Geek Daily EP136 : กฎระเบียบใหม่ในการหยุดการคุกคามนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพของบริษัท Big Tech

บริษัทเทคโนโลยีต้องเผชิญกับกฎระเบียบที่มากขึ้นเพื่อหยุดยั้งการเข้าซื้อกิจการของเหล่า ‘นักฆ่า’ (ซื้อมาแล้วฆ่าทิ้ง) ซึ่งสิ่งนี้อาจส่งผลกระทบต่อนวัตกรรมและการกระจุกตัวของตลาด ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่

ในอดีต หน่วยงานกำกับดูแลเหล่านี้ได้รับอำนาจให้ตรวจสอบข้อตกลงทางธุรกิจในขนาดที่แน่นอนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างคู่แข่งโดยตรงที่มีศักยภาพ คำตัดสินล่าสุดเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาตรวจสอบการซื้อเกือบทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานกำกับดูแลจึงมีเดิมพันที่สูงขึ้น การตัดสินใจที่ผิดพลาดอาจส่งผลต่ออนาคตของการแพทย์และอนาคตของชีวิตดิจิทัลของเรา

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3JaPmBC

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3JeCqL7

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3JaRAkB

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3JbFR5c

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/_-_g3J36x1c

อร่อยลงตัว “มาชิตะ” จับมือ “เชสเตอร์” เปิดตัวรสใหม่ “ข้าวไก่กรอบซอสน้ำปลา”ปลุกตลาดสาหร่ายครึ่งปีหลัง

“มาชิตะ” แบรนด์สาหร่ายทะเลอบกรอบยอดขายอันดับ 1 ตอกย้ำผู้นำกลยุทธ์ Partnership Marketing ปลุกตลาดสาหร่าย จับมือ “เชสเตอร์” (Chester’s) ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดสัญชาติไทย นำเมนูขายดีอันดับ 1 ของร้าน ผสานกับสาหร่ายทะเลอบกรอบ คุณภาพพรีเมี่ยม จากประเทศเกาหลี 100% สู่รสชาติใหม่“ข้าวไก่กรอบซอสน้ำปลา” เสิร์ฟความอร่อยสุขภาพดี แบบไม่ใส่ผงชูรส (No Monosodium Glutamate) สร้างความคึกคักให้ตลาดครึ่งปีหลัง

นายธิติพร ธรรมาภิมุขกุล Chief Marketing Officer บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สาหร่ายมาชิตะ ได้ใช้กลยุทธ์มีแนวทางการทำตลาดแบบ Partnership Marketing

โดยเฉพาะการร่วมกับร้านอาหารชั้นนำ เป็นที่รู้จักแก่ผู้บริโภคในวงกว้าง และมีเมนูยอดฮิตสไตล์เกาหลี นำมาผสมผสานเกิดเป็นรสชาติที่แปลกใหม่ อาทิ บอนชอน, ซูกิชิ,ทูดาริ, ฮะจิบังราเมน ฯลฯ ที่สอดคล้องกับจุดขายของมาชิตะ ซึ่งผลิตจากสาหร่ายพรีเมี่ยมจากเกาหลี 100% เพื่อสร้างสรรค์สินค้ารสชาติใหม่โดนใจกลุ่มผู้บริโภคแบบไม่ใส่ผงชูรส

สำหรับสาหร่ายทะเลอบกรอบสไตล์เกาหลีรสข้าวไก่กรอบซอสน้ำปลา ที่มาชิตะร่วม Collab กับร้านเชสเตอร์ เป็นสินค้าลิมิเต็ด อิดิชั่น วางจำหน่าย 3 เดือน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขา และจำหน่ายหน้าร้านเชสเตอร์ (Chester’s) ที่มีบริการมากกว่า 60 สาขา ทั่วประเทศ

การรุกทำตลาดของมาชิตะอย่างต่อเนื่องบริษัทฯ มีเป้าหมายจะรักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดสาหร่ายอบ ผลักดันตลาดสาหร่ายให้ขยายตัวเติบโตขึ้น

ที่สำคัญเป็นภารกิจของแบรนด์ ในการตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นสาหร่ายเกาหลี 100% หรือKorean Expert ทั้งคุณภาพสาหร่ายและกรรมวิธีการผลิตที่สร้างสรรค์ความอร่อยและความสนุกสนานผ่านรสชาติใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคไม่มีเบื่อ

ที่สำคัญช่วยผลักดันให้ “มาชิตะ” ประสบความสำเร็จด้านยอดขาย ด้วยการมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 19.3% (จาก 17.9%) จากตลาดรวมสาหร่ายมีมูลค่าประมาณ 2,146 ล้านบาท (เติบโต 9%)

Geek Daily EP135 : เมื่อชาวเน็ตหลักแสนแห่ลงชื่อเรียกร้องให้ INSTAGRAM หยุดความพยายามเป็น TIKTOK

ปัจจุบันแพลตฟอร์ม Social Meia ที่เป็นวีดีโอสั้นอย่าง TikTok กำลังมาแรง และนั้นก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ Meta บริษัทแม่เจ้าของ Facebook และ Instagram พยายามที่จะเลียนแบบเพื่อดึงผู้ใช้ให้อยู่กับพวกเขาต่อไป

ล่าสุดบน Change.org แพลตฟอร์มสำหรับยื่นแคมเปญรณรงค์รายใหญ่ที่สุดในโลก ก็ได้มีผู้ใช้เข้าไปตั้งแคมเปญ “MAKE INSTAGRAM INSTAGRAM AGAIN” เพื่อเรียกร้องให้ Meta ทำให้ Instagram กลับมาเป็น Instagram จริงๆ อีกครั้ง โดยที่แคมเปญตัวนี้ถูกสร้างขึ้นโดย Tati Bruening อินฟลูเอนเซอร์สายถ่ายภาพเจ้าของแอดเคาท์ IG @illumitati ที่อยากจะให้ Instagram กลับมาเป็นแพลตฟอร์มสำหรับแชร์รูปภาพอีกครั้ง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3PDFPFB

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3z6DwEg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3cIsFIN

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3PXseJe

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/9gknyDW6o-I

วิกฤตสุขภาพจิต เมื่อ Influencer เป็นตัวเลือกอาชีพสุด Cool อันดับหนึ่งของกลุ่มคนรุ่นใหม่

ในปัจจุบันถ้าใครได้มีโอกาสได้ดูรายการทีวี หลาย ๆ รายการ ที่มีแขกรับเชิญที่เป็นคนทั่วไป แล้วมีคำอธิบายว่าเขาหรือเธอผู้นั้นมีอาชีพอะไร จะสังเกตุเห็นเทรนด์ใหม่ที่มีคนที่ประกอบอาชีพเป็น Influencer โผล่มาเยอะมาก ๆ

จากข้อมูลการสำรวจในปี 2019 พบว่าเด็ก ๆ Generation ใหม่ ๆ นั้น อยากเป็น Youtuber มากกว่านักบินอวกาศเสียอีก มีคนหนุ่มสาวมากถึง 1.3 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ต้องการสร้างรายได้ด้วยการสร้างเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียของตนเอง

ต้องบอกว่ามันได้กลายเป็นตลาดที่ใหญ่มหึมา ซึ่งมีข้อมูลงานวิจัยที่คาดว่าตลาด Influencer ทั่วโลกนั้นจะมีมูลค่าประมาณ 13.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปี 2021 ที่ผ่านมา เหล่า Influencer ชั้นนำของวงการเช่น Zoella และ Deliciously Ella สร้างรายได้ประมาณ 4.7 ล้านปอนด์ และ 2.5 ล้านปอนด์ ตามลำดับ และมีผู้คนอีกกว่า 300,000 คน ที่อายุระหว่าง 18-26 ปี ใช้การสร้างคอนเทนต์บนเครือข่ายโซเชียลมีเดียของตนเองเป็นแหล่งรายได้หลัก

Deliciously Ella ที่เป็น Influencer ชั้นนำในสหราชอาณาจักร (CR:Daily Mail)
Deliciously Ella ที่เป็น Influencer ชั้นนำในสหราชอาณาจักร (CR:Daily Mail)

แต่ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ดูสวยหรูของเหล่า Influencer นั้น มีปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเหยียดเพศ เชื้อชาติ และปัญหาที่สำคัญในเรื่องสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นที่กำลังส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการยึดอาชีพดังกล่าวเป็นแหล่งช่องทางในการหาเลี้ยงชีพหลัก

เหล่า Influencer ที่ประสบความสำเร็จเป็นคนแรก ๆ มักอ้างว่าใครก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จเหมือนอย่างพวกเขาได้ มักมีคำพูดที่ว่า ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันในหนึ่งวัน แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถหล่อเลี้ยงชีพด้วยด้วยอาชีพนี้

ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย Brooke Erin Duffy ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับอาชีพของ blogger ด้านแฟชั่น หรือ ความงาม และกลุ่มนักออกแบบ

เธอได้เปิดเผยให้เห็นช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างกลุ่มคนที่ร่ำรวยในฐานะผู้มีอิทธิพลและคนอื่น ๆ ที่พยายามที่จะผลักดันตัวเองให้กลายเป็น Influencer ซึ่งส่วนใหญ่คนกลุ่มหลังมักจะได้รับงานแบบฟรี ๆ สำหรับงาน PR ขององค์กรต่าง ๆ เสียมากกว่า

รายงานในเดือนเมษายน 2022 คณะกรรมการด้านดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อและการกีฬา (DCMS) ของรัฐสภาอังกฤษระบุว่า ความเหลื่อมล้ำในการจ่ายเงินเป็นประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรม Influencer

มีช่องว่างในการจ่ายเงินที่มีการแบ่งแยกตามเพศ เชื้อชาติ และความทุพพลภาพ ซึ่งรายงานของ DCMS อ้างถึงการศึกษาในปี 2020 จาก MSL Group ซึ่งเป็นบริษัทประชาสัมพันธ์ระดับโลก ที่พบว่ามีช่องว่างของรายได้ระหว่างกลุ่ม Influencer ผิวขาวและผิวสี ที่แตกต่างกันถึง 35%

รวมถึงเรื่องปัญหาความเสี่ยงของการกำหนดระดับเพดานค่าจ้างก็ได้เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในอุตสาหกรรม Influencer เนื่องจากไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ชัดเจนนักและมีความโปร่งใสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เหล่า Influencer โดยเฉพาะกลุ่มหน้าใหม่มักจะถูกให้ประเมินมูลค่าของตนเอง และคนกลุ่มนี้มักจะประเมินค่าแรงการสร้างสรรค์ของตัวเองต่ำเกินไป และหลายคนก็จบลงด้วยการทำงานแบบฟรี ๆ

เมื่ออัลกอริธึมคือผู้สร้าง Influencer

เหล่า Influencer ส่วนใหญ่มักจะตกเป็นทาสของอัลกอริธึม ที่อยู่เบื้องหลังที่กำหนดว่าโพสต์ใดที่จะแสดงต่อผู้ใช้ แม้จะมีข้อมูลบางส่วนที่แพลตฟอร์มเปิดเผยออกมาว่าอัลกอริธึมของพวกเขาเป็นอย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้วอัลกอริธึมเหล่านี้ก็เป็นตัวกำหนดว่าใครและสิ่งใดที่จะมองเห็นได้ และจะเปลี่ยนแปลงเมื่อใดก็ได้

ซึ่งในการทำงานกับ Influencer บน Instagram ผู้เชี่ยวชาญด้านอัลกอริธึมอย่าง Kelley Cotter ได้เน้นย้ำว่าการแสวงหาอิทธิพลบนเครือข่ายโซเชียลมีเดียแห่งนี้ได้กลายเป็นเกมแห่งการสร้างการมองเห็นได้อย่างไร

เหล่า Influencer ส่วนใหญ่มักจะตกเป็นทาสของอัลกอริธึม (CR:Bonfire Media)
เหล่า Influencer ส่วนใหญ่มักจะตกเป็นทาสของอัลกอริธึม (CR:Bonfire Media)

เหล่า Influencer ต้องโต้ตอบกับแพลตฟอร์มและอัลกอริธึมของแพลตฟอร์ม ในรูปแบบที่พวกเขาหวังว่าจะได้รับการตอบแทนด้วยการเพิ่มการมองเห็น

และแน่นอนว่าภัยคุกคามจากการความไม่แน่นอนของอัลกอริธึมนี่เองที่เป็นสิ่งที่สร้างความไม่มั่นคงอย่างต่อเนื่องสำหรับเหล่า Influencer ซึ่งต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่องในการโพสต์ลงไปในฟีดของแพลตฟอร์มเพื่อสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดใจ

ซึ่งหากพวกเขาทำบางอย่างผิดพลาด พวกเขาอาจจะถูกลงโทษ อาจจะถูกแบน ลดการแสดงผล หรือซ่อนการแสดงผลไม่ให้ใครเห็นได้เลย นั่นทำให้อัลกอริธึมเปรียบดั่งพระเจ้าของเหล่า Influencer ทุกคน ที่มันสามารถที่จะตัดสินชะตาชีวิตของพวกเขาได้แบบทันทีทันใด

วิกฤตสุขภาพจิต

นั่นเองที่ทำให้กลายเป็นปัญหาใหญ่กับสังคม ด้วยสถานะที่ต้องออนไลน์อย่างต่อเนื่องเหมือนสิ่งเสพติดไม่มีผิดเพี้ยน นั่นเองที่นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิต

เหล่า Influencer สามารถออนไลน์ตลอดทั้งวันทั้งคืนเพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายของเขา และสำหรับหลาย ๆ คนมันแทบไม่มีการแยกระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวอีกต่อไป

และด้วยความกลัวที่จะถูกลดการมองเห็น นั่นทำให้เหล่า Influencer ต้องทำงานกันแบบ overload อยู่ตลอดเวลา และ เผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตตามมา

อัลกอริธึมที่โรคจิตของแพลตฟอร์มยังทำให้เหล่า content creator สร้างเนื้อหาที่มีความสุ่มเสี่ยงจะถูกล่วงละเมิดทางออนไลน์ได้เป็นอย่างมาก ทั้งในแง่รูปลักษณ์หรือสิ่งที่พวกเขาทำ ความ fake ของชีวิตที่ดูสวยหรู ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องถ่ายทอดออกมาแม้สภาพจิตใจจะสูญสิ้นก็ตามที

ทั้งหมดทั้งมวลนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตและร่างกาย ซึ่งรวมถึงภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย หรือแม้กระทั่งความผิดปกติของการกิน

บทสรุป

แม้ว่าการเป็นผู้มีอิทธิพลอาจจะดูน่าสนใจสำหรับผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ด้านมืดของอุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการเปิดเผยให้เห็นออกมา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะนำไปสู่การปรับปรุงให้ดีขึ้นผ่านกฎระเบียบต่าง ๆ ทั้งการจ้างงาน การต่อสู้กับแพลตฟอร์ม หรือ การลดปัญหาทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้ในอนาคตได้นั่นเองครับผม

References :
https://www.theguardian.com/us-news/2019/jan/08/instagram-influencers-psychology-social-media-anxiety
https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/1461444818815684
https://committees.parliament.uk/publications/22107/documents/164150/default
https://mslgroup.com/whats-new-at-msl/msl-study-reveals-racial-pay-gap-influencer-marketing

Geek Monday EP141 : กรณีศึกษากลยุทธ์ทางธุรกิจของ Sony จากยุครุ่งเรืองสู่ความตกต่ำด้วย MBA

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจของ Sony โดย Sir Howard Stringer ในปี 2005 คือการหมกมุ่นอยู่กับต้นทุน โดยก่อนหน้านี้ในยุครุ่งเรืองของ Morita จะโฟกัส 85% เกี่ยวกับนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ตลาด

Stringer ได้นำแนวทาง MBA ที่ “ทันสมัย” มาสู่ธุรกิจ Sony โดยที่ตัวเลขโดยเฉพาะการคาดการณ์ทางการเงินมาก่อน  มุ่งเน้นที่ชุดผลิตภัณฑ์ที่น้อยลงและเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่มีต้นทุนสูง ลดการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ วิธีการลดต้นทุน กระตือรือร้นในการลดต้นทุน และให้รางวัลในการประชุมและโบนัส ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นของหายนะ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3PJTpHu

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3cC8BrE

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3cE4LhO

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3RVz6IJ

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/M_kBMj1534E