Geek Monday EP176 : Fake News กับการชนะเลือกตั้งของ Donald Trump ในปี 2016

Fake News หรือ ข่าวปลอม สามารถช่วยตัดสินผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ได้หรือไม่? เป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ เหล่าผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ได้เผยแพร่ข่าวของพรรคที่พวกเขาชอบอย่างบ้าคลั่ง มีการเผยแพร่ข้อความจำนวนมากในระหว่างการหาเสียง แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในประเทศเราในการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น

่ในอเมริกา ข้อความเหล่านี้จำนวนมากได้โจมตีผู้สมัครบางคนและบิดเบือนข้อเท็จจริงที่นำเสนอต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างร้ายแรง มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังมากมาย เกี่ยวกับข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งข้อความที่ถูกแชร์โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งระบุว่าเกือบครึ่งหนึ่งเป็นเนื้อหา WikiLeaks ที่ไม่ได้รับการยืนยันหรือแม้กระทั่งบางข่าวที่มีต้นกำเนิดมาจากรัสเซียเสียด้วยซ้ำ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3Vi5Q0O

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://bit.ly/40SXwpI

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3oX3Ij9

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://bit.ly/3ADz7cW

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/-MakSgRroMg

THESE ADS SUCK กับโน็ตเล็ก ๆ บนห้องครัวของ Larry Page ที่เปลี่ยนแปลง Google ไปตลอดกาล

ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 มีการแข่งขันด้านเทคโนโลยีที่กำลังจะเปลี่ยนโลกของการค้นหาข้อมูลไปตลอดกาล เป้าหมายคือการสร้างเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่เชื่อมต่อการค้นหาของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับโฆษณาที่ตรงเป้าหมาย

Overture เป็นหนึ่งในนั้นได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากนักธุรกิจชั้นยอด Bill Gross เป็นผู้บุกเบิกด้านการโฆษณาอินเทอร์เน็ตตัวจริงในวันที่โลกยังไม่รู้จักกับ Google

Gross เป็นคนแรกที่คิดค้นรูปแบบการโฆษณาแบบ Pay Per Click เขาได้เขียนโค้ด สร้าง Overture ให้เป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูซึ่งสร้างผลกำไรหลายร้อยล้านดอลลาร์ และสามารถทำ IPO จนธุรกิจมีมูลค่าเป็นพันล้านดอลลาร์

Bill Gross เป็นผู้บุกเบิกด้านการโฆษณาอินเทอร์เน็ตตัวจริง (CR:Wikipedia)
Bill Gross เป็นผู้บุกเบิกด้านการโฆษณาอินเทอร์เน็ตตัวจริง (CR:Wikipedia)

ไม่มีใครคาดคิดว่าบริษัทเล็ก ๆ ที่ชื่อ Google จะถือกำเนิดขึ้นมาแข่งขันในธุรกิจที่ทำเงินได้อย่างมหาศาลนี้ ในขณะนั้นนักศึกษาจาก stanford สองคนอย่าง Larry Page และ Sergey Brin กำลังสร้างเครื่องมือค้นหาขึ้นมาใหม่และต้องการท้าทายอำนาจของ Overture

แต่มันไม่ได้เป็นเรื่องง่าย พวกเขาประสบกับปัญหามากมายกับการสร้าง Search Engine โดยเฉพาะโมเดลที่จะทำเงินจากธุรกิจนี้อย่าง AdsWord

วันที่ 24 พฤษภาคม 2002 ในห้องครัวของ Google ที่ 2400 Bayshore Parkway ในเมาน์เทนวิว แคลิฟอร์เนีย Larry Page ได้ปักข้อความไว้ที่ผนังที่ประกอบด้วยคำสามคำ

“THESE ADS SUCK”

ต้องบอกว่าในโลกธุรกิจแบบดั้งเดิม มันไม่ใช่เรื่องปรกติที่จะทิ้งโน้ตแบบนี้ไว้ในห้องครัวของบริษัท แต่นั่นไม่ใช่กับบริษัทสตาร์ทอัพเล็ก ๆ อย่าง Google ที่กำลังก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา

ในวันที่ Page ปักโน้ตไว้ที่ผนังห้องครัว การแข่งขันของ Google กับ Overture เรียกได้ว่ายังห่างชั้นนัก Google ได้สร้างเครื่องมือที่เรียกว่า AdsWords แต่ตอนนั้นกำลังประสบปัญหาใใหญ่ในการทำงานพื้นฐานการจับคู่ข้อความค้นหากับโฆษณาที่เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณพิมพ์ค้นหารถจักรยานยนต์ Kawasaki H1B คุณจะได้รับโฆษณาจากนักกฎหมายที่เสนอความช่วยเหลือในการยื่นขอวีซ่าต่างประเทศ H-1B แทน

มันเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของ Google ซึ่งอาจจะทำลายทั้งบริษัทได้เลย หากไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้น Page จึงพิมพ์ตัวอย่างความล้มเหลวนี้ เขียนเป็นคำสามคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และปักหมุดไว้ที่กระดานข่าวในครัว จากนั้นเขาก็จากไป

Jeff Dean เป็นหนึ่งในคนที่อยู่ในออฟฟิสของ Google คนสุดท้ายในวันนั้น ซึ่งเขาก็มีงานส่วนตัวที่ยุ่งมากอยู่แล้ว แต่ในวันนั้น Dean ได้เดินไปที่ห้องครัวเพื่อทำคาปูชิโน่ และเห็นโน้ตของเพจ เขาพลิกดูโน้ตที่แนบมา และในขณะที่กำลังมองไปที่โน้ตใบนั้น ความคิดก็แล่นเข้ามาในหัวเขา

เขาคุ้นว่านี่เป็นปัญหาที่เขาเพิ่งเจอมาไม่นาน Dean ได้เดินกลับไปที่โต๊ะทำงานของเขา และเริ่มพยายามแก้ไขเครื่องมือ AdsWord เขาไม่ได้ขออนุญาตหรือบอกใครเลยด้วยซ้ำ เขาเพียงแค่เห็นมัน และแก้ไขปัญหาทันที

แม้เขาจะมีงานกองดองมากมายอยู่เต็มโต๊ะ แต่เขาอยากที่จะแก้ไขปัญหายาก ๆ ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะจัดการได้ โดยใช้เวลาหลายชั่วโมงในวันหยุดสุดสัปดาห์

Jeff Dean วิศวกรผู้ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาโดยแทบไม่ได้บอกใคร (CR:Quora)
Jeff Dean วิศวกรผู้ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาโดยแทบไม่ได้บอกใคร (CR:Quora)

ในคืนวันอาทิตย์เขามีนัดรับประทานอาหารเย็นกับครอบครัวและต้องพาลูกเล็ก ๆ ทั้งสองเข้านอน ประมาณ 21.00 น. เขาขับรถกลับไปที่สำนักงาน ทำคาปูชิโน่อีกแก้ว และหาโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาของ AdsWord ตลอดทั้งคืน

เวลา 05.05 น. ในเช้าวันจันทร์ เขาได้ส่งอีเมลสรุปข้อเสนอและวิธีการแก้ไข จากนั้นเขาก็ขับรถกลับบ้าน ขึ้นเตียงและนอน

มันได้ผล การแก้ไขของ Dean ช่วยปลดล็อกปัญหา โดยสามารถเพิ่มความแม่นยำของการค้นหาและจับคู่กับโฆษณา และมันได้ส่งผลต่อเนื่องในการปรับปรุงส่วนอื่น ๆ ที่ตามมาของ AdsWord

ไม่นานหลังจากนั้น Google ก็พลิกบริษัทเข้ามาครอบครองตลาดแบบ Pay Per Click ได้อย่างรวดเร็ว การแก้ไขเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ Dean คิดว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรที่มันยิ่งใหญ่เลย สร้างผลกำไรให้กับ Google เพิ่มขึ้นจาก 6 ล้านดอลลาร์ เป็น 99 ล้านดอลลาร์

ภายในปี 2014 เครื่องมือ AdsWord สร้างรายได้ 160 ล้านดอลลารต่อวัน และโฆษณาถือเป็นเครื่องจักรทำเงินหลักกว่า 90% ของรายได้ทั้งหมดของ Google

ในวันหนึ่งของปี 2013 Jonathan Rosenberg ที่ปรึกษาของ Google ได้ติดต่อ Dean เพื่อต้องการฟังเรื่องราวในเวอร์ชั่นของ Dean

แต่ Dean กลับจ้องไปที่ Rosenberg ด้วยสีหน้าที่ว่างเปล่า เขาแทบจะลืมมันไปแล้วด้วยซ้ำ มันไม่ใช่คำตอบที่ Rosenberg คาดหวังที่จะได้จาก Dean มันไม่ต่างอะไรกับการที่ Michael Jordan ลืมไปว่าเขาคว้าแชมป์ NBA ได้ 6 สมัย

“ผมหมายความว่า ผมจำได้ว่ามันเกิดขึ้น” Dean กล่าว “แต่พูดตามตรง มันไม่ได้อยู่ในความทรงจำของผมมากนัก เพราะมันไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่อะไรขนาดนั้น มันไม่ได้รู้สึกพิเศษหรือแตกต่าง มันเป็นเรื่องปรกติ เรื่องแบบนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาที่ Google”

มันเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจมาก ๆ นะครับของวัฒนธรรมองค์กรในแบบฉบับ Google เรื่องเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ มันเปลี่ยนโลก สำหรับ Google มันเปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้ และสามารถนำเงินทุนของพวกเขาไปสร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับผม

References :
เรียบเรียงจากหนังสือ The Culture Code: The Secrets of Highly Successful Groups โดย Daniel Coyle

แวนเทจ เปิดสอนหลักสูตรการเทรดสกุลเงิน ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

แวนเทจ (หรือ แวนเทจ มาร์เก็ตส์) โบรกเกอร์ซื้อขายสินทรัพย์หลากหลายประเภทสำหรับนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนมืออาชีพ ได้จัดทำการเรียนการสอนหลักสูตรการซื้อขายสกุลเงินเป็นหลักสูตรแรกที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

นักศึกษาที่ลงเรียนหลักสูตรนี้จะได้พัฒนาความรู้และทักษะทางด้านการเงิน ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในตลาดสกุลเงินได้ บนแพลตฟอร์มการเทรดของแวนเทจ หลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 6 วิชา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ หัวข้อตลาดสกุลเงินสำหรับนักลงทุนรายย่อย เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค การบริหารเงิน แนวคิดในการเทรด และการใช้งานเครื่องมือช่วยเทรดต่าง ๆ ในชีวิตจริง

ทุกวิชาใช้การเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา การใช้เกมและความบันเทิงเป็นตัวช่วยในการสอนเพื่อให้นักศึกษาสามารถจดจำได้ดีขึ้น ซึ่งนักศึกษาที่ผ่านหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตรจากแวนเทจและมหาวิทยาลัยนานาชาตแสตมฟอร์ดด้วย

หลักสูตรการซื้อขายสกุลเงินเป็นวิชาเลือกภายใต้ความร่วมมือระหว่างแวนเทจและมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หลังจากผ่านการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยแวนเทจจะมอบโอกาสการฝึกงานและสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษาให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย

แวนเทจได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน และมอบการสนับสนุนทางการศึกษาอื่น ๆ เช่น ทุนการศึกษา การฝึกเชิงปฏิบัติ การอบรม และการจัดสัมมนา

MOU ฉบับนี้เป็นการขยายความร่วมมือระหว่างแวนเทจและมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ก่อนหน้านี้ แวนเทจได้ออกแบบและมอบหลักสูตรความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดสกุลเงินต่างประเทศเพื่อช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจในตลาดที่แตกต่าง ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทรับหน้าที่เป็นวิทยากรรับเชิญและวิทยากรพิเศษให้กับมหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในด้านการจัดการทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง

“หลักสูตรของเราเรียนสนุกและสามารถนำไปใช้ได้จริง เป็นการรวบรวมความรู้ทฤษฎีพื้นฐานและทักษะการเทรดที่นักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ได้โดยง่าย หลักสูตรนี้จะช่วยสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้กับนักศึกษาที่มีความสนใจในการเทรดสกุลเงิน และเป็นหลักสูตรที่เปิดกว้างให้นักศึกษาที่ยังไม่มีประสบการณ์ด้านการซื้อขายได้ลงทะเบียนเรียนเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้

เนื้อหาในหลักสูตรประกอบด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อความผันผวนของสกุลเงิน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคเชิงลึกมากขึ้นอีกด้วย” คุณ ชาร์ลี วอล์กเกอร์ แอมบาสเดอร์ ESG ระดับโลกของแวนเทจ กล่าว

CHIP WAR ศัตรูของศัตรูคือมิตรกับเส้นทางการเติบโตในอุตสาหกรรมชิปของเกาหลีใต้

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงหลังสงครามของญี่ปุ่นให้กลายเป็นประเทศเจ้าตลาดของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ 

องค์กรธุรกิจของสหรัฐฯ ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ให้กับนักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายในวอชิงตันได้ทำการรับรองว่าบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Sony สามารถที่จะเข้ามาค้าขายในตลาดสหรัฐฯ ได้อย่างเสรี

จุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนประเทศญี่ปุ่นให้เป็นประเทศแห่งนายทุนประชาธิปไตยเริ่มทำงาน แต่ชาวอเมริกันบางคนถามว่ามันทำงานได้ดีเกินไปหรือไม่ กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพธุรกิจของญี่ปุ่นดูเหมือนจะบ่อนทำลายความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอเมริกาในท้ายที่สุด

นั่นเองที่ทำให้อเมริกาต้องมองหาทางเลือกใหม่โดยเล็งไปที่ประเทศอย่างเกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในเชิงบวกจากการไปตั้งฐานการผลิตชิปของอเมริกา

หากย้อนกลับไปยุคหลังสงครามโลก มันแทบจินตนาการไม่ออกเลยว่าเกาหลีใต้ในยุคนั้นสภาพแย่ขนาดไหน บ้านเมืองเต็มไปด้วยซากปรักหักพังจากสงคราม ผู้คนก็ไร้ซึงการศึกษา พวกเขาต้องเจอกับการยึดครองแบบกดขี่มาอย่างยาวนาน ไม่สามารถที่จะปลดแอกตัวเองออกมาได้

แต่ทว่าจุดเปลี่ยนก็คือหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้าไปมีบทบาท ซึ่งเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าไปช่วยเหลือประเทศไหนก็มีส่วนในการเข้าไปพัฒนาประเทศนั้นๆ ตามไปด้วย

Lee Byung-Chul ผู้ก่อตั้งซัมซุงซึ่งแต่เดิมทีทำธุรกิจเล็กๆ เป็นธุรกิจค้าของชำ ปลาแห้ง หรือแม้กระทั่งขายผักโดยเป็นการนำผลผลิตจากเกาหลีและส่งไปยังจีนตอนเหนือเพื่อป้อนให้กับเหล่าทหารญี่ปุ่นในช่วงยุคสงครามเกาหลี

เกาหลีเป็นประเทศที่ยากจนไม่มีอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีอะไรเลย แต่ Lee เองมีความฝันที่จะสร้างธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศของพวกเขา

Lee ได้เริ่มขยายธุรกิจหลังสงครามโดยที่ทำสิ่งต่างๆเพื่อผลประโยชน์ของประเทศทำให้เหล่านักการเมืองก็หันมาสนับสนุน Lee ในการผลักดันให้กิจการของเขาเติบโตขึ้น ขยายธุรกิจไปตั้งแต่การแปรรูปหนัง สิ่งทอ ปุ๋ย การก่อสร้าง การธนาคาร รวมถึงธุรกิจด้านประกันภัย

ซึ่งตอนนั้นเศรษฐกิจของเกาหลีก็เริ่มเฟื่องฟูในช่วงปี 1960 และปี 1970 แต่ Lee มีความฝันที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นต้องการที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยเขาได้เฝ้าดูบริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นโตชิบาและฟูจิตสึซึ่งครองตลาดชิป DRAM ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 และต้นทศวรรษที่ 1980

สถานการณ์ในเกาหลีใต้เองก็คล้ายๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นยุคสร้างชาติขึ้นมาใหม่ นั่นก็คือทางสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้ทุนสนับสนุนในการสร้างสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี ชาวเกาหลีจำนวนมากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐหรือได้รับการฝึกอบรมในเกาหลีโดยอาจารย์ที่มีการศึกษาในสหรัฐฯ

แม้ว่าการที่จะก้าวข้ามจากประเทศยากจนไปเป็นประเทศที่ใช้แรงงานทักษะสูงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่าการผลิตชิปเป็นเรื่องที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเป็นอย่างมาก แต่ว่า Lee เองก็ไม่เคยย่อท้อ

ในปี 1982 เขาได้ไปเยี่ยมชมโรงงานของ Hewlett Packard (HP) แล้วก็ประหลาดใจมากกับเทคโนโลยีของบริษัทซึ่งหาก HP สามารถเติบโตจากอู่ซ่อมรถไปสู่ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีได้ แน่นอนว่าร้านขายปลาและผักอย่างซัมซุงก็ สามารถทำได้เช่นกันเพราะว่าหากเข้าไปสู่อุตสาหกรรมชั้นสูงอย่างเซมิคอนดักเตอร์พวกเขาก็สามารถเปลี่ยนสภาพกลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงได้ เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น

Bill Hewlett and Dave Packard สร้าง HP ขึ้นมาจากโรงรถ (CR : Kid News)
Bill Hewlett and Dave Packard สร้าง HP ขึ้นมาจากโรงรถ (CR : Kid News)

การที่ฝันของ Lee จะเป็นจริงก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแน่นอนว่าเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ด้วยความที่มีคอนเนคชั่นที่ดีมากๆ กับหน่วยงานรัฐบาลอยู่แล้วทางรัฐบาลก็ยืนยันที่จะสนับสนุน Lee ในการเดิมพันในการผลิตชิปของซัมซุง และถือเป็นการเดิมพันในการสร้างชาติใหม่สู่ยุคความรุ่งเรืองอีกด้วย

สถานการณ์ของการแข่งขันธุรกิจชิปกับญี่ปุ่นทำให้อเมริกามองว่าเกาหลีน่าจะเป็นพันธมิตรที่มีศักยภาพมากๆ เพราะว่าพวกเขามีแรงงานที่ต้นทุนต่ำกว่าทางญี่ปุ่นด้วยซ้ำ ซึ่งในท้ายที่สุดเกาหลีก็อาจจะตัดราคาเหล่าผู้ผลิตชาวญี่ปุ่น

Intel เองก็เริ่มที่จะสนับสนุนให้ผู้ผลิต DRAM ของเกาหลีลุกขึ้นมาต่อสู้ซึ่งเป็นการนำโดยซัมซุงนั่นเอง โดยมีการสร้างกิจการร่วมค้ากับทางซัมซุงขายชิปที่ซัมซุงผลิตภายใต้แบรนด์ของ Intel และยังช่วยเหลืออุตสาหกรรมชิปของเกาหลีรวมถึงลดภัยคุกคามของญี่ปุ่นต่อซิลิคอนวัลเลย์

ในเรื่องต้นทุนที่เกาหลีได้เปรียบญี่ปุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นบริษัทเกาหลีอย่างซัมซุงก็มีโอกาสที่จะชนะในการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดได้

ฝั่งสหรัฐอเมริกาไม่ได้เป็นเพียงแค่ตลาดสำหรับชิป DRAM ของเกาหลีใต้เท่านั้นเพราะว่าผู้ผลิตในซิลิคอนวัลเลย์เองก็มีการส่งต่อเทคโนโลยีให้กับซัมซุงด้วย เพราะว่าตอนนั้นมีการแข่งขันจากญี่ปุ่นเอง ทำให้บริษัทอเมริกันส่วนใหญ่ใกล้จะล่มสลายเต็มทีจึงได้ถ่ายโอนเทคโนโลยีชั้นสูงไปยังเกาหลี

Lee จึงได้ออกใบอนุญาตการออกแบบสำหรับชิป 64K DRAM ของ Micron ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหน่วยความจำซึ่งตอนนั้นขาดเงินทุนเป็นอย่างมาก  ซึ่งมันเป็นทางลัดที่สำคัญมากๆของซัมซุงในการก้าวขึ้นมากลายเป็นมหาอำนาจทางด้านเซมิคอนดักเตอร์ แถมมันเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวของทางสหรัฐอเมริการวมถึงบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์

Micron ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหน่วยความจำซึ่งตอนนั้นขาดเงินทุนเป็นอย่างมาก (CR: MarketWatch)
Micron ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหน่วยความจำซึ่งตอนนั้นขาดเงินทุนเป็นอย่างมาก (CR: MarketWatch)

พวกเขายินดีที่จะร่วมงานกับบริษัทเกาหลีเพื่อช่วยตัดราคาคู่แข่งจากญี่ปุ่นและช่วยทำให้เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตชิปหน่วยความจำชั้นนำของโลก รวมถึงความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่นทำให้เกาหลีใต้ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ไปเต็ม ๆ

ทางวอชิงตันเองก็ขู่จะเก็บภาษีเพิ่มเติมจากบริษัทของญี่ปุ่น เว้นแต่ทางญี่ปุ่นจะยุติการทุ่มตลาดนั่นก็คือการขายชิป DRAM ราคาถูกในตลาดสหรัฐอเมริกา

ในปี 1986 ทางญี่ปุ่นก็ตกลงที่จะจำกัดการขายชิปไปยังสหรัฐฯ แล้วก็สัญญาว่าจะไม่ขายในราคาที่ต่ำซึ่งเป็นการเปิดช่องให้บริษัทเกาหลีขายชิป DRAM ได้มากขึ้นในราคาที่สูงขึ้น พร้อมการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเกาหลี

แม้ชาวอเมริกันจะไม่ได้ตั้งใจให้ข้อตกลงดังกล่าวเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเกาหลีแต่ว่าสุดท้ายแล้วพวกเขาก็รู้สึกดีมากกว่าที่ได้เห็นใครก็ตามที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นผลิตชิปที่พวกเขาต้องการ

ซึ่งตรรกะทั้งหมดทั้งมวลมันเป็นที่เข้าใจได้ง่ายมากๆ ดังที่ Jerry Sanders ผู้ก่อตั้ง AMD บริษัทชิปชั้นนำของโลกในปัจจุบัน ได้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนี้ไว้ว่า “ศัตรูของศัตรูก็คือมิตรของฉัน” นั่นเองครับผม

References :
เรียบเรียงจากหนังสือ Chip War: The Fight for the World’s Most Critical Technology โดย Chris Miller
https://knowledgegeekss.wordpress.com/2013/07/23/lee-byung-chul-founder-of-samsung-group/