เหตุใด Generation Z จึงตกหลุมพรางข้อมูล fake news ทางแพลตฟอร์มออนไลน์มากที่สุด

ต้องบอกว่าเป็นงานวิจัยจากบทความของ MIT Technology Review ที่น่าจะขัดกับความเชื่อของหลาย ๆ คน ที่กล่าวว่าคนยุคใหม่โดยเฉพาะ Gen Z นั้นกลายเป็นเหยื่อมากที่สุดของการเผยแพร่ข้อมูล Fake News บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในโลกออนไลน์

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เมื่อเด็กสาววัยรุ่นมองกล้องอย่างจริงจัง เฟรมสั่นไหวขณะที่เธอเอียงโทรศัพท์ไปที่ใบหน้าของเธอ คำบรรยายภาพที่ซ้อนทับบนเสื้อฮู้ดของเธอมีคำเตือนที่สุดโต่งมาก ๆ : หากโจ ไบเดนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา “ทรัมป์” จะสังหารหมู่ LGBT และคนผิวสีจำนวนมาก 

คำอธิบายภาพอีกอย่างหนึ่งใต้วีดีโอกล่าวว่า “นี่คือ ww3 จริงๆ” วิดีโอนั้นถูกโพสต์บน TikTok เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2020 และมีคนกดถูกใจมากกว่า 20,000 ครั้ง ในช่วงเวลานั้น คนหนุ่มสาวอีกหลายสิบคนได้ share คำเตือนที่คล้ายคลึงกันบนโซเชียลมีเดีย และโพสต์ของพวกเขาก็มีคนเข้ามาดู ชอบ และแสดงความคิดเห็นหลายแสนคน

เห็นได้ชัดว่ามันเป็นเรื่องเท็จแทบจะทั้งสิ้น แล้วเหตุใดจึงทำให้คนในยุค Generation Z จำนวนมาก ที่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 9 ถึง 24 ปีซึ่งน่าจะเข้าใจโลกดิจิทัลมากกว่าคนรุ่นก่อนจึงเสพข้อมูลผิด ๆ อย่างโจ่งแจ้ง?

นักวิจัยจาก Stanford Internet Observatory ได้ทำการวิเคราะห์การแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดทางออนไลน์ โดยได้มีการศึกษาแคมเปญต่างๆ จากต่างประเทศบนโซเชียลมีเดียและตรวจสอบว่าข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งปี 2020 และวัคซีนโควิด-19 แพร่ระบาดไปในโลกออนไลน์ได้อย่างไร 

ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจจากงานวิจัยพบว่าคนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเชื่อและส่งต่อข้อมูลที่ผิดๆ มากขึ้น หากพวกเขารู้สึกถึงตัวตนที่เหมือนกันกับบุคคลที่แบ่งปันข้อมูลนั้นตั้งแต่แรก

เมื่อวันรุ่นจะตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อถือได้ และสิ่งใดควรเพิกเฉยหรือตั้งข้อสงสัย วัยรุ่นมักจะใช้บริบทจากความเชื่อมโยงทางสังคมและชื่อเสียงส่วนบุคคลที่พัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ที่แบ่งปันกันมานานหลายปี ซึ่งทำให้พวกเขารู้ว่าสมาชิกครอบครัว เพื่อน และ influencer คนใดที่พวกเขาจะเชื่อได้ 

ผู้มีอิทธิพลหรือเหล่า influencer จึงกลายเป็นผู้ส่งสารที่เชื่อถือได้ในหัวข้อที่พวกเขาแทบจะไม่มีความเชี่ยวชาญ จากการสำรวจของ Common Sense Media วัยรุ่น 60% ที่ใช้ YouTube เพื่อติดตามเหตุการณ์ปัจจุบันหันไปหา influencer มากกว่าองค์กรข่าวที่มีความน่าเชื่อถือกว่า 

เหล่าครีเอเตอร์ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับวัยรุ่น ข้อมูลต่าง ๆ ของพวกเขาจะถูกยกระดับกลายเป็นเรื่องจริงที่น่าเชื่อถือแทบจะทั้งหมด ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องจริง ๆ อย่างยากเย็นแสนเข็ญ

คนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเชื่อและส่งต่อข้อมูลที่ผิดๆ มากขึ้น หากพวกเขารู้สึกถึงตัวตนที่เหมือนกันกับบุคคลที่แบ่งปันข้อมูลนั้นตั้งแต่แรก

ส่วนใหญ่เป็นข่าวลือเรื่องแผนการใช้ความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง บุคคลที่ share คำเตือนเหล่านี้นั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับผู้ฟังอย่างลึกซึ้ง หลายคนเป็นคนผิวสีและเป็น LGBT อย่างเปิดเผย

และโพสต์ต่างๆ ของเหล่า influencers มักเป็นหัวข้อที่วัยรุ่นคุ้นเคย เช่น ความขัดแย้งในครอบครัวและการดิ้นรนต่อสู้ในชั้นเรียน ความรู้สึกของประสบการณ์ร่วมกันนี้ทำให้พวกเขาเชื่อได้ง่าย แม้ว่าจะไม่ได้มีการเสนอหลักฐานใดๆ สำหรับเรื่องราวเหล่านั้นก็ตามที

สิ่งที่ทำให้เรื่องแย่ลงไปอีกคือข้อมูลที่ล้นเกินไปในยุคปัจจุบันที่ผู้คนจำนวนมากต้องเจอบนโซเชียลมีเดีย นั่นเองเป็นเหตุผลให้เราไว้วางใจและแบ่งปันข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำกว่า ข่าวลือเรื่องการเลือกตั้งปรากฏขึ้นท่ามกลางโพสต์อื่นๆ อีกหลายสิบโพสต์ในฟีด TikTok ของวัยรุ่น

นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่มีเวลาคิด ไตร่ตรอง วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการข้อมูลในแต่ละครั้ง ความพยายามใด ๆ ที่จะท้าทายข่าวลือนั้นถูกโจมตีด้วยการแสดงความคิดเห็นแย้งแทบจะในทันที

ในขณะที่คนหนุ่มสาวมีส่วนร่วมในการอภิปรายทางการเมืองในแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น และดึงดูดผู้คนที่มีความคิดเหมือนๆ กัน เข้ามาสนทนาในหัวข้อเดียวกัน แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะมีศักยภาพที่จะให้อำนาจแก่กลุ่มคนชายขอบ แต่ก็ทำให้เกิดภัยคุกคามของข้อมูลผิดที่แพร่ระบาดไปในโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้สุดท้ายผู้คนที่รวมกันเป็นหนึ่งด้วยอัตลักษณ์เดียวกันจะพบว่าตนเองอ่อนแอต่อการได้รับข้อมูลผิด ๆ นั่นเอง

แล้วใครควรรับผิดชอบ? 

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสามารถใช้อัลกอริธึมการแนะนำที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายข้อมูลมากกว่าโพสต์ที่เป็นคลิกเบต นักข่าวต้องยอมรับว่าผู้อ่านจำนวนมากได้รับข่าวจากโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่มองผ่านเลนส์ของอัตลักษณ์ของพวกเขาเป็นหลัก

ผู้กำหนดนโยบายต้องควบคุมแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและผ่านกฎหมายเพื่อจัดการกับข้อมูลที่ผิดทางออนไลน์ และนักการศึกษาก็ต้องมีการสอนนักเรียนให้ประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลของพวกเขาได้

ต้องบอกว่าการสนทนา ถกเถียง ในโลกออนไลน์ที่มีข้อมูลพรั่งพรูมากจากแหล่งต่าง ๆ มากมายในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และอันตรายของข้อมูลที่ผิดสามารถเติมเชื้อเพลิงไฟความขัดแย้งให้แพร่กระจาย อย่างที่กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกในตอนนี้นั่นเองครับผม

References :
https://www.nature.com/articles/s41562-017-0132
https://www.technologyreview.com/2021/06/30/1026338/gen-z-online-misinformation/
https://www.livingly.com/Things+Gen+Z+Does+That+Annoy+Millennials
https://www.commonsensemedia.org/about-us/news/press-releases/new-survey-reveals-teens-get-their-news-from-social-media-and-youtube


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube