Jack Dorsey vs Web 3 กับความบาดหมางระหว่าง CEO ผู้รัก Bitcoin กับนักลงทุน VCs ที่แสนหิวโหย

นับตั้งแต่ออกจาก Twitter อย่างเป็นทางการ ตอนนี้ Jack Dorsey ซีอีโอของ Block (เดิมชื่อ Square) ได้กลายเป็นแกนนำและมีการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างมากเกี่ยวกับ blockchain และสกุลเงินดิจิทัล 

Dorsey กล่าวด้วยท่าทีรุนแรงต่อเทคโนโลยี Web 3 ว่า มันไม่มีอะไรมากไปกว่าโครงการที่สร้างความร่ำรวยให้กับเหล่า VC (Venture Captial) ที่กลายเป็นดราม่าในโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้

แล้วเรื่องราวของ crypto ในช่วงสองปีที่ผ่านมากับ Web 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ blockchain ได้อย่างไร? ในเมื่อ Bitcoin นั้นก็มีเทคโนโลยี blockchain อยู่เบื้องหลัง แล้วทำไมพวกเขาถึงต้องทะเลาะกัน?

Web 3 คืออะไร?

Web 1.0 คืออินเทอร์เน็ตของศตวรรษ 1990 ไม่ว่าจะเป็น Search Engine หรือ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แต่จะอยู่เฉพาะในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเดสก์ท็อป ส่วน Web 2.0 คืออินเทอร์เน็ตที่เรารู้จักในปัจจุบัน โดยมีเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น การสตรีมวีดีโอและเพลง ซึ่งมันเติบโตบนอุปกรณ์พกพา

Web 3.0 ได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี 2006 จาก The New York Times ที่เขียนเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในยุคที่ 3 ซึ่งจะเป็นยุคที่เว็บของข้อมูลสามารถประมวลผลได้ด้วยเทคโนโลยี AI , Machine Learning , Data Mining ตัวอย่างเช่น อัลกอริธึมจะช่วยตัดสินใจและแนะนำว่าใครควรซื้ออะไรใน Amazon นั่นคือภาพรวมของ Web 3.0

นอกจากฟีเจอร์เหล่านี้แล้วก็มีแนวคิดที่ว่าควรจะรวมเอาเครือข่ายแบบ Peer-to-peer ที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์และไม่มีตัวกลางในการจัดการของการไหลของข้อมูล ซึ่ง Ethereum จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับวิสัยทัศน์ของ Web 3.0

Bitcoin vs Web 3

เป็นคำถามที่น่าสนใจว่าทำไม Dorsey ถึงคิดว่าเหล่า VCs กำลังควบคุม Web 3 ซึ่งการประกาศกร้าวของ Dorsey ใน twitter ถือเป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงที่ออกมาโจมตี Web 3 ซึ่งต้องบอกว่าการต่อสู้มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2013 โดยประเด็นนี้เริ่มร้อนแรงขึ้นจริงๆ นับตั้งแต่เปิดตัว Ethereum ในปี 2014

หลังการถือกำเนิดขึ้นของ Ethereum หรือระบบเลียนแบบต่าง ๆ  ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังการบูมขึ้นของนวัตกรรมที่หลาย ๆ คนน่าจะรู้จักกันดี เช่น การกระจายอำนาจทางการเงิน ( DeFi ) โทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ (NFTs) การเล่นเกมเพื่อหารายได้ (GameFi) องค์กรอิสระที่มีกระจายอำนาจ (DAO) – และที่โดดเด่นมากคือเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่มีการกระจายอำนาจ

แอปพลิเคชันเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัย “Smart Contract” ของโค้ดที่ทำงานบน blockchain และกำหนดเงื่อนไขสำหรับธุรกรรมที่โปร่งใส ไม่สามารถย้อนกลับได้ และเข้าถึงได้แบบเปิด ส่วนหนึ่งของโครงสร้างเหล่านี้ เป็นโปรเจ็กต์ที่อิงตาม Smart Contract และมักใช้โทเค็นเฉพาะของตนเอง

Web 3 จึงได้กลายเป็นแนวคิดคร่าวๆ ว่าเว็บควรรวมแอปพลิเคชั่น smart contract และโทเค็นต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งรวมถึง metaverse ที่เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังกลายเป็นกระแสในขณะนี้

Web 3 และ metaverse มีความหมายเหมือนกันในเชิงโครงสร้าง ซึ่งแกนหลักของทั้งสองเทคโนโลยีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างอินเทอร์เฟซและระบบที่ใช้สินทรัพย์ blockchain  ซึ่งรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น การมีเนื้อหาในเกมแบบ NFT ที่ใช้งานได้ในเกมต่างๆ หรือโทเค็นที่ปลดล็อกบริการต่าง ๆ

และนี่คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ Facebook รีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta และกำลังสร้างโลกของ Metaverse เช่นเดียวกัน

Facebook รีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta และกำลังสร้างโลกของ Metaverse (CR:UploadVR.com)
Facebook รีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta และกำลังสร้างโลกของ Metaverse (CR:UploadVR.com)

Bitcoin Fight Back!

ในอีกด้านหนึ่งของการทะเลาะวิวาทคือเหล่า Bitcoiners เช่น Dorsey ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความหลงใหลที่เชื่อว่าสกุลเงินดิจิทัลดั้งเดิมเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ดีที่สุดหรืออาจเป็นสกุลเงินเดียวที่ถูกต้องตามหลักการกระจายอำนาจที่แท้จริง

โดย Bitcoiners ที่หัวรุนแรงที่สุดถูกเรียกว่า “Bitcoin Maximalists” และพวกเขาเชื่อว่าความแข็งแกร่งและความเป็นสากลของ Bitcoin จะทำให้เป็นสกุลเงินที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก ด้วยการเข้าถึงที่เป็นประชาธิปไตยเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติโดยรวม

Maximalists (ซึ่งไม่ใช่ Bitcoiners ทั้งหมด) ยังเชื่อว่า cryptos อื่น ๆ เป็นภัยคุกคามต่อวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของ Bitcoin ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะการประนีประนอมและยอมก้มหัวให้คนกลางซึ่งมันไม่ใช่การกระจายอำนาจที่แท้จริง 

Bitcoin Maximalists บางคนรู้สึกว่าการต่อต้าน cryptos อื่น ๆ นั้นสมเหตุสมผล ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ความคิดเห็นของ Dorsey ได้กลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมา

เหล่า Bitcoiners นั้นมองว่า cryptocurrencies ต้องมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง: ความปลอดภัยของข้อมูลขั้นสูง (ไม่สามารถแฮ็คเครือข่าย Bitcoin ได้) การต่อต้านการเซ็นเซอร์ (ใคร ๆ ก็สามารถใช้ Bitcoin ได้ และไม่มีใครสามารถหยุดธุรกรรมใดๆ ด้วยวิธีการทางเทคนิคได้)

ข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับทุกสิ่งที่ดีเหล่านั้นคือคุณสมบัติหลักที่ Bitcoiners โต้แย้งในเรื่อง blockchain ของจริง : การกระจายอำนาจที่แท้จริงและเต็มรูปแบบ นี่คือความแตกต่างที่สำคัญ: การกระจายอำนาจไม่ใช่คุณธรรมหรือเป้าหมายในตัวของมันเอง เป็นสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของ Bitcoin

แน่นอนว่าการทดสอบในเรื่องความสำคัญของการกระจายอำนาจนั้นค่อนข้างง่าย: หากรัฐบาลที่มีอำนาจมากต้องการปิดหรือเข้ามาแทรกแซง blockchain ก็จะต้องมีการประนีประนอมกับอำนาจเหล่านี้

ชาว Bitcoin มอง “crypto” แบบ Ethereum และ Smart Contract เป็นการกระจายอำนาจแบบปาหี่ ซึ่งแม้แต่ Ethereum เองในเรื่อง Proof of Work (PoW) ปัจจุบันก็ยังถูกโจมตีในประเด็นนี้อยู่

แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Smart Contract โดยตรง แต่ข้อโต้แย้งเดียวกันนี้ก็เป็นหัวใจของ “Block Size War” ในปี 2015-2017 การต่อสู้ครั้งนั้นทำให้เกิดข้อโต้แย้งที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ Bitcoiner: ความหลากหลายของ cryptocurrencies แม้กระทั่งที่คล้ายกับเทคโนโลยี Bitcoin เอง คุกคามการเติบโตของระบบนิเวศของ crypto เพราะมันได้แยกความสนใจออกเป็นหลายฝ่าย 

Bitcoiners บางคนปฏิเสธคำวิจารณ์นี้ แม้ว่าการโต้แย้งเหล่า “altcoins” อาจเป็นบททดสอบที่มีประโยชน์สำหรับคุณสมบัติของ Bitcoin ในอนาคตก็ตาม

แต่โดยพื้นฐานแล้ว Bitcoiners ทั้งหมดสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมขององค์กรที่แสวงหาผลกำไรตัวอย่างเช่นเหล่า VC ในการสร้างโทเค็นใหม่ โดยอ้างว่าบทบาทดังกล่าวส่งผลต่อการกระจายอำนาจของระบบ

เนื่องจากมีหน่วยงานส่วนกลางที่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงระบบได้เอง หรือ มีแรงกดดันของรัฐบาลในการเซ็นเซอร์ระบบ ดูตัวอย่าง USDT และ USDC ที่มีเสถียรภาพ ซึ่งผู้ดูแลระบบ Tether และ Circle มีอำนาจในการบล็อกผู้ใช้ที่ติดบัญชีดำหรือยึดเงินของพวกเขา 

การวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของ VCs ของ Dorsey ใน Web 3 นั้นมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบทางการเงินของ blockchain ที่ได้รับการสนับสนุนจาก VC โดยอ้างว่าพวกเขาดูดเงินออกจากผู้ใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจบลงด้วยการเป็นเจ้าของตัวจริงในระบบของตนเอง

นั่นทำให้ Marc Andreessen ตัดสินใจที่จะบล็อก @jack และ Dorsey ตอบกลับโดยบอกว่าเขาถูก “แบนจาก Web 3”  เนื่องจากอดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Netscape และ Andreessen Horowitz (a16z) เป็นนักลงทุนรายใหญ่ใน Startup ด้าน Web 3 และทุ่มเงินให้กับโครงการ DeFi metaverse โทเค็น และสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมหาศาล

Marc Andreessen ตัดสินใจที่จะบล็อก @jack ใน Twitter (CR:Twitter)
Marc Andreessen ตัดสินใจที่จะบล็อก @jack ใน Twitter (CR:Twitter)

แล้วใครบ้างที่ต้องการเทคโนโลยี Web 3?

ด้านหนึ่ง ตอนนี้เรามีระบบนิเวศของ Ethereum ที่มีความซับซ้อน และเปราะบาง ซึ่งมีคุณสมบัติใหม่ที่น่าตื่นเต้น ซึ่งผู้สนับสนุนต้องการทำให้เป็นประชาธิปไตยผ่าน Web 3

ในอีกด้านหนึ่ง Dorsey และ Bitcoiners ที่บอกว่าแอปพลิเคชั่นเจ๋งๆ เหล่านี้พึ่งพาระบบที่มีการกระจายอำนาจไม่เพียงพอเพื่อให้ได้ประโยชน์พื้นฐานของ blockchain ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการประนีประนอมยอมให้คนกลางเข้ามามีบทบาท ช่วยให้ผู้สนับสนุนระบบเหล่านี้ร่ำรวย

แต่เทคโนโลยี Web 3 นั้นเป็นไปไม่ได้หรือยากมากที่จะทำกับ Bitcoin เพราะการกระจายอำนาจและการรักษาความปลอดภัยที่สุดเข้มของ Bitcoin นั้นทำให้เสียพื้นที่จัดเก็บ และที่สำคัญที่สุดคือความเร็วในการทำธุรกรรม ซึ่งหากเรากำลังเล่นเกม metaverse หรือ Web 3 เราไม่ต้องการที่จะรอสิบนาทีหรือมากกว่านั้นเพื่อยืนยันว่าดาบใหม่ของเรามาถึงแล้วอย่างแน่นอน

ดังนั้น Dorsey ที่ออกมาโจมตีบทบาทของ VCs ใน Web 3 ดูเหมือนจะทำให้เขาต้องตระหนักคิดเหมือนกัน เพราะมันไม่ชัดเจนว่ามีทางเลือกอื่นในการระดมทุนและสร้างวิสัยทัศน์ของ Web 3 ให้เป็นจริงได้อย่างไร

แต่ VCs ที่เข้ามาลงทุนในโทเค็นเหล่านี้ ก็มีปัญหาร้ายแรงบางอย่าง ทั้งเรื่องส่วนลดก่อนการขายและระยะเวลาการล็อคระยะสั้นสำหรับการเปิดตัวโทเค็น ซึ่งมักจะทำให้ VCs เทเงินของพวกเขาให้กับนักลงทุนรายย่อยโดยไม่สนใจว่าความคิดหรือเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังโทเค็นนั้นดีจริง ๆ หรือไม่ 

ปัญหาเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง แม้ว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเจาะจงกับ crypto เท่านั้น มันเป็นเวลานานมากแล้วที่เหล่า VCs ได้รับเงื่อนไขพิเศษในการลงทุนมานานหลายทศวรรษ

แต่หลายคนก็เปิดใจรับแนวคิดที่ว่าระบบที่แข็งแกร่งน้อยกว่าอาจมีการใช้งานได้จริงและมีประโยชน์ที่แท้จริงเช่นกัน มันเป็นคำถามที่สำคัญว่าเราต้องการ blockchain ที่ทนต่อการเซ็นเซอร์ทั้งหมด ความปลอดภัยสูงสุด แต่ช้าเป็นเต่า เพื่อจัดการรูปโปรไฟล์ NFT หรือเสื้อคลุมและหมวกวิเศษในเกมของเราหรือไม่นั่นเองครับผม 

References : https://www.cnbc.com/2021/12/23/jack-dorsey-blocked-by-marc-andreessen-on-twitter-after-web3-comments.html
https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-12-21/jack-dorsey-stirs-uproar-by-dismissing-web3-as-a-vc-plaything
https://www.coindesk.com/layer2/2021/12/23/what-jack-dorseys-beef-with-web-3-is-really-about/
https://www.theverge.com/2021/12/22/22850558/jack-pmarca-a16z-web3-block-twitter
https://www.youtube.com/watch?v=wtOSyMaSfGM

–> หากสนใจเรื่อง Ethereum เพิ่มเติม อ่าน Blog Series : How an Army of Crypto-Hackers Is Building the Next Internet with Ethereum


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube