หลังจากข่าวการลาออกจากบริษัทของสองผู้ก่อตั้ง instragram อย่าง Kevin Systrom (CeO) และ Mike Krieger (CTO) ถือว่าเป็นข่าวใหญ่ของวงการ Social network เลยก็ว่าได้
จาก user ผู้ใช้งานเพียง 35 ล้านคนก่อนขายให้ facebook จนมาถึงวันนี้ instragram เติบโตจนเป็น platform social ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกไปแล้วมีผู้ใช้งานสูงถึงกว่า 1000 ล้านคน และจากพนักงาน 13 คนในยุคแรกเริ่ม ตอนนี้ได้กลายเป็นกว่าพันคน กระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
ถ้ามองในแง่ธุรกิจนั้น การเข้าซื้อ instragram เพียง 1 พันล้านเหรียญในปี 2012 ต้องถือว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของวิสัยทัศน์ของ Mark Zuckerberg เลยก็ว่าได้ ที่ซื้อมาได้ในราคาถูกเพียงแค่นี้ แต่อย่าลืมว่าการที่ instragram สามารถเติบโตได้เร็วขนาดนี้ ก็ต้องพึ่ง infrastructure พื้นฐานของ facebook ที่วางไว้อย่างดีทำให้สามรถ scale ให้ user ระดับพันล้านคนใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา
แต่หลังจากนโยบายที่เริ่มหารายได้กับ instragram นั้น ก็ทำให้ความ cool ของ instragram ตกลงไปกว่าเดิมมาก เนื่องจากมี model การหาเงินแบบเดียวกับ facebook คือ อาศัยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เพื่อไปขายโฆษณา ซึ่ง การลาออกของ 2 ผู้ก่อตั้ง ก็ต้องมาคอยดูกันต่อไปว่า ก้าวต่อไปของ instragram จะเป็นอย่างไรหลังจากยุคผู้ก่อตั้งได้ออกไป
แรกเริ่มของการควบรวมกิจการกับ instragram นั้น Mark Zuckerberg ก็ไม่ได้มาก้าวก่ายการทำงานของ 2 ผู้ก่อตั้งซักเท่าไหร่ แต่เมื่อถึงเวลา Mark ก็ต้องหา model ธุรกิจเพื่อหารายได้คืน จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ instragram ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะไปกระทบกับความรู้สึกของ 2 ผู้ก่อตั้ง ที่ในตอนนี้อาจจะไม่มีอำนาจเด็ดขาดเหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งก็คงเริ่มจะไม่พอใจตั้งแต่กรณีของ ข้อมูลหลุดใน case ของ Cambridge Analytica ซึ่งทำให้ facebook เสียหายอย่างหนัก และส่งผลต่อ Brand Instragram ด้วยเนื่องจากเป็น Brand ลูกของ Facebook เพราะยังไงฐานข้อมูลต่าง ๆ ก็คงมีการ share กันอยู่แล้วระหว่าง facebook กับ instragram
ถึงแม้ทั้ง 2 ผู้ก่อตั้ง instragram จะกล่าวว่า เป็นการจากกันด้วยดีกับ facebook แต่สื่อหลายๆ สื่อก็พยายามขุดคุ้ย ถึงปัญหาระหว่าง Mark Zuckerberg , Sheryl Sandberg กับ เหล่าผู้ก่อตั้งของบริษัทที่ถูก take over มาทั้ง instragram , whatsapp หรือแม้กระทั่ง occulus เอง
ตอนนี้ เหล่าผู้ก่อตั้ง brand ลูกทั้งหลายของ facebook ก็ต่างทยอยลาออกกันไปเกือบหมดแล้ว ซึ่งน่าจะมีปัญหาอะไรบางอย่างระหว่างกลุ่มผู้ก่อตั้งเหล่านี้กับ ทาง facebook อย่างแน่นอน โดยเฉพาะ ประเด็นในเรื่องข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่อง sensitive อย่างมาก
การมาเปิดเผยกับสื่อล่าสุดของ Brian Acton ผู้ร่วมก่อตั้ง WhatsApp ที่ลาออกไปตั้งแต่เมื่อกันยายน ปี 2017 น่าจะเฉลยทุกอย่างได้อย่างดี ถึง ความเผด็จการของ Mark Zuckerberg
WhatsApp เดิมนั้น ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวกับลูกค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งตรงข้ามกับ facebook อย่างสิ้นเชิง ที่ขายข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เป็นรายได้หลักของบริษัท ซึ่ Acton นั้นได้เคยเสนอ model ธุรกิจเรื่อง การจำกัดการส่งข้อความกับ ผู้ใช้แทน และ เรียกเก็บเงินหากผู้ใช้มีการใช้งานเยอะ แทนที่การนำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไปหารายได้แบบที่ facebook ทำ
แต่แนวคิดนี้โดนปฏิเสธโดยสิ้นเชิงจากทั้ง Mark Zuckerberg รวมถึง Sherlyn Sandberg ซีโอโอ ของ Facebook โดยอ้างการ scale up ของธุรกิจที่เป็นไปได้ยากใน model แบบนี้ จนกระทั่งในปี 2016 นั้น ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ Acton ลาออก คือการแอบเปลี่ยน นโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ซึ่งคิดว่าส่วนนี้หลาย ๆ คนไม่ได้สนใจที่จะอ่านมันอยู่แล้ว ตอน install program ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้ ทำให้ facebook สามารถที่จะนำโมเดลของการโฆษณา ตามข้อมูลของผู้ใช้ได้แบบเดียวกับ facebook
ถ้าวิเคราะห์กันให้ดี platfrom chat กับ platform social นั้น มีข้อมูลที่แตกต่างกันสิ้นเชิง ในข้อมูล chat นั้นเรามีข้อมุลที่ Sensitive ที่เราใช้คุยกับคนที่เราไว้ใจอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องการเจ็บป่วยร้ายแรง หรือ เรื่องทางการเงิน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ค่อนข้าง sensitive กว่าข้อมูลที่เราเผยแพร่ไปใน social เพราะมันเป็นการ chat แบบบุคคล ต่อ บุคคล ซึ่งหาก whatsapp เอาข้อมูลการ chat เหล่านี้ มาหากินต้องถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียวสำหรับผู้ใช้งาน
อาจจะมีผลทำให้ผู้ใช้งานหนีไปใช้ platform อื่นที่ปลอดภัยกว่าเลยก็ได้ เนื่องจากการเสียข้อมูลที่ sensitive เหล่านี้ไปให้ facebook ทำการวิเคราะห์นั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ เช่น เราอาจจะ chat กับพ่อแม่ แต่ไม่อยากบอกใครคนอื่นว่าเราตรวจเจอมะเร็ง แล้วอยู่ดี ๆ โฆษณา ศูนย์รักษามะเร็งโผล่มาใน app chat มันคงไม่น่าจะ happy เท่าไหร่สำหรับผู้ใช้งานใน app chat
หลังจากนี้ เราก็ต้องมาดูกันต่อไป ว่า facebook จะทำการรักษาระดับของความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน กับ model ธุรกิจของตัวเองอย่างไร เพราะดูจากท่าทีในช่วงหลัง ๆ facebook นั้นค่อนข้างเน้นไปทางการเติบโตทางรายได้อย่างชัดเจน ไม่ค่อยแคร์กับผู้ใช้งานซักเท่าไหร่ แม้ล่าสุด จะมาประกาศล้างบาง feed ใหม่โดยอ้างว่าทำให้ประสบการณ์ผู้ใช้งานดีขึ้น แต่หากดูรายได้ที่เติบโตอย่างสูงในไตรมาส ล่าสุด นั้นมันก้เฉลยแล้วว่า สิ่งที่ facebook ทำคือ บีบให้เหล่า publisher หรือ brand ไปจ่ายตังค์ลงโฆษณา เพิ่มขึ้นนั่นเอง และประสบการณ์ของ user ก็ไม่ได้ดีขึ้นแต่อย่างใด โฆษณายังมีมากเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง และนับวัน จะมีมากยิ่งขึ้น ในหลาย ๆ ส่วนที่ facebook ทำ ไมว่าจะเป็น stories , live , video , group , marketplace ทุกส่วนล้วนแต่ทำเงินให้ facebook ทั้งสิ้น
แต่เมื่อมันมากเกินไป หากถึงจุดหนึ่ง ที่มี startup รายเล็ก ๆ ซักรายที่มาปฏิวัติวงการ social ได้แบบที่ Mark เคยทำไว้ มันก็มีโอกาสเหมือนกัน ทีคนจะย้ายหนี facebook ไปเล่น platform อื่น เลยก็ได้ เพราะความ cool ของ facebook ในอดีต ตอนนี้มันได้ตายจากไปแล้ว เหลือเพียงแค่บริษัท ที่คอยหากินจากข้อมูลผู้ใช้งานเพียงอย่างเดียว