WFH Addict เมื่อเหล่าพนักงานทั่วโลกกำลังเสพติดการทำงานแบบ Work From Home

ได้กลายเป็นเรื่องท้าทายที่สำคัญขององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกไปเสียแล้วนะครับ สำหรับนโยบาย Work From Home หรือ Remote Working ที่ได้กลายเป็นมารตฐานใหม่ของการทำงานหลังจากโลกเราต้องประสบพบเจอกับไวรัส COVID-19

โดยเฉพาะเหล่าพนักงานที่สามารถทำงานแบบ Remote ได้ 100% ซึ่งก็ต้องบอกว่าหลากหลายอาชีพมาก ๆ ทั้ง โปรแกรมเมอร์ วิศวกรในสาขาต่างๆ พนักงานบัญชี พนักงานด้านการตลาด ฝ่ายบุคคล หรือ ข้าราชการในบางหน่วยงานที่เรียกได้ว่า แทบไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิสอีกต่อไป

เมื่อการแพร่ระบาดเริ่มซาลง เราจะได้เห็นหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ เริ่มกลับมาปรับนโยบายให้กลับมาทำงานที่ออฟฟิสมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple ที่เริ่มเรียกตัวพนักงานกลับให้มาทำงานแบบไฮบริด ซึ่งกำหนดให้พนักงานในองค์กรต้องกลับมาที่สำนักงานสัปดาห์ละ 3 วัน ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้

ซึ่งก็ต้องบอกว่า ปัญหานี้คงไม่ได้เกิดเพียงแต่องค์กรยักษ์ใหญ่อย่าง Apple เท่านั้น มันกำลังสร้างปัญหากับองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก พนักงานส่วนใหญ่ทำงานจากที่บ้านมาเป็นเวลาสองปีแล้ว คุ้นเคยกับการไม่ต้องเดินทาง ซึ่งบางเมืองอย่างกรุงเทพเรียกได้ว่าเสียเวลาไปมากโขในการเดินทางในแต่ละวัน

ปัญหานี้ทำให้ หากบริษัทใดเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบาย ทำให้เหล่าพนักงานเริ่มที่จะลังเลที่จะกลับไปทำงานในสำนักงานเหมือนเดิม และมีแนวโน้มที่จะย้ายงานไปหาที่ใหม่ที่มีนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่นมากกว่า

มันอาจจะทำให้องค์กรต้องเสียพนักงานหัวกะทิได้เลย เช่น Ian Goodfellow ผู้อำนวยการด้าน Machine Learning ซึ่งทำงานกับ Apple มาตั้งแต่ต้นปี 2019 ถึงกับลาออกเนื่องจากนโยบายการบังคับให้กลับมาทำงานของบริษัท

การ Work From Home ทำให้เกิดปัญหาสมองไหล

สิ่งที่สร้างผลกระทบอีกอย่างนึงต้องบอกว่าน่าสนใจมาก ๆ นั่นก็คือปัญหาสมองไหลที่ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะ COVID ทำให้โลกการทำงานของมนุษย์เรานั้นเปลี่ยนไปมาก ๆ

ผู้คนเริ่มคุ้นชินกับพฤติกรรมใหม่ ในการไม่ต้องเดินทางไปทำงาน ที่ทำให้การ Work From Home กลายเป็นเรื่องปรกติ ทุกคนสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งในงานหลาย ๆ อย่างก็คงดำเนินแบบนี้ต่อไปแม้การแพร่ระบาดจะหยุดไปแล้วก็ตาม

แต่มันก็ได้เกิดปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันเริ่มแบ่งเวลางาน และเวลาส่วนตัวไม่ได้ บางองค์กร นั้นใช้งานกันจนแยกเวลาไม่ออกระหว่างเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว เพราะมันได้หลอมรวมกันเป็นเวลาเดียวกันไปแล้ว

นั่นเองก็กลายเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้มีพนักงานลาออกเพิ่มมากยิ่งขึ้น

กำแพงขวางกั้นพนักงานที่ถูกทลายลง

ผมวิเคราะห์อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนอาจะคิดไม่ถึง นั่นก็คือ กำแพงสำคัญที่ขวางกั้นการย้ายงานของพนักงาน ก็คือ การหาช่วงเวลาในการไปสัมภาษณ์งานที่อื่นนั่นเอง

การเปลี่ยนมาทำงานแบบ Work From Home มันมีข้อยืดหยุ่นก็จริง แต่มันก็ทำให้เหล่าพนักงาน สามารถร่อน Resume เพื่อสัมภาษณ์งานได้อย่างอิสระ และหาเวลาไปสัมภาษณ์ตอนไหนก็ได้ อย่างเสรี เพราะตอนนี้ การสัมภาษณ์งานก็เน้นไปที่การสัมภาษณ์แบบ Remote ไปหมดแล้วใช่กัน

ซึ่งส่วนนี้มันสำคัญมาก เพราะหลาย ๆ อาชีพ มีการแย่งตัวพนักงานเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะสายไอที น่าจะโดนหนักสุด การมีตัวเลือกเยอะ ๆ ผ่านการสัมภาษณ์หลาย ๆ แห่ง ทำให้พนักงานมีโอกาสได้เลือก และเปรียบเทียบสูงมากกว่าในยุคก่อน ที่คงยากที่จะสัมภาษณ์งานหลายๆ แห่งในขณะที่ตัวเองทำงานประจำอยู่

การตัดสินใจรับพนักงานในยุคปัจจุบัน อาจจะแทบไม่ต้องมาคุยกันต่อหน้าต่อตา เพื่อตัดสินใจรับเข้าทำงานอีกต่อไป องค์กรต่าง ๆ สามารถเลือกช็อปปิ้งพนักงานมากมาย ที่พร้อมจะมาสัมภาษณ์งานกับบริษัทเพื่อย้ายงาน

กำแพงในอดีต หากต้องเข้างานแบบ full time ทำให้มันเป็นเรื่องยากที่จะปลีกตัวไปสัมภาษณ์งานที่อื่นได้แบบมาราธอน เหมือนในยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจจะต้องลางานเพื่อไปสัมภาษณ์ แต่ตอนนี้มันไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว

ซึ่งผมว่าตอนนี้ การเปลี่ยนงานจะเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ เพราะมีตัวเลือกให้เลือกเยอะ สามารถตัดสินใจที่ให้ผลประโยชน์ที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้ง่ายมากขึ้ัน เมื่อกำแพงเรื่องเวลา และ การต้องปลีกตัว หรือ ลางานไปสัมภาษณ์งานที่อื่น มันไม่มีอีกต่อไป

นั่นเอง ที่ทำให้อัตรา turn over ของพนักงานในยุคการแพร่ระบาดสูงมาก ๆ ตาม ข้อมูลจากสหรัฐอเมริกาก็สอดคล้องกับแนวโน้มนี้เช่นเดียวกัน และผมคิดว่าองค์กรในไทยก็เจอปัญหาเดียวกันอย่างแน่นอน

บทสรุป

สถานการณ์ตอนนี้ได้พลิกผัน จากเดิมที่องค์กรนั้นเป็นฝ่ายเลือกพนักงาน แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นพนักงานต่างหากที่กลายเป็นฝ่ายเลือกองค์กรที่จะเข้าทำงานไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเทรนด์นี้จะเป็นแบบนี้ต่อไปแม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะหมดไปก็ตาม

เพราะเมื่อคนสามารถทำงานได้จากทุกที่ และสามารถที่สัมภาษณ์งานที่ไหนก็ได้ตลอดเวลา พวกเขาก็จะมองหาองค์กรที่ให้ผลประโยชน์กับพวกเขาสูงสุด มีความสมดุลสูงที่สุด (Work-Life Balance) ระหว่างชีวิตส่วนตัวกับชีวิตในการทำงานนั่นเองครับผม

Refernces :
https://fortune.com/2022/05/02/apple-workers-unhappy-return-to-the-office-hybrid-work-pandemic
https://www.businessinsider.com/apple-director-machine-learning-ian-goodfellow-leaving-return-to-office-2022-5

Credit Image : Getty Images

สมองไหล & COVID-19 ปัญหาน่าปวดหัวของ HR เมื่อกำแพงขวางกั้นพนักงานถูกทลายลง

ต้องบอกว่ามันเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของเหล่าพนักงานประจำ ที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นทำให้พฤติกรรมการทำงานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การประชุมออนไลน์ การ Work from home ที่กลายเป็นเรื่องปรกติในยุคนี้

แน่นอนว่า ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งที่กำลังส่งผลต่อองค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบัน ที่แผนก HR ต้องรับมืออย่างหนักนั่นก็คือ ปัญหาเรื่องสมองไหล พนักงานลาออก ย้ายงานกันเป็นว่าเล่น

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดปัญหาสมองไหลอย่างไร?

ก็ต้องบอกว่าปัญหาสมองไหลมันได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะ COVID ทำให้โลกการทำงานของมนุษย์เรานั้นเปลี่ยนไปมาก ๆ

ผู้คนเริ่มคุ้นชินกับพฤติกรรมใหม่ ในการไม่ต้องเดินทางไปทำงาน การ Work From Home กลายเป็นเรื่องปรกติ ทุกคนสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งในงานหลาย ๆ อย่างก็คงดำเนินแบบนี้ต่อไปแม้การแพร่ระบาดจะหยุดไปแล้วก็ตาม

แต่มันก็ได้เกิดปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันเริ่มแบ่งเวลางาน และเวลาส่วนตัวไม่ได้ บางองค์กร นั้นใช้งานกันจนแยกเวลาไม่ออกระหว่างเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว เพราะมันได้หลอมรวมกันเป็นเวลาเดียวกันไปแล้ว

นั่นเองก็กลายเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้มีพนักงานลาออกเพิ่มมากยิ่งขึ้น

กำแพงขวางกั้นพนักงานที่ถูกทลายลง

ผมวิเคราะห์อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนอาจะคิดไม่ถึง นั่นก็คือ กำแพงสำคัญที่ขวางกั้นการย้ายงานของพนักงาน ก็คือ การหาช่วงเวลาในการไปสัมภาษณ์งานที่อื่นนั่นเอง

การเปลี่ยนมาทำงานแบบ Work From Home มันมีข้อยืดหยุ่นก็จริง แต่มันก็ทำให้เหล่าพนักงาน สามารถร่อน Resume เพื่อสัมภาษณ์งานได้อย่างอิสระ และหาเวลาไปสัมภาษณ์ตอนไหนก็ได้ อย่างเสรี เพราะตอนนี้ การสัมภาษณ์งานก็เน้นไปที่การสัมภาษณ์แบบ Remote ไปหมดแล้วใช่กัน

ซึ่งส่วนนี้มันสำคัญมาก เพราะหลาย ๆ อาชีพ มีการแย่งตัวพนักงานเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะสายไอที น่าจะโดนหนักสุด การมีตัวเลือกเยอะ ๆ ผ่านการสัมภาษณ์หลาย ๆ แห่ง ทำให้พนักงานมีโอกาสได้เลือก และเปรียบเทียบสูงมากกว่าในยุคก่อน ที่คงยากที่จะสัมภาษณ์งานหลายๆ แห่งในขณะที่ตัวเองทำงานประจำอยู่

การตัดสินใจรับพนักงานในยุคปัจจุบัน อาจจะแทบไม่ต้องมาคุยกันต่อหน้าต่อตา เพื่อตัดสินใจรับเข้าทำงานอีกต่อไป องค์กรต่าง ๆ สามารถเลือกช็อปปิ้งพนักงานมากมาย ที่พร้อมจะมาสัมภาษณ์งานกับบริษัทเพื่อย้ายงาน

กำแพงในอดีต หากต้องเข้างานแบบ full time ทำให้มันเป็นเรื่องยากที่จะปลีกตัวไปสัมภาษณ์งานที่อื่นได้แบบมาราธอน เหมือนในยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจจะต้องลางานเพื่อไปสัมภาษณ์ แต่ตอนนี้มันไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว

ซึ่งผมว่าตอนนี้ การเปลี่ยนงานจะเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ เพราะมีตัวเลือกให้เลือกเยอะ สามารถตัดสินใจที่ให้ผลประโยชน์ที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้ง่ายมากขึ้ัน เมื่อกำแพงเรื่องเวลา และ การต้องปลีกตัว หรือ ลางานไปสัมภาษณ์งานที่อื่น มันไม่มีอีกต่อไป

นั่นเอง ที่ทำให้อัตรา turn over ของพนักงานในยุคการแพร่ระบาดสูงมาก ๆ ตาม ข้อมูลจากสหรัฐอเมริกาก็สอดคล้องกับแนวโน้มนี้เช่นเดียวกัน และผมคิดว่าองค์กรในไทยก็เจอปัญหาเดียวกันอย่างแน่นอน

บทสรุป

สถานการณ์ตอนนี้ได้พลิกผัน จากเดิมที่องค์กรนั้นเป็นฝ่ายเลือกพนักงาน แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นพนักงานต่างหากที่กลายเป็นฝ่ายเลือกองค์กรที่จะเข้าทำงานไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเทรนด์นี้จะเป็นแบบนี้ต่อไปแม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะหมดไปก็ตาม

เพราะเมื่อคนสามารถทำงานได้จากทุกที่ และสามารถที่สัมภาษณ์งานที่ไหนก็ได้ตลอดเวลา พวกเขาก็จะมองหาองค์กรที่ให้ผลประโยชน์กับพวกเขาสูงสุด มีความสมดุลสูงที่สุด (Work-Life Balance) ระหว่างชีวิตส่วนตัวกับชีวิตในการทำงานนั่นเองครับผม

ดราม่า “รีวิวบุฟเฟต์” กับ case study ของอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นจาก Micro-Influencers

“ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน กลุ่มนักรีวิว หรือ Micro-Influencers มักมีผลและมีอิทธิพลต่อร้านค้า เพราะเรียกได้ว่าเป็นการตลาดแบบปากต่อปาก หากมีใครไปรีวิว ร้านก็สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ ภายในชั่วข้ามคืน” คำกล่าวจาก คุณเอ้ย อังกูร เจ้าของแบรนด์รสสุคนธ์ (ไอศครีมสับประรด) ในรายการโหนกระแสที่ออกอากาศในวันที่ 15 ก.ย. 2564 ถือว่าเป็นคำพูดที่น่าสนใจมาก ๆ

ซึ่งแน่นอนว่าดราม่าเรื่องนี้เหมือนจะจบลงด้วยดี และมีการนำเสนอเรื่องราวรายละเอียดจากหลายๆ แห่งแล้ว แต่สิ่งที่ผมกลับสนใจมาก ๆ ในตอนนี้จากประเด็นดังกล่าวที่เกิดขึ้นและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมคงจะเป็นบทบาท และ อิทธิพลของ Micro-Influencers กับการตลาดในยุคปัจจุบัน

เอาจริง ๆ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไปร่วม joined กับหลายๆ กลุ่มตามความสนใจของผมเช่นกัน ซึ่งได้สังเกตเห็นอิทธิพลที่เกิดขึ้นเหล่านี้มาซักระยะหนึ่งแล้ว ที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป

ตัวอย่างที่ผมคิดว่าน่าสนใจ ก็คือ กลุ่มจัดโต๊ะคอม ที่แน่นอนว่ามันตอบรับกับพฤติกรรมที่ตอนนี้หลาย ๆ คนต้อง Work From Home แล้วอยากจะสร้างบรรยากาศการทำงานที่บ้านให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งก็ทำให้กลุ่มนี้ดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่ผมเห็นอย่างนึงก็คือ สินค้าที่ เหล่าสมาชิกในกลุ่มเข้ามารีวิวนั้น หากเป็นสินค้ายอดฮิต เช่น โคมไฟ Xiaomi , คีย์บอร์ด Keychron หรือ โต๊ะของ iKea ในบางรุ่น มันส่งอิทธิพลอย่างมากต่อยอดขายจริง ๆ ของสินค้านั้น ๆ ได้เลยทีเดียว เรียกได้ว่า ของแทบจะขาดตลาดทันที หากไอเท็มใดเกิดความฮิตติดตลาดขึ้นในกลุ่ม

กลุ่มสุดฮิต จัดโต๊ะคอม ที่ทำเอาสินค้าขาดตลาด (CR: FB/juddesk)
กลุ่มสุดฮิต จัดโต๊ะคอม ที่ทำเอาสินค้าขาดตลาด (CR: FB/juddesk)

ซึ่งผมก็คิดว่า มันก็เกิดขึ้นกับหลาย ๆ กลุ่ม ตามแต่ความสนใจของแต่ละคน ซึ่งในกรณีที่เป็นข่าวคือ กลุ่มนักรีวิวการรับประทานบุฟเฟต์ ซึ่งมีสมาชิกเกินกว่าครึ่งล้าน ที่เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา

Micro-Influencers คืออะไร?

การรีวิวโดยผู้มีชื่อเสียงเคยเป็นวิธีสำคัญสำหรับแบรนด์ใหญ่ ๆ ในการสร้างชื่อเสียงและขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ George Clooney ดื่มกาแฟไปจนถึง Kim Kardashian ที่มารีวิวผลิตภัณฑ์แต่งหน้าใหม่

การรีวิวโดยผู้มีชื่อเสียงเป็นเป้าหมายสำหรับนักการตลาดที่กระตือรือร้นที่จะใช้ประโยชน์จากฐานแฟน ๆ ที่เป็นที่ยอมรับมาโดยตลอด 

ด้วยผู้ติดตามหลายล้านคนบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย จึงเป็นวิธีแก้ปัญหาง่ายๆ สำหรับการสร้างฐานแฟนใหม่ ๆ สำหรับแบรนด์ใหม่หรือการทำให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับ 

อย่างไรก็ตาม เทรนด์ดังกล่าวได้ชะลอตัวลง และตอนนี้แบรนด์ต่างๆ กำลังมองหาผู้ที่มีผู้ติดตามที่น้อยกว่าเดิมมากบนโซเชียลมีเดีย ซึ่ง Micro-Influencers คือผู้ที่อาจมีผู้ติดตามตั้งแต่ 2,000 ถึง 100,000 คน เพียงเท่านั้น แต่มีพลังในการบอกต่อแบบปากต่อปากอย่างมหาศาล

คำพูดจากปากต่อปาก ในโลกออนไลน์ มีอิทธิพลมากที่สุดในการตัดสินใจซื้อ

บทวิเคราะห์ที่น่าสนใจจากบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง Mckinsey ที่ได้กล่าวถึงเทรนด์ดังกล่าวว่า กำลังกลายเป็นปัจจัยและอิทธิพลสำคัญมากสำหรับการตัดสินใจซื้อโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคน Gen Z

ตัวอย่างในประเทศจีน ประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เขียนบน Taobao, Tmall หรือ RED ตลอดจนความคิดเห็นของเพื่อนและครอบครัวบนโซเชียลมีเดีย ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ

มากกว่าสามในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจจาก Mckinsey นั้น กล่าวว่า ผู้บริโภค Gen Z นั้นจะมองบทวิจารณ์ออนไลน์ , บัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์ และ บล็อกเกอร์หรือผู้มีอิทธิพลออนไลน์ เป็นแหล่งที่มีอิทธิพลสูงสุดสามอันดับแรกในการตัดสินใจซื้อ

ซึ่ง Gen Z นั้นจะให้ความสำคัญกับข้อมูลเหล่านี้มากกว่ากลุ่ม Millennials และ Gen X

ส่วนในสหรัฐอเมริกา โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลมากที่สุด 39% ของผู้บริโภค Gen Z ในขณะที่บทวิจารณ์ออนไลน์ และบล็อกในออนไลน์นั้นก็เป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ ที่ 26% ส่วนเพื่อนหรือครอบครัวมีอิทธิพล 15% และ 10% ตามลำดับ

อำนาจของเพจที่ลดลง และ อำนาจของกลุ่มที่เพิ่มขึ้น

ต้องบอกว่าหลังจากมีปัญหาครั้งใหญ่ในเรื่องการโฆษณาทางด้านการเมืองตั้งแต่ปี 2016 นั้น เรียกได้ว่า Facebook ได้ปรับอัลกอริธึมครั้งใหญ่ ที่มีการให้ความสำคัญของการ community มากยิ่งขึ้น

Facebook เริ่มให้ความสำคัญกับกลุ่มมากยิ่งขึ้น (CR:Engadget)
Facebook เริ่มให้ความสำคัญกับกลุ่มมากยิ่งขึ้น (CR:Engadget)

เราจะเห็นได้จากสถานการณ์ในตอนนี้ เพจ facebook หลาย ๆ เพจ ที่มียอด like หรือ follower หลักแสน หลักล้าน แต่ในบางโพสต์แทบจะมี engagement กับกลุ่มแฟน ๆ แค่หลักสิบเท่านั้น

แน่นอนว่าสิ่งแรกคงเป็นการบังคับให้ไปจ่ายเงินโฆษณามากขึ้นสำหรับเหล่าแบรนด์ หรือ เพจใหญ่ ๆ ที่หาก content ไม่โดนจริง ๆ ยากมากที่จะแจ้งเกิดได้ในยุคนี้ ที่มี content ให้เลือกสรรค์เต็มไปหมด

แต่ที่น่าสนใจอย่างในกรณีของ ดราม่าบุฟเฟ่ต์ นี้ก็คือเรื่อง community ที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะกระจายไปตามกลุ่มตามความชอบต่าง ๆ ของระบบ Facebook นั่นเอง

ทั้งกลุ่มที่ซื้อขาย หรือ กลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รีวิวสินค้าต่างๆ ซึ่งตอนนี้ Facebook ให้ความสำคัญมากกว่าเพจเสียด้วยซ้ำ

นั่นทำให้เทรนด์ของ Micro-Influencers เริ่มเด่นชัดขึ้น ตามความหลากหลายของกลุ่มที่เกิดขึ้นนั่นเอง และมันก็แสดงให้เห็นผ่านข่าวดราม่าบุฟเฟ่ต์นี้ว่า ตอนนี้เหล่า Micro-Influencers เริ่มเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับผม

References : https://www.digitalcoastmarketing.com/are-micro-influencers-the-future-of-marketing/
https://www.mckinsey.com/industries/retail/our-insights/how-gen-z-and-millennials-are-shaping-the-future-of-us-retail
https://www.mckinsey.com/cn/our-insights/our-insights/chinas-gen-z-are-coming-of-age-heres-what-marketers-need-to-know
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6619168

10 วิธีในการคงประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อคุณทำงานจากที่บ้าน

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า:“ อย่านำงานกลับบ้าน” แต่ถ้าคุณทำงานจากที่บ้านล่ะ? การทำงานจากที่บ้านเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ แต่ก็ไม่ได้มีเสน่ห์อย่างที่คนอื่นคิด ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจดจ่อเมื่อคุณอยู่บนโซฟา และแมวของคุณกำลังคอยรังควาน หรือมีเสียงเครื่องจักรทำงานที่บ้านของเพื่อนบ้าน คุณสงสัยว่าจะทำงานได้อย่างไรเมื่อคุณทำงานจากที่บ้านและอยู่ท่ามกลางสิ่งรบกวน?

และนี่คือ 10 วิธีในการทำให้การทำงานจากที่บ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น:

1. เริ่มทำงานในตอนเช้า

เมื่อคุณทำงานจากที่บ้านให้เริ่มทำงานทันทีที่ตื่นนอน มันอาจจะฟังดูเก่า แต่ก็เป็นสิ่งที่ได้ผล ในตอนเช้าคุณจะตื่นขึ้นมาด้วยจิตใจที่สดชื่น (และพลังบวก) และคุณสามารถทำอะไรได้มากมายในตอนหัวค่ำ 

Josh Davis ผู้เขียน Two Awesome Hours กล่าวว่า: “ผู้คนที่ตื่นแต่เช้าตรู่ สามารถใช้เวลาในการออกกำลังกายในสวนสาธารณะ ทำสิ่งต่างๆที่คนอื่นแย่งกันในช่วงเวลาอื่น ๆ ของวัน ช่วงเวลาในตอนเช้านั้นมีสิ่งดี ๆ ที่มีประโยชน์มากมายที่หาไม่ได้ในช่วงเวลาอื่นของวัน”

2. เลือกพื้นที่ทำงานเฉพาะ

เพียงเพราะคุณทำงานจากที่บ้านไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีพื้นที่ทำงานหรือสำนักงานเฉพาะ สร้างบรรยากาศโฮมออฟฟิศที่เงียบสงบและสร้างแรงบันดาลใจ พื้นที่ทำงานเฉพาะสามารถช่วยให้คุณมีความคิดที่ถูกต้องและป้องกันไม่ให้คุณเสียสมาธิ 

หากคุณรู้สึกสร้างสรรค์มากขึ้นในตอนเช้าให้ใช้เวลานี้กับส่วนที่ยากลำบากในการทำงานเช่นการระดมความคิดในขณะที่ทำงานจากพื้นที่ทำงานเฉพาะของคุณ ในช่วงบ่ายคุณสามารถนั่งบนโซฟาและรับสายโทรศัพท์หรือเช็คอีเมล

3. อย่าอยู่บ้านเพียงอย่างเดียว

เบื่อมองไปที่กำแพงหรือไม่? คุณต้องการเปลี่ยนทัศนียภาพ. หยิบแล็ปท็อปของคุณแล้วตรงไปที่ร้านกาแฟหัวมุมหรือห้องสมุด (พื้นที่เปิดใช้งาน Wifi) นั่งกับมนุษย์จริงๆ บางครั้งเสียงพูดเบา ๆ จากโต๊ะข้าง ๆ อาจช่วยให้คุณทำงานได้ดีกว่าการอยู่เงียบ ๆ  มันจะนำคุณไปสู่แนวคิดใหม่ ๆ และเพิ่มผลผลิต อย่าพยายามอยู่แต่ที่บ้านเพียงอย่างเดียว

4. กำหนดเวลาพักที่ชัดเจน

คุณกำหนดเวลางานการประชุมและการโทรในปฏิทินใช่ไหม มีอีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องกำหนดเวลา: Distraction Breaks กำหนดเวลาพักล่วงหน้าที่ชัดเจน ตั้งเวลาที่คุณจะใช้โทรศัพท์หรือโซเชียลมีเดีย ตั้งเวลาสำหรับอาหารกลางวัน ตั้งเวลางีบ. ไปเดินเล่น. ช่วงพักเหล่านี้จะเติมพลังให้คุณ 

5. โต้ตอบกับสมาชิกในครอบครัวหรือคนอื่น ๆ

ข้อดีที่สุดของการทำงานจากที่บ้านคือคุณมีเวลาอยู่กับสมาชิกในครอบครัวและลูก ๆ มากขึ้น หยุดพักจากงานและเล่นกับลูก ๆ หรือพูดคุยกับครอบครัว หรือถ้าคุณรู้จักใครที่ทำงานจากที่บ้านให้ชวนเขาไปดื่มกาแฟออกไปข้างนอก การพูดคุยกับมนุษย์จริงๆช่วยให้คุณมีสติที่ดีขึ้นได้

6. เปิดเพลงโปรดของคุณไว้เป็นพื้นหลัง

การทำให้เพลงโปรดของคุณทำงานอยู่เบื้องหลังด้วยระดับเสียงที่เบา คุณจะทำงานให้เสร็จได้อย่างรวดเร็ว 

ตามที่ Daniel Levitin (นักประสาทวิทยาและนักประพันธ์) กล่าวว่า“ ดนตรีสามารถทำให้งานซ้ำ ๆ ไม่น่าเบื่อ และเพิ่มสมาธิให้กับงานได้”

7. ติดตามรายละเอียดทุกชั่วโมง

หากคุณยังใหม่กับการทำงานจากที่บ้านคุณต้องติดตามว่าคุณใช้ทุกชั่วโมงในแต่ละวันอย่างไร การติดตามตนเองจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าเมื่อใดที่คุณมีประสิทธิผลมากที่สุด (และน้อยที่สุด) และคุณเสียเวลาอันมีค่าไปไหน

8. ยืดกล้ามเนื้อและทำสมาธิ 10 นาทีต่อวัน

การดื่มน้ำและการยืดร่างกายอย่างเพียงพอจะทำให้เลือดไหลเวียนในร่างกายและทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ อย่านั่งเก้าอี้นาน ๆ หยุดพักทุก ๆ ชั่วโมง ให้อุทิศเวลา 10 นาทีในการนั่งสมาธิ จะช่วยเพิ่มโฟกัสของคุณและลดโอกาสที่คุณจะฟุ้งซ่านได้

9. กำหนดชั่วโมงการทำงานเฉพาะ

หากบ้านของคุณเป็นสำนักงานถาวรให้กำหนดชั่วโมงการทำงานเฉพาะ สิ่งที่ดีของการทำงานจากที่บ้านคือคุณสามารถเลือกเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นได้ด้วยตัวคุณเอง

สมมติว่าคุณรู้สึกมีประสิทธิภาพมากขึ้นในตอนเช้าและไม่ใช่ในตอนเย็นคุณสามารถกำหนดชั่วโมงการทำงานได้ตั้งแต่ 7.00 น. ถึง 15.00 น. แต่อย่าลืมแบ่งปันตารางการทำงานของคุณกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าของคุณ

10. กำหนดตารางเวลาสำหรับวันถัดไปก่อนนอน

ทำกิจวัตรตอนกลางคืน. ใช้เวลา 15 นาทีและสร้างรายการงานที่คุณจะทำในวันถัดไป เลือกงานสำคัญที่คุณต้องทำก่อนในเช้าวันรุ่งขึ้น นิสัยนี้จะเป็นตัวกำหนดสิ่งที่จะเกิดขึ้นสำหรับวันถัดไป

References : https://hbr.org/

Geek Life EP3 : เหตุใดพนักงานที่มีสุขภาพจิตที่ดีจึงสามารถเอาชนะสภาวะ Burnout ได้

ในขณะที่บ้านของเราได้แปรเปลี่ยนไปเป็นสำนักงาน ในความเป็นจริงก็คือว่า เรากำลังทำงานโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 48.5 นาทีต่อวัน ความแตกต่างระหว่างชีวิตในการทำงานและชีวิตส่วนตัวของเราลดน้อยลง จนพนักงาน 77% กล่าวว่า การสร้างขอบเขตระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวเป็นทักษะการทำงานจากที่บ้านที่สำคัญที่สุด

สำหรับธุรกิจที่ส่งเสริมพนักงานในฐานะทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตอนนี้เป็นเวลาที่จะให้คำมั่นสัญญากับพวกเขา ให้เรื่องสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ และ นี่คือวิธีเปลี่ยนบริษัท ของคุณ เพื่อให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากยิ่งขึ้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2QmEzcW

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2EyG8lw

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/wV9OJjxD2UY