ธานินทร์ vs Hatari กับตัวอย่าง case study ของ DNA ที่ไร้ซึ่งความชาตินิยมของคนไทย

ส่วนตัวผมเป็นคนหนึ่งที่ค่อนข้างสนใจกับการพัฒนาชาติอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ชาติ ไม่ว่าจะเป็น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งเวียดนามเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงของเรา

มันมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้ชาติพัฒนาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำที่แข็งแกร่งมีความเฉลียวฉลาด ระบอบการเมืองการปกครองที่ดี นักการเมืองที่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งรวมถึงการเมืองที่มีเสถียรภาพ

แต่ก็มีปัจจัยนึงที่ผมคิดว่าสำคัญไม่แพ้กันที่หลาย ๆ ชาติที่พัฒนาตัวเองขึ้นมาอย่างรวดเร็วมีเหมือน ๆ กัน นั่นก็คือ DNA ของความเป็นชาตินิยมของคนในชาติ

สิ่งนี้สำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ ประเทศอย่างเกาหลีใต้ ผู้คนในประเทศพร้อมใจกันใช้แบรนด์ภายในประเทศอย่าง Samsung LG หรือ แม้กระทั่ง Hyundai ที่ในช่วงแรก ๆ อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไร้ซึ่งคุณภาพ แต่การได้การอุดหนุนจากคนในประเทศนั้น เป็นปัจจัยสำคัญอย่างนึงที่ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีเงินทุนไปพัฒนาสินค้าต่อ และสุดท้ายก็สามารถตอบโจทย์ระดับโลกอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้

จีนเอง ความชาตินิยมของพวกเขานั้นแรงกล้า ทำให้สามารถผลักดันแบรนด์หลายๆ แบรนด์ในประเทศขึ้นมาเทียบเคียงแบรนด์ระดับโลก ทั้งที่เมื่อก่อนอาจจะถูกดูถูกดูแคลนจากทั่วโลกสำหรับสินค้าที่ผลิตมาจากจีน

แต่ตอนนี้แบรนด์อย่าง Huawei , Hisense หรือ แบรนด์รถยนต์หลายๆ แบรนด์ได้กลายเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ สร้างรายได้ให้กับประเทศของพวกเขาได้อย่างมหาศาล

ในเวียดนาม และ เกาหลีใต้ มีบริการทางด้านเทคโนโลยีภายในประเทศแทบจะทุกอย่าง ทั้ง Ecommerce, Messenging Service , Search Engine ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศตัวเองที่ประชาชนในชาติพร้อมที่จะสนับสนุนและสู้กับต่างชาติได้แบบสบาย ๆ

แล้วถามว่า ประเทศเรามีศักยภาพที่จะทำอย่างที่ เกาหลีใต้ จีน หรือแม้กระทั่งเวียดนามทำได้หรือไม่ ผมว่าไทยเราทำได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาคือ คนไทยมักมี mindset กับผลิตภัณฑ์คนไทยแท้ ๆ ที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่

จากตัวอย่างหัวข้อที่ผมกล่าวถึงเลย แบรนด์อย่าง ธานินทร์ ชื่อไทยแท้ ๆ ผมก็ผ่านประสบการณ์การใช้งานแบรนด์นี้มาก่อน ซึ่งธานินทร์เกิดมานานพอสมควร ๆ เผลอ ๆ อาจจะช่วงเวลาเดียวกับที่ Samsung และ LG กำลังตั้งไข่เสียด้วยซ้ำ

แน่นอนว่าเวอร์ชั่นแรก ๆ อาจจะไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีเลิศ แต่หากได้รับการสนับสนุนที่ดีเพียงพอจากโดยเฉพาะคนในชาติเราเอง ผมว่าก็มีโอกาสที่แบรนด์จะนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่องได้เหมือนที่เรามอง Samsung LG ในยุคก่อน ๆ หรือแม้กระทั่งรถยนต์บางแบรนด์ที่เราอาจจะมองเป็นรถกระป๋องในยุคก่อนแต่ตอนนี้พัฒนาไปไกลระดับโลกแล้ว

ส่วนแบรนด์ Altron ถือเป็นแบรนด์โทรทัศน์หน้าใหม่ในประเทศไทยผลิตโดย บริษัท ไทย ฮาเบล อินดัสเตรียล จำกัด คือโรงงานรับผลิตโทรทัศน์ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2530 เคยรับงานให้กับ ธานินทร์ แบรนด์เก่าแก่ของไทย ก็น่าสนใจว่าจะแจ้งเกิดให้กับแบรนด์ไทยได้สำเร็จหรือไม่

ส่วนอีกเคสที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ที่พัฒนาโดยคนไทยถึงจะเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถขายได้ถล่มทลาย แต่กลับต้องตั้งชื่อให้เหมือนแบรนด์จากญี่ปุ่นเช่น Hatari (ซึ่งผมคิดว่าหลาย ๆ คนก็น่าจะไม่รู้ว่าเป็นแบรนด์ไทยแท้ ๆ )

หรืออีกตัวอย่างใกล้ตัวผมเองในแวดวงเทคโนโลยี ซึ่ง ผมคิดว่าชาติเราก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเหมือนกัน สามารถสร้างผลิตภัณฑ์มากมายได้ดีไม่แพ้เทคโนโลยีจากต่างชาติ แต่พอนำไปขายจริงกลับกลายเป็นมุมมองที่มีต่อผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีของเรานั้นต่ำต้อยเสียเหลือเกิน

ซึ่งบางครั้งเมื่อเทียบฟีเจอร์ หรือแม้กระทั่งคุณภาพผ่านการ test ทดสอบ ดูมาหมดแล้ว แทบไม่มีความแตกต่างกัน แต่คนไทยกลับเลือกผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมากกว่าจะอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากคนไทยด้วยกันเอง

หลายบริษัทจึงใช้แนวคิดเดียวกับสิ่งที่ Hatari ทำนั่นก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้ลูกค้ามองว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยคนไทย แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ด้านซอฟท์แวร์หลายๆ ตัวก็จะพบกับทางที่สะดวกในการขายและ Support มากขึ้นหากลูกค้าไม่ได้มองเห็นว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยคนไทย

แต่ก็มีเรื่องที่พอเข้าใจได้อย่างนึง หลาย ๆ ประเทศที่กล่าวไปข้างต้น ล้วนมีบาดแผลบางอย่างจากสงครามหรือความขัดแย้งจนชาติแทบแตกสลายมาแล้ว ญี่ปุ่น เจอนิวเคลียร์จากสงครามโลก เกาหลีใต้ก็ถูกยึดครองและผ่านสงครามฆ่าฟันกันเองของคนในประเทศมานานแสนนาน เฉกเช่นเดียวกับที่เวียดนามเจอ หรือแม้กระทั่งประเทศจีนเองก็ตาม

นั่นทำให้ DNA ความรักชาติ และความเป็นชาตินิยมของพวกเขาจึงสูงมาก แตกต่างจากประเทศเราซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้ผ่านอะไรทำนองนี้มาก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นการทะเลาะในแนวคิดทางด้านการเมืองกันเองเสียมากกว่า

ส่วนตัวเองผมก็อยากให้คนไทยสนับสนุนผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นของคนไทยด้วยกันเองมากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างนึงที่จะช่วยผลักดันให้ชาติเราสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และสุดท้ายแบรนด์เหล่านี้ก็สามารถที่จะไปตีตลาดต่างประเทศเหมือนอย่างที่หลาย ๆ แบรนด์จากทั้ง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน ล้วนทำสำเร็จมาแล้วนั่นเองครับผม

Credit Image : https://www.tnews.co.th/social/571083 , FB Altron

Geek Daily EP159 : เมื่อการสตรีมเพลงไม่ยุติธรรมกับศิลปิน แต่แพล็ตฟอร์มอย่าง  Spotify ก็แทบจะเลี้ยงตัวเองไม่รอด

ความเฟื่องฟูของสตรีมมิงทำให้อุตสาหกรรมเพลงมีชีวิตชีวาขึ้น และตอนนี้สตรีมมิงมีสัดส่วนประมาณสามในสี่ของรายได้จากเพลงที่บันทึกไว้ในสหราชอาณาจักร แต่ศิลปินรวมถึง Nadine Shah ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Mercury Prize ต่างก็บ่นว่าพวกเขามีรายได้ไม่เพียงพอที่จะอยู่รอดแม้ว่าจะมียอดสตรีมหลายล้านครั้งก็ตาม

หน่วยงานด้านการแข่งขันและการตลาดของสหราชอาณาจักรพบว่าค่ายเพลงและบริการสตรีมมิ่งไม่น่าจะทำกำไรได้สูงจนสามารถแบ่งให้กับศิลปินได้ สรุปได้ว่าการสตรีมนำไปสู่การแข่งขันที่มากขึ้น สำหรับผู้ฟังและนักดนตรี

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/3ufUVrL

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
http://bit.ly/3u7P0oD

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/3OKognE

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
http://bit.ly/3GVi2zz

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/tVF6acjtAa8

References Image : https://www.theguardian.com/business/2020/nov/24/nadine-shah-i-cant-pay-the-rent-on-unfair-music-streaming-revenues

AI vs Human Emotions กับความต่างทางวัฒนธรรมของสองแพล็ตฟอร์มระหว่าง Instagram และ Facebook

ต้องบอกว่าแม้ Meta จะเป็นเจ้าของทั้งแพล็ตฟอร์ม Instagram และ Facebook แต่ก็เรียกได้ว่าความรู้สึกของผู้ใช้งานของทั้งสองแพลตฟอร์มนั้นแทบจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

เราจะสังเกตุได้ว่า ยังมีกลุ่มวัยรุ่น Gen ใหม่ ๆ บางกลุ่มที่ยังติดหนึบอยู่กับแพลตฟอร์มอย่าง Instagram เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย เมื่อพ่อแม่ของพวกเขาเข้ามาเล่นในแพล็ตฟอร์มอย่าง Facebook

ในขณะที่ Facebook เป็นแพล็ตฟอร์มที่ถูกขับเคลื่อนโดยการตัดสินใจผ่านข้อมูลเป็นหลัก ในการสร้างสรรค์ฟีเจอร์ต่าง ๆ ออกมา เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจของพวกเขาที่ใช้สำหรับคนหมู่มาก

แต่ Instagram นั้นแตกต่างออกไป โดยเฉพาะในช่วงที่ Kevin Systrom และ Mike Krieger ยังเป็นผู้นำอยู่ การตัดสินใจหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นบนแพล็ตฟอร์มนั้น อาศัยเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกจากมนุษย์โดยเฉพาะจาก Systrom เป็นหลัก

Kevin Systrom และ Mike Krieger สองผู้ก่อตั้ง Instagram (CR:ABCNews.go.com)
Kevin Systrom และ Mike Krieger สองผู้ก่อตั้ง Instagram (CR:ABCNews.go.com)

แม้จะก่อตั้งมาเพียงไม่ถึงสองปี แล้วได้ทำการขายกิจการให้กับ Facebook ไปมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ แต่หลังจากถูกเข้าซื้อนั้น Mark Zuckerberg ก็ยังให้ Systrom ควบคุม Instagram แบบอิสระ

ถ้าย้อนไปในยุคนั้น Facebook มีผู้ใช้งานเกือบแตะ 1 พันล้านคน แต่ Instagram ยังมีผู้ใช้งานเพียงหลักร้อยล้านคน เพิ่งจะมี version android ออกมาได้ไม่นานเพียงเท่านั้น

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมเหล่า influencers ที่มีอิทธิพลสูงสุดนั้น ส่วนใหญ่จะนับจากยอด follower ของแพล็ตฟอร์ม Instagram เป็นหลัก

เพราะมันคือเรื่องของ Human Emotions ที่ถูกออกแบบมาตั้งแต่ต้น Systrom นั้นควบคุมทุกอย่างด้วยตัวของเขาเองให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ scale กิจการ หรือ ประสบการณ์ต่าง ๆ ในแแพล็ตฟอร์ม

Instagram สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ฟีเจอร์หลาย ๆ อย่างของ Facebook เช่น การแชร์ ซึ่งทำให้แพล็ตฟอร์มนั้นเติบโตแบบก้าวกระโดดได้มากกว่า เพราะมีการ Viral ของโพสต์อย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้

แต่การที่ Instagram ไม่มีปุ่มแชร์ มันคือสเน่ห์ที่สำคัญลำดับต้น ๆ ของแพล็ตฟอร์มเลยก็ว่าได้ เพราะทุกเนื้อหาที่จะโพสต์ใน account ใด ๆ นั้น ต้องมาจากเจ้าของตัวจริง ไม่มีการนำโพสต์จากที่อื่นมาแชร์ออกไป

สิ่งนี้ทำให้ Influencers ในแพล็ตฟอร์มของ Instagram นั้นจะมีอิทธิพลสูงกว่าแพล็ตฟอร์มอื่น ทำให้พวกเขาสร้างรายได้มากกว่าแแพล็ตฟอร์มอื่น ๆ เพราะความ exclusive ที่ถูกออกแบบมาโดย Systrom นั่นเอง

ถึงขั้นที่ว่า Mark Zuckerberg เองก็มีการระแวงแพล็ตฟอร์มอย่าง Instagram ที่เขาเป็นเจ้าของด้วยซ้ำในช่วงแรก ๆ หลังจากการซื้อกิจการ

เพราะกลัวจะถูกแย่งส่วนแบ่งจากไข่ในหินของ Zuckerberg อย่าง Facebook เพราะตอนแรกดูเหมือนว่าแพล็ตฟอร์มทั้งสองนั้นจะแข่งกันเองด้วยซ้ำ

ในขณะที่ Facebook เติบโตจนมีผู้ใช้งานเป็นพันล้านคน สามารถสร้างรายได้จากโฆษณาได้มากมาย มีการปล่อยให้เจ้าของเพจสามารถมา boost โพสต์ได้เอง คล้าย ๆ กับสิ่งที่ Google ทำใน Adsword เพราะมันจะได้ตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก

แต่ Instagram ในยุคแรกช่วงที่ Systrom ปกครองอยู่นั้น ไม่ต้องการสร้างรายได้ด้วยอะไรแบบนี้ เพราะมันส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแพล็ตฟอร์ม จะเกิดโฆษณาขยะขึ้นในแพล็ตฟอร์มที่เขารักและหวงมาก ๆ

เพราะฉะนั้น Systrom เอง จึงเลือกที่จะควบคุมคนที่จะมาลงโฆษณาเองในทุก ๆ แบรนด์ ต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับแพล็ตฟอร์ม และต้องตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแพล็ตฟอร์ม ทุกโฆษณาจะผ่านตา Systrom โดยตรง

Systrom เลือกที่จะควบคุมคนที่จะมาลงโฆษณาเองในทุก ๆ แบรนด์ในช่วงแรกของการเปิดให้ลงโฆษณา (CR:Forbes)
Systrom เลือกที่จะควบคุมคนที่จะมาลงโฆษณาเองในทุก ๆ แบรนด์ในช่วงแรกของการเปิดให้ลงโฆษณา (CR:Forbes)

หรือแม้แต่ในเรื่องความสัมพันธ์กับเหล่าผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงต่างๆ ก็ดี Systrom นั้นเลือกที่จะเดินหน้าสานสัมพันธ์ด้วยตัวเขาเองตั้งแต่ดารานักร้องในฮอลลีวู้ด นักกีฬาชื่อดัง หรือแม้กระทั่ง สมเด็จพระสันตปาปา

มีหลากหลายฟีเจอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์ม ที่ได้รับ feedback มาจากเหล่า influencers โดยตรง ซึ่งไม่แปลกว่าทำไมในตอนนี้ Instagram จึงเป็นแพล็ตฟอร์มที่เป็นที่รักของเหล่า influencers และ แบรนด์ต่าง ๆ มากที่สุด

แต่ก็ต้องบอกว่าเรื่องราวที่กล่าวมาข้างต้น ผมเรียบเรียงมาจากหนังสือ No Filter : The Inside Story of Instagram โดย Sarah Frier ซึ่งฉายภาพเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเรื่องราวที่เหมือนเปรียบเหมือนปาฏิหาริย์ของ Instagram

แต่หลังจาก Systrom ได้ออกจากบริษัทไป ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะสุดท้ายตอนนี้ Instagram นั้นก็ถูกตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ โดย AI หรือ ข้อมูล ผ่านการวิเคราะห์ ที่ไม่ต่างจาก Facebook ซึ่งทำให้ Instagram ในตอนนี้ไม่ได้มีสเน่ห์ที่ดึงดูดใจเหมือนยุคของ Systrom อีกต่อไปนั่นเองครับผม

Credit Image : https://www.digitalinformationworld.com/2019/04/instagram-founder-kevin-systrom-facebook-mark-zuckerberg.html

Geek Monday EP157 : Amazon Clinic กับการค้นหา New S-curve ใหม่โดย Andy Jassy CEO คนใหม่ของ Amazon

บริษัท Big Tech กำลังเผชิญกับการชะลอตัวอย่างโหดร้ายของการตามล่าหาพื้นที่ใหม่ของการขยายตัว Amazon ซึ่งขณะนี้เป็นธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอเมริกาในด้านรายได้ เป็นกรณีตัวอย่าง ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 ยอดขายของบริษัทคาดว่าจะขยายตัวเพียง 6.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี 

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน Andy Jassy CEO คนใหม่ของบริษัทได้ยืนยันว่าบริษัทได้เริ่มปลดพนักงานและจะไล่ออกมากขึ้นในปีหน้า เขาบอกว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ยากที่สุดตั้งแต่เข้ามาเป็น CEO แต่เขายังสังเกตเห็นว่า “โอกาสที่ยิ่งใหญ่” รออยู่ข้างหน้า หนึ่งคือธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด ร่ำรวยที่สุด และยากเย็นแสนเข็ญที่สุดในอเมริกา นั่นก็คือ “การดูแลสุขภาพ”

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/3UgYwAy

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
http://bit.ly/3GMK3t6

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/3ELeltu

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
http://bit.ly/3AQM4AK

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/msdmOJTHbHQ

Spotify Play กับแนวคิดทางธุรกิจมิวสิคสตรีมมิ่งที่ผิดพลาดมาตั้งแต่เริ่มต้น

เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการก่อตั้ง Spotify บริการ Music Streaming ที่ตอนนี้ครองส่วนแบ่งการตลาดได้มากที่สุดในโลก

หนังสือที่มีชื่อว่า The Spotify Play : How CEO and Founder Daniel Ek Beat Apple, Google, and Amazon in the Race for Audio Dominance โดย Sven Carlsson และ Jonas Leijonhufvud ได้ถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดของการก่อตั้ง Spotify ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีจากสวีเดนไว้แบบละเอียด

น่าสนใจนะครับ สวีเดนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สร้างบริการด้านเทคโนโลยีระดับโลกมากมาย Skype เองก็ก่อตั้งขึ้นที่สวีเดน แล้วถูก Microsoft ซื้อกิจการไปในท้ายที่สุด หรือบริการสุดฮ็อตด้านฟินเทคในตอนนี้อย่าง Klarna เองก็ก่อตั้งขึ้นใน Sweden

เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ทางด้านเทคโนโลยี ที่มีมนสเน่ห์เป็นอย่างมาก มีการรวมตัวของเหล่ายอดอัจฉริยะ เหล่าแฮ็กเกอร์มากมายที่มีอยู่ในสวีเดน ทั้งด้านสว่างและด้านมืด อย่าง The Pirate Bay เว็บไซต์ torrent เถื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เรื่องราวของ Spotify โดยผู้ก่อตั้งอย่าง Daniel Ek นั้นถือว่าน่าสนใจ ความผิดหวังจากการไม่สามารถไปทำงานกับ Google ได้ ทำให้เกิดแรงผลักดันให้ตัวเขาต้องการพิสูจน์ตัวเองด้วยธุรกิจที่สร้างขึ้นมากับมือ

ในสวีเดนแม้จะมี ecosystem ที่ใหญ่ไม่เท่ากับ Silicon Valley แต่พวกเขาก็เคยมีคนที่ปูทางความสำเร็จมาก่อนหน้าแล้วอย่าง Skype ที่ก่อตั้งโดย Niklas Zennstrom ทำให้มีเหล่า VC หรือ Angel Investor มากมายที่พร้อมจะทุ่มอัดเม็ดเงินให้กับบริการใหม่ ๆ ที่อาจจะเปลี่ยนโลก และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับพวกเขาได้ในอนาคต

Niklas Zennstrom ผู้ก่อตั้ง Skype ที่เป็น icon วงการเทคโนโลยีของสวีเดน (CR:Forbes)
Niklas Zennstrom ผู้ก่อตั้ง Skype ที่เป็น icon วงการเทคโนโลยีของสวีเดน (CR:Forbes)

นั่นคือตัวอย่างของประเทศที่ต้องมีต้นแบบ เมื่อมีต้นแบบแรกที่สำเร็จ รุ่นหลัง ๆ ก็จะตามมา อย่างที่เราได้เห็นสิ่งที่เกิดใน สิงค์โปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียหรือแม้กระทั่งเวียดนาม ซึ่งเมื่อมี unicorn แรก รายอื่น ๆ ก็จะตามมาในไม่ช้า หรือในไทยเองก็ตาม

แล้วถามว่าหนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจที่ส่วนไหน ผมมองว่าหลาย ๆ ส่วนของหนังสือเล่มนี้ มันก็ให้แรงบันดาลใจได้ดีไม่ต่างจากเรื่องราวของ Mark Zuckerberg เลยด้วยซ้ำ

แต่ประเด็นที่น่าสนใจหลังจากที่ทั้งได้อ่านหนังสือเล่มนี้ และ ดูซีรีส์อย่าง The Playlist ทาง Netflix มีสิ่งหนึ่งที่ถ่ายทอดได้เหมือนกันก็คือ :

Deniel Ek เอง ไม่ได้คิดโมเดลธุรกิจที่ถูกต้องมาตั้งแต่แรก มันทำให้เกิดปัญหาจนยากที่จะแก้ไขมาจนถึงปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่า แม้สตรีมมิ่งจะเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ที่แม้แต่ Apple ยังต้องยอมปรับเปลี่ยนธุรกิจของตนเองจากขายเพลงทีละเพลงมาเป็น Apple Music

แต่ปัญหาก็คือ ทำไมแม้ Spotify จะก่อตั้งมาเป็นสิบปี แต่ปัญหากับศิลปิน คนแต่งเพลง หรือคนที่เกี่ยวข้องในวงการ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้น ทุกคนต่างเรียกร้องในสิ่งที่ควรได้มากกว่านี้แม้กระทั่งค่ายเพลง

Deniel Ek เป็นนักอุดมคติ ที่คิดหาวิธีให้วงการเพลงหลุดพ้นจากเว็บเถื่อนอย่าง The Pirate Bay ที่กำลังรุ่งเรืองอยู่ในยุคนนั้น

ที่สำคัญเขาโตมากับธุรกิจโฆษณา เพราะธุรกิจแรกที่เขาทำแล้วประสบความสำเร็จจนสามารถขายกิจการได้นั้นเกี่ยวข้องกับโฆษณาโดยเฉพาะ

ในขณะที่ตอนนั้น Apple มีโมเดลที่ดีอยู่แล้วนั่นก็คือการขายเพลงผ่าน itunes ในราคาเพลงละ 99 เซ็นต์ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนแบ่งให้กับทุกได้อย่างไม่มีปัญหาเพราะเป็นการขายแบบเพลงต่อเพลง

แต่การคิดโมเดลแบบสตรีมมิ่งนั้น Ek เองไม่ได้คิดอย่างถี่ถ้วน แม้เขาจะระดมทุนได้มากมายเนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ที่สุดยอด สามารถคลิกแล้วเล่นเพลงได้แบบแทบจะทันที ซึ่งไม่มีใครเคยทำได้มาก่อนบนโลกนี้

แต่เขาคิดว่าเรื่องลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่คุยง่าย ซึ่งตอนแรกเขายังคิดแค่ว่าไปขอลิขสิทธิ์การสตรีมมิ่งจากหน่วยงานของสวีเดนที่ดูแลลิขสิทธิ์ในส่วนของการแพร่กระจายทางวิทยุเสียด้วยซ้ำ ไม่ต้องไปเจรจากับค่ายเพลงโดยตรง

แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ แต่ธุรกิจต้องเดินหน้าต่อทุนก็ระดมกันมาได้เยอะ ทำให้เจอกับปัญหาข้อกฏหมายมากมาย ในการเจรจากับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ซึ่งสุดท้าย Ek ก็ต้องเป็นฝ่ายยอมซึ่งทำให้ Spotify เสียเปรียบเป็นอย่างมาก เพราะเงินส่วนใหญ่จากการสตรีมมิ่งจะตกไปอยู่กับค่ายเพลงไม่ใช่ทั้ง Spotify และ ศิลปิน

และการเจรจาต่อรองก็เป็นแบบระยะสั้น ต้องต่อสัญญากันตลอดทำให้อำนาจไปตกอยู่กับค่ายเพลง ซึ่งจะเห็นสัดส่วนการถือหุ้นที่สุดท้ายเหล่าค่ายเพลงกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนที่สูงมาก ๆ ในแพลตฟอร์ม และยังได้เงินจากค่าลิขสิทธิ์เพิ่มเติมอีกด้วย

จากสถานการณ์ที่เห็นในตอนนี้ ราคาหุ้นของ Spotify เองก็กำลังย่ำแย่ แถมยังต้องทะเลาะกับศิลปินมากหน้าหลายตาโดยเฉพาะรายใหญ่ ๆ ที่ต้องการส่วนแบ่งที่เพิ่มขึ้นจากการสตรีมในแพล็ตฟอร์มของ Spotify

แถมยังเจอกับการแข่งขันโดยเจ้าใหญ่อย่าง Apple Music ที่มีสรรพกำลังโดยเฉพาะเงินทุนที่มากโข รวมถึงการเข้าใจกลุ่มศิลปินที่มากกว่า Spotify อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีของ Jimmy Iovine (ผู้ก่อตั้ง Beats ที่ถูก Apple ซื้อกิจการไป) ที่มาจากวงการเพลงโดยตรง

Jimmy Iovine (ผู้ก่อตั้ง Beats ที่ถูก Apple ซื้อกิจการไป) ที่มาจากวงการเพลงโดยตรง CR : nottinghillacademyofmusic)
Jimmy Iovine (ผู้ก่อตั้ง Beats ที่ถูก Apple ซื้อกิจการไป) ที่มาจากวงการเพลงโดยตรง CR : nottinghillacademyofmusic)

แม้สุดท้ายแล้วมันจะทำให้ Deniel Ek กลายเป็นมหาเศรษฐีเนื่องจากมูลค่ากิจการที่สูงเป็นพันล้านเหรียญ แต่ปัญหาของ Spoitfy ที่มาจากรากเหง้าของโมเดลธุรกิจนั้น ก็จะตามหลอกหลอนเขาไปอีกนานแสนนานเลยทีเดียวนั่นเองครับผม

References :
หนังสือ The Spotify Play : How CEO and Founder Daniel Ek Beat Apple, Google, and Amazon in the Race for Audio Dominance โดย Sven Carlsson และ Jonas Leijonhufvud
https://musictech.com/news/industry/spotifys-next-wave-of-growth-is-superfan-monetisation-ceo-daniel-ek-shares-in-investor-call/