Excite กับการปฏิเสธซื้อ Google ในมูลค่าเพียง 1 ล้านเหรียญ

ถือเป็น Business Case Study ครั้งยิ่งใหญ่ในวงการเทคโนโลยีโลกเลยก็ว่าได้สำหรับการปฏิเสธการเข้าซื้อ Google ของ Excite ในปี 1999 ก่อนที่ Google จะท้อใจในการขายกิจการและสองผู้ร่วมก่อตั้งที่ต้องทิ้งการเรียนมาสร้างธุรกิจจนกลายเป็นธุรกิจแสนล้านอย่างในปัจจุบัน

Excite เปิดตัวในปี 1995 มาแข่งกับ Yahoo เว๊บไซต์ยักษ์ใหญ่ที่เป็นพอร์ทัล ที่ผู้ใช้งานสามารถรับข่าวสารสภาพอากาศ เครื่องมือค้นหา การจัดการอีเมล รวมถึงการส่งข้อความ ราคาหุ้น และหน้าแรกของผู้ใช้ที่ปรับแต่งได้

ซึ่งแน่นอนว่าในขณะนั้นมันเป็นเหมือนตัวตายตัวแทนของหนังสือพิมพ์ เพื่อให้เห็นภาพว่า Excite มีขนาดใหญ่เพียงใด ต้องบอกว่ามันเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลกในปี 1996

และในปี 2000 Excite เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 4 ของโลก Excite ได้เจรจาข้อตกลงกับ AOL ที่ AOL ตกลงที่จะทำให้ Excite เป็นบริการค้นหาหลักและบริการไดเรกทอรีพิเศษของ AOL

Excite ที่เป็นเว๊บไซต์ยักษ์ใหญ่ของโลกในขณะนั้น
Excite ที่เป็นเว๊บไซต์ยักษ์ใหญ่ของโลกในขณะนั้น

ซึ่งหากยังจำกันได้ AOL ในขณะนั้นถือว่าเป็นเว๊บไซต์ที่ยิ่งใหญ่มาก ๆทำให้ดีลนี้เป็นดีลที่ยิ่งใหญ่และมีความพิเศษอย่างมากสำหรับ Excite โดยในปี 1999 Excite ถูกซื้อโดยเครือข่ายของบริษัท @Home

การควบรวมกิจการของ บริษัท เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสองรายนี้เป็นหนึ่งใน บริษัท ที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้นและมันควรจะเป็นจุดเปลี่ยนของวงการอินเตอร์เน็ตในขณะนั้น โดย หลังจากการควบรวมกิจการ ทำให้บริการของ Excite นั้นยิ่งใหญ่มากโดย Excite ได้เข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้กับบริการต่าง ๆ มากมายทั่วสหรัฐอเมริกา

แต่การควบรวมกิจการดังกล่าวได้กลายเป็นหายนะ ด้วยการโฆษณาออนไลน์ที่ลดลงในขณะที่รายได้ของเครือข่ายเคเบิลและอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ซึ่งในเวลาไม่ถึง 2 ปีหลังจากการควบรวมกิจการ Excite และ @ home ต้องยื่นฟ้องล้มละลายและต้องทำการขายเครือข่ายใยแก้วนำแสงความเร็วสูงให้กับ AT&T ในที่สุด

แต่เรื่องราวด้านหนึ่งได้เกิดขึ้นและจะเปลี่ยนโลกของเทคโนโลยีอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนโดยในปี 1999 (ก่อนการควบรวมกิจการ Excite และ @Home) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสองคนชื่อ Sergey Brin และ Larry Page ตัดสินใจว่าโครงการด้านเล็ก ๆ ของพวกเขาที่รู้จักกันในนาม Google

ซึ่งในขณะนั้นพวกเขาไม่พร้อมที่จะออกมาทำธุรกิจ เนื่องจากเวลาเรียนที่มากเกินไปของทั้งสองผู้ก่อตั้ง โดยพวกเขาได้ไปที่ Excite และเสนอขาย Google ให้กับ Excite มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ Excite ปฏิเสธข้อเสนอ

Vinold Khosla ผู้ร่วมทุนทุน Excite จากนั้นเจรจากับ Brin และ Page เพื่อขอลดราคาขาย Google ให้ Excite ในราคา 750,000 ดอลลาร์เท่านั้น และ George Bell CEO ของ Excite ยังคงปฏิเสธข้อเสนอ ดังกล่าวอย่างไม่ใยดี

สองหนุ่มคู่หูจาก สแตนฟอร์ด ที่ยื่นข้อเสนอพิเศษแต่โดนปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย
สองหนุ่มคู่หูจาก สแตนฟอร์ด ที่ยื่นข้อเสนอพิเศษแต่โดนปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย

ซึ่งเหตุผลที่ Excite ไม่ต้องการทำข้อตกลงดังกล่าว คือ รายละเอียดของสัญญาที่ Page และ Brin เสนอมาก็คือ Excite ต้องแทนที่เทคโนโลยีการค้นหาด้วย Google นั่นเอง ซึ่งพวกเขามองเป็นโปรเจคนักศึกษาเพียงเท่านั้น ไม่ได้เห็นศักยภาพที่แท้จริงของ Google แต่อย่างใด

แต่ในวันนี้อย่างที่เราได้ทราบ ๆ กัน Google มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านเหรียญ ซึ่งเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งใน icon ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

ในทางตรงกันข้ามในตอนนี้ Excite ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเว็บไซต์อันดับที่ 3616 ในสหรัฐอเมริกา กลายเป็นเว๊บไซต์ขนาดเล็ก ๆ ธรรมดา ๆ ในที่สุดอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

ข้อผิดพลาดเกิดขึ้น:

แน่นอนว่าหากลองมองในทางธุรกิจ หากคุณมีความสามารถในการซื้อ บริษัท คู่แข่งขันที่มีศักยภาพไม่ว่าคุณจะทำเงินได้แค่นิดเดียวในขณะนั้น แต่มันเป็นการกำจัดการแข่งขันในอนาคตใช่หรือไม่?

มันเคยมีบทเรียนครั้งสำคัญของนักธุรกิจที่ยิ่งใหญ่อย่าง John D. Rockefeller ซึ่งทำให้ บริษัท สแตนดาร์ดออยล์เป็น บริษัท ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในการไล่ซื้อกิจการคู่แข่งไม่ว่าจะเล็กจะใหญ่ขนาดไหน เพราะต้องการทำให้ สแตนดอร์ดออยส์ ผูกขาดตลาดนั่นเอง

ความจริงที่ว่า Google ได้เสนอให้ Excite อีกครั้งด้วยจำนวนเงินที่น้อยลงและยังคงถูกปฏิเสธมันถือว่าเป็นความผิดพลาดซ้ำสองที่ไม่น่าให้อภัยเป็นอย่างยิ่ง

แม้ตัวเพจและบรินวางข้อตกลงเกี่ยวกับข้อเสนอที่ทำให้ยากต่อการยอมรับ แต่การที่ George Bell ปฏิเสธข้อเสนอเพียงเพราะ Google ยืนยันว่า Excite ใช้เครื่องมือค้นหาของตนมันดูเหมือนเป็นวิธีการคิดที่ผิดมหันต์

ซึ่งแน่นอนว่า George Bell อาจจะคิดอย่างดีแล้วว่าเสิร์ชเอ็นจิ้นของพวกเขาอย่าง Excite ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของเว็บไซต์ในโลกในขณะนั้น ทำไมจึงควรเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เพื่อฟังนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบจากสแตนฟอร์ดด้วยซ้ำ

ซึ่งการคิดแบบนั้นทำให้ Excite ประมาทและไม่คิดเปลี่ยนแปลง ในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างอินเตอร์เน็ต ไม่มีทดลองใด ๆ ของ Excite ในการใช้ Google มาเป็นโปรแกรมค้นหาดูก่อนเลยด้วยซ้ำ

ซึ่งพวกเขาควรลองใช้ดูเพื่อดูว่ามันดีแค่ไหนและมันจะทำให้ Excite ดีขึ้นได้อย่างไร Excite ทำข้อผิดพลาดมากมายตลอดประวัติศาสตร์ของบริษัท แต่ไม่สำคัญมากไปกว่าการปฏิเสธการเข้าซื้อ Google ในราคาที่ต่ำและต่ำมาก ๆ เพียงแค่ 750,000 ดอลลาร์ เท่านั้น ซึ่งอาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าบริษัทของพวกเขาไปตลอดกาล ก็เป็นได้ครับ

References : https://mwmblog.com

Movies Review : AD Astra ภารกิจตะลุยดาว

ดูเหมือนจะเป็นหนัง Sci-Fi ที่น่าสนใจเรื่องนึงเลยทีเดียวนะครับสำหรับ AD Astra ภารกิจตะลุยดาว ที่ได้ดาราระดับตัวพ่ออย่าง แบรด พิตต์ มาแสดงนำ เรื่องนี้ต้องบอกว่า ถ้าดูจาก Trailer นั้น ยังไม่เป็นที่น่าสนใจมากนัก แต่พอดีผมมีเวลาจังหวะว่าง แหละเหลือหนังเรื่องนี้เรื่องเดียวที่สามารถดูได้ จึงขอเข้าไปชมผลงานของ แบรด พิตต์ เสียหน่อย

สำหรับ “Ad Astra” กำกับฯโดย เจมส์ เกรย์ เขียนบทฯโดย อีธาน กรอส นำแสดงโดย แบรด พิตต์, ทอมมี่ ลี โจนส์, โดนัล์ด ซูเธอร์แลนด์, จอห์น ออร์ทิส, เจมี่ เคนเนดี้ และรูธ เนกก้า กับเรื่องราวของนักบินอวกาศ รอย แม็คไบรด์ (แบรด พิตต์) ต้องรับหน้าที่ทำภารกิจสำคัญที่สุดในชีวิต นั่นก็คือการเดินทางข้ามระบบสุริยจักรวาล เพื่อตามหาพ่อผู้เป็นที่รักที่หายตัวไปอย่างลึกลับ ซึ่งสาเหตุนั้นอาจข้องเกี่ยวกับปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้ และเป็นความลับที่คุกคามการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษยชาติบนโลกของเรา

เรียกได้หว่า หนังปูเรื่องมาได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว แม้การแสดงของ แบรด พิตต์ จะดูนิ่ง ๆ ผิดปรกติอยู่บ้างสำหรับหนังเรื่องนี้ แต่มันได้แสดงให้เห็นถึงอนาคตในจินตนาการที่แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอนสำหรับเนื้อเรื่องของหนังเรื่องนี้

ตัวอย่างการมีบริการบินพานิชย์ ไปยังดวงจันทร์นั้น ผมว่าในอนาคตใกล้ ๆ นี้เราอาจจะได้เห็นธุรกิจนี้แบบจริง ๆ จัง หลังจาก Elon Musk นั้น มีความทะเยอทะยาน ที่จะพาเราไปตั้งอาณานิคมนอกโลกกันอยู่ และที่สำคัญมันเป็นธุรกิจที่ทำด้วยบริษัทเอกชนอย่าง SpaceX นั่นเองครับ

และหนังเรื่องนี้ยังได้รับคำชมจากเหล่านักวิจารณ์ที่ดี ถึงดีมาก ต้องบอกว่า ใครชอบก็ชอบเลย แต่ใครไม่ชอบนี่ อาจจะหลับได้เลย หลังจากที่ได้อ่านกระแสในโลกออนไลน์ไทยนั้น พบว่าไปในทางไม่ชอบเสียมากกว่า

แต่สำหรับตัวผมเองที่หลงใหลในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงอินกับความคิดของ Elon Musk มาก ๆนี่ต้องบอกว่าเป็นหนังที่ชอบเลยทีเดียว มันเป็นการผสมเรื่องราวของความเป็น Sci-Fi และ Drama ความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อย่างลึกซึ้งจริง ๆ

แม้มันจะดูเหมือนดำเนินเรื่องอืด ๆ และแทบจะไม่มีเนื้อหาใด ๆ แต่ต้องบอกว่ามันรู้สึกแปลก ถ้าเทียบกับหนังด้านอวกาศอื่น ๆ ที่เคยสร้างมา มันให้ความรู้สึกใหม่ของการดูหนัง Sci-Fi ที่เกี่ยวกับอวกาศ และ Concept ของโลกอนาคตที่ดูไม่เว่อร์ไป และดูจะใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกทีนั่นเอง

แต่ข้อเสียของหนังเรื่องนี้คือ ตัวแบรด พิตต์ เองที่รับบทนำ ผมมองว่าแกเล่นนิ่งเกินเหตุไป มันดูไม่สมจริงไปหน่อย มันดูแข็ง ๆ ยังไงชอบกล ( อยากให้ลองไปดูกันเองอธิบายไม่ค่อยถูก) และ ความสมจริงบางอย่างในเรื่องอวกาศ เมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ มีหลายจุดที่มันดู ไม่ make sense เลย

และที่สำคัญมันเป็นหนังที่เดาตอนจบของเรื่องได้ง่ายมาก ๆ ไม่มีพลิกโผอะไรแทบจะทั้งสิ้น ซึ่งผมจินตนาการตอนจบไว้อีกแบบ และลุ้นให้มันเป็นแบบนั้น แต่มันก็ไม่เกิดขึ้นจริง สรุปก็คือ หนังเรียบง่าย Sci-Fi Drama ที่คุณเดาตอนจบของหนังได้อย่างง่าย ๆ นั่นเอง

แต่จุดที่ผมชอบก็อย่างที่กล่าวไป มันแสดงให้เห็นอนาคต ที่มีความเป็นไปได้มาก ๆ และมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ในช่วงชีวิตเราได้อย่างแน่นอน ทำให้เกิดจินตนาการว่าเมื่อถึงตอนนั้นจริง ๆ อนาคตของมนุษย์ชาติของเราจะเป็นอย่างไรต่อไป ก็ถือว่าไม่เสียดายนะครับที่ได้มีโอกาสดูหนังเรื่องนี้ อยากให้ไปสนับสนุนกันเยอะ ๆ ครับ เพราะตอนนี้ไม่มีหนังฟอร์มใหญ่เข้าซักเท่าไหร่ Ad Astra น่าจะเป็นตัวเลือกนึงที่สนใจของคอหนัง Sci-Fi ที่ไม่ควรพลาดครับผม