เมื่อ Facebook , Google และ Twitter กำลังแข่งกันกระจายข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับ Coronavirus

การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของ coronavirus ในประเทศจีนและทั่วโลกได้ส่งผลให้ แพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook, Google และ Twitter เกิดการแพร่กระจายชุดข้อมูลของความจริงที่ถูกต้องและความเท็จที่ผิดพลาดอีกมากมายเกี่ยวกับการระบาดร้ายแรงครั้งนี้

ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้งสามแห่งใน Silicon Valley พยายามที่จะลดการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นอันตรายรวมถึงการโพสต์ภาพถ่ายและวิดีโอที่พยายามทำให้ผู้คนแตกตื่น 

Facebook และทีมงาน ได้พยายามที่จะต่อสู้กับทฤษฎีสมคบคิดที่แพร่หลายรวมถึงการหลอกลวงที่อ้างว่ามาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯอย่างไม่ถูกต้อง  ซึ่งข้อมูลที่ผิดบางส่วนได้แพร่กระจายผ่าน Facebook ส่วนตัว ซึ่งเป็นช่องทางที่ยากสำหรับนักวิจัยและทีมงานของ Facebook ในการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากข่าวแพร่ระบาดครั้งแรกเกี่ยวกับ coronavirus

“ออริกาโนออยล์พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพต่อต้านโคโรนาไวรัส” โพสต์ที่มีการแชร์อย่างน้อย 2,000 ครั้งในหลายกลุ่มภายในวันจันทร์ที่ผ่านมาก โพสต์ต้นฉบับเป็นข้อมูลเก่า และนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่าไม่มีการรักษาดังกล่าวสำหรับ coronavirus

โดยเจ็ดองค์กรที่เป็นพันธมิตรกับ Facebook ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง 9 ครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาโดยพบว่ามีโพสต์เกี่ยวกับ coronavirus หลายตัวที่ถูกระบุว่าเป็นข้อมูลเท็จซึ่งรวมถึงการรักษาด้วยยาปลอม  Facebook กล่าวว่ามีข้อความที่ไม่ถูกต้องและได้ทำการลดการมองเห็นลงในฟีดข้อมูลรายวันของผู้ใช้งาน

ข้อมูล fake news จำนวนมากถูกเผยแพร่บน facebook
ข้อมูล fake news จำนวนมากถูกเผยแพร่บน facebook

ส่วนทวิตเตอร์ ผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาค้นหา hashtags coronavirus ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค YouTube ของ Google กล่าวว่าอัลกอริทึมของพวกเขามีการจัดลำดับความสำคัญของแหล่งที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ถึงกระนั้นวิดีโอจำนวนหนึ่งรวมทั้งที่มีมากกว่า 430,000 วีดีโอ ได้ส่งข้อมูลที่น่าสงสัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ coronavirus และวิธีการแพร่ระบาดของมัน

ในการค้นหาข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับ coronavirus, Facebook, Google และ Twitter ก็กำลังต่อสู้กับความรับผิดชอบของพวกเขาในฐานะผู้ดูแลข้อมูลขาเข้าจากผู้ใช้งาน ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่จริง และ เท็จ

โดยทั่วไปแล้วยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้งสาม จะรักษานโยบายเฉพาะเกี่ยวกับการโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าการสร้างข้อมูลทางดิจิทัลจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อโลกแห่งความจริง 

แต่บริการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ Silicon Valley ยังคงดิ้นรนเพื่อสร้างสมดุลกับการเฝ้าระวังของหน่วยงานกำกับดูแลและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ยกตัวอย่าง เช่น หลายเดือนก่อนที่ Facebook ทำการตอบโต้เนื้อหาที่เชื่อมโยงวัคซีนกับออทิซึมอย่างผิด ๆ ซึ่งมีผู้คนจำนวนมากที่ส่งเสริมการรักษาแบบผิด ๆ และข้อมูลดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในแพลตฟอร์ม แม้ว่า Facebook จะเตือนผู้คนที่จะเข้าไปร่วมกลุ่มก่อนแล้วก็ตามที

ในทำนองเดียวกันกับวิดีโอต่อต้านการฉีดวัคซีน Google ได้ทำการปรับแต่งอัลกอริทึมของ YouTube เมื่อปีที่แล้วเพื่อหยุดเนื้อหาที่เป็นอันตรายจำนวนมากไม่ให้ปรากฏในผลการค้นหา และ Twitter ได้พยายามทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน แต่การบิดเบือนข้อมูลที่เป็นอันตรายยังคงมีอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐฯยังคงมองว่าโซเชียลมีเดียยังมีช่องโหว่กับเรื่องดังกล่าวอยู่

Youtube มีการปรับอัลกอริทึมเพื่อป้องกันข่าวปลอม
Youtube มีการปรับอัลกอริทึมเพื่อป้องกันข่าวปลอม

เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น Facebook และ Twitter ในช่วงสุดสัปดาห์ พบว่ามีโพสต์ยอดนิยมจำนวนมาก ที่ให้ข้อมูลผิด ๆ ว่าสหรัฐฯหรือรัฐบาลต่างประเทศอื่น ๆ ได้รับสิทธิบัตรสำหรับ coronavirus มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยมีทวีตรายหนึ่งเรียก Coronavirus ว่า “โรคแฟชั่น” ซ้ำแล้วซ้ำอีกซึ่งเป็นโรคที่ได้รับการจดสิทธิบัตรมาแล้ว และมีการแชร์ประมาณ 5,000 ครั้งบน Twitter เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ผู้ใช้ Facebook หลายพันคนยังได้เข้าร่วมชุมชนที่สร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ coronavirus ซึ่งเป็นการค้นหาจากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเหล่านี้ ซึ่งเป็นการสร้างชุดข้อมูลที่ผิดๆ

มีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 1,100 รายซึ่งดูเหมือนจะกลัวความเจ็บป่วยที่รุนแรง ในกลุ่มที่มีชื่อว่า“ Coronavirus Warning Watch” โดยผู้คนในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนทฤษฎีเกี่ยวกับการแพร่กระจายของมัน ในบางกรณีโยงเรื่องดังกล่าวไปเกี่ยวข้องกับแผนการ “การลดประชากร” ของรัฐบาล เช่นเดียวกับทุกกลุ่มโพสต์ภาพถ่ายและวิดีโอที่แชร์จะถูกส่งไปยังฟีดข่าวของผู้เข้าร่วมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงให้มากที่สุด

ยังมีคนอื่น ๆ ใน facebook ที่ใช้กลุ่ม coronavirus เพื่อเน้นทฤษฎีที่ น้ำมันออริกาโนหรือซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ โดยในบางกรณีจะมีการโพสต์ลิงก์ไปยังวิดีโอ YouTube รวมถึงคลิปยอดฮิตที่มีความยาว 11 นาที ตอนนี้มีผู้ชมมากกว่า 20,000 ครั้งซึ่งเป็นการกล่าวอย่างผิด ๆ ว่าไวรัสได้ฆ่าชีวิต กว่า 180,000 คน ในประเทศจีน

Farshad Shadloo โฆษกของ YouTube กล่าวว่า บริษัท “ลงทุนอย่างหนักเพื่อเพิ่มเนื้อหาที่มีความถูกต้องบนเว็บไซต์ของเราและลดการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดใน YouTube” เช่น สร้างความมั่นใจว่าผู้ที่ค้นหาข่าวจะเห็นผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง YouTube ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดหากมีการดำเนินการเฉพาะอื่น ๆ เกี่ยวกับวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับ coronavirus

ส่วนใน Twitter ในขณะเดียวกันผู้ใช้บางคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากได้แชร์ข้อมูลว่า coronavirus แพร่กระจายไปสู่มนุษย์เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารจีน ซึ่งรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการเหยียดผิวชาวจีน โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ชี้ไปที่ต้นกำเนิดของการติดเชื้ออย่างชัดเจนนัก ยังต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนอีกซักระยะหนึ่ง

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่อง Fakenews นั้น มันไม่ได้มีเฉพาะแค่ในประเทศไทยเราอย่างเดียวเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่าหากเกิดวิกฤติคราใด เหล่าข้อมูลเท็จก็จะออกมามากมายผ่านเครือข่ายแพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Google หรือ Twitter

ในฝั่งตะวันตกนั้น อาจจะมีระบบการตรวจสอบบ้างอย่างที่กล่าวในบทความนี้ เนื่องจากสามารถใช้ เทคนิคทางด้าน computer algorithm ในการตรวจจับข่าวเท็จเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษอาจจะเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ง่าย

แต่พอมาเป็นภาษาอื่น ๆ อย่างในภาษาไทยของเรา เราจะสังเกตได้ว่า ระบบแทบจะไม่ได้ตรวจจับข้อมูลเท็จเหล่านี้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องข้อจำกัดของภาษาอย่างนึง ที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนข้อมูลภาษาอังกฤษ

ผมก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เห็นด้วยมาก ๆ ที่เรื่องของ Fakenews เหล่านี้ แพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Twitter หรือ Google ต้องมีส่วนในการรับผิดชอบกับเรื่องดังกล่าว เพราะพวกเขาเป็นคนรับข้อมูลเข้าระบบ การตรวจสอบต่าง ๆ นั้นจะง่ายกว่า ให้รัฐบาลแต่ละประเทศมาจัดการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก และที่สำคัญน่าจะใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการมาแก้ที่ปลายเหตุมาก ๆ

แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายที่สำคัญของแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ ในการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล และที่สำคัญก็คือ ด้วยกลไกทางด้านอัลกอริธึม ที่เน้นการสร้าง engagement มากที่สุด ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่ทำให้ข้อมูลเท็จ Fakenews เหล่านี้ ถูกกระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และ ทำให้ผู้คนต่างหันมาเลียนแบบได้ เพราะมันได้มาซึ่ง engagement ที่ดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งสุดท้ายมันเป็นการเพิ่มรายได้ที่จะเข้ามาจากแพลตฟอร์มเหล่านี้

มีแนวคิดหนึ่งที่ผมเคยได้อ่านจากเรื่องราวของ Jack Ma ที่จัดการเรื่องนี้ในประเทศจีน หากไม่สามารถกรองข้อมูล input ขาเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มก็ควรมีการ Hold โพสต์ใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเข้าใจผิด ๆ อย่าง เรื่องทางด้านสาธารณสุข หรือ ข้อมูลสุขภาพ เมื่อมีการแพร่กระจายแบบผิตปรกติเสียก่อน

ข้อมูลเหล่านี้ควรมากจาก Account ที่ มีการ Verified ที่ชัดเจนแล้ว เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องดังกล่าวจริง ๆ เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ควรให้คนทั่วไปกระจายข่าวมั่ว ๆ ได้แบบง่าย ๆ ควร Hold ไว้แล้วตรวจสอบก่อน หากเป็นแหล่งที่ยังไม่ได้รับการ Verified ข้อมูลอย่างถูกต้อง เพราะเรื่องเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น Coronavirus อย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ ที่ไม่ควรที่จะมีข้อมูลเท็จปล่อยออกมาจากแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ นั่นเองครับ

References : https://www.washingtonpost.com/technology/2020/01/27/facebook-google-twitter-scramble-stop-misinformation-about-coronavirus/ https://www.20minutos.es/noticia/4133023/0/facebook-twitter-y-google-se-unen-a-la-lucha-contra-el-coronavirus-combatiendo-las-fake-news/

Google กับความพยายามสร้างแผนที่สมองที่มีความละเอียดมากที่สุดในโลก

ความพยายามร่วมกันระหว่าง Google และ Janelia Research Campus เพิ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำแผนที่สมอง พวกเขาได้ตีพิมพ์แผนที่เชื่อมโยงสมองที่มีความละเอียดสูงทีที่สุดในโลกที่เคยมา

โดยพวกเขาได้นำเสนอแบบจำลอง 3 มิติของเซลล์ประสาทแมลงหวี่ 25,000 เซลล์ ในเซลล์ชนิดต่าง ๆ ของมัน และทำการสร้างแผนที่ความละเอียดสูงของเซลล์สมอง ทีมประสบความสำเร็จโดยการตัดส่วนของสมองของแมลงหวี่ ออกเป็นชิ้นบางเฉียบ (20 ไมครอน)

หลังจากนั้นทำการ ถ่ายภาพชิ้นส่วนเหล่านั้นด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งผลที่ได้คือแผนที่สมองที่มีความซับซ้อนที่ที่สุดตั้งแต่เคยมีมา โดยมี เส้นประสาทที่ขาดออกจากกัน เพียงเล็กน้อยเพื่อให้สามารถติดตามเซลล์ประสาทผ่านทางสมองได้

ทุกคนสามารถเข้าไปดูและดาวน์โหลดข้อมูล โดยจะมีทั้งเอกสารและรายละเอียดวิธีต่าง ๆ ทั้งหมด อย่างไรก็ตามมันสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นขุมทรัพย์ทางข้อมูลใหม่สำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการทำความเข้าใจกับแมลงวันโดยเฉพาะ หรือทำให้เข้าใจการทำงานของสมองที่มีขนาดใหญ่ได้เช่นเดียวกัน

แม้จะมีแผนที่ ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ แต่ที่เห็นก็เป็นแค่เพียงหนึ่งในสี่ของกว่า 100,000 เซลล์ประสาทในแมลงหวี่ทั่วไปเท่านั้น สมองของสัตว์อื่น ๆ รวมถึงมนุษย์เองก็ตาม จะมีขนาดใหญ่กว่านี้ และมีความซับซ้อนมากกว่านี้ โดยเซลล์ประสาทของมนุษย์ มีจำนวนกว่า 86 พันล้านเซลล์ ซึ่งจะต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการทำแผนที่ให้ถูกต้อง แต่ต้องบอกว่างานวิจัยครั้งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่สุดครั้งนึงในการที่จะเรียนรู้การทำงานของสมองมนุษย์ในอนาคตได้นั่นเอง

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

แผนที่ของสมองถือเป็นอีกหนึ่งงานวิจัยที่น่าสนใจ ในการทำความเข้าใจกับสมองของมนุษย์ ที่มีความซับซ้อนมาก ๆ รวมถึงปัญหาเรื่องโรคทางสมองหลาย ๆ โรค ที่เรายังหาสาเหตุ และวิธีการแก้ไขกับมันไม่ได้ เพราะเนื่องจากความซับซ้อนของสมอง

ด้วยเทคโนโลยีของ Google ที่กำลังก้าวหน้าไปอย่างมาก รวมถึงเทคโนโลยีทางด้านการเก็บข้อมูลของ Google ที่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผมก็เป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่าในอนาคตอีกไม่ไกล เราจะได้รู้ถึงความลับต่าง ๆ เกี่ยวกับสมองของมนุษย์เราที่มีมาอย่างยาวนานได้เสียทีครับผม

References : https://www.engadget.com/2020/01/22/google-brain-connectivity-map/

เมื่อ AI พบการแพร่ระบาด ไวรัสโคโรน่า ได้เร็วกว่ามนุษย์

เมื่อวันที่ 9 มกราคม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แจ้งให้สาธารณชนทราบถึงการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศจีน : โดยมีรายงานผู้ป่วยโรคปอดบวมจำนวนหนึ่งในเมือง หวู่ฮั่น ของประเทศจีน 

ส่วนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกเตือนมาไม่กี่วันก่อนหน้านี้ในวันที่ 6 มกราคม แต่สิ่งที่เหลือเชื่อก็คือ แพลตฟอร์ม AI ด้านการตรวจสอบสุขภาพของแคนาดาได้ทำนายการระบาดของโรคให้กับลูกค้าตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม

BlueDot ใช้ อัลกอริทึมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของ AI ซึ่งมีรายงานข่าวและประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อแจ้งเตือนลูกค้าล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นอันตราย เช่น หวู่ฮั่น ในประเทศจีน

ส่วนเรื่องความเร็วในระหว่างการระบาด ฝั่งของเจ้าหน้าที่จีนดูเหมือนจะไม่มีประวัติที่ดีในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับโรคว่าข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไรกันแน่ แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ WHO และ CDC ก็ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากจีนเพื่อตรวจสอบการระบาดของโรคจากไวรัส โคโรน่าใหม่นี้  “เรารู้ว่ารัฐบาลจีนอาจไม่ได้รับความเชื่อถือในการให้ข้อมูลตามกรอบเวลาที่กำหนด” Kamran Khan ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ BlueDot กล่าว “แต่เราสามารถรับข่าวสารของการระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากฟอรัมหรือบล็อกที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ผิดปกติบางประเภทที่เกิดขึ้น”

Khan กล่าวว่าอัลกอริทึมไม่ได้ใช้ข้อมูลจากโพสต์ต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์เพราะข้อมูลนั้น มีความซับซ้อนเกินไป แต่เขาใช้อีกสิ่งหนึ่งซึ่งก็คือ : การเข้าถึงข้อมูลการจองตั๋วเครื่องบินของสายการบินทั่วโลกที่สามารถช่วยทำนายได้ว่าประชาชนจะติดเชื้อที่ไหนและเมื่อไหร่ โดยสามารถทำนายได้อย่างถูกต้องว่าไวรัสจะแพร่จากหวู่ฮั่นไปยังกรุงเทพฯ โซล ไทเป และโตเกียวในวันต่อมาหลังจากที่ปรากฏตัวครั้งแรก

bluedot สามารถทำนายการกระจายได้อย่างแม่นยำ
bluedot สามารถทำนายการกระจายได้อย่างแม่นยำ

Khan ผู้ซึ่งทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลในโตรอนโตในช่วงที่โรคซาร์สระบาดในปี 2003 ซึ่งเขาฝันที่จะหาวิธีที่ดีกว่าในการติดตามโรค โดยไวรัสโรคซาร์สนั้นก็เริ่มต้นในประเทศจีนและแพร่กระจายไปยังฮ่องกงจากนั้นก็ไปยังโตรอนโต 

โดย Khan กล่าวถึงการระบาดของโรคโคโรน่าไวรัสว่า “ ในปี 2003 ผมเฝ้าดูเชื้อไวรัสดังกล่าวแพร่กระจายไปทั่วเมืองและทำให้โรงพยาบาลเกิดความโกลาหล ทำให้เหล่าเจ้าหน้าที่เกิดความเหนื่อยล้าทั้งจิตใจและร่างกายเป็นอย่างมาก และผมคิดว่า ‘เราจะไม่ทำสิ่งนี้อีกต่อไป’”

หลังจากได้ทดสอบโปรแกรมการทำนายหลายครั้ง Khan ได้เปิดตัว BlueDot ในปี 2014 และระดมทุนได้ 9.4 ล้านดอลลาร์ โดยขณะนี้ บริษัท มีพนักงาน 40 คน โดยแพทย์และโปรแกรมเมอร์ที่คิดค้นโปรแกรมการเฝ้าระวังโรคซึ่งใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) และเทคนิคของ Machine Learning เพื่อคอย Monitor ผ่านรายงานข่าวใน 65 ภาษาพร้อมกับข้อมูลสายการบินและรายงานการระบาดของโรคจากสัตว์ “

เมื่อมีการกรองข้อมูลแบบอัตโนมัติเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์ของมนุษย์ Khan กล่าว นักระบาดวิทยาตรวจสอบว่าข้อสรุปมีเหตุผลจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์จากนั้นรายงานจะถูกส่งไปยังลูกค้าทั้งรัฐบาล ธุรกิจ และเครือข่ายสาธารณสุข

จากนั้นรายงานของ BlueDot จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหลาย ๆ ประเทศ (รวมถึงสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) โดย BlueDot ไม่ได้ขายข้อมูลของพวกเขาให้กับประชาชนทั่วไปแต่อย่างใด ในขณะนี้

ซึ่ง BlueDot เคยประสบความสำเร็จในการคาดการณ์สถานที่ตั้งของการระบาดของโรค Zika ในเซาท์ฟลอริดา ที่ได้ทำการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของประเทศอังกฤษอย่าง The Lancet

BlueDot พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขบางคนกล่าวว่าแม้จะมีการระบาดของโรคซาร์สเป็นเวลาหลายเดือนในปี 2003 แต่เจ้าหน้าที่ของจีนก็ตอบสนองได้เร็วขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นใหม่กับพวกเขา อย่าง ไวรัส โคโรน่า

“ การระบาดน่าจะใหญ่กว่านี้หนึ่งเท่า จากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยืนยัน” James Lawler ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเนแบรสกากล่าว ซึ่งเขาเป็นทีมงานที่ทำการรักษาผู้ป่วยโรคอีโบล่าที่ถูกกักกันในปี 2017 และปี 2018 การคำนวณแบบปรกติต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศจีนในแต่ละสัปดาห์ อาจจะมีความคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก”

Lawler และคนอื่น ๆ กล่าวว่า การระบาดของโรค corona virus จะยังคงแพร่กระจายในขณะที่นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนไปยังประเทศอื่น ๆ และแสดงอาการของการติดเชื้อ เขาบอกว่าเรายังไม่รู้ว่ามีกี่คนที่จะป่วยและจะมีกี่คนที่จะตายก่อนที่การระบาดจะลดลง

เพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรคเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องบอกความจริงและบอกเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันมันก็คุ้มค่าที่จะนำไปใช้เป็นฐานข้อมูล เพื่อการเรียนรู้ของ AI ในอนาคตนั่นเอง

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

ถือเป็นการใช้เทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็น Natural Language Processing ที่ทำงานร่วมกับ Machine Learning ในการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากสายการบิน จากฟอรั่ม จาก Blog มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลการระบาดอย่างที่ BlueDot ทำ

แน่นอนว่า การระบาดครั้งนี้ ของ ไวรัสโคโรน่า นั้นก็สามารถมองในแง่ดีได้อีกด้านหนึ่งก็คือ การเป็นฐานข้อมูลใหม่ให้ AI ได้เรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ และ ในอนาคตอาจจะทำนายได้แบบ realtime และสามารถขจัดปัญหาตั้งแต่ต้นตอการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่ให้แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างที่เราเห็นกันในตอนนี้ได้นั่นเองครับ

References : https://www.wired.com/story/ai-epidemiologist-wuhan-public-health-warnings https://www.etftrends.com/disruptive-technology-channel/startup-used-ai-to-identify-coronavirus-outbreak-before-who-cdc/

Geek Talk EP5 : The Staircase ถึงเวลาหรือยังที่ระบบยุติธรรมควรโดน Disrupt

The Staircase เป็นภาพยนต์กึ่งสารคดีที่ตีแผ่คดีที่น่าสนใจของไมเคิล ปีเตอร์สัน นักเขียนนวนิยายแนวอาชญากรรมที่ถูกกล่าวหาว่าลงมือฆ่าแคธลีน ปีเตอร์สัน ภรรยาของตัวเองหลังพบศพของเธอที่เชิงบันไดในบ้าน และมีการต่อสู้คดีในชั้นศาลมาตลอด 16 ปีหลังจากนั้น

ปัญหาใหญ่ของกฏหมายในหลาย ๆ เรื่องที่เราได้พบมาตามข่าว ไม่ว่าจะเป็นคดีเล็ก ๆ อย่างการลักทรัพย์ ไปจนคดีใหญ่ ๆ ระดับประเทศ เราจะเห็นได้ว่า มันขึ้นอยู่กับการตีความ รวมถึงความเทพของเหล่านักกฏหมาย หรือ อัยการ แทบจะทั้งสิ้นที่จะมาตีความตามกฏหมายต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อชี้นำให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างที่เขาต้องการ

The Staircase เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจ กับการต่อสู้ในคดี กับฝั่งอัยการของรัฐ ที่ตั้งมั่นเอาผิด ไมเคิล ปีเตอร์สัน ว่าเขาเป็นคนสังหารภรรยาที่แสนรักของเขา เรื่องราวจะเป็นอย่างไร *** เนื้อหาใน podcast มี spoil บางส่วนของ series ***

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/2RPF0x1

ฟังผ่าน Apple Podcast :   https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/30TsP6t

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/3aMNvkT

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/cSr31bQGHb0

Movie Review : 1917

ต้องบอกว่าผมเป็นหนึ่งในคอหนังแนวสงครามโลก ที่เรียกได้ว่าเป็นแฟนระดับฮาร์ดคอร์ ที่ติดตามแทบจะทุกเรื่อง หากมีหนังที่เกี่ยวกับสงครามโลกเข้าฉาย และสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ของโลกเราในช่วงการเกิดสงครามเป็นอย่างมาก

สำหรับ 1917 นั้น เป็นหนังใหม่อีกหนึ่งเรื่องที่ถ่ายทอดอีกมุมหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่จะเห็นได้ว่ามีหนังน้อยเรื่องที่จะนำเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 1 มาถ่ายทอดลงบน แผ่นฟิล์ม ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปที่สงครามโลกครั้งที่สองมากเสียกว่า

สำหรับ 1917 นั้นเป็นผลงานของ แชม เมนเดส ผู้กำกับรางวัลออสการ์ที่เคยมีผลงานอย่าง Skyfall, Spectre และ American Beauty โดยในเรื่องนี้นั้นได้นำเสนอมุมมองที่แตกต่างในภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1

ซึ่งภาพยนตร์ 1917 ได้ โรเจอร์ ดีกินส์ ผู้กำกับภาพเจ้าของรางวัลออสการ์ รับหน้าที่ผู้กำกับภาพ ภาพยนตร์ถ่ายทอดมุมมองของสงครามโดยใช้การเล่าเรื่องราวแบบเรียลไทม์ เป็นภาพยนตร์เล่าเรื่องแบบช็อตเดียว ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกเสมือนอยู่ในสนามรบ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1

ผ่านตัวละครหลักที่เป็นทหารอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วย สคอฟิลด์ (จอร์จ แมคเคย์ จาก Captain Fantastic) และ เบลก ( ดีน-ชาร์ลส์ แชปแมน จาก Game of Thrones) ได้รับมอบหมายให้ไปร่วมปฏิบัติการที่ดูเหมือนว่าอาจไม่มีทางสำเร็จ พวกเขาต้องข้ามเขตแดนของข้าศึก เพื่อส่งสารเพื่อให้หยุดการโจมตีทหารนับพันที่อยู่ในแนวหน้า

ต้องบอกว่า ภาพยนต์เรื่องนี้ แสดงให้เห็นภาพที่เหมือนจริงของเรื่องราวที่น่าทึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 1 ผ่านการเดินทางสุดระทึกของทหารสองคนที่ต้องส่งสารไปยังทหารแนวหน้าเพื่อยกเลิกการโจมตีเยอรมัน

ความยอดเยี่ยมที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของ 1917 คือเรื่องของเทคนิคการถ่ายทำ การใช้กล้องติดตามตัวละครหลักของเรื่องทั้งสองด้วยการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ดูราบรื่นเป็นเวลา 110 นาที

แม้ว่าความจริงแล้วมันจะไม่ใช่ฉาก Long Take จริง ๆ ทั้งหมด แต่การใช้เทคนิคเนียน ๆ ทำให้สามารถหลอกตาผู้ชมได้ ให้เราเหมือนเข้าไปอยู่ในเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบเหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง ๆ เลยก็ว่าได้

และที่สำคัญ เรื่องของดนตรีประกอบ ก็ทำได้ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมากในการที่จะเพิ่มความรู้สึกของสงครามที่รุนแรงและให้ความรู้สึกว่าทุกฉากนั้น การสร้างสรรค์ของดนตรีประกอบทำได้อย่างยอดเยี่ยมมาก ๆ

เอกลักษณ์เด่นอีกอย่างคือ  มีภาพโคลสอัพที่สำคัญมากมายที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของทหารสองคน(ตัวเอก) เกี่ยวกับอดีตและผลกระทบทางอารมณ์จากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเปิดเผยความน่ากลัวและความน่าตกใจของสนามรบจริง ๆ ที่เกิดขึ้นนั่นเอง

รวมถึงการแสดงของ จอร์จ แมคเคย์ & ดีน-ชาร์ลส์ แชปแมน นั้นยอดเยี่ยม พวกเขาแสดงออกถึงอารมณ์แบบดิบ ๆ ของทั้งคู่ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะ จอร์จ แมคเคย์ ที่รับบท สคอฟิลด์ ตัวเอกหลักของเรื่อง ที่ต้องบอกว่า สามารถทำการแสดงออกมาได้อย่างสุดยอดมาก ๆ ทั้งสีหน้า ท่าทาง แววตา ทุกอย่าง มันดูสมจริง

และเมื่อมาผสมกับเทคนิคฉาก Long Take มันยิ่งทำให้เราเหมือนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง คล้าย ๆ เราเป็นส่วนหนึ่งของตัวละครในหนังเรื่องนี้ อารมณ์ต่าง ๆ ที่ส่งจากตัวละคร มันจึงส่งผลโดยตรงต่อผู้รับชมอย่างชัดเจนมาก ๆ

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งในหนังสงครามคุณภาพ ที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่งครับ สำหรับ 1917 และเป็นหนังที่กล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในแง่มุมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน จากหนังสงครามที่เราเคยดูมาอย่างแน่นอนครับ ที่ให้ความรู้สึกดื่มด่ำและตื่นเต้นกับภาพยนตร์ เนื่องจากภาพยนตร์ทั้งเรื่องถ่ายทอดประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ที่คุณจะไม่เคยได้พบเจอมาก่อนนั่นเองครับ