ่งต้องบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ควรจะพัฒนาไปตั้งนานแล้ว จากยุคก่อนที่ iPhone จะเกิดขึ้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตมันก้าวล้ำไปมากแล้ว แต่กับอุตสาหกรรมมือถือ มันเหมือนย้อนกลับไปในโลกยุคปี 90 ที่อินเทอร์เน็ตบนมือถือ มันได้กลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมาก ประสบการณ์ใช้งานเว๊บไซต์ที่ห่วยแตก จะเห็นได้ว่าอุปสรรคต่าง ๆ เหล่านี้ถูกพังทลายลงหลังจากการเกิดขึ้นของ iPhone แทบทั้งสิ้น

ซึ่งแน่นอนว่าโลกเราต้องขอบคุณสตีฟ จ๊อบส์ ที่ได้สรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์เราไปอย่างสิ้นเชิงอย่าง iPhone ขึ้นมา และต้องของคุณ Google ที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึง smartphone ได้ โดยไม่ลำบากในเรื่องภาระทางการเงินจนเกินไป และต้องขอบคุณ Microsoft ที่เข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ด้วย เพราะ เป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมามากมายเพื่อทำการฉีกหนีคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง Microsoft ให้ได้นั่นเอง

และเรื่องราวครั้งนี้มันยังเป็นการต่อสู้ทางกลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่มีการหักเหลี่ยมเฉือนคม ถึงกับต้องมีการฟ้องร้องในชั้นศาล เพื่อเป็นแต้มต่อในด้านธุรกิจ อย่างที่ Microsoft ทำได้สำเร็จ ซึ่งสุดท้าย ทั้งสามฝ่าย ทั้ง Apple , Google และ Microsoft ทุกบริษัทที่แข่งกัน ไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตามแต่สุดท้ายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมมือถือได้สำเร็จ ทุกบริษัทก็ได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการปฏิวัตินี้ไปในที่สุดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ซึ่งสุดท้ายมันก็ได้พาพวกเขาทั้งสามทะยานขึ้นเป็นบริษัทที่มีมูลค่าอันดับต้น ๆ ของโลก ( 2.Apple $309.5 billion, 3. Google $309 billion , 4. Microsoft $251.2 billion)  ซึ่งแน่นอนว่ามันมาจากการที่พวกเขามีส่วนร่วมไม่ทางใดก็ทางหนึ่งต่อสงครามในการปฏิวัติอุตสาหกรรมมือถือโลกในครั้งนี้นั่นเองครับ

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

Smartphone War ตอนที่ 14 : The Patent Fight

เกือบจะในทันทีที่ iPhone ได้ออกวางจำหน่ายในปี 2007 ทาง Nokia ก็ไม่รอช้าได้เริ่มฟ้องศาลในคดีละเมิดสิทธิบัตรหลายคดี โดยกล่าวหา Apple ว่าได้ทำการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ Nokia ในเรื่องที่เกี่ยวกับจอสัมผัส และส่วนประกอบอื่น ๆ อีกมากมายที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ iPhone

เนื่องด้วยเรื่องของสิทธิบัตร เดิมทีนั้น ตั้งมาเพื่อเป็นการป้องกันบริษัทต่าง ๆ ไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบหรือละเมิดการใช้งานสิ่งที่พวกเขาประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา แต่ในเรื่องเทคโนโลยีนั้น มันเต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยมากมายสำหรับการสร้างสิ่ง ๆ หนึ่งที่เป็นนวัตกรรมออกมา

ซึ่งตัวอย่างในธุรกิจมือถือนั้น มันมีส่วนประกอบต่าง ๆ มากมายที่จะมารวมกันให้กลายเป็นมือถือ 1 เครื่อง ทำให้ ไม่ว่าจะเป็น วิธีในการประหยัดแบตเตอรี่ การเชื่อมต่อสื่อสารให้ดีขึ้น เสารับสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง User Interface ที่ใช้งาน ก็สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ มันเป็นขอบเขตที่กว้างขวางอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร

ยิ่งเรื่องของ Software นั้นมันยิ่งเป็นเรื่องยากมาก ๆ สิทธิบัตรนั้นมักจะอยู่ที่กระกวนการสร้างสิ่ง ๆ หนึ่งขึ้นมา ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เกิดสิ่ง ๆ นั้น และแน่นอนว่าการสร้าง Software นั้นมันมีวิธีต่าง ๆ มากมายที่จะให้ผลลัพธ์เดียวกันได้

ซึ่งสิทธิบัตรของ Nokia ส่วนใหญ่นั้นจะเกี่ยวข้องกับ Hardware และ Process ต่าง ๆ ทาง Apple ก็พยายามต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสร้าง iPhone มาเลยด้วยซ้ำ และมันไม่ได้สร้างความแตกต่างให้ iPhone ขึ้นมายืนบนตลาดมือถือได้

แต่เพื่อไม่ให้เรื่องบานปลาย สุดท้าย Apple ก็ยอมจ่ายให้กับ Nokia โดยมีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ทั้งแบบเงินก้อน และ ลิขสิทธิ์แบบต่อเนื่อง แต่ตัวเลขไม่มีการเปิดเผยออกมา

และเหตุนี้เอง Apple จึงต้องใช้เรื่องสิทธิบัตรมาปกป้องตัวเองบ้าง โดยหลังจากเริ่มเห็น Android เริ่มเลียนแบบหลาย ๆ อย่างของ Apple ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็น Features Pinch-to-Zoom ซึ่งเป็นสิ่งที่ Apple คิดค้นมาเป็นเจ้าแรก ซึ่ง จ๊อบส์นั้นโมโหเป็นอย่างมากในเรื่องดังกล่าว

จ๊อบส์โมโหกับการที่ Android พยายามเลียนแบบ iPhone เป็นอย่างมาก
จ๊อบส์โมโหกับการที่ Android พยายามเลียนแบบ iPhone เป็นอย่างมาก

Apple เริ่มทำสงครามกับ Android ในเดือนมีนาคม 2010 เมื่อมีการฟ้องร้อง บริษัท HTC Corp ของไต้หวันที่มีการละเมิดสิทธิบัตร มากกว่า 20 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับส่วนติดต่อผู้ใช้และระบบปฏิบัติการ นอกเหนือจากคดีความของรัฐบาลกลางแล้ว Apple ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาอีกครั้งโดยเป้าหมายคือระบบปฏิบัติการ Android ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของ สมาร์ทโฟนของ HTC

คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศออกคำสั่งเมื่อปลายปี 2011 เพื่อให้อเมริกาหยุดการนำเข้า smartphone ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในรุ่น HTC – One X และ LTE 4G EVO โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั้งสองรุ่นไปยังสหรัฐอเมริกาถูกเลื่อนออกไป Apple ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนเพิ่มเติมอย่างน้อยสองเรื่องกับคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศซึ่งเรียกร้องให้มีการดำเนินการฉุกเฉินกับอุปกรณ์ HTC มากกว่า 25 รายการ

ส่วนฝั่งของ Microsoft ก็จดสิทธิบัตร Software ทุกอย่างที่ทำได้ และยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายที่ Microsoft ได้ไป take over มา และหลังจาก Windows Phone ดูท่าว่าสถานการณ์จะไม่ดีนัก และ Android กำลังตีปีกขยายตลาดอย่างรวดเร็ว

 Microsoft จึงตัดสินใจเริ่มฟ้องร้องโดยอ้างว่าโทรศัพท์มือถือ Android ได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของ Microsoft ในหลาย ๆ ส่วน

พอดึงเดือนตุลาคมปี 2011 Microsoft ได้ลงนามกับเหล่าผู้ผลิต Android หลายสิบราย เพื่อให้จ่ายค่าอนุญาตสิทธิการใช้งาน ซึ่ง มีรายงานข่าวว่า HTC ต้องจ่ายสูงถึง 5 ดอลลาร์ให้กับ Microsoft ต่อการขายมือถือ Android ในแต่ละเครื่อง รวมถึง Samsung ด้วย

ซึ่งมันได้เหมือนกลายเป็น Business Model ใหม่ของ Microsoft ในตลาดมือถือได้เลยด้วยซ้ำ เพราะราคาค่าลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows Phone ที่เดิม Microsoft หวังเป็นเรือธงนั้น ก็แทบจะไม่ต่างจากค่าอนุญาติสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรต่าง ๆ ของ Microsoft เลยด้วยซ้ำ

ยิ่ง Android จากบริษัทเหล่านี้ขายได้มากขึ้นเท่าไหร่ Microsoft ก็ยิ่งรวยขึ้น และแทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยด้วยซ้ำ เหมือนกับใน Windows Phone ที่มีการลงทุนไปมหาศาลแต่แทบจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย

Google ได้เรียกการฟ้องร้องของ Microsoft ในตลาด smartphone ว่าเป็นความล้มเหลวของ Microsoft ที่ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาสู้ได้ จึงใช้มาตรการทางกฏหมายเข้ามาช่วยเอากำไรจากการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาด smartphone จากผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ แต่ Microsoft ก็ไม่เคยแคร์ในเรื่องดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันที่ Windows Phone แทบจะสูญพันธุ์ไปแล้วแต่รายได้จากธุรกิจมือถือของ Microsoft ยังมีมากมายอยู่

Google ที่ดูเป็นรองจึงต้องหาวิธีบางอย่างมาสู้ จึงได้ไปเจรจากับ Motorola เพื่อคุยกันเรื่องความเป็นไปได้ในการซื้อบริษัทเพื่อนำสิทธิบัตรจำนวนมากที่ครอบคลุมฟังก์ชันสำคัญ ๆ ของ โทรศัพท์มือถือ ที่ Motorola ถืออยู่ 

หลังจากการเจรจากันอยู่นาน สุดท้าย Google ประกาศซื้อกิจการ Motorola Mobility ซึ่งรวมมูลค่าสูงถึง 1.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราว 3.75 แสนล้านบาท) ซึ่งนับว่าเป็นการซื้อกิจการที่ทาง Google ทุ่มเงินมากที่สุดในประวิติศาสตร์ของ Google เลยทีเดียว แต่มันเป็นทางเลือกไม่มากนักของ Google เพื่อที่จะปกป้อง Android

Google ทุ่มเต็มที่ในการซื้อ Motorola เพื่อปกป้อง Android
Google ทุ่มเต็มที่ในการซื้อ Motorola เพื่อปกป้อง Android

Google ไม่ได้ต้องการธุรกิจ Hardware ของ Motorola เลยด้วยซ้ำ ต้องการเพียงแค่สิทธิบัตรเท่านั้น แต่ก็ต้องทำเพื่อช่วยเหล่าผู้ผลิตมือถือที่ใช้ Android ไม่ว่าจะเป็น Samsung HTC เพื่อสู้กับการไล่ล่าทางกฏหมายจากทั้ง Apple และ Microsoft นั่นเอง

ซึ่งในเวลาเดียวกันนี่เอง ที่ Microsoft เริ่มเห็นว่า Android นั้นได้กลายเป็นโมเดลธุรกิจที่ดีกว่า Windows Phone ไปเสียแล้ว แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยด้วยซ้ำ ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องผลิต Hardware อยู่เฉย ๆ เพียงรอการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ Android ก็ทำให้ Microsoft ได้เงินกว่าหลายพันล้านเหรียญจากค่าสิทธิบัตรต่าง ๆ เหล่านี้ และนั่นแทบจะไม่มีรายจ่าย มันมีแต่รายรับ และเป็นกำไรเน้น ๆ ให้กับ Microsoft และสุดท้าย อาจเรียกได้ว่า การเก็บค่าสิทธิบัตรเหล่านี้มันได้กลายเป็น Passive Income ดี ๆ นี่เองสำหรับธุรกิจมือถือกับ Microsoft 

–> อ่านตอนที่ 15 : The Winner Is (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 11 : The Rise of Android

หลังจากการเกิดขึ้นของ iPhone และได้ทำลายเหล่ามาเฟียเครือข่ายให้ลดอำนาจลงไปอย่างมาก ทำให้วิวัฒนาการของธุรกิจมือถือนั้น ก็ได้พุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อนปี 2007 นั้น ตลาด smartphone เป็นตลาดที่เล็กมาก ๆ คนส่วนใหญ่ทั่วโลกใช้งานมือถือเพื่อ โทรเข้า-ออก และ ส่ง SMS เพียงเท่านั้น พวกเขาไม่ได้จินตนาการถึงโลกของ smartphone อยู่ในหัวเลยด้วยซ้ำ

ซึ่งหลังจากการเกิดขึ้นของ iPhone บรรดาผู้จัดจำหน่ายทั่วโลกก็ได้พยายามหาอะไรบางอย่างเพื่อมาแข่งกับ iPhone เพื่อไม่ให้ Apple ผูกขาดทุกอย่างมากเกินไป และ Android ก็เป็นหนึ่งในนั้น แม้จะต้องหักลำกลับมาพัฒนามือถือแบบจอสัมผัส ซึ่งแต่เดิมนั้นวาง Position ของตัวเองเป็นมือถือแบบมี คีย์บอร์ QWERTY ซึ่งก็ต้องเสียเวลาอยู่พอสมควรในการปรับกระบวนทัพใหม่

Android นั้นสร้าง Model ขึ้นมาคล้าย ๆ กับ Symbian ของ Nokia ที่เป็น Open Source เหมือนกัน แต่ผู้ผลิตมือถือต้องขอสิทธิ์บางอย่างในการลงบริการของตัวเองเช่น Google Service ของ Google หรือ Nokia Map ผ่านทาง Symbain

แต่ Android นั้นเริ่มต้นใหม่ด้วยแนวคิดแบบจอสัมผัส ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ Apple ประสบความสำเร็จกับ iPhone ซึ่งได้เปิดตัวรุ่นแรกคือ HTC G1 ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2008 

มันแทบจะไม่มีอะไรพิเศษในแง่ของ Hardware แุถมยังมีแป้นพิมพ์แบบเลื่อนได้คล้าย ๆ มือถือของ Nokia ด้วยซ้ำ และความสามารถในการใช้จอแบบสัมผัสก็ดูต่างจาก iPhone ราวฟ้ากับเหว มันเหมือนรุ่น เบต้า ของ iPhone เสียมากกว่าที่จะมาเป็นคู่แข่งกับ iPhone

HTC G1 มือถือรุ่นแรกของ Android ที่แทบจะสู้อะไร iPhone ไม่ได้เลย
HTC G1 มือถือรุ่นแรกของ Android ที่แทบจะสู้อะไร iPhone ไม่ได้เลย

แต่สิ่งสำคัญที่ Android มีคือ การผูกติดกับบริการของ Google อย่างแน่นหนา ไม่ว่าจะเป็น แผนที่ email Calendar ซึ่งพอจะช่วงชิงพื้นที่ของส่วนแบ่งการตลาดได้บ้าง

แม้จ๊อบส์ จะโมโหมากที่ Google มาทำ Android ออกมาเพื่อแข่งกับ iPhone เพราะตอนแรกทั้งสองเหมือนจะเป็น พาร์ทเนอร์กันมากกว่า แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองได้ขาดสะบั้นลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว Google ก็ต้องการที่ยืนในตลาด smartphone เช่นเดียวกัน ดีกว่าการไปผูกชะตาชีวิตไว้กับ iPhone ของ Apple ที่จะนำบริการของพวกเขาออกไปเมื่อไหร่ก็ได้

