Cheeky Chunk กับการทิ้งปริญญา MBA สู่เส้นทางมหาเศรษฐีค้าร่มออนไลน์

ร่ม อย่างที่เราได้รู้จักกันดีว่ามันถูกใช้เพื่อปกป้องเราจากฝน หรือ แสงแดด หลายคนมองร่มเป็นสินค้าที่มีคู่แข่งมากมาย และเป็นธุรกิจที่ไม่น่าสนใจ แต่ชายที่มีนามว่า Pratik Doshi มองเห็นโอกาสที่ต่างออกไป

Pratik เติบโตขึ้นในเมือง Wadala ทางมุมไบตอนใต้ ประเทศอินเดีย พ่อของ Pratik เป็นนักธุรกิจธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยแต่อย่างใด แต่เขาไม่ต้องการที่จะอยู่ภายใต้เงาพ่อเขาเขา ต้องการสร้างความสำเร็จด้วยตัวของเขาเอง

Pratik ได้เริ่มต้นธุรกิจ Cheeky Chunk ในปี 2014 ในตอนแรกนั้นเขาได้วางจำหน่ายร่มสุดแหวกแนวของเขาไม่กี่แห่งในตลาดเล็ก ๆ ของประเทศอินเดีย แต่เนื่องจากได้รับการตอบรับที่ดี เขาจึงได้เริ่มมาเอาจริงเอาจัง และเริ่มต้นสร้างบริษัทขายร่มที่มีดีไซน์และเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร

แล้วคำถามว่าทำไมต้องเป็นร่ม? คำตอบของ Pratik คือ “ทุกคนใช้ร่ม และผมก็คิดว่าทำไมไม่ออกแบบมันในลักษณะที่ผู้คนจะรู้สึกผูกพันกับมัน แล้วจึงต้องพกมันไปเพราะความรักสิ่ง ๆ นี้ ไม่ใช่เพียงเพื่อประโยชน์ใช้สอยเท่านั้น และนั่นคือวิธีที่ Cheeky Chunk ถูกสร้างขึ้น”

Pratik ที่เรียนจบ MBA จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอินเดีย ต้องทนให้เพื่อนหัวเราะเยาะเขาอยู่ตลอดเวลาในช่วงแรก ๆ ของการตั้งบริษัทค้าร่มของเขา ซึ่งในขณะที่เพื่อน ๆ MBA ได้รับเงินเดือนมหาศาล และนั่งโต๊ะทำงานสบาย ๆ ในห้องแอร์ แต่ชีวิตของ Pratik นั้นแตกต่างออกไป

Pratik คิดอย่างเดียวว่า ต้องสร้างตัวให้ทัดเทียมเพื่อน ๆ ให้ได้เร็วที่สุด เขาก็พยายามขยายตลาดร่มของเขาไปทั่วเมือง โดยการเริ่มต้นจาก 0 เพราะเขาเองก็แทบจะไม่มีเงินทุนในการขยายกิจการมากนัก

Pratik เริ่มต้นจากการทำงานร่วมกับนักเรียนศิลปะที่ดูมีแวว เขาได้นำร่ม 500 คันที่ทำการผลิตและจำหน่ายผ่านทางเพื่อน ๆ และครอบครัวของเขา โดยใช้เงินทุนตั้งต้นราว ๆ 135,000 รูปี หรือราว ๆ ห้าหมื่นบาทไทย เพื่อนำมาเป็นทุนในการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนาเว็บไซต์ โดยเป็นเงินที่เขาได้รับจากการสอนพิเศษในสมัยเรียนมหาวิทยาลัย

ร่มที่ดีไซต์เป็นเอกลักษณ์ของ Cheeky Chunk
ร่มที่ดีไซต์เป็นเอกลักษณ์ของ Cheeky Chunk (CR:yourstory)

แต่ครึ่งปีแรกผ่านไปอย่างทุลักทะเล เพราะแทบจะไม่มีลูกค้านอกจากจากเพื่อนและครอบครัวของเขา ซึ่งแทบจะไม่สร้างกำไรจากธุรกิจขายร่มของเขาได้เลย ตอนนั้นเขาคิดว่าตัวเองต้องไปหางานที่เหมาะสมจริง ๆ ที่ดีกว่าการมาขายร่ม และทำตัวให้เหมือนกับเพื่อน ๆ ที่นั่งตากแอร์ทำงานสบาย ๆ

มันเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก ๆ และเต็มไปด้วยความเครียดและความผิดหวัง ที่เมื่อเขามองเพื่อน ๆ ที่ได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้า เขาจึงต้องเลือกทางเดินของชีวิต โดยตัดสินใจที่จะลองพยายามอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้ายหากไม่ work ก็จะกลับไปทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนเหมือนเพื่อน ๆ คนอื่น

เขาจึงต้องทำร่มที่สมบูรณ์แบบที่ดีที่สุดในตลาด โดยปรับกระบวนการผลิต Pratik ได้ทำการจัดหาเฟรมร่มคุณภาพสูงจากซัพพลายเออร์ในประเทศ และจ้างผู้รับเหมามืออาชีพในเรื่องการพิมพ์และเย็บร่ม

เขาต้องทำหลาย ๆ อย่างด้วยตัวคนเดียวไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องพิมพ์ลายเพื่อให้มันกลับมาทำงานได้อีกครั้ง หรือ การแบกผ้า 10 กก. ไว้บนบ่าเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร เพื่อให้แน่ใจว่าร่มของเขาจะได้รับการผลิตที่ตรงตามเวลา

หลังจากมาโฟกัสเรื่องคุณภาพ คำสั่งซื้อก็เพิ่มเข้ามามากขึ้น ซึ่งสูงถึง 400 คันต่อวัน จึงเป็นเรื่องยากที่เขาจะสามารถแบกรับทุกอย่างไว้คนเดียวอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการแพ็คสินค้า ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ การออกใบแจ้งหนี้ หรือ ดูแลงานอื่น ๆ

เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น Pratik ก็ต้องการทีมงานเพื่อขยายกิจการ
เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น Pratik ก็ต้องการทีมงานเพื่อขยายกิจการ (CR:yourstory.com)

ในปี 2015 เขาจึงได้เพิ่มทีมงานระดับท็อป 6 คน ซึ่งประกอบไปด้วยนักศึกษาฝึกงาน MBA 2 คน นักบัญชี และ เจ้าหน้าที่บรรจุร่มอีกตำแหน่งละ 2 คน เพื่อมาขยายกิจการร่มของเขา

เมื่อฝนตกหนัก

แน่นอนว่าจุดเปลี่ยนสำคัญของกิจการร่มของเขาก็คือ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนในอินเดียตกหนักมาก ๆ และร่มของ Pratik ก็เริ่มขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

และการที่ Pratik ได้นำร่มเข้าสู่ตลาด Ecommerce เขาใช้เทคนิควิธีในการอัปโหลดรายชื่อผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และใส่คำค้นหามากกว่า 100 คำ เพื่อให้ผู้คนสามารถค้นพบผลิตภัณฑ์ของเขาได้

ซึ่งเป็นการทำตลาดแบบ SEO (Search Engine Optimization) เมื่อเขาวางขายร่มคันแรกในเว๊บไซต์อย่าง amzon ตอนแรกคำค้นหาของเขาอยู่หน้า 20 แต่เพียงไม่ถึง 3 สัปดาห์มันก็ได้พุ่งขึ้นไปอยู่หน้าแรก และกลายเป็นร่มที่ขายดีที่สุดใน amazon.in ทันที

ปัจจุบัน Cheek Chunk ขายผ่านเว๊บไซต์ของพวกเขาเอง รวมถึงในแพล็ตฟอร์ม Ecommerce ต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป้น Flipkart , Amazon , Snapdeal และร้านค้าปลีกอีก 2-3 แห่งในเมืองมุมไบ

ยอดขายส่วนใหญ่มาจาก Ecommerce แทบจะทั้งสิ้น ทำให้บริษัทร่มของเขากลายเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดใน แพล็ตฟอร์ม Ecommerce ของอินเดีย

Pratik ยังตัดสินใจที่เพิ่มสีสันให้กับร่มของเขาด้วย เขาตัดสินใจผลิตร่มที่มีสีต่าง ๆ กัน ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเขากลายเป็นที่นิยมเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่ร่มกันฝนเพียงเท่านั้น

เป้าหมายของ Cheeky Chunk ไม่ใช่เรื่องความเชี่ยวชาญในการผลิตร่ม เพราะคงมีคนทำได้จำนวนมากในอินเดีย แต่ Pratik เลือกที่จะผลิตร่มที่มีธีมและการออกแบบที่สร้างสรรค์เพื่อเชื่อมโยงความทรงจำของสายฝนกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้ร่ม

แนวคิดที่น่าสนใจจาก Pratik กับธุรกิจขายร่มอย่าง Cheek Chunk เขาได้กล่าวว่า การถ่ายภาพที่สวยงามนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อธุรกิจของเขา เขาเชื่อว่า 50 % ของการตลาดของผลิตภัณฑ์ของเขา มันได้ถูกสร้างการบอกต่อโดยตัวผลิตภัณฑ์และลูกค้าของเขาเอง

เขาแนะนำสิ่งที่สำคัญว่า อย่าจ่ายเงินให้ใครเด็ดขาด เพื่อมาอวยผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ปล่อยให้การรีวิวแบบธรรมชาติจากลูกค้าเป็นการบอกต่อสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของตัวคุณเองจะดีกว่า

มีคำพูดที่น่าสนใจจาก Pratik ที่กล่าวว่า “คุณจะไม่มีทางเห็นพวกเราขาย แก้วกาแฟธรรมดา ๆ หรือ เสื้อยืดธรรมดา ๆ ที่มีหลายคนทำมัน และเราไม่อยากเสียเวลาในการทำแบบเดียวกันกับคนอื่น คุณจะเห็นเราแก้ปัญหาที่แท้จริงด้วยความคิดสร้างสรรค์ของเราเท่านั้น”

“คุณอาจจะเห็นคนสิบคนที่ถือร่มสีดำที่ดูซ้ำซากจำเจน่าเบื่อ แต่คุณต้องยิ้มเมื่อเห็นคนที่สิบเอ็ดถือร่ม Cheeky Chunk สีเหลืองที่ออกแบบมาโดยความคิดสร้างสรรค์ของเรา นั่นคือสิ่งที่เราตั้งใจจะทำเพื่อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของเรา”

References : https://yourstory.com/2015/07/cheeky-chunk-pratik-doshi
https://medium.com/the-innovation/the-man-whose-startup-made-millions-just-by-selling-umbrellas-2ab1d802a7
https://www.theweekendleader.com/Success/2693/happy-rainy-days.html
https://www.hfumbrella.com/umbrella-manufacturer-story

Geek Daily EP177 : จุดเปลี่ยนบริษัท Big Tech จีน กับการสยายปีกเตรียมบุกตลาดทั่วโลก

การปราบปรามทางเทคโนโลยีของรัฐบาลจีนและการขับเคลื่อนนโยบาย “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” มุ่งเป้าไปที่ผู้มีอิทธิพลทางธุรกิจของประเทศ ทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดบ้านเกิดของพวกเขาลดลง ผู้ประกอบการจีนเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงทั้งในประเทศและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่แน่นอน ดังนั้นหลายๆ คนกำลังมองหาโอกาสในต่างประเทศ

ความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมชั้นนำของจีนในตลาดโลก เช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shein และ Temu กำลังเข้ามาตีตลาดสหรัฐฯ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเดรส 7 ดอลลาร์และกระเป๋าเป้ราคา 3 ดอลลาร์ที่มาจากโรงงานในแผ่นดินใหญ่ TikTok กำลังครองใจผู้ใช้ทั่วโลก 1 พันล้านคนและมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ยอดขายโดยผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น BYD กำลังผลักดันให้จีนขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ของการส่งออกรถยนต์ทั่วโลก

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3MEi0yl

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://bit.ly/3Isnb1Z

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3WwwzaV

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://bit.ly/3MBYGSz

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/hJKaUhcNVfk

It’s Okay to Not Be Okay (Google) กับความเป็นส่วนตัวที่น่ากังวลของอนาคต Voice Assistant

ต้องบอกว่าเทคโนโลยีอย่าง Voice Assistant ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ผ่านอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ ที่มีมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าบางอุปกรณ์นั้นอาจจะไม่มีหน้าจอ และสั่งการได้ด้วยเสียงเพียงเท่านั้น

บริษัทยักษ์ใหญ่ล้วนโฟกัสกับเทคโนโลยีนี้ ไม่ว่าจะเป็น Google Assistant , SIRI ของ Apple หรือ Alexa ของ Amazon และต้องบอกว่าเทคโนโลยี Voice Assistant ในปัจจุบันพัฒนาไปมากจนน่าตกใจ

แต่อีกไม่นาน เราอาจจะไม่ต้องเรียกมันเพื่อให้ทำงานอีกต่อไป เช่น ในเคสที่เกิดขึ้นกับ Google ซึ่งปรกติเราต้องเรียกเพื่อใช้งาน หรือ มีการกดปุ่มเพื่อเรียกการใช้งานในฟังก์ชั่นนี้ เช่น “Ok Google”

รานงานใหม่จาก สื่อชื่อดังอย่าง 9to5Google ได้ค้นพบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชั่นใหม่ที่มีชื่อว่า “Guacamole” ซึ่ง Google อาจเรียกฟังก์ชั่นใหม่นี้ว่า Quick Phrase หรือ Voice Shortcuts

วิธีการที่ 9to5Google เจอฟังก์ชั่นนี้ก็คือ การถอดรหัสโค้ด จากแอปพลิเคชั่นเวอร์ชั่นล่าสุดที่ Google อัปโหลดไปยัง Play Store ซึ่งเป็นไฟล์ APK นั่นเอง

ซึ่งทาง 9to5Google นั้นได้เห็นโค้ดหลายบรรทัด ซึ่งสามารถคาดเดาได้ว่าฟังก์ชั่นในอนาคตของ Google Assistant จะเป็นอย่างไร (มีอยู่ใน Code แต่ต้องบอกว่าอาจจะไม่ได้นำมาใช้จริง ๆ ก็ได้)

มันมีความสามารถทั้งในการตั้งหรือยกเลิกการปลุก ตั้งการช่วยเตือน ถามเกี่ยวกับสภาพอากาศ ตั้งและควบคุมตัวจับเวลา และอื่น ๆ

ซึ่งน่าสนใจว่า เมื่อเราไม่ต้องสั่งมันอีกต่อไป เพราะฉะนั้นมันก็จะฟังเราอยู่ตลอดเวลานั่นเอง และคอยดักวลีต่าง ๆ ที่คิดว่าจะเป็นการสั่งงานจากเรา ซึ่งก็แน่นอนว่า มันจะเริ่มลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของเรามากยิ่งขึ้น

ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ 9to5Google ได้วิเคราะห์ไว้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น Nest/Smart Display ที่คอยดักฟังคำพูดของเราอยู่ตลอดเวลาและคอยจับหาวลีที่เกี่ยวข้องในการสั่งการ

แม้จะมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Google ว่า วิธีตรวจจับคำให้ดำเนินการคำสั่งของ Google Assistant นั้น Google ได้กล่าวว่า “ถ้าไม่มีการตรวจพบการเปิดใช้งาน ฟังก์ชั่นเหล่านี้จะไม่ถูกส่งหรือบันทึกไปยัง Google”

แต่ด้วยการทำงานจริงของ Quick Phrase ที่จะเกิดขึ้น มันทำให้เปิดโอกาสในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากกว่าเดิม เนื่องจากต้องมีการคอย monitor เราอยู่ตลอดเวลาในการสนทนาปรกติประจำวันของเรา

แต่นี่เป็นเพียงแค่ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น อาจจะยังไม่ออกมาใช้จริง ฟังก์ชั่นนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา และยังไม่ชัดเจนว่าจะเปิดตัวเมื่อไหร่และอุปกรณ์ใดจะรองรับบ้าง

แต่ก็ต้องบอกว่า ถือเป็นเรื่องน่าสนใจเลยทีเดียวนะครับ ว่าหากเทคโนโลยีนี้ พัฒนาต่อไปในอนาคต จะเป็นอย่างไร และจะลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของเราเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่

แน่นอนว่า ข้อมูลที่เป็น text ที่อยู่บนเว็บไซต์ หรือ email ต่างๆ Google ได้นำมาวิเคราะห์อยู่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการยิงโฆษณาของพวกเขาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น แต่ในอนาคตมันอาจจะไม่ใช่แค่เพียงข้อมูล text เหล่านี้อีกต่อไป เพราะเสียงของเราอาจจะไปอยู่ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้ก็เป็นได้นั่นเองครับผม

References : https://9to5google.com/2021/09/01/google-assistant-quick-phrases/
https://www.androidauthority.com/google-assistant-ok-google-optional-2745962
https://www.theverge.com/2021/4/23/22400412/google-guacamole-voice-shortcuts-assistant-snooze-stop-alarm-call
https://www.cnet.com/tech/services-and-software/google-guacamole-will-reportedly-let-you-use-voice-assistant-without-saying-hey-google/
https://arstechnica.com/information-technology/2019/10/alexa-and-google-home-abused-to-eavesdrop-and-phish-passwords/

ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน

แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เขามองว่าการที่บริษัทจากอเมริกันนั้น พยายามทำทุกอย่างในประเทศจีน เหมือนตลาดอื่น ๆ ที่พวกเขาครอบครองได้ทั่วโลก นั่นคือข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุด

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ไม่ลงทุนในทรัพยากร หรือให้ความยืดหยุ่นกับทีมงานในประเทศจีน ที่จำเป็นอย่างมากในการแข่งขันกับบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเอง เพื่อปรับบริการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมชาวจีนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บริการเหล่านี้ ไม่สามารถสู้กับบริการท้องถิ่นในประเทศจีนได้

ไค ฟู ลี ได้กล่าวว่า ในบางบริการนั้น อาจจะต้องเริ่มต้นกันใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน การทำเพียงแค่ แปลเป็นภาษาจีน แล้วใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับในอเมริกานั้น ทำให้ทีมงานที่อยู่ในพื้นที่รู้สึกถึงความไม่ใส่ใจที่แท้จริง

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เก่งกาจในประเทศจีนไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากปัญหาข้างต้น เหล่าบริษัท สตาร์ทอัพของจีน รวมถึงคนหนุ่มสาวที่มีความทะเยอทะยานที่สุดส่วนใหญ่นั้นมักเลือกที่จะเข้าร่วมกับบริษัทในท้องถิ่น

เพราะพวกเขารู้ดีว่า หากเข้าร่วมกับบริษัทอเมริกัน ผู้บริหารของบริษัทนั้น จะมองพวกเขาเป็นเพียงแค่ แรงงานในพื้นที่ ตลอดไป พวกเขาจะไม่ได้รับโอกาสในการไต่เต้าขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงที่แท้จริง ซึ่งสูงสุดเป็นได้เพียงแค่ ผู้จัดการประจำประเทศของบริการนั้น ๆ เพียงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น คนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีความทะเยอทะยานสูง เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเอง หรือเข้าร่วมกับบริษัทในประเทศจีน เพื่อเอาชนะบริการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ที่มาจาก Silicon Valley นั่นเอง

เพราะฉะนั้นทรัพยากร แรงงานส่วนใหญ่ที่ บริษัทจาก Silicon Valley ได้ไปนั้น มักจะเป็นกลุ่มคนที่ หวังเพียงแค่เงินเดือน หรือ หุ้น มากกว่ากลุ่มคนที่มีความทะเยอทะยานเพื่อเอาชนะในตลาดจีนอย่างแท้จริง

ในขณะที่นักวิเคราะห์จากต่างชาติยังคงสงสัยในคำถามที่ว่า ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ไม่สามารถเอาชนะในจีนได้ แต่ บริษัทของจีน กำลังยุ่งอยู่กับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น

Weibo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ไมโครบล็อกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Twitter ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่ม Features ต่างๆ มากมาย และทำให้ตอนนี้มีมูลค่ามากกว่า Twitter ที่พวกเขาไป copy มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หรือบริการอย่าง Didi ที่เลียนแบบมากจาก Uber ได้ขยายบริการและผลิตภัณฑ์อย่างมาก และให้บริการรถโดยสารในประเทศจีนในแต่ละวัน มากกว่าที่ Uber ทำได้ทั่วโลกเสียอีก หรือ Toutiao ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มข่าวของจีน ที่ถูกเปรียบเทียบกับ BuzzFeed ใช้ อัลกอริธึม Machine Learning ขั้นสูง เพื่อปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน

ซึ่งต้องบอกว่า การเติบโตของ Ecosystem ผู้ประกอบการของจีนนั้น เป็นมากกว่าการคิดเพียงแค่แข่งขันกับบริการจาก Silicon Valley หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เช่น Alibaba , Baidu หรือ Tencent นั้นได้พิสูจน์แล้วว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นสามารถสร้างกำไรได้มากเพียงใด

มันทำให้คลื่นลูกใหม่ของบริษัทด้านการลงทุน ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน และตลาดก็กำลังร้อนแรงเป็นอย่างมาก จำนวน สตาร์ทอัพในประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ

แม้การต่อสู้กับยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley นั้นจะทำให้เหล่าบริการของจีนยิ่งแข็งแกร่ง แต่การแข่งขันภายในประเทศ กับคู่ต่อสู้ภายประเทศของเขาเองต่างหาก ที่เป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีน ว่าพวกเขาเจ๋งจริง นั่นเองครับ

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

Big Data Company ผู้ชนะที่แท้จริงในศึกมหาสงคราม COVID-19

COVID-19 อาจสร้างความหายนะให้กับธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แต่ก็มีผู้ชนะในเศรษฐกิจกับการระบาดใหญ่ครั้งนี้ นั่นก็คือ บริษัทด้าน Big Data โดยเฉพาะ Palantir บริษัท ที่ได้รับทุนจาก Peter Thiel

Palantir ของ Peter Thiel นั้นได้รับการขนานนามว่าเป็น“ ซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลกสำหรับการตัดสินใจและการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” ได้รับสัญญาต่าง ๆ ของรัฐบาลนับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เป็นจำนวนมาก

เริ่มต้นด้วยการติดต่อจากศูนย์ควบคุมโรค (CDC) ในปลายเดือนพฤษภาคม ตามด้วย Coast Guard ในต้นเดือนเมษายน ที่มีมูลค่าสัญญา 8.1 ล้านเหรียญ ส่วนสัญญาสองฉบับล่าสุดที่ลงนามเมื่อวันที่ 11 และ 20 เมษายนกับ Health and Human Services (HHS) นั้นใหญ่ที่สุดโดยมีมูลค่าสูงถึง 30 ล้านเหรียญสหรัฐ

สัญญาจะถูกแยกระหว่างสองหน่วยงานของ Palantir คือ Gotham และ Foundy และทั้งสองมีเป้าหมายที่จะใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตอบสนองของรัฐบาลต่อ coronavirus โดย Palantir Gotham ชนะสัญญากับ HHS เพื่อจัดหา “แพลตฟอร์ม ” ที่สามารถนำเข้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วน Palantir Foundry ได้รับสัญญาจาก CDC เพื่อช่วยในการทำนายรูปแบบการแพร่กระจายของไวรัส และช่วยรัฐบาลให้มั่นใจว่ามีความพร้อมในโรงพยาบาลเพียงพอ 

แม้ว่าก่อนหน้านี้ Palantir จะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ ในเรื่องการทำสัญญาเกี่ยวกับการสอดแนมสำหรับเพนตากอนและศูนย์เฝ้าระวังของเอ็นเอสเอ  โดยการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Palantir นั้นมาจากการลงทุนมูลค่ามหาศาลของ In-Q-Te l ซึ่งเป็นหน่วยงานลงทุนด้านธุรกิจของ CIA

Palantir ที่เติบโตรวดเร็วจากการลงทุนจาก CIA
Palantir ที่เติบโตรวดเร็วจากการลงทุนจาก CIA

แม้จะมีการวิจารณ์ความเป็นส่วนตัว Palantir ได้ทำสัญญาธุรกิจนอกเขตแดนสหรัฐโดย Palantir Foundry ได้รับสัญญาจาก National Health Service (NHS) ของสหราชอาณาจักรเพื่อช่วยในการตอบสนองต่อ coronavirus ด้วยเช่นเดียวกัน

แมทธิว กูลด์ โฆษกสาธารณสุขแห่งชาติของสหราชอาณาจักร ได้ออกมากล่าว เพื่อลดความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของประชาชน โดยระบุว่า Palantir Foundry นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรทำให้ข้อมูลจะไม่รั่วไหลออกไปข้างนอกได้อย่างแน่นอน

Palantir ไม่ใช่ บริษัท เดียวที่ได้รับประโยชน์จากสัญญาของรัฐบาลท่ามกลางการระบาดใหญ่ หรือ เป็นเพียงบริษัทเดียวที่เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวกับงานที่เกี่ยวข้องกับการระบาดครั้งใหญ่ในครั้งนี้

รวมถึงข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัวในประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากรัฐบาลออสเตรเลีย ได้ทำสัญญากับ บริษัท ในเครือของ Amazon, AmazonWebServices เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

Cellbrite บริษัทลูกของอินเทลซึ่งถูกใช้งานมานานโดยหน่วยงานด้านกฎหมายในการติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ต้องสงสัยของรัฐบาลในซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า “contact tracing” ซึ่งถูกนำมาใช้ติดตามคนที่ติดเชื้อ coronavirus รวมถึงผู้ที่ติดต่อใกล้ชิดกับผู้ป่วย

ส่วน Apple และ Microsoft ได้พัฒนาแอปติดตามผู้ติดต่อที่จะเข้ามาใกล้และสัมผัสผู้ป่วยที่มีโอกาสติดเชื้อ โดยที่จะมีการสร้าง “ไทม์ไลน์ ” ของการเคลื่อนไหวของบุคคลที่ติดเชื้อและส่งคำเตือนไปยังทุกคนที่เข้ามาใกล้

และในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา Microsoft ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่นของตนเองที่มีชื่อว่า CovidSafe

เมื่อพิจารณาถึงความจำเป็นในการติดตาม COVID-19 เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ก็ต้องมีการชั่งน้ำหนักกับสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล ที่เป็นปัญหาในทุก ๆ รัฐบาลที่ต้องพบเจอในเรื่องดังกล่าว แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดมาถึงตอนนี้ เรื่องของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในสงคราม COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และตอนนี้ ดูเหมือนว่า บริษัทที่ได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ ก็คือ เหล่าบริษัท ที่มีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Big Data ตัวอย่างเช่น Palantir ของ Peter Thiel นั่นเองครับ

References : https://techcrunch.com/2020/05/20/palantir-covid-19-va-contract/
https://www.palantir.com/covid19/
https://www.forbes.com/sites/thomasbrewster/2020/04/11/palantir-the-peter-thiel-backed-20-billion-big-data-cruncher-scores-17-million-coronavirus-emergency-relief-deal/#5260690f5ed1
https://www.businessinsider.com/palantir-ice-explainer-data-startup-2019-7