การแจ้งเตือนข่าวปลอมช่วยให้คุณจำข้อเท็จจริงได้ดีขึ้นหรือไม่?

ต้องบอกว่าโลกเราในยุคปัจจุบันนั้น ข่าวปลอมแพร่กระจายเหมือนไวรัส  นักวิจัยจาก Stanford Engineering ได้ทำการวิเคราะห์การแพร่กระจายของข่าวปลอมราวกับว่ามันเป็นสายพันธุ์ของไวรัสจริง ๆ อย่างอีโบลา 

นักวิจัยได้ทำการปรับรูปแบบการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวปลอมที่เหมือนเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้มากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าข่าวปลอมแพร่กระจายและดึงดูดผู้คนได้อย่างไร

นักวิจัยศึกษาว่ามีกี่คนที่ “อ่อนแอ” ต่อข่าวปลอม  นักวิจัยยังดูด้วยว่ามีคนจำนวนเท่าใดที่สัมผัสกับข่าวปลอมพวกเขา “ติดเชื้อ” ได้อย่างไร (เชื่อเรื่องนี้) และมีกี่คนที่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจาย “การติดเชื้อ” (ข้อมูลที่ผิด) ไปยังผู้อื่น

เช่นเดียวกับไวรัสการศึกษานี้มีข้อสรุปที่น่าสนใจได้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปการได้เจอกับข่าวปลอมหลายสายพันธุ์ สามารถลดความต้านทานของบุคคล และทำให้พวกเขาเริ่มเชื่อข่าวปลอมน้อยลง

ยิ่งหลายครั้งที่คน ๆ หนึ่งต้องเผชิญกับข่าวปลอมประเภทเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมาจากแหล่งที่มีอิทธิพลที่พวกเขาศรัทธาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั้น พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะถูกชักจูงมากขึ้นไม่ว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นจริงก็ตามที

“สิ่งที่เรียกว่า ‘กฎอำนาจ’ ของโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการบันทึกไว้อย่างดีในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ถือได้ว่าข้อความจะถูกแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วที่สุดหากมีการกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้มีอิทธิพลจำนวนน้อยแต่มีจำนวนผู้ติดตามจำนวนมาก” นักวิจัยอธิบายใน การศึกษา

การวิจัยใหม่เกี่ยวกับข่าวปลอมได้ค้นพบบางสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลผิดๆ

การศึกษาในปี 2020 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychological Science สำรวจแนวคิดที่ว่าการแจ้งเตือนเรื่องข่าวปลอมสามารถช่วยให้คุณจดจำข้อเท็จจริงได้ดีขึ้นหรือไม่

การเปิดรับข่าวสารปลอมอาจทำให้เกิดการจดจำและเชื่อข้อมูลที่ผิดพลาด ในการทดลองสองครั้งทีมงาน (นำโดย Christopher N.) ได้ทำการทดลองดังต่อไปนี้

ทีมงานได้นำหัวข้อข่าวจากเว็บไซต์ข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง แล้วสร้างข้อความของข้อมูลที่ผิดเข้าไป จากนั้นให้อาสาสมัครอ่านข้อความที่ทำการแก้ไขข้อมูลจากต้นฉบับให้ผิด 

จากนั้นจะมีการแจ้งเตือนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับอาสาสมัครรับรู้ ก่อนที่จะมีการแก้ไขบางอย่างแต่ไม่ใช่ทั้งหมดของที่ผิด หลังจากนั้นอาสาสมัครจะอ่านข่าวที่ถูกแก้ไข และให้ระบุว่าพวกเขาจำการแก้ไข และข้อมูลที่ผิดได้หรือไม่

ผลการศึกษาพบว่าการการแจ้งเตือนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้น จะช่วยเพิ่มความจำและความถูกต้องของความเชื่อของอาสาสมัครได้ และเมื่อมีนำข้อมูลที่ผิดทั้งหมดกลับมาใส่ใหม่อีกครั้ง ผู้เข้าร่วมก็สามารถจำได้ว่ามีการแก้ไขเกิดขึ้น

นักวิจัยในโครงการอธิบายว่า : “การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์หนึ่งที่การแจ้งเตือนข้อมูลที่ผิดสามารถลดผลกระทบเชิงลบของการรับข่าวปลอมในระยะสั้น”

ข้อสรุป: ข้อมูลที่ผิดพลาดของข่าวปลอมซึ่งได้รับการแก้ไขโดยข้อมูลที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถปรับปรุงทั้งความจำและความถูกต้องของความเชื่อในข้อมูลจริงของผู้คนที่ได้รับข่าวดังกล่าวได้

“เราตรวจสอบผลกระทบของการแจ้งเตือนข้อมูลที่ผิด โดยการศึกษาของเรารวมถึงข้อมูลที่ผิด ๆ เกี่ยวกับข่าวปลอมในชีวิตประจำวันซึ่งได้รับการแก้ไขโดยข้อความที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อแสดงให้เห็นว่าการช่วยเตือนดังกล่าวนั้นสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้นั่นเอง” นักวิจัยอธิบาย

ต้องบอกว่าเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง กับการทดลองครั้งนี้ เพราะตอนนี้ ข่าวปลอม นั้นได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และรุนแรงมาก ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งทำให้มีปัญหาเป็นอย่างมากต่อผู้รับข่าวสาร

แต่ก็ต้องบอกว่า การแก้ไขข้อมูลที่ผิดไปแล้วนั้น มันมักจะไปไม่ถึง คนที่ได้รับรู้ข่าวผิด ๆ ได้ครอบคลุมทั้งหมด เพราะจะสังเกตุได้ว่า การแชร์ การ engagement ของข่าวปลอมนั้น มักจะสูงลิ่ว

แต่เมื่อมีข่าวจริงมาแก้ไข แม้จะถูกแชร์จากคน ๆ เดิมก็ตาม แต่ ปริมาณผู้คนที่ได้รับข่าวสารข้อเท็จจริงนั้นมันไม่เท่าเดิมอีกต่อไป มันได้กลายเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ของผู้ที่ได้รับข้อมูลผิด ๆ ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับข้อมูลที่มีการแก้ไขให้ถูกต้อง

ซึ่งงานวิจัยนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า หากมีการแจ้งเตือนไป ให้ทุกคนที่ได้รับข่าวปลอมได้รับรู้ถึงข้อมูลข้อเท็จจริง ก็จะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างมาก ให้เขาสามารถ ปรับปรุงทั้งความจำและความเชื่อในข้อมูลของพวกเขาได้ในท้ายที่สุดนั่นเองครับผม

References : https://engineering.stanford.edu/magazine/article/how-fake-news-spreads-real-virus
https://www.psychologicalscience.org/news/releases/2020-oct-fake-news-remember.html
https://www.forbes.com/sites/bryanrobinson/2020/10/17/a-new-study-shows-fake-news-may–benefit-your-memory/?sh=2b31ee32687b
https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0956797620952797#


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube