กลุ่มตอลิบานเอาชนะสงครามเหนือเทคโนโลยีสุดล้ำจากโลกตะวันตกได้อย่างไร

ต้องบอกว่าสงครามนั้นเป็นช่วงเวลาครั้งสำคัญของมนุษย์เราในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และผู้ชนะมักจะเป็นฝ่ายที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากที่สุดอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตัวอย่างเช่นในอัฟกานิสถาน

สงครามที่ยืดเยื้ออย่างยาวนานกว่า 20 ปี ผ่านเทคโนโลยีมามากมาย กลุ่มตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกานั้น นำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสงครามมาใช้รบในดินแดนแห่งนี้อย่างบ้าคลั่ง ไม่ว่าจะเป็นสงครามโดรน หรือเทคโนโลยีหุ่นยนต์สุดล้ำอื่น ๆ

ทุกอย่างเริ่มต้นในปี 2001 หลังเหตุการณ์ 9/11 ที่สหรัฐฯ นั้นเริ่มต้นด้วยการโจมตีทางอากาศด้วยเครื่องบิน B-52 ถล่มอัฟกานิสถานอย่างหนัก โดยเฉพาะฐานที่ตั้งของกลุ่มตอลีบาน ที่มองว่ามีความเกี่ยวข้องกับโอซามา บิน ลาเดน

กลุ่มตอลีบานเริ่มต้นด้วยอาวูธธรรมดา ๆ เช่น ปืน AK-47 แต่ปัจจุบัน พวกเขาไม่ได้ใช้เพียงแค่อาวุธที่มายิงถล่มใส่กันเพียงอย่างเดียวแล้วเท่านั้น อาวุธใหม่ที่สำคัญของพวกเขาก็คือ โทรศัพท์มือถือ และ อินเทอร์เน็ต

ไม่เพียงแค่นำมาใช้ในการสั่งการหรือควบคุมอาวุธเพียงเท่านั้น แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น พวกเขาใช้มันในการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ที่ทำให้พวกเขาสามารถเอาชนะในสงครามคร้งนี้ได้สำเร็จ

สำหรับกลุ่มตอลีบานแล้วนั้น พวกเขาได้เผชิญหน้ากับกองกำลังต่างชาติหลายแสนนายจากประเทศพันธมิตร NAT รวมถึงสหรัฐอเมริกาที่เป็นพี่ใหญ่ในสงครามดังกล่าว

พวกเขาต้องเผชิญกับอาวุธทุกรูปแบบ ทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศ ทำให้พวกเขาต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดอยู่ตลอดเวลา

ในขณะที่เครื่องมือการต่อสู้ของพวกเขาในช่วงแรก ๆ นั้นยังเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน อย่างปืน กระสุน วิทยุ และผ้าคลุมศรีษะ ทำให้พวกเขาต้องหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอื่น ๆ หรือ ต้องมีการพัฒนาขีดจำกัดของตนเองให้สูงขึ้น

ตัวอย่างสำคัญที่น่าสนใจก็คือ ระเบิดแสวงเครื่อง IED ซึ่งอาวุธเหล่านี้สามารถทำให้เหล่าทหารของพันธมิตร NATO และสหรัฐฯ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

ระเบิดแสวงเครื่อง IED ทำให้เหล่าทหารของพันธมิตร NATO และสหรัฐฯ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ระเบิดแสวงเครื่อง IED ทำให้เหล่าทหารของพันธมิตร NATO และสหรัฐฯ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

โดยระเบิดเหล่านี้มีวิวัฒนาการมาจากช่วงกลางของสงคราม และเทคโนโลยีทางด้านมือถือทำให้ กลุ่มตอลีบานสามารถใช้มือถือจุดระเบิดได้จากทุกที่ที่มีสัญญาณมือถือ เนื่องจากพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่ต่ำกว่าของกลุ่มตอลิบาน ทำให้พวกเขาต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมการต่อสู้ออกมาให้มากที่สุด

แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่แท้จริงของกลุ่มตอลีบานนั้นเกิดขึ้นในระดับยุทธศาสตร์ โดยอาศัยเครื่องมืออย่างโซเชียลมีเดีย ที่ตะวันตกเป็นคนคิดค้นขึ้นมา

ตั้งแต่ช่วงปี 1996 – 2001 นั้น กลุ่มตาลิบาน มักอาศัยอยู่อย่างสันโดษ และมีรูปถ่ายที่รู้จักเพียงรูปเดียวของผู้นำของพวกเขา คือ มุลเลาะห์ โอมาร์

แต่นับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 กลุ่มตอลิบาน ได้พัฒนาทีมประชาสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การโจมตีด้วย IED มักจะถูกบันทึกวีดีโอโดยโทรศัพท์มือถือ และ อัปโหลดไปยังฟีดของ Twitter ของกลุ่มตอลีบาน มันเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องมือของโลกตะวันตกแทบจะทั้งสิ้น

แน่นอนว่า มันเป็นการช่วยสรรหานักรบกลุ่มใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ การระดมทุน และสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับกลุ่มนักรบของพวกเขาอีกด้วย

แต่เมื่อเทียบกับกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ นั้นต้องบอกว่า เทคโนโลยีต่างกันแบบฟ้ากับเหว เพราะกองกำลังตะวันตกสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีระดับโลกได้อย่างหลากหลาย

ไม่ว่าจะเป็นระบบการตรวจจับจากอากาศยาน ไปจนถึงระบบที่สามารถสั่งการระยะไกล เช่น หุ่นยนต์และโดรน แต่เทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกมุ่งเน้นไปที่การลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บล้มตายของทหารฝ่ายพันธมิตรเสียมากกว่าการบุกตะลุยเพื่อสังหารกลุ่มนักรบของตอลีบาน

กองกำลังของชาติตะวันตกนั้นลงทุนอย่างหนักในอาวุธที่จะลดการสูญเสียของกองกำลังฝ่ายตน เช่น โดรน หรือ เทคโนโลยีที่สามารถช่วยเหลือการรักษาพยาบาลทหารที่ได้รับบาดเจ็บได้อย่างทันท่วงที

การโจมตีด้วยโดรนที่ช่วยลดการสูญเสียของกองกำลังพันธมิตร
การโจมตีด้วยโดรนที่ช่วยลดการสูญเสียของกองกำลังพันธมิตร

หรือสิ่งที่ป้องกันศัตรูจากระยะประชิด หรือ ปกป้องทหารจากอันตราย เช่น เรือรบ ชุดเกราะ ระบบการตรวจจับระเบิดบนท้องถนน

ซึ่งรัฐบาลอัฟกานิสถานเอง ก็ต้องอยู่ในจุดกึ่งกลางระหว่างกองกำลังทั้งสองฝ่าย รัฐบาลของอัฟกานิสถานเอง ก็ไม่ได้พัฒนากองกำลังของตนเองให้พร้อมที่จะสู้รบกับกลุ่มตอลิบานแต่อย่างใด

แน่นอนว่าพวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะสร้างหรือดำเนินการระบบการต่อสู้ขั้นสูงด้วยตัวของพวกเขาเอง ชาติตะวันตกก็ไม่ได้เต็มใจที่จะจัดหาอาวุธที่ล้ำสมัยให้กับชาวอัฟกัน โดยกลัวว่าอาวุธที่ให้ไปนั้น ท้ายที่สุดจะตกไปอยู่กับกลุ่มตอลีบานนั่นเอง

และที่สำคัญการทำงานร่วมกับสหรัฐฯ หมายความว่าอัฟกานิสถานไม่มีอิสระที่จะมองหาแหล่งทางเลือกอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับพวกเขา

เรื่องราวของตอลิบาน มันแสดงให้โลกได้เห็นว่า เทคโนโลยีมันไม่ใช่เครื่องมือที่รับประกันชัยชนะ แต่เพียงแค่อาวุธพื้นฐาน รวมถึงอุปกรณ์อย่างมือถือ และแรงผลักดันจากจิตวิญญาณที่พร้อมจะสู้อย่างอดทนของพวกเขาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

ซึ่งเมื่อเวลายิ่งผ่านพ้นไป เทคโนโลยีอาจไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดในชัยชนะของสงครามได้อีกต่อไป แต่นวัตกรรมอาจจะสามารถนำพาให้ประสบกับชัยชนะได้ โดยเฉพาะการต่อสู้กับกลุ่มคนที่ไม่มีอะไรจะเสีย เฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับกลุ่มตอลิบานที่เอาชนะสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จนั่นเองครับผม

References :
https://www.reuters.com/business/aerospace-defense/planes-guns-night-vision-goggles-talibans-new-us-made-war-chest-2021-08-19/
https://www.technologyreview.com/
https://www.trtworld.com/asia/un-in-afghanistan-says-us-drone-strike-killed-15-civilians-195569
https://world.time.com/2013/01/02/afghanistans-ied-complex-inside-the-taliban-bomb-making-industry/
https://news.yahoo.com/taliban-spoils-war-us-weapons-215700305.html


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube