เมื่อ AI เข้ามาเปลี่ยนสนามรบ ยูเครนใช้ AI ต่อสู้กับรัสเซียอย่างไร

ความน่าสนใจของสงครามยุคใหม่ที่กำลังบังเกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ คงหลีกหนีไม่พ้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังเข้ามาบทบาทมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีด้าน AI

เราได้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเริ่มขึ้นในสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ดูเหมือนจะยืดเยื้อมานาน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์การสู้รบในพม่าในตอนนี้ เรากำลังเห็นภาพโลกสงครามในอนาคตว่าผู้ที่มีกำลังทหารที่เยอะกว่าไม่ได้หมายถึงว่าจะชนะในการรบยุคใหม่เสมอไป

มันกลายเป็นว่าจุดชี้ขาดชี้เป็นชี้ตายของสงครามวัดกันด้วยเทคโนโลยีล้วน ๆ ที่ทำให้ทุกอย่างมันมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยใช้กำลังพลหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ที่น้องลง

ในช่วงก่อนที่ยูเครนจะโจมตีด้วยจรวดเข้าใส่สะพานอันโตนอฟสกี้ ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองเคอร์ซอนที่ถูกรัสเซียยึดครองไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำดนีปโร

เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของยูเครนได้ศึกษารายงานพิเศษอย่างรอบคอบ ในช่วงฤดูร้อนของปี 2022 ในขณะที่รัสเซียพึ่งพาสะพานนี้เป็นอย่างมากในการเติมสเบียงและกองหนุนให้กับกำลังทหารฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดนีปโร

สะพานอันโตนอฟสกี้ ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองเคอร์ซอนที่ถูกรัสเซียยึดครองไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำดนีปโร (CR:Structurae)
สะพานอันโตนอฟสกี้ ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองเคอร์ซอนที่ถูกรัสเซียยึดครองไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำดนีปโร (CR:Structurae)

โดยรายงานดังกล่าวนี้ศึกษาถึงสองเรื่องที่สำคัญก็คือ : การทำลายสะพานจะทำให้ทหารรัสเซียขวัญเสียหรือไม่ ? และที่สำคัญกว่านั้นรัฐบาลยูเครนจะทำอย่างไรเพื่อให้แผนการนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อขวัญและกำลังใจของศัตรูอย่างรัสเซีย ?

และนั่นคือวิธีที่ Sviatoslav Hnizdovsky ผู้ก่อตั้ง Open Minds Institute (OMI) ในกรุงเคียฟ อธิบายถึงงานวิจัยที่หน่วยงานของเขาได้ทำมา

พวกเขาใช้การประเมินสิ่งต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี AI ซึ่งอัลกอริธึมได้ทำการค้นหาข้อมูลจำวนมหาศาลในโลกโซเชียลมีเดียของรัสเซีย หรือแม้กระทั่งข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ตั้งแต่การบริโภคแอลกอฮอล์และการเคลื่อนย้ายประชากรไปจนถึงการค้นหาบนโลกออนไลน์

AI จะเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกับความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของชาวรัสเซียต่อความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับทหารแนวหน้าของพวกเขา

ต้องบอกว่างานวิจัยชิ้นนี้มีความสำคัญมาก ๆ ต่อยุทธศาสตร์การรบของยูเครน ซึ่งการโจมตีสะพานเคิร์ชที่เป็นเส้นทางลำเลียงทางบกเพียงเส้นทางเดียวระหว่างรัสเซียและไครเมีย

และสิ่งที่น่าสนใจก็คือเทคโนโลยีที่กำลัง hot hit อย่าง ChatGPT เองมันก็กำลังถูกใช้ในแวดวงสงครามแบบเต็มตัวเช่นเดียวกัน

ยูเครนซึ่งถ้าเทียบด้านสรรพกำลังทั้งทางอาวุธและกองกำลังทหารนั้นมีความเสียเปรียบรัสเซียอยู่มาก

พวกเขาจึงมองหาช่องทางการใช้ AI ในรูปแบบต่าง ๆ โดยทหารยูเครนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาวุธได้กล่าวว่า ผู้ออกแบบโดรนมักจะใช้ ChatGPT เป็นจุดเริ่มต้นในการหาแนวคิด เช่น เทคนิคใหม่ ๆ เพื่อลดศักยภาพของทางฝั่งรัสเซีย

การใช้ AI อีกรูปแบบหนึ่งของทหารยูเครนคือการกำหนดเป้าหมาย ในขณะที่เหล่าทหารและบล็อกเกอร์ด้านทหารมีความระมัดระวังมากขึ้นในการโพสต์สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับสงคราม

การใช้ ChatGPT กับโดรนเพื่ออกแบบวิธีใหม่ ๆ (CR:Analytic Insight)
การใช้ ChatGPT กับโดรนเพื่ออกแบบวิธีใหม่ ๆ (CR:Analytic Insight)

และด้วยการที่มีการนำเข้าภาพและข้อความจำนวนมากผ่านโลกออนไลน์ ทำให้ AI สามารถค้นพบเบาะแสที่อาจเป็นไปได้ และนำมาวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งของระบบอาวุธและกองกำลังของรัสเซีย

Molfar บริษัทด้านข่าวกรอง ซึ่งมีสำนักงานในเมืองดนีโปรและกรุงเคียฟสามารถค้นพบเป้าหมายทางการทหาร 2-3 เป้าหมายต่อวัน และส่งข่าวสารไปให้กองทัพยูเครนอย่างรวดเร็ว ทำให้บางเป้าหมายได้ถูกทำลายลงไป

การระบุเป้าหมายยังได้รับการช่วยเหลือจาก AI ในรูปแบบอื่น ๆ SemanticForce บริษัทที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงเคียฟและเมืองเทอร์โนพิล พัฒนาแบบจำลองที่สามารถตรวจสอบข้อความและรูปภาพออนไลน์ คล้ายกับบริการด้าน Social Listening

เดิมทีระบบดังกล่าวใช้สำหรับลูกค้าองค์กรธุรกิจเพื่อเฝ้าระวังและคอย monitor ความรู้สึกของสาธารณะชนที่มีต่อแบรนด์ของตน

ในขณะที่ Molfar ใช้แบบจำลองดังกล่าวเพื่อกำหนดพื้นที่ที่กำลังทหารของรัสเซียน่าจะมีขวัญและกำลังใจตกต่ำ ซึ่ง AI จะทำการค้นหาเบาะแสต่าง ๆ จากภาพซึ่งรวมถึงจากกล้องของโดรนและจากข้อความของทหารรัสเซียที่ทำการบ่นบนโซเชียลมีเดีย

Molfar ใช้ AI ของ SemanticForce เพื่อคอย monitor เกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มอาสาสมัครรัสเซียที่คอยระดมทุนและเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับแนวหน้าของสงครามที่กำลังขาดแคลน

บางครั้งทีมวิเคราะห์ก็ใช้ซอฟต์แวร์ที่ปลอมแปลงเสียงเพื่อโทรหากลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ และแสร้งเป็นคนรัสเซียที่ต้องการบริจาค

มีการใช้ AI ของบริษัทจากอเมริกาอย่าง Palantir ของ Peter Thiel ที่เป็นการวิเคราะห์ข่าวกรองเชิงลึก ที่สามารถหาความเชื่อมโยงจากชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่น ข้อมูลของชายผู้หย่าร้างที่มีหนี้สิน และเสี่ยงที่จะเสียบ้านและสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร เขาได้เปิดบัญชีธนาคารในต่างประเทศ และถูกพบว่าสัญญาณโทรศัพท์อยู่ใกล้แหล่งที่มีการโจมตีด้วยจรวดในภายหลัง

Palantir ของ Peter Thiel นักลงทุนชื่อดังของ silicon valley (CR:WSJ)
Palantir ของ Peter Thiel นักลงทุนชื่อดังของ silicon valley (CR:WSJ)

นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ AI จะทำการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม หากชายคนนั้นมีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย และเริ่มรับสายจากบุคคลที่มี Profile ที่สูงกว่า AI ก็จะเพิ่มระดับความเสี่ยงให้กับชายคนดังกล่าวทันที

ต้องบอกว่าการใช้เทคโนโลยี AI ของยูเครนนั้นมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง Volodymyr Zelensky ประธานาธิบดีของยูเครนได้สั่งลุยให้มีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในด้านความมั่นคงแห่งชาติในเดือนพฤศจิกายน 2019

ผลที่ได้คือ แบบจำลองการรบที่มีกลยุทธ์ ซึ่งถูกสร้างและใช้งานโดยกลุ่มผู้นำทางด้านการทหารตัวจริงเสียงจริงผ่านทางศูนย์ที่เรียกว่า ศูนย์ปฏิบัติการประเมินภัยคุกคามแห่งชาติ (COTA) ซึ่งจะได้รับข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ สถิติ ภาพถ่าย และวีดีโอ ซึ่งข้อมูลบางส่วนอาจจะได้จากการโจรกรรมข้อมูลมา

ผู้ที่ควบคุมศูนย์ COTA จะเรียกแบบจำลองทางข้อมูลเหล่านี้ว่า “constructor” และยังได้รับแบบจำลองจากแหล่งอื่น ๆ เช่น ซอฟต์แวร์ของ Plantir และ Delta ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในสนามรบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการเคลื่อนทัพของกองทัพยูเครน

มันทำกองทัพยูเครนมองเห็นภาพใหญ่ที่ชัดเจนของสงคราม ซึ่ง ข้อมูลจาก COTA นั้นจะให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงในประเด็นที่อาจมีความอ่อนไหว เช่น เรื่องการระดมพลเพิ่มเติม

Zelensky ประธานาธิบดีของยูเครนได้รับคำแนะนำจาก COTA มากกว่า 30 ครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดเป็นวันที่รัสเซียบุกโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ

ความพยายามด้าน AI ของยูเครนได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในสังคมที่มีการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการสงคราม เหล่าพลเมืองพร้อมใจกันอัปโหลดภาพที่มีค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันประเทศของพวกเขาลงในแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Diia หรือฟากฝั่งธุรกิจเองก็มีการส่งข้อมูลการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปให้กับ Mantis Analytics บริษัทในเมืองลวิฟ

สุดท้ายก็ต้องมาดูผลลัพธ์เมื่อตอนจบสงครามว่าการใช้เทคโนโลยีทั้งหมดเหล่านี้ที่ยูเครนกำลังผลักดันสงครามยุคใหม่ มันจะมีประสิทธิภาพเหนือรูปแบบทางการทหารเก่า ๆ ได้จริงแท้แค่ไหน

เพราะมีข้อโต้แย้งจากบางหน่วยงานเช่น Evan Platt จาก Zero Line องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในกรุงเคียฟที่ทำการจัดหายุทโธปกรณ์ให้กับเหล่าทหารเช่นเดียวกัน และใช้เวลาอยู่แนวหน้าเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการใช้ AI ช่วยเหลือในการรบครั้งนี้

เขาอธิบายการใช้ AI ของยูเครนว่าเหมือนเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยจุดประกายความหวังให้กับยูเครนแม้จะดูมีสรรพกำลังที่ห่างชั้นจากรัสเซียก็ตาม แต่ก็มีข้อกังวลบางอย่าง หนึ่งในนั้นคือ การผลักดันเทคโนโลยี AI มากจนเกินไปอาจทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านอื่น ๆ ที่ดูเหมือนจะคุ้มค่ากว่าถูกตัดทิ้งไป

ความเชื่อมั่นมากเกินไปใน AI ก็ถือเป็นความเสี่ยง และแบบจำลองที่ได้จากการประมวลผลด้วยเทคโนโลยี AI บางอย่างนั้นให้ข้อมูลที่หลอกลวงอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะส่งผลในแง่ลบต่อประสิทธิภาพการรบของยูเครนได้เช่นเดียวกัน

References :
https://time.com/6691662/ai-ukraine-war-palantir/
https://www.economist.com/science-and-technology/2024/04/08/how-ukraine-is-using-ai-to-fight-russia
https://www.globalgovernance.eu/publications/how-ukraine-uses-ai-to-fight-russian-information-operations