You’re My Partner กับกลยุทธ์ยืมมือคนอื่นเพื่อฆ่าศัตรูของ Microsoft

ก่อนที่เราจะได้เห็นสงคราม AI ที่ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีทั้งหลาย โดยเฉพาะ Google และ Micosoft หากย้อนกลับไปยุคเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตเรียกได้ว่าทั้งคู่นั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานานแล้ว

ย้อนกลับไปในยุคบุกเบิกของอินเทอร์เน็ต Microsoft มองว่า Google คือ ศัตรูหมายเลขหนึ่งที่กำลังจะรุกรานธุรกิจต่าง ๆ ของ Microsoft และในโลกของ Search Engine นั้นดูเหมือนว่า Microsoft จะเพลี่ยงพล้ำให้กับ Google

ภายใน Microsoft นั้นเป้าหมายหลักของพวกเขาคือ การแข่งขันกับ Google เป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งเหนือสิ่งอื่นใด เพราะ Google เริ่มเข้ามารุกรานในตลาดโปรแกรม Office หลังจากทำการปล่อยบริการออนไลน์อย่าง Google docs ออกมาเรียกได้ว่าเป็นการก้าวขึ้นมาท้าทาย Microsoft โดยตรงเป็นครั้งแรก

Google เริ่มเปิดแนวรบใหม่ รุกมายังผลิตภัณฑ์หลักอย่างชุดโปรแกรม Office ของ Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทำให้ทางฝั่ง Microsoft โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เรียกได้ว่า Google นั้นใช้ Search Engine ผลักดันให้ตัวเองมาสร้างผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งอีกไม่นานก็คงจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Microsoft ทั้งหมด

และที่สำคัญ Microsoft คงจะใช้แผนเดิมที่ทำกับ Netscape ในการทำลายคู่แข่งอีกครั้งไม่ได้อีกแล้ว ที่จะให้ Search Engine ของพวกเขา กลายเป็นค่าเริ่มต้นในผลิตภัณฑ์ของพวกเขาอย่าง Internet Exproler เพราะมีความเสี่ยงมากต่อการเจอกฏหมายต่อต้านการผูกขาดทางการค้า เหมือนที่ Windows เคยเจอ ซึ่งดูแล้วมันจะไม่คุ้มเสีย ทางเลือกใหม่ของ Microsoft จึงเป็นการหาพันธมิตรใหม่ในโลกออนไลน์แทน

ความเสี่ยงทางด้านกฎหมายทำให้ Microsoft ไม่สามารถใช้กลยุทธ์เดิมที่เคยทำกับ Netscape ได้ (CR:ZDNet)
ความเสี่ยงทางด้านกฎหมายทำให้ Microsoft ไม่สามารถใช้กลยุทธ์เดิมที่เคยทำกับ Netscape ได้ (CR:ZDNet)

และแน่นอนว่าบริการใดที่เป็นที่นิยมในโลกอินเตอร์เน็ต บริการนั้นก็ถือเป็นภัยคุกคามของ Google เช่นเดียวกัน ในปี 2007 บริการ Social Network น้องใหม่อย่าง facebook เริ่มปรากฏกายออกมาเป็นภัยคุกคุมใหม่กับ Google เสียเอง

สาเหตุสำคัญก็เนื่องมาจากในยุคเริ่มต้นนั้น Mark Zuckerberg พยายามปลุกปั้น facebook ด้วยความชาญฉลาด โดย facebook จะทำการซ่อนเนื้อหาทั้งหมดไว้ ไม่ให้ Search Engine รายใดเข้ามาย่างกรายใน platform ของ facebook ผ่านเนื้อหาของไฟล์ “robot.txt”

มันเปรียบเสมือนปราการยักษ์คอยป้องกันไม่ให้ Google เข้ามาสอดส่องข้อมูลภายใน facebook เพราะมันเป็นเรื่องของข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน Zuckerberg จึงไม่อยากให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกค้นหาได้ทั่วไปในระบบอินเทอร์เน็ต เพราะหากจะค้นหาต้องเข้ามา join ใน platform ของเขาเท่านั้นที่เป็นระบบปิด

Google ที่เคยเป็นพี่ใหญ่คอยสอดส่องไปทั่วทั้งระบบอินเทอร์เน็ตเริ่มรู้สึกหงุดหงิด เพราะเนื้อหาใน facebook นั้น Google ไม่มีอำนาจที่จะเข้าถึงได้ และที่สำคัญมันกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อคนหันมาเล่น social network เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ มันทำให้ Google ไม่สามารถทำการโฆษณาให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้เลย

Mark Zuckerberg ก็มอง Google เหมือนที่ Google มองไปยัง Microsoft ในช่วงแรก ๆ Zuckerberg ไม่อยากให้ facebook ถูกกลืนกินโดย Google เช่นกัน

และเป็นพี่ใหญ่อย่าง Microsoft นี่เอง ที่แทนที่จะรบกับ Google ที่สดกว่าด้วยน้ำมือตัวเอง จึงใช้แผนใหม่ด้วยการ ซื้อหุ้นเพียง 1.6% ด้วยมูลค่ากว่า 240 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตอนนั้น facebook มีผู้ใช้งานเพียงแค่ 42 ล้านคนเท่านั้น แต่เป็นแผนของ Microsoft เองที่ต้องการเตะตัดขา Google ที่กำลังคิดการณ์ใหญ่ ทำให้มูลค่า facebook ในตอนนั้นพุ่งสูงขึ้นถึงกว่า 1.5 หมื่นล้านเหรียญเลยทีเดียว

แม้นี่จะเป็นชัยชนะเล็ก ๆ ของ Microsoft ต่อ Google แต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนของ Search Engine ของพวกเขาเองอย่าง Bing นั้นก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นในระดับที่ทำให้เหล่าผู้บริหารสบายใจ ไม่ว่าจะเป็นตลาดในสหรัฐหรือทั่วโลก ซึ่ง Bing นั้นได้ครองส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อยในตลาดการค้นหาและยังมีชีวิตรอดอยู่ได้ด้วยอาศัยความเป็นใหญ่และทุนหนาของ Microsoft เพียงเท่านั้น

ซึ่ง Microsoft ก็ต้องเลือกทางเดิมเพื่อหาพันธมิตรต่อไป เพราะสู้กับ Google แบบตรง ๆ ไม่ได้เลย ช่วงต้นปี 2008 Microsoft เสนอราคาซื้อ Yahoo สูงถึง 4.5 หมื่นล้านเหรียญ เป้าหมายของ Microsoft ก็เพื่อที่จะเพิ่มอำนาจการค้นหาของบริษัท โดยการขยายธุรกิจซึ่งตอนนั้น Yahoo ก็เป็นอันดับสองรองจาก Google เพียงเท่านั้น

Yahoo ครองส่วนแบ่งการตลาดโฆษณาออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดบนเว็บไซต์ มีทั้งเนื้อหาข่าว บริการ email และเป็นส่วนเติมเต็มที่ดีให้กับ Bing ได้อย่างแน่นอน

แต่ดูเหมือนผู้บริหารฝั่ง Yahoo จะตัดสินใจพลาดครั้งใหญ่ เพราะได้ปฏิเสธข้อเสนอของ Microsoft ไปอย่างไม่ใยดี ซึ่ง Jerry Yang ก็ได้กลายเป็นคนต้องรับผิดชอบถูกกดดันให้ลาออกไปในที่สุด ซึ่งการปฏิเสธครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์ 

ผู้บริหารฝั่ง Yahoo จะตัดสินใจพลาดครั้งใหญ่ เพราะได้ปฏิเสธข้อเสนอของ Microsoft ไปอย่างไม่ใยดี (CR:CNBC)
ผู้บริหารฝั่ง Yahoo จะตัดสินใจพลาดครั้งใหญ่ เพราะได้ปฏิเสธข้อเสนอของ Microsoft ไปอย่างไม่ใยดี (CR:CNBC)

แม้จะมีการสร้าง Partnership กันระหว่าง Microsoft และ Yahoo ในเรื่องการค้นหาภายหลัง โดย Microsoft จะเข้ามาสนับสนุนในเรื่องการค้นหาแทน แต่ตอนนั้นต้องบอกว่ามันสายไปเสียแล้วเมื่อ facebook ที่กำลังเติบโตและได้ฉกฉวยรายได้จากโฆษณาออนไลน์ไป ทำให้รายรับของ Yahoo ลดลง หลังจากนั้น Yahoo ก็ดำดิ่งจนสุดท้ายก็ต้องขายกิจการไปในที่สุด

ต้องบอกว่าตลาดโฆษณาออนไลน์ก่อนหน้ายุค facebook เกิดนั้น Google ครองตลาดส่วนนี้แทบจะเบ็ดเสร็จ เหลือช่องว่างไว้ให้ bing ของ Microsoft เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การส่ง facebook ไปรบกับ Google แทนของ Microsoft เป็นกลยุทธ์ในการถ่วงดุลอำนาจของ Google หลังจากที่ไม่ได้มีคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อมานาน

มันเป็นแผนที่เหนือชั้นมากของ Microsoft และทำให้พวกเขามีเวลาไปโฟกัสกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงรุกเข้าสู่ธุรกิจคลาวด์ จนสามารถพลิกกลับมาเป็นพี่ใหญ่เบอร์หนึ่งแห่งวงการเทคโนโลยีได้สำเร็จอีกครั้งอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับผม

“BTG” เปิดตัว “Betagro Ventures” มุ่งบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจ “FoodTech & AgriTech” พร้อมเดินหน้าลงทุนสตาร์ทอัพ ผ่านกองทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างโอกาสเติบโตที่ยั่งยืน

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG บริษัทอาหารครบวงจรชั้นนําของไทย เปิดตัว “Betagro Ventures” ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่มุ่งเน้นการลงทุน และพัฒนานวัตกรรม ครอบคลุมระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของเบทาโกร ผ่านการดําเนินงานภายใต้ 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง 2) การพัฒนาแหล่งโปรตีนใหม่ที่ยั่งยืน และ 3) การสร้างห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้จะถูกขับเคลื่อนผ่านการลงทุนตามเป้าหมาย และการบ่มเพาะสตาร์ทอัพภายในองค์กร

โดย Betagro Ventures ได้จัดตั้งกองทุนมูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น (Early Stage) ที่พัฒนานวัตกรรมใหม่สอดคล้องตามกลยุทธ์หลักของ Betagro Ventures และในการลงทุนจะมุ่งใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของเบทาโกรในด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภคในวงกว้าง ผ่านความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเพิ่มโอกาสในการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจต่อไป

นอกจากนี้ Betagro Ventures ยังมุ่งเน้นบ่มเพาะและขยายธุรกิจภายในองค์กร ด้วยการผสานความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของเบทาโกรเข้ากับทักษะ และความรู้ความสามารถของผู้ประกอบการสมัยใหม่ โดย Betagro Ventures มีเป้าหมายที่จะสร้างธุรกิจใหม่ที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถเสริมแกร่งให้ธุรกิจเบทาโกรเติบโตยั่งยืนอีกด้วย

นายชยธร แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ กลุ่มงานกลยุทธ์และนวัตกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG และกรรมการผู้จัดการ Betagro Ventures กล่าวว่า “แม้ว่าโมเดลธุรกิจแบบเดิม กำลังเผชิญกับความท้าทายจาก Technology Disruption และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจยังเห็นโอกาสในการพัฒนา และต่อยอดนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยการร่วมมือกับสตาร์ทอัพ

โดยเบทาโกรเชื่อว่าการสร้างนวัตกรรมในรูปแบบเปิด (Open Innovation) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งจะช่วยเร่งให้เกิดการพัฒนาและขับเคลื่อนเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี”

“Betagro Ventures จะเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของเบทาโกรไปสู่ยุคใหม่เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน ด้วยการลงทุนในสตาร์ทอัพ และการบ่มเพาะพัฒนาธุรกิจใหม่ โดย Betagro Ventures เชื่อว่าการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จะช่วยให้ทุกคนได้เข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ และปลอดภัยสูง ทั้งยังตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ที่สำคัญยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนให้ก้าวไปอีกขั้นอีกด้วย” นายชยธร กล่าว

Geek Monday EP224 : กรณีศึกษาทางไซเบอร์กับการแฮก Sony Pictures Entertainment

ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2014 Sony Pictures Entertainment (SPE) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญแห่งวงการบันเทิงมีการผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์ชื่อดังมากมาย เจอกับเหตุการณ์จารกรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ กลุ่มแฮ็กเกอร์จากต่างประเทศแทรกซึมเครือข่ายของ SPE ผ่านมัลแวร์ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางดิจิทัลของบริษัท และเข้าถึงข้อมูลพนักงาน อีเมลส่วนตัว และภาพยนตร์ที่กำลังจะเข้าฉาย เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลครั้งใหญ่ของบริษัท

การแฮ็ก Sony Pictures Entertainment ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฝ่ายของเกาหลีเหนือที่กระทำการดังกล่าว ที่ต้องการป้องกันไม่ให้ SPE ปล่อยภาพยนตร์ตลกทางการเมืองที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลอบสังหารผู้นำของชาติพวกเขา เหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการบันเทิง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/58a3ndh4

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/27e2c4cc

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/3s8na7mu

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/4b72ba2k

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/-GjicJkS8eQ

The Transformative Power กับการเปลี่ยนถ่ายอำนาจครั้งสำคัญของมวลมนุษยชาติ

ต้องบอกว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ มักมาพร้อมกับภัยคุกคามใหม่ ๆ เสมอ ซึ่งโลกเราได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่มีครั้งไหนที่จะส่งผลกระทบรุนแรงได้เท่าครั้งนี้

ในอดีตปืนใหญ่ทำให้กองกำลังพลขนาดเล็กสามารถทำลายป้อมปราการและกองทัพขนาดใหญ่ได้ ทหารเพียงไม่กี่นายจากเมืองเล็ก ๆ ก็สามารถรัฐประหารชนพื้นเมืองหลายพันคนด้วยอาวุธที่ทันสมัยกว่าได้แบบง่ายดาย

แท่นพิมพ์ช่วยให้โรงพิมพ์แห่งเดียวสามารถผลิตแผ่นใบปลิวได้หลายพันชิ้น ทำให้แพร่กระจายความคิดได้อย่างง่ายดาย ซึ่งถ้าย้อนกลับไปมันเป็นสิ่งที่นักบวชในยุคกลางแทบจะจินตนาการไม่ออกเลยด้วยซ้ำ

กำลังจากเครื่องจักรไอน้ำทำให้โรงงานแห่งเดียวสามารถทำงานได้เท่ากับหมู่บ้านทั้งหมู่บ้าน

อินเทอร์เน็ตยกระดับความสามารถเหล่านี้สู่จุดสูงสุด เพียงแค่ทวีตเดียวหรือภาพเพียงภาพเดียวอาจแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาที

หรืออัลกอริธึมเจ๋ง ๆ ซักอันอาจช่วยให้บริษัทสตาร์ทอัพขนาดเล็กเติบโตเป็นบริษัทระดับพันล้านได้อย่างรวดเร็วได้เช่นเดียวกัน

ต้องบอกว่าปัจจุบันผลกระทบในรูปแบบดังกล่าวนั้นมันยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้น คลื่นเทคโนโลยีใหม่ได้ปลดปล่อยศักยภาพที่น่าสะพรึงกลัว เข้าถึงได้ง่าย และมีราคาที่ถูกแสนถูก

สิ่งนี้ชัดเจนว่ามันนำมาซึ่งความเสี่ยง มันไม่ใช่แค่ในแวดวงทหาร ตัวอย่างยูเครนหรือกองกำลังกะเหรี่ยงพม่าที่กล้าท้าชนคู่ต่อสู้ที่แข็งกว่าโดยใช้อาวุธอย่างโดรนราคาไม่กี่ร้อยเหรียญ

Audrey Kurth Croni ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงกล่าวว่า “แทบไม่เคยมียุคไหนที่คนมากมายมีสิทธิ์เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถก่อให้เกิดความตายและความวุ่นวายได้เท่าในยุคนี้”

ในทุกวันหน่วยโดรนจากกองทัพยูเครน สามารถเข้าโจมตีและทำลายชิ้นส่วนปืนใหญ่ หรือรถถังราคาแพงมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันแสดงให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนสนามรบยุคใหม่

ในการปะทะนอกกรุงเคียฟ โดรนที่ใช้เป็นเหมือนของเล่นของคนทั่วไป บริษัท DJI ซึ่งตั้งอยู่ในเซินเจิ้น ผลิตสินค้าราคาไม่แพงและเข้าถึงได้ง่าย เช่น Phantom camera quadcopter ราคา 1,399 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมันมีคุณภาพดีจนกองทัพสหรัฐฯต้องนำมาใช้งาน

หากความก้าวหน้าด้าน AI โดรนราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพ ผนวกกับความคืบหน้าในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่หุ่นยนต์ไปจนถึงเทคโนโลยี Computer Vision ก็จะได้อาวุธที่มีพลังทำลายล้างสูง แม่นยำ และอาจจะถึงขั้นไม่สามารถที่จะตรวจจับได้ง่าย ๆ

แน่นอนว่าฝ่ายตั้งรับที่เราเห็นกันมาหลายเคสแล้วว่าทำได้ไม่ง่ายแม้จะมีสรรพกำลังที่มากกว่า ตัวอย่างเคสของกองทัพพม่าน่าจะบอกเรื่องราวนี้ได้อย่างดี

กลุ่มต่อต้านรัฐประหารของพม่าซึ่งเชี่ยวชาญด้านการทำสงครามด้วยโดรน ในตอนแรกพวกเขาใช้เพียงแค่โดรนขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบา แต่สถานการณ์ในปัจจุบันกลุ่มต่อต้านดังกล่าวใช้ระบบที่มีความซับซ้อนกว่าเดิมเป็นอย่างมากเพื่อทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายทางการทหารได้อย่างแม่นยำจนสามารถยึดจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้อย่างง่ายดาย

หรือในเคสของกองทัพอเมริกันและอิสราเอลที่ต้องใช้ขีปนาวุธ Patriot ราคา 3 ล้านดอลลาร์ เพื่อยิงโดรนที่มีราคาเพียงสองร้อยดอลลาร์

ปัจจุบันอุปกรณ์รบกวนสัญญาณ ขีปนาวุธ และระบบต่อต้านโดรนยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นเพียงเท่านั้น และไม่ค่อยได้รับการทดสอบในสนามรบจริงมากนัก

การพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การถ่ายโอนอำนาจครั้งใหญ่จากรัฐและกองทัพแบบดั้งเดิม ไปสู่กลุ่มคนทั่วไป ใครก็ตามที่มีศักยภาพและแรงจูงใจในการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้

คนบ้า ๆ คนหนึ่งที่มีเงินตรา ก็สามารถที่จะซื้อและบังคับควบคุมโดรนนับพันตัวได้อย่างง่ายดาย

โปรแกรม chatbot AI เพียงตัวเดียวก็สามารถที่จะสรรสร้างข้อความได้มากเท่ากับมวลมนุษยชาติรวมกันแทบจะทั้งหมด

โมเดลการสร้างภาพขนาด 2 กิกะไบต์ที่รันบนแล็ปท็อปของทุกคนสามารถที่จะบีบอัดภาพทั้งหมดบนเว็บที่มีอยู่บนโลกนี้ได้ง่ายดาย

การทดลองด้านจุลชีววิทยาเพียงครั้งเดียวอาจก่อให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ เหตุการณ์ขนาดเล็กในระดับโมเลกุลที่มีผลกระทบในวงกว้าง

คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ใช้การได้เพียงเครื่องเดียวอาจทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการเข้ารหัสของโลกล้าสมัยทันที

ความเชื่อมโยงและขนาดของคลื่นเทคโนโลยีใหม่นี้สร้างความเสี่ยงในระบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งความล้มเหลวเพียงจุดเดียวอาจนำไปสู่ผลกระทบที่ลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ยิ่งเทคโนโลยีเปิดมากขึ้นเท่าไหร่ มันก็ยิ่งยากที่จะควบคุมได้

ลองคิดถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ อุบัติเหตุจราจรที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ที่ล้วนแล้วเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์จะลดน้อยลงไป

ในอนาคตฝูงรถยนต์แสนฉลาดจะเชื่อมโยงกันได้ หรือมีระบบที่สามารถควบคุมยานพาหนะอัตโนมัติทั้งหมด แม้จะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยและระบบรักษาความปลอดภัยมากมาย แต่ขนาดของผลกระทบกลับกว้างใหญ่กว่าที่เคยเป็นมา

AI จะสร้างความเสี่ยงที่จะขยายไปยังสังคมทั้งระบบ ทำให้มันไม่ใช่ถูกใช้เป็นเพียงแค่เครื่องมือเท่านั้น แต่มันจะสร้างผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งไม่แปลกที่เหล่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ พวกเขาไม่เพียงแต่ต้องการมีส่วนร่วม และไม่ตกขบวนรถนี้เท่านั้น แต่ต้องการที่จะมีอำนาจเหนือมัน

เราอยู่ในยุคของระบบโลกที่เชื่อมโยงกันอยู่แล้ว ในคลื่น AI ที่กำลังมาถึงนี้ เพียงแค่จุดเดียว โปรแกรมเพียงโปรแกรมเดียว การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพียงครั้งเดียว อาจจะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างไปแบบสิ้นเชิง

References :
หนังสือ The Coming Wave :  Technology, Power, and the Twenty-first Century’s Greatest Dilemma โดย Mustafa Suleyman
https://www.aljazeera.com/news/2024/4/4/myanmar-opposition-launches-drone-attack-on-militarys-stronghold-capital
https://www.reuters.com/graphics/UKRAINE-CRISIS/DRONES/dwpkeyjwkpm/

Geek Daily EP226 : Mark Zuckerberg กับการเตรียมเท Metaverse สู่การเดิมพันครั้งใหญ่กับ AI

Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Meta ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Facebook ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าล่าสุดของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของยักษ์ใหญ่ด้านโซเชียลมีเดีย รวมถึงผลการดำเนินงานทางการเงินในระหว่างการรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด

Zuckerberg เน้นย้ำว่า AI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ขับเคลื่อนเนื้อหามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์บน Instagram และเนื้อหามากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์บน Facebook เขายืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของ Meta ที่มีต่อ AI และแผนการที่จะทุ่มอย่างเต็มที่เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ 

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/yehj6bwu

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/2a4j9yzx

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/ye24edze

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/yc7vymr8

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/vDZRxo4AQ-c