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Android บนวงการมือถือโลก น่าจะมาจาก Samsung ที่ได้ลองเปลี่ยนจาก Symbian มาใช้ Android โดยรุ่นแรกที่ได้ใช้ชื่อตระกูล Samsung Galaxy คือรุ่น “Samsung I7500 Galaxy” ที่ได้ถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี 2009

โดยกลายเป็น smartphone รุ่นแรกของค่ายที่รันบนระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่น 1.5 (Cupcake) ซึ่งต่อมาทาง Samsung ยังคงพัฒนา smartphone ของตัวเองอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวสมาร์ทโฟนในตระกูล Galaxy รุ่นใหม่อย่าง Samsung Galaxy S

ซึ่งในขณะนั้นทาง Samsung ได้วางการตลาดให้ smartphone ในตระกูลนี้เป็นรุ่นเรือธงของค่าย และเป็นการรุกตลาดสมาร์ทโฟนอย่างเต็มตัวของทาง Samsung และช่วยให้ผู้คนเริ่มหันมามอง Android เพราะเริ่มมี Features ที่ดูคล้าย iPhone เข้าไปทุกที ในราคาที่ต่ำกว่า และ Galaxy S เป็นมือถือที่ทำให้เห็นศักยภาพของ Android ที่แท้จริง ซึ่งทำให้ยอดขายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นมือถือเรือธงของ Samsung มาจวบจนถึงปัจจุบัน

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ Android แจ้งเกิดได้น่าจะมาจาก Samsung Galaxy S
จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ Android แจ้งเกิดได้น่าจะมาจาก Samsung Galaxy S

และความชัดเจนมันได้เริ่มเกิดขึ้นในไตรมาส 4 ของปี 2009 Android เริ่มเติบโตขึ้นทั่วโลก มีการขายโทรศัพท์ Android ไปได้กว่า 4 ล้านเครื่อง ซึ่งในขณะนั้นได้ขึ้นมาทาบรัศมีของ Windows Mobile ที่ยอดขายใกล้เคียงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดที่น่ากลัวมาก ๆ ของ Android ในช่วงขณะนั้น

และที่สำคัญ Android ได้กลายเป็นสินค้ายอดฮิตของประเทศจีน เพราะราคาถูกกว่า iPhone มาก และชนชั้นกลางที่เติบโตเพิ่มมากขึ้นของประเทศจีน ทำให้ผู้คนต่างอยากจะเปลี่ยนมาใช้ smartphone กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้ตลาดของ Android ยิ่งเติบโตขึ้นไปอีก

แม้ทาง Apple นั้นจะเน้นไปที่ตลาด Hi-End ที่เป็นส่วนของกำไรส่วนใหญ่ของตลาดมือถือ smartphone แต่ Android ได้เริ่มกินส่วนแบ่งการตลาดมาจากด้านล่าง ซึ่งถ้านับเป็นจำนวนนั้น เป็นตลาดที่ใหญ่มหาศาลเป็นอย่างมาก

ซึ่งหลังจากเห็นการประสบความสำเร็จของ Samsung จาก Galaxy S บรรดาผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ต่างเปลี่ยนแผนกันอย่างฉับพลันเพื่อย้ายไปสู่ Android ที่ดูมีอนาคตกว่า Symbian อย่างเห็นได้ชัด ทั้ง LG , Motorola , HTC เริ่มขายโทรศัพท์ Android หรือแม้กระทั่ง Sony เองก็ตาม ก็ยังต้องตามกระแสของ Android ไปด้วย

ซึ่งแน่นอนว่า ตอนนี้ตลาดของมือถือโลกได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว ตลาดบนนั้น iPhone คว้าไปครองแทบจะเบ็ดเสร็จ ส่วนตลาดจากล่างขึ้นมานั้น Android ก็ค่อย ๆ กัดกินตลาดเรื่อยมา สถานการณ์ของ Nokia ที่มี Symbian รวมถึง Microsoft ที่ยังยึดติดกับความสำเร็จของ Windows Mobile นั้น พวกเขาจะทำอย่างไรต่อไปกับตลาดมือถือ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 12 : The Fall of Windows (Mobile)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***