Geek Daily EP74 : วิกฤตขาดแคลนชิป ปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจมองข้าม ที่กำลังสะเทือนเศรษฐกิจโลก

Apple เตือนว่าจะไม่สามารถผลิต iPads และ Mac ได้เพียงพอต่อความต้องการเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกทำให้การผลิตหยุดชะงัก รวมถึงในบริษัท รถยนต์รายใหญ่เกือบทุกแห่งตั้งแต่ Ford ไปจนถึง VW

การขาดเซมิคอนดักเตอร์ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้พวกเขาต้องลดการผลิตและถึงกับปิดโรงงานทั้งหมดเนื่องจากขาดชิ้นส่วนที่จำเป็น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3xBMUxZ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/KX-0S3BpGeo

Geek Daily EP73 : บทเรียนจาก Youyang Gu นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลระดับซูเปอร์สตาร์ของการระบาด COVID-19

Youyang Gu ใช้เวลา 1 สัปดาห์ในการสร้าง Model การทำนายการเสียชีวิตจาก COVID-19 ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning และเปิดตัวของเขาเว็บไซต์ เขาได้โพสต์การคาดการณ์การเสียชีวิตจากโควิด -19 ใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา 34 มณฑลและ 71 ประเทศ ในทุก ๆ วัน

และในช่วงปลายเดือนเมษายน ปี 2020 เขาก็ได้รับความสนใจ ซึ่งในที่สุดผู้คนนับล้านเข้ามาดูข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของเขาทุกวัน  โดย Carl Bergstrom ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้สังเกตเห็นและแสดงความคิดเห็นใน Twitter ว่าแบบจำลองของ Gu คือ “การคาดการณ์ที่ดูเหมือนดีที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา”

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3e4zMts

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/jbRXIs0A49I

โลกกำลังจะเปลี่ยนไป เมื่อ AI กำลังจะมีประสาทสัมผัสที่เหมือนมนุษย์

ในช่วงปลายปี 2012 นักวิทยาศาสตร์ AI ได้ค้นพบวิธีทำให้เทคโนโลยีอย่าง Neural Network สามารถที่จะมองเห็นได้เป็นครั้งแรก พวกเขาพิสูจน์แล้วว่าซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อเลียนแบบสมองของมนุษย์อย่างหลวม ๆ สามารถปรับปรุงระบบการมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ได้อย่างมาก 

แต่ในขณะที่ AI เติบโตขึ้นอย่างน่าทึ่งเหมือนมนุษย์ แม้มันจะดูเหมือนเป็นยอดมนุษย์ในการทำภารกิจบางอย่าง แต่มันก็ยังไม่สามารถสร้างความยืดหยุ่นของสมองเหมือนกับมนุษย์ได้ 

แน่นอนว่าเราสามารถเรียนรู้ทักษะในบริบทหนึ่งและนำไปใช้กับอีกบริบทหนึ่งได้ ในทางตรงกันข้ามแม้ว่า AlphaGo อัลกอริทึมการเล่นเกมของ DeepMind จะสามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญ Go ที่ดีที่สุดในโลกได้

AlphaGo อัลกอริทึมการเล่นเกมของ DeepMind จะสามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญ Go ที่ดีที่สุดในโลกได้
AlphaGo อัลกอริทึมการเล่นเกมของ DeepMind จะสามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญ Go ที่ดีที่สุดในโลกได้

แต่พวกมันก็ไม่สามารถที่จะขยายกลยุทธ์นั้นไปไกลกว่าในเกมกระดานได้ ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อัลกอริทึม Deep Learning นั้นดูเหมือนเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเลือกรูปแบบหรือ pattern ในการทำงาน แต่มันไม่สามารถเข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้

นักวิจัยมีสมมติฐานมากมายว่าปัญหานี้จะเอาชนะได้อย่างไร แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหนึ่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก เหล่าเด็ก ๆ ที่เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับโลกของเรา โดยการรับรู้และพูดคุยกันในเรื่องนั้น ๆ

เมื่อเด็ก ๆ เริ่มเชื่อมโยงคำกับสถานที่ท่องเที่ยว เสียงและข้อมูลทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ ของพวกเขาจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์และพลวัตที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ แยกสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลจากสิ่งที่สะท้อนความสัมพันธ์เพียงอย่างเดียวและสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อนของโลก จากนั้นโมเดลดังกล่าวจะช่วยให้พวกเขาสำรวจสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยและนำความรู้และประสบการณ์ใหม่มาใช้ได้นั่นเอง

ในทางกลับกันระบบ AI ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำสิ่งเหล่านี้เพียงครั้งเดียว อัลกอริธึมการมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Vision) และการจดจำเสียง (Voice Recognition) สามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้ แต่ไม่สามารถใช้ภาษาเพื่ออธิบายสิ่งเหล่านี้ได้ 

ซึ่งหากความรู้สึกและภาษาถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อให้ AI มีวิธีที่เหมือนมนุษย์มากขึ้นในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลใหม่ในที่สุดมันจะพัฒนาสิ่งที่เหมือนกับการเข้าใจโลกได้หรือไม่?

ความหวังก็คือระบบที่เรียกว่า “multimodal” ซึ่งสามารถเข้าถึง “โหมด” ของสติปัญญาของมนุษย์ทั้งทางประสาทสัมผัสและภาษา ซึ่งก่อให้เกิด AI ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์หรือปัญหาใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น 

จากนั้นอัลกอริทึมดังกล่าวจะช่วยให้เราจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้กับหุ่นยนต์ที่สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับเราในชีวิตประจำวันของเราได้ในท้ายที่สุด

ความก้าวหน้าใหม่ในอัลกอริทึมการประมวลผลภาษาเช่น GPT-3 ของ OpenAI ได้เข้ามาช่วยในส่วนนี้ ซึ่งขณะนี้นักวิจัยเข้าใจวิธีการจำลองการปรับแต่งภาษาได้ดีพอที่จะทำให้การรวมเข้ากับความสามารถในการประมวลผลได้ดียิ่งขึ้น 

ในปีที่ผ่านมามีผลงานที่น่าตื่นเต้นหลายประการในด้านนี้ ในเดือนกันยายนนักวิจัยจาก Allen Institute for Artificial Intelligence, AI2 ได้สร้างแบบจำลองที่สามารถสร้างภาพจากคำบรรยายข้อความซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของอัลกอริทึมในการเชื่อมโยงคำกับข้อมูลภาพ 

ในเดือนพฤศจิกายนนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา Chapel Hill ได้พัฒนาวิธีการที่รวมภาพเข้ากับแบบจำลองภาษาที่มีอยู่ซึ่งช่วยเพิ่มความเข้าใจในการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จากนั้น OpenAI ใช้แนวคิดเหล่านี้เพื่อขยายความสามารถของ GPT-3 เมื่อต้นปี 2021 ห้องปฏิบัติการได้เปิดตัวแบบจำลองภาษาภาพสองแบบ หนึ่งเชื่อมโยงวัตถุในรูปภาพกับคำที่อธิบายในคำบรรยายใต้ภาพ 

และอีกภาพหนึ่งสร้างภาพตามการผสมผสานของแนวคิดที่มันได้เรียนรู้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถแจ้งให้สร้าง “ภาพวาดสิงโตนั่งอยู่ในท้องทุ่งตอนพระอาทิตย์ขึ้น” แม้ว่า AI มันอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อนก็ตาม แต่ก็สามารถผสมผสานและจับคู่สิ่งที่มันรู้ได้จากภาพวาดสิงโต ทุ่งนา และพระอาทิตย์ขึ้น เพื่อสร้างภาพนั้นออกมาได้

ระบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจะทำให้อนาคตของผู้ช่วยหุ่นยนต์ขั้นสูงเป็นไปได้มากขึ้น (ให้คิดว่าต่อไปหุ่นยนต์ผู้ช่วยไม่ใช่แค่เพียงรูปแบบของ Alexa เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป) ซึ่งหุ่นยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่มีอยู่าในปัจจุบันใช้ข้อมูลภาพเพื่อนำทางและโต้ตอบกับสิ่งรอบตัวเป็นหลัก 

ต่อไปหุ่นยนต์ผู้ช่วยไม่ใช่แค่เพียงรูปแบบของ Alexa เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
ต่อไปหุ่นยนต์ผู้ช่วยไม่ใช่แค่เพียงรูปแบบของ Alexa เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการทำงานง่าย ๆ ให้เสร็จสิ้นในสภาพแวดล้อมที่จำกัด เช่น การดำเนินการตามคำสั่งซื้อในคลังสินค้า 

แต่ห้องปฏิบัติการ เช่น AI2 กำลังทำงานเพื่อเพิ่มภาษาและรวมอินพุตทางประสาทสัมผัสเข้าด้วยกันมากขึ้น เช่น ข้อมูลเสียงและการสัมผัสเพื่อให้ AI เข้าใจคำสั่งและดำเนินการที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การเปิดประตูเมื่อมีคนมาเคาะประตู เป็นต้น

ในระยะยาวการพัฒนาระบบ “multimodal” สามารถช่วยเอาชนะข้อ จำกัด ที่ใหญ่ที่สุดของ AI ได้ ยกตัวอย่างเช่น การที่หุ่นยนต์มันไม่เข้าใจโลกก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มันถูกหลอกได้อย่างง่ายดายนั่นเอง 

การได้รับข้อมูลที่ยืดหยุ่นมากขึ้นไม่เพียงแค่ปลดล็อกแอปพลิเคชัน AI ใหม่ ๆ เท่านั้น แต่จะทำให้มันมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย

ซึ่งในอนาคตเราอาจจะได้เห็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองจะสามารถทำงานได้ดีขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย และทำงานในที่มืดหรือในสภาพอากาศที่มีหิมะตกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งระบบ“multimodal” อาจกลายเป็น AI ตัวแรกที่เราสามารถไว้วางใจได้ในชีวิตประจำวันของเราในอนาคตอันใกล้นี้นั่นเองครับผม

References :
https://venturebeat.com/2020/12/30/multimodal-systems-hold-immense-promise-once-they-overcome-technical-challenges/
https://www.technologyreview.com/2021/02/24/1018085/multimodal-ai-vision-language
https://newsbridge.io/blog/multimodal-ai-series-how-we-are-understanding-computer-perception-and-facial-recognition
https://www.aimesoft.com/multimodalai.html

Geek Story EP88 : ELSA Startup แอปภาษาอังกฤษที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI จากเวียดนาม

Coronavirus ได้ก่อให้เกิดการปฏิวัติในด้านการศึกษา ผลักดันโรงเรียนและสถาบันการศึกษาให้มุ่งสู่โลกออนไลน์ และเกิดความต้องการใหม่ ๆ สำหรับแอปพลิเคชั่น e-learning

หนึ่งในนั้นคือ ELSA (English Language Speech Assistant) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มทางด้านภาษาที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาอังกฤษสามารถปรับปรุงการพูดและการออกเสียงของพวกเขาผ่านบทเรียนสั้น ๆ ผ่านแอป

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3aB96hT

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/3EwFV6WpNm4

ปัญหาวัคซีนช้ากับผลกระทบครั้งร้ายแรงต่อกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวของญี่ปุ่น

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีปัญหาเรื่องวัคซีนที่คล้าย ๆ กับบ้านเราเลยทีเดียวสำหรับประเทศญี่ปุ่น ที่ดูเหมือนยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีนของประเทศนั้นจะช้าเกินไป และกำลังถูกกดดันจากประชาชาวญี่ปุ่น

ปัญหาของญี่ปุ่นต้องเรียกได้ว่า อาจส่งผลร้ายแรง ต่อกีฬาโอลิมปิกที่กำลังจะจัดขึ้นในปีนี้ ที่ญี่ปุ่นได้ลงทุนไปอย่างมหาศาล และได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะจัดการแข่งขันขึ้น แม้จะไม่มีคนเข้ามาเชียร์ก็ตามที

สถานการณ์ในตอนนี้ ญี่ปุ่นฉีดวัคซีนให้ประชากรได้เพียงแค่ 1.2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของประชากร ซึ่งหมายความว่า จะไม่มีภูมิคุ้มกันหมู่แน่ ๆ ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะเริ่มในวันที่ 23 กรกฏาคมที่จะถึงนี้

ต้องเรียกได้ว่า วันเวลาที่ผ่านพ้นไปนั้น ก็ยังไม่มีข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เมืองโยโกฮาม่า ซึ่ง Takako Tomura ชาวโยโกฮาม่าวัย 43 ปี ได้ละทิ้งความหวังทั้งหมดเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อน

ผู้ว่าการเมืองญี่ปุ่นเมืองใหญ่ที่สุดสองเมือง อย่าง โตเกียว และ โอซาก้า ได้เรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินใหม่อีกครั้ง ในความพยายามครั้งใหม่เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของไรวัส ซึ่งดูทีท่าว่าจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

การแพร่กระจายขึ้นอย่างรวดเร็ว และ รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสจากสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง และแพร่กระจายได้รวดเร็ว ดั่งที่ประเทศไทยกำลังพบเจอในการระบาดรอบที่ 3

ทำให้ตอนนี้สถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่นเอง ซึ่งถือว่า เป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นประเทศชั้นนำของโลก นั้นก็ถูกตั้งคำถามจากประชาชนเช่นเดียวกันว่า ทำไมอัตราการฉีดวัคซีนถึงได้ล้าหลังประเทศอื่น ๆ

“ฉันไม่ใช่คนขี้กังวล แต่ฉันต้องบอกว่าข่าวเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้น่าเป็นห่วงมาก ๆ ” Tomura กล่าว “ถ้าคุณบอกฉันว่าประเทศเราจะตกอยู่ในสถานการณ์นี้เมื่อหนึ่งปีก่อน ฉันคงคิดว่าคุณบ้าแน่ ๆ ” เธอกล่าว “ฉันคิดว่าตอนนี้โลกเราได้ค้นพบวิธีการรักษาแล้ว ทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีน ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่าตอนนี้ญี่ปุ่นจะสถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก”

เช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่น และ ชาวโลกส่วนใหญ่ Tomura แสดงความอิจฉาประเทศต่าง ๆ เช่น อิสราเอล และ อังกฤษ ซึ่งมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงลิ่ว

ต้องบอกว่าเป็นการถอดความรู้สึกเดียวกับสิ่งที่ประชาชนชาวไทยได้พบเจอในตอนนี้เลยก็ว่า ได้ คงไม่มีใครคาดคิดว่า สถานการณ์ในบ้านเราจะเลวร้ายถึงจุดนี้ ในเมื่อในปีที่แล้วประเทศของเราถือว่าควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพในอันดับต้น ๆ ของโลก

ญี่ปุ่นเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ บริการฉุกเฉิน จนถึงปัจจุบันประชากรชาวญี่ปุ่น 1.2 ล้านคน ได้รับวัคซีน Pfizer/BioNTech ซึ่งเท่ากับประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรจำนวน 126 ล้านคนในญี่ปุ่น

ชายสูงอายุได้รับวัคซีน Pfizer / BioNTech Covid-19 ในเมืองนาโกย่าจังหวัดไอจิเมื่อวันที่ 14 เมษายนภาพ: เกียวโด

เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่นอิสราเอล ที่ฉีดไปแล้วเกือบ 60% และ 62.5% ในสหราชอาณาจักร นั้นต้องบอกว่า ญีปุ่นตามหลังอยู่มาก และทำให้ประชาชนต่างตั้งคำถามกับความล่าช้าในนโยบายการฉีดวัคซีนของรัฐบาล

Hakubun Shinomura สมาชิกอาวุโสของพรรค Liberal Democratic Pary ล้มเหลวในการเพิ่มความหวังของประชาชนในวันจันทร์ที่ผ่านมา เมื่อ เขากล่าวว่า โครงการฉีดวัคซีนจะไม่เสร็จสมบูรณ์จนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิปีหน้า

Kazuhiro Tateda ประธานสมาคมโรคติดเชื้อแห่งญี่ปุ่น และ สมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาของรัฐบาลเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสยอมรับว่าความล่าช้าในการฉีดวัคซีนเป็น “โชคร้าย”

“สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ เริ่มเตรียมรับมือกับวิกฤตสุขภาพครั้งใหญ่เมื่อหลายปีก่อนเนื่องจากพวกเขามีประสบการณ์กับการเกิดขึ้นของอีโบลา ซาร์ส เมอร์ส และอื่น ๆ พวกเขาจึงเริ่มทำงานกันอย่างรวดเร็ว แต่ญี่ปุ่นไม่เคยประสบกับการระบาดเหล่านี้ซึ่งเป็นโชคดี แต่ก็โชคร้ายที่มีการเตรียมการไม่เพียงพอ”

ในขณะที่การส่งมอบวัคซีนไปยังญี่ปุ่น มีกระบวนการอนุมัติอย่างระมัดระวัง ซึ่งตอนนี้มีเพียงวัคซีนของ Pfizer เท่านั้นที่ได้รับการดูแล Tateda กล่าวว่า สำหรับวัคซีนอื่น ๆ ได้มาถึงญี่ปุ่นแล้ว รวมถึงของ AstraZeneca และจะได้รับการอนุมัติให้ใช้ภายในสิ้นเดือนนี้

“เราได้เห็นผลข้างเคียงในประเทศอื่น ๆ และเราต้องแน่ใจว่าวัคซีนเหล่านี้ปลอดภัย” Tateda กล่าว โดยชี้ให้เห็นว่า ญี่ปุ่นเคยประสบกับเหตุการณ์หลายอย่างที่ยามีผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิด รวมถึง Thalidomide ในช่วงปลายปี 1950 และวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV ซึ่งถูกระงับใช้ในปี 2013

ซึ่งปัญหาการฉีดวัคซีนที่ช้านี่เอง ที่กำลังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อกีฬาโอลิมปิก ที่กำลังจะถูกจัดขึ้น ซึ่งตอนนี้ แทบจะไม่มีโอกาสแล้วที่ประชากรชาวญี่ปุ่นจะได้รับวัคซีนและสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ก่อนการเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวในวันที่ 23 กรกฏาคม

Yoko Tsukamoto ศาสตราจารย์ด้านการควบคุมการติดเชื้อที่มหาวิทยาลัยสุขภาพแห่งฮอกไกโด กล่าวว่า “สำหรับฉันแล้วหน่วยงานด้านสุขภาพของเรานั้นเคลื่อนไหวช้าเกินไป” “มีความเข้มงวดมากเกินไปในระบบและไม่มีใครต้องการตัดสินใจ ใช้เวลานานเกินไปในการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการที่ดีที่สุด และเมื่อถึงเวลานั้น ก็สายไปเสียแล้ว ไม่มีความยืดหยุ่น และ ไม่มีใครเต็มใจที่จะรับผิดชอบอะไรเช่นนี้ และ สถานการณ์ในตอนนี้มันเป็นผลลัพธ์ที่ญี่ปุ่นต้องเจอ”

ต้องบอกว่า ถือเป็นหนึ่งบทเรียน ที่น่าสนใจ ของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ที่ต้องประสบพบเจอปัญหาในเรื่องการดำเนินงานด้านวัคซีน ที่ดูเหมือนจะช้าไป ซึ่งพวกเขามีภาระหนักอึ้งในกีฬาโอลิมปิก ที่ตัดสินใจว่าจะจัดขึ้นในเดือนกรกฏาคมที่จะถึงนี้อีกด้วย

ซึ่ง ด้วยความที่เป็นโรคอุบัติใหม่ จะเห็นได้ว่า หลาย ๆ ประเทศในตอนนี้ มีทั้งยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการสำเร็จ และ ล้มเหลว และไม่ใช่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่มีปัญหาเรื่องดังกล่าว

ประเทศที่สำเร็จ อาจจะมีประสบการณ์ที่ดีกว่า อย่างใน สหรัฐอเมริกา หรือ สหราชอาณาจักร หรือ ประเทศขนาดเล็กที่ควบคุมง่ายกว่าอย่าง อิสราเอล แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาไม่ต่างจากที่ไทยได้พบเจอในตอนนี้

ผมมองว่า มันคือยุทธศาสตร์ของการดำเนินนโยบาย ซึ่งมันก็ดำเนินไปตามสถานการณ์ ในตอนแรกที่ประเทศญี่ปุ่น คิดยุทธศาสตร์ดังกล่าว ก็น่าจะเป็นช่วงที่ประเทศของเขาควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ซึ่งน่าจะคล้าย ๆ กับประเทศไทยในตอนนั้น ทำให้การตัดสินใจเป็นไปในแนวทางนั้น

และจะเห็นได้ว่ามีอีกหลายประเทศ ที่ก็ดำเนินนโยบายคล้าย ๆ กัน คือ การรอให้วัคซีนถูกตรวจสอบให้มั่นใจเสียก่อน ไม่อยากเป็นหนูทดลอง และเมื่อย้อนกลับไปในสถานการณ์ในอตอนนั้น ก็คงไม่มีใครคาดคิดว่าสถานการณ์มันจะเลวร้ายจนมาถึงจุดนี้ได้

และสุดท้ายการที่จะมาพลิกสถานการณ์ในตอนนี้มันก็ดูเหมือนจะสายไปเสียแล้ว ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของหลาย ๆ ชาติที่ต้องเจอกับเหตุการณ์โรคอุบัติใหม่ ที่หลาย ๆ ประเทศเองก็ไม่มีประสบการณ์ในการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวมาก่อนนั่นเองครับผม

References : https://www.theguardian.com/world/2021/apr/22/britons-left-stranded-by-japans-slow-vaccine-rollout
https://www.scmp.com/week-asia/health-environment/article/3130320/japan-battles-covid-19-mutations-slow-vaccination-rate
https://www.reuters.com/business/healthcare-pharmaceuticals/japans-foreign-residents-ponder-travelling-vaccines-amid-slow-inoculation-push-2021-04-20/
https://fortune.com/2021/04/23/japan-covid-vaccine-rollout-slow-behind-tokyo-olympics-2020/