ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 7 : Enemy at the Gates

ในขณะที่ Microsoft ชนะศึกทางด้านเทคโนโลยีมาได้ทุกครา ไม่ว่าจะเป็นศึกใหญ่กับ IBM หรือ การบดขยี้เด็กน้อยอย่าง NetScape ให้ตายออกไปจากตลาด Web Browser ได้สำเร็จ และถึงเวลานั้นมันก็ได้เข้าสู่ยุคเริ่มต้นของธุรกิจ Internet แบบเต็มตัว เพราะเกิดเว๊บไซต์ใหม่ ๆ ขึ้นเป็นดอกเห็ด เกิด Business Model ใหม่ๆ ขึ้นบนโลกออนไลน์มากมาย

ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นเอง ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน สองหนุ่มนักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Stanford ได้เริ่มทำการสร้าง Index หรือ ดัชนีให้กับเหล่าเว๊บไซต์ทั้งหลายทั่วโลก

ซึ่งแม้วิธีเริ่มต้นในสิ่งที่ทั้งคู่ทำนั้นจะไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้น มีหลายบริษัทก็ทำอยู่เช่นกัน แต่ปัญหาก็คือ ตอนนั้นไม่มีใครคาดคิดถึง Model ธุรกิจของ Search Engine ว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร เพราะกระแสในขณะนั้นกำลังแห่ไปทาง Web Directory อย่าง Yahoo ที่กำลังดังอยู่ในขณะนั้น

เนื่องจากเว๊บเพจได้เริ่มเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดจึงทำให้ Yahoo นั้นได้เริ่มสร้าง Directory ให้กับเหล่าเว๊บไซต์หน้าใหม่เหล่านี้ โดยใช้การคัดเลือกจากบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์ และแน่นอนว่า พอจำนวนเว๊บไซต์ยิ่งมากขึ้น มันก็เริ่มที่จะลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ในการคัดเลือกเหล่านี้

Yahoo เว๊บไดเรคทอรี่ ที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น
Yahoo เว๊บไดเรคทอรี่ ที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น

อีกฝากฝั่งหนึ่งนั้น Gates และ Microsoft แทบจะไม่ยินดียินร้ายกับการเกิดขึ้นของเหล่าบริการค้นหาทางออนไลน์เลยเสียด้วยซ้ำ Microsoft นั้นสามารถล้มศัตรูมาได้ทั้งหมด และพวกเขาก็ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะกลัวใครหน้าไหนอีกต่อไป

ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขามีการใช้งานอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ ชุด Microsoft Office ซึ่งพวกเขาก็ขายกันไม่ทันอยู่แล้วแค่เพียง product สองตัวนี้ที่มีอยู่ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่แทบจะผูกขาดการใช้งานทั่วทั้งโลก

มันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ว่า Microsoft แทบไม่แยแสกับกระแสออนไลน์ บ้าเห่อ ของเหล่าบริษัทหน้าใหม่ในขณะนั้น เพราะมันมีจำนวนผู้ใช้งานเพียงน้อยนิด และยังไม่มีใครคิดว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไรเลยด้วยซ้ำ

แต่ด้วยความเป็นยักษ์ใหญ่ จึงได้ทำการกระจายความเสี่ยงไว้ โดยในปี 1997 นั้น Microsoft ได้สร้างเว๊บท่าขนาดใหญ่ แต่จะใช้บริการค้นหาจริง ๆ ของอีกหนึ่งบริษัทคือ Inktomi ซึ่งตอนนั้นเริ่มทำบริการที่เป็นลักษณะเว๊บ Crawler เพื่อไปดึงดูดข้อมูลต่าง ๆ ทั่ว WWW มาทำ Index หรือดัชนี

ซึ่งในรายปลายทศวรรษ 1990 แม้จะมี Search Engine มากมาย เช่น Yahoo , Altavista , Lycos , Excite , AOL , Infoseek แต่ดูเหมือนว่าเหล่า Search Engine เหล่านี้นั้น ไม่มีตัวไหนเลย ที่ทำให้เหล่าผู้บริโภคถูกใจและแก้ปัญหาสำคัญของเหล่า User เมื่อมาค้นหาได้

Search Engine ที่มีอยู่อย่างมากมายแต่ยังไม่โดนใจผู้บริโภคในขณะนั้น
Search Engine ที่มีอยู่อย่างมากมายแต่ยังไม่โดนใจผู้บริโภคในขณะนั้น

ตอนนี้ยังไม่มีใครที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งจริง ๆ ในเรื่องการค้นหา ทำให้ผลการค้นหาไม่ได้ดั่งใจคนใช้งานเท่าที่ควร คือมีแค่ให้ใช้ แต่ไม่มีตัวไหนที่ประทับใจผู้ใช้งาน แม้กระทั่ง Microsoft เองก็ตามก็ยังไม่เข้าใจจริง ๆ ของความต้องการของ User จากระบบ Search Engine

ซึ่งในช่วงเวลานั้นนั่นเอง ขณะที่เหล่าผู้ใช้งานกำลังเบื่อกับ โปรแกรมการค้นหาที่มีอยู่เต็มไปหมดในตลาด เพจและบริน ได้สร้างอัลกอริทึมสำหรับจัดลำดับเว๊บเพจที่เรียกว่า “PageRank” ภายใน Lab ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดขึ้นมาได้สำเร็จ

ซึ่งตอนนั้น พวกเขาทั้งสองเองก็ตามก็ยังไม่รู้เลยว่าสิ่งยิ่งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น การทดลองที่บังเอิญของพวกเขา สิ่งที่ทั้งสองต้องการนั่นคือ การนำการวิจัยดังกล่าวไปสู่หัวข้อวิทยานิพันธ์ปริญญาเอก โดยใช้เทคโนโลยีเพจแรงค์ กับโลกของอินเตอร์เน็ต

ซึ่งตอนแรกนั้น พวกเขาทั้งสองรวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้คิดถึงการสร้างโปรแกรมค้นหาเลยด้วยซ้ำ แต่เมื่อพวกเขาได้ทำไประยะหนึ่ง กับพบกับความเป็นจริงที่ว่า สิ่งที่พวกเขาร่วมกันสร้าง มันยิ่งใหญ่เกินกว่าจะเป็นเพียงงานวิชาการเสียแล้ว สิ่งที่เขาค้นพบนั้นมันคือประตูไปสู่ธุรกิจใหม่ ที่มีมูลค่ามหาศาล มันคือขุมทรัพย์ทาง Digital รูปแบบใหม่ ที่ไม่มีบริษัทไหน ๆ ในโลกนี้ เคยคาดคิดมาก่อน

Bill Gates และ Microsoft กำลังหลงระเริง อยู่กับความสำเร็จซ้ำแล้วซ้ำเล่าของพวกเขา โดยแทบจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะนี้ ศัตรูรายใหม่ ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว และกำลังจะกลายเป็นศัตรูที่แข็งแกร่งที่สุด ฉลาดที่สุด เท่าที่พวกเขาเคยเจอมานับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจเลยก็ว่าได้ จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Gates และ Microsoft เมื่อธุรกิจเทคโนโลยีกำลังขับเคลื่อนไปยังโลก Internet โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : The Internet Trap

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Apple Pippin กับความล้ำเหลวในธุรกิจเกมคอนโซลของ Apple

ข่าวใหญ่ของ Apple ในงาน WWD ที่ผ่านมาในเรื่องของเกม คือ การเปิดบริการ Apple Arcade ซึ่งแน่นอนว่า Apple นั้นสนใจกับวงการเกมมานานแล้ว และ Apple ยังเคยร่วมพัฒนาเครื่องเกม Console ออกมาด้วย ซึ่งนั่นก็คือ Apple Pippin วันนี้ผมจะพาย้อนไปทำความรู้จักกับเจ้าเครื่องเกมคอนโซลตัวนี้ของ Apple กันครับ

ในปี 1993 Bandai ต้องการ Macintosh เวอร์ชั่นที่ย่อขนาดเพื่อมาพัฒนาในการเล่นเกมแบบแผ่นซีดีรอม โดยนายมาโกโตะ ยามาชินะ ประธานและซีอีโอของ Bandai เลือกแพลตฟอร์ม Macintosh เหนือแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในเวลานั้น ในการพัฒนาเป็นพื้นฐานของเครื่องเล่นเกมตัวใหม่ที่จะเกิดขึ้น 

ในต้นปี 1994 Bandai ได้เข้าหา Apple ด้วยแนวคิดของเกมคอนโซลรูปแบบใหม่ การออกแบบจะอยู่บนพื้นฐานของแมคอินทอช รุ่น คลาสสิก  ใช้ชิป โมโตโรล่า 68030 เป็นแกนหลัก โดยทำงานซอฟต์แวร์ในระบบ Macintosh 

โดยทาง Apple จะทำหน้าที่ในการกำหนดการออกแบบบอร์ดเบื้องต้น และ Bandai จะจัดหาเคสและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งนี่ถือเป็นโซลูชัน ในการสร้างเครื่องคอนโซลที่รวดเร็วที่สุดในตลาด โดยมีการตกลงให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับทั้ง Apple และ Bandai

Apple ทำหน้าที่หลักในเรื่องการออกแบบบอร์ดวงจร และ พื้นฐานทางซอฟต์แวร์
Apple ทำหน้าที่หลักในเรื่องการออกแบบบอร์ดวงจร และ พื้นฐานทางซอฟต์แวร์

ซึ่งในที่สุด Apple Pippin ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1995 โดยมีการรันด้วยระบบปฏิบัติการ McIntosh พร้อมด้วยดีไซน์ที่มีรูปร่างขนาดเล็กกระทัดรัดใช้สีขาวเป็นพื้นหลักมีช่องเสียบจอยคอนโทรลเลอร์และช่องใส่ตลับเกมพร้อมกับ Apple Jack จอยคอนโทรลเลอร์ที่มีรูปร่างโค้งมนเหมือนบูมเมอแรงมีปุ่มกดตามมาตรฐานแถมตัวเครื่องยังสามารถรองรับคีย์บอร์ดกับเม้าส์ได้ด้วย ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ใหม่มากสำหรับเครื่องเล่นเกมในสมัยนั้น

ซึ่งโดยรวมแล้วก็ถือว่ามีการออกแบบที่สวยงามมากเลยทีเดียว และด้วยเครื่องเล่น Apple Pippin จะมีดีที่มากกว่าแค่การเล่นเกม แต่จะมีฟีเจอร์ในเรื่องของการศึกษาและมีโมเด็มไว้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย

โดย Apple และ Bandai มีการกำหนดราคาเปิดตัว Apple Pippin ในญี่ปุ่นไว้ประมาณ $620 หรือประมาณ 22,000 บาทและในราคา $599 หรือประมาณ 21,000 บาทในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก

แต่เมื่อถึงเวลาที่ระบบ Apple Pippin วางจำหน่าย ตลาดเกมคอนโซลในขณะนั้นก็ถูกครอบงำโดยSega Saturn , Sony PlayStationแ และ พีซีที่ใช้ Windows เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

นอกจากนี้แม้ว่า Apple จะพยายามลงนามกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หลาย ๆ เจ้า แต่ก็มีซอฟต์แวร์เกมที่พร้อมใช้งานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับ Pippin ซึ่งมีผู้จัดสร้างเกมรายใหญ่เพียงรายเดียวคือ Bandai 

ส่วนบริษัทพัฒนาเกมอื่น ๆ นั้น ประกอบด้วยบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดเล็กเท่านั้น ทำให้ เกมที่รองรับกับเครื่อง Apple Pippin ก็มีน้อยนิดเพียง 25 กว่าเกมเท่านั้นในช่วงเริ่มต้น และยังถูกวิจารณ์อย่างเสีย ๆ หาย ๆ จากสื่อด้านวงการเกมทั่วโลก ทำให้ยอดขายตกต่ำมาก ๆ ผิดกับที่ทั้ง Apple และ Bandai นั้นประเมินไว้แต่แรก

Apple Pippin กับเกมที่มีอยู่น้อยนิด และมาจากบริษัทเล็ก ๆ
Apple Pippin กับเกมที่มีอยู่น้อยนิด และมาจากบริษัทเล็ก ๆ

จนกระทั่งในปี 1997 ก็ถึงเวลาที่จะสิ้นสุดของ Apple Pippin เสียทีเมื่อ Steve Jobs ได้กลับมาบริหาร Apple ในรอบที่สอง เขาจึงสั่งยุติการผลิตพร้อมกับส่งไม้ต่อให้บริษัท Bandai ไปสานต่อในประเทศญี่ปุ่นด้วยชื่อใหม่ว่า Atmark เป็นการจบเส้นทาของตลาดเกมคอนโซลของ Apple ไปในท้ายที่สุดนับแต่บัดนั้น

References : https://en.wikipedia.org

Tiktok กับความเสี่ยงที่จะโดนเซ็นเซอร์จากรัฐบาลจีน

จาก Feed ของ Instagram, Twitter หรือ Facebook ในการค้นหาเรื่องการประท้วงที่ฮ่องกง เราจะได้เห็นวิดีโอของนักประท้วงที่แฝงตัวอยู่หลายคนในเมืองจีน เช่นเดียวกับการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลหรือภาพตำรวจที่ยิงสาดผู้ประท้วงด้วยสเปรย์พริกไทย

ทำให้การค้นหาเดียวกันกับวิดีโอบนแอพพลิเคชั่นชื่อดังอย่าง TikTok ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าและเราจะอาจไม่ทราบว่ามีการประท้วงทั้งหมดทุกแห่งก็ตาม โดย TikTok ซึ่งเจ้าของคือ ByteDance ดูเหมือนจะต้องทำตามนโยบายของรัฐบาลจีน และแน่นอนว่านี่เป็นตัวอย่างที่น่ากลัวของวิธีการที่สื่อสังคมออนไลน์ สามารถจัดการรูปแบบของการควบคุมทางสังคมที่มีอยู่จริงได้สำเร็จ

นักวิจัยมีความกังวลว่าจีนจะทำการตัดผู้ใช้ภาษาจีนของแอปเพื่อบีบเหล่ากลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงและยับยั้งการแพร่กระจายไปยังทั่วโลกของข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการประท้วง ตามที่ วอชิงตันโพสต์เสนอ  โดยการประท้วงในฮ่องกงครั้งแรกจุดประกายเมื่อสามเดือนที่ผ่านมาในการต่อต้านการกฏหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่การประท้วงได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเรียกร้อง “ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ” และการแสดงความรับผิดชอบของตำรวจ

ByteDance ปฏิเสธที่จะพูดคุยกับ วอชิงตันโพสต์ เกี่ยวกับ“ ความเป็นอิสระจากการเซ็นเซอร์ในปักกิ่ง” โดยเป็นการออกแถลงการณ์ที่อ้างว่าแอปนั้นเป็น “สถานที่เพื่อความบันเทิงไม่ใช่การเมือง”

นั่นเป็นข้อเรียกร้องที่น่าสงสัย แอปนี้เป็นหนึ่งใน “การส่งออกของสื่อสังคมออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของแอปที่มาจากประเทศจีน” โดยปัจจุบันติดตั้งบนโทรศัพท์กว่า 1.3 พันล้านเครื่องทั่วโลก

ไม่ว่านักพัฒนาแอพจะวางแผนหรือไม่ก็ตามโซเชียลมีเดียยังคงส่งเสียงต่อสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและสังคมทำให้ประชาชนในประเทศที่ถูกเซ็นเซอร์มากที่สุดและภูมิภาคต่าง ๆ พยายามที่จะส่งต่อความเชื่อของพวกเขาไปสู่ผู้ชมที่มีอยู่ทั่วโลก 

แต่ปัญหาเดียวก็คือ: นักพัฒนาเหล่านี้นั้นสามารถตัดสินใจที่จะคลิกปุ่มปิดได้ทันทีหากถูกกดดันจากรัฐบาลจีน ตามรายงานของวอชิงตันโพสต์ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบอกว่าเนื้อหาใดถูกเซนเซอร์โดย TikTok บ้าง ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอของการประท้วงหรือคำพูดสร้างความเกลียดชังต่าง ๆ ในแอป  ซึ่งการขาดหายไปของวิดีโอประท้วงของฮ่องกงอาจเกิดจากความกลัวของผู้ใช้ว่ารัฐบาลจีนนั้นกำลังติดตามเนื้อหาภายในแอปอย่างใกล้ชิด

ซึ่งการดำเนินงานและนโยบายของ TikTok ในเรื่องนี้นั้น ได้ก่อให้เกิดความกังวลใจสำหรับผู้ใช้แอพที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งวิธีการเซ็นเซอร์แบบเดียวกันนี้ สามารถขยายขอบเขตการตรวจสอบไปยังผู้ชมทั่วโลก ที่ต้องบอกว่า TikTok กำลังมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ใช้งานทั่วโลกในขณะนี้นั่นเองครับ

References : https://www.washingtonpost.com