ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 2 : The Standard

IBM ถือเป็นยักษ์ใหญ่ที่ปรับตัวไม่ทันตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและกระแสของตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กำลังจะถือกำเนิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าในขณะนั้นสถานการณ์ของ IBM ในตลาดคอมพิวเตอร์องค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งก็ถือว่าเป็นฐานที่แข่งแกร่งมากสำหรับพวกเขา

ปัญหาใหญ่ของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เหล่านี้คือ การออกแบบมาเพื่อทำงานเฉพาะด้าน ใช้ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์การใช้งานของตัวเอง ซึ่งใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ เพียงเท่านั้นเพราะมีราคาแพงมหาศาลมาก ๆ

ซึ่งต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันเพื่อเป็นส่วนเชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นของคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ตลอดจนทำภารกิจอื่น ๆ อีกมากมาย และยังเป็นพื้นฐานของโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ในยุคนั้น เช่น ระบบบัญชี , ระบบเงินเดือน , โปรแกรม Word Processing

ซึ่ง IBM นั้นได้สร้างคอมพิวเตอร์ที่มี Segment ยิบย่อยเต็มไปหมด มีราคาที่แตกต่างกัน มีการออกแบบที่แตกต่างกัน บางรุ่นนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ในบางรุ่น ทำงานด้านธุรกิจเพียงเท่านั้น

Bill Gates เป็นคนที่มองถึงปัญหานี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เพราะเขาใช้เวลาจำนวนมากในการแปลงซอฟต์แวร์จากคอมพิวเตอร์รุ่นหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกรุ่น เป็นประจำผ่านโปรแกรมภาษา Basic ที่เขาถนัด

แม้ IBM จะทำการปรับสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่อย่างการเกิดขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ในตระกูล system/360 ที่เริ่มหันมาใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกันไม่ว่าเครื่องจะรุ่นใหญ่รุ่นเล็ก และถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับ System/360

System/360 กับการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ของ IBM

แต่มันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการ Software โลก เพราะ ในขณะที่ IBM สร้าง System/360 ที่สามารถเข้ากันได้กับเครื่องหลาย ๆ รุ่นนั้น มันก็ได้เกิด การสร้างโปรแกรมเลียนแบบให้สามารถทำงานร่วมกับเครื่อง System/360 ของ IBM ได้นั่นเอง

และกลายเป็นว่าบริษัทหน้าใหม่อย่าง Control , Data , Hitachi , iTel ก็สามารถผลิตเครื่องเมนเฟรมที่ทำงานร่วมกันกับเครื่องของ IBM ได้ และสามารถทำราคาได้ถูกกว่าที่ IBM ทำ

ซึ่งแม้ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น Bill Gates ได้ก่อตั้ง Microsoft มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เขาก็ยังคงศึกษาอยู่ที่ Harvard ยังไม่ได้ลาออกแต่อย่างใด

และเป็นช่วงนี้เองที่เขาได้มาพบกับคู่หูคนสำคัญที่บทบาทกับ Microsoft ในอนาคตอย่าง Steve Ballmer ซึ่งเป็นเพื่อนใหม่ของ Gates ในวิชาเอกคณิตศาสตร์ที่เพิ่งได้รู้จักกันในปีแรกของการเรียนมหาวิทยาลัย

และสุดท้ายทั้งคู่ก็ได้มาพักในห้องเดียวกันที่หอพักในมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งมันเป็นความแตกต่างที่สุดขั้วระหว่าง Gates และ Ballmer เพราะ Ballmer นั้นเป็นชายหนุ่มที่พลังเหลือล้น และเป็นคนเข้าสังคมตัวยง ใช้เวลาในมหาวิทยาลัยอย่างคุ้มค่า เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เต็มที่

Ballmer นั้นเป็นทั้งผู้จัดการทีมฟุตบอล เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณาของหนังสือพิมพ์ Harvard Crimson ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ประจำของมหาวิทยาลัย Harvard รวมถึงยังเป็น ประธานวารสารวรรณกรรมของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ซึ่งมีสิ่งเดียวที่ทั้งคู่เหมือนกันก็คือ เป็นจอมโดดเรียนเหมือนกันทั้งคู่

สำหรับบริษัท Microsoft ของ Gates นั้นตั้งสำนักงานแห่งแรกในเมืองแอลเบอเคอร์กี มลรัฐนิวเม็กซิโก ในปี 1975 สาเหตุที่สำคัญเนื่องมาจากพวกเขาต้องการเข้าใกล้แหล่งผลิตเครื่อง Altair 8800 ซึ่งผลิตโดยบริษัท MITS ซึ่งเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่ผลิตชุดคอมพิวเตอร์ประกอบเอง

ซึ่งรายได้หลักช่วงแรก ๆ ของ Microsoft ก็มาจากการเขียน Software ให้ MITS นี่เอง โดย MITS นั้นจะให้ค่าลิขสิทธิ์ Software กับ Microsoft ที่ขายไปพร้อมกับเครื่อง Altair 8800 ตลอดจนให้พื้นที่บางส่วนในการเป็นสำนักงานกับบริษัทน้องใหม่อย่าง Microsoft

รายได้หลักในช่วงแรกของ Microsoft กับการขาย software ให้ Altair 8800 ของบริษัท MITS

ซึ่ง Model การขายตรงไปยังผู้ผลิต Hardware ถือเป็นส่วนสำคัญมากกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของ Microsoft เพราะ การขายตรงไปยังผู้ใช้งานนั้นมันเป็นเรื่องยาก และที่สำคัญยังมีปัญหาในเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะมักมีการลักลอบใช้งานจากผู้ใช้งานทั่วไปอยู่ในขณะนั้น

ซึ่งเป้าหลายหลักของ Microsoft ที่ Gates วางไว้นั้นอยู่ที่การเขียน Software ป้อนให้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นส่วนใหญ่ โดยจะไม่ไปเข้าร่วมในส่วนของการสร้างหรือขาย Hardware Computer โดย Gates นั้นยึดนโยบายการขายลิขสิทธิ์ให้ใช้ Software ของเขาในราคาที่ต่ำที่สุด และมองถึงปริมาณยอดขายในจำนวนมาก ๆ

ซึ่งกลยุทธ์ของ Gates นั้นได้ผลอย่างยอดเยี่ยม ซึ่งแทบจะกล่าวได้ว่า ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในตลาดเกือบทุกรายในขณะนั้น ซื้อลิขสิทธิ์ภาษา Basic ที่ใช้เขียนโปรแกรมจาก Microsoft แทบจะทั้งสิ้น

ซึ่งแม้ว่า Hardware ของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันเช่นไร แต่สามารถใช้โปรแกรมของ Microsoft ได้อย่างราบรื่น และการใช้งานร่วมกันได้นี้เองที่เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ที่เหล่าผู้ผลิต Hardware ส่วนใหญ่ต่างโฆษณากันว่า โปรแกรมของ Microsoft นั้นสามารถ ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ของพวกเขาได้

และเมื่อถึงปี 1977 บริษัท Apple , Commodore รวมถึง Radio Shack ก็ได้เริ่มเข้าสู่วงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดย Microsoft ก็ได้กลายเป็นผู้สร้างโปรแกรมภาษา Basic ให้กับเครื่องส่วนใหญ่ในขณะนั้นแทบจะทั้งหมด

Steve Jobs ที่ได้นำ Apple เข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

รวมถึงตลาดอีกแห่งที่สำคัญในเอเชียอย่าง ญี่ปุ่นก็ได้คู่ค้าที่สำคัญไปขยายตลาดในฝั่งเอเชียที่มีความต้องการสูงเป็นอย่างมากในช่วงเวลานั้นเพราะได้เกิดบริษัทขนาดใหญ่ขึ้นมามากมายพร้อม ๆ กับการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในขณะนั้น ทำให้ Microsoft ได้รับ อานิสงส์ไปเต็ม ๆ

และที่สำคัญตอนนี้ ภาษา Basic ของ Microsoft ได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรม Software ในขณะนั้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้ Gates ต้องลาออกจาการเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard เพื่อมุ่งมาที่ Microsoft แบบเต็มตัว

และเขาก็ได้ขยายทีมงานกว่าหลายสิบชีวิต เหล่าวิศวกรระดับเทพ โปรแกรมเมอร์มือฉมังมารวมตัวกันที่สำนักงานของ Microsoft พร้อมที่จะพา Microsoft พุ่งทะยานไปข้างหน้า และ Gates ก็ได้ชักชวนให้ Ballmer อดีต Roommate ของเขาที่ Harvard มาช่วยกับขับเคลื่อนธุรกิจ Microsoft แบบเต็มตัว เรียกได้ว่าตอนนี้ Microsoft มีกำลังพลที่พร้อมมาก ๆ ที่จะไปรบในศึกใหญ่

แถมชื่อของ Microsoft ก็ดังกระฉ่อนไปทั่วอเมริกา รวมถึงในญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้วอีกด้วย ดูเหมือนการเดินกลยุทธ์ครั้งนี้ของ Gates นั้นจะเห็นผลสำเร็จอย่างรวดเร็วมาก ๆ และตอนนี้ Microsoft นั้นพร้อมจะก้าวขึ้นไปอีกระดับแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นกับ Bill Gates และ Microsoft โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 3 : Deal with The Devil

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : https://www.channelbiz.es/wp/wp-content/gallery/steve-ballmer/01-ballmer.jpg

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jan Koum ผู้ก่อตั้ง WhatsApp ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่าละคร

Jan Koum เด็กน้อยชาวยิว เกิดในปี 1976 ที่เมือง Kiev เหมืองหลวงของประเทศ ยูเครน โดยแม่ของเขานั้น รับทำงานเป็นแม่บ้าน ส่วนพ่อของเขาเป็นผู้จัดการใน Site งานก่อสร้าง ต้องบอกว่าเป็นชีวิตที่ลำบากตั้งแต่วัยเยาว์ สำหรับ Jan Koum เนื่องจากประเทศยูเครนในขณะนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

Koum ได้เคยบรรยายเกี่ยวกับสภาพการใช้ชีวิตของเขาในวัยเด็ก โรงเรียนที่เขาเรียนตอนเด็กนั้น ไม่มีแม้กระทั่งห้องน้ำจะใช้ แถมอากาศของประเทศยูเครน ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุดที่หนึ่งของโลก บ้านของเขาแทบจะไม่มีไฟฟ้าใช้ และแน่นอนว่าเขาไม่สามารถอาบน้ำอุ่น ๆ ผ่านเครื่องทำน้ำอุ่นได้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ

หนีตายสู่ประเทศอเมริกา

และแน่นอนว่าด้วยสงครามที่มีความวุ่นวายในยูเครนในขณะนั้น ทำให้ครอบครัวของเขาต้องอพยพ ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ ณ เมืองเมาน์เทนวิว ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในตอนแรกนั้นพ่อของเขาไม่ได้ตามมาด้วย มีเพียงแค่เขากับแม่ของเขาเท่านั้น ที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศอเมริกา

แต่เหมือนโชคชะตาที่เล่นตลกกับเขาอีกครั้ง เพราะหลังจากย้ายมาอยู่อเมริกาไม่นาน แม่ของเขาก็ตรวจพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคมะเร็งและไม่สามารถออกไปทำงานได้ ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุได้เพียง 16 ปีเท่านั้น

ชีวิตของ Koum จึงต้องพึ่งสวัสดิการของรัฐ และ แสตมป์อาหาร ที่รัฐบาลแจกให้กับคนยากจน เพื่อมาประทังชีวิตไปวัน ๆ ให้ได้ และเพียงไม่นานหลังจากที่แม่เขาต่อสู้กับโรคร้ายอย่างมะเร็ง ก็เสียชีวิตลงในปี 2000 ขณะที่พ่อของเขานั้นเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1997 แล้ว คงเหลือเพียงตัวเขาเท่านั้นที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ชีวิตในประเทศอเมริกาเพียงคนเดียวเท่านั้น

เปลี่ยนความยากจนให้เป็นแรงผลักดันชีวิต

ความยากจน คือ สิ่งที่ทำให้เด็กหนุ่ม Koum ในวัย 18 ปี ที่เพิ่งเข้ามาใช้ชีวิตในอเมริกา ได้มีโอกาสศึกษาเรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ซึ่งเขาเรียนรู้จากหนังสือคู่มือที่ซื้อมาจากร้านหนังสือมือสอง

วัย 19 ปี Koum ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแซน โฮเซ (San Jose University) ในขณะที่ตอนกลางคืนทำงานให้กับบริษัท Ernst & Young ตำแหน่ง Security Tester

โดยในปี 1997 เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี Brian Acton ได้ชักชวนให้เขามาทำงานที่ Yahoo! ในตำแหน่ง Infrastructure Engineer

หลังจากได้งานที่ Yahoo! เพียง 2 อาทิตย์ มี Server ตัวหนึ่งของเว๊บไซต์ Yahoo เสีย David Filo หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Yahoo! ได้โทรตามตัว Koum ให้มาช่วยดู Server ตัวนั้น ซึ่งเขาตอบกลับไปว่ากำลังเรียนอยู่

Koum และ Acton ที่ก่อนจะกลายมาเป็นคู่หูสร้าง WhatsApp

แต่ Filo ซึ่งเป็นเจ้านายไม่สนใจ บังคับให้เขารีบมาที่ออฟฟิศโดยด่วน ซึ่งเหตุการณ์นี้นี่เองที่ทำให้ Koum ได้ตัดสินใจออกจากมหาวิทยาลัยกลางคัน เพื่อทำงานที่ Yahoo! แบบเต็มเวลา ซึ่งเขาก็ทำงานที่นี่ได้ 9 ปี จนเขาตัดสินใจลาออกในปี 2007

ก่อกำเนิด WhatsApp โปรแกรม Messenger ที่ใช้งานฟรี!

หลังจากออกจาก Yahoo และได้พักผ่อนไม่ได้ทำงานเป็นเวลา 1 ปี ต่อมาในปี 2009 พวกเค้าทั้งสองคนก็เกิดอยากทำงานอีกครั้งจึงไปสมัครงานที่ Facebook แต่ Facebook ไม่รับพวกเค้าเข้าทำงานอย่างไร้เยื่อใย

ในปี 2009 นั้นเอง Brian Acton และ Jan Koum ได้ซื้อ iPhone มาใช้ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้พวกเค้าเกิดไอเดียขึ้นมาทันทีว่า iPhone ที่มีระบบ App Store นี่แหละที่จะเป็นตัวเปลี่ยนอุตสาหกรรมซอฟแวร์ และ iPhone นี่แหละที่น่าจะต้องการใช้ระบบอะไรสักอย่างที่จะสามารถทำให้พวกเค้าติดต่อกับผู้ที่ใช้ BlackBerry ได้ พวกเค้าใช้เวลาคิดอยู่ไม่นานและชื่อ WhatsApp ก็เกิดขึ้นโดน Jan Koum นี่แหละที่เป็นผู้เลือกชื่อ เพราะมันฟังดูเหมือน What’s Up ดี

WhatsApp จึงถูกจดทะเบียนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ในปี 2009 และถูกปล่อยครั้งให้ใช้ครั้งแรกในเดือน พฤษภาคม ปีเดียวกันนั่นเอง แต่ก็ยังพบข้อผิดพลาดอยู่เยอะมาก ซึ่งเขาได้ให้พวกเพื่อน ๆ ของเขาช่วยกันทดสอบและหาข้อผิดพลาดของระบบให้มากที่สุด

และจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งนึงก็คือ ในปีนั้น Apple ได้ปล่อยฟีเจอร์ Push Notification ทำให้ WhatsApp ได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์นี้ไปเต็ม ๆ และเขายังพบว่าผู้ใช้บริการ WhatsApp ส่วนใหญ่นั้น จะใช้มันเหมือนเป็นแอพแชทมากกว่า

Push Notification ที่ Apple ได้ปล่อยออกมานั้นดูจะเข้าทาง Whatsapp เสียเหลือเกิน

ต้องบอกว่าในขณะนั้นบริการส่งข้อความฟรี มีเพียงแค่ BBM เท่านั้น ซึ่งจำกัดแค่สำหรับผู้ใช้งาน BlackBerry (BB) ด้วยกันเอง แม้จะมี G-Talk ของ Google และ Skype ที่ถูก Microsoft ซื้อมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่ WhatsApp นั้นแตกต่าง เพราะใช้เพียงแค่เบอร์โทรศัพท์ในการ Login ซึ่งความแตกต่างนี้มาจากการตระหนักเรื่อง Privacy ในวัยเด็ก ทำให้ WhatsApp ไม่มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้เลยในช่วงแรกของการพัฒนา ทำให้ผู้ใช้มั่นใจที่จะใช้ WhatsApp เป็นอย่างมาก แตกต่างจากบริการอื่น ๆ ที่มุ่งเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เพื่อไปหาเงินอีกทางหนึ่ง

ดังนั้นพวกเขาจึงรีบพัฒนา Features ต่อทันทีและเมื่อ WhatsApp 2.0 ที่รองรับการแชทถูกปล่อยออกมา ปรากฏว่าได้มีผู้ใช้งานเข้ามาอย่างถล่มทลายถึง 250,000 คน เขาจึงชักชวนให้ Acton มาช่วยกันพัฒนาและทำให้มันกลายเป็นธุรกิจที่จริงจังเสียที

No Ads, No Games ,  No Gimmicks

ต้นปี 2011 WhatsApp ติดอันดับ Top 20 ใน App Store ของอเมริกา และสองหนุ่มเริ่มมองหาเงินทุนสำหรับการเติบโต มีนักลงทุนหลายรายให้ความสนใจ โดยเหล่านักลงทุนก็พยายามเกลี้ยกล่อมให้ WhatsApp ใช้โฆษณาเป็น Business Model ซึ่งสองผู้ก่อตั้งปฏิเสธ เพราะเกลียดโฆษณา ดังนั้นที่โต๊ะทำงานของ Koum จึงมีกระดาษแผ่นหนึ่งแปะไว้ว่า No Ads! No Games! No Gimmicks! นั่นเอง

No Ads , No Games , No Gimmicks concept หลักของ Whatsapp

ถูก Facebook ซื้อไปมูลค่ากว่า 1.9 หมื่นล้านเหรียญ!!!

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2013 WhatsApp มีผู้ใช้งานทั่วโลกประมาณ 200 ล้านคน มีพนักงาน 50 คน และมีการระดมทุนเพิ่มจาก Sequoia บริษัทด้านการลงทุนชื่อดังใน Silicon Valley จำนวน 50 ล้านเหรียญ ทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 1.5 พันล้านเหรียญ

และในเดือน ธันวาคม ปีเดียวกันนั้นเองที่ WhatsApp เติบโตจนมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 450 ล้านคนต่อเดือน ซึ่งเร็วกว่าบริการ Social Network ทุกตัวในตอนนั้น ซึ่งจำนวนผู้ใช้ที่มหาศาลก็ไปเข้าตา Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook จนขอเข้าซื้อกิจการในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 ด้วยเงินจำนวน 1.6 หมื่นล้านเหรียญ พร้อมหุ้นประเภทจำกัดสิทธิ์อีก 3 พันล้านเหรียญ ทำให้ Koum และ Acton กลายเป็นมหาเศรษฐีหน้าใหม่ทันทีจากการถือหุ้น 45% และ 20% นั่นเอง

ซึ่งเมื่อเรามามองถึงอัตราการเติบโตของ users ของ WhatsApp ก็ค่อนข้างน่าตกใจว่า 4 ปีแรกนั้น whatsapp นั้นสร้างฐานการเติบโตของ User ได้ดีกว่าเจ้าของใหม่อย่าง (facebook) เสียอีกซึ่งถือว่าดีสุดในบรรดา social network ต่าง ๆ  ที่มีมาในประวัติศาสตร์วงการเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้

ซึ่งตัวเลขพวกนี้คงเป็นตัวเลขที่สำคัญที่ทำให้ facebook นั้นได้ทุ่มทุนขนาดนี้แล้วค่อยมาหารูปแบบ business model ในภายหลังซึ่งก็เหมือนกับที่ google ทุ่มทุนซื้อ youtube ในอดีตตอนนั้นกว่า 1.6 พันล้านเหรียญ ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้น

แต่ตอนนี้คนก็คงไม่ต้องสงสัยกันแล้ว google มองเกมส์ขาดมากในตอนนั้นที่รีบซื้อ youtube เข้ามา ซึ่งถ้าตีมูลค่าตอนนี้ youtube นี่คงทะลุ 2 หมื่นล้านเหรียญเข้าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งหากวิเคราะห์จริง ๆ เราก็พอมองเห็นในอนาคตว่า บริษัทด้านซอฟแวร์ ที่เน้นไปที่การเก็บข้อมูล User Data จะมีมูลค้าที่สูงกว่า hardware ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเป็นผู้ takeover กิจการของบริษัท hardware ทั้งหลายแทน โดยเฉพาะเหล่าบริษัทที่มี data ข้อมูลผู้ใช้งานซึ่งตีมูลค่าได้มหาศาลนั่นเองครับ

References :
http://www.forbes.com/sites/parmyolson/2014/02/19/exclusive-inside-story-how-jan-koum-built-WhatsApp-into-facebooks-new-19-billion-baby/
http://www.wired.co.uk/news/archive/2014-02/19/WhatsApp-exclusive
https://en.wikipedia.org/wiki/WhatsApp
https://en.wikipedia.org/wiki/Jan_Koum
https://www.cnbc.com/2018/01/19/how-jan-koum-got-the-idea-for-whatsapp.html
https://i.ytimg.com/vi/k7Q59an0kME/hqdefault.jpg