Geek Daily EP201 : หนึ่งปีที่วุ่นวายของ Twitter(X) ภายใต้การนำของ Elon Musk

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2022 หนึ่งวันหลังจากเดินเข้าไปในสำนักงานใหญ่ของ Twitter ในซานฟรานซิสโกโดยถืออ่างล้างจานเพื่อทวีตในสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องตลก Elon Musk ก็เข้ารับตำแหน่งในบริษัทอย่างเป็นทางการ เขาไล่สมาชิกคนสำคัญของกลุ่มผู้บริหาร Twitter ทันที จากนั้นเลิกจ้างพนักงานประมาณ 5,000 คนหรือประมาณสองในสามของบริษัทในอีกไม่กี่สัปดาห์ถัดมา ผลลัพธ์ที่ได้คือทีมงานที่เหลือน้อยนิดต้องอดทนเพื่อสร้างสรรค์ผลงานตามวิสัยทัศน์ของ Musk แถมยังต้องใช้ชีวิตและหลับนอนในที่ทำงานเป็นบางครั้ง

ในปีที่ควรจะนำการเปลี่ยนแปลงเชิงรุกเพื่อจัดการกับบอทและเหล่า Fake Account แพลตฟอร์มกลับถูกทำร้ายด้วยการตัดสินใจแย่ ๆ ของ Musk เอง ปิดท้ายด้วยการเปลี่ยนโฉมใหม่ที่น่าสับสนให้กลายเป็น X ทำลายแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงมาก ๆ อย่าง Twitter ในขณะที่เมื่อจ้องมองรายชื่อพันธมิตรโฆษณาที่กำลังทยอยย้ายหนีออกจากแพลตฟอร์มเนื่องจากความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนภายใต้การนำของ Musk

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/yw5db7cm

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/55f9d4bf

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/bdk6nhrf

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/ycx2s93r

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/LxQhi7hSa5U

References Image :
https://elluchador.info/2023/10/elon-musk-piensa-en-eliminar-los-repost-y-likes-del-muro-principal-de-x/

ความเทพของพี่มาร์ค กับการปรับกลยุทธ์ธุรกิจอย่างรวดเร็วเพื่อชดเชยสิ่งที่ผิดพลาดจาก Metaverse

หากเรามองผ่านหน้าสื่อ Mark Zuckerberg มักไม่ค่อยได้รับเครดิตในเรื่องการบริหารธุรกิจของเขาซักเท่าไหร่ เพราะดูเหมือนว่าสื่อจะมองเขาไปในสิ่งอื่น ๆ รอบตัวเขามากกว่า

ไม่ว่าจะเป็นความหลงใหลในศิลปะการต่อสู้ล่าสุดของเขา การทะเลาะกับ Elon Musk เรื่องปัญหาต่าง ๆ ที่ถาโถม Facebook ในช่วงหลัง ทั้งการฟ้องร้องจากรัฐในอเมริกาหลายแห่งที่กล่าวหาว่า Meta มีเจตนาที่จะทำให้ผู้ใช้โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นติด Facebook และ Instagram อย่างงอมแงม

ถ้าไม่นับเรื่องราวที่ครีเอเตอร์หลาย ๆ คนอาจจะสาปส่งแพลตฟอร์มของ Mark Zuckerberg ทั้งการลด Reach การปรับเปลี่ยนอัลกอริธึมอยู่แทบจะตลอดเวลา หรือ การผลักดันให้ผู้คนเสียเงินในการโฆษณาเพิ่มมากขึ้น

ย้อนกลับไปในช่วงปีที่แล้ว Zuckerberg เองก็โดนถล่มอย่างหนักจากเหล่านักลงทุน โดยกล่าวหาว่าเขาทำลายธุรกิจหลักไปพร้อม ๆ กับใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยไปกับความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ของเขาสำหรับโลก Metaversee

ซึ่งหากมองในแง่มุมของธุรกิจล้วน ๆ ความสามารถของ Zuckerberg จากผลงานที่ผ่านมานั้นแทบไม่ได้ต่างจาก Satya Nadella ทำกับ Microsoft หรือ Tim Cook สามารถทำได้กับ Apple เลยด้วยซ้ำ

แม้จะดูภาพลักษณ์เป็นเด็กเนิร์ด แต่การบริหารธุรกิจของ Mark นั้นเรียกได้ว่าระดับเทพอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนของช่วงปลายปีที่แล้ว เขาได้ตัดสินใจทางธุรกิจครั้งสำคัญ ซึ่งเมื่อเขาเองมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงโดยรวมของบริษัทสูงถึง 58% เขาจึงสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจโดยแทบไม่ต้องฟังเสียงของผู้ถือหุ้นเลย

Zuckerberg ได้ทำการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์บริษัททางด้านเทคโนโลยี ภายในสองสัปดาห์ของไตรมาสที่สาม เขาได้ลดค่าใช้จ่ายของ Meta และปลดพนักงานออกจำนวนมาก

และเพื่อให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีอย่าง ChatGPT ของ OpenAI ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับแวดวงเทคโนโลยี เขาได้ปฏิวัติองค์กรใหม่โดยมุ่งเป้าไปที่เทคโนโลยีเพื่อใช้ในการกระตุ้นธุรกิจหลักของบริษัท

Nick Clegg ที่เป็นที่ปรึกษาที่มีความใกล้ชิดกับ Zuckerberg ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่า เจ้านายของเขาไม่ชอบให้คนรอบตัวมาตะโกนด่าเขา เช่นเดียวกับเหล่าวิศวกร เขาชอบที่จะแยกแยะปัญหาที่เกิดขึ้นกับส่วนประกอบต่าง ๆ และตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางที่จะใช้ในการปฏิบัติจริง

จะเห็นได้ว่าปัญหาที่ผ่านมา Meta ได้ผลาญเงินไปมากมายกับโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse สิ่งนี้ Zuckerberg เข้าใจอย่างดีเพราะมันเป็นแผนระยะยาวของเขา แต่มันส่งผลต่อแผนการระยะสั้นของบริษัท เขาจึงต้องตัดสินใจเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งสำคัญ

การปรับแผนการลงทุนระยะยาวโดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับ AI เป็นหลัก ไม่ใช่ Metaverse มันเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่ถูกต้องมาก ๆ ของ Zuckerberg เมื่อ ChatGPT ได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดในภายหลัง

ซึ่งผลจากการทำงานอย่างหนักของ Zuckerberg มันก็เห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เมื่อรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมา ที่รายรับเพิ่มขึ้น 23% เป็น 34.15 พันล้านดอลลาร์ สร้างกำไร 11.6 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจาก 4.4 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

Meta ใช้เวลาหลายปีมาแล้วในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ซึ่งแทนที่จะสร้างแชทบอท Zuckerberg ได้มองหาวิธีการใช้ AI เเพื่อปรับปรุงการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานในแพลตฟอร์ม และทำให้ธุรกิจโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภายในเดือนกรกฎาคม Meta ได้จัดทำโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model) อย่าง Llama 2 ให้นักพัฒนาใช้งานได้ฟรี และการทำให้ Llama เป็นโอเพ่นซอร์สช่วยเปลี่ยน Zuckerberg จากผู้ร้ายใน Silicon Valley ให้กลายเป็นฮีโร่ทันที

Leigh Marie Braswell จาก Kleiner Perkins ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกล่าวว่า บริษัทสตาร์ทอัพต่างชื่นชนการเคลื่อนไหวดังกล่าวของ Meta เป็นอย่างมาก ซึ่งช่วยให้หลาย ๆ คนพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ AI ได้ ซึ่งเผลอ ๆ เทคโนโลยีอย่าง Generative AI เองอาจจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ Meta ได้มากกว่า Microsoft หรือ Google เสียอีก

อย่างแรกในเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานในแพลตฟอร์ม โดยขณะนี้ Meta กำลังสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียด้วยอวาตาร์แชทบอทซึ่งหวังว่าจะเพิ่มระยะเวลาที่ผู้คนใช้ฟีดของตน และช่วยให้ธุรกิจโต้ตอบกับลูกค้าบนแอปส่งข้อความได้

สิ่งที่น่าสนใจมากขึ้นในระยะสั้นคือศักยภาพของ AI ในเรื่องการโฆษณา เนื่องจาก Apple จำกัดความสามารถของ Meta ในการติดตามข้อมูลผู้ใช้ในแอปบน iPhone นั่นเป็นการเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของ Meta แบบยกเครื่องใหม่ทั้งหมด แทนที่จะติดตามหลอกหลอนพฤติกรรมของผู้ใช้งานเหมือนเดิม จะมีการใช้ AI ในการจำลองพฤติกรรมของผู้ใช้แทน

ปีที่แล้ว Meta ได้เปิดตัวเทคโนโลยีโฆษณาที่เรียกว่า Advantage+ ซึ่งใช้ AI เพื่อสร้างแคมเปญโฆษณาโดยอัตโนมัติ ซึ่ง Brent Thill แห่ง Jefferies ธนาคารเพื่อการลงทุนกล่าวว่าผู้ลงโฆษณารู้สึกประทับใจ ตัวอย่าง J.Crew Factory ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าได้บอกกับ Meta ว่าฟีเจอร์ดังกล่าวช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการใช้จ่ายโฆษณาเกือบเจ็ดเท่า

Generative AI สามารถยกระดับระบบอัตโนมัติใน ecosystem ของ Meta ได้อีกมากมาย ในเดือนที่ผ่านมา Meta ได้เปิดตัวเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงโฆษณาแบบ doodle ด้วยพื้นหลังและถ้อยคำที่แตกต่างกัน

แม้สิ่งเหล่านี้อาจจะยังเป็นก้าวเล็ก ๆ ของ Meta แต่ Andy Wu จาก Harvard Business School เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของการตื่นทอง เขากล่าวว่าการสร้างแคมเปญโฆษณาที่ใช้ Generative AI จะทำให้ Meta สามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้มากเท่ากับ Nividia ซึ่งเป็นผู้ผลิต GPU ชั้นนำ

แม้ว่านักลงทุนบางคนยังคงสงสัยในเรื่อง Metaverse และอยากให้ Zuckerberg ลดค่าใช้จ่ายกับเรื่องของ Metaverse และระมัดระวังในเรื่องการลงทุนกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ที่ดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งที่ถนัดของ Meta เช่น VR Head Set ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างอัตรากำไรที่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ทางด้านดิจิทัล

แต่ดูเหมือนว่า Zuckerberg เองยังไม่ยอมแพ้ในโลกของ Metaverse ซึ่งเขามองว่า AI จะเป็นผู้กอบกู้ Metaverse โดยช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยี hand-tracking และทำให้การสร้างโลกสามมิติมีราคาถูกลง

แว่นตาอัจฉริยะของ Meta ที่ผสานรวมเข้ากับแชทบอท Meta AI และสร้างโดย Ray-Ban นำเสนอสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มันเป็นโลกใหม่ในจินตานาการของ Zuckerberg ที่จะเหล่าผู้ใช้งานสามารถบันทึกสิ่งที่พวกเขาเห็น สามารถสตรีมสดบนโซเชียลมีเดีย และมีแชทบอทคอยช่วยตอบคำถามต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญกับ Meta ในแผนการระยะยาวของบริษัทนั่นเองครับผม

References :
https://www.economist.com/business/2023/10/26/ai-has-rescued-mark-zuckerberg-from-a-metaverse-size-hole
https://www.nytimes.com/2023/10/25/technology/meta-facebook-quarterly-earnings.html

J&T Express จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (HKEX) ตอกย้ำก้าวสำคัญสู่การเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์ระดับโลก

J&T Global Express Limited (“J&T Express” หรือ “J&T” หรือ “บริษัทฯ”) บริษัทขนส่งระดับโลกผู้มอบบริการหลักด้านการขนส่งพัสดุด่วนและการขนส่งข้ามพรมแดน ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง หรือ HKEX อย่างเป็นทางการ ภายใต้รหัสหลักทรัพย์ “1519” โดยเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะอยู่ที่ราคา 12.00 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อหุ้น

