Geek China EP36 : Group-buying War of Meituan (1)

• ประวัติการพัฒนาของ Meituan (HKG: 3690) ของนาย Wang Xing (王兴)ในช่วงก่อตั้งคือการลอกเลียนแบบธุรกิจมาจาก Groupon ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ รูปแบบการทำกำไร การวางดีไซน์ ไปจนถึงฟังก์ชั่นภายในเว็บไซต์

• จนกระทั่ง 4 มีนาคม 2010 Groupon เวอร์ชั่นแดนมังกรได้กำเนิดขึ้น นี่คือการ Copy-to-China อีกครั้ง หลังจากเคยทำการ Copy-paste ไปกับธุรกิจ Duoduoyou (多多友) Youzitu (游子图) Xiaonei (小内) และ Fanfou (饭否) และล้วนล้มเหลวทั้งสิ้น

• ผลิตภัณฑ์แรกของ Meituan ที่เปิดให้บริการในวันที่ 4 มีนาคม 2010 คือ Fanya Wine Testing Package เพคเกจนี้ดึงดูดลูกค้าได้ถึง 79 คน ปิดยอดขายไปได้ถึง 4,000 หยวน เพราะเพียงแค่คนละ 50 หยวนก็สามารถมาลิ้มลองรสชาติไวน์สุดหรูได้แล้ว

• ช่วงปีของการก่อตั้ง Meituan มีบริษัทคู่แข่งในตลาด Group-buying (团购) ในจีนกว่า 5,000 รายในตลาดจีน เพราะการลอกเลียนแบบ business model ของ Group-buying website ไม่ได้ยากเลย แต่สิ่งที่ต้องมีคือ การดำเนินธุรกิจที่แข็งแรง (Execution) ต่างหาก

• ในห้วงเวลานี้คู่แข่งของ Meituan มีกลยุทธ์โต้ตอบอย่างมากมาย หนึ่งในนั้นคือการขู่คู่แข่งให้กลัว ในข้อมูลสาธารณะแสดงให้เห็นว่า ในเดือนเมษายน 2011 นี้เอง Dianping (ครั้งยังเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Meituan) ได้ระดมทุนสำเร็จไปถึง $100 ล้าน ส่วน Lashou.com ก็ยังได้รับเงินรวมไปทั้งสิ้น $160 millionในการ raise fund ถึงสามครั้ง แต่ Wang Xing ก็ไม่ได้เล่นไปตามเกม ไม่ได้ลงแข่งในสงครามโฆษณาออฟไลน์ แต่มุ่งไปโฟกัสการทำการตลาดออนไลน์แทน แต่บริหารงานค่อนไปทาง conservative ดูแลกระแสเงินสดและควบคุมความเสี่ยงอย่างดี

• สุดท้าย Meituan จะเอาชนะคู่แข่งกว่า 5000 รายในตอนนั้นได้หรือไม่ อย่างไร

• รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 36

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3UOoJIe

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3SK1cWZ

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3SFWute

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3BVQUMU

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/4l3SIWVG0sA

ผู้พิพากษา vs Judge AI เมื่อความยุติธรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI อาจดีกว่าการถูกตัดสินด้วยอคติจากมนุษย์

แม้มันดูเหมือนจะเป็นเรื่องราวจากภาพยนตร์ไซไฟ แต่ต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันนั้น ในวงการกฎหมายเริ่มนำเอาเทคโนโลยีอย่าง AI มาประยุกต์ใช้จริง ๆ กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การเติบโตอย่างบ้าคลั่งของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ข้อมูล Big Data ขนาดมหึมา เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning และข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้รับอย่างต่อเนื่องจากอินเทอร์เน็ต ที่ครอบคลุมทุกอย่างรอบตัวเรา กำลังเปลี่ยนโลกของเราด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อน

มีผลการศึกษาผลกระทบต่อเทคโนโลยีต่อหลากหลายอาชีพ ได้พบว่า นักกฎหมายและผู้พิพากษาอยู่ที่จุดกึ่งกลางของงานที่มีแนวโน้มว่าจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

มีสิ่งบ่งชี้เกี่ยวกับภัยคุกคามต่ออาชีพนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น chatbot บริการทางกฎหมายที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในสหราชอาณาจักร ที่มีชื่อว่า ‘DoNotPay’ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 ในฐานะ ‘ทนายความหุ่นยนต์’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคอมพิวเตอร์ Watson ของ IBM

ในปี 2016 ระบบ chatbot ได้โต้แย้งข้อพิพาทเรื่องตั๋วจอดรถมากกว่า 250,000 คดีในลอนนดอนและนิวยอร์ก ซึ่งสามารถชนะการตัดสินได้ถึง 160,000 คดี

DoNotPay Chatbot ที่ได้พลังการประมวลผลจาก IBM Watson (CR:Techcrunch)
DoNotPay Chatbot ที่ได้พลังการประมวลผลจาก IBM Watson (CR:Techcrunch)

ในประเทศจีน Xiaofa หุ่นยนต์ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางกฎหมายและช่วยเหลือสังคมทั่วไปในเรื่องกฎหมาย

ในขณะที่ ‘ผู้ช่วย AI’ สามารถช่วยสนับสนุนผู้พิพากษาในนกระบวนการตัดสินใจได้ด้วยการทำนนายและเตรียมคำตัดสินของศาล แต่ ‘ผู้พิพากษา AI’ สามารถที่จะแทนที่ผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์และตัดสินคดีต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองในกระบวนการพิจารณาคดีอัตโนมัติเต็มรูปแบบได้หรือไม่?

นักเขียนชื่อดังเรื่อง AI อย่าง Terence Mauri คิดว่าเหล่าเครื่องจักร AI จะรับรู้สัญญาณของการหลอกลวงทางร่างกายและจิตใจด้วยความแม่นยำ 99.99% เขาประเมิน AI จะเป็นเรื่องปรกติในการพิจารณาคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาในอังกฤษและเวลส์ในอีก 50 ปีข้างหน้า

และตอนนี้ ผู้พิพากษาหุ่นยนต์ที่ใช้เทคโนโลยี AI ได้เริ่มดำเนินการในประเทศจีนแล้ว เพื่อรับฟังกรณีเฉพาะ เช่น ข้อพิพาททางการค้า ความผิดในเรื่องอีคอมเมิร์ซ และการละเมิดลิขสิทธิ์ คดีดังกล่าวหลายล้านนคดีได้รับการจัดการโดยผู้พิพากษาหุ่นยนต์แล้ว

บ่อยครั้ง หุ่นยนต์อาจไม่ได้นั่งบนเก้าอี้ผู้พิพากษา แต่อุปกรณ์ AI จะวิเคราะห์ข้อมูลที่อัปโหลดและตัดสินคำตัดสินตามกฎหมายและข้อเท็จจริง 

ในอเมริกาที่ลอสแองเจลิสกำลังทำงานในโครงการ Chatbot ของคณะลูกขุน ศาลบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำลังใช้ความคิดริเริ่มในการระงับข้อพิพาททางออนไลน์ (ODR) เพื่อจัดการกับความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้น

กระทรวงยุติธรรมเอสโตเนียได้กระตุ้นให้ Velsberg Ott หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านข้อมูลของตนออกแบบ ‘ผู้พิพากษาหุ่นยนต์’ ที่เปิดใช้งาน AI เพื่อตัดสินข้อพิพาทสำหรับการเรียกร้องเล็ก ๆ น้อย ๆ กว่า 7,000 คดี

ซึ่งจะทำให้การให้บริการด้านการพิจารณาคดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะอัปโหลดเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ และ AI จะออกคำตัดสินที่สามารถอุทธรณ์ต่อผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ได้

ในขณะที่หลายประเทศกำลังทดลองใช้อัลกอริธึมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อตัดสินทางด้านกฎหมาย โดยแทนที่มนุษย์ ข้อโต้แย้งหลักที่สนับสนุนการพิจารณาตัดสินที่ขับเคลื่อนด้วย AI นั้นเกี่ยวกับสองปัจจัยก็คือประสิทธิภาพที่มากขึ้นและความเป็นไปได้ในการลดอคติของมนุษย์

ข้อผิดพลาด และ “เสียงรบกวน (noise)” หมายถึงความแปรปรวนที่ไม่ต้องการระหว่างการตัดสินที่อาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเหนื่อยของผู้พิพากษาที่จะต้องมาตัดสินหรือผลการแข่งขันของทีมกีฬาที่ผู้พิพากษาเชียร์เมื่อคืนก่อนหน้า

Daniel Kahneman ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Noise ก็กล่าวถึงเรื่องการพิพากษา (CR:Four Mniute Books)
Daniel Kahneman ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Noise ก็กล่าวถึงเรื่องการพิพากษา (CR:Four Mniute Books)

ในภาพยนตร์ของ Steven Spielberg เรื่อง ‘Minority Report’ ในปี 2002 ซึ่งฉายภาพของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 2054 ที่กองกำลังตำรวจ ‘PreCrime’ สามารถทำนายการฆาตกรรมในอนาคตได้โดยใช้การขุดคุ้ยข้อมูลในอดีตและการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่คนใดถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่ออาชญากรรมในอนาคต เขาก็มุ่งมั่นที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเขา!  ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ของ Spielberg อาจจะกำลังบรรยายถึงอนาคตของห้องพิจารณาคดีที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ก็เป็นได้นั่นเองครับผม

References :
https://www.ft.com/content/a5709548-03bd-4f65-b9b5-7aa0325c0f6b
https://futurium.ec.europa.eu/en/european-ai-alliance/best-practices/robot-judges-and-ai-systems-chinas-courts-and-public-security-agencies
https://www.thestatesman.com/opinion/robot-judges-chair-1503031697.html

Geek Story EP155 : จากภารโรงสู่มหาเศรษฐี กับ Lee Su-jin ผู้ก่อตั้ง Yanolja แพลตฟอร์ม Superapp ด้านการท่องเที่ยวของเกาหลี

Lee Su-jin อดีตภารโรงของเลิฟโฮเทลในเกาหลีใต้ ที่ต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและทำความสะอาดในโรงแรมม่านรูด แต่สิบหกปีหลังจากนั้น เขาได้ใช้ความรู้ที่สะสมมาเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรม

Lee เป็นผู้ก่อตั้ง Yanolja ซึ่งในภาษาเกาหลีแปลว่า “เฮ้ มาเล่นกันเถอะ” และเป็นแอปยอดนิยมของประเทศสำหรับการจองห้องพักระยะสั้น ซึ่งชาวเกาหลีใต้เรียกว่าโมเทล

เขาได้พยายามเกลี้ยกล่อมเหล่าเจ้าของโรงแรมรูปแบบดังกล่าวให้ละทิ้งภาพลักษณ์เดิม ๆ ของที่พักรูปแบบดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเป็นม่านรูดใช้เฉพาะเรื่องเซ็กส์ การนอกใจ และการฆ่าตัวตาย และทำการอัพเกรดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักเดินทางเพื่อธุรกิจ ครอบครัว และเหล่านักท่องเที่ยว

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3RjfexS

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3dQ2RLX

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3Sn6Pum

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3rgvzbQ

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/TB3XLk0vc24

Ecommerce x Culture กับความแตกต่างทางวัฒนธรรมการชอปปิ้งออนไลน์ระหว่างตะวันตกกับเอเชีย

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ นะครับ ที่เราได้เห็นการถอยทัพของยักษ์ใหญ่ ecommerce จากบ้านเราอย่าง shopee ที่ไปบุกยุโรป หรือ เคสของ TikTok Shop ที่เปิดบริการในยุโรปได้ไม่นาน ก็แทบจะต้องยกเลิกบริการนี้ไป

หรือเคสคลาสสิก อย่างการที่ ebay ที่ได้บุกมาประเทศจีน แล้วถูก taobao ของ jack ma ถล่มซะราบคาบเลยทีเดียว ซึ่งต้องบอกว่าวัฒนธรรมการชอปปิ้งนั้นถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญมาก ๆ ที่แพลตฟอร์มทั้งสองฝั่งยากที่จะเจาะตลาดอีกฝั่งหนึ่งได้ง่าย ๆ

การบุกเข้าไปของ ebay ในครั้งนั้นเรียกได้ว่า copy ทุกอย่างที่พวกเขาประสบความสำเร็จในตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา แล้วนำไปใช้ในเมืองจีน ซึ่งไม่มีการปรับแพลตฟอร์มให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นแต่อย่างใด

กลับกัน ฝั่ง jack ma ที่เพิ่งสร้าง taobao มาแท้ ๆ กลับเข้าใจพฤติกรรมคนท้องถิ่นมากกว่า ฟีเจอร์ทีเด็ดเพียงไม่กี่อย่าง เช่น การเรียงหมวดหมู่สินค้า การปล่อยให้ผู้ซื้อและผู้ขายคุยกันได้อย่างอิสระ แม้จะมีทุนน้อยกว่าแต่สุดท้ายพวกเขาก็เอาชนะ ebay ไปได้

การปล่อยให้ผู้ซื้อและผู้ขายคุยกันได้อย่างอิสระ โดนใจนักช็อปชาวจีนเป็นอย่างมาก (CR:taobao)
การปล่อยให้ผู้ซื้อและผู้ขายคุยกันได้อย่างอิสระ โดนใจนักช็อปชาวจีนเป็นอย่างมาก (CR:taobao)

แม้จะมีในบางประเทศในเอเชียอย่างญี่ปุ่นเองที่ Amazon เข้าไปตั้งฐานที่มั่นได้ แต่ก็ต้องบอกว่าสไตล์ของคนญี่ปุ่นนั้นก็คงมีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมการชอปปิ้งของทางฝั่งตะวันตกที่เน้นความเรียบง่าย เราจะเห็นได้จากแพลตฟอร์มที่เป็นเจ้าตลาดทั้ง Amazon และ Rakuten ก็เน้น concept การชอปปิ้งแบบเรียบง่าย

แต่หากเราลองมองดูพฤติกรรมตลาดที่ใกล้ๆ กับประเทศจีน อย่างในประเทศไทยเราเอง หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะมีพฤติกรรมการชอปปิ้งออนไลน์ที่คล้ายคลึงกันมาก

หากเปิดแอปชอปปิ้งออนไลน์ ทั้ง Lazada และ Shopee เราจะเห็นความคล้ายคลึงกันมาก ๆ ที่ต่างมีลูกเล่นมากมาย มีการนำรูปแบบของ Gamification เข้ามาใช้ในแพลตฟอร์มเพื่อให้การชอปปิ้งมีความสนุกมากยิ่งขึ้น

หรือแม้กระทั่งเรื่อง flash sale ต่างๆ ที่ลดสินค้ากระหน่ำ เรียกได้ว่าถูกจริตกับคนแถบนี้เป็นอย่างมาก แต่มันแทบใช้ไม่ได้กับพฤติกรรมการชอปปิ้งของคนตะวันตก

ซึ่งส่วนใหญ่ที่เราเห็นสินค้าราคาถูก ๆ บางชิ้น 9 บาท ขายกันไปได้ยังไง มันไม่มีทางทำกำไรได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าแพลตฟอร์มเป็นคนรับภาระในส่วนนี้เพื่อสร้างพฤติกรรมการชอปปิ้งให้กับผู้บริโภค ซึ่งคงไม่แปลกใจทำไมตัวเลขการขาดทุนของแพลตฟอร์ม ecommerce อย่าง shopee ถึงสูงมาก

ส่วน lazada แม้จะกลับมาทำกำไรได้แล้วก็ตาม แต่กำไรของพวกเขาก็ไม่ได้มาจาก ecommerce แต่เป็นกำไรจาก ecosystem ของแพลตฟอร์มอย่างการจัดส่งสินค้าแทน

แต่รูปแบบโมเดลเดียวกันนี้ ไปใช้ในตะวันตก แล้วนำสินค้าราคาถูกจากจีนไปขายนั้น เรียกได้ว่าเป็นการดูถูกชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสินค้า copy ที่ชาวตะวันตกรับไม่ได้ ซึ่ง TikTok Shop ก็เคยโดนเล่นงานจากประเด็นนี้จนต้องยอมแพ้ในตลาดยุโรปไปในท้ายที่สุด

TikTok Shop ที่โดนเล่นงานจากประเด็นสินค้า copy จนต้องถอยจากตลาดยุโรป (CR: FT)
TikTok Shop ที่โดนเล่นงานจากประเด็นสินค้า copy จนต้องถอยจากตลาดยุโรป (CR: FT)

ซึ่งหากมองแพลตฟอร์มทั้งสองที่เป็นเจ้าตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง lazada ที่สนับสนุนโดย alibaba และ shopee ที่ได้ backup พี่ใหญ่อย่าง tencent

แม้ผู้ประกอบการชาวไทย หรือ ผู้ประกอบการท้องถิ่นจะได้ประโยชน์จากการเข้ามาใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้ (โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ) แต่ในระยะยาวกลุ่มที่ได้ประโยชน์สูงสุดคงเป็นผู้ประกอบการจากประเทศจีนที่กำลังรุกหนักเข้ามากลืนกินพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อยู่ในตอนนี้นั่นเองครับผม

Credit Image : Tech in Asia

Geek Daily EP147 : การใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจที่ผิดพลาดสู่การปลดคนงานครั้งใหญ่ของ Shopee ทั่วโลก

Shopee ประเทศไทย ส่งอีเมลแจ้งพนักงานตอนเช้า พรุ่งนี้เลย์ออฟทันที โดยเป็นการลดจำนวนพนักงานในไทยอีกครั้ง ตามหลังบริษัทแม่ Sea Group ในต่างประเทศเริ่มมีการลดพนักงาน และยุติการลงทุนในหลายประเทศ ตามภาวะเศรษฐกิจ และการเติบโตทางด้านดิจิทัล

เบื้องต้น การปลดพนักงานในครั้งนี้อยู่ในหลักร้อยคน โดยจะมีการปลดทั้งพนักงานประจำ พนักงานสัญญาจ้างจากหลายแผนก โดยเฉพาะในฝั่งของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (Shopee) และช้อปปี้เพย์ (Shopee Pay)

แล้วทำไมมันเกิดขึ้นกับเฉพาะ Shopee แล้ว Lazada ล่ะ เขาไม่ปลดพนักงานหรือ ในเมื่ออยู่ในธุรกิจเดียวกัน ใน EP จะมาวิเคราะห์เรื่องกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ผิดพลาดของ Shopee กันครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3yhn3xt

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3DVzPF9

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3BPLqD0

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3xVUQvH

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/qALRFe3MNKw