Geek Monday EP176 : Fake News กับการชนะเลือกตั้งของ Donald Trump ในปี 2016

Fake News หรือ ข่าวปลอม สามารถช่วยตัดสินผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ได้หรือไม่? เป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ เหล่าผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ได้เผยแพร่ข่าวของพรรคที่พวกเขาชอบอย่างบ้าคลั่ง มีการเผยแพร่ข้อความจำนวนมากในระหว่างการหาเสียง แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในประเทศเราในการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น

่ในอเมริกา ข้อความเหล่านี้จำนวนมากได้โจมตีผู้สมัครบางคนและบิดเบือนข้อเท็จจริงที่นำเสนอต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างร้ายแรง มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังมากมาย เกี่ยวกับข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งข้อความที่ถูกแชร์โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งระบุว่าเกือบครึ่งหนึ่งเป็นเนื้อหา WikiLeaks ที่ไม่ได้รับการยืนยันหรือแม้กระทั่งบางข่าวที่มีต้นกำเนิดมาจากรัสเซียเสียด้วยซ้ำ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3Vi5Q0O

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://bit.ly/40SXwpI

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3oX3Ij9

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://bit.ly/3ADz7cW

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/-MakSgRroMg

เหตุใด Generation Z จึงตกหลุมพรางข้อมูล fake news ทางแพลตฟอร์มออนไลน์มากที่สุด

ต้องบอกว่าเป็นงานวิจัยจากบทความของ MIT Technology Review ที่น่าจะขัดกับความเชื่อของหลาย ๆ คน ที่กล่าวว่าคนยุคใหม่โดยเฉพาะ Gen Z นั้นกลายเป็นเหยื่อมากที่สุดของการเผยแพร่ข้อมูล Fake News บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในโลกออนไลน์

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เมื่อเด็กสาววัยรุ่นมองกล้องอย่างจริงจัง เฟรมสั่นไหวขณะที่เธอเอียงโทรศัพท์ไปที่ใบหน้าของเธอ คำบรรยายภาพที่ซ้อนทับบนเสื้อฮู้ดของเธอมีคำเตือนที่สุดโต่งมาก ๆ : หากโจ ไบเดนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา “ทรัมป์” จะสังหารหมู่ LGBT และคนผิวสีจำนวนมาก 

คำอธิบายภาพอีกอย่างหนึ่งใต้วีดีโอกล่าวว่า “นี่คือ ww3 จริงๆ” วิดีโอนั้นถูกโพสต์บน TikTok เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2020 และมีคนกดถูกใจมากกว่า 20,000 ครั้ง ในช่วงเวลานั้น คนหนุ่มสาวอีกหลายสิบคนได้ share คำเตือนที่คล้ายคลึงกันบนโซเชียลมีเดีย และโพสต์ของพวกเขาก็มีคนเข้ามาดู ชอบ และแสดงความคิดเห็นหลายแสนคน

เห็นได้ชัดว่ามันเป็นเรื่องเท็จแทบจะทั้งสิ้น แล้วเหตุใดจึงทำให้คนในยุค Generation Z จำนวนมาก ที่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 9 ถึง 24 ปีซึ่งน่าจะเข้าใจโลกดิจิทัลมากกว่าคนรุ่นก่อนจึงเสพข้อมูลผิด ๆ อย่างโจ่งแจ้ง?

นักวิจัยจาก Stanford Internet Observatory ได้ทำการวิเคราะห์การแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดทางออนไลน์ โดยได้มีการศึกษาแคมเปญต่างๆ จากต่างประเทศบนโซเชียลมีเดียและตรวจสอบว่าข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งปี 2020 และวัคซีนโควิด-19 แพร่ระบาดไปในโลกออนไลน์ได้อย่างไร 

ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจจากงานวิจัยพบว่าคนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเชื่อและส่งต่อข้อมูลที่ผิดๆ มากขึ้น หากพวกเขารู้สึกถึงตัวตนที่เหมือนกันกับบุคคลที่แบ่งปันข้อมูลนั้นตั้งแต่แรก

เมื่อวันรุ่นจะตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อถือได้ และสิ่งใดควรเพิกเฉยหรือตั้งข้อสงสัย วัยรุ่นมักจะใช้บริบทจากความเชื่อมโยงทางสังคมและชื่อเสียงส่วนบุคคลที่พัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ที่แบ่งปันกันมานานหลายปี ซึ่งทำให้พวกเขารู้ว่าสมาชิกครอบครัว เพื่อน และ influencer คนใดที่พวกเขาจะเชื่อได้ 

ผู้มีอิทธิพลหรือเหล่า influencer จึงกลายเป็นผู้ส่งสารที่เชื่อถือได้ในหัวข้อที่พวกเขาแทบจะไม่มีความเชี่ยวชาญ จากการสำรวจของ Common Sense Media วัยรุ่น 60% ที่ใช้ YouTube เพื่อติดตามเหตุการณ์ปัจจุบันหันไปหา influencer มากกว่าองค์กรข่าวที่มีความน่าเชื่อถือกว่า 

เหล่าครีเอเตอร์ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับวัยรุ่น ข้อมูลต่าง ๆ ของพวกเขาจะถูกยกระดับกลายเป็นเรื่องจริงที่น่าเชื่อถือแทบจะทั้งหมด ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องจริง ๆ อย่างยากเย็นแสนเข็ญ

คนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเชื่อและส่งต่อข้อมูลที่ผิดๆ มากขึ้น หากพวกเขารู้สึกถึงตัวตนที่เหมือนกันกับบุคคลที่แบ่งปันข้อมูลนั้นตั้งแต่แรก

ส่วนใหญ่เป็นข่าวลือเรื่องแผนการใช้ความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง บุคคลที่ share คำเตือนเหล่านี้นั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับผู้ฟังอย่างลึกซึ้ง หลายคนเป็นคนผิวสีและเป็น LGBT อย่างเปิดเผย

และโพสต์ต่างๆ ของเหล่า influencers มักเป็นหัวข้อที่วัยรุ่นคุ้นเคย เช่น ความขัดแย้งในครอบครัวและการดิ้นรนต่อสู้ในชั้นเรียน ความรู้สึกของประสบการณ์ร่วมกันนี้ทำให้พวกเขาเชื่อได้ง่าย แม้ว่าจะไม่ได้มีการเสนอหลักฐานใดๆ สำหรับเรื่องราวเหล่านั้นก็ตามที

สิ่งที่ทำให้เรื่องแย่ลงไปอีกคือข้อมูลที่ล้นเกินไปในยุคปัจจุบันที่ผู้คนจำนวนมากต้องเจอบนโซเชียลมีเดีย นั่นเองเป็นเหตุผลให้เราไว้วางใจและแบ่งปันข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำกว่า ข่าวลือเรื่องการเลือกตั้งปรากฏขึ้นท่ามกลางโพสต์อื่นๆ อีกหลายสิบโพสต์ในฟีด TikTok ของวัยรุ่น

นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่มีเวลาคิด ไตร่ตรอง วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการข้อมูลในแต่ละครั้ง ความพยายามใด ๆ ที่จะท้าทายข่าวลือนั้นถูกโจมตีด้วยการแสดงความคิดเห็นแย้งแทบจะในทันที

ในขณะที่คนหนุ่มสาวมีส่วนร่วมในการอภิปรายทางการเมืองในแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น และดึงดูดผู้คนที่มีความคิดเหมือนๆ กัน เข้ามาสนทนาในหัวข้อเดียวกัน แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะมีศักยภาพที่จะให้อำนาจแก่กลุ่มคนชายขอบ แต่ก็ทำให้เกิดภัยคุกคามของข้อมูลผิดที่แพร่ระบาดไปในโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้สุดท้ายผู้คนที่รวมกันเป็นหนึ่งด้วยอัตลักษณ์เดียวกันจะพบว่าตนเองอ่อนแอต่อการได้รับข้อมูลผิด ๆ นั่นเอง

แล้วใครควรรับผิดชอบ? 

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสามารถใช้อัลกอริธึมการแนะนำที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายข้อมูลมากกว่าโพสต์ที่เป็นคลิกเบต นักข่าวต้องยอมรับว่าผู้อ่านจำนวนมากได้รับข่าวจากโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่มองผ่านเลนส์ของอัตลักษณ์ของพวกเขาเป็นหลัก

ผู้กำหนดนโยบายต้องควบคุมแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและผ่านกฎหมายเพื่อจัดการกับข้อมูลที่ผิดทางออนไลน์ และนักการศึกษาก็ต้องมีการสอนนักเรียนให้ประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลของพวกเขาได้

ต้องบอกว่าการสนทนา ถกเถียง ในโลกออนไลน์ที่มีข้อมูลพรั่งพรูมากจากแหล่งต่าง ๆ มากมายในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และอันตรายของข้อมูลที่ผิดสามารถเติมเชื้อเพลิงไฟความขัดแย้งให้แพร่กระจาย อย่างที่กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกในตอนนี้นั่นเองครับผม

References :
https://www.nature.com/articles/s41562-017-0132
https://www.technologyreview.com/2021/06/30/1026338/gen-z-online-misinformation/
https://www.livingly.com/Things+Gen+Z+Does+That+Annoy+Millennials
https://www.commonsensemedia.org/about-us/news/press-releases/new-survey-reveals-teens-get-their-news-from-social-media-and-youtube

จากคองโกถึงรัฐสภาสหรัฐฯ กับยุคทองของทฤษฎีสมคบคิด ที่กำลังเรืองอำนาจแบบสุดขีด

ในปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษยกเลิกข้อจำกัดส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 แต่ก็ยังมีผู้ประท้วงหลายพันคนมารวมตัวกันที่จัตุรัสทราฟัลการ์ในลอนดอน เพื่อประท้วงในเรื่องการล็อกดาวน์ของรัฐบาล

ในบรรดาผู้ที่มาปราศัยนั้นรวมไปถึง Piers Corbyn (น้องชายของอดีตหัวหน้าพรรคแรงงาน) ผู้ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีว่า COVID-19 เป็นเรื่องหลอกลวง หรือ David Icke นักเขียนชื่อดัง และ Gillian McKeith อดีตพยาบาลผู้สร้างทฤษฎีที่เชื่อว่าอาหารที่ดีก็เพียงพอที่จะหยุดไวรัสได้

ต้องบอกว่า เรื่องราวข้างต้นมันได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วในตอนนี้ ไม่เพียงแค่ในประเทศอังกฤษ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก

คลื่นสึนามิ Fake News

การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 นั้น เปรียบเหมือนคลื่นสึนามิข้อการเผยแพร่ Fake News ที่ระบาดไปทั่วโลก พร้อม ๆ กับแพร่ระบาดของโรค

ในประเทศฝรั่งเศส มีสารคดีที่กล่าวหาว่า COVID-19 ถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นสูงทางการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสมคบคิดเพื่อทำให้เกิดระเบียบโลกใหม่ ซึ่งมีคนเข้าชมถึง 2.5 ล้านครั้งภายในสามวันหลังการเผยแพร่

แม้กระทั่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ความคิดทีว่า COVID คือเรื่องหลอกลวงได้แพร่กระจายไปพร้อมกับทฤษฎีที่ร้อนแรงที่เรียกว่า QAnon ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงรัฐบาลที่ดำเนินการโดยกลุ่มคนเฒ่าหัวงู และ Donald Trump คือ ผู้ที่มาปราบปรามพวกเขาเหล่านี้

ซึ่งก็ต้องบอกว่ายุคนี้เป็นยุคเรืองอำนาจแบบสุดขีดของทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโซเชีลมีเดียทำให้ง่ายต่อการแพร่กระจาย ซึ่งไม่ใช่แค่เหล่าประเทศยากจนที่ผู้คนเข้าถึงการศึกษาน้อยเท่านั้น แต่มันยังรวมกระทั่งประเทศร่ำรวยที่สุดอีกด้วย

ในประเทศไนจีเรียมีทฤษฎีสมคบคิดที่ว่า Muhammadu Buhari ประธานาธิบดีที่เสียชีวิตในลอนดอนเมื่อปี 2017 ถูกปลอมตัวในร่างชาวซูดานที่เรียกวา Jibril

ในประเทศอินเดีย รัฐบาลของ Narendra Modi กล่าวหาว่า Greta Thunberg ซึ่งเป็นวัยรุ่นนักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศชาวสวีเดน เป็นส่วนหนึ่งของแผนการระดับโลกที่จะหมิ่นประมาทชาในประเทศของเขา

มีแนวความคิดที่แพร่หลายไปทั่วตะวันออกกลางว่าการโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นปฏิบัติการที่อิสราเอลวางแผนไว้

แน่นอนว่ามันมีหลายความเชื่อที่อาจจะดูน่าขัน และไม่มีอันตราย เช่น ความคิดที่ว่า Elvis Presley ยังมีชีวิตอยู่และอาศัยอยู่ในคาลามาซู มิชิแกน

อย่างไรก็ตามความเชื่อในเรื่องทางการเมืองนั้นรุนแรงกว่า Quassim Cassam จากมหาวิยทาลัย Warwick ในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “รูปแบบการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองนั้นสำคัญที่สุด”

พลังของโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองนั้น เป็นการให้คำอธิบายแก่ผู้คนเกี่ยวกับโลกที่โทษความโชคร้ายของพวกเขาที่มีต่อศัตรูทางด้านการเมือง แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องไร้สาระ ความสามารถในการจูงใจผู้คน คือสิ่งที่ทำให้พวกเขาเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

จุดเริ่มต้นที่คองโก

และเพื่อเข้าใจถึงวิธีที่พวกเขาเผยแพร่ทฤษฎีสมคิดทางด้านการเมือง จุดเริ่มต้นคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศ ต้องบอกว่าปัญหาของประเทศคองโกนั้นเริ่มต้นในช่วงกลางทศวรรษ 1990 เมื่อ Paul Kagameได้จัดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชาวรวันดาทุตซิส นั่นทำให้เขาได้รับเสียงสนับสนุนทางการเมืองเพื่อยึดครองรวันดาและบุกคองโกในช่วงเวลาที่อ่อนแอที่สุด

Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดโจมตีชาวรวันดา (CR:UDPS LE PEUPLE)
Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดโจมตีชาวรวันดา (CR:UDPS LE PEUPLE)

“Tony Blair และ Bill Clinton ทำงานร่วมกับ Kagame เพื่อเตรียมทำสงครามที่จัดขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา” Mubake กล่าว เขาอ้างว่าสหประชาติทำการสังหารหมู่และแพร่กระจายโรคต่าง ๆ เช่น อีโบลา เพื่อให้แผนดำเนินการต่อไป

ต้องบอกว่าแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับการอย่างกว้างขวางในประเทศคองโก ซึ่ง แนวคิดสร้างความเกลียดชังชาวรวันดาจุดชนวนให้เกิดความรุนแรงทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวคองโกทุตซิส

ความเชื่อที่ว่า อีโบลา เป็นแผนการของต่างประเทศได้นำไปสู่การนำกองกำลังติดอาวุธบุกไปที่คลินิกที่เต็มไปด้วยผู้ป่วย และ ทำการปลดปล่อยผู้ป่วยเหล่านี้ ซึ่งทำให้เชื้อยิ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ประชาชนชาวคองโกปฏิเสธที่จะรับวัคซีน COVID-19 เนื่องจากกลัวว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดังกล่าว Rodiguez Katsuva นักข่าวชาวคองโก ผู้ก่อตั้ง Congo Check ซึ่งเป็นเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงกล่าวว่า ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ คือ การฆ่าชาวคองโกที่แท้จริงต่างหาก

หรือแม้กระทั่งการการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 ที่ ประธานาธิบดี Donald Trump เอาชนะ Hillary Clinton ไปได้ ก็มีประเด็นในโลกออนไลน์มากมายที่มีการกล่าวหา Hiallry Clinton

มีทฤษฎีสมคบคิด ถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียจำนวนมาก ที่มุ่งโจมตี Clinton ในช่วงท้าย ๆ ของการเลือกตั้ง

Hillary Clinton ที่ถูกโจมตีอย่างรุนแรงผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียในช่วงท้ายของการเลือกตั้ง (CR:The New York Times)
Hillary Clinton ที่ถูกโจมตีอย่างรุนแรงผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียในช่วงท้ายของการเลือกตั้ง (CR:The New York Times)

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ ได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากสื่อยุคใหม่ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ในยุคปัจจุบันเราสามารถหาข่าวปลอมเหล่านี้ได้มากมาย และที่สำคัญยิ่งเป็นข่าวปลอม มันมีโอกาสที่จะถูกแชร์ และกระจายเป็นวงกว้างได้มากกว่า ผ่านอัลกอริธึมเบื้องหลังของเครือข่ายโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Twitter

และ Trump เองได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ จากเครือข่ายข่าวลวงแบบนี้ โดยเฉพาะเรื่องราวสุดฉาวของ Hillary Clinton ที่ยิ่งทำให้ข่าวปลอมเหล่านี้ถูกกระพือให้ยิ่งกระจายออกเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ในเดือนกุมภาพันธ์ Mitch McConnell หัวหน้าพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาเรียกทฤษฎีสมคบคิดว่าเป็น “มะเร็ง” ในพรรคของเขา แต่เขายังคงโหวตให้พ้นผิดจาก Trump ที่ใช้พวกเขาเพื่อปลุกระดมการจลาจลที่รัฐสภาสหรัฐฯ

Ted Cruz วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันประณาม Trump ที่อ้างว่าเขาเกิดในต่างประเทศอย่างไม่มีมูลความจริง แต่ในปี 2020 เขาสนับสนุนข้อกล่าวหาเท็จของ Trump ว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีถูกขโมยผลไป 

นั่นอาจเป็นเพราะในพรรครีพับลิกันเองเหล่าผู้มีอำนาจจำนวนมากเชื่อว่าเรื่องที่ Trump กล่าวมากกว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยมีถึง 45 คนในกลุ่ม QAnon ลงสมัครรับเลือกตั้งในสภาคองเกรสในปี 2022 เลยทีเดียว

แล้วจะแก้ไขปัญหาทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ได้อย่างไร?

ต้องบอกว่าทฤษฏีสมคบคิดที่เกิดขึ้น มันไม่ใช่สิ่งใหม่ของโลก มันมีมานานแล้ว ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หรือ สื่อสิงพิมพ์ต่าง ๆ ในโลกยุคเก่า

แต่การปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร ทำให้เครือข่ายโซเชีลมีเดียนั้นมีอิทธิพลต่อเรื่อง propaganda หรือ ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ มากกว่าที่เคยเป็นมา

ส่วนตัวมองว่าพลังของการกระจายข่าวนั้นมันรวดเร็วและรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะเครือข่ายโซเชียลมีเดียถูกขับเคลื่อนด้วยพลังของเครื่องจักร หรือ AI ที่สื่อยุคเก่า ๆ ไม่สามารถทำได้ มันทำให้แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิมมาก ๆ และ อัตราการแพร่กระจายในรูปแบบ exponential

การแก้ปัญหาก็ต้องแก้กันที่เครือข่ายเหล่านี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในปี 2019 Facebook เริ่มจำกัดจำนวนผู้คนเพียง 5 คน ที่สามารถส่งต่อข้อความบน Whatsapp ได้พร้อมกัน

เป้าหมายก็คือเพื่อชะลอการแพร่กระจายของทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้บนแพล็ตฟอร์มของพวกเขา หรือในอินเดีย Facebook ใช้ผู้ดูแลกว่า 15,000 คน เพื่อลบข้อมูลที่บิดเบือน

หรืออีกหนึ่งเครือข่ายแหล่งแพร่กระจายข้อมูลผิด ๆ อย่าง Twitter ได้มีการระงับบัญชี 70,000 บัญชีที่มีการเชื่อมโยงกับ QAnon

ต้องบอกว่าทั้งสองแพล็ตฟอร์มพยายามที่จะระงับโพสต์ที่เผยแพร่ Fake news หรือ ทฤษฎีสมคบคิดที่ไม่เป็นจริงอย่างแข็งขัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดในสหรัฐอเมริกา Facebook ก็เริ่มกวดขันการลงโฆษณาที่เกี่ยวกับประเด็นทางด้านการเมืองมากยิ่งขึ้น

เรื่องราวของทฤษฎีสมคบคิด หรือ การเผยแพร่ข่าวปลอมเหล่านี้ มันไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลกเราแต่อย่างใด แต่ตอนนี้ผมมองว่าสิ่งที่ต่างกันอย่างชัดเจน และทำให้ปัญหานี้มันทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะมันได้ถูกขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่เราไม่รู้ถึงพลังอำนาจที่แท้จริงของมันอย่าง Algorithm AI นั่นเองครับผม

References :
https://en.wikipedia.org/wiki/QAnon
https://www.nytimes.com/article/what-is-qanon.html
https://www.nbcnews.com/news/world/congo-s-ebola-response-threatened-conspiracy-theories-rumors-n994156
https://www.economist.com/international/2021/09/04/from-congo-to-the-capitol-conspiracy-theories-are-surging
https://www.usnews.com/news/politics/articles/2021-01-07/mob-at-us-capitol-encouraged-by-online-conspiracy-theories
https://time.com/5703662/ebola-conspiracy-theories-congo/
https://news.yahoo.com/hillary-clinton-says-conspiracies-her-174559859.html