โดยจะมีรายได้สุทธิจากการเสนอขายทั่วโลกมูลค่าทั้งหมดกว่า 3.528 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ยังไม่มีกำหนดการสำหรับตัวเลือกการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) โดยการจดทะเบียน ณ ตลาดฮ่องกงในครั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำก้าวสําคัญของ J&T Express สู่การเป็นผู้นําด้านโลจิสติกส์ระดับโลก

J&T Express วางแผนที่จะใช้เงินทุนจากการเสนอขายหุ้น IPO เพื่อขยายเครือข่ายโลจิสติกส์ให้มากขึ้น พร้อมแผนการปรับปรุงโครงสร้างระบบพื้นฐานที่มีอยู่ อีกทั้งยังเสริมสร้างขีดความสามารถของระบบการคัดแยกและระบบคลังสินค้าของบริษัทฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดอื่น ๆ

นอกจากนี้ J&T Express จะใช้เงินทุนนี้ในการหมุนเวียน ขยายไปสู่ตลาดใหม่ ๆ รวมถึงสร้างการบริการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี ให้ตอบโจทย์การบริการโลจิสติกส์ที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นต่อผู้ใช้บริการทั่วโลก

จากข้อมูลของ Frost & Sullivan เผยว่า J&T Express ก่อตั้งขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2558 และขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วไปยัง 6 ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนเข้าสู่ตลาดจีนในปี 2563 และจากสถิติพบอีกว่า J&T Express เป็นผู้ให้บริการจัดส่งด่วนอันดับหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อพิจารณาจากปริมาณพัสดุในปี 2565 รวมถึงเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ประกอบการชั้นนำในประเทศจีนตามส่วนแบ่งตลาด

ด้วยการเติบโตที่แข็งแกร่งของธุรกิจในประเทศจีนและในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงทำให้ในปี 2565 สามารถขยายธุรกิจต่อไปยังอีกกว่า 5 ประเทศในละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ ปัจจุบันการดำเนินงานจัดส่งพัสดุของ J&T Express ครอบคลุมไปแล้วกว่า 13 ประเทศทั่วโลก

ในพิธีการจดทะเบียนเพื่อเข้าสู่ตลาดหุ้นครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ด่านหน้าของ J&T Express จาก 13 ประเทศ อันประกอบด้วยตัวแทนพนักงานส่งพัสดุ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในศูนย์กระจายสินค้า และพนักงานคอลเซ็นเตอร์ ได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในช่วงเวลาอันน่าประทับใจดังกล่าว เพื่อเฉลิมฉลองการจดทะเบียนหุ้นบริษัทฯ เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงร่วมกัน

(ภาพพิธีการจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง)

นายชาร์ลส์ โฮว (Mr. Charles Hou) รองประธานกรรมการ J&T Express กล่าวว่า “นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2558 J&T Express ได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็วและได้สร้างความแข็งแกร่งในการให้บริการมาอย่างต่อเนื่อง การที่เราเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงในวันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการเติบโตไปอีกขั้นของบริษัทฯ

เราขอขอบคุณครอบครัว J&T Express ทุกคน ที่ทำงานอย่างหนักและทุ่มเทมาโดยตลอด ขอบคุณพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนเราเสมอมา และขอขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจมาอย่างยาวนาน เรายังคงยึดมั่นในพันธกิจ มุ่งเน้นที่ลูกค้า โดยมีประสิทธิภาพเป็นรากฐาน เพื่อสร้างคุณประโยชน์ทางโลจิสติกส์สู่สังคมโลก”

นายดีแลน เทย์ (Mr. Dylan Tey) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน J&T Express กล่าวว่า “ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศชั้นนำมากมาย และเป็นที่ตั้งของตลาดทุนที่มีการไหลเวียนของเงินมากที่สุดในเอเชีย เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง

ซึ่งรวบรวมผู้ออกตราสารและนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก เราจะยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรของเราเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทั่วโลก สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยให้เราสามารถมอบบริการจัดส่งพัสดุด่วนที่ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้าได้เท่านั้น แต่ยังสร้างมูลค่าที่มากขึ้นให้กับนักลงทุนของเราอีกด้วย”

Geek Monday EP199 : เมื่อสื่ออเมริกายกตำแหน่งรถยอดแย่ที่สุดแห่งปีให้กับ Vinfast 

Vinfast แบรนด์รถยนต์จากเวียดนามเลือกวิธีการที่แตกต่างในการบุกอเมริกา เมื่อเทียบกับรถยนต์จากญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ในยุคก่อนหน้าที่สามารถพิชิตใจคนอเมริกาได้สำเร็จ ด้วยคุณภาพที่โอเค ในราคาที่โครตถูกเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ

แต่ Vinfast เลือกวาง position ตัวเองในรถที่มีราคาสูง หลายสื่อในอเมริกาต่างวิจารณ์รถยนต์รุ่น VF8 ที่มีราคาสูงถึง 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ในแง่เลวร้ายที่สุด ซึ่งต่างเห็นตรงกันว่ารถยนต์รุ่นนี้แทบจะเป็นรถยนต์ยอดแย่ที่สุดในอเมริกาเลยก็ว่าได้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/bd8u4f47

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/mwusnvve

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/bdfs6twc

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/5taxzyyz

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/FDqdLmwwEX0

References :
https://www.youtube.com/watch?v=DF7kaLTsNHQ
https://www.kbb.com/car-news/first-vinfast-vf8-reviews-are-abysmal/
https://www.roadandtrack.com/news/a43875030/2023-vinfast-vf8-first-drive-unacceptable/
https://jalopnik.com/everyone-agrees-the-vinfast-vf8-is-very-very-bad-1850432490
https://www.newsobserver.com/news/business/article275458691.html

China’s Chip Dream อำนาจ ศรัทธา กับการถูกวางยาจากพญาอินทรี

เมื่อเมืองอู่ฮั่นของจีนถูกปิดในวันที่ 23 มกราคม 2020 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั่นทำให้เมืองต้องเผชิญกับข้อจำกัดที่เข้มงวดและยาวนานที่สุดเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก

รัฐบาลจีนสั่งการเด็ดขาดปิดการเดินทางเข้าและออกจากอู่ฮั่น ตั้งจุดตรวจรอบเมือง ปิดธุรกิจต่าง ๆ และสั่งห้ามประชาชนเกือบ 10 ล้านคนไม่ให้ออกจากที่พักจนกว่าการปิดเมืองจะสิ้นสุดลง

ไม่เคยมีปรากฎการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาก่อนที่มหานครขนาดใหญ่อย่างอู่ฮั่น ทางหลวงว่างเปล่า ทางเท้ารกร้าง สนามบินและสถานีรถไฟถูกปิด ยกเว้นโรงพยาบาลและร้านขายของชำเท่านั้นที่อนุโลมให้เปิดทำการ

แต่มันมีข้อยกเว้นอยู่สิ่งเดียวนั่นก็คือ Yangzte Memory Technologies Corporation (YMTC) ซึ่งตั้งอยู่ในอู่ฮั่น ซึ่งเป็นแหล่งผลิตหน่วยความจำ NAND ชั้นนำของจีน โดยเป็นชิปประเภทหนึ่งที่ใช่แพร่หลายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึง USB Flash Drive

ปัจจุบันมี 5 บริษัทที่ผลิตชิป NAND ที่แข่งขันกันอยู่ในตลาดโลก แต่แทบไม่มีสำนักงานในจีน เหล่าผู้เชี่ยวชาญของจีนมองว่าโอกาสที่ดีที่สุดของจีนในการบรรลุความสามารถในการผลิตชิประดับโลกก็คือการผลิตหน่วยความจำ NAND

Tsinghua Unigroup ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในบริษัทผลิตชิปทั่วโลก ทุ่มเงินอย่างน้อย 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ให้แก่ YMTC ควบคู่ไปกับกองทุนชิปแห่งชาติของจีนและเงินลงทุนจากรัฐบาลท้องถิ่น

การสนับสนุน YMTC ของรัฐบาลจีนนั้นสุดยอดมาก แม้แต่ในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ COVID ก็ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปได้ รถไฟที่ผ่านอู่ฮั่นมีตู้โดยสารพิเศษสำหรับพนักงาน YMTC โดยเฉพาะ ทำให้สามารถเข้าไปในอู่ฮั่นได้แม้จะปิดเมืองก็ตาม

โรงงาน YMTC ในอู่ฮั่นที่ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐบาลจีน (CR:eeNews Europe)
โรงงาน YMTC ในอู่ฮั่นที่ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐบาลจีน (CR:eeNews Europe)

ผู้นำของจีนเต็มใจทำเกือบทุกอย่างเพื่อต่อสู้กับไวรัส COVID-19 แต่ความพยายามในการสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีความสำคัญลำดับขั้นสูงสุด

การถูกวางยาโดยสหรัฐอเมริกานั้นได้กระตุ้นความบ้าคลั่งครั้งใหม่ของรัฐบาลจีนในการผลิตชิป สี จิ้นผิงทำการแต่งตั้ง หลิว เหอ ผู้ช่วยด้านเศรษฐกิจระดับแนวหน้าให้ดำรงตำแหน่ง “chip czar” ในการเป็นผู้นำในการสร้างฝันการผลิตชิปของจีน

แต่ในห่วงโซ่อุปทานที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของอุตสาหกรรมชิป ความเป็นอิสระทางเทคโนโลยีนี้ที่หวังจะทำทุกอย่างได้ทั้งหมดนั้นเปรียบเสมือนดั่งความฝันลม ๆ แล้ง ๆ แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาก็ต้องมีการพึ่งพาบริษัทต่างชาติในหลายภาคส่วน

สำหรับประเทศจีนซึ่งขาดบริษัทที่สามารถที่จะแข่งขันในระดับโลกได้ในอุตสาหกรรมนี้ มันเป็นสิ่งที่ยากกว่ามาก เพื่อการปลดแอกอย่างสมบูรณ์ จีนจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์การออกแบบที่ทันสมัย ความสามารถของเหล่าวิศวกรในการออกแบบ วัสดุขั้นสูง และความรู้ความชำนาญในการประดิษฐ์มันขึ้นมา

ตัวอย่างง่าย ๆ ในเคสเครื่อง EUV ของ ASML พวกเขาต้องใช้เวลาสามทศวรรษในการพัฒนา เครื่องจักร EUV มีส่วนประกอบหลายอย่างที่ประกอบขึ้นด้วยความท้าทายทางวิศวกรรมที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก

การแค่จำลองเฉพาะเลเซอร์ในระบบ EUV จำเป็นต้องประกอบชิ้นส่วน 457,329 ชิ้นอย่างสมบูรณ์แบบ ข้อบกพร่องเพียงจุดเดียวอาจทำให้เกิดความล่าช้าหรือเกิดปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือได้ทันที

EUV ของ ASML ที่มีความซับซ้อนในการผลิตสูง (CR:IEEE Spectrum)
EUV ของ ASML ที่มีความซับซ้อนในการผลิตสูง (CR:IEEE Spectrum)

ไม่ต้องสงสัยเลยว่ารัฐบาลจีนได้ส่งสายลับที่ดีที่สุดเพื่อศึกษากระบวนการผลิตของ ASML มาแล้ว แต่แม้พวกเขาจะแฮ็กเข้าไปในระบบที่เกี่ยวข้องและดาวน์โหลดข้อมูลการออกแบบมาได้แล้วก็ตาม เครื่องจักรที่มีความซับซ้อนขั้นสูงนี้ก็ไม่สามารถที่จะคัดลอกและนำมาใช้งานได้ง่ายๆ เหมือนไฟล์ที่ถูกขโมย

เครื่องจักร EUV เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือมากมายที่ผลิตผ่านห่วงโซ่อุปทานข้ามชาติ การนำทุกส่วนของห่วงโซ่อุปทานมาผลิตในประเทศจีนเพียงประเทศเดียวจะเป็นต้นทุนที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ

อุตสาหกรรมชิปใช้จ่ายเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์ต่อปีไปกับรายจ่ายด้านการลงทุน จีนจะต้องทำซ้ำในส่วนนี้แถมยังต้องสร้างฐานความเชี่ยวชาญและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ขาดอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการสร้างห่วงโซ่อุปทานในประเทศทั้งหมดจะใช้เวลากว่าทศวรรษและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าล้านล้านดอลลาร์ในช่วงระยะเวลาเพียงสั้น ๆ

แต่ก็ต้องบอกว่าจีนไม่ได้ต้องการสร้างห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศเขาทั้งหมด ปักกิ่งตระหนักดีว่าสิ่งนี้มันแทบจะเป็นไปไม่ได้ จีนต้องการซัพพลายเออร์ที่ไม่ใช่ของสหรัฐฯ

แต่เนื่องจากความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในอุตสาหกรรมชิปและอำนาจนอกอาณาเขตในเรื่องการจำกัดการส่งออก ซัพพลายเชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับอเมริกานั้นมันไม่แทบไม่มีอยู่จริงในอุตสาหกรรมนี้

หนึ่งในความท้าทายหลักของจีนในปัจจุบันคือชิปจำนวนมากใช้สถาปัตยกรรม x86 (สำหรับพีซีและเซิร์ฟเวอร์) หรือสถาปัตยกรรม Arm (สำหรับอุปกรณ์พกพา)

x86 นั้นถูกครอบครองโดยบริษัทสหรัฐสองแห่งคือ Intel และ AMD ในขณะที่ Arm ซึ่งออกใบอนุญาตให้บริษัทอื่นใช้สถาปัตยกรรมของตนเองนั้นอยู่ในสหราชอาณาจักร

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสถาปัตยกรรมใหม่ที่เรียกว่า RISC-V ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์ส ดังนั้นทุกคนจึงสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

แนวคิดของสถาปัตยกรรมโอเพ่นซอร์สดึงดูดหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรมชิป ใครก็ตามที่ต้องจ่าย Arm สำหรับใบอนุญาตในปัจจุบันก็ต้องการทางเลือกใหม่ ๆ ที่ไม่ต้องเสียเงิน

นอกจากนี้ความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัยอาจลดลงไปด้วย เนื่องจากธรรมชาติของโอเพ่นซอร์ส เหล่าวิศวกรหัวกะทิทั่วโลกจะสามารถตรวจสอบรายละเอียดและระบุข้อผิดพลาดได้

และด้วยเหตุผลเดียวกัน นวัตกรรมอาจจะก้าวไปข้างหน้าได้เร็วขึ้นด้วยหลากหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา RISC-V บริษัทในจีนก็ยอมรับ RISC-V เช่นกัน เพราะดูเหมือนมันจะเป็นกลางในปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้น

ในปี 2019 มูลนิธิ RISC-V ได้ย้ายจากสหรัฐอเมริกาไปยังสวิตเซอร์แลนด์ บริษัทอย่างอาลีบาบากำลังออกแบบโปรเซสเซอร์โดยใช้สถาปัตยกรรม RISC-V เช่นเดียวกัน

นอกเหนือจากการทำงานร่วมกับสถาปัตยกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว จีนยังมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีกระบวนการที่เก่ากว่าเพื่อสร้างชิปลอจิก

ถึงแม้ว่าอย่างอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์ที่ต้องการชิปที่ทันสมัยที่สุด แต่รถยนต์และอุปกรณ์สำหรับผู้บริโภคอื่น ๆ มักใช้เทคโนโลยีการประมวลผลแบบเก่า ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียงพอและราคาถูกกว่ามาก

การลงทุนส่วนใหญ่ในโรงงานแห่งใหม่ของจีน รวมถึงบริษัทต่าง ๆ เช่น SMIC แม้ตอนนี้จะดูเหมือนว่าพวกเขายังล้าหลัง แต่พวกเขาก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าจีนมีแรงงานในการผลิตชิปลอจิกที่ล้ำยุคและสามารถแข่งขันได้

ชิปที่ทันสมัยที่สุดที่ SMIC เคยผลิตจะเป็นรุ่น 14 นาโนเมตร และเนื่องจากพวกเขาถูกสหรัฐอเมริกาแบนในช่วงปลายปี 2020 ในการซื้อเครื่อง EUV จาก ASML ทำให้ไม่มีใครคาดคิดว่าพวกเขาจะสามารถผลิตชิปขั้นสูงกว่านี้ได้

แต่เมื่อปีที่แล้ว SMIC สามารถผลิตชิปขนาด 7 นาโนเมตรได้โดยการปรับแต่งเครื่อง DUV ที่เป็นรุ่นเก่ากว่า ซึ่งยังคงสามารถซื้อได้จาก ASML และมีความเป็นไปได้สูงที่ Huawei จะซื้อเทคโนโลยีและอุปกรณ์จาก SMIC เพื่อผลิตชิป 7 นาโนเมตรในมือถือเรือธงรุ่นใหม่อย่าง Mate 60 Pro

Huawei Mate 60 Pro ที่ใช้ชิป 7 นาโนเมตร (CR:Tbreak)
Huawei Mate 60 Pro ที่ใช้ชิป 7 นาโนเมตร (CR:Tbreak)

จีนยังลงทุนมหาศาลในวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น ซิลิกอนคาร์ไบด์และแกลเลียมไนไตรด์ ซึ่งแม้จะไม่สามารถทดแทนซิลิกอนบริสุทธิ์ในชิปส่วนใหญ่ได้ แต่จะมีบทบาทในอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นระบบในยานยนต์ไฟฟ้า และเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอาจจะทำให้พวกเขาสามารถเอาชนะได้ในสงครามราคา

สิ่งที่น่ากังวลสำหรับประเทศอื่น ๆ คือ เงินอุดหนุนจำนวนมหาศาลของจีนจะทำให้จีนสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดในหลายส่วนของห่วงโซ่อุปทานการผลิตชิป

โดยเฉพาะในภาคส่วนที่ไม่ต้องการเทคโนโลยีขั้นสูงสุด จีนดูมีแนวโน้มจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตชิปโลจิกที่ไม่ล้ำสมัยมากนัก นอกจากนี้การที่พวกเขาทุ่มเงินไปกับวัสดุที่จำเป็นในการพัฒนาชิปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

ในขณะเดียวกัน YMTC ของจีนก็มีโอกาสสูงที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดหน่วยความจำ NAND ซึ่งมีการประมาณการกันว่าส่วนแบ่งการผลิตชิปของจีนจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 ในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษเป็นร้อยละ 24 ของกำลังการผลิตทั่วโลกภายในปี 2030 ซึ่งจะแซงหน้าไต้หวันและเกาหลีใต้ในแง่ของปริมาณ

จีนจะมีอำนาจมากขึ้นในการเรียกร้องเหล่าซัพพลายเออร์ให้ถ่ายโอนเทคโนโลยี พวกเขาจะมีกลุ่มแรงงานที่มีฐานที่กว้างขึ้นสำหรับการใช้งาน ซึ่งบริษัทผลิตชิปเกือบทั้งหมดของจีนต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากรัฐบาล

ดังนั้นพวกเขาจึงมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายระดับประเทศมากพอ ๆ กับเป้าหมายเชิงพาณิชย์

“การทำกำไรและการส่งออกในระดับนานาชาติ… ไม่ใช่สิ่งสำคัญ” ผู้บริหารคนหนึ่งของ YMTC บอกกับหนังสือพิมพ์ Nikkei Asia แต่บริษัทกำลังมุ่งเน้นไปที่ “การสร้างชิปของประเทศด้วยตัวเองและบรรลุความฝันอันยิ่งใหญ่ของประเทศจีน”

References :
เรียบเรียงจากหนังสือ Chip War: The Fight for the World’s Most Critical Technology โดย Chris Miller
https://www.reuters.com/technology/huaweis-new-chip-breakthrough-likely-trigger-closer-us-scrutiny-analysts-2023-09-05/