ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 13 : The Revenge of The Electric Car

ในช่วงกลางปี 2012 Tesla ทำให้เหล่าบริษัทคู่แข่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องตกตะลึง เมื่อบริษัทสามารถส่งมอบรถยนต์ รุ่น Model S ซึ่งเป็นยานยนต์สุดหรูใช้พลังงานไฟฟ้าล้วน โดยที่การชาร์จ หนึ่งครั้งนั้นสามารถเดินทางได้ถึง 300 ไมล์ และสามารถที่จะทำความเร็วไปถึง 60 ไมล์ต่อชั่วโมงได้ ใน 4.2 วินาที และสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 7 คน และ ไร้ซึ่งเสียงรบกวน หน้าจอสัมผัสขนาด 17 นิ้ว พร้อมฟังก์ชันควบคุมมากมายในส่วนใหญ่ของรถ ซึ่งทุกอย่างนั้น Model S เหนือกว่ารถยนต์กลุ่มไฮเอนด์ส่วนใหญ่ ทั้งเรื่องของความเร็วในการขับขี่ จำนวนไมล์ต่อค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องเติมน้ำมัน ความรู้สึกในการขับขี่ แม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างพื้นที่เก็บของ Model S ก็กินขาด

Model S ของ Tesla นั้นได้แสดงให้โลกเห็นถึงรถยนต์ต้นแบบแห่งประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน ที่กำลังจะหมดโลกในอีกไม่ช้า ซึ่งตัว Model S นั้น มีชิ้นส่วนที่ขยับไปมาแค่โหลเดียว ชุดแบตเตอรี่ส่งพลังงานไปยังมอเตอร์ขนาดเท่ากับผลแตงโมที่ใช้หมุนล้อในทันที่ มันเป็นกลไกง่าย ๆ แต่แฝงไปด้วยประสิทธิภาพที่ยิ่งใหญ่

Model S ของ Tesla ได้ฉีกกฏของการซื้อขายรถยนต์แบบเดิม ๆ ลูกค้าไม่ต้องไปที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ หรือ ศูนย์รถยนต์อีกต่อไป เพื่อไปต่อรองเรื่องต่าง ๆ กับเซลล์ผู้กระหายเงิน แต่ ลูกค้าของ Tesla สามารถที่จะสั่ง Model S ได้ผ่านร้านของ Tesla โดยตรงรวมถึงสามารถสั่งซื้อผ่าน Online เว๊บไซต์ ง่าย ๆ เพียงแค่ปลายนิ้วคลิก และสุดท้าย Tesla จะส่งรถไปถึงหาคุณถึงที่บ้านเอง

ปฏิวัติการซื้อรถยนต์ด้วยการสั่งซื้อผ่าน online
ปฏิวัติการซื้อรถยนต์ด้วยการสั่งซื้อผ่าน online

มันเป็นการปฏิวัตวงการรถยนต์ที่มีมากว่า 100 ปี แม้กระทั่งการดูแลรถยนต์ หากเกิดปัญหาข้อบกพร่องบางอย่าง วิศวกร Tesla สามารถเชื่อมต่อเข้าไปในรถผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแล้ว Download Software อัพเดตข้อบกพร่องให้ได้ทันที ราวกับมีพ่อมดในโลกเวทมนต์มาเสกให้ คงเป็นการเปรียบเทียบไม่เกินไปนัก

เรียกได้ว่าเจ้า Model S นั้นมันเปลี่ยนทุกอย่างของการคมนาคมไปอย่างสิ้นเชิง มันคือ คอมพิวเตอร์ติดล้อดี ๆ นี่เอง แม้ตอนแรกนั้น พวกบริษัทรถยนต์เก่าแก่ จะมอง Tesla เป็นเรื่องกระแสชั่วคราวที่ไม่นานจะตกไปเอง

