ประวัติ เอ็ดวิน แลนด์ ผู้คิดค้นกล้อง Polaroid

เอ็ดวิน แลนด์ เกิดในเมืองบริดจ์ รัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุตรของ มาร์ธา (โกลด์ฟาเด้น) และแฮร์รี่ แลนด์เจ้าของกิจการเศษเหล็ก ทั้งพ่อและแม่ของเขาเป็นคนเชื้อสายชาวยิวในยุโรปตะวันออก และเขาได้เข้าโรงเรียนมัธยมเอกชนภายในเมือง และจบการศึกษาในปี 1927  เมื่อเข้าสู่มหาลัยเขาได้เข้าเรียนต่อด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ก็ต้องละทิ้งจากการเรียน และมุ่งหน้าสู่เมืองนิวยอร์กหลังจากเรียนได้แค่ปีเดียวเท่านั้น

ในนครนิวยอร์กเขาได้คิดค้นฟิลเตอร์ที่มีราคาไม่แพงครั้งแรกที่มีความสามารถในการ polarizing แสง ซึ่งเขาเรียกมันว่าฟิล์มโพลารอยด์ และเนื่องจากเขาขาดเครื่องมือของห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม ทำให้เกิดความลำบากในการสร้างสิ่งที่เขาต้องการขึ้นมา ดังนั้นเขาจึงแอบเข้าไปในห้องปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียตอนดึกเพื่อใช้อุปกรณ์ของมหาลัยเพื่อทดลอง

และเขาก็ได้กลับไปที่ Harvard University หลังจากพัฒนาฟิล์มโพลาไรซ์ได้สำเร็จ แต่ตอนนั้นเขายังไม่จบการศึกษาหรือได้รับปริญญาใด ๆ โดยหลังจากที่เขากลับมาที่ ฮาร์วาร์ดนั้น ได้ร่วมทุนกับ จอร์จ วีลไรท์ อาจารย์สอนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในการก่อตั้ง Land-Wheel wright Laboratories ในเมืองเคมบริดจ์ เพื่อขายเทคโนโลยีทางด้านโพลาไรซ์ของเขา

เอ็ดวิน แลนด์ กับการประดิษฐ์คิดค้น ฟิล์ม โพลาไรซ์ของเขา
เอ็ดวิน แลนด์ กับการประดิษฐ์คิดค้น ฟิล์ม โพลาไรซ์ของเขา

ได้รับเงินทุนจากนักลงทุนจาก Wall Street จำนวนหนึ่ง เพื่อขยายกิจการต่อไป บริษัท เปลี่ยนชื่อเป็นโพลารอยด์คอร์ปอเรชั่น ในปี 1937 ซึ่งหลังจากได้รับเงินทุนเขาก็ได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีโพลาไรซ์อีกหลากหลาย

ไม่ว่าจะเป็นการช่วยพัฒนาวงการแว่นตา วงการภาพยนตร์ หรือ แม้กระทั่ง จอ LCD เองก็ตาม จนสามารถที่จะขยายธุรกิจและได้รับความเชื่อถือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

และ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเขาทำงานร่วมกับทหาร ซึ่งรวมถึงการพัฒนาแว่นตาดำเพื่อเล็งเป้าหมาย และยังรวมถึงระบบนำวิถีให้กับระเบิดสมาร์ทบอมบ์ และระบบการรับชมภาพสามมิติแบบพิเศษที่เรียกว่า Vectograph ซึ่งเผยตำแหน่งข้าศึกที่พรางตัวในการถ่ายภาพทางอากาศ

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญกับกล้อง Polaroid

ในระหว่างการหยุดพักผ่อนในปี 1946 หนูน้อย เจนนิเฟอร์ วัย 3 ขวบ ได้ตั้งคำถามอย่างไร้เดียงสากับผู้เป็นพ่อขณะท่องเที่ยวพักผ่อนและถ่ายรูปด้วยกันว่า “ทำไมหนูถึงเห็นรูปเดี๋ยวนี้เลยไม่ได้คะ”

ซึ่งเป็นการจุดประกายความคิดครั้งสำคัญให้กับ เอ็ดวิน แลนด์ ผลิตกล่องที่สามารถพิมพ์ภาพถ่ายออกมาได้ทันทีหลังจากการถ่ายรูปได้สำเร็จ โดยใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่เขาเคยทำมาในอดีต

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1947 แลนด์ ได้เปิดตัวกล้องถ่ายรูป ที่ตอนแรกถูกเรียกว่า Land Camera โดย โพลารอยด์ผลิตมาเพียงแค่ 60 ตัวเท่านั้นโดย 57 ตัวถูกนำไปวางขายที่ห้างสรรพสินค้า Jordan Marsh ในบอสตันก่อนวันหยุดคริสต์มาสปี 1948 

เอ็ดวินด์ แลนด ขณะสาธิตการใช้งานกล้องโพลารอยด์
เอ็ดวินด์ แลนด ขณะสาธิตการใช้งานกล้องโพลารอยด์

ซึ่งเหล่านักการตลาดของโพลารอยด์เดาผิดคิดว่ากล้องและฟิล์มจะยังคงเหลืออยู่ในสต็อกนานพอที่จะรอการผลิตในระยะที่สองตามความต้องการของลูกค้า แต่กล้อง 57 ตัวแรกนั้น ถูกขายหมดเพียงในวันแรกของการสาธิต การใช้งานของกล้องเท่านั้น

และ โพลารอยด์ ก็ได้กลายเป็นสินค้ายอดฮิต ดังเป็นพลุแตกในที่สุด เพราะทุกคนต่างตกตะลึงกับการได้ภาพถ่ายหลังจากที่ลั่นชัตเตอร์ของกล้องเพียงไม่นาน ซึ่งมันดูเหมือนเวทมนต์ที่เสกรูปออกมาได้นั่นเอง

แม้ว่าเขาจะเป็นผู้นำของ Polaroid Corporation และกลายมาเป็นผู้บริหารระดับสูง แต่ แลนด์ ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกและเป็นคนที่สำคัญที่สุด

และเขายังคงมุ่นมั่นที่จะวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่อไป และได้ทำการทดลองในแทบจะทุก ๆ วัน แม้เขาจะไม่ได้รับปริญญาใด ๆ อย่างเป็นทาง แต่เหล่าพนักงาน เพื่อน และสื่อมวลชน ก็ล้วนเคารพความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ของเขาโดยเรียกเขาว่า ดร. แลนด์ นั่นเองครับ

  References : https://en.wikipedia.org

AI กับการตามหารักแท้ผ่านบทสนทนาของคุณ

เรื่องราวความรักนั้นมีช่วงเวลาหนึ่งที่ความล้ำลึกที่ซ่อนเร้นอยู่กับความซับซ้อนของโลกในการความตีการเคลื่อนไหวของเหล่าคู่รัก  แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรามีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ที่จะมาวิเคราะห์ถึงคนที่เราสนทนาด้วยว่าใช่รักแท้ของเราจริงหรือไม่? และนี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมแอปรูปแบบใหม่ที่ใช้พลังของปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความสัมพันธ์กำลังจะเกิดขึ้น

หนึ่งในนั้นคือ MEI ถูกเรียกในฐานะแอป “ผู้ช่วยด้านความสัมพันธ์” โดยแอปเวอร์ชั่น Android ซึ่งปล่อยออกมาเมื่อเดือนกันยายน มีความสามารถในการแยกแยะวิเคราะห์การสนทนาบนข้อความเพื่อประเมินความเข้ากันได้และบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลที่คุณกำลังสนทนาด้วย

และมีการให้คะแนนตามรูปแบบการสนทนา 4 รูปแบบ: การเปิดกว้าง การควบคุมอารมณ์ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และความมีสติ โดยในเวอร์ชัน iOS ซึ่งจะเปิดตัวในสุดสัปดาห์นี้มีฟังก์ชั่นใหม่: ที่จะแนะนำความน่าจะเป็นในระดับคะแนน 1- 100 เพื่อให้คะแนนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นผ่านบทสนทนา

โดย MEI มีค่าใช้จ่าย 9 ดอลลาร์ ในการซื้อเครดิต 100 Mei ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ต่อการสนทนาแต่ละครั้ง  ซึ่งตอนนี้แอปสามารถวิเคราะห์การสนทนาจาก แอปพลิเคชั่น WhatsApp เท่านั้น

จากการทดลองใช้ข้อมูลการแชทใน WhatsApp หลายรายการ ซึ่งจากการวิเคราะห์ Mei ต้องการคำอย่างน้อย 1,000 คำในวิเคราะห์เบื้องต้น

ผู้สร้าง Mei อย่าง Es Lee ได้เริ่มโปรแกรมเพื่อวัดความสนใจที่โรแมนติกหลังจากเฝ้ามองดูเพื่อนที่กำลังออกเดท แล้วมาคิดว่าน่าจะสร้างอะไรมาวิเคราะห์โอกาสในการสร้างความสัมพันธ์จากการออกเดทเหล่านี้ โดยไม่ให้เพื่อนเสียเวลาไปเปล่า ๆ กับคนที่ไม่ได้จริงจังกับเธอ

โดย Lee ได้หยิบโทรศัพท์ของเพื่อนของเขาเลื่อนดูข้อความและเห็นว่าเพื่อนของเขาตีความการสนทนาเหล่านี้ผิดไปแทบจะทั้งสิ้น “ มันดูเหมือนกับภาษากาย ผ่านบทสนทนาใน Whatsapp” เขากล่าว “ซึ่งการที่คุณรอที่จะตอบ หรือการที่คุณตอบแบบทันที หรือไม่คุณใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ทำให้ Lee คิดว่าหลายอย่างสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยอัลกอริธึม

Lee กล่าวว่าแอปประมวลผลการสนทนาเหล่านี้ ผ่านข้อมูลผู้ใช้งานกว่าแสนคน  ซึ่งนั่นเป็นชุดข้อมูลที่มหาศาลซึ่งเป็นการสนทนาด้วยข้อความจริงในกลุ่มประชากรต่างๆ รวมถึงในความสัมพันธ์ประเภทต่างๆ ซึ่งรูปแบบบางอย่างนั้นมันชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น คนที่พูดว่า “ฉันคิดถึงคุณ” ในช่วงต้นของการสนทนาน่าจะมีความรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ

ซึ่ง แอปวิเคราะห์ข้อความอย่าง Mei นั้นสามารถทำอะไรได้มากกว่าเพียงแค่บอกคุณว่าเรื่องราวความรักนั้นต้องปรึกษาใคร แต่มันเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลึกลับที่ซ่อนเร้นของเหล่าผู้คนรอบตัวเราและเป็นหนทางที่จะเจอกับคู่รักและเพื่อนที่ดีขึ้นนั่นเอง

References : https://www.wired.com