ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 11 : Tesla’s Macintosh

มันคงไม่ใช่คำพูดเกินหลายหากจะบอกว่า โรดส์เตอร์ รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกนั้น ก็เปรียบเสมือน เครื่องคอมพิวเตอร์ apple II ของบริษัท Apple เพราะฉะนั้น วิสัยทัศน์ของมัสก์ สำหรับรถยนต์คันที่สองที่ Tesla จะทำการสร้างขึ้นมานั้น มันก็คือ Apple’s Macintosh ของ Tesla ดี ๆ นั่นเอง

ปัญหาใหญ่ของ โรดส์เตอร์นั้น คือเรื่องการ Design เพราะมัสก์ไม่อยากที่จะเริ่มต้นการผลิตรถยนต์จากศูนย์ใหม่ ซึ่งแน่นอน ข้อดีคือมันช่วยลดต้นทุนให้ Tesla เป็นอย่างมากใน Model แรกอย่าง โรดส์เตอร์

แต่คันที่สองมันต้องไม่เหมือนคันแรก มันต้องเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ตั้งแต่ต้นจาก Tesla เท่านั้น มันต้องมีจุดเด่นที่ใคร ๆ เห็นว่ารถคันนี้คือผลิตโดย Tesla เหมือนที่เราเห็นรถยนต์ Benz , BMW , Ferrari , Audi ที่รู้ได้ทันทีว่าแต่ละคันคือ แบรนด์ไหนออกแบบมา

Tesla จึงได้ทำการสร้าง Design Studio เพื่อรองรับการออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่โดยเฉพาะ ในโรงงานของ SpaceX ที่ลอสแอนเจลลิส แต่ปัญหาคือ เขาต้องการมือดีด้านนี้มาทำงานที่เป็นเอกลักษณ์ให้สำหรับ Tesla โดยเฉพาะ และต้องเป็น ดีไซต์ที่ไม่ซ้ำรถยนต์อื่น ๆ ในตลาด เพื่อให้ทุกคนเห็นแล้วรู้ทันทีว่านี่คือ Tesla

และในที่สุด มัสก์ และ Tesla ก็ได้คนที่ต้องการ von Holzhausen Designer ชื่อดังในอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ผ่านงานมาทั้ง Volkswagen , Audi , GM และ Mazda โดยมัสก์ยื่นข้อเสนอมให้มาร่วมงานที่ยากจะปฏิเสธ

มัสก์ ได้มือดีอย่าง von Holzhausen มาช่วย Design Model S
มัสก์ ได้มือดีอย่าง von Holzhausen มาช่วย Design Model S

มัสก์ต้องการให้ Holzhausen นั้น ปฏิวัติการดีไซต์ของรถซีดานใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างรถยนต์คันที่ 2 ของ Tesla ซึ่งก็คือ Model S นั่นเอง สำหรับ Holzhausen นั้นงานดีไซต์ รถยนต์แบบปรกติทั่วไปที่ใช้น้ำมัน กับ การ ดีไซต์รถยนต์ไฟฟ้าให้กับ Tesla นั้นมันเป็นอะไรที่แตกต่างกันอยู่พอสมควร  รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีพื้นที่ว่างให้ใส่ไอเดียต่าง ๆ เข้าไปมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันแบบปรกติ

สิ่งสำคัญอีกส่วนนึงก็คือเรื่องของเสียง เนื่องจากความแตกต่างของเสียงเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน กับ ไฟฟ้า โดยรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้านั้น จะมีเสียงที่เงียบกว่า เพราะฉะนั้น ต้องมีการ ดีไซต์เรื่องการลู่ลมของรถยนต์ให้ดีเพื่อไม่ให้มีเสียงดังมาขัดใจผู้ขับขี่

Model S นั้นถูกใช้วัสดุจากอะลูมิเนียมชนิดพิเศษ แบบเดียวกับที่ใช้ในจรวดของ SpaceX แทบจะทั้งคัน ซึ่งจะแตกต่างจาดรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก

ความเจ๋งอีกอย่างหนึ่งของ Model S ก็คือหน้าจอขนาดยักษ์ 17 นิ้ว ที่เป็นแบบ Touch Screen ที่ดูคล้าย ๆ Ipad ขนาดยักษ์ ซึ่งติดตั้งไว้ที่ Console ของรถยนต์ Model S ทุกคัน และลูกค้าทุกคนก็หลงรักเจ้าจอขนาดยักษ์นี้ทันที่ มันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดอย่างนึงของทีมที่ออกแบบส่วนของภายในรถยนต์ Model S

จอยักษ์ขนาด 17 นิ้ว อีกหนึ่งทีเด็ดของ Model S
จอยักษ์ขนาด 17 นิ้ว อีกหนึ่งทีเด็ดของ Model S

แต่ก็มีบางเรื่องที่เหล่าทีม Design ของ Holzhausen นั้นคิดผิดไป รายละเอียดเล็ก ๆ อย่างไฟสำหรับอ่านหนังสือตรงที่นั่งด้านหลังนั้น เหล่าทีม Design คิดกันว่า คนในยุคนี้นั้นแทบจะไม่อ่านหนังสือกันแล้ว ส่วนใหญ่จะอ่าน ebook กัน ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องไปติดไฟส่องสว่างสำหรับที่นั่งด้านหลัง

แต่เชื่อหรือไม่ว่า มัสก์ นั้นเป็นคนค้นพบจุดบกพร่องนี้ด้วยตัวเอง ในระหว่างช่วงทดสอบรถซึ่งเขามักจะทดสอบด้วยตัวเองนั้น ลูกของเขาต้องการที่จะอ่านหนังสือเมื่อนั่งตรงด้านหลัง แต่มองไม่เห็นสวิตช์ไฟ ถึงกับอุทานออกมาต่อหน้าพ่ออย่างมัสก์ ผู้เป็น CEO ของ Tesla ว่า “มันเป็นรถยนต์ที่งี่เง่าที่สุดในโลก” เลยทีเดียว และสุดท้ายก็ต้องทำการติดไฟสำหรับอ่านหนังสือให้กับ Model S ทุกคันในที่สุด

และในที่สุด ตัว prototype ของ model S ก็พร้อมออกมาให้ยลโฉมกันในเดือนมีนาคม ปี 2009 แม้หลาย ๆ คนจะยังไม่ประทับใจกับมันนักก็ตาม เหล่านักวิจารณ์ก็มองมันเหมือนเป็นของเล่นของมัสก์ เท่านั้น มันยังไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้าจริง ๆ แบบที่เขาได้เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ หลาย ๆ สื่อเริ่มวิจารณ์บริษัท Tesla

มีการทดสอบตัว prototype โดยวิ่งไปในเมือง Palo Alto และมีผู้คนสามารถที่จะถ่ายรูปเจ้า Model S ให้หลุดออกไปใน  internet ได้ ซึ่งความจริง Tesla อยากให้เรื่องเหล่านี้เป็นความลับอยู่

แต่มันได้กระจายไปทั่วแล้ว หลาย ๆ คนต่างผิดหวังกับ Design ของ รถยนต์รุ่นใหม่ของ Tesla และหวังว่ามันคงไม่ใช่รถยนต์ที่ผลิตโดย Tesla จริงตามข่าว มันไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะขายรถยนต์หน้าตาแบบนี้ในราคาสูงถึง 50,000 หรือ 60,000 เหรียญ ซึ่งผู้บริโภคมีทางเลือกอื่น ๆ อีกมากมายกับ มูลค่าที่สูงขนาดนั้น

Model S ถูกนำไปเทียบกับ Ford Probe รถยุก 80 เลยทีเดียวในช่วงแรกก่อนการเปิดตัวจริง
Model S ถูกนำไปเทียบกับ Ford Probe รถยุก 80 เลยทีเดียวในช่วงแรกก่อนการเปิดตัวจริง

หลาย ๆ คนเปรียบเทียบมันกับ รถยนต์โบราณสุดเห่ยอย่าง Ford Probe ที่เป็นรถยนต์ในยุค 80’s เลยด้วยซ้ำ และที่สำคัญ สถานการณ์ของบริษัทของมัสก์ ก็เริ่มซวนเซ ไม่ว่าจะเป็น SpaceX รวมถึง Tesla เองก็ตามที

ในปี 2008 ทั้ง SpaceX และ Tesla เกือบจะไปไม่รอด SpaceX ล้มเหลวในการปล่อยจรวดถึง 3 ครั้ง และเหลือเงินทุนพอที่จะปล่อยจรวดได้อีกแค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น SpaceX ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดครั้งที่ 4 โดยสมบูรณ์

ก่อนหน้าการปล่อยครั้งที่ สามนั้น มัสก์ลงมามีส่วนร่วมแบบถึงลูกถึงคนตามสไตล์ของเขา มัสก์จะติดตามคนที่ต้องรับผิดชอบแต่ละส่วนอย่างไม่ลดละ มันคือเส้นทางวิกฤติของ SpaceX เลยก็ว่าได้ มันเหลือโอกาสอีกไม่มากสำหรับ SpaceX ที่จะทำให้ฝันของมัสก์นั้นเป็นจริง

ในการปล่อยครั้งที่สี่ ความต้องการและความคาดหวังนั้นพุ่งสูงจนถึงระดับที่คนทำงาน เริ่มทำผิดพลาดแบบโง่ๆ  มันเต็มไปด้วยความกดดัน มัสก์เช่าเครื่องบินบรรทุกของทหารพาลำตัวจรวดบินไปจากลอสแอนเจลิส ไปยัง ควาจ สถานที่ปล่อย

เหมือนจะเป็นควมคิดที่ดี แต่วิศวกร SpaceX ลืมไปว่า ปัจจัยในเรื่องของเครื่องบินอัดความดันอากาศจะทำอะไรกับจรวดซึ่งหนาไม่ถึง 1/8 นิ้วเท่านั้น และมันก็เกิดปัญหาขึ้นจนได้ จรวดที่เหมือนกับขวดน้ำเปล่าเวลาอยู่บนเครื่องบิน เมื่อแรงกดอากาศดันเข้ากับด้านข้างขวดทำให้มันบู้บี้

และจรวดก็เช่นกัน ลำตัวจรวดนั้นยุบลงไปหลายจุด และเกิดปัญหาอีกหลายอย่างขึ้น มัสก์ต้องให้ลูกทีมซ๋อมแซมมันโดยด่วน และเพียงสองสัปดาห์ต่อมาจรวดก็ได้รับการซ่อมแซมภายในโรงเก็บเครื่องบนชั่วคราวที่ ควาจ

การปล่อยครั้งที่สี่ และอาจจะเป็นครั้งสุดท้ายของ SpaceX เกิดขึ้นในวันที่ 28 กันยายน 2008 พนักงาน SpaceX ทำงานกันต่อเนื่องไม่หยุดภายใต้ความกดดัน กว่า 6 สัปดาห์  โดยทั้งความฝัน และความหวังของพวกเขากำลังอยู่บนเส้นด้าย

และในที่สุด ช่วงบ่ายแก่ ๆ ของวันที่ 28 ทีม SpaceX ได้ยก ฟัลคอน 1 ขึ้นตั้งบนตำแหน่งปล่อยจรวด ครั้งนี้ SpaceX ได้ถ่ายทอดผ่านเว๊บ เพื่อให้สาธารณะชนได้เห็นการสร้างที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้

ซึ่งคราวนี้ ฟัลคอน 1 นั้นไม่ได้ขนสัมภาระจริง ๆ จรวดลำนี้ได้ขนสัมภาระหลอกขนาด 360 ปอนด์แทน เมื่อจรวดเริ่มทำงาน ไต่สูงขึ้น ต่างได้รับเสียงตะโกนและเป่าปากจากผู้ที่กำลังเฝ้าดู

เมื่อท่อนแรกร่วงลงมา ท่อนสองก็ติดเครื่องประมาณ 90 วินาทีของการบิน เครื่องยนต์ลุกแดงและเริ่มเผาไหม้นาน 6 นาที จนท่อนสองเคลียร์เรียบร้อยแล้ว โครงสร้างภายนอกของจรวดเปิดออกที่ราว ๆ ตำแหน่งสามนาที และร่วงกลับลงมาสู่พื้นโลก และ ในที่สุด รางนาทีที่ 9 ของการเดินทาง ฟัลคอน 1 ก็ดับเครื่องตามแผนและไปถึงวงโคจรโลกได้สำเร็จ

การปล่อยครั้งที่ 4 ของ ฟัลคอน 1 เป็นไปได้อย่างราบรื่น
การปล่อยครั้งที่ 4 ของ ฟัลคอน 1 เป็นไปได้อย่างราบรื่น

และนี่คือเครื่องจักรกลเอกชนชิ้นแรกที่บรรลุความพยายามอันยากลำบากได้สำเร็จ มันใช้เวลาถึง 6 ปีในการเดินทางผ่านอุปสรรคต่างๆ  มามากมาย ซึ่งมากกว่าที่มัสก์เคยวางแผนไว้ถึง 4 ปีครึ่ง กับคนห้าร้อยคนในการสร้างปาฏิหาริย์แห่งธุรกิจ และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ให้เกิดขึ้นได้

และหลังจากการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ องค์กรแห่งหนึ่งก็เริ่มเห็นความสำคัญของ SpaceX และเสี่ยงลงทุนกับ Spacex ด้วยเงิน $1,600 ล้าน องค์กรแห่งนั้นก็คือ NASA ในขณะที่บริษัท Tesla เองก็ประสบวิกฤติด้านการเงินอย่างรุนแรง และเสี่ยงที่จะล้มละลายอีกครั้ง แต่บริษัทก็สามารถผ่านพ้นวิกฤติมาได้โดย ได้รับเงินลงทุนเพิ่มจากบริษัท Daimler ผู้ผลิตรถยนต์ Mercedes Benz เป็นเงิน $50 ล้าน ทำให้ทั้ง 2 บริษัทต่างก็รอดตายอย่างหวุดหวิดจากวิกฤติทางด้านการเงินของอเมริกาที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนึงเลยก็ว่าได้

–> อ่านตอนที่ 12 : Rocket Launcher

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube