สี่แสนแปดหมื่นล้านต่อปี กับรายได้ Passive Income ของ Apple iOS ที่ได้รับจาก Google

ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องราวที่สนใจที่สุดเรื่องนึงในแวดวงเทคโนโลยีโลก นั่นก็คือความสัมพันธ์ระหว่าง Apple และ Google ที่เป็นพี่ใหญ่ในวงการมือถือโลกผ่านแพล็ตฟอร์ม Android และ iOS และมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาอย่างยาวนาน

ในหนังสือชีวประวัติของ Steve Jobs ที่เขียนโดย Walter Isaccson นั้น Steve Jobs ได้กล่าวแม้กระทั่งว่า “ผมต้องการทำลาย Android เพราะมันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขโมย ไอเดียจาก iOS ของ Apple”

แต่ด้วยปรัชญาในเรื่องการดูแลแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกันออกไปอย่างชันเจน Android ที่เป็นระบบเปิดแบบเสรี ผู้ผลิตมือถือเจ้าไหนก็สามารถนำมันไปใช้ได้ เพียงแค่ใส่บริการของ Google Service เครื่องจักรทำเงินของพวกเขาเข้าไปเท่านั้น

ส่วน Apple เป็นระบบปิด มาตั้งแต่แรกอย่างชัดเจน และแคร์ในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นอย่างมาก การขยับปรับนโยบายแต่ละครั้งสะเทือนไปทั้งวงการ ตัวอย่างล่าสุดที่เกิดกับ Facebook ก็น่าจะรู้ว่า Apple นั้นมีอิทธิพลมากแค่ไหนในวงการมือถือโลก

แต่มันมีเรื่องนึง ที่ดูเหมือนไม่สมเหตุสมผล จากประวัติของบริษัททั้งคู่ ที่เป็นคู่รักคู่แค้นกันมาอย่างยาวนาน เมื่อ Apple นั้นทำเงินได้อย่างมากมายกับการที่แลกให้ Google เป็นเครื่องมือการค้นหาเริ่มต้นบน iPhone และ อุปกรณ์ iOS ทั้งหมด

มันเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ๆ กับความสัมพันธ์แบบสมประโยชน์ของทั้งคู่ในกรณีนี้ เนื่องจาก Google ได้จ่ายเงินให้ Apple มากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อให้ Google เป็นเครื่องมือการค้นหาเริ่มต้นนี้

หนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี!!! แน่นอนว่าคุณอ่านไม่ผิด มันเทียบกับเงินราว ๆ 320,000 ล้านบาทต่อปี ที่ Apple ได้เงินกินเปล่าแบบฟรี ๆ จาก Apple ในกรณีนี้

แม้หลายคนอาจจะคิดว่า ผู้ใช้ iPhone ส่วนใหญ่ก็น่าจะใช้ Google อยู่แล้ว มันเป็นเรื่องที่ดีกว่าหาก Apple รับเงินกินเปล่ามาแบบฟรี ๆ โดยไม่ได้กระทบกับการใช้งานของสาว Apple แต่อย่างใด

มีงานวิจัยที่ระบุว่า ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว ๆ 480,000 ล้านบาทในปี 2021 และเพิ่มเป็น 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022

รายได้จำนวนมหาศาลที่ Apple ได้รับจากการเป็นค่าตั้งต้นการค้นหาให้กับ Google (CR:AppleToolBox)
รายได้จำนวนมหาศาลที่ Apple ได้รับจากการเป็นค่าตั้งต้นการค้นหาให้กับ Google (CR:AppleToolBox)

ซึ่งแม้ว่า Apple จะไม่ได้แยกรายได้จากบริการต่างๆ ออกมาอย่างชัดเจนนักในงบการเงินของบริษัท แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ข้อตกลงกับ Google เป็นส่วนที่ทำกำไรได้มากที่สุดจากธุรกิจบริการของบริษัท เพราะมันแทบจะไม่มีต้นทุนเลยนั่นเอง

ซึ่งต้องบอกว่ารายได้จากธุรกิจบริการนั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของการเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ของ Apple ในยุค CEO อย่าง Tim Cook ที่สามารถสร้างรายได้จากธุรกิจบริการแบบพุ่งกระฉูด

และแน่นอนว่า มันก็ส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของ Apple เช่นเดียวกัน เพราะทำให้ลูกค้าของพวกเขานั้น สูญเสียความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่างชัดเจนไปให้กับ Google ซึ่งเปรียบเสมือนว่า Apple ก็ทำรายได้จากข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ผ่านเครือข่ายการค้นหาของ Google นั่นเอง

แต่ Apple ก็คงคิดถี่ถ้วนเป็นอย่างดีแล้ว เพราะ Google มันกลายเป็นบริการสามัญประจำเครื่อง ที่ทุกคนทั่วโลกใช้กันหมด และไม่มีคู่แข่งคนใดมาทาบรัศมีกับประสิทธิภาพการค้นหาของ Google ได้เลย

และเงิน กว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (สี่แสนแปดหมื่นล้านบาท) ก็เป็นตัวเลขไม่ใช่น้อยที่ Apple จะได้รับจาก Google ในปีนี้ และเป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้ที่สำคัญที่แทบจะไม่มีต้นทุน ซึ่งมันก็เปรียบเสมือน Passive Income ที่หลาย ๆ ธุรกิจต่างถวิลหา และ Apple ก็จะได้รับมันในทุกๆ ปีจาก Google นั่นเองครับผม

References : https://www.inc.com/jason-aten/why-apple-has-most-to-lose-from-googles-fight-with-justice-department.html
https://gizmodo.com/google-will-continue-to-pay-apple-billions-to-keep-you-1847564608
https://www.inc.com/jason-aten/apple-just-traded-your-privacy-for-15-billion.html
https://www.inc.com/jason-aten/one-number-explains-why-this-was-apples-most-impressive-quarter-ever.html

กลุ่มตอลิบานเอาชนะสงครามเหนือเทคโนโลยีสุดล้ำจากโลกตะวันตกได้อย่างไร

ต้องบอกว่าสงครามนั้นเป็นช่วงเวลาครั้งสำคัญของมนุษย์เราในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และผู้ชนะมักจะเป็นฝ่ายที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากที่สุดอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตัวอย่างเช่นในอัฟกานิสถาน

สงครามที่ยืดเยื้ออย่างยาวนานกว่า 20 ปี ผ่านเทคโนโลยีมามากมาย กลุ่มตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกานั้น นำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสงครามมาใช้รบในดินแดนแห่งนี้อย่างบ้าคลั่ง ไม่ว่าจะเป็นสงครามโดรน หรือเทคโนโลยีหุ่นยนต์สุดล้ำอื่น ๆ

ทุกอย่างเริ่มต้นในปี 2001 หลังเหตุการณ์ 9/11 ที่สหรัฐฯ นั้นเริ่มต้นด้วยการโจมตีทางอากาศด้วยเครื่องบิน B-52 ถล่มอัฟกานิสถานอย่างหนัก โดยเฉพาะฐานที่ตั้งของกลุ่มตอลีบาน ที่มองว่ามีความเกี่ยวข้องกับโอซามา บิน ลาเดน

กลุ่มตอลีบานเริ่มต้นด้วยอาวูธธรรมดา ๆ เช่น ปืน AK-47 แต่ปัจจุบัน พวกเขาไม่ได้ใช้เพียงแค่อาวุธที่มายิงถล่มใส่กันเพียงอย่างเดียวแล้วเท่านั้น อาวุธใหม่ที่สำคัญของพวกเขาก็คือ โทรศัพท์มือถือ และ อินเทอร์เน็ต

ไม่เพียงแค่นำมาใช้ในการสั่งการหรือควบคุมอาวุธเพียงเท่านั้น แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น พวกเขาใช้มันในการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ที่ทำให้พวกเขาสามารถเอาชนะในสงครามคร้งนี้ได้สำเร็จ

สำหรับกลุ่มตอลีบานแล้วนั้น พวกเขาได้เผชิญหน้ากับกองกำลังต่างชาติหลายแสนนายจากประเทศพันธมิตร NAT รวมถึงสหรัฐอเมริกาที่เป็นพี่ใหญ่ในสงครามดังกล่าว

พวกเขาต้องเผชิญกับอาวุธทุกรูปแบบ ทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศ ทำให้พวกเขาต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดอยู่ตลอดเวลา

ในขณะที่เครื่องมือการต่อสู้ของพวกเขาในช่วงแรก ๆ นั้นยังเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน อย่างปืน กระสุน วิทยุ และผ้าคลุมศรีษะ ทำให้พวกเขาต้องหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอื่น ๆ หรือ ต้องมีการพัฒนาขีดจำกัดของตนเองให้สูงขึ้น

ตัวอย่างสำคัญที่น่าสนใจก็คือ ระเบิดแสวงเครื่อง IED ซึ่งอาวุธเหล่านี้สามารถทำให้เหล่าทหารของพันธมิตร NATO และสหรัฐฯ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

ระเบิดแสวงเครื่อง IED ทำให้เหล่าทหารของพันธมิตร NATO และสหรัฐฯ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ระเบิดแสวงเครื่อง IED ทำให้เหล่าทหารของพันธมิตร NATO และสหรัฐฯ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

โดยระเบิดเหล่านี้มีวิวัฒนาการมาจากช่วงกลางของสงคราม และเทคโนโลยีทางด้านมือถือทำให้ กลุ่มตอลีบานสามารถใช้มือถือจุดระเบิดได้จากทุกที่ที่มีสัญญาณมือถือ เนื่องจากพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่ต่ำกว่าของกลุ่มตอลิบาน ทำให้พวกเขาต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมการต่อสู้ออกมาให้มากที่สุด

แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่แท้จริงของกลุ่มตอลีบานนั้นเกิดขึ้นในระดับยุทธศาสตร์ โดยอาศัยเครื่องมืออย่างโซเชียลมีเดีย ที่ตะวันตกเป็นคนคิดค้นขึ้นมา

ตั้งแต่ช่วงปี 1996 – 2001 นั้น กลุ่มตาลิบาน มักอาศัยอยู่อย่างสันโดษ และมีรูปถ่ายที่รู้จักเพียงรูปเดียวของผู้นำของพวกเขา คือ มุลเลาะห์ โอมาร์

แต่นับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 กลุ่มตอลิบาน ได้พัฒนาทีมประชาสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การโจมตีด้วย IED มักจะถูกบันทึกวีดีโอโดยโทรศัพท์มือถือ และ อัปโหลดไปยังฟีดของ Twitter ของกลุ่มตอลีบาน มันเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องมือของโลกตะวันตกแทบจะทั้งสิ้น

แน่นอนว่า มันเป็นการช่วยสรรหานักรบกลุ่มใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ การระดมทุน และสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับกลุ่มนักรบของพวกเขาอีกด้วย

แต่เมื่อเทียบกับกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ นั้นต้องบอกว่า เทคโนโลยีต่างกันแบบฟ้ากับเหว เพราะกองกำลังตะวันตกสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีระดับโลกได้อย่างหลากหลาย

ไม่ว่าจะเป็นระบบการตรวจจับจากอากาศยาน ไปจนถึงระบบที่สามารถสั่งการระยะไกล เช่น หุ่นยนต์และโดรน แต่เทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกมุ่งเน้นไปที่การลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บล้มตายของทหารฝ่ายพันธมิตรเสียมากกว่าการบุกตะลุยเพื่อสังหารกลุ่มนักรบของตอลีบาน

กองกำลังของชาติตะวันตกนั้นลงทุนอย่างหนักในอาวุธที่จะลดการสูญเสียของกองกำลังฝ่ายตน เช่น โดรน หรือ เทคโนโลยีที่สามารถช่วยเหลือการรักษาพยาบาลทหารที่ได้รับบาดเจ็บได้อย่างทันท่วงที

การโจมตีด้วยโดรนที่ช่วยลดการสูญเสียของกองกำลังพันธมิตร
การโจมตีด้วยโดรนที่ช่วยลดการสูญเสียของกองกำลังพันธมิตร

หรือสิ่งที่ป้องกันศัตรูจากระยะประชิด หรือ ปกป้องทหารจากอันตราย เช่น เรือรบ ชุดเกราะ ระบบการตรวจจับระเบิดบนท้องถนน

ซึ่งรัฐบาลอัฟกานิสถานเอง ก็ต้องอยู่ในจุดกึ่งกลางระหว่างกองกำลังทั้งสองฝ่าย รัฐบาลของอัฟกานิสถานเอง ก็ไม่ได้พัฒนากองกำลังของตนเองให้พร้อมที่จะสู้รบกับกลุ่มตอลิบานแต่อย่างใด

แน่นอนว่าพวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะสร้างหรือดำเนินการระบบการต่อสู้ขั้นสูงด้วยตัวของพวกเขาเอง ชาติตะวันตกก็ไม่ได้เต็มใจที่จะจัดหาอาวุธที่ล้ำสมัยให้กับชาวอัฟกัน โดยกลัวว่าอาวุธที่ให้ไปนั้น ท้ายที่สุดจะตกไปอยู่กับกลุ่มตอลีบานนั่นเอง

และที่สำคัญการทำงานร่วมกับสหรัฐฯ หมายความว่าอัฟกานิสถานไม่มีอิสระที่จะมองหาแหล่งทางเลือกอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับพวกเขา

เรื่องราวของตอลิบาน มันแสดงให้โลกได้เห็นว่า เทคโนโลยีมันไม่ใช่เครื่องมือที่รับประกันชัยชนะ แต่เพียงแค่อาวุธพื้นฐาน รวมถึงอุปกรณ์อย่างมือถือ และแรงผลักดันจากจิตวิญญาณที่พร้อมจะสู้อย่างอดทนของพวกเขาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

ซึ่งเมื่อเวลายิ่งผ่านพ้นไป เทคโนโลยีอาจไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดในชัยชนะของสงครามได้อีกต่อไป แต่นวัตกรรมอาจจะสามารถนำพาให้ประสบกับชัยชนะได้ โดยเฉพาะการต่อสู้กับกลุ่มคนที่ไม่มีอะไรจะเสีย เฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับกลุ่มตอลิบานที่เอาชนะสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จนั่นเองครับผม

References :
https://www.reuters.com/business/aerospace-defense/planes-guns-night-vision-goggles-talibans-new-us-made-war-chest-2021-08-19/
https://www.technologyreview.com/
https://www.trtworld.com/asia/un-in-afghanistan-says-us-drone-strike-killed-15-civilians-195569
https://world.time.com/2013/01/02/afghanistans-ied-complex-inside-the-taliban-bomb-making-industry/
https://news.yahoo.com/taliban-spoils-war-us-weapons-215700305.html

Geek Monday EP100 : Facebook กับบริการสินเชื่อ สู่เส้นทางกลยุทธ์ Super App อันดับหนึ่งตัวจริง

Facebook กำลังมองหาการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในอินเดียในการให้เงินกู้ยืมเพื่อขยายธุรกิจ โดยร่วมมือกับ Indifi แพลตฟอร์มสินเชื่อออนไลน์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการกับปัญหาสำคัญบางประการที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญ

เงินกู้มีตั้งแต่ 500,000 รูปีอินเดีย (6,720 ดอลลาร์) ถึง 50,00,000 รูปีอินเดีย (67,200 ดอลลาร์) ในอัตราดอกเบี้ย 17% ถึง 20% ต่อปี สามารถรับเงินกู้ได้ภายในสามวันทำการเมื่อได้รับอนุมัติและการสมัครสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านทางออนไลน์

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2WvVlwH

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/tfeO4SZPwYY

Series Review : Clickbait คลิกล่อตาย มินิซีรีส์สืบสวนสอบสวนที่แกงซ้อนแกงคนดู

เป็นซีรีส์ ที่มีเรื่องราวน่าสนใจเลยทีเดียวนะครับ สำหรับ ซีรีส์ ที่เป็น original ใหม่จาก Netflix อย่าง Clickbait คลิกล่อตาย ที่นำเรื่องราวอาชญากรรมบนโลกออนไลน์มาถ่ายทอดได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว

เรื่องราวที่ว่าด้วย นิก บรูว์เออร์ สามีและคุณพ่อของลูกชาย 2 คน เขาน่าจะมีครอบครัวที่ดีแต่แล้วเช้าวันหนึ่งเขาก็หายตัวไป พร้อมกับปรากฏตัวในคลิปไวรัลที่มีภาพตัวเขาถูกซ้อมและชูป้ายที่มีข้อความว่า เขาเคยทำร้ายและฆ่าผู้หญิง

และที่สำคัญหากยอดวิวคลิปนี้ถึง 5 ล้านครั้ง เขาจะถูกฆ่าตาย ซึ่งทำให้เกิดปริศนาถาโถมใส่ครอบครัวของนิก รวมถึง เพีย น้องสาวของนิกที่ยังคงศรัทธาในตัวพี่ชายและออกตามหาความจริงให้ถึงที่สุดเพื่อช่วยพี่ชายของเธอให้ได้

อย่างที่กล่าวไปว่า จุดที่น่าสนใจของ ซีรีส์เรื่องนี้คือ การนำเอาประเด็นเรื่องออนไลน์ มาเป็นจุดขาย แต่เอาจริง ๆ มันก็เป็นหนังสืบสวนสอบสวน ตามล่าหาฆาตกรธรรมดา ๆ นี่แหละครับ แค่ สร้างจุดประเด็กเรื่องยอดวิว 5 ล้านให้น่าสนใจ

เพราะหากดูจากเนื้อเรื่องหลัก ประเด็น 5 ล้านวิว นี่แทบจะไม่ได้ส่งผลต่อเรื่องราวทั้งหมดแต่อย่างใด คิดว่ามันเป็นการพาดหัวให้ดู Clickbait เหมือนชื่อเรื่องของซีรีส์นั่นแหละ

แผนจริง ๆ ของผม กำลังตามเก็บ มินิซีรีส์ของ Harlan Coben อยู่ แต่มีเรื่องนี้ ที่เรียกได้ว่า พาดหัวเรื่องได้น่าสนใจตามชื่อเรื่องเลยขอลองสลับมาดูหน่อย

โดยแต่ละตอนของ Clickbait ก็จะตั้งชื่อตอนตามชื่อตัวละครแต่ละตัว และเล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของตัวละครนั้น ๆ ซึ่งเหมือนกับ Gone for Good ที่ผมเคยรีวิวไปแล้วมาก ๆ เหมือน copy กันมาเลยด้วยซ้ำ

ต้องบอกว่า ซีรีส์ชุดนี้ เล่าความ conflict ของตัวละครไว้น่าสนใจหลายแง่มุม ทั้งเรื่อง เพศสภาพ การเหยียดผิว หรือ โรคทางจิตเวช และการตีแผ่วงการสื่อ ที่เอามาผสมผสานกันได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว

แต่ด้วยเส้นเรื่องที่มันก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ แนวค่อย ๆ คลายปมของเรื่องราวไปเรื่อย ๆ ทำให้เราเดาได้ยากว่าฆาตรกรจริง ๆ นั้นคือใคร เหมือนจะเฉลยแล้ว แต่ก็มีเรื่องที่นำพาไปสู่ฆาตรกรตัวจริงในตอนท้ายสุดอยู่ดี เรียกได้ว่า ก็ถือว่าได้ลุ้นพอตัวอยู่เหมือนกัน

ถามว่าบทสรุปเซอร์ไพรส์มั๊ย? ก็ต้องบอกว่าเดาได้ยากอยู่ เรียกได้ว่าแกงซ้อนแกงคนดูไปตลอดทาง และให้เราได้คิดอยู่ตลอดเวลาว่า ตกลงตัวเอกของเรื่องอย่าง นิก นั้นเป็นดี หรือคนไม่ดีกันแน่

แต่สิ่งที่ขัดใจ ก็คือ ตอนจบนี่แหละ เหมือนปูทุกอย่างมาดีมาก ๆ แล้ว แต่การเฉลยของเรื่องมันดูไม่ค่อยสมบูรณ์แบบเท่าที่ควร ชั้นเชิงในการเล่าเรื่องผมชอบของฝั่ง harlan Coben มากกว่า ทั้ง Gone for Good หรือ The Woods ที่ดูน่าสนใจกว่า และจบได้ดีกว่าเยอะมาก

สรุป ตามชื่อเรื่องเลยครับ Clickbait เป็นการดึงให้ผมเข้าไปดูตามชื่อของซีรีส์ แต่ถ้าถามว่าประทับใจไหม ก็ถือว่าดูได้ไม่ได้ผิดหวัง ความเห็นส่วนตัว ถ้าเทียบกับ ซีรีส์ของ Harlan Coben นั้นผมว่ายังห่างชั้นอยู่มากครับผม

Geek China EP28 : Baidu Overseas Expansion during 2009-2015

ไป่ตู้เริ่มมีการลงทุนขยายอาณาจักรไปยังต่างประเทศหลังจากประสบความสำเร็จในธุรกิจ search engine ในประเทศจีนแต่ตรรกะของการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศของไป่ตู้คือการเลือกประเทศที่พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ตช้ากว่าจีน

ทั้งใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกาใต้ โดยเลือกมาประมาณ 5-6 ประเทศ ซึ่งก็ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย บราซิล และประเทศไทย เป็นต้น

แล้วการขยายธุรกิจในไทยของไป่ตู้ประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3t1Y5y3

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/B9_5T8pHXTw