Geek China EP28 : Baidu Overseas Expansion during 2009-2015

ไป่ตู้เริ่มมีการลงทุนขยายอาณาจักรไปยังต่างประเทศหลังจากประสบความสำเร็จในธุรกิจ search engine ในประเทศจีนแต่ตรรกะของการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศของไป่ตู้คือการเลือกประเทศที่พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ตช้ากว่าจีน

ทั้งใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกาใต้ โดยเลือกมาประมาณ 5-6 ประเทศ ซึ่งก็ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย บราซิล และประเทศไทย เป็นต้น

แล้วการขยายธุรกิจในไทยของไป่ตู้ประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3t1Y5y3

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/B9_5T8pHXTw

มาทำความรู้จักกับ EtherRock ภาพก้อนหินธรรมดา ๆ ที่มีมูลค่ากว่า 42 ล้านบาท

เมื่อโลกเราเปลี่ยนไป เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ การเก็บสะสมงานศิลปะ ก็ได้ฉีกแนวความคิดไปจากรูปแบบดั้งเดิมมาก ๆ เหมือนอย่างรูปหินธรรมดา ๆ ก้อนนี้ที่มีชื่อว่า EtherRock

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวน่าสนใจของวงการ NFT ที่ภาพหินธรรมดา ๆ ก้อนหนึ่ง เพิ่งถูกประมูลขายไปในมูลค่ากว่า 400 Ether ( ETH) หรือ ราว ๆ 42 ล้านบาท

EtherRock ซึ่งเป็นแบรนด์ของสะสมที่มีมาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งทำให้มันมีคุณค่าเพราะ เป็นหนึ่งใน NFT ที่เก่าแก่ที่สุดเลยก็ว่าได้

โดยมันเป็นไฟล์ JPEG ที่แสดงภาพหินแบบการ์ตูน โดยมีการถูกสร้างและขายใน blockchain และมีจำนวนเพียงแค่ 100 ก้อนเท่านั้น

แล้วภาพ EtherRock เหล่านี้มีไว้เพื่ออะไร?

EtherRock เปิดตัวในปี 2017 เป็นหนึ่งในโครงการ NFT ที่รวบรวมคริปโตแห่งแรกบน blockchain ของ Ethereum ซึ่งเปิดตัวหลังจาก CryptoPunks ไม่นาน

โดยรูปแบบจะเป็นเกมที่สร้างขึ้นบน Ehtereum blockchain ทั้งหมด โดยในเกมจะมีการจัดการทุกอย่าง ซึ่งรวมถึงการซื้อและขายหิน ราคา และเจ้าของหิน

หินเสมือนจริงเหล่านี้ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ เกินกว่าจะถูกนำมาขาย และทำให้ผู้ซื้อรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งในการเป็นเจ้าของ 1 ใน 100 ก้อนในเกม

ภาพก่อนหินที่มีจำนวนจำกัดแค่ 100 ก้อน (CR:Twitter)
ภาพก่อนหินที่มีจำนวนจำกัดแค่ 100 ก้อน (CR:Twitter)

แน่นอนว่าการมูลค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น มันก็เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดคอลเลกชั่นใหม่ ๆ ของ NFT ซึ่งเป็นโทเค็นที่ใช้ blockchain ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัล

ตัวอย่าง เช่น บางคนอาจจะซื้อภาพดิจิทัลของลิง และเปลี่ยนภาพใน Twitter เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของ

ซึ่งต้องบอกว่าตลาด NFT ในตอนนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ตัวอย่างเช่น ตลาด NFT OpenSea มีปริมาณการซื้อขายมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 286% จากเดือนกรกฏาคม

แม้กระทั่งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง VISA ก็ยังกระโดดเข้ามาร่วมในความบ้าคลั่งของตลาด NFT ด้วยการใช้เงิน 150,000 ดอลลาร์ กับ “CryptoPunk” ซึ่งเป็นหนึ่งใน NFT ที่ฮ็อตและเก่าแก่ที่สุด

“การเข้าซื้อ CryptoPunk ของ VISA เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการแข่งขันจากบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 เพื่อรวบรวม NFTs เข้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของพวกเขา” Scott Spiegel ผู้ร่วมก่อตั้ง BitBasel บริษัทสตาร์ทอัพด้าน blockchian ใน Miami กล่าว

“แบรนด์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Taco Bell , Pizza Hut และ Pringles ได้เปิดตัว NFT ของตัวเองแล้ว แต่การซื้อของ VISA ถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในตลาดนี้”

ต้องบอกว่า NFT เป็นวัฒนธรรมใหม่ของการสะสม ของเหล่าผู้คลั่งไคล้ ที่พร้อมจะควักเงินจำนวนมหาศาลเพื่อซื้อผลงานที่ตนเองรัก (ซึ่งบางครั้งมันก็อธิบายได้เข้าใจยากมาก ๆ )

แน่นอนว่า มันจะส่งผล ต่อหลาย ๆ ตลาดในอนาคต ไมว่าจะเป็นการ์ดสะสมหายาก หนังสือพร้อมลายเซ็นนักเขียนฉบับพิมพ์ครั้งแรก หรือ shot การดั๊งค์ของบาสเก็ตบอล NBA ที่หลายคนอยากครอบครองเป็นเจ้าของ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ต้องเรียกได้ว่า NFT เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่เปิดโอกาสให้เหล่าแฟน ๆ ผู้คลั่งใคล้ หรือ นักสะสมครอบครองผลงานที่เป็นดิจิทัลได้ครั้งแรก

เอาจริง ๆ มันก็คือสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ให้ความสุขทางจิตใจ เหมือนกับที่ในโลกจริง ๆ ที่มี งานศิลปะชื่อดัง หรือ แม้กระทั่งวงการพระเครื่องที่มีการสะสมกันที่มีมูลค่าหลายล้านกันได้

ซึ่งสุดท้าย คนที่สะสมสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างในชีวิตจริง ๆ แต่พวกเขาแค่พึงพอใจที่จะซื้อมันนั่นเองครับผม

References : https://etherrock.com/
https://www.cnbc.com/2021/08/23/people-are-paying-millions-of-dollars-for-digital-pictures-of-rocks.html
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2055212