Autonomous Robot Arm กับการช่วยเหลือผู้ป่วยพิการ

ชาวอเมริกันประมาณหนึ่งล้านคนไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้เนื่องจากปัญหาทางร่างกายต่าง ๆ เช่นการเป็นผู้ป่วยพิการ ทำให้พวกเขามีทางเลือกน้อย และต้องพึ่งพาคนอื่นในช่วงเวลารับประทานอาหารซึ่งอาจทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดใจและอยากช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากกว่านี้

แต่ตอนนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้สร้าง Assistive Dexterous Arm (ADA) , แขนหุ่นยนต์อัจฉริยะที่มีความสามารถในการใช้ส้อมที่จะช่วยเสิร์ฟอาหารจากจานกับปากของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่มีการนำเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์มาช่วยให้คนพิการมีชีวิตที่อิสระมากยิ่งขึ้น

ในเอกสารที่ตีพิมพ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ทีมนักวิจัยของ University of Washington (UW) อธิบายว่าอัลกอริธึมAI ที่ทำงานร่วมกับแขนหุ่น ADA สามารถฟีดอาหารไปยังผู้ป่วยได้อย่างไร

อัลกอริทึมแรกอย่าง RetinaNet เป็นระบบตรวจจับวัตถุ มันจะสแกนจาน เพื่อระบุประเภทของอาหารที่โดยจะมีการวาง “กรอบ” รอบอาหารแต่ละรายการ

อัลกอริทึมที่สองคือ SPNet วิเคราะห์อาหารในเฟรมดังกล่าว และส่งคำแนะนำไปยังแขนหุ่นยนต์เพื่อให้มันรู้วิธีการจัดการกับอาหารในแบบที่จะทำให้คนกินได้ง่าย  ซึ่ง AI อาจสั่งให้แขนหุ่นลองใช้ส้อมเสียบ ยกตัวอย่าง เช่น กล้วยที่อยู่ตรงกลาง แต่ มีแครอทอยู่ใกล้ในปลายด้านหนึ่ง

ตัวอย่างการจัดการอาหารในหลาย ๆ รูปแบบ
ตัวอย่างการจัดการอาหารในหลาย ๆ รูปแบบ

ซึ่งการให้ความรู้เชิงบริบทกับ AI ว่าอาหารทุกอย่างไม่ควรได้รับการปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนาของแขนหุ่นยนต์ ADA ตามที่นักวิจัย Siddhartha Srinivasa กล่าว

“ถ้าเราไม่ได้คำนึงถึงวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรับประทาน เหล่าคนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้นก็อาจจะไม่สามารถที่จะใช้ระบบของเราได้เช่นกัน” เขากล่าวในการแถลงข่าว “ เนื่องจากเรามีรูปแบบของอาหารหลายประเภท ดังนั้นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือการพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถจัดการกับอาหารแต่ละแบบได้ทั้งหมด”

เมื่อแขนหุ่นยนต์ซึ่งติดอยู่กับรถเข็นได้รับคำแนะนำจากอัลกอริทึมก็จะอาศัยระบบเซ็นเซอร์และกล้องเพื่อใช้เสียบอาหารแต่ละชิ้นด้วยส้อม ที่ใช้เทคโนโลยี 3D Printing แล้วทำการย้ายไปที่ปากของผู้ป่วยเพื่อให้สามารถรับประทานได้นั่นเอง

ในขณะที่ Srinivasa หวังว่า ADA จะช่วยให้ผู้คนที่มีปัญหาในการเลี้ยงดูตัวเองไม่ได้ตัวอย่างเช่นคนพิการนั้น สามารถลดการพึ่งพาผู้อื่นได้มากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องหลักอย่างการรับประทานอาหาร แต่เขามองว่าระบบดังกล่าวยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์อยู่ ไม่ได้ตัดขาดไปโดยสิ้นเชิง

“ เป้าหมายสุดท้ายของเราคือให้หุ่นยนต์ของเราช่วยเหลือผู้คนในการรับประทานอาหารกลางวันหรืออาหารเย็นได้ด้วยตนเอง” เขากล่าวในการแถลงข่าว “ แต่ประเด็นนี้ไม่ใช่เพื่อมาแทนที่เหล่าผู้ดูแลผู้ป่วย : เราต้องการช่วยเหลือพวกเขาด้วยหุ่นยนต์เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลสามารถที่จะทำอย่างอื่นได้ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอาหารนั่นเอง”

References : 
https://newatlas.com

ปฏิวัติแนวคิดการประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบใหม่ด้วย DNA Processor

ข้อจำกัดที่่สำคัญที่สุดในแนวคิดสำหรับคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพอย่างรหัส DNA คือ รหัสใด ๆ ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ใน DNA ไม่สามารถนำกลับมาเขียนใหม่ได้ 

David Doty นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ UC Davis บอกกับ Wired ว่าการใช้คอมพิวเตอร์ DNA นั้น“ มันเหมือนกับการสร้างคอมพิวเตอร์ใหม่จากฮาร์ดแวร์ใหม่ตลอดเวลารเพื่อใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่”

แต่ตอนนี้ Doty และทีมของเขาได้สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้รหัส DNA เครื่องแรก ซึ่งสามารถเขียนซ้ำได้เหมือนเครื่องระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบทั่วไป ซึ่งมันเป็นก้าวกระโดดที่อาจนำไปสู่การประมวลผลทางชีวภาพในอนาคต

ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ล่าสุดในวารสาร Nature , Doty และนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ จาก UC Davis, สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย และ Harvard ได้อธิบายถึงคอมพิวเตอร์ที่ใช้ รหัส DNA ซึ่งมี  “tiles” 355 แบบที่แตกต่างกันของ DNA ที่สามารถเปรียบเทียบได้กับวงจรในคอมพิวเตอร์แบบทั่วไป

เมื่อเปรียบเทียบกับวงจร DNA ที่มีอยู่ซึ่งสามารถเรียกใช้งานได้เพียงหนึ่งโปรแกรมเท่านั้น ทีมนักวิจัยสามารถจัดการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของพวกเขาให้ทำงานได้ถึง 21 โปรแกรมซึ่งสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหมือนที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปทำได้ เช่น การนับจำนวนตัวเลือก การเลือกสิ่งของจากรายการ เป็นต้น

มันเป็นเพียงแค่งานเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ในยุคอดีตแทบจะทั้งหมด  Wired อธิบายการศึกษาเรื่องนี้ ว่าให้ผลลัพธ์ที่ “สวยงาม แต่มันยังดูไร้ประโยชน์ในขณะนี้” แต่ที่สำคัญมันสามารถวางรากฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ชีวภาพที่ยืดหยุ่นและสามารถตั้งโปรแกรมได้ในอนาคต

คอมพิวเตอร์ทั่วไปยังคงมีข้อได้เปรียบที่สำคัญมากกว่าการประมวลผลที่ใช้รหัส DNA ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้ถูกพัฒนามาไกลมากแล้วเป็นระยะเวลาหลายปีหลังจากการก่อกำเนิดขึ้นของคอมพิวเตอร์

แต่เมื่อการวิจัยอย่างที่ Doty ได้พัฒนาขึ้น และมีทีมงานของนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่สร้างผลงานเหล่านี้ขึ้นมา นั่นอาจจะทำให้เทคโนโลยีประมวลผลแบบชีวภาพกำลังจะถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญนั่นเอง

References : 
https://www.wired.com
https://melodyreports.com/wp-content/uploads/2019/08/Global-DNA-and-Gene-Chip-Market.jpg

เมื่อการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์กำลังจะอยู่ภายใต้การตัดสินใจของ AI

นักวิจัยของกองทัพอากาศสหรัฐกำลังมีความพยายามที่จะให้รหัสนิวเคลียร์แก่ AI หรือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการตัดสินใจเรื่องการโจมตี

โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งกองทัพอากาศ นักวิจัย Curtis McGiffin และนักวิจัยสถาบันวิจัย Louisiana Tech อดัม โลว์เธอร์ ได้ร่วมกับกองทัพอากาศเพื่อเขียนบทความ   “America Needs a ‘Dead Hand’” โดยมีการถกในประเด็นที่ว่าสหรัฐอเมริกา ต้องพัฒนา“ ระบบตอบสนองเชิงกลยุทธ์อัตโนมัติบนพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์”

กล่าวอีกนัยหนึ่งพวกเขาต้องการให้ AI เป็นผู้ถือครองรหัสนิวเคลียร์ และแน่นอนว่าตามที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงมันฟังดูคล้ายกับในหนังสือชื่อดังอย่าง “ Doomsday Machine” จากถ้อยคำของ Stanley Kubrick ในปี 1964“ 

“Dead Hand” ที่อ้างถึงในชื่อหมายถึงระบบกึ่งอัตโนมัติของสหภาพโซเวียตที่จะมีการเปิดตัวอาวุธนิวเคลียร์หากเงื่อนไขบางอย่างถูกพบ เช่น การตายของผู้นำของสหภาพโซเวียต

อย่างไรก็ตามในครั้งนี้ระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่พัฒนาโดย Lowther และ McGiffin จะไม่รอจนกว่าจะโดนการโจมตีครั้งแรกกับสหรัฐ โดย AI มันจะรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนเวลาอันควร

“ มันอาจจำเป็นต้องพัฒนาระบบบนพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ด้วยการตัดสินใจตอบสนองที่กำหนดไว้ล่วงหน้าซึ่งตรวจจับตัดสินใจและชี้นำกองทัพด้วยความรวดเร็ว ” พวกเขาเขียน

การใช้เวลาอย่างรวดเร็วในการโจมตีเป็นปรากฏการณ์ที่เทคโนโลยีสมัยใหม่รวมถึงเรดาร์ความไวสูงและสามารถสื่อสารได้ทันที ทำให้สามารถลดเวลาในการตรวจจับและการตัดสินใจลงอย่างมาก 

“ เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้กำลังลดระยะเวลาการตัดสินใจของผู้นำระดับสูงของอเมริกา ซึ่งในไม่ช้ามันอาจที่จะเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดสินใจและบังคับใช้พลังงานนิวเคลียร์ได้ทันอย่างทันท่วงที หากยังใช้มนุษย์ในการตัดสินใจ” Lowther และ McGiffin โต้แย้ง

ความคิดคือการใช้โซลูชั่น AI ในการขับเคลื่อนซึ่งมันมีความสามารถในการตรวจจับการเปิดการโจมตีก่อนที่เกิดขึ้นที่ใดก็ได้ในโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีความสามารถในการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ไปยังฝ่ายตรงข้าม”

และจากข้อเท็จจริงที่ว่า AI ไม่ได้มีข้อมูลมากนักที่จะดำเนินการ นั่นหมายความว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ส่งไปยัง AI จะเป็นข้อมูลจำลองการรบเพียงเท่านั้น ซึ่งเราก็ต้องชั่งใจดูว่า อย่างไหนมันจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากันระหว่างความสามารถของ AI และการตัดสินใจของมนุษย์ หากเกิดสงครามขึ้นมาจริง ๆ นั่นเอง

References : 
https://thebulletin.org