ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 10 : The Show Musk Go On

ความสำเร็จของ Henry Ford ในการสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ขึ้นมาใหม่นั้น ส่งผลกระทบชัดเจนต่อชาวอเมริกัน ด้วยภาพที่เขาเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่  และ Ford ยังต้องเร่งการผลิตให้ท้นต่อความต้องการของผู้บริโภค เขาได้สร้างสิ่งที่กำลังจะมาเป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจอเมริกา ซึ่งสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการผลิตรถยนต์ของ Ford นั่นก็คือ การผลิตรถในจำนวนมากได้สำเร็จ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมให้สามารถผลิตได้จำนวนมาก  ๆ  ผ่านวิธีการโดยใช้สายพานการผลิตของเขานั้น มันได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ๆ และมันช่วยเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวอเมริกันไป เพื่อนคนสนิทของเขาอย่าง William  Harley และ Arthur Davidson ได้นำเครื่องยนต์ไปติดกับจักรยาน และได้กลายเป็นรถมอเตอร์ไซต์ขายออกไปทั่วประเทศ 

Milton Hershey ได้นำเอาแนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างช็อคโกแลต ส่วนพ่อค้าชาว ชิคาโก William Wrigley ก็ใช้แนวคิดเดียวกันในการผลิตหมากฝรั่งออกขายไปได้ทั่วประเทศ 

แนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford เปลี่ยนอุตสาหกรรมของสหรัฐไปตลอดกาล
แนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford เปลี่ยนอุตสาหกรรมของสหรัฐไปตลอดกาล

มันทำให้เกิดนักธุรกิจใหม่ ๆ และสร้างสิ่งต่าง ๆ ด้วยแนวคิดใหม่ ที่มีต้นแบบมาจาก Henry Ford พวกเขาได้คิดค้นการผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้นมา และจ่ายค่าแรงที่เหมาะสมให้กับคนงาน ภายใต้สภาพการทำงานที่ปลอดภัย ขึ้นมาใหม่

และโจทย์นี้ มันก็เป็นโจทย์เดียวกับที่นักธุรกิจรุ่นใหม่แห่งยุคนี้อย่าง อีลอน มัสก์ ต้องเจอ แม้ Henry Ford นั้นได้สร้างรากฐานในเรื่องสายพานการผลิตไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จกันนับไม่ถ้วนแล้ว แต่มันก็ไม่ง่ายเสียทีเดียวสำหรับการจะมาสร้างรถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของ อีลอน มัสก์ เมื่อต้องการผลิตในปริมาณมาก ๆ 

และปัญหานี้ก็เกิดกับ ซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ ซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งในนั้นที่ Tesla ต้องส่งทีมวิศวกรหนุ่มแน่น ยอดอัจฉริยะ ทั้งหลายไปจัดการในการตั้งโรงงานแบตเตอรรี่ ซึ่งเป็นแผนแรกของ Tesla ที่ต้องการให้ไทยเป็นซัพพลายเออร์หลักแห่งหนึ่งสำหรับผลิตชิ้นส่วนป้อนให้รถยนต์ Tesla ซึ่งบริษัทที่มีความทะเยอทะยาน และ มีความมุ่งมั่นสูงสุด สำหรับงานนี้ก็คือ บริษัท ไทยซัมมิท ของ คุณ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นั่นเอง

ไทยซัมมิท ที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตให้กับ Tesla
ไทยซัมมิท ที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตให้กับ Tesla

แต่ถ้าย้อนกลับไปในช่วงนั้น งานด้านแบตเตอรี่ ถือว่าในไทยนั้นยังเป็นงานที่ใหม่มาก ๆ เพราะส่วนใหญ่แม้ไทยจะมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในเรื่องการป้อนอะไหล่ต่าง ๆ ให้กับรถยนต์ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น หรือ ยุโรป ก็ตาม แต่มันไม่ใช่เรื่องแบตเตอรี่ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มาก ๆ ของประเทศไทย

ทีมงานวิศวกรของ Tesla นั้นต้องมาจัดการเรื่องโรงงานที่จะใช้ รวมถึงการจัดการเรื่องความร้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึง Tesla นั้นมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งแบตเตอรี่ที่เป็นส่วนสำคัญ และไวต่อสิ่งเร้าเป็นอย่างมาก

มีการลงทุนติดผนังเบาให้กับโรงงานในไทย รวมถึงการเคลือบพื้น และสร้างห้องเก็บของพร้อมเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และเหล่าวิศวกรของ Tesla ก็ได้ทำการ Training ให้กับคนงานชาวไทยถึงวิธีที่จะจัดการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ มันทำให้การพัฒนานั้นล่าช้าลงไปอีก หลังจากเจอปัญหาต่างๆ  มากมายในประเทศไทย

และ Tesla ยังต้องเจออีกหลายปัญหาในการผลิตจำนวนมาก เนื่องจาก แผงตัวรถนั้นถูกผลิตที่ฝรั่งเศษ มอเตอร์มาจากไต้หวัน เซลล์แบตเตอรี่มาจากจีน ไปประกอบแบตเตอรี่ที่ไทย  ส่งไปให้โลตัสที่อังกฤษสร้างตัวถังรถ แล้วค่อยส่งมาที่ลอสแอนเจลิส

มันเป็นกระบวนการที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย และแผนต่าง ๆ มันก็ไม่ได้เป็นระบบระเบียบมากนักทำให้ทุกอย่างล่าช้ายิ่งไปอีก แถมต้นทุนยังสูงมาก เมื่อมัสก์รู้ ก็ได้ว่าจ้างนักวิเคราะห์มาช่วยดูเรื่องต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งพบว่า โรดส์เตอร์แต่ละคันจะใช้ต้นทุน มากกว่า 200,000 เหรียญ และ Tesla วางแผนที่จะขายมันเพียงแค่ 85,000 เหรียญเท่านั้น ซึ่งต่อให้เดินเครื่องผลิตได้ทีละมาก ๆ ก็สามารถลดได้เต็มที่เหลือแค่ 170,000 เท่านั้น มันเห็นความบรรลัยทางด้านการเงิน ในขณะที่รถยังไม่ได้เข้าสายการผลิตเลยด้วยซ้ำ

โรดส์เตอร์ รถรุ่นแรกของ Tesla ที่กำลังจะมีต้นทุนสูงถึง 200,000 เหรียญ
โรดส์เตอร์ รถรุ่นแรกของ Tesla ที่กำลังจะมีต้นทุนสูงถึง 200,000 เหรียญ

แม้ เอเบอร์ฮาร์ด กับ มัสก์ นั้นจะมีปัญหากระทบกระทั่งกันมาหลายปีในเรื่องการออกแบบบางอย่างของรถ แต่โดยส่วนใหญ่นั้นทั้งคู่เข้าขากันได้อย่างดี พวกเขามีวิสัยทัศน์เหมือนกันหลาย ๆ อย่างในเรื่องเทคโนโลยีแบตเตอรี่ และ ความสำคัญของพลังงานทดแทนที่จะมีต่อโลกเรา

แต่ การที่มัสก์ได้รับรู้ราคาต้นทุนที่แท้จริง มันทำให้มัสก์มอง เอเบอร์ฮาร์ดเปลี่ยนไปทันที มันคือการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพดี ๆ นี่เอง ที่ไม่ละเอียดพอในการดูแลเรื่องใหญ่อย่างต้นทุนของรถรุ่นแรกอย่างโรดส์เตอร์ให้มันเละเทะได้เพียงนี้ มันก็ถึงเวลาที่ เอเบอร์ฮาร์ด ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Tesla คนแรก ๆ ต้องเดินออกจากบริษัทที่เขาตั้งมากับมือไป

แม้มัสก์ จะเปลี่ยนตัว CEO ชั่วคราวไปหลายคน สถานการณ์มันก็ไม่ได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน ตอนนั้น มัสก์ ก็วุ่นอยู่กับ SpaceX อีกบริษัทหนึ่งของเขาอยู่ มัสก์พยายามให้สัญญาว่ารถจะสามารถออกวางจำหน่ายได้ในปี 2008 แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้มันยังไกลจากเป้าหมายที่เขาวางไว้เป็นอย่างมาก

ไม่นานนัก พนักงาน Tesla ก็ได้เห็นมัสก์คนเดียวกับที่ SpaceX เสียที เขาต้องลงมาจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง เมื่อเกิดปัญหาอย่างเช่นตัวถังรถที่ผิดพลาด มัสก์ก็จัดการกับมาตรง ๆ เขาบินไปอังกฤษด้วยตัวเองเพื่อรับเครื่องมือที่ใช้ผลิตแผ่นตัวถังรถชิ้นใหม่และส่งมันเข้าโรงงานในฝรั่งเศษด้วยตัวเอง

ส่วนเรื่องต้นทุนมัสก์จัดการขั้นเด็ดขาด ต้องทำต้นทุนให้ได้ทุกชิ้นส่วน ต้องมีการกำหนดและวิเคราะห์ต้นทุนทุกเดือน มัสก์ ไม่เคยพลาดในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ หัวเขาเหมือนมีเครื่องคิดเลขติดอยู่ในหัว แม้มัสก์ จะดูเหมือนแข็งกร้าว และอารมณ์ร้อน เกินไป แต่ทุกอย่างเขาทำก็เพื่อ Tesla เขาไม่ได้เป็นพวกโลกสวยอย่างที่คนอื่นเคยทำมา

มัสก์ต้องลงมาจัดการปัญหาของ Tesla ด้วยตัวเอง
มัสก์ต้องลงมาจัดการปัญหาของ Tesla ด้วยตัวเอง

ส่วนเรื่องการตลาดนั้น มัสก์จะค้นหาข่าวเกี่ยวกับ Tesla ใน Google แทบจะทุกวัน เมื่อใดที่เขาเจอเรื่องไม่ดีกับ Tesla เขาจะสั่งการให้แผนกประชาสัมพันธ์ไปแก้ไขโดยด่วน นี่มันเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ต้องไม่มีเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ ใด  ๆ กับ Tesla ของเขาอีกต่อไป

มัสก์ใส่ใจรายละเอียดทุกอย่าง พนักงานไม่ต้องกังวัลเรื่องวิธีการหรือว่ามันมีข้อบกพร่องหรือเปล่า แค่ตั้งใจทำงานให้เสร็จเท่านั้น มัสก์จะรับฟังปัญหา เขาต้องการคำถามที่เข้าท่าเท่านั้น และเดินหน้าอย่างรวดเร็ว แบบถึงลูกถึงคน ให้งานเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

มันทำให้พนักงานหลายคนทนไม่ไหวต้องลาออกไป แม้จะอัจฉริยะขนาดไหน ก็โดนมัสก์เล่นงานมาแทบจะทั้งสิ้น แต่หลายคนจากรุ่นบุกเบิก ก็รอดกันมาได้ การมีชื่อแบรนด์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงมีผู้นำอย่าง อีลอน มัสก์ ก็สามารถที่จะจ้างพนักงานแถวหน้าเข้ามาได้เรื่อย ๆ รวมถึงคนจากบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ ที่ต้องการที่จะมาสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ร่วมกับ อีลอน มัสก์ ก็ได้เข้ามาร่วมงานมากขึ้นเรื่อย ๆ 

เหมือนทุกอย่างจะดีขึ้น แต่ใครจะไปคาดคิดว่า อยู่ดี ๆ วิกฤตครั้งใหม่กำลังมาเยือน ขณะก้าวเข้าสู่ปี 2008 บริษัทกำลังจะหมดเงิน โรดส์เตอร์ ใช้เงินทุนในการพัฒนาไปกว่า 140 ล้านเหรียญ หากสถานการณ์ปรกติ มันไม่ยากเลยที่จะระดมทุนเพิ่มเติม แต่ทว่า ปี 2008 อย่างที่ทุกท่านทราบกัน มันคือวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนึงของอเมริกา

วิกฤติทางการเงินในปี 2008 ทำให้ Tesla ที่กำลังจะเปิดตัวได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ
วิกฤติทางการเงินในปี 2008 ทำให้ Tesla ที่กำลังจะเปิดตัวได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ

ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐฯกำลังถูกฟ้องล้มละลาย ท่ามกลางวิกฤติการเงินครั้งเลวร้ายที่สุดตั้งแต่ยุควิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งท่ามกลางเรื่องเลวร้ายทั้งหมดนี้ มัสก์ ต้องโน้มน้าวเหล่านักลงทุนของ Tesla ให้ยอมลงทุนเพิ่มมากกว่า 10 ล้านเหรียญ แต่ปัญหาคือ ตอนนั้นมีแต่ข่าวเสีย ๆ หาย  ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกา ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แทบจะไม่มีใครซื้อรถกันแล้ว มัสก์กำลังอยู่ในเส้นทางที่เสี่ยงที่สุดในชีวิตของเขา ทั้งหมดที่เขาทำมาจะล้มครืนลงไปหรือไม่? เขาจะพา Tesla ฝ่าวิกฤติที่รุนแรงที่สุดครั้งนี้ไปได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 11 : Tesla’s Macintosh

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube