ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 11 : Tesla’s Macintosh

มันคงไม่ใช่คำพูดเกินหลายหากจะบอกว่า โรดส์เตอร์ รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกนั้น ก็เปรียบเสมือน เครื่องคอมพิวเตอร์ apple II ของบริษัท Apple เพราะฉะนั้น วิสัยทัศน์ของมัสก์ สำหรับรถยนต์คันที่สองที่ Tesla จะทำการสร้างขึ้นมานั้น มันก็คือ Apple’s Macintosh ของ Tesla ดี ๆ นั่นเอง

ปัญหาใหญ่ของ โรดส์เตอร์นั้น คือเรื่องการ Design เพราะมัสก์ไม่อยากที่จะเริ่มต้นการผลิตรถยนต์จากศูนย์ใหม่ ซึ่งแน่นอน ข้อดีคือมันช่วยลดต้นทุนให้ Tesla เป็นอย่างมากใน Model แรกอย่าง โรดส์เตอร์

แต่คันที่สองมันต้องไม่เหมือนคันแรก มันต้องเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ตั้งแต่ต้นจาก Tesla เท่านั้น มันต้องมีจุดเด่นที่ใคร ๆ เห็นว่ารถคันนี้คือผลิตโดย Tesla เหมือนที่เราเห็นรถยนต์ Benz , BMW , Ferrari , Audi ที่รู้ได้ทันทีว่าแต่ละคันคือ แบรนด์ไหนออกแบบมา

Tesla จึงได้ทำการสร้าง Design Studio เพื่อรองรับการออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่โดยเฉพาะ ในโรงงานของ SpaceX ที่ลอสแอนเจลลิส แต่ปัญหาคือ เขาต้องการมือดีด้านนี้มาทำงานที่เป็นเอกลักษณ์ให้สำหรับ Tesla โดยเฉพาะ และต้องเป็น ดีไซต์ที่ไม่ซ้ำรถยนต์อื่น ๆ ในตลาด เพื่อให้ทุกคนเห็นแล้วรู้ทันทีว่านี่คือ Tesla

และในที่สุด มัสก์ และ Tesla ก็ได้คนที่ต้องการ von Holzhausen Designer ชื่อดังในอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ผ่านงานมาทั้ง Volkswagen , Audi , GM และ Mazda โดยมัสก์ยื่นข้อเสนอมให้มาร่วมงานที่ยากจะปฏิเสธ

มัสก์ ได้มือดีอย่าง von Holzhausen มาช่วย Design Model S
มัสก์ ได้มือดีอย่าง von Holzhausen มาช่วย Design Model S

มัสก์ต้องการให้ Holzhausen นั้น ปฏิวัติการดีไซต์ของรถซีดานใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างรถยนต์คันที่ 2 ของ Tesla ซึ่งก็คือ Model S นั่นเอง สำหรับ Holzhausen นั้นงานดีไซต์ รถยนต์แบบปรกติทั่วไปที่ใช้น้ำมัน กับ การ ดีไซต์รถยนต์ไฟฟ้าให้กับ Tesla นั้นมันเป็นอะไรที่แตกต่างกันอยู่พอสมควร  รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีพื้นที่ว่างให้ใส่ไอเดียต่าง ๆ เข้าไปมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันแบบปรกติ

สิ่งสำคัญอีกส่วนนึงก็คือเรื่องของเสียง เนื่องจากความแตกต่างของเสียงเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน กับ ไฟฟ้า โดยรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้านั้น จะมีเสียงที่เงียบกว่า เพราะฉะนั้น ต้องมีการ ดีไซต์เรื่องการลู่ลมของรถยนต์ให้ดีเพื่อไม่ให้มีเสียงดังมาขัดใจผู้ขับขี่

Model S นั้นถูกใช้วัสดุจากอะลูมิเนียมชนิดพิเศษ แบบเดียวกับที่ใช้ในจรวดของ SpaceX แทบจะทั้งคัน ซึ่งจะแตกต่างจาดรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก

ความเจ๋งอีกอย่างหนึ่งของ Model S ก็คือหน้าจอขนาดยักษ์ 17 นิ้ว ที่เป็นแบบ Touch Screen ที่ดูคล้าย ๆ Ipad ขนาดยักษ์ ซึ่งติดตั้งไว้ที่ Console ของรถยนต์ Model S ทุกคัน และลูกค้าทุกคนก็หลงรักเจ้าจอขนาดยักษ์นี้ทันที่ มันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดอย่างนึงของทีมที่ออกแบบส่วนของภายในรถยนต์ Model S

จอยักษ์ขนาด 17 นิ้ว อีกหนึ่งทีเด็ดของ Model S
จอยักษ์ขนาด 17 นิ้ว อีกหนึ่งทีเด็ดของ Model S

แต่ก็มีบางเรื่องที่เหล่าทีม Design ของ Holzhausen นั้นคิดผิดไป รายละเอียดเล็ก ๆ อย่างไฟสำหรับอ่านหนังสือตรงที่นั่งด้านหลังนั้น เหล่าทีม Design คิดกันว่า คนในยุคนี้นั้นแทบจะไม่อ่านหนังสือกันแล้ว ส่วนใหญ่จะอ่าน ebook กัน ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องไปติดไฟส่องสว่างสำหรับที่นั่งด้านหลัง

แต่เชื่อหรือไม่ว่า มัสก์ นั้นเป็นคนค้นพบจุดบกพร่องนี้ด้วยตัวเอง ในระหว่างช่วงทดสอบรถซึ่งเขามักจะทดสอบด้วยตัวเองนั้น ลูกของเขาต้องการที่จะอ่านหนังสือเมื่อนั่งตรงด้านหลัง แต่มองไม่เห็นสวิตช์ไฟ ถึงกับอุทานออกมาต่อหน้าพ่ออย่างมัสก์ ผู้เป็น CEO ของ Tesla ว่า “มันเป็นรถยนต์ที่งี่เง่าที่สุดในโลก” เลยทีเดียว และสุดท้ายก็ต้องทำการติดไฟสำหรับอ่านหนังสือให้กับ Model S ทุกคันในที่สุด

และในที่สุด ตัว prototype ของ model S ก็พร้อมออกมาให้ยลโฉมกันในเดือนมีนาคม ปี 2009 แม้หลาย ๆ คนจะยังไม่ประทับใจกับมันนักก็ตาม เหล่านักวิจารณ์ก็มองมันเหมือนเป็นของเล่นของมัสก์ เท่านั้น มันยังไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้าจริง ๆ แบบที่เขาได้เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ หลาย ๆ สื่อเริ่มวิจารณ์บริษัท Tesla

มีการทดสอบตัว prototype โดยวิ่งไปในเมือง Palo Alto และมีผู้คนสามารถที่จะถ่ายรูปเจ้า Model S ให้หลุดออกไปใน  internet ได้ ซึ่งความจริง Tesla อยากให้เรื่องเหล่านี้เป็นความลับอยู่

แต่มันได้กระจายไปทั่วแล้ว หลาย ๆ คนต่างผิดหวังกับ Design ของ รถยนต์รุ่นใหม่ของ Tesla และหวังว่ามันคงไม่ใช่รถยนต์ที่ผลิตโดย Tesla จริงตามข่าว มันไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะขายรถยนต์หน้าตาแบบนี้ในราคาสูงถึง 50,000 หรือ 60,000 เหรียญ ซึ่งผู้บริโภคมีทางเลือกอื่น ๆ อีกมากมายกับ มูลค่าที่สูงขนาดนั้น

Model S ถูกนำไปเทียบกับ Ford Probe รถยุก 80 เลยทีเดียวในช่วงแรกก่อนการเปิดตัวจริง
Model S ถูกนำไปเทียบกับ Ford Probe รถยุก 80 เลยทีเดียวในช่วงแรกก่อนการเปิดตัวจริง

หลาย ๆ คนเปรียบเทียบมันกับ รถยนต์โบราณสุดเห่ยอย่าง Ford Probe ที่เป็นรถยนต์ในยุค 80’s เลยด้วยซ้ำ และที่สำคัญ สถานการณ์ของบริษัทของมัสก์ ก็เริ่มซวนเซ ไม่ว่าจะเป็น SpaceX รวมถึง Tesla เองก็ตามที

ในปี 2008 ทั้ง SpaceX และ Tesla เกือบจะไปไม่รอด SpaceX ล้มเหลวในการปล่อยจรวดถึง 3 ครั้ง และเหลือเงินทุนพอที่จะปล่อยจรวดได้อีกแค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น SpaceX ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดครั้งที่ 4 โดยสมบูรณ์

ก่อนหน้าการปล่อยครั้งที่ สามนั้น มัสก์ลงมามีส่วนร่วมแบบถึงลูกถึงคนตามสไตล์ของเขา มัสก์จะติดตามคนที่ต้องรับผิดชอบแต่ละส่วนอย่างไม่ลดละ มันคือเส้นทางวิกฤติของ SpaceX เลยก็ว่าได้ มันเหลือโอกาสอีกไม่มากสำหรับ SpaceX ที่จะทำให้ฝันของมัสก์นั้นเป็นจริง

ในการปล่อยครั้งที่สี่ ความต้องการและความคาดหวังนั้นพุ่งสูงจนถึงระดับที่คนทำงาน เริ่มทำผิดพลาดแบบโง่ๆ  มันเต็มไปด้วยความกดดัน มัสก์เช่าเครื่องบินบรรทุกของทหารพาลำตัวจรวดบินไปจากลอสแอนเจลิส ไปยัง ควาจ สถานที่ปล่อย

เหมือนจะเป็นควมคิดที่ดี แต่วิศวกร SpaceX ลืมไปว่า ปัจจัยในเรื่องของเครื่องบินอัดความดันอากาศจะทำอะไรกับจรวดซึ่งหนาไม่ถึง 1/8 นิ้วเท่านั้น และมันก็เกิดปัญหาขึ้นจนได้ จรวดที่เหมือนกับขวดน้ำเปล่าเวลาอยู่บนเครื่องบิน เมื่อแรงกดอากาศดันเข้ากับด้านข้างขวดทำให้มันบู้บี้

และจรวดก็เช่นกัน ลำตัวจรวดนั้นยุบลงไปหลายจุด และเกิดปัญหาอีกหลายอย่างขึ้น มัสก์ต้องให้ลูกทีมซ๋อมแซมมันโดยด่วน และเพียงสองสัปดาห์ต่อมาจรวดก็ได้รับการซ่อมแซมภายในโรงเก็บเครื่องบนชั่วคราวที่ ควาจ

การปล่อยครั้งที่สี่ และอาจจะเป็นครั้งสุดท้ายของ SpaceX เกิดขึ้นในวันที่ 28 กันยายน 2008 พนักงาน SpaceX ทำงานกันต่อเนื่องไม่หยุดภายใต้ความกดดัน กว่า 6 สัปดาห์  โดยทั้งความฝัน และความหวังของพวกเขากำลังอยู่บนเส้นด้าย

และในที่สุด ช่วงบ่ายแก่ ๆ ของวันที่ 28 ทีม SpaceX ได้ยก ฟัลคอน 1 ขึ้นตั้งบนตำแหน่งปล่อยจรวด ครั้งนี้ SpaceX ได้ถ่ายทอดผ่านเว๊บ เพื่อให้สาธารณะชนได้เห็นการสร้างที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้

ซึ่งคราวนี้ ฟัลคอน 1 นั้นไม่ได้ขนสัมภาระจริง ๆ จรวดลำนี้ได้ขนสัมภาระหลอกขนาด 360 ปอนด์แทน เมื่อจรวดเริ่มทำงาน ไต่สูงขึ้น ต่างได้รับเสียงตะโกนและเป่าปากจากผู้ที่กำลังเฝ้าดู

เมื่อท่อนแรกร่วงลงมา ท่อนสองก็ติดเครื่องประมาณ 90 วินาทีของการบิน เครื่องยนต์ลุกแดงและเริ่มเผาไหม้นาน 6 นาที จนท่อนสองเคลียร์เรียบร้อยแล้ว โครงสร้างภายนอกของจรวดเปิดออกที่ราว ๆ ตำแหน่งสามนาที และร่วงกลับลงมาสู่พื้นโลก และ ในที่สุด รางนาทีที่ 9 ของการเดินทาง ฟัลคอน 1 ก็ดับเครื่องตามแผนและไปถึงวงโคจรโลกได้สำเร็จ

การปล่อยครั้งที่ 4 ของ ฟัลคอน 1 เป็นไปได้อย่างราบรื่น
การปล่อยครั้งที่ 4 ของ ฟัลคอน 1 เป็นไปได้อย่างราบรื่น

และนี่คือเครื่องจักรกลเอกชนชิ้นแรกที่บรรลุความพยายามอันยากลำบากได้สำเร็จ มันใช้เวลาถึง 6 ปีในการเดินทางผ่านอุปสรรคต่างๆ  มามากมาย ซึ่งมากกว่าที่มัสก์เคยวางแผนไว้ถึง 4 ปีครึ่ง กับคนห้าร้อยคนในการสร้างปาฏิหาริย์แห่งธุรกิจ และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ให้เกิดขึ้นได้

และหลังจากการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ องค์กรแห่งหนึ่งก็เริ่มเห็นความสำคัญของ SpaceX และเสี่ยงลงทุนกับ Spacex ด้วยเงิน $1,600 ล้าน องค์กรแห่งนั้นก็คือ NASA ในขณะที่บริษัท Tesla เองก็ประสบวิกฤติด้านการเงินอย่างรุนแรง และเสี่ยงที่จะล้มละลายอีกครั้ง แต่บริษัทก็สามารถผ่านพ้นวิกฤติมาได้โดย ได้รับเงินลงทุนเพิ่มจากบริษัท Daimler ผู้ผลิตรถยนต์ Mercedes Benz เป็นเงิน $50 ล้าน ทำให้ทั้ง 2 บริษัทต่างก็รอดตายอย่างหวุดหวิดจากวิกฤติทางด้านการเงินของอเมริกาที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนึงเลยก็ว่าได้

–> อ่านตอนที่ 12 : Rocket Launcher

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