ประวัติ Reid Hoffman ผู้ก่อตั้ง Linkedin

ถ้าพูดถึง Linkedin นั้นก็คงจะต้องกล่าวถึง Reid Hoffman ผู้ก่อตั้งชื่อดัง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่ม Founder Paypal ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในวงการดอทคอมของสหรัฐอเมริกาหลังยุคฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000

สำหรับประวัติของ Reid Hoffman นั้นเป็นคนที่ไม่ได้จบมาทางด้าน computer science โดยตรงแต่มีความชอบในเรื่องของ game มาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยส่วนตัวนั้นของชอบ game แนว RPG  แต่เนื่องจากการที่ได้มาพบกับ Peter Thiel โดยเป็น classmate ที่ Standford นั้นก็ทำให้ Reid Hoffman หันเหชีวิตเข้ามาสู่การทำงานทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ได้เจอ peter thiel ทำให้หันเหชีวิตมาสนใจ computer science

ได้เจอ peter thiel ทำให้หันเหชีวิตมาสนใจ computer science

ชีวิตการทำงานของเค้านั้นเริ่มต้นที่ apple computer โดยงานแรกที่เขาได้ทำนั้นเป็นการสร้าง eWorld ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานทางด้าน software ที่ใช้ทำงานที่เป็น social network แรก ๆ ของ apple ในยุคนั้นแต่ไม่ค่อย boom เท่าไหร่ และสุดท้ายได้ขายไปให้กับ AOL ในที่สุด

หลังจากออกจาก apple นั้นเขาก็ได้สร้าง online dating website ชื่อ socialnet.com ก่อนที่จะมามีปัญหากับผู้ร่วมทุนในภายหลังและได้ออกมา ซึ่งในช่วงนั้นทาง Peter Thiel นั้นได้เริ่มสร้างระบบ Payment Online ที่ชื่อ Confinity และเนื่องจากเขารู้จักกับ Peter Thiel อยู่แล้วนั้นจึงได้รับการชักชวนให้มาทำงานกับ Confinity

ในช่วงนั้นก็ได้มีการแข่งขันกันระหว่าง X.com ที่ถูกสร้างโดย Elon Musk และ Confinity ที่ก่อตั้งโดย Peter Thiel ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และเป็นช่วงปลายก่อนที่จะเกิดฟองสบู่ดอทคอมแตกในยุคปี 2000 ซึ่งต่อมา Peter Thiel และ Elon Musk ก็ได้ตัดสินใจร่วมมือกันแทนที่จะแข่งกัน และรวมตัวกันใหม่ภายใต้ชื่อ Paypal.com และทำให้ทั้งคู่รอดพ้นยุคฟองสบู่ดอมคอมของสหรัฐอเมริกามาได้อย่างหวุดหวิด

ร่วม x.com ของ elon musk

ร่วม x.com ของ elon musk

Reid Hoffman นั้นถือเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกขานในวงการเทคโนโลยีสหรัฐว่าเป็นกลุ่ม Paypal Mafia ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญหลังจากยุคฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000  ซึ่งหลังจากตัดสินใจขาย Paypal ให้กับ Ebay ในช่วงปี 2002 แล้วนั้น ( มูลค่าประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญ) ก็ทำให้เขาได้รับส่วนแบ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะมาตั้งบริษัทใหม่ที่ใจเขาต้องการคือ Linkedin

เนื่องจากเป็นคนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เมื่อทำการสร้าง Linkedin ซึ่งเขาให้สโลแกนของ Linkedin คือ Online social network for Professional ก็ถือได้ว่าเป็นจุดแตกต่างจาก social network อื่น ๆ ในสมัยนั้น โดยเน้นกลุ่มไปที่ลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนทำงานแทน จึงได้รับผลตอบรับจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก และทำให้สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว

โดยมี รูปแบบการทำรายได้จากสามทางคือ การโฆษณา , Premium Subscribtion และ  Hiring solution for company ซึ่งก็คือรูปแบบการหาเงินจากบริษัทจัดหางานแบบเก่า แต่ linkedin แตกต่างตรงมีส่วนของการเป็น social network ทำให้แตกต่างจาก web หางานแบบเดิม ๆ ที่แข่งขันกันในตลาดอยู่ทำให้ได้ผลตอบรับที่ดีจากกลุ่มคนทำงานทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

ถึงจุดอิ่มตัวให้  Jeff Weiner จาก yahoo มาดูแล linkedin ต่อ

ถึงจุดอิ่มตัวให้ Jeff Weiner จาก yahoo มาดูแล linkedin ต่อ

ในช่วงปี 2008 เขาก็ได้ตัดสินใจปล่อยงานบริหารบริษัทให้กับ Jeff Weiner ที่ได้ย้ายมาจาก Yahoo เพื่อเข้ารับตำแหน่ง CEO ต่อจากเขา และ เขาก็เริ่มเข้าไปตั้งบริษัทด้านการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโนยี  คือ GreylockPartner ในปี 2009 เพื่อลงทุนในบริษัทเกิดใหม่เช่นเจริญรอยตามอดีตเพื่อนร่วมงานของเขาที่ paypal อย่าง peter thiel ซึ่งจะทำให้กลุ่ม Paypal Mafia นั้นน่าจะมีบทบาทที่สำคัญกับบริษัทดอมคอมของอเมริการในอนาคตต่อจากนี้ไปนั่นเอง

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Book Review : Zero to One ( จาก 0 เป็น 1 วิธีสร้างธุรกิจให้เป็นเบอร์ 1 )

เป็นอีกหนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจสำหรับเหล่า Startup ทั้งหลายในวงการเทคโนโลยีจากผู้เขียนที่เป็นเจ้าพ่อวงการเทคโนโลยีชื่อดังอย่าง Peter Thiel ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่บทบาทสำคัญกับบริษัทเทคโนโลยีที่โด่งดังจำนวนมากใน Silicon Valley

สำหรับ Peter Thiel นั้นโด่งดังมาจากการสร้างระบบ Paypal ซึ่งเป็นระบบ Payment online เจ้าแรก ๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ ก่อนที่จะขายให้กับ Ebay ซึ่งเหล่า founder ของ Paypal ก็ถือว่าเป็นผู้ที่บทบาทสำคัญสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม dotcom ในยุคหลังปี 2000 หลังจากช่วงฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000

หลังจากขาย Paypal ให้กับ Ebay แล้วนั้น Peter Thiel ก็ได้มาสร้างบริษัทด้านการลงทุนในธุรกิจด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยบริษัทของเขานั้นได้ลงทุนไปกับหลาย ๆ startup ชื่อดังจำนวนมากเช่น facebook , reddit , zynga  และบริษัท startup ขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประสบการณ์ในการลงทุนของ Peter Thiel และมุมมองทางด้านการลงทุนกับบริษัททางด้านเทคโนโลยี

เนื้อหาหลักที่ผมค่อนข้างสนใจคือ การกล่าวถึงการผูกขาด ซึ่งรูปแบบการผูกขาดธุรกิจในมุมมองของ Peter Thiel นั้นเป็นมุมมองบวก กล่าวคือ การทำธุรกิจไปจนถึงการผูกขาดได้นั้น เป็นสิ่งที่ดีกว่าการมีตลาดที่สมบูรณ์ โดยที่มองถึงภาพรวมในระบบ หากมีการตลาดที่สมบูรณ์นั้น ก็จะมีการแข่งขันกัน และหาก Product ที่แทบไม่ต่างกัน ก็จะสูกันด้วยเรื่องกลยุทธ์ทางด้านการตลาด หรือ กลยุทธ์ทางด้านราคา ซึ่งสุดท้าย ก็มีโอกาสสูงที่ผู้แข่งขันจะตายไปด้วยกันทั้งหมด แตกต่างจากระบบที่เหมือนจะผูกขาดโดยยกตัวอย่าง google ซึ่งเรามองว่าน่าจะเป็นการผูกขาดในธุรกิจ search engine แต่ในมุมมองของ Peter Thiel นั้นแตกต่างกัน ถึงจะผูกขาดในตลาด search engine แต่ก็เป็นเพียงผู้เล่นขนาดเล็กในอุตสาหกรรมโฆษณาที่มีมูลค่ากว่า แสนล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีคิดแนวใหม่ที่แตกต่างจากตำราเดิม ๆ ที่เราได้ร่ำเรียนกันมาและยังเป็นแนวคิดให้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมาผูกขาดในธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ ดีกว่าการไปแข่งขันในตลาดเดิม ๆ ที่มีโอกาสที่จะตายกันหมด

มุมมองอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือความสำคัญของนักขาย ซึ่งเหล่า geek ทางด้านเทคโนโลยีนั้นค่อนข้างที่จะมีมุมมองด้านลบต่อพวกนักขาย แต่ peter thiel นั้นมองว่าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก geek ทางด้านเทคโนโลยีนั้น ค่อนข้างเชี่ยวชาญในด้านเทคนิคเท่านั้น สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เยี่ยมยอดออกมาได้ แต่หากไม่มีนักขายที่เก่งนั้น ผลิตภัณฑ์ที่สุดยอดเหล่านั้น ก็ไม่มีทางออกไปสู่ผู้บริโภคจริง ๆ ได้

สรุปหนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนังสือที่น่าอ่านอีกเล่มหนึ่ง สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจโดยเฉพาะการทำธุรกิจ startup ซึ่งจากชื่อหนังสือ Zero to One การที่จะพลิกบริษัทจาก 0 ให้กลายเป็น 1 ได้นั้นก็ต้องผ่านกระบวนการมากมาย รวมถึงโชคชะตาที่จะนำพาบริษัทเกิดใหม่ต่าง ๆ ก้าวขึุ้นเป็นบริษัทยิ่งใหญ่ในระดับโลกได้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็มีประโยชน์ในมุมมองใหม่ ๆ ของการทำธุรกิจในปัจจุบัน

เก็บตกจากหนังสือ

  • เหล่า founder ของ paypal นั้นเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญมาในธุรกิจดอทคอมของสหรัฐยุคหลังฟองสบู่ปี 2000
  • Peter Thiel นั้นเน้นการลงทุนในธุรกิจดอทคอม โดยเน้นกระจายความเสี่ยงไปในหลาย บริษัท ซึ่งมีโอกาสที่ จะสร้างผลตอบแทนได้ 100 เท่าหรือ 1000 เท่า แตกต่างจากธุรกิจในด้านอื่น ๆ
  • แนวคิดหลาย ๆ อย่างในการดำเนินธุรกิจนั้นค่อนข้างฉีกจากตำราเดิมที่เราได้ร่ำเรียนกันมา

 

Book Review : คิดอย่างผู้นำ ทำอย่าง google

พูดถึง google ในปัจจุบัน คิดว่าคงไม่มีใครในโลกที่ไม่รู้จัก search engine ตัวนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ถือได้ว่าพลิกประวัติศาสตร์ของข้อมูลข่าวสารทั่วโลก ให้ผู้คนทั่วโลกได้เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดายขึ้นมากจากในอดีต

สำหรับหนังสือ คิดอย่างผู้นำ ทำอย่าง google นี้เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องการบริหารภายในบริษัทยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีของโลกอย่าง Google โดยผ่านคำบอกเล่าของ Jonathan Rosenberg ผู้บริหารระดับสูง และ อดีต CEO บริษัทอย่าง Eric Schmidt ที่บริหาร google มาตั้งแต่ยุคตั้งไข่ในช่วงปี 2002 จนส่งไม้ต่อให้กับผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Larry Page เมื่อไม่นานมานี้

การบริหารหนึ่งในบริษัทที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลกเช่น google นั้น คงไม่ง่ายที่จะใช้วิธีการบริหารแบบเดิม ๆ ได้ จะเห็นได้ว่าบริษัท google นั้นค่อนข้างมีแนวคิดบริหารที่ไม่ยึดติดกับตำราเดิม ๆ ของการบริหารบริษัทใหญ่ๆ  ทั่วโลกที่ปฏิบัติตามกันมา google นั้นได้คิดวิธีการบริหารในรูปแบบตัวเองเพื่อบริหารองค์กรที่มีนวัตกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลา มีทั้งที่ประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่โดยรวมนั้นก็ถือว่า มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมออกมามาย โดย google นั้นเน้นให้พนักงานมีอิสระในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  ได้เสมอ ไม่ยึดติดกรอบเดิม ๆ ทำในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ให้เป็นไปได้อยู่หลาย ๆ ครั้ง

แนวคิดนี้แตกต่างจากบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ ที่มีการติดสินใจแบบรวมศูนย์ กว่าจะตัดสินใจกันได้ก็ต้องผ่านการคัดกรองในหลายระดับชั้นมากมาย ทำให้เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการสร้างสิ่งที่เป็นนวัตกรรมออกมา และเนื่องด้วยด้วย แนวคิดที่ยึดผู้บริโภคเป็นอันดับหนึ่ง การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคได้ดีที่สุดนั้น ก็จะตามมาด้วยรายได้ที่ตามมาในอนาคตเอง

สำหรับ Eric Schmidt นั้นผ่านการทำงานในระดับสูงทั้ง Sun Microsystems และ บริษัท Novell มาก่อนที่จะเข้ามาทำงานกับ google ซึ่งก็ถือว่าเป็นบุคคลที่สำคัญในการพา google เติบโตอย่างยิ่งใหญ่มาจนถึงปัจจุบันก็ว่า ได้ ซึ่ง Schmidt นั้นได้รับการยอมรับในเรื่องการบริหารทั่วทั้งวงการเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เขาได้ผ่านการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ มามากมายในการบริหารงาน google ซึ่งหลายครั้งก็มีแนวความคิดที่แตกต่างจากผู้ก่อตั้งคือ Larry Page และ Sergy Brinn ซึ่งมักจะตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ร่วมกัน เช่น นโยบายของการทำตลาดในจีนเป็นต้น ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงหากมีปัญหาในเรื่องการตัดสินใจเรื่องใหญ่ ๆ นั้น Schmidt นั้นจะให้ผู้ร่วมก่อตั้งไปตกลงกันเองก่อนเพื่อตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายให้เป็นแนวทางเดียวกัน และไม่ให้มีปัญหาการทะเลาะกันในภายหลัง ซึ่งเป็นปัญหาหลักในหลาย ๆ บริษัททางเทคโนโลยี ที่เมื่อเติบโตสูง ๆ นั้นก็จะมีแนวคิดในการบริหารแตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ถือว่า Schmidt ทำได้ดีทีเดียวในเรื่องการบริหารภาพรวมไม่ให้มีปัญหา และมุ่งเน้นการพัฒนา google ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วที่สุดเท่านั้น

ส่วนของ Jonathan Rosenberg นั้นก็เป็นผู้ที่บทบาทสำคัญเคียงบ่าเคียงใหล่ กับ Schmidt เสมอมา ตั้งแต่เข้ามาร่วมงานใหม่ ๆ เขามักจะกล่าวถึงรูปแบบของ Smart Creative ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการบริหารบุคคาลากรของ google และเนื่องด้วย แนวคิดแบบ วิศวกรเป็นใหญ่กว่าหน่วยงานอื่นๆ  จึงใช้รูปแบบการบริหารแบบเดิม ๆ ได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ก็จะเป็นวิศวกรระดับหัวกระทิ ในด้าน computer science แทบจะทั้งนั้น เราจะเห็นได้ว่า บริษัทส่วนใหญ่นั้น ไม่ sale ก็ marketing นั้นจะมักขึ้นมาเป็นใหญ่ในบริษัท แตกต่างจาก google หรือบริษัทเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอเมริกา ที่มักจะเป็นพวก computer science ที่เป็นตัวหลักในการบริหารองค์กร และมีอิสระในการคิดนอกกรอบ โดย google นั้นมอบเวลา 20% ให้ทำงานอิสระ ที่เป็นงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่งานหลักของตัวเอง ทำให้ในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ของ google นั้นเกิดจากเวลาส่วนของ 20% นี้นี่เอง

สรุปเนื้อหาหนังสือเล่มนี้นั้นถือว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจสำหรับการบริหารบริษัทที่เป็น startup ด้าน เทคโนโลยี เป็นอย่างยิ่ง บางทีการบริหารแบบเดิม ๆ นั้นก็ไม่สามารถทำให้บริษัทเติบโตรวดเร็วได้อย่าง google ทำ ซึ่งถือว่า แนวคิดในหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารรุ่นใหม่ ๆ สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรของตัวเองได้อย่างดี

เก็บตกจากหนังสือ

  • google นั้นเน้นเรื่อง smart creative เป็นอย่างมากจะเห็นได้จากการกล่าวถึงในหลายๆ บทของหนังสือเล่มนี้
  • การบริหารวิศกรที่อัจฉริยะ จำนวนมากนั้นเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยทีเดียว ซึ่งพวกนี้จะมีส่วนผสมของความเป็นศิลปิน และ ความอัจฉริยะ ค่อนข้างสูง
  • 20% ของเวลาในการปฏิบัติงานนั้นได้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ออกมาเช่น google earth , adwords algorithm ในบางส่วน