ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 10 : Glorious Reaction

หลังจากช่วงผ่อนคลายในสถานการณ์ในตลาด Search Engine ที่ Microsoft ได้ส่ง Facebook เข้าไปตัดแข้งตัดขา Google แทน ทำให้ Gates และ Microsoft เหมือนจะได้หายใจหายคอ กลับมาโฟกัสกับผลิตภัณฑ์ตัวเองบ้าง

และในตอนนั้นตลาดมือถือ Smartphone กำลังกลายเป็นตลาดใหม่ที่เริ่มกลายเป็นที่นิยมทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่า Microsoft ในขณะนั้น ก็มีระบบปฏิบัติการมือถือของตัวเองอย่าง Windows Mobile ซึ่งต้องบอกว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่ดูดีมีอนาคตอย่างมากสำหรับ Microsoft ในตลาดมือถือโลก

Windows Mobile ที่กำลังเป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่มีอนาคต
Windows Mobile ที่กำลังเป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่มีอนาคต

ซึ่ง Gates ก็ได้ใช้กลยุทธ์แบบเดียวกันกับระบบปฏิบัติการบน PC ก็คือ เขาจะไม่ยุ่งกับส่วน Hardware แต่จะขายเป็น License ของระบบปฏิบัติการอย่าง Windows Mobile ออกมาแทนนั่นเอง มันน่าจะเป็นเกมที่ Gates และ Microsoft ถนัดเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันคล้ายกับธุรกิจของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่เหตุการณ์ที่เหลือเชื่อในวงการมือถือโลกมันก็ได้ถึงจุดเปลี่ยนแปลงขึ้นในปี 2007

การเกิดขึ้นของ iPhone จาก Apple ที่ได้แอบซุ่มทำอยู่หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงจาก iPod เครื่องเล่น MP3 ของ Apple ซึ่ง Apple ได้ต่อยอดมาทำมือถือรูปแบบใหม่ ที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติวงการในขณะนั้น

และการเกิดขึ้นของ iPhone นี่เองที่ได้ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งตลาดมือถือโลกเลยก็ว่าได้ เหล่าผู้ผลิตมือถือยักษ์ใหญ่ ที่คาดไม่ถึงว่า Apple จะสามารถสร้างสิ่งที่กำลังจะมาปฏิวัติวงการมือถือโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนได้ มันเป็นการเปลี่ยนไปแบบสิ้นเชิงระหว่างยุคก่อน iPhone กับ มือถือยุคหลัง iPhone ก่อกำเนิดขึ้นมานั่นเอง

แต่เห็นได้ชัดว่าในศึกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น Apple พ่ายแพ้ให้กับ Microsoft อย่างราบคาบ เนื่องจาก Windows ของ Microsoft นั้นสามารถที่จะไปลงกับ Hardware ของผู้ผลิตรายใดก็ได้ ต่างจาก Mac ของ Apple ที่สามารถรันกับเครื่อง Apple ได้เพียงเท่านั้น และสุดท้าย Windows ก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นมาตรฐานของวงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลกในที่สุด

และเช่นเดียวกันกับในเรื่องนักพัฒนา ส่วนใหญ่ Apple จะค่อนข้างปิดไม่ให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามายุ่มย่ามกับ Ecosystem ของ Apple มีเปิดบ้าง แต่เพียงน้อยนิดเท่านั้น เช่นใน iPod ที่มีการสร้างเกมส์เข้ามาจากนักพัฒนาภายนอกนั่นเอง

แต่สุดท้ายในเดือนตุลาคม ปี 2007 หลังจากปล่อย iPhone ออกจำหน่ายได้ประมาณ 10 เดือน จ๊อบส์ ก็ได้ประกาศครั้งสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ iPhone อีกครั้ง เมื่อจ๊อบส์ประกาศให้มีการสร้าง  Native App ของนักพัฒนาภายนอก และมีการวางแผนจะเอา SDK (Software Development Kit) ให้เหล่านักพัฒนาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2008

แต่มันเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจ๊อบส์ ที่ต้อง balance กันระหว่าง การสร้างแพลตฟอร์มระดับเทพ และเป็นระบบเปิดให้กับเหล่านักพัฒนา ขณะเดียวกันก็ต้องคุ้มครองผู้ใช้ iPhone จาก ไวรัส มัลแวร์ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานด้วย

จ๊อบส์ตัดสินใจครั้งสำคัญให้นักพัฒนาภายนอกมาเข้าร่วมกับ iPhone
จ๊อบส์ตัดสินใจครั้งสำคัญให้นักพัฒนาภายนอกมาเข้าร่วมกับ iPhone

ซึ่งทำให้แม้จะไม่เปิดหมดซะทีเดียว แต่จ๊อบส์ เชื่อในแนวทางของตนเพื่อรักษาประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ iPhone นั่นเอง ซึ่ง App ภายนอกนั้นจะมีการตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งผู้ใช้ iPhone จะสบายใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูงสุดนั่นเอง 

และทางฝั่ง Google ก็ได้เริ่มแอบทำบางอย่างลับ ๆ โดยหลังจากเปลี่ยนแผนโดยฉับพลันจากมือถือที่ต้องมี keyboard แบบ Blackberry ให้กลายมาเป็นมือถือแบบจอสัมผัสแบบที่ iPhone ทำ ซึ่งการซุ่มพัฒนานี้ทำโดย Apple แทบจะไม่ระแคะระคายเลยด้วยซ้ำ เพราะหนึ่งในบอร์ดของ Apple ในขณะนั้น ก็คือ เอริก ชมิตต์ ที่เป็น CEO ของ Google นั่นเอง

ส่วนทางฝั่ง Microsoft สตีฟ บอลเมอร์ CEO ของ Microsoft ( *** Gates ได้ขึ้นไปเป็นประธานของบริษัทแทน แต่ยังมีบทบาทกับกลยุทธ์ต่าง ๆ ของ Microsoft อยู่*** ) ถึงกับหัวเราะดังลั่น หลังจากสื่อได้เข้าไปถามหลังการเปิดตัว iPhone ซึ่ง บอลเมอร์ นั้นมองว่า iPhone จะไม่สามารถดึงดูดลูกค้าธุรกิจได้ เพราะมันไม่มีแป้นพิมพ์ และ Microsoft นั้นก็มีกลยุทธ์ของตัวเองสำหรับ Windows Mobile แล้วและกำลังไปได้สวยอยู่ในตลาดเสียด้วย

แล้วสถานการณ์จะเกิดอะไรขึ้นอีกครั้งกับ Microsoft ที่ดูเหมือนจะไปได้ดีกับตลาดมือถือโลกด้วย Windows Mobile แต่การเกิดขึ้นของ iPhone รวมถึง Google ศัตรูตัวฉกาจคนเดิมที่แอบไปซุ่มทำระบบปฏิบัติการมือถือบางอย่างอยู่นั้น จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Microsoft โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 11 : Glorious Failure

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ที่นี่ไม่มีเจ้านาย!! มารู้จักวัฒนธรรมองค์กรสุดแนวของ Valve กันเถอะ

สำหรับนักธุรกิจส่วนใหญ่แนวคิดในการกำจัดผู้จัดการบริษัทออกไปนั้นมันฟังดูเป็นเรื่องไร้สาระ อย่างไรก็ตาม บริษัท ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดบางแห่งก็ได้ใช้วิธีการจัดการแบบใหม่ที่จะไม่มีตำแหน่งของผู้จัดการอีกต่อไป และบริษัทนั้นก็คือ Valve Software

ในขณะที่ บริษัท อื่น ๆ ทั่วไปนั้นได้ค้นพบวิธีที่จะผลักดันในเรื่องการจัดการบางส่วนให้อยู่ในระดับที่เหล่า Manager ทั้งหลายคอยจัดการ แต่บริษัทผลิตเกมยักษ์ใหญ่อย่าง Valve กลับค้นพบว่าพนักงานจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีส่วนร่วมกับบริษัทมากที่สุด เมื่อพวกเขาสามารถควบคุมชะตากรรมของตัวเองได้แบบเบ็ดเสร็จ

ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรสุดแนวนี้เหล่า พนักงานที่ Valve Software ไม่จำเป็นต้องรับคำสั่งจาก ‘หัวหน้า’ นั่นเป็นเพราะที่ Valve Softwareนั้นแทบจะไม่มีพนักงานระดับ ผู้บังคับบัญชาอยู่เลยในบริษัท

ซึ่่งภายใต้การบริหารรูปแบบใหม่ของ Valve ทำให้พวกเขาเป็นบริษัทแรก ๆ ในโลก ที่ไม่มีตำแหน่งผู้จัดการ หรือ หัวหน้างาน ซึ่งพวกเขาไม่เชื่อในผู้จัดการ หรือการมีหัวหน้างาน โดยเมื่อมีพนักงานเข้ามาใหม่ บริษัทจะให้พวกเขาหมุนเวียนไปยังโครงการต่าง ๆ และทำการพูดคุยกับผู้คนจำนวนมาก และตัดสินใจด้วยตัวเองว่าโครงการใด ที่เขาสนใจที่จะเข้าไปร่วมงานด้วยนั่นเอง

โดย บริษัท Valve ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดย Mike Harrington และ Gabe Newell  ซึ่งบริษัท เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและอิงกับความสำเร็จของเกมในตำนานอย่าง Half-Life ซีรีย์เกมที่มีชื่อเสียงที่สุดของบริษัท ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างมากจนมีพนักงานในปัจจุบันกว่า 400 คน

Harrington และ Newell ผู้ก่อตั้ง Valve และคิดวัฒนธรรมองค์กรสุดแนว
Harrington และ Newell ผู้ก่อตั้ง Valve และคิดวัฒนธรรมองค์กรสุดแนว

โดยปกติแล้วการเติบโตแบบนี้นั้น บริษัทจะต้องมีลำดับชั้นในการจัดการที่ค่อนข้างเข้มงวดในการจัดการเหล่าพนักงานทุกคน และทำให้พวกเขาทำงานในทิศทางที่ถูกต้อง แต่ Harrington และ Newell เลือกที่จะเพิกเฉยต่อโครงสร้างแบบดั้งเดิม และสร้างบางสิ่งที่จะทำให้เหล่าพนักงานของเขาที่มีหัวใจในการสร้างนวัตกรรมสามารถเติบโตได้นั่นเอง

ในความเป็นจริงสิ่งที่พนักงานของ Valve ต้องเจอแทบจะตลอดเวลานั่นก็ คือ การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ โดยที่โต๊ะทำงานของพนักงานทุกคน จะมีล้อเลื่อนและจัดให้มีสายไฟเพียงสองสายเท่านั้น ที่จะต้องถอดปลั๊กออกก่อน และสามารถนำไปทำงานที่ไหนก็ได้ทุกที่ที่ต้องการใน Office ของบริษัท

แม้จะมีวัฒนธรรมสุดแนว เนื่องจาก Valve ไม่มีผู้จัดการในการจัดการเรื่องต่าง ๆ เพราะฉะนั้นโครงการทั้งหมดจึงเริ่มต้นโดยพนักงานแต่ละคนหรือกลุ่มของพนักงานที่ทำการโยนความคิดออกมาแล้วทำการสรรหาทีมขึ้นมาเพื่อดำเนินโครงการ 

ซึ่งถ้ามีคนเข้าร่วมกลุ่ม มันก็เพียงพอแล้วที่โครงการก็จะเริ่มดำเนินการได้ บางครั้งพนักงานแต่ละคนถูกเรียกว่า ‘ผู้นำ’ สำหรับโครงการ แต่ทุกคนรู้ว่านี่หมายถึงว่าบุคคลนี้กำลังติดตามข้อมูลทั้งหมดและจัดระเบียบสิ่งที่กำลังทำ แต่ไม่ได้เป็นคนสั่งการเหมือนหัวหน้างานแบบเก่า ๆ แต่อย่างใด

 แม้ที่ Valve อาจจะไม่มีผู้จัดการ แต่มีระบบการจัดการประสิทธิภาพของพนักงานที่ได้รับมอบหมายโดยเป็นการใช้รูปแบบของการสอบถามข้อมูลภายในด้วยพนักงานด้วยกันเอง ภายในบริษัท และจะมีการสอบถามกันเองว่าพนักงานแต่ละคนนั้นทำงานร่วมกับใครมาบ้าง

ซึ่งจะมีการถามเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานกับแต่ละคน โดยคำติชมเหล่านั้นจะถูกรวบรวมและไม่เปิดเผยชื่อ จากนั้นพนักงานทุกคนจะได้รับรายงานเกี่ยวกับประสบการณ์ของเพื่อนร่วมงานที่ทำงานกับพวกเขานั่นเอง

พนักงานของ Valve ที่ไม่มีเจ้านายคอยบัญชาการ
พนักงานของ Valve ที่ไม่มีเจ้านายคอยบัญชาการ

Valve ยังให้อำนาจแก่พนักงานทุกคนในการตัดสินใจจ้างงาน ซึ่งอธิบายว่าเป็น “สิ่งที่สำคัญที่สุดในบริษัท”  Valve ได้นำเสนอความสำเร็จของการออกแบบองค์กรเพื่อจ้างคนที่ฉลาดที่สุด และเป็นนักนวัตกรรมตัวจริงและมีความสามารถมากที่สุดเท่าที่จะหาได้ 

โดย คู่มือของ บริษัท เตือนพนักงานว่า “ทุกครั้งที่คุณสัมภาษณ์ผู้ที่มีโอกาสจ้างงานคุณต้องถามพวกเขาไม่เพียงแค่ว่าพวกเขามีความสามารถหรือมีทักษะในการทำงานร่วมกันได้หรือไม่ แต่ต้องถามถึงเรื่องความสามารถในการบริหารบริษัทด้วย เพราะทุกคนจะมีส่วนร่วมในการบริหารบริษัทนี้ด้วยกันนั่นเอง

แน่นอนว่า ผู้นำของบริษัท อย่าง Valve ได้ค้นพบบางสิ่งที่นักวิจัยรู้จักมานานหลายสิบปี: เมื่อเหล่าพนักงานรู้สึกอิสระที่จะตัดสินใจว่าพวกเขาทำงานอย่างไร มันทำให้พวกเขามีแรงจูงใจมากขึ้น มีความจกรักภักดีต่อองค์กรและเนื้องานที่ได้ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ในขณะที่โครงสร้างบริษัทแบบ Boss Free ของ Valve นั้น อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุก บริษัท แต่มันก็เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการเป็นต้นแบบของบริษัทยุคใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีลำดับชั้นของโครงสร้างเหมือนในอดีต อีกต่อไปนั่นเองครับ

References : https://www.inc.com

AquaMAV กับ Drone ที่สามารถ take off ได้จากพื้นผิวน้ำ

โดรนที่สามารถว่ายน้ำและบินได้ กำลังจะเกิดขึ้นจริง เมื่อ Aerial Robotics Lab จาก Imperial College London ได้สร้างแนวคิดสำหรับหุ่นยนต์ว่ายน้ำแบบ multimodal ซึ่งเรียกมันว่า AquaMAV

โดยเจ้า AquaMAV สามารถกระโดดขึ้นจากพื้นผิวน้ำได้ นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง AquaMAV นำเสนอผลการวิจัยของพวกเขาในงานตีพิมพ์ในสัปดาห์นี้ในงานมหกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์หุ่นยนต์

อ้างอิงจาก IEE Spectrum เจ้า AquaMAV ใช้พลังงานจากน้ำและเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้เพื่อขับเคลื่อนตัวมันเอง ส่วนของหัวของมันประกอบด้วยผงแคลเซียมคาร์ไบด์ 

ภาพแสดงส่วนประกอบของ AquaMOV
ภาพแสดงส่วนประกอบของ AquaMOV

ซึ่ง เมื่อผสมกับน้ำจะสร้างก๊าซอะเซทิลีนซึ่งจะถูกส่งเข้าไปในส่วนของห้องเครื่อง พร้อมกับอากาศและน้ำ เมื่อทำการติดไฟแล้ว ส่วนผสมดังกล่าว จะระเบิดบังคับให้น้ำออกจากห้องเครื่องและผลักดันมันขึ้นสู่อากาศได้นั่นเอง

AquaMAV สามารถบินได้สูงถึง 26 เมตรในอากาศและสร้างพลังงานมาก จนสามารถขับเคลื่อนตัวเองออกจากบ่อน้ำขนาดเล็ก นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า AquaMAV นั้นสามารถใช้ในการเก็บตัวอย่างน้ำในช่วงภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นน้ำท่วมหรือเพื่อตรวจสอบมลพิษในมหาสมุทร ซึ่งคุณสามารถรับชม AquaMAV ในวิดีโอตัวอย่างด้านล่างได้เลยครับผม