ดราม่าลอตเตอรี่ออนไลน์ เมื่อรัฐกำลังจะ disrupt ธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมจากเอกชน จริงหรือ?

ต้องบอกว่ากลายเป็นข่าวใหญ่ และปัญหาที่คาราคาซังมาอย่างยาวนาน สำหรับปัญหาขายลอตเตอรี่เกินราคา ที่ตอนนี้รัฐได้เข้ามาจัดการกับแพลตฟอร์มขายลอตเตอรี่ที่มีการขายเกินราคา และทางรัฐอ้างว่าส่งผลให้ลอตเตอรี่มีราคาสูงเกินจริง

ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ซื้อลอตเตอรี่ผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้อยู่ตลอดนะครับ ตั้งแต่ยุคที่ กองสลาก.com ตอนนั้นที่ขาย 80 บาท จนสุดท้าย ทางเจ้าของแพลตฟอร์มไม่สามารถหาลอตเตอรี่ต่ำกว่า 80 บาทได้ จึงเปิด กองสลากพลัส ขึ้นมาแทน ก็ยังเป็นลูกค้าอุดหนุนแพลตฟอร์มเหล่านี้อยู่

สำหรับแพลตฟอร์มเจ้าแรกที่แจ้งเกิดขึ้นมาจริง ๆ ทำเป็นระบบจริง ๆ น่าจะเป็นมังกรฟ้า ที่กลายเป็นข่าวดังถูกเจ้าหน้าที่รัฐบุกตรวจสอบถึงสำนักงานใหญ่ไปก่อนหน้านี้

เรียกได้ว่าเป็นการเปิดนวัตกรรมในการขายลอตเตอรี่รูปแบบใหม่กันเลยทีเดียวสำหรับการแจ้งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของมังกรฟ้า ที่ทำให้ลูกค้าสามารถหาลอตเตอรี่ได้ง่ายขึ้น และใช้ business model ง่าย ๆ ด้วยการสแกน แล้วจัดเก็บลอตเตอรี่เข้าตู้เซฟ แล้วนำข้อมูลเข้าสู่ online เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาเลขดังเลขเด็ดได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ซึ่งมันได้กลายเป็นธุรกิจที่มีเงินหมุนเวียนสูงเป็นร้อยล้าน แต่เป็นธุรกิจที่เข้ามาแข่งได้ง่าย คิดมุมธุรกิจ มันก็เป็นธุรกิจที่ barrier to entry ต่ำมากๆ จะเห็นได้ช่วงหลังๆ มังกรฟ้า มังกรแดง กองสลาก… เต็มไปหมด ให้เราเลือกสรรค์ ซึ่งทุกแพลตฟอร์มก็ทำเหมือน ๆ กันแทบจะทั้งหมดไม่มีอะไรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมันไม่ได้มีนวัตกรรมอะไรที่แตกต่าง ใครก็สามารถลุกขึ้นมาทำได้ทั้งเอกชน หรือแม้กระทั่งรัฐเองก็ตาม และก่อนที่จะทำผมก็มองว่าเอกชนก็ควรจะต้องมองถึง Threat หรือ ภัยคุกคาม ที่อาจจะเกิดขึ้นในรูปแบบนี้ไว้อยู่แล้วด้วยเช่นกัน

เป๋าตัง x ลอตเตอรี่กับส่วนผสานที่ลงตัว

นั่นทำให้เป็นที่มาของ บอร์ดสลากฯ ซึ่งได้เห็นชอบให้สำนักงานสลากฯไปจัดทำระบบจำหน่ายสลากผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแพลตฟอร์อออนไลน์ ภายใต้ชื่อ แพลตฟอร์มจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล (ดิจิทัล ลอตเตอรี่) 

วิธีการก็คือทำการสแกนสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวจริงแล้วนำไปโพสต์ขายบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ลอตเตอรี่ ซึ่งจะเป็นมาร์เก็ตเพลสของสำนักงานสลากฯเอง เพื่อเป็นช่องทางการจำหน่ายสลากให้ผู้ได้รับโควต้าสลาก แต่ผู้ค้าจะต้องขายในราคาไม่เกิน 80 บาท ซึ่งมันก็คือเหมือนที่เอกชนทำเป๊ะ ๆ

เมื่อทำการซื้อขายสลากฯ ผู้ซื้อจะมีเอกสารหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมภาพสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นหลักฐาน โดย สำนักงานสลากฯ จะจัดเก็บข้อมูลไว้ ซึ่งล็อตเตอรี่ใบที่ได้จำหน่ายไปแล้ว จะไม่สามารถนำไปขายต่อได้อีก หรือเปลี่ยนสิทธิไม่ได้ เพราะสลากขายได้ครั้งเดียว

ส่วนผู้ซื้อจะต้องซื้อผ่านแอปเป๋าตังเท่านั้น เนื่องจากธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้ทำระบบทั้งหมดให้กับสำนักงานสลากฯ เรียกได้ว่าส่งผลบวกเต็ม ๆ กับแอปเป๋าตัง และนี่เองก็อาจจะส่งผลให้ถึงจุดจบของแพลตฟอร์มขายสลากออนไลน์ของภาคเอกชน ตัวอย่างเช่น กองสลาก.com มังการฟ้า ฯลฯ เลยทีเดียวเช่นเดียวกัน

แล้วถามว่ามันคือการกลั่นแกล้งเอกชน หรือ เข้ามา disrupt จริงหรือ? ผมมองว่าเปล่าเลย เพราะมันเป็นธุรกิจที่เข้ามาแข่งได้ง่ายเกินไป ซึ่งหากมีการทำ SWAT Analysis คงมองเห็นภัยคุกคามเหล่านี้อยู่แล้วตั้งแต่ต้น และที่สำคัญโดยพื้นฐานตัวสลากก็ออกโดยรัฐอยู่แล้ว ซึ่งมันทำให้ใครก็สามารถกระโดดเข้ามาแย่งชิงผลประโยชน์จำนวนมหาศาลจากลอตเตอรี่ได้แม้กระทั่งตัวของรัฐนั่นเองครับผม

Credit Image : https://www.nationtv.tv/news/378867919

Geek Story EP144 : ประวัติ Adam Neumann แห่ง WeWork (ตอนที่ 7 – ตอนจบ)

จากตอนที่แล้ว Rebekah ใช้เวลาหลายวันในการนำไปสู่การเปิดตัว Wingspan ด้วยคำอธิบายภาพที่น่าสนใจ ซึ่งจะปรากฏในหน้าแรกของหนังสือชี้ชวน ซึ่งต้องบอกว่านี่เป็นงานที่ไม่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหล่านักวิเคราะห์จะมองไปที่ตัวเลขและแบบจำลองและการเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นเพื่อแยกแยะว่า บริษัท มีมูลค่าเท่าใดกันแน่

งานมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับ WeWork ทีมสื่อสารของบริษัทพยายามอย่างมากในปี 2019 เพื่อเขียนเรื่องเล่าเกี่ยวกับบริษัท แบบหน้าเดียวที่มีความเรียบง่าย เมื่อ Rebekah เสนอร่างฉบับสุดท้ายของเธอ นายธนาคาร ทนายความ และ ผู้บริหารหลายคนที่ทำงานกับโปรเจค Wingspan ถึงกับต้องอึ้งกันไปตามกัน

ถึงตอนนี้ใกล้จะถึงบทสรุปของเรื่องราวต่าง ๆ ของ WeWork กันแล้วนะครับ จะเกิดอะไรขึ้นกับ การ IPO ครั้งประวัติศาสตร์นี้ Adam จะสามารถหาเงินทุนมาเพื่อทำให้ธุรกิจของเขาเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ ติดตามรับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3iOG428

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3tSdzqz

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/36zQwbf

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3NzaeVe

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/WDpiSDQlg-s

มิว สเปซ ประกาศราคาขาย “ดาวเทียมสัญชาติไทย” เริ่มต้น 134 ล้านบาท พร้อมจัดแสดงเทคโนโลยีอวกาศแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

mu Space and Advanced Technology Co., Ltd. หรือ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มิว สเปซ) ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศ และผู้ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม ประกาศราคาดาวเทียมดวงแรกของมิว สเปซ Block 1 (MU-B200) ซึ่งเป็นดาวเทียมในวงโคจรต่ำ (LEO – Low Earth Orbit) ด้วยราคาเริ่มต้น 134 ล้านบาท (4 ล้าน USD) และมีกำลังการผลิตดาวเทียม 100 ดวงต่อปี มั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับอย่างดี

เนื่องจากดาวเทียมของมิว สเปซ มีน้ำหนักเบาเพียง 200 กิโลกรัม, แบตเตอรี่ภายในดาวเทียมมีประสิทธิภาพสูง และสามารถให้พลังงานได้สูงสุดถึง 1,200 วัตต์ โดยมีการติดต่อสื่อสารผ่านคลื่นความถี่ V-Band ด้วยความเร็วสูงสุด 5 Gbps และมีอายุการใช้งานนานถึง 5 ปี

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา มิว สเปซ ได้จัดงาน Tech Day ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ นักลงทุน, สื่อมวลชน และ ลูกค้าได้เข้าชมภายในโรงงานเทคโนโลยีอวกาศแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มุ่งเน้นการออกแบบ, คิดค้น, วิจัย, พัฒนา, ผลิตชิ้นส่วน และประกอบดาวเทียมด้วยตนเองโดยเทคโนโลยีที่ใหม่และทันสมัย ตั้งแต่ขั้นตอนแรก ตลอดจนขั้นตอนสุดท้าย

เพื่อให้ผู้เข้าชมโรงงานได้สัมผัสกับกระบวนการพัฒนาและผลิตดาวเทียม Block 1 (MU-B200) โดยภายในงาน นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีบริษัทฯ เปิดเผยว่า “ศักยภาพและความสามารถในการดำเนินการทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเองของมิว สเปซ นั้นทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากงบสั่งซื้อ และย่นระยะเวลาในการรอชิ้นส่วนจากบริษัทอื่นได้ จึงทำให้การผลิตดาวเทียมของมิว สเปซ สามารถผลิตได้ในราคาที่ประหยัดงบประมาณไปได้กว่าครึ่งของราคาดาวเทียมในตลาดโลกปัจจุบัน

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีบริษัทฯ
นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีบริษัทฯ

หนึ่งในคุณลักษณะที่โดดเด่นของดาวเทียม MU-B200 นั่นก็คือ ระบบพลังงาน หรือ แบตเตอรี่ ที่มีการออกแบบมาเป็นอย่างดีในการให้พลังงานที่สูง รวมถึงมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่มากขึ้นถึง 2.75 เท่า พร้อมติดตั้งเซนเซอร์ติดตาม และควบคุมการใช้พลังงานให้อยู่ในระดับที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้อีกด้วย โดยในส่วนนี้ สามารถช่วยลดต้นทุนได้มากถึงร้อยละ 25 เลยทีเดียว

สำหรับ โรงงานแห่งที่ 2 ของมิว สเปซ ก่อสร้างขึ้นในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งภายในโรงงานมีการพัฒนา และผลิตเทคโนโลยีหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเทคโนโลยีดาวเทียม, เทคโนโลยีแบตเตอรี่พลังงานสูง, เทคโนโลยีหุ่นยนต์, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการพิมพ์โลหะประเภทต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อนำมาใช้ในการประกอบชิ้นส่วนดาวเทียม

โดยเป้าหมายของมิว สเปซ จากปัจจุบันที่ได้เปิดตัวโรงงานแห่งที่ 2 ณ สถานที่จัดงาน Tech Day นั้นสามารถผลิตดาวเทียมได้ 10 ดวงต่อปี และกำลังสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ซึ่งจะทำให้ มิว สเปซ มีความสามารถในผลิตดาวเทียมได้สูงถึง 100 ดวงต่อปี นอกจากนั้น มิว สเปซ ยังมีแผนการสร้างโรงงานใหม่อีกหนึ่งแห่ง เพื่อผลักดันให้สามารถผลิตดาวเทียมได้มากขึ้นเป็น 200 ดวงต่อปี โดยมีแผนงานดังต่อไปนี้

  • ดาวเทียม Block 1 กลางปี 2022 เน้นการทดสอบ SINGLE SYSTEM MODEL TEST
  • ดาวเทียม Block 2 สิ้นปี 2022 เน้นการทดสอบ CONSTELLATION SYSTEM MODEL TEST
  • ดาวเทียม Block 3 2023-2024 เน้นการทดสอบ MEO-TO-GEO-TEST
  • ดาวเทียม Block 4 2025-2026เน้นการทดสอบ LUNAR TEST พร้อมทดสอบการรับส่งสัญญาณที่ระหว่างดวงจันทร์

นอกจากนี้ ภายในโรงงานได้มีการออกแบบและคัดสรรสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานเกิดผลลัพธ์ที่ดี และมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานระดับโลก ทั้งในส่วนของห้องปลอดเชื้อ, ห้อง ปฏิบัติการเคมี, พื้นที่ปฏิบัติการสำหรับเครื่องจักรหนัก และห้องปฏิบัติการวิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

รวมถึงในด้านบุคลากรมิว สเปซ มุ่งเน้นคัดบุคลากรที่มีความสนใจ, มุ่งมั่น, กล้าเปิดรับและพร้อมลงมือทำสิ่งที่ท้าทายในมุมใหม่ ๆ สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ เพราะเชื่อว่าส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การทำงานของบุคลากรมีคุณภาพ และสามารถส่งมอบดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพสูงให้แก่ลูกค้าได้

ภายในงาน ยังมีในส่วนของการพูดคุย และวิเคราะห์ถึงประเด็นที่น่าสนใจอย่างเรื่องความพร้อมของทุกภาคฝ่าย และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลกในอนาคตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อสร้างความเข้าใจในอุตสาหกรรมอวกาศ และทำความรู้จักกับมิว สเปซ มากยิ่งขึ้น

อนาคตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ ที่น่าสนใจมาก ๆ ของประเทศไทย
อนาคตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ ที่น่าสนใจมาก ๆ ของประเทศไทย

นำโดย นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง พร้อมด้วย ดร. ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gistda) และ คุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตั้งบริษัท กาแฟดำ จำกัด ซึ่งจากการพูดคุยบนเวทีในครั้งนี้ของทั้ง 3 ท่านทำให้เห็นว่า ประเทศไทยพร้อมแล้วกับอุตสาหกรรมนี้

โดยมิว สเปซ ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนชั้นนำอย่างบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ – อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าเอกชนของไทย รวมถึงบริษัท Majuven Fund พร้อมกลุ่มนักธุรกิจเอกชนต่าง ๆ เช่น ผู้บริหารจากมูลนิธิมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) รวมทั้งนักลงทุนรายอื่น ๆ อีกมากมาย

Geek Story EP143 : ประวัติ Adam Neumann แห่ง WeWork (ตอนที่ 6)

จากตอนที่แล้ว ดูเหมือนเรื่องร้ายแรงอย่างปัญหาเรื่องจริยธรรมที่ Adam หาผลประโยชน์จากบริษัทเข้ากระเป๋าตัวเองนั้น เป็นสิ่งที่คณะกรรมการหลายคนคงรับไม่ได้ แถมเรื่องการจัดการคน ก็ดูเหมือนว่า Adam จะไม่มีทักษะทางด้านนี้เลย เขาเป็นแค่คนที่มีสเน่ห์และคอยร่ายมนต์ให้กับเหล่านักลงทุนหลงใหลคล้อยตามความฝันของเขาได้เท่านั้น

สถานการณ์ในตอนนี้ดูเหมือนจะมาใกล้ถึงจุดสิ้นสุดเต็มทีแล้ว แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Adam และ WeWork รับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3DkSQP0

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3Nrcpdr

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3ILjxgZ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3uGQC93

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/ck-55_SCUqc

Geek Story EP142 : ประวัติ Adam Neumann แห่ง WeWork (ตอนที่ 5)

จากตอนที่แล้ว มันได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของทั้ง Adam และ WeWork ที่เหมือนถูกลอตเตอรี่รางวัลใหญ่ สถานการณ์ ที่ดูเหมือนจะหมดหวังก่อนหน้านี้ ได้ชายที่ชื่อ Masayoshi Son ที่ได้กลายเป็นอัศวินขี่ม้าขาว มาช่วยกอบกู้วิกฤติได้ทัน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับเรื่องราวของ Adam และ WeWork รับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3uE1qop

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3ITmz32

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3tLjmhp

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3JR0gvS

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/MWGAMkHFb7w