Smartphone War ตอนที่ 12 : Fall of Windows (Mobile)

ในขณะที่ Android กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ฝั่ง Microsoft ก็ได้เริ่มตระหนักแล้วว่าสถานการณ์ของ Windows Mobile เริ่มจะมีปัญหาครั้งใหญ่ เหล่าผู้บริหารของ Microsoft เริ่มรู้ตัวว่า Windows Mobile นั้นไม่สามารถแข่งขันกับ smartphone รุ่นใหม่ ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone จอสัมผัส หรือ ระบบปฏิบัติการน้องใหม่อย่าง Android

จึงได้เริ่มมีความคิดที่จะสร้าง แพลตฟอร์ม มือถือใหม่ ที่เป็นจอสัมผัสบ้าง โดยจะใช้ code name ว่า “Windows Phone” ซึ่งจะมีการ Design Interface ของหน้าจอรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Metro” และหันมาใช้เทคโนโลยีของตัวเองในการสร้างระบบปฏิบัติการใหม่นี้ขึ้นมาแทน

Cingular ที่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น AT&T กำลัง แย่งชิงตลาดลูกค้าเครือข่ายมือถือ มาจากคู่แข่งอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพวกเขาเดิมพันตัวเองด้วย สัญญา Exclusive กับ iPhone ของ Apple ซึ่งค่ายอื่น ๆ ไม่มีสิทธิ์ในการขายนั่นเอง

แม้จะยังไม่ทิ้ง Windows Mobile เสียทีเดียว แต่ตอนนี้ Microsoft ต้องเริ่มแบ่งกำลังพลให้มาดูแลทั้ง Windows Mobile และ Windows Phone ที่เป็นระบบปฏิบัติการในอนาคตของบริษัท 

ซึ่งทุกคนที่อยู่นอก Microsoft ได้สร้างความคาดหวังไว้ค่อนข้างสูงกับ Microsoft ที่จะผงาดกลับคืนมาต่อสู่กับคู่แข่งหน้าใหม่อย่าง Apple และ Google แต่สถานการณ์ของ Windows Mobile ยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ ส่วนแบ่งการตลาดลดลงอย่างฮวบฮาบ จะแทบจะไม่มีที่ยืนในตลาดมือถือโลก

ในขณะที่ Windows Phone อยู่ในระหว่างการเร่งพัฒนานั้น Microsoft มี Project ที่ชื่อว่า Kin ออกตลาดมาเพื่อขัดตาทัพ ไม่ให้สูญเสียลูกค้าไปยัง Android และ iPhone ที่ตอนนี้ ดึงดูดคนเข้ามาใช้แพลตฟอร์มของพวกเขาเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการแย่งฐานลูกค้ามาจาก Windows Mobile โดยตรง

Kin ที่เป็น มือถือ ขัดตาทัพ นั้น เป็นแนวคิดของอุปกรณ์ที่ใช้ Cloud Solution แบบเต็มรูปแบบ โดยได้ออกมาในเดือนพฤษภาคม ปี 2010 แต่มันสวนทางกับตลาดในขณะนั้นอย่างชัดเจน เพราะ Kin นั้นไม่มีการติดตั้ง App จากนักพัฒนาภายนอก ไม่มี App Store ไม่มีเกม ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมากในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

และที่สำคัญมันต้องทำงานกับเครือข่าย Verizon ที่เป็นคู่แข่งกับ AT&T เท่านั้น ไม่มีแม้กระทั่ง App ปฏิทิน และไม่สามารถเชื่อกับ Outlook ของ Microsoft เองได้ด้วยซ้ำ มันเหมือนเป็นการเดินถอยหลังของมือถือชัด ๆ เป็นยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดเป็นอย่างมากของ Microsoft

ซึ่งแน่นอนว่า หลังจากวางจำหน่ายได้เพียง ไม่ถึง 2 เดือนนั้น Kin ก็ถึงจุดจบอย่างรวดเร็ว มันเป็นมือถือที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง Kin กลายเป็นอุปกรณ์ที่น่าเบื่อ เพราะแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย ไม่มี Features ที่ตลาดต้องการ และ แย่ที่สุดคือเรื่องของ Performance ของเครื่องที่ห่วยแตกสุด ๆ 

Kin ผลิตภัณฑ์ขัดตาทัพที่ล้มเหลวที่สุดครั้งนึงของ Microsoft
Kin ผลิตภัณฑ์ขัดตาทัพที่ล้มเหลวที่สุดครั้งนึงของ Microsoft

ตอนนี้ตลาดมือถือได้แข่งกันในเรื่องความรวดเร็ว ความล่าช้าของ Project Windows Phone ได้ทำให้เหล่านักพัฒนามือถือทั่วโลกย้ายไปพัฒนา App ให้กับ Android และ iPhone กันแทบจะทั้งหมด 

สถานการณ์ในตอนนั้น Microsoft ยังไม่มีผลิตภัณฑ์อะไรที่จะมาแข่งกับ iPhone และ Android Phone ได้เลย ซึ่ง Android กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างทวีคูณ แถมได้เหล่าวิศวกรระดับอัจฉริยะของ Google ที่ทุ่มสุดตัวในการพัฒนา Features ต่าง ๆ ให้ตอบรับกับตลาดมือถือที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ส่วนทางฝั่ง Nokia นั้น ภายในปี 2010 เริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามที่ร้ายแรงของ iPhone และ Android ที่กำลังมากัดกินตลาดของ Nokia มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนแบ่งของ Nokia ในตลาด smartphone ตกลงอย่างฮวบฮาบ ขณะที่ของ Apple และ Android พุ่งขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุด

จนในที่สุด ประธานบริหาร Nokia อย่าง Olli Pekka Callasvuo ถูกไล่ออกไปในที่สุด มันเป็นการปรับตัวที่ช้ามาก ๆ ของ Nokia ซึ่งแผนธุรกิจที่ดูซับซ้อนเข้าใจยาก และเน้นไปที่การชาร์จค่าบริการต่าง ๆ กับลูกค้า ซึ่งเป็นแนวทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่ Apple และ Google ทำ

และคนที่มาแทน Callasvuo คือ Stephen elop ที่เป็นอดีตผู้บริหารระดับสูงของ Microsoft ที่ต้องมาพา Nokia ที่สถานการณ์กำลังแย่ ให้กลับมายืนในตลาดมือถือโลกได้อีกครั้ง

และมันเหมือนเหตุบังเอิญ ที่ ขณะที่ Elop เข้ามาทำงานในฐานะผู้นำของ Nokia ฟากฝั่ง Microsoft ก็พัฒนา Windows Phone เสร็จสิ้นเสียที ตอนนั้นผู้บริหาร Microsoft มั่นใจมากว่า Windows Phone จะเป็นไม้เด็ดในการล้ม iPhone และ Android ได้สำเร็จ

Stephen Elop อดีตผู้บริหาร Microsoft ที่ต้องมาช่วยกูสถานการณ์ของ Nokia
Stephen Elop อดีตผู้บริหาร Microsoft ที่ต้องมาช่วยกูสถานการณ์ของ Nokia

สถานการณ์ในขณะนั้น เหล่าผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่มีชื่อเสียง เช่น HTC , Asus , LG ,Samsung ต่างตัดสินใจที่จะมาลุยในตลาด Android เพราะเริ่มหงุดหงิดกับความล่าช้าของ Microsoft และยังขาดความใส่ใจต่อ Windows Mobile ซึ่งกำลังจะถูก Microsoft ลอยแพ เพราะ ยอดขายเริ่มลดลงเรื่อย ๆ และที่สำคัญมันไม่สามารถที่จะมาสู้กับระบบปฏิบัติการใหม่ๆ  อย่าง iOS หรือ Android ได้เลย ซึ่งนั่นได้กลายเป็นจุดจบของ Windows Mobile ไปในที่สุดนั่นเอง

และ Elop นี่เอง ได้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Nokia และ Microsoft กับ Windows Phone อีกครั้ง เพราะทางเลือกตอนนั้นมีไม่มาก Symbian ก็ดูจะไม่รุ่งดูโบราณ เมื่อเทียบกับระบบปฏิบัติการอื่น ส่วนอีกระบบปฏิบัติการที่ Nokia แอบซุ่มพัฒนาอย่าง Meego แต่ก็ดูเหมือนว่า Meego ก็ยังไม่พร้อมจะสู้ศึก จึงยังไม่สามารถเป็นอนาคตของ Nokia ได้ แล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับศึก smartphone ครั้งนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 13 : Trojan Horse

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

นักวิจัยออสเตรเลียใช้ AI เพื่อป้องกันอาการหัวใจวาย

งานวิจัยเชิงประยุกต์ในโรงพยาบาล Westmead ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ได้รับเงิน 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากได้รับรางวัล Google.org AI Impact Challenge เพื่อพัฒนาโปรแกรมด้านสุขภาพโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อป้องกันอาการหัวใจวาย 

โปรแกรมสุขภาพที่ใช้ข้อมูลทางดิจิทัลนี้ใช้ข้อมูลดิจิทัลของผู้ป่วยที่บันทึกไว้ในเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น แอพในโทรศัพท์มือถือ และ Wearable Device และนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ร่วมกับ AI เพื่อให้คำแนะนำที่ปรับแต่งตามอาการของผู้ป่วยด้วยรูปแบบของข้อความ message และมีการประเมินความเสี่ยงที่แม่นยำสำหรับผู้ป่วย ที่มีอาการเจ็บหน้าอก

ซึ่งโซลูชันด้านสุขภาพรูปแบบใหม่นี้ จะถูกส่งมอบเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ Living Lab ที่ Westmead ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ 

Clare Chow ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจที่โรงพยาบาล Westmead และโรงเรียน Westmead Clinical School ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวว่าการมุ่งเน้นไปที่โปรแกรมในการป้องกันที่ปรับรูปแบบได้นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนการโจมตีจากอาการหัวใจวาย 

ใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในเทคโนโลยีต่าง ๆ มาวิเคราะห์ผ่าน AI
ใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในเทคโนโลยีต่าง ๆ มาวิเคราะห์ผ่าน AI

“อาการเจ็บหน้าอกเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสองของผู้ป่วยที่พบเจอในแผนกฉุกเฉินในออสเตรเลีย และอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งการตรวจติดตาม แต่เนิ่น ๆสามารถป้องกันผู้ป่วยที่กลับมาโรงพยาบาลด้วยอาการหัวใจวายได้

“การจัดการข้อมูลสุขภาพแบบดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI มีศักยภาพที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญในธุรกิจทางการด้านการแพทย์  เนื่องจากเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล และ แจ้งเตือน ในขณะที่พวกเขาดำเนินชีวิตประจำวันอยู่นั่นเอง

นอกเหนือจากการระดมทุนจาก Google แล้วนั้น ศูนย์วิจัยยังสามารถเข้าถึงผู้ให้คำปรึกษาจากบริษัท Google ซึ่ง Chow กล่าวว่าจะ “ช่วยเราในการแปลการวิจัยนี้เหล่านี้ให้กลายเป็นโปรแกรม หรือ Application ที่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด”

AI Impact Challenge ได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อ Google เปิดตัว AI สำหรับโครงการ Social Good เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญของบริษัท ไปช่วยเหลือโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ซึ่งความคิดริเริ่มดังกล่าวนี้เป็นความพยายามร่วมกันระหว่าง Google.org หน่วยงานการกุศลของบริษัท รวมถึงวิศวกรและนักวิจัยของ Google

References : 
https://www.zdnet.com/article/university-of-sydney-researchers-to-use-ai-to-help-prevent-heart-attacks/

Facebook แอบดักฟังการสนทนาของเราจริงหรือไม่?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า Facebook นั้นได้ทำการดักฟังบทสนทนาของผู้ใช้ ที่เป็นความลับจริงหรือไม่ หลังจากที่่บางครั้งเราแค่พูดแต่กลับมาโฆษณาในสิ่งที่เราพูดโผล่มาในหน้า Feed อย่างรวดเร็ว

ซึ่งล่าสุดได้มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวใหญ่อย่าง Bloomberg ว่า สื่อโซเชียลยักษ์ใหญ่แห่งนี้แอบบันทึกการสนทนาผ่านไมโครโฟนในโทรศัพท์ของผู้ใช้งาน

นั่นเป็นไปตามบริษัท Sub-Contract ของ Facebook ที่ได้มีการพูดคุยกับ  Bloomberg เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจาก Facebook  ซึ่งทางบริษัทได้กล่าวว่าพวกเขาได้รับเงินเพื่อฟังบทสนทนาที่หยาบคายเป็นครั้งคราวในหมู่ผู้ใช้งาน Facebook Messenger

แม้ว่าบริษัทจะไม่เคยอธิบายให้พวกเขาฟังว่าทำไมมันถึงต้องมีการถอดข้อความเสียงจาก Facebook  ซึ่งทาง Facebook ได้กล่าวกับ Bloomberg ว่าการแอบบันทึกเสียงเหล่านี้ เป็นการทำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยี speech-recognition artificial intelligence ของทาง Facebook เอง ซึ่งถือเป็นการยอมรับอย่างหนักใจว่า บริษัทได้ละเมิด ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานเป็นประจำ

Facebook บอกกับ Bloomberg ว่าจะหยุดโครงการลับเหล่านี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ในการพิจารณาคดีต่าง ๆ นานาในสภาคองเกรส CEO Mark Zuckerberg ยืนยันว่า Facebook เข้าถึงไมโครโฟนของผู้คนเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ใช้งานเท่านั้น เพื่อคุณสมบัติในบาง Features  เช่น การส่งข้อความเสียงเป็นต้น โดยตัว Zuckerberg ไม่เคยเปิดเผยว่า Facebook ได้ส่งข้อมูลเสียงเหล่านี้ไปยังบริษัท Sub-Contract ที่เป็นบริษัท third party แต่อย่าใด

ซึ่งชัดเจนว่ามันเป็นความแตกต่างกับข้อมูลที่ได้เปิดเผยจากทาง Facebook เอง ซึ่งสำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานว่า Facebook ไม่ได้กล่าวถึงการบันทึกเสียงของผู้ใช้งาน ในนโยบายการใช้ข้อมูลที่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับก่อนเข้าใช้งาน Facebook แต่อย่างใด

References : 
https://www.bloomberg.com