Gamification วิดีโอเกมสามารถเปลี่ยนนิสัยการใช้เงินของเราได้อย่างไร

ต้องบอกว่าสมองของมนุษย์เรานั้นเป็นอวัยวะที่ค่อนข้างขี้เกียจ แม้ว่ามันจะเป็นอวัยวะที่ฉลาดอย่างน่าทึ่ง แต่มันก็มีส่วนผลักดันให้มนุษย์เราเข้าสู่รูปแบบพฤติกรรมที่ไม่ดี และพฤติกรรมบางอย่างนั้นอาจจะสามารถทำร้ายนิสัยทางการเงินของเราได้อย่างเหลือเชื่อ

อุตสาหกรรมเกมในปี 2020 นั้นต้องบอกว่ามีมูลค่ามหาศาล มีมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 179,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามากกว่ากีฬาและภาพยนตร์รวมกันเสียอีก

Gamification คืออะไร?

gamification เป็นการใช้พลังกระตุ้นของวีดีโอเกม และ นำไปใช้ในด้านอื่น ๆ ของชีวิต คำจำกัดความจากบริษัท gartner บริษัทวิจัยระดับโลกได้ให้ความหมายของ gamification ไว้ว่า “การใช้กลไกของเกมและการออกแบบประสบการณ์เพื่อดึงดูดและจูงใจผู้คนให้บรรลุเป้าหมายทางดิจิทัล”

รูปแบบของ gamification นั้น สามารถกระตุ้นเราโดยตอบสนองความต้องการด้านจิตใจและให้ความรู้สึกถึงรางวัลแก่เรา ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นจากการปล่อยสารที่รู้สึกดี ซึ่งได้แก่ โดปามีนและออกซิโตซิน

Paul Zak นักประสาทวิทยาและศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่ Claremont Graduate University กล่าวว่า “สองสิ่งสำคัญต้องเกิดขึ้นในสมองเพื่อส่งผลต่อการตัดสินใจของคุณ” “อย่างแรกคือคุณต้องใส่ใจกับข้อมูลนั้น ซึ่งขับเคลื่อนโดยการผลิตโดปามีนในสมอง อย่างที่สอง คุณต้องให้สมองของคุณดูแลเกี่ยวกับผลลัพธ์ และขับเคลื่อนด้วยการสะท้อนทางอารมณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกซิโทซินในสมอง”

“องค์ประกอบของความพิเศษนั้นมาในทั้งสองรูปแบบ ไม่ได้แยกจากกัน” Zak เขียน “มันเป็นส่วน ‘การกระทำ’ ที่เป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ประสบการณ์ที่ไม่ธรรมดาทำให้ผู้คนดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเพื่อการกุศล การซื้อผลิตภัณฑ์ การโพสต์บนโซเชียลมีเดีย หรือการกลับมาเพลิดเพลินกับประสบการณ์อีกครั้ง”

gamification นั้นเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเรานานมากแล้ว ผ่าน แอป เว็บไซต์ ยอดนิยมมากมาย เช่น LinkedIn ที่มีการแสดงแถบความคืบหน้าที่แสดงจำนวนข้อมูลโปรไฟล์ที่คุณทำการกรอก

Apple Watch ที่มีแหวนแถบพลังงาน ที่แสดงจำนวนก้าวที่คุณต้องเดินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายรายวันของคุณ

Apple Watch ที่มีแหวนแถบพลังงาน ที่แสดงจำนวนก้าว
Apple Watch ที่มีแหวนแถบพลังงาน ที่แสดงจำนวนก้าว

แบรนด์ต่าง ๆ ใช้ gamification เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้ามานานหลายทศวรรษ ตัวอย่างเช่น McDonald’s เปิดตัวเกม Monopoly ในปี 1987 ซึ่งมีการติดสลากลอตเตอรี่เข้ากับรายการเมนู

นอกเหนือจากด้านการตลาดแล้ว gamification ยังใช้ในโซเชียลมีเดีย ฟิตเนส การศึกษา การระดมทุน การเกณฑ์ทหาร และการฝึกอบรมพนักงาน

หรือแม้กระทั่งการที่ รัฐบาลจีนได้จำลองแง่มุมต่าง ๆ ของระบบ Social Credit ซึ่งประชาชนดำเนินการหรือละเว้นจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรับคะแนนที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือ

Gamification ไม่เพียงแต่ทำให้เรื่องน่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกเท่านั้น ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา หรือ แม้กระทั่งสามารถทำลายนิสัยดี ๆ ของเราได้เช่นกัน

เกมสามารถกระตุ้นประสบการณ์ที่ดื่มด่ำเหล่านี้ได้.. แต่ตอนนี้เหล่าองค์กรทางด้านการเงินใช้ gamification เพื่อช่วยให้ผู้คน “ยกระดับ” อนาคตทางการเงินของพวกเขาได้อย่างไร?

Gamification กับการเงินส่วนบุคคล

ธนาคารและบริษัทางด้านการเงินใช้ gamification มาหลายปีแล้ว ซึ่งเริ่มต้นด้วยแนวคิดง่าย ๆ เช่น คุณลักษณะของการออมเงิน “Punch the Pig” ของ PNC Bank ได้พัฒนาไปสู่เกมที่หลากหลายที่ช่วยให้ผู้คนใช้เงิน ประหยัดเงิน และชำระหนี้ได้ดีขึ้น

แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับ gamification ในเรื่องการเงินส่วนบุคคล คือ แอปที่ประสบความสำเร็จที่สุดบางตัวสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินที่แย่ ๆ ในอดีตของมนุษย์เราได้

ตัวอย่างเช่น การซื้อสลากกินแบ่ง แอปที่มีชื่อว่า Long Game ซึ่งใช้แนวทางที่เรียกว่า “การออมลอตเตอรี่”

“ผู้คนชอบลอตเตอรี่จริงๆ” Lindsay Holden ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ Long Game กล่าว “ลอตเตอรี่เป็นอุตสาหกรรมมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประเทศอเมริกา คนที่ซื้อสลากส่วนใหญ่เป็นคนจน แล้วเราจะเปลี่ยนเส้นทางการใช้จ่ายเหล่านี้ ไปสู่สิ่งที่ช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร?”

คำตอบของ Long Game คือ การสนับสนุนให้ผู้ใช้ลงทุนแบบอัตโนมัติในบัญชีออมทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับรางวัล เมื่อผู้ใช้ทำการลงทุน พวกเขาจะได้รับเหรียญที่สามารถนำมาใช้เล่นเกมได้

Long Game ซึ่งใช้แนวทางที่เรียกว่า
Long Game ซึ่งใช้แนวทางที่เรียกว่า “การออมลอตเตอรี่” (CR:VentureBeat)

ซึ่งบางอันมีรางวัลเป็นเงินสด แต่เงินรางวัลมาจากธนาคารที่เป็นพันธมิตรกับ Long Game ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้จะไม่สูญเสียเงินทุนหลักของเขา

Blast เป็นแอปออมเงินที่มุ่งเป้าไปที่นักเล่นเกมทั่วไป แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อบัญชีออมทรัพย์กับบัญชีการเล่นเกมของตัวเองได้

จากนั้นผู้ใช้จะตั้งเป้าหมายในเกม เช่น การฆ่าศัตรจำนวนหนึ่ง โดยการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ จะทำการกระตุ้นการลงทุนที่เลือกไว้ล่วงหน้าในบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งนอกเหนือจากการได้รับดอกเบี้ยแล้วนั้น ผู้ใช้ยังสามารถชนะเงินรางวัลโดยการทำภารกิจให้สำเร็จ หรือ ได้อันดับสูงสุดใน Leader Board ในเกม

Foutune City ใช้แนวทางที่แตกต่างออกไป โดยแอปจะสนับสนุนให้ผู้ใช้ติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของตน ซึ่งแสดงด้วยกราฟที่ดึงดูดสายตา เมื่อผู้ใช้บันทึกค่าใช้จ่าย พวกเขาก็สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างในเมืองเสมือนจริงของตนเองได้

ความเสี่ยงของการเล่นเกม

การใช้ gamification อาจช่วยให้เราประหยัดเงินได้ แต่มันก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน การได้รับรางวัลต่าง ๆ เหล่านี้ อาจส่งผลต่อแรงจูงใจภายในของเรา ในการทำซ้ำพฤติกรรมนั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ

นอกจากนี้ แอปด้านการเงินบางชนิดยังสามารถทำให้เราเสพติดกับมันและส่งเสริมพฤติกรรมทางการเงินที่มีความเสี่ยงได้เช่นเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น Robinhood ใช้เมตริกที่ดึงดูดสายตา และองค์ประกอบเกมที่เหมือนลอตเตอรี่ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อขายหุ้นและสกุลเงินดิจิทัล

ซึ่งสุดท้าย แอปใดๆ ที่ช่วยให้เรามีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมทางด้านการเงิน อาจเป็นแอปที่ดี แต่ก็ต้องมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของ gamification อย่างแท้จริง

ดังนั้น ในอนาคต gamification จะเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์เรามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการปรับพฤติกรรมทางด้านการเงินของเราซึ่งสุดท้ายมันคือการช่วยให้เรา ‘อัพเลเวลในชีวิตจริง’ ไม่ใช่แค่การอัพเลเวลในเกมอีกต่อไปนั่นเองครับผม

References : https://www.finextra.com/blogposting/19896/gamification—a-good-idea-for-a-serious-topic-like-financial-services
https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/17530350.2021.1882537
https://bigthink.com/mind-brain/gamification
https://www.linkedin.com/pulse/gamification-financial-services-robert-zepeda/
https://www.noblesystems.com/gamification-for-financial-services/

Geek China EP27 : Baidu Other and Fintech Businesses

จากหลาย EP เราเห็นหลากหลายบริษัทเทคโนโลยีจีนได้ดำเนินการ diversify ในหลากหลายผลิตภัณฑ์และแตกแขนงไปลายธุรกิจ ทำนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ชูธงของตัวเอง

ในยุคนี้ Baidu (NASDAQ:BIDU) เจ้าพ่อ search engine ยักษ์ในจีน ก็ไม่มีข้อยกเว้น ถึงแม้จะเริ่มช้ากว่าคู่แข่งในตลาดหรือ peers แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่ใช่เพียงแค่ “search company” แม้ในช่วงเวลานี้จะไม่ชัดเจนนักว่าจะหันไปในทิศทางใดกันแน่

เรื่องราวการหันเหไปในธุรกิจอื่นๆของไป่ตู้จะเป็นอย่างไร เขาจับธุรกิจอะไรอย่างไรกันบ้าง ทั้งหมดติดตามได้ใน EP 27

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/37DyZvG

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/tG2rr3Kzn94