แต่หลังจากรถยนต์ได้ส่งมอบไม่กี่เดือน ในเดือนพฤศจิกายนปี 2012 Model S ก็ได้รับตำแหน่งรถยนต์แห่งปีจากนิตยสาร MotorTrend ด้วยผลโหวตที่เป็นเอกฉันท์ครั้งแรก โดยสามารถเอาชนะ ปอร์เช่ BMW Lexus Subaru ซึ่งหลายเดือนต่อมา นิตยสาร ComsumerReport ให้คะแนนสูงสุดในประวัติศาสตร์กับ Model S นั่งคือ 99 เต็ม 100 พร้อมกับประกาศว่าเป็นรถยนต์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่เคยมีมา

รถยนต์แห่งปีจากนิตยสาร Motor Trend
รถยนต์แห่งปีจากนิตยสาร Motor Trend

อเมริกาไม่ได้เห็นบริษัทรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จมานานมากแล้ว ครั้งสุดท้ายน่าจะเป็น ไครสเลอร์ เมื่อปี 1925 ย้อนไปเกือบ 100 ปี มัสก์ก็ไม่เคยทำรถยนต์มาก่อน แต่เขามีความฝันที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ เพียงแค่หนึ่งปีหลังจากวางจำหน่าย Model S ก็สามารถสร้างกำไรได้เป็นกอบเป็นกำทันที

มัสก์ได้สร้างรถยนต์ในระดับเดียวกับที่ สตีฟ จ๊อบส์ สรรสร้าง iPhone ขึ้นมา และมันคล้าย ๆ กับที่ Blackberry , Nokia ต่างมอง iPhone ในช่วงแรกของการเปิดตัว เหล่าผู้บริหารของบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่  ทั้งจากอเมริกา ญี่ปุ่น หรือ เยอรมนี ก็เริ่มหันมามองว่ามันเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้อย่างไร

แม้จะประสบกับปัญหามากมายในรถยนต์รุ่นแรกอย่าง โรดส์เตอร์ แต่มัสก์ก็พยายามดูแลลูกค้าเก่าอย่างดี แม้จะมีปัญหาเรื่องต้นทุนที่สูงกว่าที่คิดไว้มาก แต่ Tesla เองก็ต้องการพิสูจน์ว่าบริษัทสามารถสร้างรถให้สามารถทำกำไรได้ เพื่อให้เอื้อต่อการได้รับโอกาสในการกู้เงินจากรัฐบาล และมันได้ส่งผลต่อการสร้างรถยนต์รุ่นที่สองอย่าง Model S ซึ่งมัสก์นั้นสามารถอ่านใจลูกค้าของเขาได้ขาด พวกเขายังสนับสนุนมัสก์เต็มที่

Tesla นั้นสามารถดิ้นรน จนอยู่รอดได้ ตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2012 นั้น Tesla ขาย โรดส์เตอร์ รถยนต์รุ่นแรกของบริษัทไปได้กว่า 2,500 คัน มันทำให้ฝันของมัสก์นั้นเป็นจริง มันเป็นข้อพิสูจน์ว่า รถยนต์ไฟฟ้านั้นสามารถที่จะขับให้สนุกได้ไม่ต่างจากเจ้าตลาดที่ทำกัน

ในที่สุด Tesla ก็ก้าวไปอีกขั้นได้สำเร็จ กลายเป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรที่แท้จริงได้ มันไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันของมัสก์เพียงคนเดียวอีกต่อไป Tesla ได้เปิดขายหุ้นให้แก่สาธารณชนในวันที่ 29 มิถุนายนปี 2010 ซึ่งทำให้บริษัทสามารถระดมทุนได้ถึง 226 ล้านเหรียญ

Tesla เปิดขายหุ้นแก่สาธารณะชนได้สำเร็จ
Tesla เปิดขายหุ้นแก่สาธารณะชนได้สำเร็จ

ซึ่งการขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งนี้ของ Tesla นั้นกลายเป็นครั้งแรกของบริษัทผลิตรถยนต์ในประเทศอเมริกานับตั้งแต่ฟอร์ดเปิดขายเมื่อปี 1956 ซึ่งเมื่อเงินทุนหลั่งไหลเข้ามา มัสก์ก็เริ่มขยายทีมวิศวกรรม และเริ่มสร้างโรงงานเพิ่มเติมเพื่อให้ผลิตได้ในปริมาณที่มากขึ้น

เหล่าพนักงานของ Tesla นั้นต้องรับมือกับความต้องการที่สูงลิ่วของมัสก์ ซึ่งไม่ต่างจากเหล่าวิศวกรที่ร่วมชะตาเดียวกันที่ SpaceX บางครั้งพวกเขาถึงกับหัวปั่น มัสก์เคยนำรถ Model S ต้นแบบกลับไปที่บ้านในช่วงสุดสัปดาห์ แล้วกลับมาในวันจันทร์พร้อมขอให้เปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ราว 80 อย่าง เขาเก็บทุกรายละเอียดไว้ในหัว และจะไล่รายการรายสัปดาห์ว่าวิศวกรแก้อะไรไปบ้างแล้ว 

มันเป็นกฏแบบเดียวกันกับที่ SpaceX ทุกคนต้องทำตามที่มัสก์ขอ หากต้องการโต้เถียง ก็ต้องค้นคว้ามาอย่างดีพอ ว่าทำไมถึงทำมันไม่ได้ มัสก์ไม่ชอบคำว่าทำไม่ได้ เขาต้องการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้นำระดับโลกหลาย ๆ คนมีกัน แม้กระทั่ง สตีฟ จ๊อบส์เองก็ตาม ก็มีนิสัยคล้าย ๆ กันแบบนี้ การร่วมงานกับคนแบบนี้เป็นเรื่องยาก แต่เมื่อผลงานสำเร็จ มันก็มักจะเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่เสมอเช่นเดียวกัน

มัสก์นั้นสามารถคิดสิ่งที่ผู้บริโภคไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องการอะไรเหมือนที่สตีฟ จ๊อบส์ทำได้ ตัวอย่างเช่น เรื่องเบสิก อย่าง มือจับประตูหรือหน้าจอสัมผัสขนาดยักษ์ และมัสก์ยังสามารถที่จะคาดการณ์มุมมองร่วมในสินค้าและบริการทั้งหมดของ Tesla ได้

มัสก์นั้นสามารถที่จะจัดการทุกอย่างจากทัศนะแบบอุดมคติ เขามองว่าการออกแบบและตัวเลือกทางเทคโนโลยีทุกอย่างควรจะพุ่งเป้าไปที่การสร้างรถให้สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มัสก์จะชี้ขาดถึงขนาดที่ผู้ผลิตรถคู่แข่งไม่ทำกัน มันคอยผลักดันให้เขาและผู้คนรอบตัวที่ทำงานด้วยกับเขานั้นสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดได้ตลอดเวลา

แต่ มัสก์ กับ Tesla นั้นก็ต้องต่อเสื้อเพื่อความอยู่รอดอยู่แทบจะตลอดเวลา บริษัทสามารถผลิตรถเก๋งได้เพียงสัปดาห์ละสิบคันในตอนแรก แม้จะมีคำสั่งซื้ออีกหลายพันคันที่ต้องทำให้ลุล่วง 

ในปี 2012 นั้นมัสก์ก็ได้ทำเรื่องช็อก แม้สถานการณ์การเงินยังไม่ดีขึ้น โดยเขาตั้งใจที่จะสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จพลังงาน มัสก์ตั้งเป้าที่จะสร้างเครือข่ายชาร์จพลังงานทั่วโลกที่จะทำให้เจ้าของ Model S สามารถขับรถยาวบนไฮเวย์ได้และชาร์จพลังงานใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

ซุเปอร์ชาร์จที่มัสก์ หวังว่าจะกลายเป็นเครื่องข่ายชาร์จทั่วโลกให้กับ Tesla
ซุเปอร์ชาร์จที่มัสก์ หวังว่าจะกลายเป็นเครื่องข่ายชาร์จทั่วโลกให้กับ Tesla

มัสก์ยืนยันว่าอีกไม่นานเจ้าของ Tesla จะสามารถเดินทางทั่วสหรัฐได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าเชื้อเพลงซักแดงเดียวเลยด้วยซ้ำ สถานีซูเปอร์ชาร์จ ที่ Tesla เรียกนั้น เป็นการลงทุนครั้งมโหฬารสำหรับบริษัทที่มีเงินเหลือเพียงน้อยนิด มีแต่คนหาว่าเขาเพี้ยนแบบสุด ๆ ในการทำเรื่องนี้

ซึ่งมันทำให้ในช่วงต้นปี 2013 นั้น Tesla กลับมาอยู่ในสถานะวิกฤติอีกครั้ง ถ้าบริษัทไม่สามารถเปลี่ยนยอดจองให้กลายเป็นยอดสั่งซื้อจริง ๆ ได้โดยเร็ว จะทำให้บริษัทสูญเงินไปเป็นจำนวนมาก

มัสก์ถึงขั้นประกาศกันราคาขายต่อ Model S ให้ลูกค้าด้วย ซึ่งมัสก์นั้นได้ค้ำประกัน คำสัญญาดังกล่าวด้วยเงินหลายพันล้านของตัวเขาเอง และได้วางแผนการป้องกันขั้นสูงสุดให้กับ Tesla เพื่อไม่ให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายมากขึ้นไปกว่านี้

ช่วงเดือน เมษายนของปี 2013 มัสก์ได้ติดต่อเพื่อนสนิทของเขาอย่าง แลร์รี่ เพจ ที่ Google มัสก์นั้นกังวลกับสถานการณ์ของ Tesla ว่าจะอยู่รอดต่อไปได้อีกสองสามสัปดาห์ได้หรือไม่ การให้ Google เข้าซื้อ Tesla อาจจะเป็นทางเลือกสุดท้ายหากไม่สามารถกู้สถานการณ์ของ Tesla ได้จริง ๆ 

แต่ปาฏิหาริย์ มันก็เกิดขึ้นกับมัสก์อีกครั้ง เหล่าพนักงานขายของ Tesla สามารถทำยอดขายรถได้อย่างมหาศาล แม้ Tesla นั้นจะมีเงินสดในธนาคารเหลือเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์แล้วนั้น แต่ยังสามารถผลิตรถยนต์ออกไปมากพอในระยะเวลาเพียงแค่ 14 วัน

ซึ่งมันทำให้การเงินในไตรมาสแรกของปี 2013 พุ่งกระฉูดขึ้นทันที ในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 นั้น Tesla สามารถประกาศกำไรก้อนแรกได้สำเร็จในฐานะบริษัทมหาชน ซึ่งสามารถทำกำไรได้ 11 ล้านเหรียญจากยอดขายกว่า 562 ล้านเหรียญ

โดยบริษัทสามารถส่งรถยนต์ Model S ออกไปได้กว่า 1,400 คัน ส่งผลให้หุ้นของ Tesla พุ่งขึ้นจาก 30 เหรียญไปแตะที่ 130 เหรียญ ทำให้ Tesla สามารถจ่ายเงินกู้คืนให้กับรัฐบาลได้สำเร็จ แถมยังเป็นการจ่ายก่อนกำหนด

Tesla Model S รถยนต์ที่มาพลิกสถานการณ์บริษัทได้สำเร็จ
Tesla Model S รถยนต์ที่มาพลิกสถานการณ์บริษัทได้สำเร็จ

สิ่งสำคัญที่ มัสก์ทำไปแต่ผู้ผลิตรถคู่แข่งพลาดหรือไม่ตั้งใจที่จะทำ ก็คือการเปลี่ยนให้ Tesla กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ บริษัทไม่ได้แค่ขายรถให้ใครสักคนเท่านั้น แต่บริษัทกำลังขายภาพลักษณ์ ขายความรู้สึกที่ว่าพวกเขากำลังย่างเท้าเข้าสู่อนาคต เป็นความผูกพัน คล้าย ๆ กับที่ apple ทำกับ ทั้ง Mac , iPod หรือ แม้กระทั่ง iPhone แม้แต่คนไม่ศรัทธาจะเข้าสังกัด apple เต็มตัวก็ยังถูกถึงเข้าจักรวาลของพวกเขาเมื่อซื้อฮาร์ดแวร์ และ ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์อย่าง iTunes

รูปแบบของ Tesla ไม่เพียงแค่ทำให้ ธุรกิจแนวคิดเดิม ๆ ของอุตสาหกรรมรถยนต์เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงออกว่ารถไฟฟ้าคือแนวคิดใหม่ของยานยนต์ด้วย อีกไม่นานบริษัทรถยนต์อื่น ๆ ล้วนจะต้องทำตามหลักการที่นำโดย Tesla

แม้หลายคน อาจจะเคยปรามาส มัสก์ว่าธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าคือโอกาสทางธุรกิจที่ห่วยแตกที่สุดของโลกใบนี้ เหล่านักลงทุนส่วนใหญ่ ต่างกระโจนหนี ในความคิดเพ้อฝันของมัสก์ โอกาสที่จะทำกำไรกับธุรกิจนี้มันมีน้อยมาก ๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ Tesla แตกต่างจากคู่แข่งก็คือความมุ่งมั่นในการพุ่งชนวิสัยทัศน์ของตัวเองโดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงไปเลย ซึ่งนั่นก็คือการทุ่มเทสุดตัวให้กับการทำตามมาตรฐานของมัสก์ เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของสิ่งที่เคยมีมานั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 14 : A Burning Man

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 11 : Tesla’s Macintosh

มันคงไม่ใช่คำพูดเกินหลายหากจะบอกว่า โรดส์เตอร์ รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกนั้น ก็เปรียบเสมือน เครื่องคอมพิวเตอร์ apple II ของบริษัท Apple เพราะฉะนั้น วิสัยทัศน์ของมัสก์ สำหรับรถยนต์คันที่สองที่ Tesla จะทำการสร้างขึ้นมานั้น มันก็คือ Apple’s Macintosh ของ Tesla ดี ๆ นั่นเอง

ปัญหาใหญ่ของ โรดส์เตอร์นั้น คือเรื่องการ Design เพราะมัสก์ไม่อยากที่จะเริ่มต้นการผลิตรถยนต์จากศูนย์ใหม่ ซึ่งแน่นอน ข้อดีคือมันช่วยลดต้นทุนให้ Tesla เป็นอย่างมากใน Model แรกอย่าง โรดส์เตอร์

แต่คันที่สองมันต้องไม่เหมือนคันแรก มันต้องเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ตั้งแต่ต้นจาก Tesla เท่านั้น มันต้องมีจุดเด่นที่ใคร ๆ เห็นว่ารถคันนี้คือผลิตโดย Tesla เหมือนที่เราเห็นรถยนต์ Benz , BMW , Ferrari , Audi ที่รู้ได้ทันทีว่าแต่ละคันคือ แบรนด์ไหนออกแบบมา

Tesla จึงได้ทำการสร้าง Design Studio เพื่อรองรับการออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่โดยเฉพาะ ในโรงงานของ SpaceX ที่ลอสแอนเจลลิส แต่ปัญหาคือ เขาต้องการมือดีด้านนี้มาทำงานที่เป็นเอกลักษณ์ให้สำหรับ Tesla โดยเฉพาะ และต้องเป็น ดีไซต์ที่ไม่ซ้ำรถยนต์อื่น ๆ ในตลาด เพื่อให้ทุกคนเห็นแล้วรู้ทันทีว่านี่คือ Tesla

และในที่สุด มัสก์ และ Tesla ก็ได้คนที่ต้องการ von Holzhausen Designer ชื่อดังในอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ผ่านงานมาทั้ง Volkswagen , Audi , GM และ Mazda โดยมัสก์ยื่นข้อเสนอมให้มาร่วมงานที่ยากจะปฏิเสธ

มัสก์ ได้มือดีอย่าง von Holzhausen มาช่วย Design Model S
มัสก์ ได้มือดีอย่าง von Holzhausen มาช่วย Design Model S

มัสก์ต้องการให้ Holzhausen นั้น ปฏิวัติการดีไซต์ของรถซีดานใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างรถยนต์คันที่ 2 ของ Tesla ซึ่งก็คือ Model S นั่นเอง สำหรับ Holzhausen นั้นงานดีไซต์ รถยนต์แบบปรกติทั่วไปที่ใช้น้ำมัน กับ การ ดีไซต์รถยนต์ไฟฟ้าให้กับ Tesla นั้นมันเป็นอะไรที่แตกต่างกันอยู่พอสมควร  รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีพื้นที่ว่างให้ใส่ไอเดียต่าง ๆ เข้าไปมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันแบบปรกติ

สิ่งสำคัญอีกส่วนนึงก็คือเรื่องของเสียง เนื่องจากความแตกต่างของเสียงเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน กับ ไฟฟ้า โดยรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้านั้น จะมีเสียงที่เงียบกว่า เพราะฉะนั้น ต้องมีการ ดีไซต์เรื่องการลู่ลมของรถยนต์ให้ดีเพื่อไม่ให้มีเสียงดังมาขัดใจผู้ขับขี่

Model S นั้นถูกใช้วัสดุจากอะลูมิเนียมชนิดพิเศษ แบบเดียวกับที่ใช้ในจรวดของ SpaceX แทบจะทั้งคัน ซึ่งจะแตกต่างจาดรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก

ความเจ๋งอีกอย่างหนึ่งของ Model S ก็คือหน้าจอขนาดยักษ์ 17 นิ้ว ที่เป็นแบบ Touch Screen ที่ดูคล้าย ๆ Ipad ขนาดยักษ์ ซึ่งติดตั้งไว้ที่ Console ของรถยนต์ Model S ทุกคัน และลูกค้าทุกคนก็หลงรักเจ้าจอขนาดยักษ์นี้ทันที่ มันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดอย่างนึงของทีมที่ออกแบบส่วนของภายในรถยนต์ Model S

จอยักษ์ขนาด 17 นิ้ว อีกหนึ่งทีเด็ดของ Model S
จอยักษ์ขนาด 17 นิ้ว อีกหนึ่งทีเด็ดของ Model S

แต่ก็มีบางเรื่องที่เหล่าทีม Design ของ Holzhausen นั้นคิดผิดไป รายละเอียดเล็ก ๆ อย่างไฟสำหรับอ่านหนังสือตรงที่นั่งด้านหลังนั้น เหล่าทีม Design คิดกันว่า คนในยุคนี้นั้นแทบจะไม่อ่านหนังสือกันแล้ว ส่วนใหญ่จะอ่าน ebook กัน ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องไปติดไฟส่องสว่างสำหรับที่นั่งด้านหลัง

แต่เชื่อหรือไม่ว่า มัสก์ นั้นเป็นคนค้นพบจุดบกพร่องนี้ด้วยตัวเอง ในระหว่างช่วงทดสอบรถซึ่งเขามักจะทดสอบด้วยตัวเองนั้น ลูกของเขาต้องการที่จะอ่านหนังสือเมื่อนั่งตรงด้านหลัง แต่มองไม่เห็นสวิตช์ไฟ ถึงกับอุทานออกมาต่อหน้าพ่ออย่างมัสก์ ผู้เป็น CEO ของ Tesla ว่า “มันเป็นรถยนต์ที่งี่เง่าที่สุดในโลก” เลยทีเดียว และสุดท้ายก็ต้องทำการติดไฟสำหรับอ่านหนังสือให้กับ Model S ทุกคันในที่สุด

และในที่สุด ตัว prototype ของ model S ก็พร้อมออกมาให้ยลโฉมกันในเดือนมีนาคม ปี 2009 แม้หลาย ๆ คนจะยังไม่ประทับใจกับมันนักก็ตาม เหล่านักวิจารณ์ก็มองมันเหมือนเป็นของเล่นของมัสก์ เท่านั้น มันยังไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้าจริง ๆ แบบที่เขาได้เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ หลาย ๆ สื่อเริ่มวิจารณ์บริษัท Tesla

มีการทดสอบตัว prototype โดยวิ่งไปในเมือง Palo Alto และมีผู้คนสามารถที่จะถ่ายรูปเจ้า Model S ให้หลุดออกไปใน  internet ได้ ซึ่งความจริง Tesla อยากให้เรื่องเหล่านี้เป็นความลับอยู่

แต่มันได้กระจายไปทั่วแล้ว หลาย ๆ คนต่างผิดหวังกับ Design ของ รถยนต์รุ่นใหม่ของ Tesla และหวังว่ามันคงไม่ใช่รถยนต์ที่ผลิตโดย Tesla จริงตามข่าว มันไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะขายรถยนต์หน้าตาแบบนี้ในราคาสูงถึง 50,000 หรือ 60,000 เหรียญ ซึ่งผู้บริโภคมีทางเลือกอื่น ๆ อีกมากมายกับ มูลค่าที่สูงขนาดนั้น

Model S ถูกนำไปเทียบกับ Ford Probe รถยุก 80 เลยทีเดียวในช่วงแรกก่อนการเปิดตัวจริง
Model S ถูกนำไปเทียบกับ Ford Probe รถยุก 80 เลยทีเดียวในช่วงแรกก่อนการเปิดตัวจริง

หลาย ๆ คนเปรียบเทียบมันกับ รถยนต์โบราณสุดเห่ยอย่าง Ford Probe ที่เป็นรถยนต์ในยุค 80’s เลยด้วยซ้ำ และที่สำคัญ สถานการณ์ของบริษัทของมัสก์ ก็เริ่มซวนเซ ไม่ว่าจะเป็น SpaceX รวมถึง Tesla เองก็ตามที

ในปี 2008 ทั้ง SpaceX และ Tesla เกือบจะไปไม่รอด SpaceX ล้มเหลวในการปล่อยจรวดถึง 3 ครั้ง และเหลือเงินทุนพอที่จะปล่อยจรวดได้อีกแค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น SpaceX ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดครั้งที่ 4 โดยสมบูรณ์

ก่อนหน้าการปล่อยครั้งที่ สามนั้น มัสก์ลงมามีส่วนร่วมแบบถึงลูกถึงคนตามสไตล์ของเขา มัสก์จะติดตามคนที่ต้องรับผิดชอบแต่ละส่วนอย่างไม่ลดละ มันคือเส้นทางวิกฤติของ SpaceX เลยก็ว่าได้ มันเหลือโอกาสอีกไม่มากสำหรับ SpaceX ที่จะทำให้ฝันของมัสก์นั้นเป็นจริง

ในการปล่อยครั้งที่สี่ ความต้องการและความคาดหวังนั้นพุ่งสูงจนถึงระดับที่คนทำงาน เริ่มทำผิดพลาดแบบโง่ๆ  มันเต็มไปด้วยความกดดัน มัสก์เช่าเครื่องบินบรรทุกของทหารพาลำตัวจรวดบินไปจากลอสแอนเจลิส ไปยัง ควาจ สถานที่ปล่อย

เหมือนจะเป็นควมคิดที่ดี แต่วิศวกร SpaceX ลืมไปว่า ปัจจัยในเรื่องของเครื่องบินอัดความดันอากาศจะทำอะไรกับจรวดซึ่งหนาไม่ถึง 1/8 นิ้วเท่านั้น และมันก็เกิดปัญหาขึ้นจนได้ จรวดที่เหมือนกับขวดน้ำเปล่าเวลาอยู่บนเครื่องบิน เมื่อแรงกดอากาศดันเข้ากับด้านข้างขวดทำให้มันบู้บี้

และจรวดก็เช่นกัน ลำตัวจรวดนั้นยุบลงไปหลายจุด และเกิดปัญหาอีกหลายอย่างขึ้น มัสก์ต้องให้ลูกทีมซ๋อมแซมมันโดยด่วน และเพียงสองสัปดาห์ต่อมาจรวดก็ได้รับการซ่อมแซมภายในโรงเก็บเครื่องบนชั่วคราวที่ ควาจ

การปล่อยครั้งที่สี่ และอาจจะเป็นครั้งสุดท้ายของ SpaceX เกิดขึ้นในวันที่ 28 กันยายน 2008 พนักงาน SpaceX ทำงานกันต่อเนื่องไม่หยุดภายใต้ความกดดัน กว่า 6 สัปดาห์  โดยทั้งความฝัน และความหวังของพวกเขากำลังอยู่บนเส้นด้าย

และในที่สุด ช่วงบ่ายแก่ ๆ ของวันที่ 28 ทีม SpaceX ได้ยก ฟัลคอน 1 ขึ้นตั้งบนตำแหน่งปล่อยจรวด ครั้งนี้ SpaceX ได้ถ่ายทอดผ่านเว๊บ เพื่อให้สาธารณะชนได้เห็นการสร้างที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้

ซึ่งคราวนี้ ฟัลคอน 1 นั้นไม่ได้ขนสัมภาระจริง ๆ จรวดลำนี้ได้ขนสัมภาระหลอกขนาด 360 ปอนด์แทน เมื่อจรวดเริ่มทำงาน ไต่สูงขึ้น ต่างได้รับเสียงตะโกนและเป่าปากจากผู้ที่กำลังเฝ้าดู

เมื่อท่อนแรกร่วงลงมา ท่อนสองก็ติดเครื่องประมาณ 90 วินาทีของการบิน เครื่องยนต์ลุกแดงและเริ่มเผาไหม้นาน 6 นาที จนท่อนสองเคลียร์เรียบร้อยแล้ว โครงสร้างภายนอกของจรวดเปิดออกที่ราว ๆ ตำแหน่งสามนาที และร่วงกลับลงมาสู่พื้นโลก และ ในที่สุด รางนาทีที่ 9 ของการเดินทาง ฟัลคอน 1 ก็ดับเครื่องตามแผนและไปถึงวงโคจรโลกได้สำเร็จ

การปล่อยครั้งที่ 4 ของ ฟัลคอน 1 เป็นไปได้อย่างราบรื่น
การปล่อยครั้งที่ 4 ของ ฟัลคอน 1 เป็นไปได้อย่างราบรื่น

และนี่คือเครื่องจักรกลเอกชนชิ้นแรกที่บรรลุความพยายามอันยากลำบากได้สำเร็จ มันใช้เวลาถึง 6 ปีในการเดินทางผ่านอุปสรรคต่างๆ  มามากมาย ซึ่งมากกว่าที่มัสก์เคยวางแผนไว้ถึง 4 ปีครึ่ง กับคนห้าร้อยคนในการสร้างปาฏิหาริย์แห่งธุรกิจ และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ให้เกิดขึ้นได้

และหลังจากการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ องค์กรแห่งหนึ่งก็เริ่มเห็นความสำคัญของ SpaceX และเสี่ยงลงทุนกับ Spacex ด้วยเงิน $1,600 ล้าน องค์กรแห่งนั้นก็คือ NASA ในขณะที่บริษัท Tesla เองก็ประสบวิกฤติด้านการเงินอย่างรุนแรง และเสี่ยงที่จะล้มละลายอีกครั้ง แต่บริษัทก็สามารถผ่านพ้นวิกฤติมาได้โดย ได้รับเงินลงทุนเพิ่มจากบริษัท Daimler ผู้ผลิตรถยนต์ Mercedes Benz เป็นเงิน $50 ล้าน ทำให้ทั้ง 2 บริษัทต่างก็รอดตายอย่างหวุดหวิดจากวิกฤติทางด้านการเงินของอเมริกาที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนึงเลยก็ว่าได้

–> อ่านตอนที่ 12 : Rocket Launcher

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