Book Review : Hit Refresh แค่เปลี่ยนผู้นำ องค์กรก็วิ่งฉลุย

ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจเลยทีเดียว สำหรับ CEO ของ ไมโครซอฟท์ คนใหม่ ที่ก้าวผ่านจากกลุ่มผู้ก่อตั้งเดิมอย่าง บิลล์ เกตท์  , สตีฟ บัลเมอร์. รวมถึง พอล อัลเลน  ซึ่ง CEO สองคนแรกของ Microsoft อย่าง. บิลล์ เกตท์ รวมถึง สตีฟ บัลมอร์ นั้น ถือเป็นกลุ่ม founder กลุ่มแรก ๆ ในการนำพา microsoft ขึ้นสู่จุดสูงสุด

สตีฟ บัลเมอร์ ซีอีโอ ยุคผู้ก่อตั้งคนสุดท้าย

สตีฟ บัลเมอร์ ซีอีโอ ยุคผู้ก่อตั้งคนสุดท้าย

เมื่อเข้าสู่ยุคปลาย ของ CEO คนที่สองอย่างสตีฟ บัลเมอร์ นั้น ต้องบอกว่า เป็นช่วงขาลงที่ตกต่ำที่สุด ของ microsoft เลยก็ว่าได้ มีการก้าวเดินที่ผิดพลาดหลายอย่างในยุค สตีฟ บัลเมอร์ ขึ้นคุมบังเหียน ทั้งการพลาดในตลาดมือถือ ทั้งที่ตัวเองเป็นผู้นำอยู่ก่อนใน  Smart Phone ยุคก่อนหน้า Iphone ที่มี Windows Mobile ซึ่งถือว่าล้ำที่สุดในสมัยนั้นครองตลาดอยู่

ส่วนแบ่งการตลาดที่ต่างกันลิบลับระหว่าง Google vs Bing

ส่วนแบ่งการตลาดที่ต่างกันลิบลับระหว่าง Google vs Bing

การประเมินบริษัทอย่าง google ต่ำไป ทำให้กลายมาเป็นริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกในปัจจุบัน กับการที่ออก Bing มาสู้นั้น ถือว่าช้าเกินไปแล้ว google ได้ครองส่วนแบ่งตลาดไปเกือบแทบจะทั้งสิ้นแล้ว ทั้งที่ Microsoft นั้น เป็นบริษัทแรก ๆ ที่ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ตได้ผ่านทาง Internet Exproler

Microsoft กลายเป็นบริษัทที่ใหญ่เทอะทะ มีพนักงานมากมาย ไม่เหลือเค้าลางของบริษัท นวัตกรรมเหมือนในอดีต. การบริหาร ก็มีลำดับชั้นมากมาย ปัญหาเหล่านี้ IBM นั้นเคยประสบมาก่อน การกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ช้า ไม่ได้สนับสนุนนวัตกรรมใหม่ ๆ เหมือนในอดีต

เมื่อถึงเวลา ก็ต้องเปลี่ยนผู้นำเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่คนยุคเก่า ๆ เริ่มตามไม่ทัน ซึ่งเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้. Hit Refresh ของ สัตยา นาเดลลา ที่เปรียบเสมือนการเข้ามา Refresh องค์กรใหม่ทั้งหมด ผ่านการบริหารงานของเค้าหลังจาได้รับไม้ต่อมาจาก สตีฟ บัลเมอร์

สัตยา นาเดลลา ผู้มาปฏิวัติองค์กร Microsoft ยุคใหม่

สัตยา นาเดลลา ผู้มาปฏิวัติองค์กร Microsoft ยุคใหม่

การเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดของ สัตยา นาเดลลา คือ วัฒนธรรมองค์กร ของ microsoft เมื่อตอนที่เค้าได้รับตำแหน่งนั้น องค์กร มีขนาาดใหญ่เทอะทะ มาก ๆ การสั่งการเป็นลำดับขั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่หลาย ๆ องค์กรใหญ่น่าจะเคยเจอ ทำให้ขับเคลื่อนเรื่องต่าง ๆ ได้ช้า มีการตัดสินใจหลายชั้นมากเกินไป โปรเจคหลาย ๆ ตัวถูกทิ้งไว้ ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ให้กับบริษัท

มุ่งสู่ cloud first

มุ่งสู่ cloud first

และเริ่มที่จะปรับทิศทางผลิตภัณฑ์ของบริษัทใหม่ ให้ก้าวทันสู่โลกยุคใหม่มากยิ่งขึ้น ไม่พึ่งพาเพียงแค่ windows และ office เหมือนอดีด ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ช่วยพลิกโฉมหน้าของ microsoft ยุคใหม่คือ Cloud Service อย่าง Windows Azure ซึ่ง  สัตยา นาเดลลา ได้โฟกัส กับ cloud service เป็นอย่างมาก โดยให้เป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท ซึ่งทำให้บริการต่าง ๆ ของ microsoft นั้นเปลี่ยนมาให้บริการบน cloud เช่น office365 ทำให้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับ microsoft มหาศาล

และการทิ้งผลิตภัณฑ์ Windows Phone ที่ไม่น่าจะต่อกรได้กับยักษ์ใหญ่ได้อีกแล้ว ที่ microsoft ทำการ take over Nokia เข้ามาในตอนแรกนั้น ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่สำคัญอย่างนึงของ สัตยา นาเดลลา ซึ่งมองว่า ในระยะยาว การลงทุนด้าน Windows Phone นั้นไม่น่าจะสามารถแย่งส่วนแบ่งจากเจ้าตลาดอย่าง IOS และ Android ได้อีกต่อไปแล้ว การตัดขาดทุน รวมถึงการโละพนักงานออกไปเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งที่ยากของคนระดับ CEO แต่เพื่อพยุงบริษัทในระยะยาวนั้น ต้องถือว่า เป็นการที่ตัดสินใจที่ถูกต้องอย่างยิ่ง

ตัวอย่างของการเปลี่ยนผู้นำก็พลิกบริษัทได้

ถ้าถามว่าในยุคปลายของ สตีฟ บัลเมอร์ ในตอนนั้น ภาพลักษณ์ของ Microsoft ดูย่ำแย่ไปทุก ๆ อย่าง ทั้งเรื่อง รายได้ ภาพลักษณ์ในเรื่องนวัตกรรม  ที่ไม่มีนวัตกรรมออกมาเลยจากฝั่ง microsoft และสิ่งที่สำคัญคือ ไม่สามารถที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ ๆ ให้มาทำงานได้ เพราะ ไม่มีความ cool ให้ดึงดูดเด็กรุ่นใหม่ ๆ อีกต่อไป

การแค่เพียงเปลี่ยนผู้นำเป็น สัตยา นาเดลลา ต้องบอกว่าเป็นการเลือกตัดสินใจที่ถูกต้องครั้งนึงของ Microsoft เพราะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี ทุกอย่างก็พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ภาพลักษณ์ของ microsoft ดูดีขึ้นมาทันที ทั้งในเรื่องรายได้ กำไร ความเป็นบริษัทนวัตกรรม เริ่มดึงดูดคนรุ่นใหม่กลับมาทำงานได้อีกครั้ง ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้แทบทั้งสิ้น เป็นหนังสือที่เหล่าผู้บริหารระดับต่าง ๆ ควรหามาอ่านเป็นอย่างยิ่ง

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol