Geek China EP11 : China Internet Landscape and Digital Giants Part 6

EP11: 2009-2015 THE RISE OF CHINA INTERNET EMPIRE ยุคช่วงเวลาของมังกรในโลกอินเตอร์เน็ตผงาด

ในยุค 2009-2015 จะมาเล่าเรื่องการต่อสู้ เติบโต และการฟาดฟันในการขยายธุรกิจต่อจากยุคที่แล้วของบริษัท:

• SNS: Sohu, Netease, Sina
• BATJ: Baidu, Alibaba, Tencent, ‪JD.com‬
• Dianping, Qihoo 360, Youku&Tudou

นอกจากนี้ยังได้พบกับตัวละครใหม่ที่จะมาสะท้านวงการอินเตอร์เน็ตจีนอีกมากมาย อาทิเช่น

• Bilibili, 2009
• Meituan, 2010
• iQiyi, 2010
• Kuaishou, 2011
• Bytedance, 2012
• Xiaohongshu, 2013
• Pinduoduo, 2015

สำหรับใน EP 11 นี้ จะมาเล่าต่อกับเรื่องราวของ Sohu搜狐 (NASDAQ: SOHU) ในยุค 2009-2015 ที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นอาทิ การแยกดำเนินงานและก่อตั้งบริษัทลูกในธุรกิจ online games ที่ชื่อว่า Changyou 畅游 (NASDAQ:CYOU) และ ธุรกิจ search engine ที่ชื่อว่า Sogou搜狗 (NYSE:SOGO) และการเข้าถือหุ้นของ Tencent ใน Sogou

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3efZQA9

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/35TOmyv

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/jHSp_fOpSAk

References Image : https://archive.fortune.com/magazines/fortune/fortunefastestgrowing/2010/snapshots/12.html

One Man’s View กับมุมมองต่อประเทศไทย ของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งสิงค์โปร์

เพิ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนึงที่มีชื่อว่า One Man’s View of the World โดย Lee Kuan Yew (ลี กวน ยู) อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดมุมมองความคิดที่มีต่อประเทศไทยที่น่าสนใจ ที่ผมอยากจะมาสรุปให้ฟัง

การมาของ นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนไปอย่างถาวร ก่อนที่เขาจะเข้ามา การแข่งขันทางการเมืองทุกด้านและการปกครองส่วนใหญ่เพื่อผลประโยชน์ของเมืองหลวงของประเทศอย่างกรุงเทพเป็นหลัก

สิ่งที่ทักษิณทำนั้น ทำให้สถานะทางการเมืองของไทยแย่ลง โดยการที่เขาได้หันเหการพัฒนาไปยังส่วนที่ยากจนกว่าของทรัพยากรของประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลส่วนใหญ่มักจะมีนโยบายที่เน้นไปที่คนกรุงเทพฯ และชนชั้นกลาง 

ทักษิณเป็นแบรนด์การเมืองที่ครอบคลุมมากขึ้นทำให้ชาวนาจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีส่วนร่วมในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งก่อนที่เขาจะมาถึงนั้น นโยบายส่วนใหญ่ของรัฐบาลนั้นมักจะโฟกัสให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของรุ่นก่อนหน้า 

สิ่งที่เขาทำคือปลุกผู้คนให้ตื่นขึ้น และพยายามแสดงให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมของมัน และเสนอแนวทางแก้ไขเชิงนโยบาย ถ้าเขาไม่ทำเช่นนั้น ผม (ลี กวน ยู) เชื่อว่าก็จะมีคนอื่นเข้ามาทำเช่นเดียวกัน

เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ 2544 ทักษิณเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและเป็นมหาเศรษฐีอยู่แล้ว แต่ถ้ากลุ่มคนไทยที่ร่ำรวยหวังให้เขา (ทักษิณ) แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พวกเขาจะต้องผิดหวังอย่างมากในไม่ช้า 

เขาดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจนในชนบทในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เขาขยายเงินกู้ให้กับเกษตรกร ทุนการศึกษาในต่างประเทศให้กับนักเรียนจากครอบครัวในชนบท และที่อยู่อาศัยที่รัฐบาลอุดหนุนให้กับคนยากจนในเมือง ซึ่งหลายคนอพยพเข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ

อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผู้เปลี่ยนโฉมการเมืองไทยไปตลอดกาล
อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผู้เปลี่ยนโฉมการเมืองไทยไปตลอดกาล

แผนการรักษาพยาบาลของเขามุ่งเป้าไปที่ผู้ที่ไม่สามารถจ่ายค่าประกันสุขภาพของตนเองได้โดยให้ความคุ้มครองเพียง 30 บาท (ประมาณ US $ 1) ต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

สำหรับฝ่ายตรงข้ามของทักษิณ พวกเขาเสียผลประโยชน์อย่างชัดเจน และไม่เห็นด้วยกับนโยนบายของทักษิณ พวกเขาเรียกมันว่า ประชานิยม และอ้างว่านโยบายของทักษิณ จะทำให้รัฐล้มละลาย (น่าสังเกตว่านี่ไม่ได้หยุดพวกเขาจากการดำเนินนโยบายเหล่านี้ต่อไปและนำนโยบายอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันมาใช้เมื่อพวกเขากุมอำนาจตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ถึงสิงหาคม 2554)

พวกเขากล่าวหาว่านายก ทักษิณ คอร์รัปชั่น และสนับสนุนธุรกิจครอบครัวของเขา ข้อหาที่เขาปฏิเสธ พวกเขาไม่พอใจกับ บริษัท ของทักษิณ – บางคนบอกว่าทักษิณเป็นเผด็จการ – การจัดการสื่อและการทำสงครามขัดแย้งกับยาเสพติดทางตอนใต้ของประเทศ

ซึ่งในบางครั้งทำให้สิทธิมนุษยชนอาจถูกมองข้ามไป อย่างไรก็ตามชาวนาจำนวนมากไม่สนใจคำวิพากษ์วิจารณ์และเลือกเขาใหม่ในปี 2548 และในที่สุดชนชั้นนำในกรุงเทพฯก็ทนไม่ได้

ตั้งแต่นั้นมาเมืองหลวงของประเทศไทยก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ฉากแห่งความโกลาหลเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าบนท้องถนนในกรุงเทพฯตั้งแต่ปี 2551 โดยมีการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อเหลืองที่ต่อต้านทักษิณ และหลังจากนั้นก็ทำเช่นนั้นแบบเดียวกัน ในนามของคนเสื้อแดงซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ 

ปรากฏการณ์ม็อบบนท้องถนนในประเทศไทย ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า
ปรากฏการณ์ม็อบบนท้องถนนในประเทศไทย ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า

แต่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งซึ่งจัดขึ้นในปี 2554 ซึ่งส่งให้นางสาวยิ่งลักษณ์ น้องสาวของทักษิณได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการพิสูจน์ที่ชัดเจนของเขตเลือกตั้งของไทยในเส้นทางใหม่ที่ทักษิณเลือกสำหรับประเทศไทย

ชาวนาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อได้ลิ้มรสการเข้าถึงแหล่งทุนแล้วก็ไม่ยอมแพ้อีกต่อไป ทักษิณและพรรคพวกได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปถึง 5 ครั้งติดต่อกันในปี 2544 2548 2549 2550 และ 2554 สำหรับฝ่ายตรงข้ามของทักษิณที่พยายามต่อต้านทุกวิถีทางก็ไร้ผล

แม้จะมีการหมักหมมของปัญหาความแตกแยกในสังคมไทย แต่ก็มีสาเหตุของการมองโลกในแง่ดีในระยะยาว คนเสื้อแดงและกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณจะมีจำนวนมากกว่าคนเสื้อเหลืองไปอีกนาน เพราะกลุ่มหลังดึงมาจากเขตเลือกตั้งที่หดหาย คนรุ่นใหม่มีมุมมองที่นับถือราชวงศ์เริ่มน้อยลงไปแล้ว 

กองทัพมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการเมืองไทยมาโดยตลอด ได้ทำให้แน่ใจว่าไม่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านสถาบันกษัตริย์  อย่างไรก็ตามมันก็ไม่มีทางเลือกอื่นมากนักสำหรับประเทศไทย ที่นอกจากยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 

หลังจากที่ทุกคนไม่สามารถต่อต้านเจตจำนงของการเลือกตั้งที่ยืดเยื้อได้ เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ตำแหน่งต่าง ๆ จะเต็มไปด้วยทหารจากคนรุ่นใหม่ซึ่งไม่ค่อยมีความสนใจในสถาบันกษัตริย์ แต่เหล่าผู้นำทางทหารจะยังคงยืนยันในสิทธิพิเศษ และจะไม่พอใจกับการถูกลดตำแหน่งให้เป็นกองทัพธรรมดาเหมือนในประเทศอื่น ๆ

แต่พวกเขายังจะได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับรัฐบาลที่ประกอบด้วยพันธมิตรของทักษิณ อาจเป็นไปได้ที่กองทัพจะยอมรับการกลับประเทศไทยของทักษิณในที่สุด หากเขาสามารถสัญญาว่าจะอยู่ร่วมกับพวกเขาได้อย่างปรองดอง

แน่นอนว่า สถานการณ์ของไทยนั้น จะไม่สามารถย้อนกลับไปสู่การเมืองแบบเก่าของไทยได้อีกต่อไปแล้วในยุคก่อนทักษิณที่ชนชั้นนำในกรุงเทพมีอำนาจผูกขาด ประเทศไทยจะเดินต่อไปตามเส้นทางที่ทักษิณนำพาประเทศไปเป็นครั้งแรก ช่องว่างของมาตรฐานการครองชีพทั่วประเทศจะแคบลง ชาวนาจำนวนมากจะถูกยกขึ้นเป็นชนชั้นกลางและจะช่วยขับเคลื่อนการบริโภคภายในประเทศ ประเทศไทยจะทำได้ดีในท้ายที่สุด

ต้องขอออกตัวก่อนว่า หนังสือเล่มนี้ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งอาจจะไม่ได้อัพเดทสถานการณ์การเมืองมาจวบจนถึงปัจจุบันนัก แต่ก็เห็นภาพใหญ่ ที่เขามองประเทศไทย จากอดีตผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของสิงค์โปร์อย่าง ลี กวน ยู นั้นมองมายังประเทศเรา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ และน่าคิด เป็นอย่างยิ่งครับผม

References : หนังสือ One Man’s View of the World by Lee Kuan Yew
https://www.asiaone.com/singapore/lee-kuan-yews-world-views-new-book

Geek China EP10 : China Internet Landscape and Digital Giants Part 5

EP10: 2001 -2008 ช่วงยุคของอาณาจักรทางอินเตอร์เน็ตในประเทศจีนเริ่มแผ่ขยาย (ภาคต่อจาก EP8 และ EP9) 

นอกเหนือจากการสร้างและแผ่ขยายอาณาจักรอย่างดุเดือดของ SNS และ BAT ที่ได้เล่ากันไปแล้ว ยุคนี้เราจะได้พบกับการกำเนิดก่อตั้งของบริษัททางอินเตอร์เน็ตอื่น ๆที่สำคัญ ได้แก่
• Dianping (ยุคก่อนที่จะมีการรวมตัวกับ Meituan)
JD.com (NASDAQ: JD)
• Qihoo 360 (SHA: 601360)
• Tudou (ก่อนที่จะถูกรวมตัวกับ Youku)
• Youku (NYSE:YOKU) 

EP นี้ได้ สรุป Highlight ของ Internet Landscape และ Key Takeaways ที่เรียนรู้ ได้จากยุคนี้ รายละเอียดทั้งหมด ติดตามได้ใน EP 10

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3mDNqFn

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3kHNkw1

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/FyMePNiMPns

References Image : https://peregrination-vers-est.com/introduction-ultime-reseaux-sociaux-chine

Geek Life EP15 : 5 เคล็ดลับในการโปรโมตเลื่อนตำแหน่ง (ที่คุณไม่ต้องทำงานอย่างหนักเพียงอย่างเดียว)

ตลอดอาชีพการของใครหลาย ๆ คน มักจะเห็นเพื่อนร่วมงานโกรธเมื่อพวกเขาไม่ได้รับเลือกให้เลื่อนตำแหน่ง พวกเขาเชื่ออย่างแท้จริงว่าพวกเขาเป็นคนที่ดีที่สุดสำหรับงานนี้ ดังนั้นเมื่อ บริษัท จ้างคนภายนอกเข้ามาในตำแหน่งหรือที่แย่กว่านั้นคือเพื่อนร่วมงานของพวกเขาที่มีประสบการณ์น้อยกว่าจะได้งาน มันทำให้คนเหล่านี้โกรธและไม่พอใจอย่างมาก

และความผิดหวังส่วนใหญ่ส่งผลให้พวกเขาเหล่านี้ ลาออกจาก บริษัท ภายในเวลาอีกไม่นาน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3ebJHfo

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2TxmLh4

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/oxfFl183H0Y

See First ที่หายไป กับช่องทางสุดท้ายที่ไม่ Bias จาก Facebook

ต้องบอกว่าเป็นหนึ่งในการปรับปรุง Features ครั้งสำคัญของ Facebook เลยทีเดียวสำหรับการนำเอา function see first เมื่อเราเลือก Follow เพจ หรือ บุคคลใด ๆ ในระบบของ Facebook ที่เราต้องการจะเสพ Content ทุกอย่างของพวกเขาโดยไม่อ้างอิงจากความสนใจหรือพฤติกรรมใด ๆ ของเรา

ผมเริ่มเอะใจ ว่า content ในหลาย ๆ เพจที่ผมกด see first มันหายไปไหนมาซักระยะหนึ่ง เพราะปรกติจะเป็นคนที่ค่อนข้าง Balance เพจต่าง ๆ โดยเฉพาะพวกเพจที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ที่จะพยายาม see first ทั้งสองฝั่ง เพื่อให้ได้เห็นข้อมูลทั้งสองด้านอย่างครบถ้วน

ต้องบอกว่าเป็น function ที่ดีมาก ๆ ที่ผมชอบมากของ facebook แม้จะ see first ในจำนวนไม่ได้มากมายนัก แต่อย่างน้อย เราก็ได้รับข้อมูลทุกอย่างจริง ๆ จากเพจที่เรา see first รวมถึง หากเราเลือกเพจที่ content ถี่ ๆ เยอะ ๆ ก็จะพบว่าสิ่งที่ลดน้อยลงไปก็คือโฆษณาต่าง ๆ ที่มาแสดงนั่นเอง

แน่นอนว่า หากเราไม่ set เป็น see first นั้น จะแสดงเฉพาะเพจที่เรา engage ด้วยเยอะ ๆ ซึ่งบ้างครั้งจะได้ข้อมูลเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งเราจะเห็นการตีความเรื่องเดียวกัน ในหลาย ๆ ประเด็น จากเพจต่าง ๆ ที่ตีความแบบขั้วตรงข้ามเลยทีเดียว และพยายามหาหลักฐานมาสนับสนุนให้คนเชื่อ

ซึ่งหากเราหมกมุ่นอยู่กับ ข้อมูลด้านเดียวนั้นเรื่อย ๆ ทำให้ผม พบว่า หลายคนเชื่อจริง ๆ มีตัวอย่างที่น่าสนใจ ในเรื่องของน้องมายด์ ที่เป็นข่าว แล้ว ชูกระดาษเปล่า ๆ แต่มีการใส่ข้อความเท็จลงไป แล้วมีการอ้างหลักวิทยาศาสตร์ ในเรื่องการ invert รูปจากโปรแกรม แล้วพบว่ามีคนเชื่อเรื่องนี้เยอะมาก ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อมากจากพลัง Bias ข้อมูลจาก Facebook

หรือแม้กระทั่งเพจต่างประเทศต่าง ๆ ที่ผมสนใจก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Harvard Business Review , Business Insider , FastCompany ฯลฯ ทำให้ตอนนี้ไม่สามารถที่จะทำให้มัน See First ได้อีกต่อไปแล้วเช่นกัน ซึ่งรู้สึกเสียดายมาก ๆ กับ function นี้ของ facebook ที่ถูกตัดออกไป

ซึ่งตอนนี้ ผมพบว่า สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ เลือกได้เป็น follow แบบ Favorite เท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนกับ see first แต่คงเป็นการให้น้ำหนักมากกว่าเพจทั่วไปเพียงเท่านั้น ไม่ได้เห็นทุกโพสต์ เหมือน function เก่าอย่าง see first อีกต่อไปแล้ว

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจาก see first เป็น favorite
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจาก see first เป็น favorite

สิ่งแรกที่จะกระทบก็คือ Traffic จากคนที่ set see first นั้นจะหายไปทันทีในเพจต่าง ๆ ซึ่งอาจจะลดลงไม่มาก แต่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางของแฟนพันธุ์แท้จริง ๆที่เน้นการอ่าน ไม่ได้เน้นการ engagement ทำให้เสียช่องทางนี้ไป

แน่นอนว่าเป้าหมายหลักในการทำครั้งนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องการบังคับให้เพจมาลงโฆษณา เรียกได้ว่า facebook เป็นแพล็ตฟอร์มที่ลด Reach การเข้าถึงของเพจต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในทุกวิถีทาง ในวันนี้เพจระดับ 100,000 likes หรือ 1,000,000 likes ถ้า content ไม่เจ๋งจริง ก็คงจะอยู่ได้ยากมากยิ่งขึ้น จากความพยายามทุกวิถีทางในการสร้างรายได้ของ Facebook

และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องของ Bias Content ที่ผมพยายามเขียนในหลาย ๆ ครั้ง ที่ตอนนี้ Facebook ได้เป็นระบบที่ Feed Content ให้เราโดยขึ้นอยู่กับความสนใจ และ พฤติกรรมของเรา 100% อย่างสมบูรณ์แล้ว เราไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว ที่จะรับ Content จากข้อมูลหลาย ๆ ด้านอย่างที่ function see first เคยทำได้ นั่นเองครับผม

Credit Image : https://www.thehindubusinessline.com/info-tech/social-media/fb-users-need-1000-to-deactivate-account-for-one-year-study/article25787178.ece