ดราม่า “รีวิวบุฟเฟต์” กับ case study ของอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นจาก Micro-Influencers

“ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน กลุ่มนักรีวิว หรือ Micro-Influencers มักมีผลและมีอิทธิพลต่อร้านค้า เพราะเรียกได้ว่าเป็นการตลาดแบบปากต่อปาก หากมีใครไปรีวิว ร้านก็สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ ภายในชั่วข้ามคืน” คำกล่าวจาก คุณเอ้ย อังกูร เจ้าของแบรนด์รสสุคนธ์ (ไอศครีมสับประรด) ในรายการโหนกระแสที่ออกอากาศในวันที่ 15 ก.ย. 2564 ถือว่าเป็นคำพูดที่น่าสนใจมาก ๆ

ซึ่งแน่นอนว่าดราม่าเรื่องนี้เหมือนจะจบลงด้วยดี และมีการนำเสนอเรื่องราวรายละเอียดจากหลายๆ แห่งแล้ว แต่สิ่งที่ผมกลับสนใจมาก ๆ ในตอนนี้จากประเด็นดังกล่าวที่เกิดขึ้นและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมคงจะเป็นบทบาท และ อิทธิพลของ Micro-Influencers กับการตลาดในยุคปัจจุบัน

เอาจริง ๆ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไปร่วม joined กับหลายๆ กลุ่มตามความสนใจของผมเช่นกัน ซึ่งได้สังเกตเห็นอิทธิพลที่เกิดขึ้นเหล่านี้มาซักระยะหนึ่งแล้ว ที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป

ตัวอย่างที่ผมคิดว่าน่าสนใจ ก็คือ กลุ่มจัดโต๊ะคอม ที่แน่นอนว่ามันตอบรับกับพฤติกรรมที่ตอนนี้หลาย ๆ คนต้อง Work From Home แล้วอยากจะสร้างบรรยากาศการทำงานที่บ้านให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งก็ทำให้กลุ่มนี้ดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่ผมเห็นอย่างนึงก็คือ สินค้าที่ เหล่าสมาชิกในกลุ่มเข้ามารีวิวนั้น หากเป็นสินค้ายอดฮิต เช่น โคมไฟ Xiaomi , คีย์บอร์ด Keychron หรือ โต๊ะของ iKea ในบางรุ่น มันส่งอิทธิพลอย่างมากต่อยอดขายจริง ๆ ของสินค้านั้น ๆ ได้เลยทีเดียว เรียกได้ว่า ของแทบจะขาดตลาดทันที หากไอเท็มใดเกิดความฮิตติดตลาดขึ้นในกลุ่ม

กลุ่มสุดฮิต จัดโต๊ะคอม ที่ทำเอาสินค้าขาดตลาด (CR: FB/juddesk)
กลุ่มสุดฮิต จัดโต๊ะคอม ที่ทำเอาสินค้าขาดตลาด (CR: FB/juddesk)

ซึ่งผมก็คิดว่า มันก็เกิดขึ้นกับหลาย ๆ กลุ่ม ตามแต่ความสนใจของแต่ละคน ซึ่งในกรณีที่เป็นข่าวคือ กลุ่มนักรีวิวการรับประทานบุฟเฟต์ ซึ่งมีสมาชิกเกินกว่าครึ่งล้าน ที่เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา

Micro-Influencers คืออะไร?

การรีวิวโดยผู้มีชื่อเสียงเคยเป็นวิธีสำคัญสำหรับแบรนด์ใหญ่ ๆ ในการสร้างชื่อเสียงและขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ George Clooney ดื่มกาแฟไปจนถึง Kim Kardashian ที่มารีวิวผลิตภัณฑ์แต่งหน้าใหม่

การรีวิวโดยผู้มีชื่อเสียงเป็นเป้าหมายสำหรับนักการตลาดที่กระตือรือร้นที่จะใช้ประโยชน์จากฐานแฟน ๆ ที่เป็นที่ยอมรับมาโดยตลอด 

ด้วยผู้ติดตามหลายล้านคนบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย จึงเป็นวิธีแก้ปัญหาง่ายๆ สำหรับการสร้างฐานแฟนใหม่ ๆ สำหรับแบรนด์ใหม่หรือการทำให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับ 

อย่างไรก็ตาม เทรนด์ดังกล่าวได้ชะลอตัวลง และตอนนี้แบรนด์ต่างๆ กำลังมองหาผู้ที่มีผู้ติดตามที่น้อยกว่าเดิมมากบนโซเชียลมีเดีย ซึ่ง Micro-Influencers คือผู้ที่อาจมีผู้ติดตามตั้งแต่ 2,000 ถึง 100,000 คน เพียงเท่านั้น แต่มีพลังในการบอกต่อแบบปากต่อปากอย่างมหาศาล

คำพูดจากปากต่อปาก ในโลกออนไลน์ มีอิทธิพลมากที่สุดในการตัดสินใจซื้อ

บทวิเคราะห์ที่น่าสนใจจากบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง Mckinsey ที่ได้กล่าวถึงเทรนด์ดังกล่าวว่า กำลังกลายเป็นปัจจัยและอิทธิพลสำคัญมากสำหรับการตัดสินใจซื้อโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคน Gen Z

ตัวอย่างในประเทศจีน ประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เขียนบน Taobao, Tmall หรือ RED ตลอดจนความคิดเห็นของเพื่อนและครอบครัวบนโซเชียลมีเดีย ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ

มากกว่าสามในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจจาก Mckinsey นั้น กล่าวว่า ผู้บริโภค Gen Z นั้นจะมองบทวิจารณ์ออนไลน์ , บัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์ และ บล็อกเกอร์หรือผู้มีอิทธิพลออนไลน์ เป็นแหล่งที่มีอิทธิพลสูงสุดสามอันดับแรกในการตัดสินใจซื้อ

ซึ่ง Gen Z นั้นจะให้ความสำคัญกับข้อมูลเหล่านี้มากกว่ากลุ่ม Millennials และ Gen X

ส่วนในสหรัฐอเมริกา โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลมากที่สุด 39% ของผู้บริโภค Gen Z ในขณะที่บทวิจารณ์ออนไลน์ และบล็อกในออนไลน์นั้นก็เป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ ที่ 26% ส่วนเพื่อนหรือครอบครัวมีอิทธิพล 15% และ 10% ตามลำดับ

อำนาจของเพจที่ลดลง และ อำนาจของกลุ่มที่เพิ่มขึ้น

ต้องบอกว่าหลังจากมีปัญหาครั้งใหญ่ในเรื่องการโฆษณาทางด้านการเมืองตั้งแต่ปี 2016 นั้น เรียกได้ว่า Facebook ได้ปรับอัลกอริธึมครั้งใหญ่ ที่มีการให้ความสำคัญของการ community มากยิ่งขึ้น

Facebook เริ่มให้ความสำคัญกับกลุ่มมากยิ่งขึ้น (CR:Engadget)
Facebook เริ่มให้ความสำคัญกับกลุ่มมากยิ่งขึ้น (CR:Engadget)

เราจะเห็นได้จากสถานการณ์ในตอนนี้ เพจ facebook หลาย ๆ เพจ ที่มียอด like หรือ follower หลักแสน หลักล้าน แต่ในบางโพสต์แทบจะมี engagement กับกลุ่มแฟน ๆ แค่หลักสิบเท่านั้น

แน่นอนว่าสิ่งแรกคงเป็นการบังคับให้ไปจ่ายเงินโฆษณามากขึ้นสำหรับเหล่าแบรนด์ หรือ เพจใหญ่ ๆ ที่หาก content ไม่โดนจริง ๆ ยากมากที่จะแจ้งเกิดได้ในยุคนี้ ที่มี content ให้เลือกสรรค์เต็มไปหมด

แต่ที่น่าสนใจอย่างในกรณีของ ดราม่าบุฟเฟ่ต์ นี้ก็คือเรื่อง community ที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะกระจายไปตามกลุ่มตามความชอบต่าง ๆ ของระบบ Facebook นั่นเอง

ทั้งกลุ่มที่ซื้อขาย หรือ กลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รีวิวสินค้าต่างๆ ซึ่งตอนนี้ Facebook ให้ความสำคัญมากกว่าเพจเสียด้วยซ้ำ

นั่นทำให้เทรนด์ของ Micro-Influencers เริ่มเด่นชัดขึ้น ตามความหลากหลายของกลุ่มที่เกิดขึ้นนั่นเอง และมันก็แสดงให้เห็นผ่านข่าวดราม่าบุฟเฟ่ต์นี้ว่า ตอนนี้เหล่า Micro-Influencers เริ่มเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับผม

References : https://www.digitalcoastmarketing.com/are-micro-influencers-the-future-of-marketing/
https://www.mckinsey.com/industries/retail/our-insights/how-gen-z-and-millennials-are-shaping-the-future-of-us-retail
https://www.mckinsey.com/cn/our-insights/our-insights/chinas-gen-z-are-coming-of-age-heres-what-marketers-need-to-know
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6619168


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube