สุขภาพจิตแย่จริงหรือ? ผลกระทบที่แท้จริงกับเวลาในการเสพติดหน้าจอมือถือของเด็ก

ต้องเรียกได้ว่ามีรายงานวิจัยออกมาเรื่อย ๆ สำหรับผลกระทบของเวลาที่ใช้กับสมาร์ทโฟนที่มีผลกระทบต่อเด็ก ๆ

กลุ่มที่มีชื่อว่า Smartphone-Free Childhood ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 60,000 คน ที่มาร่วมถกเถียงกันในเรื่องการหาวิธีการให้ลูก ๆ ของพวกเขาไม่ให้เข้าใกล้มือถือสมาร์ทโฟนที่พวกเขามองว่ามีพิษร้ายแรงต่อเด็ก

กลุ่มนี้ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ ไม่ใช่กลุ่มเดียวที่มีความกังวลกับผลกระทบของสมาร์ทโฟนกันเด็ก

เมื่อเดือนที่ผ่านมารัฐฟลอริดาได้ออกกฎหมายห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปีใช้โซเชียลมีเดีย ฟากฝั่งรัฐบาลอังกฤษก็กำลังพิจารณาห้ามไม่ให้ขายโทรศัพท์มือถือให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี

ต้องบอกว่าข้อกังวลเหล่านี้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในหนังสือเล่มใหม่ที่มีชื่อว่า “The Anxious Generation” ของ Jonathan Haidt ซึ่งกล่าวว่าสมาร์ทโฟนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่เข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟนนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงวัยเด็กไปในทิศทางที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ในการถกเถียงกันในหัวข้อดังกล่าวมีสองเรื่องที่ค่อนข้างชัดเจนมาก ๆ ก็คือ สมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนสำคัญของวัยเด็กไปแล้ว

ตามการวิจัยในประเทศอังกฤษเมื่ออายุได้ 12 ปี เด็กเกือบทุกคนจะมีโทรศัพท์มือถือ และเมื่อพวกเขาได้รับโทรศัพท์ไปแล้ว โซเชียลมีเดียจะเป็นสิ่งที่พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่บนหน้าจอ

จากการสำรวจของ Gallup วัยรุ่นชาวอเมริกันใช้เวลากับแอปโซเชียลมีเดียประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน Youtube , TikTok และ Instagram เป็นที่นิยมมากที่สุด ส่วน Facebook ที่เป็นเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่อันดับรั้งท้ายสำหรับกลุ่มวัยรุ่น

ส่วนที่สองก็คือ ส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว จะมีการเสื่อมถอยของสุขภาพจิตในหมู่เยาวชน

สัดส่วนของวัยรุ่นอเมริกันที่รายงานว่าตนเองมีภาวะซึมเศร้าอย่างหนักอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากกว่า 150%

โดยใน 17 ประเทศที่มีฐานะร่ำรวยหรือเป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจของอัตราการฆ่าตัวตายในหมู่วัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง

ต้องบอกว่าปรากกฎการณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงกันแทบจะทั้งสิ้น สุขภาพจิตของเด็กเริ่มตกต่ำลงพร้อม ๆ กับการเติบโตของสมาร์ทโฟนและแอปเครือข่ายโซเชียลมีเดียในช่วงทศวรรษ 2010

ในปี 2017 Roberto Mosquery จาก Unversidad de las Americas และเพื่อนร่วมงาน ให้กลุ่มทดลองที่เป็นผู้ใช้ facebook ในอเมริกาหยุดใช้แพลตฟอร์มนี้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ผู้ที่งดใช้ facebook รายงานพวกเขามีอารการซึมเศร้าน้อยลง และมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น แถมยังบริโภคข่าวสารน้อยลง

ในปี 2018 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและนิวยอร์กได้ทำการทดลองในลักษณะเดียวกันอีกครั้งโดยให้กลุ่มตัวอย่างในอเมริกาหยุดใช้ facebook เป็นเวลาหนึ่งเดือน

นั่นทำให้คนกลุ่มดังกล่าวรู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้น ใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์น้อยลง ใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อนมากขึ้น และมีความคิดเห็นทางการเมืองแบบสุดโต่งที่น้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม การทดลองแบบสุ่มดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่แล้วทำกับผู้ใหญ่ ซึ่งไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักที่น่ากังวล และส่วนใหญ่เน้นศึกษาไปที่ facebook เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันไม่ได้เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นอีกต่อไปแล้ว

และที่สำคัญความสัมพันธ์ของมนุษย์เราก็เครือข่ายโซเชียลมีเดียก็มีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะจำแนกมันง่าย ๆ เหมือนในอดีต

การทดลองของ Mosquery ที่พบว่า แม้คนจะบอกว่าเขามีความสุขมากขึ้นเมื่อไม่ได้ใช้ facebook แต่ยังไง facebook ก็ยังมีประโยชน์อีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกัน

หลังจากงดใช้งาน facebook เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ กลุ่มทดลองดังกล่าวกลับพบว่าพวกเขาประเมินคุณค่าของ facebook สูงขึ้นกว่าเดิมเสียอีก

การถามว่าโซเชียลมีเดีย ดีหรือไม่ดี ต่อสุขภาพจิตนั้นผิดตั้งแต่ต้นแล้ว Peter Etechells จากมหาวิทยาลัย Bath Spa ผู้แต่งหนังสือ “Unlocked” ซึ่งมีมุมมองที่เป็นกลางมากกว่าเกี่ยวกับเวลาในการใช้กับหน้าจอมือถือ กล่าวว่า คำถามที่น่าสนใจคือ “ทำไมบางคนจึงประสบความสำเร็จมากขึ้นจากการเสพสิ่งเหล่านี้?”

แล้วทำไมถึงต้องมีการห้ามเพียงแค่โซเชียลมีเดีย ทั้งที่มันมีอีกหลายสิ่งเช่นเกมอย่าง “Fornite” ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเด็ก ๆ ได้เช่นเดียวกัน

Dr. Gentzkow ผู้ที่สนับสนุนให้เพิ่มอายุขั้นต่ำสำหรับโซเชียลมีเดียบางแพลตฟอร์ม เตือนว่าไม่ควรที่จะจำกัดทั้งหมดในมาตรฐานเดียวกัน เพราะแอปโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในทางที่เป็นมุมบวกหรือมุมลบก็ได้

แม้ผู้เชี่ยวชาญจะพยายามเสนอแนะให้ควบคุมเครือข่ายโซเชียลมีเดีย แต่สถานการณ์ ณ ปัจจุบันต้องบอกว่า ผู้ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่กำลังทำสิ่งนั้นด้วยตนเอง

การโพสต์เกี่ยวกับตนเองต่อสาธารณะกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในปีที่แล้วมีเพียง 28% ของชาวอเมริกันที่บอกว่าชอบโชว์ชีวิตตนเองบนโลกออนไลน์ ลดลงจาก 40% ในปี 2020 ตามการสำรวจของบริษัทวิจัย

การสื่อสารในเครือข่ายโซเชียลมีเดียเหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงจากการเปิด publc แบบสาธารณะไปสู่การสนทนาแบบส่วนตัวมากยิ่งขึ้น บนเครือข่ายอย่าง Instagram ขณะนี้มีการแชร์ภาพผ่าน inbox message ส่วนตัวมากกว่าการโพสต์บนฟีดหลัก

ในขณะที่ผู้ใหญ่บางคนกำลังกลัวปัญหาของเครือข่ายโซเชียลมีเดียเหล่านี้ แต่คนรุ่นใหม่อาจจะก้าวข้ามสิ่งที่พวกเขากังวลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

บทสรุป

แม้จะมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบของการใช้สมาร์ทโฟนและเครือข่ายโซเชียลมีเดียต่อสุขภาพจิตของเด็ก แต่หลักฐานเชิงประจักษ์นั้นยังมีอยู่อย่างจำกัดมาก ๆ

การศึกษาส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นไปที่ผู้ใหญ่และแพลตฟอร์มเฉพาะอย่าง facebook มากกว่าแอปอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมมากกว่าในหมู่กลุ่มวัยรุ่น

ความสัมพันธ์ของมนุษย์เรากับสื่อสังคมออนไลน์ก็เริ่มมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ บางคนดูจะได้ประโยชน์จากมันในขณะที่บางคนก็ประสบกับปัญหา การแบนหรือบังคับห้ามใช้งานนั้นดูเหมือนมันจะไม่ใช่ทางออกของปัญหาในระยะยาว

เพราะตอนนี้มันเริ่มมีสัญญาณโดยเฉพาะจากกลุ่มคนรุ่นใหม่เองที่กำลังปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโซเชียลมีเดียเหล่านี้ที่หลาย ๆ คนมองว่าเป็นพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองครับผม

References :
https://www.economist.com/science-and-technology/2024/04/17/what-is-screen-times-doing-to-children
https://www.theguardian.com/technology/2024/feb/17/thousands-join-uk-parents-calling-for-smartphone-free-childhood
https://smartphonefreechildhood.co.uk/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube